หลายองค์กรเริ่มใช้ OKR เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับเป้าหมายและผลลัพธ์ แต่ในความเป็นจริง การตั้ง OKR ให้สำเร็จไม่ใช่แค่เรื่องของการเขียนเป้าหมายให้ดูดีบนกระดาษ หากไม่มีการติดตามอย่างต่อเนื่องหรือไม่มีเครื่องมือที่ช่วยให้ทีมเห็นภาพรวมของสิ่งที่กำลังทำอยู่ ก็ยากที่จะเปลี่ยนเป้าหมายให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้
Asana เข้ามาช่วย ทำให้ OKR ไม่ได้หยุดอยู่แค่บนกระดาษ แต่สามารถเชื่อมโยงเป้าหมายระดับองค์กรเข้ากับโปรเจกต์ งาน และคนในทีมอย่างเป็นระบบ บทความนี้จะพาคุณรู้จักวิธีตั้ง OKR ให้ได้ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ พร้อมเทคนิคและตัวอย่างที่ใช้งานได้ทันทีด้วย Asana
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย!
OKR คืออะไร?
OKR (Objectives & Key Results) คือ วิธีการตั้งเป้าหมายที่ช่วยเชื่อมโยง “วัตถุประสงค์” กับ “ผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้” อย่างชัดเจน เช่น เพิ่มจำนวนผู้ใช้งานใหม่ 10,000 คนภายใน 1 ไตรมาสเป็นต้น การตั้ง OKR ในรูปแบบรายไตรมาสจะช่วยให้ทีมมีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถโฟกัสและปรับกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่าง OKR ของทีม Marketing:
- Objective: เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าในไตรมาสที่ 3
- Key Result 1: เพิ่ม Open Rate ของอีเมลจาก 25% เป็น 40%
- Key Result 2: เพิ่มจำนวนผู้สมัครสมาชิกรายเดือนจาก 3,000 เป็น 5,000 ราย
- Key Result 3: ลด Churn Rate จาก 8% เหลือ 5%
ที่มาของ OKR (Objective และ Key Result )
OKR ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1970 โดย Andy Grove ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ Intel ได้ต่อยอดมาจากแนวคิด Management by Objectives (MBO) ของ Peter Drucker จุดเด่นของ Grove คือ เปลี่ยนจากการสั่งงานแบบบนลงล่าง มาเป็นการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและให้อิสระกับทีมในการหาทางไปให้ถึงเป้าหมาย
ต่อมา John Doerr ที่เคยทำงานกับ Grove ได้นำหลักการ OKR ไปเผยแพร่ที่บริษัท Google ในปี 1999 จนกลายเป็นมาตรฐานการตั้งเป้าหมายที่ได้รับความนิยมในองค์กรชั้นนำทั่วโลกในปัจจุบัน
ลักษณะเด่นของ OKR ที่ทำให้การตั้งเป้าหมายทรงพลังยิ่งขึ้น
การตั้ง OKR ไม่ใช่แค่การกำหนดเป้าหมายแบบทั่วไป แต่เป็นระบบที่ช่วยให้ทีมและองค์กรสามารถโฟกัสไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมวัดผลความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งลักษณะเด่นของ OKR ที่ทำให้หลายองค์กรทั่วโลกเลือกใช้งาน มีดังนี้:
1. เป้าหมายต้องสั้น กระชับ และชัดเจน
OKR จะเน้นที่การตั้งเป้าหมาย (Objective) ที่กระตุ้นใจและเข้าใจง่าย โดยไม่จำเป็นต้องยืดยาวหรือซับซ้อน ทีมหนึ่งไม่ควรมีเป้าหมายมากเกินไปในแต่ละรอบ เพื่อไม่ให้กระจายทรัพยากรและเสียโฟกัส โดยทั่วไปแนะนำให้มีไม่เกิน 3–5 เป้าหมายต่อทีมในหนึ่งไตรมาส
2. Key Result ต้องวัดผลได้และมีกรอบเวลาที่แน่นอน
ทุก Key Result ควรสามารถวัดผลความสำเร็จได้จริง (Measurable) ไม่ใช่สิ่งที่ตีความตามความรู้สึก เช่น จาก “พัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้น” แต่ควรเป็น “เพิ่มอัตราการคลิก CTA หน้าแรกจาก 2% เป็น 4% ภายในไตรมาสนี้” ซึ่งช่วยให้ทีมรู้ว่าความคืบหน้าอยู่ตรงไหน และควรปรับแผนหรือเร่งในส่วนใด
3. ตั้งเป้าหมายให้ท้าทายแต่เป็นไปได้
OKR ถูกออกแบบมาให้เป็น “Stretch Goal” ซึ่งหมายถึงเป้าหมายที่ต้องพยายามอย่างมากจึงจะสำเร็จ ไม่ใช่เป้าหมายที่ทำได้สบาย ๆ โดยทั่วไป หากทีมสามารถทำได้ 70–80% ของ Key Results ก็ถือว่าสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ การตั้งเป้าแบบนี้จะช่วยให้ทีมเกิดการเติบโต พัฒนาความสามารถ และสร้างแรงจูงใจมากยิ่งขึ้น
ทำไมถึงต้องใช้งาน Asana คู่กับการทำ OKR ขององค์กร
การที่ธุรกิจตั้งเป้าหมายด้วย OKR (Objectives & Key Results) เพื่อเพิ่มความชัดเจนและความมุ่งมั่นในการทำงาน แต่ในความเป็นจริง การตั้ง OKR ให้ได้ผล ไม่ใช่แค่เรื่องของการ “เขียนเป้าหมายและผลลัพธ์ให้สวยงาม” แล้วจบ
สิ่งที่ทำให้ OKR สำเร็จจริงคือการ ‘ผสานเป้าหมายเข้ากับการลงมือทำงานในแต่ละวัน’ เพราะ Asana ทำให้ทีมสามารถเห็นภาพรวมของ OKR ได้แบบเรียลไทม์ วัดผลได้ ติดตามได้ และที่สำคัญ ไม่ปล่อยให้เป้าหมายตกหล่นระหว่างทาง

Asana ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มบริหารงานทั่วไป แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยง “เป้าหมายระดับองค์กร” เข้ากับ “โปรเจกต์ งาน และคนในทีม” ได้อย่างมีระบบ
เริ่มต้นตั้งค่า OKR ร่วมกับแพลตฟอร์ม Asana กันเลย!
1. ตั้ง Objective ให้ชัดเจนและกระตุ้นคนในทีม
Objective คือ “เป้าหมายหลัก” ที่อยากให้ทีมมุ่งไปในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น รายไตรมาส เป้าหมายนี้ควร:
- เป็นภาพใหญ่ที่สร้างแรงบันดาลใจ
- กระตุ้นให้ทีมลุกขึ้นมาทำ ไม่ใช่แค่ “ต้องทำ”
- สื่อสารได้ง่าย ชัดเจน และไม่คลุมเครือ
ตัวอย่าง Objective:
- ขยายฐานลูกค้าใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าผ่านการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคล
ในแพลตฟอร์ม Asana คุณสามารถสร้าง Objective นี้ในฟีเจอร์ ‘Goals’ แล้วกำหนดระดับและผู้รับผิดชอบได้ (เช่น Corporate, Team)
2. กำหนด Key Results ที่วัดผลได้ ด้วยหลักการ SMART
Key Results (KRs) คือ ตัวชี้วัดความสำเร็จของ Objective จะต้องเป็นเป้าหมายย่อย ๆ ที่สามารถวัดผลได้จริงและเป็นรูปธรรม โดยใช้หลัก SMART ในการกำหนด:

- S – Specific: เจาะจง ไม่กว้างเกินไป
- M – Measurable: วัดได้ มีตัวเลขหรือเกณฑ์ที่ชัดเจน
- A – Achievable: ทำได้จริงตามศักยภาพที่มี
- R – Realistic: สมเหตุสมผล ไม่เพ้อฝันจนเกินไป
- T – Time-bound: มีกรอบเวลาแน่นอน
ตัวอย่าง Key Results:
- เพิ่มผู้ใช้ใหม่ 25% ภายใน 3 เดือน
- ลดค่าใช้จ่ายต่อ Lead (CPL) ลง 15%
- เพิ่มอัตราเปิดอีเมลจาก 22% → 35%
ใน Asana คุณสามารถตั้ง Key Results เป็น ‘เป้าหมายย่อย ๆ’ ภายใต้ Objective ได้ และเชื่อมโยงเข้ากับโปรเจกต์หรืองานจริงทันที
3. เลือกรูปแบบการตั้ง OKR ที่เหมาะสม
การตั้ง OKR มีได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับลักษณะองค์กรและวัฒนธรรมการทำงาน
- Top-down: ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดเป้าหมายหลัก แล้วให้ทีมย่อยต่าง ๆ นำไปต่อยอด
- Bottom-up: ทีมงานเป็นผู้เสนอเป้าหมายที่สอดคล้องกับองค์กร
- Hybrid: ผสมผสานทั้งสองแนวทาง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการจัดลำดับที่สอดคล้องกัน
Asana รองรับทุกโมเดล ด้วยระบบการตั้งเป้าหมายแบบแบ่งระดับได้ ตั้งแต่ระดับองค์กร → ระดับทีม → จนถึงระดับบุคคล
4. จัดลำดับความสำคัญและสื่อสารให้โปร่งใส
เมื่อมี OKR แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ทุกคนในทีม ‘เข้าใจตรงกัน’ และเห็นภาพรวมของเป้าหมาย ไม่ใช่แค่คนบางกลุ่ม โดยใน Asana:
- คุณสามารถแชร์ OKR ให้ทุกคนในทีมดูได้
- ลำดับความสำคัญของเป้าหมายได้ตั้งแต่ระดับองค์กร → ระดับทีม → ไปจนถึงระดับบุคคล
- เชื่อมโยงแต่ละ Key Result กับโปรเจกต์หรืองานในระบบ เพื่อให้ทุก task มีความหมาย
5. ติดตามผลเพื่อปรับทิศทางอย่างสม่ำเสมอ
เป้าหมายที่ดี ต้องไม่ใช่แค่ ‘ตั้งไว้แล้วปล่อยผ่าน’ แต่ต้องมีการติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้มี Weekly Check-in โดยใน Asana คุณสามารถ:
- อัปเดตความคืบหน้าแต่ละ Key Result เป็น % ว่าตอนนี้ทำได้กี่ % เหลืออีกกี่ %
- ใช้สีบอกสถานะของแต่ละงาน (เช่น เขียว = ปกติ, เหลือง = เสี่ยง, แดง = ต้องเร่งด่วน)
- เพิ่มคอมเมนต์หรือบันทึกอุปสรรคและสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานในอนาคต
การตั้งค่า OKR ด้วย Asana จะช่วยให้ทีมสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มองเห็นภาพรวมของปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้ปรับตัวได้เร็ว และให้องค์กรได้ผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริงและมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของการใช้ OKR ร่วมกับ Asana
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของทีม: ให้ทุกคนในทีมเห็นภาพชัดว่างานที่ทำอยู่ ส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กรอย่างไร เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมและแรงจูงใจในการขับเคลื่อนเป้าหมายเดียวกัน
- ตั้งค่าได้ง่ายและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ทุกเมื่อ: ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์! Asana มี เทมเพลต OKR สำเร็จรูป ที่ออกแบบมาแล้วอย่างดี ตั้งเป้าหมายใหม่ได้ง่าย รวดเร็ว และเป็นระบบ โดยไม่ต้องเสียเวลาออกแบบทั้งหมดด้วยตัวเอง
- เชื่อมงานกับเป้าหมายได้ทันที: เมื่อเชื่อม OKR เข้ากับโปรเจกต์ รีพอร์ท และ Task งานได้ทันที ทีมจะไม่หลุดโฟกัสจากเป้าหมาย
- ติดตามแบบเรียลไทม์: ไม่ต้องเปิดหลายโปรแกรมหรือทำรายงานแยกให้ยุ่งยาก เพราะคุณสามารถติดตามความคืบหน้าของ OKR ทั้งหมดได้ทันทีแบบเรียลไทม์ใน Asana ที่ทุกคนใช้งาน

การตั้ง OKR ด้วย Asana ไม่ใช่แค่เรื่องของการวางแผนเป้าหมายเท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนเป้าหมายให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลและจับต้องได้จริง พร้อมเชื่อมโยงแต่ละทีมและองค์กรให้เห็นภาพเดียวกัน
หากคุณกำลังเริ่มต้นใช้ OKR หรือใช้แล้วแต่ยังไม่มีเครื่องมือมาช่วยจัดการ Asana คือทางเลือกที่จะทำให้เป้าหมายของคุณไม่ตกหล่นอีกต่อไป
แหล่งที่มา: Asana Resource, Asana Setting OKR, Asana OKR Template

ซอฟต์แวร์บริหารทีม โปรเจค และประสานงานบนคลาวด์
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - Your Business Transformation Partner
ผู้ให้บริการ Asana ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ

LINE : @dmit