เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Unified toolbar: ใช้แถบเครื่องมือรูปแบบเดียวกันในทุกหน้าจอของ Asana เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและต่อเนื่อง “Member of” tab in mobile project directory: ค้นหาโปรเจกต์ที่คุณเป็นสมาชิกได้จากแท็บ “member of” บนแอปมือถือ Updated Google Drive attachment filepicker: แนบไฟล์จาก Google Drive ใน Asana ได้ง่าย ๆ เพียงวางลิงก์หรือพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ New OAuth (Open Authentication) flow for Google Drive in Asana desktop app: เชื่อมต่อกับ Google Drive ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นบนเวอร์ชันเดสก์ท็อปของ Asana สำหรับ Asana Package Starter และ Premium Custom task types and statuses: สร้างประเภทงานตามกระบวนการทำงานของคุณ เพื่อช่วยให้จัดการงานได้เป็นระบบมากขึ้นและปรับปรุงการแสดงผลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในโปรเจกต์ของคุณ ให้ไปที่เมนู “Customize” เลือก “Tasks template” คลิก “Types” แล้วเลือก “Custom” จากเมนูดรอปดาวน์ ตั้งชื่อประเภทงานของคุณ เช่น “สถานะคำขอการตลาด” กำหนดตัวเลือกสถานะที่กำหนดเอง เช่น Submitted, In review, Sent, Published กำหนดสีสำหรับแต่ละสถานะ ตั้งค่าว่าสถานะไหนที่จะทำให้งานนั้นเสร็จสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ เพิ่มรายละเอียดอื่น ๆ ใน Tasks template คลิก “Done” เพื่อบันทึกเทมเพลตงานที่กำหนดเองของคุณ...
Continue reading5 ขั้นตอน ยกระดับโฟลว์การทำงานของทีม Project Management
ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะเข้าใจว่าการบริหารโปรเจกต์ (Project Management) คือ การควบคุมและกำหนดเวลาของโปรเจกต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารโปรเจกต์กลับมีขอบเขตที่กว้างกว่านั้นมาก ซึ่งในบทความนี้เรามีคำแนะนำง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ 5 ขั้นตอนของการบริหารโปรเจกต์ได้อย่างครบถ้วน การเข้าใจวงจรของการจัดการโปรเจกต์จะช่วยให้คุณปรับปรุงกระบวนการภายใน และด้วยการนำเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการโปรเจกต์ จะยิ่งช่วยยกระดับการทำงานของคุณให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 5 ขั้นตอน การยกระดับการทำงานของทีม Project Management มีอะไรบ้าง? PMBOK® หรือ Project Management Body of Knowledge คือคู่มือที่รวบรวมความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโปรเจกต์ จัดทำโดย Project Management Institute หรือ PMI โดยเนื้อหาในคู่มือจะเจาะลึกขั้นตอนการจัดการโปรเจกต์ทั้ง 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการโปรเจกต์ 1. การเริ่มต้นโปรเจกต์ (Project initiation) ในช่วงเริ่มต้นของโปรเจกต์ ทีมจะต้องกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโปรเจกต์ ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมศึกษาถึงความเป็นไปได้ และจัดทำเอกสารโปรเจกต์เพื่อให้สมาชิกในทีมเข้าถึงข้อมูลและสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย โดยทีมส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นด้วยการประชุมหรือศึกษาความเป็นไปได้ของโปรเจกต์ นอกจากการนำเสนอแนวคิดเบื้องต้นของโปรเจกต์แล้ว คุณควรระบุถึงประโยชน์ ต้นทุน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโปรเจกต์ รวมถึงตัวชี้วัดความสำเร็จอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่องค์กรของคุณใช้ พร้อมสรุปรายละเอียดสำคัญของโปรเจกต์ เช่น เป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลา จะช่วยให้ทีมเข้าใจขอบเขตงานและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโปรเจกต์ได้ง่ายขึ้น 2. การวางแผนโปรเจกต์ (Project planning) ขั้นตอนแรกของการวางแผนโปรเจกต์คือการกำหนดเป้าหมายของโปรเจกต์ในแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนโดยคุณสามารถใช้แผนงานที่ได้รับความนิยมเหล่านี้ SMART Goals เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ ทำได้จริง เกี่ยวข้อง และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน วิธีนี้ช่วยให้ทีมสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนโปรเจกต์ และติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ CLEAR Goals เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เน้นการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับทีมที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา OKR (Objectives & Key Results) เป็น framework ที่มุ่งเน้นการจัดวางเป้าหมายในระดับองค์กร โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ในภาพรวมและกำหนดโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ OKR จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างชัดเจน มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้...
Continue readingAsana in Action: Mastering Your Work Management with Asana AI
“Work Smarter, Not Harder” New! พบกับงานอีเวนต์ที่ Demeter ICT จัดร่วมกับ Asana หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของเราเป็นครั้งแรก อีเวนต์ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของคุณให้ดีขึ้นกว่าที่เคย เตรียมพร้อมเข้าสู่โลกของ Work Management ที่ไร้รอยต่อกับงาน “Asana in Action: Mastering Your Work Management with Asana AI” มาร่วมปลดล็อคความท้าทายในการทำงานร่วมกันที่ยุ่งเหยิงสู่การทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ พร้อมเจาะลึกฟีเจอร์ของ Asana ที่กำลังมาแรงอย่าง Asana Intelligence (Asana AI) ที่จะช่วยยกระดับการทำงานของคุณให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียนรู้จากประสบการณ์และกรณีศึกษาจากลูกค้าที่ใช้งาน Asana มาช่วยแก้ปัญหาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจริง รวมถึงเดโม่สาธิตการใช้งาน Asana เพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน Asana ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมกิจกรรม Quiz game ที่คุณจะได้ร่วมสนุกและลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษ! และช่วง Q&A ไขทุกข้อสงสัยของคุณเกี่ยวกับ Asana โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Demeter ICT และ Asana โดยตรง กับงานสัมมนาออนไลน์ Asana in Action: Mastering Your Work Management with Asana วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 – 11.30 น. บรรยายผ่านช่องทาง Google Meet (*มีทั้งบรรยายไทยและอังกฤษ*) ปิดการลงทะเบียนแล้ว ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ Highlights ที่คุณจะได้รับจากงานนี้: ทำความรู้จักกับ Asana – Work Management Platform เพื่อการบริหารงานร่วมกันและจัดการโปรเจกต์ระดับโลก เผยวิธีเปลี่ยนความท้าทายในการทำงานให้เป็นความสำเร็จด้วย Asana แบ่งปันเทคนิคและเครื่องมือที่ช่วยให้ทีมจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จของลูกค้าที่ใช้งาน Asana...
Continue readingใช้งาน Asana แบบ Free VS Asana แบบ Premium ต่างกันอย่างไร?
Asana เป็นเครื่องมือ Project Management อันดับ 1 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับธุรกิจทุกขนาดและความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Asana แบบ Free กับ แบบ Premium (คือ เสียเงินค่า License ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่) จะสัมพันธ์กับฟีเจอร์ในการทำงาน ความสามารถในการจัดการทีมและการจัดการโปรเจกต์ของคุณ หากคุณกำลังไม่แน่ใจว่า ระหว่างการใช้งาน Asana แบบ Free กับแบบ Premium แบบไหนจะเหมาะกับทีมหรือองค์กรของคุณมากกว่ากัน บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งานทั้งสองแบบกันอย่างชัด ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้งาน Asana ตัดสินใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. User Limits (จำนวนผู้ใช้งาน) Asana Free เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) มีสมาชิกภายในทีมไม่เกิน 10 คน ที่ต้องการใช้งาน Asana เพื่อที่จะจัดการงานส่วนตัวหรือเริ่มต้นจัดการโปรเจกต์ภายในทีม Asana Premium เหมาะสำหรับทีมและองค์กรขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ พร้อมแพ็กเกจที่หลากหลาย เพื่อให้คุณสามารถเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมและตรงกับองค์กรของคุณมากที่สุด 2. Features (ฟีเจอร์การใช้งาน) Asana Free การจัดการงาน (Task Management) สามารถสร้าง Task งาน มอบหมายงานให้กับสมาชิกภายในทีมและกำหนดวันเสร็จสิ้นของงานหรือโปรเจกต์ของคุณได้ มุมมองโปรเจกต์ (Project Views) สามารถเห็นภาพรวมของโปรเจกต์ ตารางปฏิทินและลิสต์งานต่าง ๆ ได้ เครื่องมือการทำงานร่วมกัน (Collaboration Tools) สามารถแสดงความคิดเห็น ตอบกลับเกี่ยวกับงานและสามารถแนบไฟล์ได้ (จำกัดขนาดไว้ที่ 100MB ต่อไฟล์) รายงานแดชบอร์ด (Reporting Dashboard) มองเห็นรายงานแดชบอร์ดพื้นฐานและภาพรวมความคืบหน้าของโปรเจกต์ การเชื่อมต่อเบื้องต้น (Integration) สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ของบริษัทได้อย่างเช่น Slack, Google Workspace และ Microsoft Teams แต่เนื่องจากข้อจำกัดของฟีเจอร์แบบฟรี...
Continue readingAsana คืออะไร? รู้จัก Asana ซอฟต์แวร์ด้านการทำ Project Management ที่ดีที่สุด
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Asana คืออะไร? Asana คือ ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการโปรเจกต์ (Project Management Software) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคล ทีม แผนก หรือองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การจัดระเบียบทีมหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การติดตามการทำงาน โปรเจกต์ และเป้าหมายให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้ Asana ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูงเหมาะกับการทำงานในปัจจุบัน ทั้งการตั้งค่ามุมมองของหน้าจอการทำงานให้เหมาะสมกับตัวเองได้ การเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่องค์กรใช้งานอยู่ การสร้างรีพอร์ทเพื่อให้เห็นภาพรวมของโปรเจกต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานและทีมที่ตรงจุด รวมถึงการใช้งานบนมือถือที่เป็นแอปพลิเคชันและรองรับทั้ง iOS และ Android สามารถติดตามโปรเจกต์ได้แม้กระทั่งตอนเดินทาง ฟีเจอร์ของ Asana มีอะไรบ้าง? จัดระเบียบงาน (Organize work) : สร้าง Tasks งานหรือโปรเจกต์ พร้อมกระจายงานที่สามารถจัดการได้และมอบหมายงานให้กับสมาชิกในทีมที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Collaborate effectively) : สามารถสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แชร์ไฟล์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของงาน ภายใน Asana ได้ทั้งหมด ติดตามความคืบหน้า (Track progress) : ติดตามดูสถานะของงานและโปรเจกต์ทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย กำหนดเวลาของโปรเจกต์ (Project deadlines) : กำหนดเวลาสำหรับงานและโปรเจกต์ และมีการส่งแจ้งเตือนเมื่อเวลานั้นใกล้เข้ามา จัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritize work) : ใช้ฟีเจอร์ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญและวันครบกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่างานไหนสำคัญที่สุดและต้องทำให้เสร็จก่อน กำหนดเป้าหมาย (Set goals) : ติดตามความคืบหน้าของงาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักของบริษัท และดูว่างานแต่ละอย่างมีส่วนช่วยให้ภาพรวมของบริษัทโตขึ้นได้อย่างไร การเชื่อมต่ออย่างอิสระ (Integrations) : เชื่อมต่อ Asana กับเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่คุณใช้อยู่แล้ว เช่น Slack, Google Drive, Dropbox และอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย ประโยชน์ของการใช้ Asana คืออะไร? 1.ช่วยจัดระเบียบและเพิ่มความชัดเจนให้กับองค์กร (Improved organization and clarity) ศูนย์กลางของข้อมูล: ช่วยกำจัดข้อมูลที่กระจัดกระจายทั้งในอีเมล...
Continue reading