Omnichannel เป็นคำศัพท์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจให้ความสนใจที่จะทำอะไรสักอย่างกับกระแสการบริการในรูปแแบบใหม่นี้ หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ omnichannel solution คือ การรวมช่องทางการบริการลูกค้าทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาบทสนทนาทั้งหมดของลูกค้าเอาไว้ ซึ่งช่วยให้ทีม customer service สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ลูกค้าเป็นใคร? เคยติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางใด? เคยได้มีการสนทนาอะไรกับเจ้าหน้าที่คนไหน? และเคยได้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดบ้าง? เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการจบปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นจากการแยกช่องทางการบริการลูกค้าหลายช่องทางออกจากกันโดยไม่มีจุดเชื่อมโยงกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ธุรกิจควรปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าแบบเดิมไปสู่การบริการลูกค้าแบบทุกช่องทาง (omnichannel customer service) หากคุณกำลังต้องการคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ ลองอ่านและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้: เจ้าหน้าที่หนึ่งคนรับงานหนักเกินไป ปริมาณ ticket เพิ่มขึ้นจนเป็นเหตุให้จำนวน ticket ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่หรือไม่? เจ้าหน้าที่ของคุณรู้สึกทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียดหรือไม่? ไม่ว่าพนักงานของคุณจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับปริมาณ อีเมล โทรศัพท์ และคำถามที่เข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ มากเกินไปจนรู้สึกรับมือไม่ไหว จัดการได้ไม่ทันใจลูกค้า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รู้สึกเครียดเกินไป เพราะในโลกของการบริการลูกค้า ไม่มีอะไรที่จะเครียดไปกว่าจำนวน ticket ค้างที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดทรัพยากรเข้ามาช่วยแบ่งเบางาน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของคุณไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพในการซัพพอร์ตลูกค้าขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบถึงค่า CSAT และ ASAT ได้ การบริการไม่สอดคล้องกันในทุกช่องทาง หากทีมของคุณให้การซัพพอร์ตลูกค้าข้ามช่องทางโดยไม่สอดคล้องกัน หากจะให้ยกตัวอย่างเคสง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการให้ลูกค้าต้องเล่าซ้ำ ๆ ถึงปัญหาของพวกเขาเมื่อมีการโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่น หรือ วันนี้ลูกค้าโทรหาคุณโดยที่คุณไม่เคยรู้เลยว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้เคยส่งอีเมลมาหาคุณแล้ว เป็นต้น การทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนว่าช่องทางไหนบ้างที่สามารถไว้วางใจได้อาจส่งผลกระทบถึงความไม่ไว้วางใจในบริษัทไปด้วย ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม การบริการและการสื่อสารข้ามช่องทางที่ไม่สอดคล้องกันนี้ยังรวมไปถึงบริบทต่าง ๆ ของลูกค้าที่อาจสูญหายไป และ ticket อาจมีการตกหล่นอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การสนทนากับลูกค้ามีความยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าเดิม และเกิดเป็น ticket คงค้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ได้รับค่าความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ อีกทั้งพนักงานของคุณจะรู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและทำงานร่วมกัน ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ทีมซัพพอร์ตของคุณต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีในการโทรหาแผนกอื่นเพื่อหาคำตอบให้กับลูกค้าของคุณ เจ้าหน้าที่แอดมินต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่ง report ประสบการณ์ของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและมีตัวชี้วัดในด้านประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่แอดมินหรือผู้ดูแลระบบของคุณต้องหัวหมุนและดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ...
Continue readingมาดูกัน G Suite Business ต่างจาก Basic อย่างไรบ้าง
G Suite Business เป็นแพ็คเกจหนึ่งใน Google G Suite หลายคนสงสัยว่าแล้วแพ็คเกจ Business มันมีความพิเศษ และมีความแตกต่างจากแพ็คเกจ Basic ที่กำลังใช้อยู่ปัจจุบันอย่างไร แถมราคาก็สูงกว่าแพ็คเกจ Basic อยู่พอสมควรอีกด้วย ขอเกริ่นสั้นๆ ก่อนว่า G Suite Business นั้นมีจุดเด่นหลักอยู่ที่การรักษาข้อมูลองค์กรให้มีความปลอดภัยในระดับสูง และยังได้พื้นที่ไดรฟ์ไม่จำกัด ซึ่งเราได้รวบรวมข้อแตกต่างเอาไว้ในบทความนี้ และฟีเจอร์ดังต่อไปนี้ที่คุณจะพบนอกเหนือจากฟีเจอร์ทั้งหมดใน G Suite Basic 1. พื้นที่เก็บข้อมูลแบบไม่จำกัด ผู้ใช้แต่ละคนในองค์กรสามารถใช้ G Suite Business ในการเก็บข้อความ Gmail, Google Photos และไฟล์ในไดรฟ์ได้ไม่จำกัด แต่ถ้าคุณมีผู้ใช้ไม่เกิน 4 คนในองค์กร ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับพื้นที่เก็บข้อมูล 1 TB 2. Google Cloud Search นอกจากนี้ คุณสามารถใช้ Google Cloud Search ดำเนินการดังต่อไปนี้ได้ ค้นหาข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Google Docs, Calendar และบริการอื่นๆ ใน G Suite คุณจะได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากระบบให้ความช่วยเหลือ 3. Team Drive ความพิเศษของ Team Drive ที่แตกต่างจาก Google Drive ปกติคือ ไฟล์จะเป็นของส่วนกลางแทนที่จะเป็นของพนักงานคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น หากมีพนักงานคนใดออกจากทีม หรือองค์กร ไฟล์นั้นจะยังคงอยู่ที่เดิมเพื่อให้พนักงานคนอื่นๆ สามารถแชร์ข้อมูลและทำงานให้สำเร็จต่อไปได้ 4. การควบคุมของผู้ดูแลระบบ – เก็บข้อมูลแบบถาวรด้วย Vault ใช้ Vault ในการเก็บรักษา จัดเก็บ ค้นหา และส่งออกข้อมูลขององค์กรเพื่อใช้กับ eDiscovery ตามนโยบายและข้อกำหนดขององค์กร...
Continue readingG Suite: Your Digital Transformation Partner
โดย: ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์, Founder & CEO, Demeter ICT ผ่านไปด้วยดีกับอีเวนทํประจำไตรมาสของ Demeter ICT ร่วมกับ Google ในหัวข้อ G Suite: Your Digital Transformation Partner คำว่า Digital Transformation คำนี้ค่อนข้างฮิตกันในยุคนี้ ที่ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนก็พูดถึง ซึ่งเรามักจะมองว่ามันเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่องค์กรระดับ SME ไม่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือมักจะมองว่า Digital Transformation คือการลงทุนทางด้าน ‘เทคโนโลยี’ ใช้เงินแก้ปัญหาแล้วจบเลย แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ หลายองค์กรมักจะตั้งต้นคำว่า Digital Transformation คือการไปเอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้งต้น ด้วยการดูว่าปัจจุบันในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง แล้วก็ลงทุนซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานเลย แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ เพราะกินยาผิด เนื่องจากเทคโนโลยีที่เอามาใช้ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนในองค์กรยังคงมีรูปแบบการทำงานที่เหมือนเดิม แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม ในความเห็นผมการทำ Digital Transformation จะต้องเริ่มที่ Pain point หรือจุดที่องค์กรมีปัญหาองค์กรก่อน เช่น ทำการวิเคราะห์ว่าทุกวันนี้องค์กรมีปัญหาอะไร ทำงานช้าที่ตรงไหน data discrepancy อยู่จุดไหน ขาดข้อมูลส่วนไหนบ้าง โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีก่อน จากนั้นพอสรุปประเภทปัญหาได้แล้ว จึงคิดต่อว่าเครื่องมืออะไรบ้างที่มาแก้โจทย์นี้ได้ และที่สำคัญคือ ‘คนในองค์กร’ จะมีภาพความฝันในการทำงานบนเทคโนโลยีนั่นด้วยวิธีการทำงานแบบไหนที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งมาถึงจุดนี้เราจะตอบได้ทันทีว่า Digital Transformation จะไม่ใช่เรื่องของ CIO เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ CEO ที่ต้องทำหน้าที่ Project Sponsor ในการไดรฟ์ให้คนในองค์กรมาทำงานด้วยวิธีใหม่ บนเทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช่ทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ด้วยวิธีการทำงานแบบเดิม ซึ่งการทำ Change Management หรือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนในองค์กรปรับเปลี่ยนวิธีทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ เป็นสิ่งทีืจำเป็นในการทำ Digital Transformation มากครับ ผมมักจะยกตัวอย่างขององค์กรที่ใช้ Google G Suite อยู่เสมอว่า G Suite ไม่ใช่มาแทนระบบอีเมลเดิม...
Continue readingซื้อ Zendesk กับดีมีเตอร์ ไอซีที VS ซื้อโดยตรง
หลังจากมีหลายท่าน ๆ สอบถามกันเข้ามาถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ที่เป็น Zendesk partner ในประเทศไทย กับการซื้อจาก Zendesk โดยตรงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจจึงขอจำแนกการบริการออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. Licenseการซื้อบริการ License นั้นสามารถซื้อได้ทั้งกับ DMIT หรือซื้อกับ Zendesk โดยตรง ซึ่งราคาจะไม่มีความแตกต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทไทย 2. Implementในส่วนของการ Implement นั้นจะสามารถซื้อได้กับ DMIT เพียงอย่างเดียว เนื่องจากทาง Zendesk ยังไม่มีบริการ Implement ให้ในประเทศไทย ฉะนั้นท่านสามารถซื้อ License กับ Zendesk แล้วมาซื้อ Implement กับทางเราก็ได้ หรือจะซื้อทั้ง License และ Implement กับเราทีเดียวเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากซื้อ Implement กับเราจะได้รับการ Training ให้ด้วย ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอื่น ๆ ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ซื้อ: หากลูกค้าไม่ต้องการ implement ลูกค้าจะต้องศึกษาการใช้งานระบบ Zendesk ด้วยตัวเอง โดยทาง DMIT มีการซัพพอร์ตในส่วนวิธีการใช้งานเป็นภาษาไทยให้ ซึ่งทางลูกค้าต้องทำการ setting ระบบเอง ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตให้ลูกค้าแบบ 8/5...
Continue readingเมนูตัวเลือกใหม่ใน Gmail เพียงแค่คลิกขวา
ทาง Google กำลังเพิ่มตัวเลือกเมนูเพิ่มเติมใน Gmail จาก G Suite เพียงแค่การคลิกขวา ด้วยตัวเลือกใหม่เหล่านี้ คุณสามารถจัดการอีเมลได้มากขึ้นโดยตรงจากกล่องข้อความของคุณได้เลย อย่างเช่น: ตอบกลับ หรือส่งต่ออีเมลในคลิกเดียวได้จากหน้าหลัก ค้นหาอีเมลทั้งหมดจากผู้ส่ง ค้นหาอีเมลทั้งหมดที่มีชื่อเรื่องเดียวกัน (หากปิดมุมมองการสนทนา) เปิดอีเมลหลายฉบับในหลายหน้าต่างใหม่ในเวลาเดียวกัน เพิ่มป้ายกำกับ หรือย้ายอีเมลได้อย่างง่ายดาย เปิดการใช้เมนูแบบใหม่ ปิดการใช้เมนูแบบใหม่ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (office) 092-262-6390 (support) 095-896-5507 (sale) support@dmit.co.th Official LINE...
เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยใน Docs, Sheet, Slides
คุณอยากให้ Google Docs, Sheets, Slides ใน Google Workspace มีฟอนต์ภาษาไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่? ตอนนี้ Google เพิ่มชุดฟอนต์สำหรับภาษาไทยแล้ว ในคอลเลคชัน “National Fonts” ฟอนต์ชุดนี้ได้รับการเผยแพร่และใช้โดยรัฐบาลแห่งประเทศไทยในฐานะฟอนต์ที่เปิดให้ใช้สาธารณะอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2550 ทาง Google ได้อัปเดตฟอนต์ชุดนี้เพื่อให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ Google ภายในคอลเลคชันจะประกอบไปด้วยฟอนต์เหล่านี้: Bai Jamjuree Chakra Petch Charm Charmonman Fah Kwang K2D KoHo Kodchasan Krub Mali Niramit Sarabun Srisakdi Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02 030 0066...
แอป Gmail บนมือถือ ปรับโฉมใหม่น่าใช้ยิ่งขึ้น
มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง? หลังจากที่มีการปรับปรุงหน้าเว็บสำหรับ Google Drive, Docs, Sheets, Slides และ Sites ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทางกูเกิ้ลก็ได้มีการปรับโฉม Gmail บนมือถือด้วยเช่นกัน ภายใน Gmail โฉมใหม่นี้จะถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายมากขึ้นกว่าเดิม คุณจะสามารถดูไฟล์แนบได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกดเปิด นอกจากนี้ยังง่ายต่อการสับเปลี่ยนระหว่างบัญชีส่วนตัวและบัญชีในที่ทำงานอีกด้วย การใช้สีให้น้อยที่สุดจะช่วยให้คุณมุ่งเน้นแต่เนื้อหาและสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้หากคุณลองสังเกต บริเวณด้านบนของหน้าจอ มีการปรับเปลี่ยนปุ่มค้นหา แทนที่ด้วยแถบค้นหาที่มีความโดดเด่นกว่า คุณจะได้รับการแจ้งเตือนบนแถบสีแดงขนาดใหญ่เช่นเดียวกันกับบนเว็บเบราวเซอร์ เมื่อมีสิ่งที่เข้าข่ายว่าเป็นการหลอกลวง หรือฟิชชิ่ง ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าคุณจะสามารถใช้หน้า Gmail โฉมใหม่นี้ได้กับอุปกรณ์ทั้งระบบ Android และ iOS บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (office) 092-262-6390 (support) 095-896-5507 (sale) support@dmit.co.thOfficial LINE...
อยากซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ต้องทำอย่างไร?
ในประเทศไทย Zendesk ถือว่ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนเริ่มรู้จักบวกกับบริษัทหลาย ๆ แห่งได้มีการนำ Zendesk มาใช้งานแล้ว (คลิกดูลูกค้า DMIT ที่ใช้งาน Zendesk) ซึ่งอาจเกิดเป็นคำถามสำหรับหลาย ๆ ท่านที่สนใจ Zendesk ว่าการจะซื้อหรือนำ Zendesk ไปใช้งานนั้นต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร บทความนี้จึงจะขอแนะแนวทางให้ทุกท่านได้ทราบคร่าว ๆ กัน 1. ศึกษารายละเอียดเบื้องต้นหากคุณยังไม่ทราบรายละเอียดชัดเจนว่า Zendesk คืออะไร? Zendesk จะตอบโจทย์กับการใช้งานในบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเข้ามาได้ตามช่องทางการติดต่อที่แนบไว้ด้านล่าง หรือจะลองทดลองใช้ฟรีก่อน 30 วันก็ได้ไม่ว่ากัน (คลิกลงทะเบียนทดลองใช้ฟรี) LINE: @dmitOffice: 02-675-9371Sales: 095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก)Email: support@dmit.co.th 2. นัดเข้าไปนำเสนอ (present) ผลิตภัณฑ์หลังการศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเบื้องต้น หากคุณสนใจและต้องการให้เราเข้าไปนำเสนอตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ก็สามารถติดต่อเข้ามานัดวันให้เราเข้าไปนำเสนอได้ทั้ง 2 แบบ คือ ให้เราเข้าไปนำเสนอที่บริษัทของคุณ ในกรณีที่บริษัทของคุณอยู่ต่างจังหวัด หรือนอกเหนือจากกรุงเทพฯ สามารถนำเสนอผ่าน Video Conference ได้ 3. พิจารณา/ประเมินราคาหลังจากการนำเสนอ ถามคำถามเบื้องต้น อย่างเช่น คุณต้องการนำ Zendesk ไปใช้ในด้านใด ไปใช้กับแผนกหรือทีมใด บริษัทของคุณมีระบบการดำเนินงานอย่างไร มีเจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้งานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อประเมินราคาเบื้องต้น ซึ่งหากคุณต้องการให้เรา implement ให้ด้วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี...
Continue readingย้ายการตั้งค่าไดเรกทอรี่ใน Admin console
ทางกูเกิ้ลกำลังจะย้ายการตั้งค่าไดเรกทอรี่ในหน้าผู้ดูแลระบบ G Suite คุณสามารถใช้การตั้งค่าไดเรกทอรีเพื่อควบคุมไดเรกทอรีขององค์กรคุณ และจัดการการใช้งานรายชื่อผู้ติดต่อกับ user ได้ รวมถึงการแก้ไขโปรไฟล์ของ user ในไดเรกทอรี่ หรือการกำหนดค่าไดเรกทอรี่ภายใน และอื่นๆ – คุณสามารถไปยังการตั้งค่านี้ได้ที่ Admin Console > Menu > Directory > Directory Settings (คอนโซลผู้ดูแลระบบ > เมนู > ไดเรกทอรี > ตั้งค่าไดเรกทอรี) บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (office) 092-262-6390 (support) 095-896-5507 (sale) support@dmit.co.th Official LINE...