Team Drives ฟีเจอร์หนึ่งของ Google Drive จะเปลี่ยนชื่อเป็น “shared drives” ซึ่งมีผลต่อไดรฟ์ทั้งบนเว็บและมือถือ ส่วนช่วงเวลาที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละแพลตฟอร์ม สำหรับ Drive File Stream เวอร์ชัน 31 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป “Team Drives” จะเปลี่ยนชื่อเป็น “shared drives” ซึ่งคุณอาจจะต้องอัปเดตการตั้งค่าบนเครื่องของคุณด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานของ Team Drives เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อเท่านั้น เพราะฉะนั้นลูกค้าทุกท่านสบายใจได้ ส่วนเหตุผลที่เปลี่ยนทางกูเกิ้ลแจ้งว่าเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการทำงานของฟีเจอร์นี้มากขึ้น ควรเตรียมตัวอย่างไร? สำหรับแอดมิน: หากปัจจุบันองค์กรของคุณเชื่อมไฟล์พาธจาก Drive File Stream ในการสร้างชอร์ตคัทบนหน้าเดสก์ท็อป, สคริปท์, หรืออื่นๆ หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2019 คุณจะต้องทำการอัปเดตไฟล์พาธเป็น “shared drives” ให้เร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไฟล์พาธขัดข้อง สำหรับผู้ใช้งาน: บริเวณเมนูด้านซ้ายมือใน Google Drives คุณจะเห็นคำว่า “Team Drives” เปลี่ยนชื่อเป็น “shared drives” นอกจากนี้ทุกชอร์ตคัทบนหน้าเดสก์ท็อปที่ลิงก์ข้อมูลใน shared drives ต้องทำการอัปเดตด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ใช้มือถือระบบ IOS จะเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป และวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 สำหรับระบบแอนดรอยด์ Team Drives จะรวมอยู่ใน G Suite แพ็คเกจ Business ขึ้นไป (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ G Suite Business) G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด...
Continue readingมาดูกันว่า Harris Farm Markets ใช้ Zendesk ในการรับฟังและตอบกลับลูกค้าอย่างไร?
Customers /Year 11 Million Number of Full Time Agents 7 Employees 1,000 Customer Service Channels 4 Products Used Harris Farm Markets เป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านขายของชำอิสระที่เติบโตเร็วที่สุดของออสเตรเลีย ด้วยร้านค้า 25 ร้าน และลูกค้า 11 ล้านคนในแต่ละปี รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟู ทำให้บริษัทกำลังมองหาอนาคตและหัวใจของการเติบโตของบริษัท และสิ่งนั้นก็คือ “การได้รับความรักจากลูกค้า” Harris Farm Markets เป็นธุรกิจที่ดำเนินการโดยครอบครัว Harris ซึ่งเริ่มกิจการขึ้นในปี 1971 เมื่อ David และ Cathy Harris เปิดร้านแรกในวิลาวูดรัฐนิวเซาท์เวลส์ จนถึงปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่โดยทั้งคู่ เป็นเวลามากกว่า 40 ปีที่ Harris Farm Markets ได้ส่งมอบผลผลิตสดใหม่ให้กับครอบครัวชาวออสเตรเลียด้วยคุณค่าและความเชื่อหลัก ๆ ที่ว่า ครอบครัวชาวออสเตรเลียควรมีผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่และดีที่สุด สำหรับพวกเขา Harris Farm Markets เป็นบ้านของพนักงานมากกว่า 1,000 คน ที่ตั้งใจทำงานเพื่อส่งมอบผลผลิตที่ดีให้กับลูกค้า 11 ล้านคน ที่เดินผ่านประตูเข้ามาในแต่ละปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกค้าชาวออสเตรเลียสามารถเลี้ยงครอบครัวด้วยอาหารรสชาติดี สดใหม่ และสะอาด คือสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าเข้ามาอุดหนุนเลือกซื้อสินค้าจนถึงทุกวันนี้ “เราต้องการรับฟังลูกค้าเมื่อลูกค้าพูดกับเรา และเราเลือกใช้ Zendesk Support เพื่อการเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักและดำเนินการในระดับท้องถิ่น ไม่ใช่แค่ผ่านสำนักงานใหญ่ของเราเพียงที่เดียว และเมื่อเราทบทวนกลยุทธ์ในระยะยาวของเรา เราตัดสินใจว่าเราต้องการได้รับความรักจากลูกค้าของเรา ดังนั้นประสบการณ์ของลูกค้าและการบริการจึงกลายเป็นปัจจัยผลักดันสำหรับธุรกิจของเรา และเพื่อที่จะได้รับความรักนั้น เราต้องเรียนรู้ถึงการปฏิสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่ความสุขของลูกค้า” – James Kerridge (online operations manager) กล่าว Kerridge อธิบายต่อว่า Harris Farm Markets มีช่องทางการให้บริการลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่องทางเหล่านั้นเดินทางไปยังสถานที่ที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากร้านค้าหลายแห่งในนิวเซาธ์เวลส์แล้ว บริษัทยังมีศูนย์การติดต่อซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่ซึ่งใช้ทั้งการโทรติดต่อ อีเมล...
Continue readingเริ่มต้นใช้งาน Zendesk (คู่มือ) : ประเภทผู้ใช้งานระบบ
ในการใช้งานระบบ Zendesk เราสามารถแบ่งประเภทผู้ใช้งานตามสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ตามความต้องการขององค์กร โดยมีผู้ดูแลระบบ (Admin) ที่ทำหน้าที่และถือสิทธิ์ในการควบคุมและตั้งค่าระบบตามการใช้งานขององค์กร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ (Agent) สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานที่องค์ได้กำหนดไว้ โดยมีลูกค้า (End-user) หรือผู้ติดต่อทำการส่ง Ticket เข้ามาผ่านตามช่องทางต่าง ๆ ขององค์กร โดยสามารถแบ่งประเภทผู้ใช้งานระบบ Zendesk อย่างละเอียดได้ดังนี้ 1. Agent (หรือ Assignee)คือ เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ให้บริการ ที่ต้องรับผิดชอบต่อ Ticket ที่ถูกส่งเข้ามาจากลูกค้า หรือ ผู้ติดต่อโดยระบบ Zendesk ได้เรียกผู้ใช้งานประเภทนี้ว่า “Assignee” 2. Light Agentคือ ผู้ให้บริการอีกประเภทที่มีการทำงานคล้ายกับ Agent แต่ Light Agent จะไม่สามารถเป็นเจ้าของ Ticket ได้ นอกจากนี้ Light Agent ยังไม่สามารถตอบกลับหาลูกค้าได้โดยตรง ทำได้เพียงพูดคุยกับคนในองค์กรเพื่อติดตามงานและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เท่านั้น 3. Adminคือ ผู้ดูแลระบบ หรือ หัวหน้างาน มีรูปแบบการทำงานคล้ายกับ Agent แต่ admin จะมีสิทธิ์เข้าถึงการตั้งค่าของระบบ เช่น เพิ่มลดจำนวน Agent และสร้างกลุ่มหรือมุมมองการทำงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับการทำงานขององค์กร รวมทั้งสร้าง report เพื่อดูรายงานผลการทำงานของ Agent และภาพรวมการทำงานของระบบ 4. End-User (หรือ Requester)คือ ลูกค้าหรือผู้ส่งคำขอรับบริการเข้ามาให้ Agent ช่วยแก้ปัญหาให้ในรูปแบบของ Ticket ตามช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรเปิดรับ โดยระบบ Zendesk ได้เรียกผูัใช้งานประเภทนี้ว่า “Requester” สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk...
Continue reading10 เคล็ดลับการใช้ Gmail ที่คุณอาจไม่เคยรู้
เมื่อเร็วๆ นี้ Gmail ฉลองวันเกิดครบรอบ 15 ปี และเป็นเครื่องมือติดต่อธุรกิจให้กับคนทั่วโลกได้ดีตลอดมา Laura Mae Martin – ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จาก Google มีเคล็ดลับดีๆ 10 ข้อ ที่อยากแบ่งปันในการใช้ Gmail ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน Laura Mae Martin Executive Productivity Advisor ลดการแจ้งเตือน: อย่าให้เสียงแจ้งเตือนอีเมลเข้าต้องรบกวนจนทำให้คุณปวดหัว ในโทรศัพท์ของคุณ คุณสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนสำหรับอีเมลบางฉบับได้ เช่น อีเมลจากเจ้านายของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณระบุอีเมลที่สำคัญ และยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อคุณต้องการ ตอบกลับอีเมลภายใน 24 ชม.: คุณอาจไม่สามารถรับอีเมลทั้งหมดได้ภายในวันเดียว แต่คุณอาจสามารถหลีกเลี่ยงการตามอีเมลจากเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าได้ด้วยการอัปเดตสถานะ หรือตั้งค่าอีเมลตอบกลับอัตโนมัติ อย่าง “ตอนนี้ฉันไม่อยู่ที่ออฟฟิศ จะรีบดำเนินการภายในสัปดาห์นี้” วิธีนี้ก็ดีไม่ใช่น้อยเลย อย่าคลิกเข้าไปอ่านอีเมลมากกว่า 2 ครั้ง: หากคุณอ่านอีเมลแล้วมาร์คไว้ว่ายังไม่ได้เปิดอ่าน คุณจะต้องกดเข้าไปอ่านอีกครั้งเพื่อให้จำได้ว่าจะต้องทำอะไรกับอีเมลฉบับนี้ต่อไป ซึ่งนั่นจะทำให้เสียเวลาและเพิ่มขั้นตอนการทำงาน ลองเปลี่ยนมาเป็นการอ่านเพียงครั้งเดียว แล้วใส่ป้ายกำกับให้กับอีเมลแต่ละฉบับ อย่างเช่น “ตอบกลับทันที” หรือ “ภายในสัปดาห์นี้” หรือ “เสร็จสิ้น” เมื่อคุณตอบกลับและดำเนินการเรียบร้อยแล้ว การอ่าน การตอบ และการจัดลำดับอีเมล: หลายคนมักจะอ่านอีเมลทีนึง ตอบอีเมลทีนึง แล้วค่อยจัดลำดับอีเมลทีหลัง ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่เสียเวลา ลองเปลี่ยนวิธีใหม่ จัดลำดับอีเมลทันทีหลังจากที่คุณอ่านหรือตอบกลับเรียบร้อยแล้ว อาจจะดูพูดง่ายแต่ทำยาก แต่เมื่อทำได้แล้ว คุณจะประหยัดเวลาและพลังงานไปได้อีกมาก ทำให้อีเมลมีความชัดเจนเสมอ: เมื่อกล่องข้อความของคุณมีอีเมลมากมายปะปนกัน และไม่ได้ระบุไว้ว่าควรทำอะไรต่อ อาจทำให้คุณรู้สึกว่ามีสิ่งที่ต้องทำเยอะเกินกว่าสมองจะรับไหว ควรจัดการอีเมลให้ชัดเจนไปเลยว่าจะลบ จะเก็บไว้ หรือปิดเสียงแจ้งเตือนอีเมลที่คุณไม่ต้องการ ข้ามอีเมลบางฉบับ: หากต้องมานั่งไล่ดูอีเมลทุกฉบับจนปวดหัวนั้นไม่ดีแน่ Gmail ช่วยให้คุณสามารถสร้างตัวกรองเพื่อให้อีเมลบางรายการข้ามกล่องจดหมายของคุณ และจะไม่ปรากฏเป็นอีเมลใหม่ ตัวอย่างเช่น คุณได้รับข่าวสารทางอีเมลมากเกินไป ให้ตั้งค่าตัวกรองด้วยคำว่า “Unsubscribe” เพียงเท่านี้อีเมลที่คุณไม่ต้องการก็จะไม่กวนใจอีกต่อไป แต่คุณสามารถค้นหาอีเมลเหล่านั้นได้ในภายหลัง อย่าปนอีเมลที่อ่านแล้วกับยังไม่ได้อ่าน: แค่จินตนาการว่ามีอีเมลใหม่ กับอีเมลที่เปิดอ่านแล้วปะปนกันอยู่ในกล่องข้อความก็ปวดหัวแล้ว อีเมลใหม่ควรอยู่อีกส่วนหนึ่ง และอีเมลที่เปิดอ่านแล้วก็ควรอยู่อีกส่วนหนึ่ง แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคุณสามารถสร้างกล่องข้อความได้หลายกล่อง หรือย้ายอีเมลไปที่ป้ายกำกับต่างๆ ระบุการกระทำที่เฉพาะเจาะจงเอาไว้ เช่น “ต้องทำ”...
Continue readingเหตุผลที่ All Nippon Airways วางใจใช้ G Suite
All Nippon Airways หรือ ANA เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เริ่มแรกนั้น ANA มีความรู้เกี่ยวกับ Cloud ไม่เท่าไหร่นั้น แต่ปัจจุบันนี้ All Nippon Airways มีความยินดีที่จะประกาศว่า เราจะเริ่มต้นใช้ระบบ Cloud เพื่อสร้างความแตกต่างในรูปแบบการทำงานของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยเครื่องมือของ Google อย่าง G Suite เพื่อพัฒนาการสื่อสารและการทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น พนักงานของ ANA ทุกคนในแผนกต่างๆของบริษัท ตั้งแต่นักบินและพนักงานต้อนรับไปจนถึงพนักงานฝ่ายบุคคลและการเงินใช้ Gmail, Google Drive และ Google Hangouts Meet ANA เป็นธุรกิจระดับโลก ดังนั้นพนักงานของบริษัทมีอยู่ทุกมุมโลก เมื่อ ANA เลือกใช้โซลูชัน G Suite พวกเขาก็ไม่ต้องสนใจแล้วว่าพนักงานของเขาจะอยู่ที่โตเกียว อยู่ในสำนักงานที่ประเทศอังกฤษ หรือจะอยู่บนท้องถนนที่ปักกิ่ง เพราะพวกเขาจะสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์โดยใช้ Google Docs, Sheets และ Slides จากเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ แท็บเล็ต ข้อดีของการใช้ G Suite คือลดปัญหาเรื่องระยะทาง และยังช่วยทลายอุปสรรคด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศด้วยฟีเจอร์แปลภาษาของ Google Hangouts G Suite ให้ความน่าเชื่อถือแก่พวกเราในเรื่องอีเมลบริษัท และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานแบบที่เราต้องการ ทีมงาน ANA ต้องประสานงานไฟต์บินให้กับลูกค้าไปยังจุดหมายปลายทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมีระบบการสื่อสารที่เราสามารถไว้วางใจได้ ฟีเจอร์ Gmail ไม่ได้ให้แค่ความน่าเชื่อถือ เพราะในระยะยาวผู้ใช้งาน G Suite ไม่ต้องเสียค่าทรัพยากรในการดูแลระบบอีเมล เพราะสามารถไว้วางใจได้ว่าการดำเนินการระบบอีเมลของพวกเขาจะถูกดูแลด้วย Google’s infrastructure กว่า 60 ปีที่ ANA ให้บริการผู้โดยสารทั่วโลกด้วยความสะดวกสบายและความปลอดภัย ในขณะที่กำลังเตรียมเปิดตัว ANA ในทศวรรษถัดไป พวกเรารอที่จะขับเคลื่อนบริษัทด้วย G Suite อย่างราบรื่นที่สุดและตั้งใจจะเพิ่มอินโนเวชั่น ความคล่องตัวในการทำงานและการทำงานสไตล์ใหม่ๆ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (Office) 092-262-6390 (Support) 095-896-5507 (Sale) 097-008-6314 (Sale) support@dmit.co.th Official LINE...
4 เหตุผล ทำไมต้องใช้ Team Drives
1. Team Drives ช่วยให้พนักงานใหม่ทำงานง่ายขึ้นเมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามา อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่พนักงานจะเรียนรู้งานได้ครบถ้วน ในบางครั้งหัวหน้าทีมอาจไม่มีเวลาว่างสอนงานพนักงานใหม่ แต่หากองค์กรคุณใช้ Team Drives พนักงานใหม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ภายในทีมและองค์กรได้ทันที เพราะไฟล์จะเป็นไฟล์ส่วนกลางขององค์กรแทนที่จะเป็นของพนักงานคนใดคนหนึ่ง 2. ไฟล์ไม่หายไปไหนแม้มีพนักงานลาออกไฟล์ใน Team Drives จะเป็นไฟล์ส่วนกลางขององค์กรแทนที่จะเป็นของพนักงานคนใดคนหนึ่ง หากมีพนักงานคนใดลาออกจากทีม หรือองค์กร ไฟล์นั้นจะยังคงอยู่เพื่อให้พนักงานคนอื่นๆ สามารถแชร์ข้อมูลและทำงานต่อไปได้แบบไม่สะดุด 3. แอดมินและพนักงานจัดการแชร์สิทธิ์ได้อย่างง่ายดายในองค์กรที่มีหลากหลายแผนก จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถช่วยทำให้คุณแน่ใจว่ามีเพียงพนักงานที่เหมาะสมเท่านั้นที่กำลังเข้าถึงไฟล์เอกสารนั้นๆ Team Drives ทำให้พนักงานสามารถจัดการการเข้าถึงไฟล์ได้อย่างง่ายดาย ก่อนที่จะให้พนักงานเริ่มใช้ Team Drives แอดมินสามารถตั้งค่าสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์เอกสารได้ใน Admin Console คุณสามารถเปิดให้ทุกบัญชีในโดเมนเข้าถึงไฟล์ได้ หรือจะจำกัดแค่บางแผนกในองค์กรก็ได้ นอกจากนี้แอดมินยังสามารถเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้ใช้ใน Team Drives ได้อีกด้วย 4. ค้นหาไฟล์ด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่งก่อนหน้านี้ โซลูชันในการจัดการข้อมูลขององค์กรจำเป็นต้องติดแท็กเอกสารเองด้วยข้อมูลเมตา เพื่อให้ระบบส่งไฟล์ที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามาก แต่คุณสามารถใช้ฟีเจอร์ “Quick Access” ในไดรฟ์ที่ใช้อัลกอริทึมในการเรียนรู้และวิเคราะห์แนวโน้มของหัวเรื่อง ปฏิทินทีม และข้อมูลจากบริบทอื่นๆ เพื่อระบุไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้องและแนะนำให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างแม่นยำ คุณจะสามารถใช้ Team Drives ได้เมื่อซื้อ G Suite แพ็คเกจ Business ตั้งแต่ 1 user ขึ้นไป (พื้นที่ 1 TB) นอกจากนี้คุณจะได้พื้นที่แบบไม่จำกัดเมื่อซื้อตั้งแต่ 5 user ขึ้นไปอีกด้วย ดูรายละเอียดแพ็คเกจและราคา G Suite Business บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (Office) 092-262-6390 (Support) 095-896-5507 (Sale) 097-008-6314 (Sale) support@dmit.co.thOfficial LINE...
เพิ่ม TIME ZONE ใน Google Calendar
ถ้าคุณต้องทำงานกับเพื่อนร่วมทีมในต่างประเทศที่อยู่ในโซนเวลาต่างกัน คุณสามารถเพิ่ม time zone ของประเทศนั้นใน Google Calendar ได้ ในครั้งถัดไป คุณสามารถสร้างปฎิทินสำหรับ event แบบข้ามโซนเวลาเป็นเวลาของต่างประเทศได้ ซึ่งปฏิทินสำหรับ event นี้จะโชว์เวลาและสถานที่ให้กับคุณและเพื่อนร่วมงานในต่างประเทศเห็นในรูปแบบโซนเวลาของประเทศที่คุณอยู่ วิธีการตั้งค่าเพิ่ม time zones ใน Google Calendar ล็อคอิน Gmail ผ่านหน้าบราวเซอร์ และ Google Apps หรือปุ่ม 9 จุด จากนั้นเลือก Google Calendar 2. เมื่อเข้า Google Calendar มาแล้วให้คลิก setting menu 3. คลิกเลือก time zone ในแถบด้านขวา 4. คลิกเลือก primary time zone หรือ โซนเวลาหลัก และตั้งชื่อตรง Label 5. คลิกตรงช่อง Display secondary time zone จากนั้นเลือก time zone ของประเทศที่คุณต้องการ และตั้งชื่อตรง Label 6. คุณสามารถสลับโซนเวลาหลักกับรองได้ว่าจะใช้อันไหน เพียงคลิกปุ่มลูกศรสลับขึ้นลง วิธีตั้งค่า time zone สำหรับ event สร้าง event ใน Google Calendar คลิก edit ที่รูปดินสอ 3. คลิก Time zone 4. เลือกโซนเวลาในการเริ่มงานและจบงานของ Event บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน...
Continue reading10 ไอเดียการทำงานด้วย G Suite สำหรับการขายและการตลาด
1. การทำร่างข้อเสนอ Request for Proposal (RFP) ร่วมกันภายในทีม ถ้าคุณต้องการใส่ข้อมูลที่มาจากหลายๆทีมใน Request for Proposal แต่คุณก็กลัวมีปัญหาการมีเอกสารหลายเวอร์ชันจากแก้ไขงาน คุณสามารถใช้ Google Docs เพื่อสร้างเอกสารที่ทำงานได้พร้อมกันและในเวลากัน ซึ่งผู้ร่วมงานของคุณสามารถเข้ามาแก้ไขเอกสารนี้ในระหว่างที่คุณทำอยู่ด้วยได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นในเอกสารเดียวกันนี้เพื่อให้คุณแก้ไขงาน ข้อดีของ Google docs คือมีไฟล์เอกสารแค่อันเดียว ซึ่งคุณสามารถเข้าดู version history ได้และด้านในจะบอกเวลาและคนที่เข้ามาแก้ไข นอกจากนี้ทุกการเปลี่ยนแปลงบนเอกสารจะถูกบันทึกแบบอัตโนมัติ 2. จัดเก็บไฟล์อย่างไร ให้ทุกคนเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์การใช้งาน ผู้ใช้งาน G Suite ทุกท่าน สามารถเข้าถึงไฟล์ที่สำคัญขณะที่ทำงานอยู่ภายนอกบริษัทได้ เมื่อเซลล์หรือนักการตลาดออกไปพบลูกค้าและต้องอัพเดตเอกสารระหว่างที่อยู่ในบริษัทลูกค้า แต่ดันลืมคอมพิวเตอร์มาด้วย ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อผู้ใช้งานจัดเก็บไฟล์ไว้บน Google Drive หรือ Team Drive คุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์เอกสารหรือไฟล์ต่างๆเพื่ออัพเดตหรือแก้ไขงานได้จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ต 3. สร้างและแชร์ศักยภาพในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ให้กับเอเจนซี่ คุณเคยทำงานในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์กับเอเจนซี่หรือไม่ ? ในการทำงานคุณจะต้องมั่นใจว่าทุกคนมีการไฟล์ออกแบบสินค้าอันใหม่ล่าสุด มีไฟล์วีดีโอโฆษณา มีไฟล์ PDFs และไฟล์เอกสารสำคัญต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งาน G Suite สามารถจัดเก็บไฟล์ต่างๆนี้ได้ด้วย Google Drive หรือ Team Drive จากนั้นก็แชร์ไฟล์เหล่านี้ให้กับเอเจนซี่ได้ทันที เมื่อมีคนเข้ามาร่วมในโปรเจคของคุณ คุณสามารถแชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่อยู่ใน Google Drive ให้กับเพื่อนร่วมโปรเจคได้ทันที ซึ่งทุกการเปลี่ยนแปลงในเอกสารหรือไฟล์ต่างๆเหล่านี้จะถูกบันทึกแบบอัตโนมัติ ทำให้ทุกคนที่อยู่ในทีมเห็นหน้าเดียวกันนี้ทั่วทั้งภูมิภาคและเขตเวลา 4. สามารถฝึกอบรมพนักงานขายของคุณได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าคุณจำเป็นต้องอบรมพนักงานและต้องการลดค่าใช่จ่ายด้านการไปอบรมนอกสถานที่ คุณสามารถใช้ Hangouts Meet เพื่อเปิดคอร์สเรียนเสมือนนั่งเรียนอยู่ห้องเรียน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง มากไปกว่านั้นคุณสามารถบันทึกวีดีโอระหว่างการอบรม เพื่อนำมาเปิดใช้งานที่หลังได้ 5. จัดการงานแสดงสินค้า ถ้าคุณมีเทศการแสดงสินค้าหลายงานจากหลากหลายทีมงานและต้องส่งงานให้ทันเวลา คุณต้องมั่นใจว่าไฟล์ต่างๆเช่น ไฟล์ PDFs ไฟล์เอกสารหรือไฟล์วีดีโอ จะเสร็จเรียบร้อยและส่งได้ตรงเวลา คุณอาจจะต้องจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลกระบวนการของงาน ว่าอยู่ในลำดับที่ขั้นตอนเท่าไหร่ และทำบันทึกหน้าที่ของเพื่อนร่วมทีมว่าแต่ละคนทำอะไรแล้วบ้าง คุณสามารถใช้ Google Sheets จัดเก็บ แบ่งปันและอัปเดตข้อมูลโครงการทั้งหมดในแบบเรียลไทม์ 6. จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจ คุณต้องการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็วที่ไม่เกี่ยวกับ data expert หรือไม่ ? สามารถสร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ง่ายๆด้วย Google Forms ซึ่งคุณจะเห็นคำตอบได้แบบเรียลไทม์ และสามารถสร้างกราฟและตารางเพื่อวิเคราะห์คำตอบได้ทันทีบน Google Sheets 7. สร้างเว็บไซต์สำหรับทีม เพื่ออัพเดตข้อมูลล่าสุดไว้ในที่เดียว เบื่อกับการตอบกลับอีเมล เพื่อขอเทมเพลตองค์กรล่าสุดหรือไม่ ? และต้องการวิธีการสื่อสารภายในทีมโดยไม่ต้องส่งอีเมลในรูปแบบเดียวกันส่งให้หลายๆคนมั้ย เมื่อคุณใช้ Google Sites คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ข่าวสารหรือแหล่งรวมข้อมูล และแชร์ให้เพื่อนร่วมงานทุกคนในแผนกให้ทราบโดยที่ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายไอที 8. สร้างพรีเซนเทชั่นอย่างมืออาชีพ เมื่อคุณต้องเตรียมสไลด์พรีเซนเทชั่นสำหรับพบลูกค้า และต้องเตรียมนำเสนอประเด็นสำคัญต่างๆพร้อมกับทีมงานของคุณ...
Continue readingเตรียมพบกับอีเมลแบบไดนามิกใน Gmail
วันนี้ทางกูเกิ้ลกำลังเร่งพัฒนาให้ Gmail มีประโยชน์ และมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น ด้วยอีเมลแบบไดนามิก คุณสามารถตอบโต้ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยตรงจากข้อความอีเมลของคุณ เช่น ตอบกลับข้อความเชิญไปงานอีเวนท์, ตอบคำถาม, เปิดดูแคตตาล็อก หรือตอบคอมเม้นท์ ซึ่งแบบเดิมคุณต้องคลิกที่ลิงก์ เปิดหน้าต่างใหม่ เพื่อเข้าชมเว็บไซต์ แต่การอัปเดตครั้งนี้คุณสามารถทำทุกสิ่งได้ภายในหน้าต่างเดียว แทนที่คุณจะได้รับอีเมลแต่ละครั้งที่มีคอมเม้นท์ถึงคุณในไฟล์เอกสาร (Docs, Sheets, Slides) คราวนี้คุณจะเห็นทุกคอมเม้นท์รวมอยู่ด้วยกัน และเป็นข้อความล่าสุดใน Gmail ซึ่งคุณสามารถตอบหรือแก้ไขคอมเม้นท์ได้อย่างง่ายดายจากภายในข้อความอีเมล ไอเดียเจ๋งๆ หรือแรงบันดาลใจดีๆ จากเว็บไซต์ Pinterest ที่คุณสามารถบันทึกภาพได้โดยตรงจากข้อความอีเมล โดยไม่ต้องเปิดลิงก์ขึ้นมาในหน้าต่างใหม่ อีเมลแบบไดนามิกจะเริ่มเปิดให้บริการกับผู้ใช้บัญชี Gmail บนเว็บ และจะรองรับทางแอปพลิเคชัน Gmail บนโทรศัพท์มือถือเร็วๆ นี้ หากคุณเป็นลูกค้า G Suite คุณจะสามารถเปิดใช้งานอีเมลแบบไดนามิกสำหรับองค์กรของคุณในคอนโซลผู้ดูแลระบบ (Admin Console) เร็วๆ นี้ได้เลย G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...