考虑到许多宝贵的信息都是由客户的请求产生的 ,而您的企业可以通过这些数据,更多地了解客户寻求帮助的原因 – 更重要的是 – 您的企业可以采取哪些措施来改善客户体验。 我们相信,当客户体验受数据驱动时,他们的体验会更好,并且每个企业都应该拥有易于使用的分析工具,这些工具可以让他们在客户和业务产生的服务互动的海洋里更加愉快。 这就是为什么我们那么兴奋地宣布推出Zendesk Explore,为企业提供分析,以衡量和改善整个客户体验。 借助Zendesk Explore,您可以即时访问重要的客户分析,并更深入地了解客户及其随附的业务。 可点击进入观看视频,了解有关explore的更多信息: Say hello to Zendesk Explore | Zendesk Blog...
จัดการอีเว้นท์สำคัญด้วย Google Calendar
แอดมิน และอีเว้นท์แพลนเนอร์สามารถสร้างปฏิทินสำหรับงานอีเว้นท์ครั้งใหญ่ได้อย่างง่ายดายด้วย Google Calendar แบบพิเศษ ที่สามารถแยกออกจากปฏิทินแบบปกติ หลังจากสร้างอีเว้นท์ใหม่ในปฏิทิน คุณสามารถแชร์ให้กับผู้จัดการ หรือผู้ที่ต้องดูภาพรวมของตารางงาน หลังจากนั้นเชิญผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้ นอกจากนั้นคุณยังสามารถแปะปฏิทินนี้ลงบนหน้าเพจอีเว้นท์ของคุณ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถดูตารางเวลาทั้งหมดได้อีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับ ทุกคนสามารถเห็นการประชุมและเหตุการณ์สำคัญได้ แพลนเนอร์และผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะทราบว่ามีกิจกรรมหรืองานใดบ้าง ในขณะที่แยกปฏิทินส่วนบุคคลออกจากปฏิทินกิจกรรม G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...
ภาพรวมฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Zendesk Chat
Zendesk Chat คือ ระบบไลฟ์แชทแพลตฟอร์ม (Live Chat platform) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกล่องแชทบนหน้าเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณและผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Visitors) สามารถสื่อสารกันได้ในแบบเรียลไทม์ (real-time) อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้าทั้งหมดบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ โดยในอดีตจะรู้จักกันดีในชื่อ “Zopim” และต่อมาได้ถูก Zendesk พัฒนาขึ้นเป็น Zendesk Chat ในที่สุด ซึ่ง Zendesk Chat จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้เป็น Leads ด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมผ่านทางไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการซัพพอร์ตลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์ผ่านฟีเจอร์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้ 1. ทริกเกอร์ (Triggers) กลไกส่งข้อความอัตโนมัติไปยังเป้าหมายที่ตั้งค่าไว้โดยอิงจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อสำเร็จได้ง่ายขึ้นจากการส่งข้อความผ่านทางแชทอัตโนมัติ Zendesk Chat triggers 2. แบบฟอร์มก่อนการแชทและแบบฟอร์มออฟไลน์ (Pre-chat forms) การใช้แบบฟอร์มก่อนการแชทเพื่อสอบถามข้อมูลการติดต่อจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก่อนเริ่มต้นการแชทกับเอเจนต์ จะช่วยให้คุณสามารถแยกประเภทการติดต่อและจัดลำดับความสำคัญของคำขอรับการสนับสนุนของลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเป็นแบบฟอร์มออฟไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะสามารถติดต่อคุณได้แม้นอกเวลาทำการ และที่สำคัญ Pre-chat forms สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของคุณ Zendesk Chat pre-chat forms 3. รายชื่อผู้เยี่ยมชม (Visitor list) สามารถติดตามและตรวจสอบผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รวมถึงหน้าเว็บที่พวกเขากำลังเรียกดูอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ได้เฉพาะเจาะจงและให้การบริการได้ตรงจุดโดยการพุ่งเป้าไปยังผู้ใช้แต่ละรายและเสนอความช่วยเหลือได้เมื่อพวกเขาต้องการ สามารถเลือกให้โชว์ได้ 2 แบบ 3.1 List View Zendesk Chat visitor list view 3.2 Visual View Zendesk Chat visitor visual view นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ ได้ Zendesk Chat visitor group 4. การให้คะแนนการแชท (Chat ratings) ลูกค้าสามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อผ่านช่องทางการแชท ทำให้คุณสามารถรวบรวมคะแนนความคิดเห็นและนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้ Zendesk Chat ratings 5. การส่งไฟล์...
Continue readingเปิดใช้โหมดกลางคืนบน Google Calendar และ Google Keep ได้แล้ว เฉพาะแอนดรอยด์
Google Calendar และ Google Keep จะสามารถรองรับโหมดกลางคืนบนมือถือได้แล้ว เฉพาะระบบแอนดรอยด์ ซึ่งที่ผ่านมาโหมดการคืน (Dark mode) เป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ แอปพลิเคชัน ครั้งนี้กูเกิ้ลได้เพิ่มโหมดนี้กับ Calendar และ Keep เพื่อช่วยให้การมองเห็นในสภาวะแสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น เปิดโหมดกลางคืนสำหรับ Calendar: Settings > General > Theme เปิดโหมดกลางคืนสำหรับ Keep: Settings > Enable Dark Mode Carlendar โหมดกลางคืน Keep โหมดกลางคืน...
UX / UI คืออะไร?
UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ แต่บทบาทของ UX / UI นั้นมีความแตกต่างกันและมีเส้นกั้นของความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดความเข้าใจผิดกันอยู่ว่า UX / UI แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้ Demeter ICT จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับ UX / UI มากยิ่งขึ้น UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด” UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์...
Continue readingดูเนื้อหาที่มีลิงค์ทั้งหมดใน Docs และ Slides ได้เพียงคลิกเดียว
ทางกูเกิ้ลจะเพิ่มแถบด้านข้าง “Link objects” ใหม่เร็วๆ นี้ ที่ผู้ใช้จะสามารถเห็นเนื้อหาที่มีลิงค์ทั้งหมดในไฟล์เอกสารได้ ไม่ว่าจะเป็นชาร์ต, ตาราง, สไลด์, และ รูปภาพ แถบด้านข้างนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่มีลิงค์ทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วเพื่อดูว่ามีอะไรที่ควรอัปเดตเนื้อหา ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว การอัปเดตข้อมูลในชาร์ตหรือตาราง: ใน Docs หรือ Slides บริเวณแถบเครื่องมือด้านบนสุด คลิก Tools > Linked objects แถบด้านข้างจะปรากฏขึ้นบริเวณด้านขวา คลิก Update all เพื่ออัปเดตข้อมูลทั้งหมด หรือคลิก Update ด้านข้างข้อมูลที่ต้องการได้ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 (Office) 092-262-6390 (Support) 095-896-5507 (Sale) 097-008-6314 (Sale) support@dmit.co.thOfficial LINE...
บรรยากาศงาน G Suite: Your Digital Transformation Partner ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด หนึ่งในพาร์ทเนอร์รายใหญ่ของไทยผู้ให้บริการ G Suite ได้จัดงานสัมมนาร่วมกับ Google ณ Google Thailand สำนักงานใหญ่ ในหัวข้อบรรยายเรื่อง Digital Transformation ซึ่งงานนี้ เราจัดเป็นครั้งที่ 2 แล้วค่ะ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเกินความคาดหมายของเรามากเลยล่ะค่ะ ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก แนะนำฟีเจอร์ที่คุณจะได้รับจาก G Suite Business อย่าง Google Vault, Team Drives, และ App Maker มีการ Demo การใช้งานแบบคร่าวๆ และผู้เข้าร่วมงานยังสามารถมีส่วนร่วมกับวิทยากรได้อีกด้วย โดยวิทยากรที่มาร่วมพูดคุยกับเราในครั้งนี้มีถึง 4 ท่านด้วยกัน คือ 1. คุณนันทวัฒน์ เอี่ยมเจริญ – Partner Consultant จาก Google2. ดร.วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ – กรรมการผู้จัดการจาก Demeter ICT3. คุณชนัส สาทรกิจ – G Suite Consultant Manager จาก Demeter ICT4. คุณยุทธชัย ไชยสุข – G Suite Consultant จาก Demeter ICT ต้องขอบอกเลยว่าบรรยากาศภายในงานนั้นเป็นกันเองและอบอุ่นสุดๆ สำหรับใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานนี้ ก็อย่าเพิ่งเสียใจไป เราจะยังจัดอีเว้นท์ครั้งต่อไปแน่นอน แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้น ขออุบเอาไว้ก่อนนะคะ คุณสามารถติดตามอีเว้นท์ของเราครั้งต่อไปได้ที่ https://www.dmit.co.th/th/events/ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371...
Continue readingจุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The Birth of Google)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แหม เห็นแฟนๆเรียกร้องกันมามากมาย ก็เริ่มทนไม่ได้ครับ ต้องหาเวลาที่ว่างที่สุดของวันที่ไม่ค่อยว่าง ปั่นต้นฉบับเรื่องจุดกำเนิดของ Google ออกมาซักหน่อย เข้าใจว่าหลายคนคงเรียกร้องเพราะจะเอาไปทำรายงาน (ผมแนะนำให้ cut-paste ไปเลย – พูดเล่นครับ – เพราะถ้าทำจริงขอให้ได้ 0 และ คงได้ 0 แน่นอนครับ เพราะภาษาที่ผมใช้เขียนต่อไปนี้เป็นภาษาพูดครับ ไม่ใช่ภาษารายงาน อ่านแล้วก็เอาไปเรียบเรียงใหม่เป็นรายงานเองนะจ๊ะหนูๆ) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 1. เซอร์เก บริน และลาร์รี่ เพจ จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม – สับสนมั้ยครับ – คืออย่างงี้ครับ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่า ENIAC ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความซับซ้อนสูง ต่อมาคุณ von Neuman ซึ่งก็ช่วยงานในการสร้างคอมพิวเตอร์ ENIAC อยู่ด้วย แกเสนอว่า เราน่าจะแยกส่วนของคอมพิวเตอร์ออกเป็น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยรับเข้าและส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์เครื่องแรก และเป็นสถาปัตยกรรมที่เรายังใช้มาอยู่จนในปัจจุบัน หลายสถาบันก็เลยยกย่องให้ von Neuman เป็นบิดาของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว) แหม! พูดถึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซะยืดยาวเลย พักไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวหาใครที่กำลังเรียนแถวนั้นมาบรรยายสรรพคุณของ Stanford ต่อ ตอนนี้เข้าเรื่องกูเกิ้ลดีกว่าครับ เดี๋ยวกระดาษจะหมดซะก่อน เซอร์เก บริน (Sergrey...
Continue readingDigital Transformation ไม่ใช่จบแค่เรื่องของเทคโนโลยี
โดย ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ , CEO บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด วันนี้ผมได้พูดสองหัวข้อในงาน Event ที่ Google Thailand เรื่องแรกได้พูดถึงวิธีการเติมไฟในการทำงานแบบ Google ครับ จุดเริ่มคือเคยสังเกตุไหมครับว่าหนึ่งในสาเหตุที่บุคลากรในองค์กรของเราเริ่มออกอาการเซ็งและหมดไฟคือเรามีกระบวนการในการทำงานที่ไม่มีมูลค่าถึงร้อยละ 70 เนื่องจากเป็นงานที่ต้องเสียเวลาในการเตรียมข้อมูล ต้องปิงปองไปกลับระหว่างเพื่อนร่วมงาน ต้องเดินเอาเอกสารไปให้ ต้องพิมพ์เอกสารออกมาเซ็นต์ และต้องเก็บเอกสารเป็นตั้งๆ เพราะกลัวตรวจสอบไม่ได้ หรือแม้แต่ต้องเดินทางมาประชุมด้วยการฝ่ารถติดเข้ามา โดยที่ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวอาจจะแค่ 30% ที่เหลือเป็นการเสียเวลาในกระบวนการโดยทั้งนั้น เหตุว่าทำไม Google ถึงได้เป็นองค์กรนวัตกรรมระดับโลก เพราะ Google เน้นในเรื่องแค่สามเรื่องคือ 1) เน้นการทำงานแข่งกับเวลา 2) มีกระบวนการขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้าใจ pain points ของผู้ใช้งาน และ 3) การแบ่งปันข้อมูลในการทำงานร่วมกัน ซึ่งหากเรามีเครื่องมือในการทำให้ทั้งสามเรื่องเกิดขึ้นได้ง่าย เท่ากับว่าเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องในการพูดคุย การแก้งานไปมา การแชร์ข้อมูลเดียวกันก็จะหายไปอย่างมหาศาล ซึ่ง Google ได้ใช้ G Suite ในการเป็นเครื่องมือการทำงานในชีวิตประจำวันนั่นเอง เอาเข้าจริงหลายองค์กรมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการทำ Digital Transformation คือการใช้เงินแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องมือเทคโนโลยี (Technology) มาใช้งานในองค์กร แต่องค์กรจำนวนมากได้ลืมปัจจัยอีกสองอย่างที่ละเลยเสมอในการทำ Digital Transformation ขององค์กร นั่นก็คือ 1. People และ 2. Process!!!! ทั้งสองอย่างประกอบกับ 3. Technology จึงจะทำให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรเกิดขึ้นได้จริง เพราะตอนนี้คนรวยสุดคือทรัพย์ศรีไทยที่รับจ้างเก็บเอกสารกองพะเนินให้เราอยู่ การทำ Digital Transformation ในองค์กรจะประกอบไปด้วยสามเรื่องคือ 1) Technology 2) People และ 3) Process ฟังดูจะรู้ว่ามันไม่จบแค่ใช้เงินซื้อเทคโนโลยีเหมือนกับที่หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเข้าใจคำว่า Thailand 4.0 ว่ารีบๆ ไปหาระบบงานมารองรับ ทั้งกระบวนการทำงานและการวิเคราะห์ข้อมูล เสร็จแล้วก็จบแล้ว แต่นั่นเรากำลังพูดแค่ในมุมของ Technology...
Continue reading