Google ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘หน้าจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล’ หรือ ‘Manage storage’ สำหรับผู้ใช้งาน Google Workspace ที่มีการใช้งานเเบบ Pool Storage ในหน้าผู้ดูเเลระบบ Admin Console เพื่อเเก้ไขปัญหาเรื่องขีดจำกัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไฟล์บน Google Drive, อีเมลบน Gmail เเละรูปภาพบน Google Photos ที่มีการคิดพื้นที่ในระบบของ Google โดยข้อดีของฟีเจอร์นี้คือสามารถจัดสรรเเละกำหนดพื้นที่ให้กลุ่มงานหรือหน่วยงานในองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ทีมการตลาด ที่ต้องจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งไฟล์รูปภาพทางการตลาดไว้เป็นจำนวนมากไว้บน Google Drive เป็นต้น โดยข้อดีของฟีเจอร์นี้คือสามารถจัดสรรเเละกำหนดพื้นที่ให้กลุ่มงานหรือหน่วยงานในองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ทีมการตลาด ที่ต้องจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งไฟล์รูปภาพทางการตลาดไว้เป็นจำนวนมากไว้บน Google Drive เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น หากองค์กรของคุณสามารถเปิดใช้พื้นที่เก็บข้อมูลสูงสุด 1000 GB คุณสามารถตั้งค่าให้ผู้ใช้ทั้งหมดในทีมการตลาดสามารถใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ 950 GB ในขณะที่ทีมอื่นๆ จำกัดให้ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูล 50 GB หรืออาจจะได้น้อยกว่านั้น หากในอนาคตต้องการเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีความจำเป็นในการเพิ่มพื้นที่หรือลดพื้นที่ใช้งาน ก็สามารถจัดการพื้นที่เก็บข้อมูลใน Google Workspace ได้ง่ายๆในฟีเจอร์เดียวกันนี้ได้เลย เเต่ทั้งนี้การจัดสรรข้อมูลส่วนนี้จะต้องอยู่ในขอบเขต Pool Storage หรือพื้นที่ส่วนกลางที่องค์กรได้มีการสั่งซื้อกับ Google ไว้ตั้งเเต่ต้น หมายเหตุ : Pool Storage จะมีตั้งเเต่เเพ็กเกจ Business Standard ขึ้นไป 3 คำถามยอดฮิต สำหรับการจัดการพื้นที่จากหน้าจัดการ Storage Managements การจัดการพื้นที่สามารถใช้งานได้ในทุกแพ็กเกจของ Google Workspce หรือไม่? ใช้ได้เฉพาะองค์กรที่มีพื้นที่เป็น Pool Storage หรือ Business Standard ขึ้นไป องค์กรที่มีการผสมเเพ็กเกจ (Mix plan) ระหว่าง Business Standard ขึ้นไป ที่มี Pool Storage ระบบสามารถจัดสรรพื้นที่ข้ามแพ็กเกจได้หรือไม่? ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเงื่อนไขการใช้งานคือ ไม่ว่าผู้ใช้งานจะใช้งานอยู่ในแพ็กเกจใดก็ตาม...
Continue readingHow to สร้าง Quiz ง่าย ๆ ด้วย Google Forms พร้อมการตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนและเฉลยข้อถูก
Google Forms หนึ่งในแอปพลิเคชันยอดฮิตจาก Google Workspace ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยใช้กันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบฟอร์มลงทะเบียน ก็ต่างถูกสร้างด้วย Google Forms กันทั้งนั้น แต่น่าเสียดายที่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว Google Forms นั้นยังสามารถสร้าง Quiz ได้อีกด้วย ซึ่งคุณสามารถตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนทันทีหรือภายหลังก็ได้ และในส่วนของขั้นตอนการสร้างนั้นก็ถือได้ว่าง่ายมาก จะคล้าย ๆ กับการสร้างฟอร์มแบบปกติเลย แต่จะมีการเพิ่มในส่วนของคะแนนของแต่ละข้อและมีการตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนนั่นเอง สร้าง Quiz ด้วย Google Forms ต้องทำอย่างไรบ้าง? ไปดูกันเลย! 1. เปิด Google Forms แล้วไปที่ Template เลือก Blank Quiz ในหมวด Education 2. ใส่รายละเอียดและเลือกประเภทคำตอบเหมือนการสร้าง Forms แบบปกติ3. เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ไปที่ Answer Key ที่ด้านล่างคำตอบ เลือกคำตอบที่ถูกต้องแล้วใส่คะแนนข้อที่ถูก จากนั้นกดตกลง 4. กดเปิด Required ถ้าไม่ต้องการให้ผู้ทำแบบทดสอบข้ามคำถามนั้น 5. หากต้องการให้คำถามถัดไปอ้างอิงจากคำตอบก่อนหน้า ให้ไปที่ ‘จุดสามจุด’ ตรงมุมล่างขวาของคำถามนั้นแล้วเลือก Go to section based on answer 6. เมื่อกำหนดค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม + เพื่อสร้างคำถามใหม่ได้เลย การตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนและเฉลยข้อที่ถูกใน Google Forms สามารถเลือกได้ 2 แบบ ทั้งแบบทันทีที่ทำแบบทดสอบเสร็จและแบบส่งคะแนนภายหลัง 1. เข้า Google Forms เปิด Quiz ที่คุณได้สร้างไว้ เลือก Settings2. ไปที่ Release grades เลือกด้านบนหากคุณต้องการให้เปิดเผยคะแนนทันทีหลังทำแบบทดสอบเสร็จ เลือกด้านล่างหากคุณไม่ต้องการเปิดเผย...
Continue readingทำความรู้จัก AI เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Google Workspace ให้ประสบความสำเร็จในยุค Hybrid Work
นับว่าเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่หลาย ๆ หน่วยงานได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ล้วนแต่ผันเปลี่ยนไปในทุก ๆ วัน อย่างเช่นในปัจจุบันเริ่มต้นจาก Work From Home สู่ Hybrid Work ที่ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google Workspace เช่น Gmail, Chat, และ Meet มีผู้ใช้จำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นทีมพัฒนา Google Workspace จึงได้ตั้งใจออกแบบนวัตกรรมเทคโนโลยี AI มาช่วยขับเคลื่อนการใช้งาน Google Workspace ให้มีประโยชน์และตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่ง AI ตัวนี้จะสามารถช่วยให้คุณโฟกัสกับงานและสิ่งสำคัญได้ดียิ่งขึ้น ทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัยมากขึ้น และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีมได้ดีกว่าเดิม มาดูรายละเอียดกันเลยว่า AI ใน Google Workspace สามารถช่วยอะไรได้บ้าง? AI ช่วยสรุปสาระสำคัญได้ เมื่อไม่นานมานี้ทีม Google Workspace ได้ปล่อยฟังก์ชันสรุปเอกสารใน Google Docs ซึ่งเป็นสิ่งจุดประกายให้เห็นว่าฟังก์ชันนี้ก็น่าจะสามารถทำงานในแอป Google Chat หรือ Space ได้เหมือนกัน โดยใน Chat นั้น AI จะทำหน้าที่ช่วยสรุปบทสนทนาว่ามีจุดไหนที่สำคัญบ้างในกรณีที่คุณพลาดการสนทนาครั้งนั้นไป ช่วยให้คุณไม่ต้องกลับไปย้อนอ่านข้อความใน Chatใหม่ทั้งหมด ประหยัดเวลามาก ๆ ยิ่งไปกว่านั้นใน Google Meet คุณยังสามารถถอดเสียงสนทนาออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลไปหากไม่ได้เข้าร่วมประชุมเพราะ AI จะช่วยให้คุณสามารถอ้างอิงการสนทนาได้ในภายหลังทำให้คุณไม่พลาดสาระสำคัญใด ๆ ในที่ประชุมไปแน่นอน หรือหากคุณเข้าร่วมประชุมอยู่แล้ว คุณก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้มาเป็นตัวอ้างอิงในการจดสรุปประชุมได้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่ารายละเอียดครบไม่มีพลาด ซึ่งฟังก์ชันนี้จะเปิดตัวประมาณไตรมาสที่ 4 ปี 2565 AI ช่วยเพิ่มประสบการณ์การประชุมให้ดียิ่งขึ้น “แสงน้อย กล้องไม่ชัด หรือแม้กระทั่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่อาจส่งผลให้คุณภาพกล้องลดลง” ปัญหาเหล่านี้กำลังจะหมดไป เพราะทีม Google Workspace ได้นำ Machine leaning มาช่วยปรับคุณภาพของวิดีโอ เพิ่มแสง...
Continue readingKEEN แบรนด์รองเท้าชื่อดังจากอเมริกา ต่อยอดการบริการลูกค้าให้เติบโต 200% ด้วย Zendesk
ขึ้นภูเขา สัมผัสหาดทราย โอบกอดทะเล หากจะมีไอเทมรองเท้าคู่ใจที่ช่วยให้ทุกการเดินทางเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดแล้วล่ะก็ เชื่อว่าแบรนด์ ‘KEEN’ คงจะเป็นคำตอบในใจของใครหลายคน จุดเริ่มต้นของ KEEN เริ่มขึ้นในปี 2003 โดย Martin Keen ชายจากเมืองพอร์ตแลนด์คนหนึ่งที่ต้องการรองเท้าดี ๆ ใส่ขณะพายเรือ และหลังจากนั้นในปี 2011 บริษัทจากรัฐโอเรกอนแห่งนี้ก็ทำเงินได้มากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี ตั้งแต่แตะขอบฟ้าจรดทราย รองเท้าของ KEEN จึงเรียกได้ว่าแทบจะครอบคลุมกิจกรรม outdoor ทุกอย่าง หากจำกัดความธุรกิจของ KEEN คงจะเป็นกลุ่ม Retail หรือ E-commerce ประเภท B2C อย่างไม่ต้องสงสัย แต่รู้หรือไม่? นอกจาก B2C แล้ว KEEN ก็ยังมี ‘KEEN Partners Service’ ที่เป็นบริการอนุญาตให้พาร์ทเนอร์ขายสินค้าตนเองผ่านฐานลูกค้าของ KEEN ได้อีกด้วยนะ? การจะทำธุรกิจทั้งสองส่วนให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ KEEN ยังพบว่าเครื่องมือที่ใช้อยู่อย่าง Cisco กับ Desk.com ไม่สามารถวัดผลที่ต้องการได้ แต่ก็เป็นตรงนี้เองที่ทำให้ KEEN อยากจะยกระดับการสนับสนุนด้าน E-commerce โดยการรวมช่องทางโทรศัพท์และอีเมลเข้าด้วยกัน รวมถึงยังต้องการระบบรีพอร์ตด้วย Keen จึงได้เจอกับ Zendesk เครื่องมือที่รองรับความต้องการของ KEEN ได้ทุกอย่าง แรกเริ่มใช้งาน Zendesk “Zendesk อยู่ระดับ Gold สำหรับกลุ่มธุรกิจแบบนี้ จริงอยู่ว่ามันเป็นโปรเจคใหญ่ แต่เรื่องการติดตั้งระบบ การใช้งานต่าง ๆ ก็ราบรื่นมากเทียบกับที่อื่นในรอบ 2-3 ปีของเราเลย” – Evan Israel, Operations Specialist & Project Liaison at KEEN กล่าว ข้อดีของ Zendesk เห็นได้ชัดเจนในทันที อย่างการเพิ่มโน๊ตสำหรับใช้ภายในด้วย Zendesk Support...
Continue readingรวมวิธีตั้งแจ้งเตือน (Reminder) ใน Gmail, Google Keep, และ Google Calendar ฟังก์ชันเอาใจคนขี้ลืม!
ความขี้ลืมถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนก็ยังคงหาทางออกไม่ได้ ไหนจะประชุม ไหนจะโปรเจ็กต์ ไหนจะงานส่วนตัวอีก เยอะขนาดนี้จะไม่ให้ลืมได้อย่างไร แต่….ถ้าแก้ที่ตัวเราไม่ได้ ก็ต้องพึ่งแอปช่วย! ซึ่งสิ่งนั้นก็คือการตั้งแจ้งเตือน (Reminder) ใน Gmail, Google Keep, และ Google Calendar ฟังก์ชันที่จะช่วยให้ปัญหาคนขี้ลืมหมดไป งานเยอะแค่ไหนก็ไม่หวั่น! เพียงทำตามนี้ Reminder ใน Gmail 1. คลิกเลือกอีเมลในกล่องขาเข้า (Inbox) ที่คุณต้องการให้มีการแจ้งเตือน 2. ไปที่ไอคอนรูปนาฬิกา (Snooze) ที่แท็บด้านบนแล้วเลือกเวลาที่คุณต้องการให้อีเมลถูกส่งเข้ามาใหม่ หรือกด Add to task ก็ได้ จากนั้นระบบจะส่งไป Google Calendar หมวดหมู่ My task ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนเช่นกัน 3. หากคุณเลือกเวลาที่ Snooze แล้วอีเมลหายไป ไม่ต้องตกใจเพราะอีเมลจะถูกส่งเข้ามาใหม่ในเวลาที่คุณกำหนดนั่นเอง Reminder ใน Google Keep 1. เปิด Google Keep แล้วกดสร้างโน้ต ใส่หัวข้อและรายละเอียดที่ต้องการ 2. กดปุ่มระฆัง (Reminder) ด้านล่างซ้ายของหน้ากระดาษโน้ต 3. เลือกวันที่และเวลาที่คุณต้องการจะให้ Google Keep แจ้งเตือน 4. เปิดหน้า Google Keep ทิ้งไว้เพื่อให้ระบบแจ้งเตือน (ระบบจะไม่แจ้งที่หน้า Gmail) Reminder ใน Google Calendar 1. เข้า Google Calendar แล้วกดเลือกวันที่ที่คุณต้องการให้มีการแจ้งเตือน 2. ใส่รายละเอียดต่าง ๆ โดยคุณสามารถเลือกจุดประสงค์ในการสร้างได้ เช่น Event, Appointment, Task หรืออื่น ๆ (หากเลือก Event ให้กด More options) 3....
Continue readingวิธีสร้างอีเมลบริษัทโดเมนตัวเอง ต้องทำอย่างไร? สร้าง @yourcompany ได้ง่าย ๆ ด้วย Google Workspace
ไม่เอาแล้วอีเมลส่วนตัวคุยงานบริษัท! ดูไม่เป็นมืออาชีพเอาซะเลย! อยากมีอีเมล @บริษัทตัวเอง ต้องทำอย่างไร? วันนี้ Demeter ICT ได้รวบรวมวิธีการสร้างอีเมลบริษัทที่มีโดเมนเนมตัวเอง รับประกันว่าง่ายที่สุด มีวิธีดังนี้ 1. เยี่ยมชมเว็บไซต์ Google Workspace โดยตรงหรือมองหา Partner ของ Google Workspace อย่าง Demeter ICT ที่ให้บริการมามากกว่า 10 ปี ซึ่งหากซื้อผ่านทาง Partner แล้วเนี่ย จะมีบริการเสริมให้ฟรี เช่น บริการหลังการขายตลอดการใช้งาน อัปเดตบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Google Workspace งานสัมมนาอัปเดตเรื่องสำคัญและฟีเจอร์เจ๋ง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย *บริการด้านบนอ้างอิงจากบริการของ Demeter ICT ซึ่ง Partner แต่ละที่จะให้บริการแตกต่างกันไป 2. ดูแพ็กเกจ (Package) ที่คุณสนใจ แต่ละแพ็กเกจจะมีฟังก์ชันและราคาที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและจำนวนผู้ใช้งาน โดย Google Workspace จะมีให้บริการทั้งหมด 4 แพ็กเกจ คือ แพ็กเกจ (Package) เหมาะสำหรับ? Business Starter เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพื้นที่ใน Google Drive เยอะและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนไม่มากกว่า 100 คน Business Standard เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟังก์ชันเพิ่มเติมจาก Business starter โดยจะมีพื้นที่มากกว่าและรับรองผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง 150 คน พร้อมได้รับ Shared drive พื้นที่เก็บข้อมูลส่วนกลางของบริษัทอีกด้วย ซึ่งแพ็กเกจนี้เป็นแพ็กเกจที่แนะนำและบริษัทนิยมใช้อย่างมาก Business Plus นอกจากฟังก์ชันที่ได้มากกว่า Business standard แล้ว ยังได้ Google Vault ที่สามารถเพิ่มเกราะความปลอดภัยของข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น Enterprise เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่หรือองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลขั้นสูง เพราะแพ็กเกจนี้จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา และยังได้ AppSheet ไปใช้งานฟรี...
Continue readingโดเมน (Domain) คืออะไร? อยากจดโดเมนต้องทำอย่างไร? รวมคำถาม ตอบทุกข้อสงสัยสำหรับคนอยากมีโดเมน
โดเมน คืออะไร? โดเมน (Domain name) คือชื่อเว็บไซต์หลัง www. เช่น www.dmit.co.th (dmit.co.th คือชื่อโดเมน) ซึ่งจริง ๆ แล้ว จุดประสงค์ของการมีโดเมนคือ การมีหน้าเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนหน้าบ้านและการมีอีเมลบริษัทที่เปรียบเสมือนหลังบ้านของตัวเอง อาทิ Myname@dmit.co.th ตรงคำว่า @dmit.co.th นั่นก็คือโดเมนเนมของบริษัทอีกเช่นกัน ซึ่งพนักงานทุกคนจะมีนามสกุลนี้ติดตัวอยู่เสมอและสามารถใช้อีเมลนี้ในการติดต่อสื่อสารกับคนในบริษัทและนอกบริษัทได้ โดเมนมีกี่ประเภท? โดเมนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. โดเมน 2 ระดับ เช่น www.google.com หรือ www.youtube.com (1.ชื่อโดเมน, 2.ประเภทของโดเมน)2. โดเมน 3 ระดับ เช่น www.dmit.co.th หรือ www.matichon.co.th (1.ชื่อโดเมน, 2.ประเภทของโดเมน, 3.ชื่อประเทศ)โดยที่ชื่อตรง .com หรือ .co.th จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำธุรกิจ เช่น ทำไมบริษัทจึงต้องมีโดเมนเนมเป็นของตัวเอง? เพิ่มความเป็นทางการและความเป็นมืออาชีพในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลนอกบริษัท แน่นอนว่าการมีโดเมนเนมที่เป็นเว็บไซต์และ @ อีเมลบริษัทนั้นสามารถชี้ให้เห็นถึงความใส่ใจและความเป็นระบบของบริษัท มีการทำเว็บไซต์หน้าบ้านเพื่อรองรับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชม และได้มีการใช้อีเมลบริษัทในการติดต่อซึ่งทำให้บริษัทดูมีความเป็นมืออาชีพและมีความเป็นทางการต่อบุคคลภายนอก เพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทการใช้อีเมลที่มีโดเมนเนมของบริษัทจะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือของบริษัทได้ เนื่องจากก่อนจะมีการจดโดเมนนั้นจะต้องมีการตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนจากหน่วยงานที่ไว้วางใจได้ ดังนั้นผู้รับอีเมลจึงสามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทของคุณนั้นมีความน่าเชื่อถืออยู่พอสมควร ทั้งนี้ยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทได้อีกด้วย ช่วยระบุได้ว่าบุคคลนั้นมาจากบริษัท/องค์กรใดหากพนักงานของคุณใช้อีเมลส่วนตัวของเขาเองในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ผู้รับจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพนักงานของคุณมาจากบริษัทใด ใช่ตัวจริงหรือไม่ หรือแม้กระทั่งมีการคุยเรื่องอะไร เข้าถึงข้อมูลบริษัทมากน้อยแค่ไหน คุณก็จะไม่มีทางรู้เลยเช่นกัน ดังนั้นการมีอีเมลโดเมนจะทำให้คุณควบคุมและระบุตัวตนพนักงานได้ เพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการแอบอ้างในการจดโดเมน แต่ละบริษัทจะไม่สามารถใช้ชื่อซ้ำกันได้ และในระหว่างการจดโดเมนนั้นจะมีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองการจดโดเมน ฉะนั้นเมื่อบริษัทของคุณได้รับการตรวจสอบและจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ทุกคนในบริษัทจะมีนามสกุลติดตัวอยู่เสมอ ซึ่งจะไม่มีหน่วยงานไหนมาแอบอ้างเป็นคุณได้ สามารถป้องกันการโกงและการกระทำอื่น ๆ ได้อีกด้วย สามารถควบคุมและจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบนี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ Demeter ICT ได้รับมาอย่างล้นหลามเลยทีเดียวว่า “หากพนักงานลาออก บริษัทจะสามารถดึงข้อมูลกลับมาได้หรือไม่?” คำตอบคือ ได้ ถ้าพนักงานนั้นใช้อีเมลที่มีโดเมนบริษัทเป็นตัวควบคุมอยู่ แต่หากพนักงานใช้อีเมลส่วนตัว คุณจะไม่สามารถดึงข้อมูลใด ๆ กลับมาได้เลยเพราะสิทธิ์การเข้าถึงจะเป็นสิทธิ์ของเจ้าของอีเมลแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น เอาละ ถึงเวลาเข้าคำถามสำคัญที่ทุกคนคงอยากรู้แล้ว จดโดเมนแบบฟรี มีไหม? คำตอบคือ ไม่มี คำตอบนี้อาจจะตรงและเจ็บปวดใจไปสักหน่อย...
Continue readingSelf-service กลยุทธ์การบริการลูกค้ายุคดิจิทัลที่ถูกมองข้าม
ปัจจุบันด้วยสถานการณ์หลาย ๆ อย่างเป็นตัวเร่งให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป “ความสะดวกสบายและความรวดเร็ว” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ลูกค้า ‘Want’ อีกต่อไปแล้ว… แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้า ‘Need’ ไม่ว่าจะด้วยการสั่งซื้อสินค้า, การสอบถามข้อมูล, การชำระเงินหรือการแจ้งปัญหาต่าง ๆ ทุกอย่างต้องง่ายและไม่ซับซ้อน ส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์กรต้องมีการปรับปรุงการบริการอยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าได้ คุณเคยไหม..ที่เจ้าหน้าที่ต้องตอบคำถามของลูกค้าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ต้องพิมพ์คำตอบวนไปวนมา คุณเคยไหม..ที่ลูกค้าทักมาสอบถามข้อมูลตอนกลางคืนแล้วไม่มีใครคอยตอบ แต่การจะจ้างพนักงานมาบริการตอนกลางคืนก็ไม่คุ้มค่า อาจทำให้ลูกค้ารอและเสียโอกาสในการขาย คุณเคยไหม..ที่เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการตอบคำถามของลูกค้า ต้องคอยไปสอบถามฝ่ายอื่น ๆ จนเสียเวลาและอาจเกิดความผิดพลาดได้ แล้วธุรกิจต้องทำอย่างไร? ถึงจะตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ “ไม่ชอบรอ” ได้ Self-service การบริการลูกค้าที่หลายคนมองข้าม Self-service หรือการบริการตนเอง คือ หนึ่งทางออกที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้าของคุณให้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยการสร้าง Help center เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยตนเอง รวมถึง Bot ที่สามารถดูแลลูกค้าได้ทุกเวลา ซึ่งผลสำรวจจาก Zendesk CX Trends 2022 พบว่า 69% ของลูกค้าต้องการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพราะมันสะดวกและรวดเร็วที่สุด Self-service กลยุทธ์ที่ Win-Win ทั้งลูกค้าและธุรกิจ ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกแก้ไขได้โดยการนำระบบ Self-service มาปรับใช้ในการบริการลูกค้าของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่เพียงแค่แก้ปัญหาของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ของคุณและยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถมอบการบริการลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งได้อีกด้วย ยกระดับการบริการแบบ Self-service ด้วย Digital Platform อย่าง Zendesk Zendesk ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้าน Digital Customer Service อันดับ 1 จาก Gartner ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริการแบบ Self-service จึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยวางรากฐานให้กับธุรกิจ สามารถนำระบบ Zendesk ไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย โดยที่จะมีทั้งการสร้าง Knowledge Base, Help center, การสร้าง Communities ไปจนถึงการออกแบบ Answer bot ที่จะคอยดูแลลูกค้าของคุณได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ระบบ Zendesk ยังสามารถแสดงข้อมูลของลูกค้าที่ใช้งานส่วนของ Self-service...
Continue reading7 อันดับข้อดีของ Zendesk ที่ผู้ใช้งานจริงกด ‘เลือก’ มากที่สุด
หากจะแนะนำ Zendesk โดยสรุปคงจะได้มากกว่าหนึ่งประโยค อย่างเช่นว่า Zendesk เป็นซอฟต์แวร์บริการลูกค้า ประเภท Help desk ทำงานบนคลาวด์ เป็นอันดับ 1 Digital Customer Service จากการจัดอันดับของ Gartner มีบริษัทที่ใช้ Zendesk มากกว่า 170,000 รายทั่วโลก รวมถึงบริษัทที่เราคุ้นชื่อกันดีอย่าง Netflix, Bitkub, Agoda ผู้ใช้กว่า 2,700 คนลงคะแนน Zendesk ในเว็บไซต์แนะนำซอฟต์แวร์อย่าง Software Advice ไว้ที่ 4.36 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยทุกหัวข้อการประเมินทั้ง 4 หัวข้อหลัก อันได้แก่ ความสะดวกสบายในการใช้ การบริการลูกค้า ความคุ้มค่าของเงินและฟังก์ชันการใช้งาน ล้วนได้คะแนนมากกว่า 4/5 คะแนนทั้งสิ้น ถึงอย่างนั้นท่ามกลางตลาดซอฟตแวร์ SaaS ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด อะไรที่เป็นข้อดี เป็นจุดแข็งที่ผู้ใช้งานเหล่านี้มองเห็นถึงเลือกใช้ Zendesk กันนะ? ในบทความนี้ Demeter ICT จึงขอพาคุณไปสำรวจข้อดีของ Zendesk ที่ได้รับเลือกมากที่สุด 7 อันดับจากเว็บ StackShare เว็บบอร์ดที่รวมนักพัฒนาและผู้ใช้งาน SaaS เอาไว้มากมาย อันดับ 1 รวมศูนย์การบริการทุกอย่างในที่เดียว เป็นฟีเจอร์ยอดฮิตเลยก็ว่าได้สำหรับการรวมทุกช่องทางสื่อสารของลูกค้าไว้ในหน้าจอเดียว ให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดระเบียบและตอบกลับการสนทนาต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ซึ่ง Zendesk ก็สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งช่องทางพื้นฐานอย่างอีเมล โทรศัพท์ ข้อความ ตลอดจนช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Line, Twitter, Instagram นอกจากนี้ Zendesk ก็ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ สำหรับการบริการลูกค้าครบ ไม่ว่าจะเป็นสร้าง Live Chat บนหน้าเว็บ สร้างระบบการโทร สร้าง Help Center คลังความรู้ทั้งของพนักงานและลูกค้า...
Continue reading