PDPA is

PDPA คืออะไร? กฎหมายบังคับใช้ที่ทุกองค์กร “ต้อง” ให้ความสำคัญ

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเจ้าของข้อมูล (บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล) มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ โดยที่องค์กรจะต้องยินยอมปฏิบัติตามสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลตามที่เจ้าของข้อมูลได้ระบุไว้เท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ชื่อ-นามสกุล เชื้อชาติ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน/ เลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร/ ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลรูปใบหน้า ความคิดเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลสุขภาพ และอื่น ๆ สามารถดูได้ที่นี่ ตัวอย่างข่าวในประเทศไทยที่มีปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหลปี 2564 ทำไมทุกองค์กร”ต้อง”ให้ความสำคัญ? เมื่อ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565 นี้ คุณได้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้แล้วหรือยัง? แน่นอนว่าหากเป็นข้อบังคับใช้แล้วเนี่ย องค์กรของคุณจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นแน่ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่พื้นฐานที่องค์กรควรมีอีกต่อไป แต่เป็นพื้นฐานที่องค์กร “ต้องมี” ต่างหาก เพราะ ณ ปัจจุบัน หลาย ๆ องค์กรหันมาดำเนินกิจการแบบออนไลน์และทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ข้อมูลถูกเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นเหตุให้หลาย ๆ หน่วยงานต่างจับตาอยู่ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งหน่วยงานที่ว่านี้คือบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง ที่ต้องการเข้ามาปลอมแปลงดึงข้อมูลความลับภายในบริษัทไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกระทำการใด ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ยินยอมในการกระทำดังกล่าว ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปด้านบนจะเห็นได้ว่าองค์กรทุกองค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย (Data Loss Prevention) ภายในบริษัทที่จะสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลนี้ได้ ซึ่ง DLP นี้จะคอยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คอยดูความเคลื่อนไหว สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ หากเกิดเหตุอันใดน่าสงสัย ระบบก็จะทำการคุ้มกันข้อมูลโดยทันที โดยที่ท่านสามารถซื้อระบบรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะก็ได้ หรือซื้อซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันในการเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยก็ได้ ในทางกลับกันหากองค์กรของท่านไม่มีความเข้าใจในกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีการเก็บข้อมูลพนักงานเป็นความลับ เผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปโดยที่พนักงานเจ้าของข้อมูลนั้นไม่ได้ยินยอม ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับ PDPA ท่านจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย...

Continue reading
PDPA Webinar

ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace

“ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” นับถอยหลังอีกไม่ถึงหนึ่งเดือน… ก่อน PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว โค้งสุดท้ายของการเตรียมตัว แล้วธุรกิจของคุณพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงนี้? เมื่อข้อมูลที่มีอยู่ในมือกลายเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับบริษัทในยุคนี้ ซึ่งในบางครั้งการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลมากเกินไปและใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อเจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎ PDPA และถือเป็นความผิดที่อาจได้รับโทษได้ทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการปรับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องรู้ให้เท่าทันเหตุการณ์และทำความเข้าใจก่อนมีผลบังคับใช้ Personal Data Protection Act (PDPA) หรือในชื่อไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อดูแลข้อมูลของผู้คนภายในประเทศและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลไม่ให้องค์กรหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนำข้อมูลของคุณไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม  พ.ร.บ.นี้ ใกล้ตัวขนาดไหน? สำหรับประชาชนทั่วไปก็อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ เช่น ได้รับโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยไม่รู้ว่ามิจฉาชีพเหล่านี้ได้เบอร์หรือข้อมูลเรามาจากไหน บริษัทประกันโทรหาเพื่อเสนอขาย หรือมีการโฆษณาผ่านอีเมลจากที่ไหนไม่รู้โดยที่เราไม่ได้ยินยอมมาก่อน ซึ่งการเข้ามาของ PDPA จะช่วยลดเหตุการณ์เหล่านี้ให้น้อยลง เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่นำข้อมูลไปใช้โดยพละการจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี สำหรับในแง่มุมของธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ จำต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่าธุรกิจของเรามีการละเมิด PDPA อยู่หรือไม่? เพื่อไม่ให้ทำผิดข้อกฎหมายไม่ว่าจะเป็นความประมาทโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตามที ดังนั้นการให้ความสำคัญและการเตรียมพร้อมรับมือ PDPA จึงเป็นสิ่งที่องค์กร “ต้อง” ให้ความสนใจนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ PDPA และได้ตระหนักถึงมาตรการการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลของภาคธุรกิจและองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ “ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจใน PDPA  แก่ผู้ประกอบการ พร้อมเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Google Workspace จากบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Google เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถรับมือกับ PDPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพไปพร้อมกับเรา ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม ได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมาย PDPA ก่อนปรับใช้จริงในเดือนมิถุนายน...

Continue reading

10 Soft Skills ในการบริการลูกค้าสำหรับทีม Customer Service มีอะไรบ้าง?

ในโลกของการบริการลูกค้า (Customer Service) Soft Skills หรือทักษะความสามารถเชิงสมรรถนะที่หากพนักงานมีจะเป็นข้อได้เปรียบในการทำงานก็คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะการโต้ตอบกับลูกค้าไม่ว่าจะผ่านทางโทรศัพท์ อีเมลหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ สิ่งสำคัญในการบริการลูกค้าคือพนักงานต้องสามารถเชื่อมโยงบทสนทนาให้ลูกค้ารู้สึกว่ากำลังโต้ตอบกับคนที่ห่วงใยและใส่ใจปัญหาของพวกเขาอย่างแท้จริง แต่ถ้าพูดแค่ว่าทีม Customer Service ต้องมี Soft Skills มันอาจจะดูกว้างไปสักหน่อย วันนี้ Demeter ICT จึงมาสรุปและแบ่งทักษะที่ทีม Customer Service ต้องมี ออกมาเป็นข้อ ๆ ทั้งหมด 10 ข้อให้ทุกท่านได้เห็นภาพกันมากขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่า Soft Skills คืออะไร? สามารถดูรายละเอียดจากบทความนี้ได้เลย คลิก > https://bit.ly/37XKJwn 10 Soft Skills ที่ทีม Customer Service ต้องมี มีอะไรบ้าง? 1. การสื่อสารที่ชัดเจน (Clear communication) การสื่อสารที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการบริการลูกค้า คุณจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรและคุณสามารถทำอะไรให้กับลูกค้าได้บ้าง Tips: การพูดคุย – การพูดให้ชัดเจน พูดให้เสียงดังพอ และใช้น้ำเสียงที่สดใสจะช่วยให้คุณสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างชัดเจนและเชิงบวก          ส่งข้อความ – หากคุณเขียนข้อความหรือส่งอีเมลถึงลูกค้า ก็ควรใช้ไวยากรณ์และการสะกดคำที่เหมาะสม แล้วเลือกคำและวลีที่สื่อถึงทัศนคติที่มองโลกในแง่ดีเช่นเดียวกัน 2. ทักษะการฟัง (Listening skill) ทักษะการฟังก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าการสื่อสาร การรับฟังลูกค้าอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร? และคุณจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร? แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังตั้งใจฟังผ่านภาษากายและการตอบสนอง สิ่งสำคัญของการบริการลูกค้าคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าพนักงานได้ยินปัญหาของลูกค้าอย่างแท้จริง Tips: ถ้าหากคุณกำลังพูดคุยกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโทรศัพท์ อย่าขัดจังหวะเวลาที่ลูกค้ากำลังพูดและตอบคำถามทั้งหมดอย่างระมัดระวัง 3. การควบคุมตนเอง (Self-control) ผู้ที่ทำงานด้านบริการลูกค้าต้องสามารถจัดการกับลูกค้าทุกคนได้อย่างใจเย็น แม้กระทั่งคนที่คิดลบที่สุด คุณต้องพยายามอยู่ในความสงบและเยือกเย็นแม้ว่าลูกค้าของคุณจะไม่อยู่ก็ตาม ความอดทนและการควบคุมตนเองจะป้องกันไม่ให้คุณอารมณ์เสียและพูดอะไรที่ไม่เหมาะสมออกไปสู่ลูกค้า Tips: เมื่อลูกค้าอารมณ์เสีย เมื่อลูกค้าโกรธ การพยายามลดบทสนทนาและสงบสติอารมณ์นั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด 4. ทัศนคติเชิงบวก (Positive attitude) ทัศนคติเชิงบวกมีส่วนช่วยในการบริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี แม้ว่าคุณอาจจะคิดว่าการมองโลกในแง่ดีหรืออารมณ์ดีในตอนที่ลูกค้ารู้สึกไม่สบายใจนั้น จะทำให้ลูกค้าบางคนรู้สึกว่าเราไม่จริงจังในการช่วยเหลือลูกค้า แต่การมองโลกในแง่ดีสามารถช่วยให้ลูกค้าคิดบวกมากขึ้นและอารมณ์เย็นลงได้ และเราก็ต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราก็เต็มที่ในการช่วยเหลือลูกค้าอย่างจริงจังเช่นกัน...

Continue reading

5 สูตรคำนวณ Customer Retention อยากวัดผลลูกค้าให้ดีต้องมี

ทราบหรือไม่? จากรายงานของ Kolsky ได้ระบุเอาไว้ว่า การหาลูกค้าใหม่ใช้เงินแพงกว่าการรักษาฐานลูกค้าเก่าถึง 6-7 เท่า ในความหมายเดียวกันก็คือ ยิ่งมีอัตราการรักษาลูกค้าเก่าสูง (Customer Retention Rate) ก็เหมือนการลงทุนที่ได้กำไรสูงขึ้นตาม เพราะโอกาสที่จะ Upsell และ Cross-sell ล้วนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทว่าแล้วเราจะแน่ใจได้ยังไงกันนะว่า Customer Retention ที่ทำอยู่นั้นมันดีจริงหรือเปล่า ลูกค้าพอใจจริงใช่ไหม มีจุดไหนบ้างที่ควรแก้ไข สำคัญไม่แพ้การวางแผนรักษาลูกค้าเก่าให้ดีเลยก็คือเรื่องของการวัดผล ดังนั้นในบทความนี้ มาดูตัวอย่าง KPI ในการบริการลูกค้าพร้อมวิธีคำนวณกัน 1. Customer Churn Rate: อัตราที่ลูกค้าเก่าจะหยุดซื้อสินค้าหรือยกเลิกบริการ สูตรคำนวณ Customer Churn Rate = (จำนวนลูกค้าที่เสียไป ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) × 100 ตัวอย่างเช่น ในเดือนหนึ่งเดิมบริษัทมีลูกค้าเก่าอยู่ 100 คน พอถึงสิ้นเดือนพบว่าลูกค้าหายไป 10 คน ก็จะสามารถคำนวณได้ว่า (10 ÷ 100) × 100 Customer Churn Rate เท่ากับ 10% นั่นเอง หากบริษัทมี Customer Churn Rate สูงเกินไปจะส่งผลต่อการเติบโตได้ และเป็นสัญญาณเตือนว่าบริษัทอาจกำลังมีปัญหาหรือถึงเวลาต้องปรับกลยุทธ์การรักษาลูกค้าเก่าได้แล้ว 2. Customer Retention Rate (CRR): อัตราการรักษาลูกค้า สูตรคำนวณ Customer Retention Rate = (จำนวนลูกค้าทั้งหมด – จำนวนลูกค้าใหม่ที่หาได้) ÷ จำนวนลูกค้าเก่าตั้งแต่แรกเริ่ม × 100 เช่น เริ่มสัปดาห์มีลูกค้าทั้งหมด 100 คน ปลายสัปดาห์ก็มีลูกค้า 100 คนเช่นกัน ระหว่างสัปดาห์หาลูกค้าใหม่ได้ 10 คน อัตราการรักษาลูกค้าของสัปดาห์นี้จึงเป็น [(100-10)...

Continue reading
การใช้งาน Google Docs

สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @

Google Docs หนึ่งในแอปพลิเคชันในการสร้างงานเอกสารยอดนิยมที่ใช้งานง่าย มีครบทุกฟังก์ชัน ซึ่ง Demeter ICT เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยิน ได้ลอง หรือกำลังใช้งานเจ้าตัว Google Docs นี้อยู่เป็นแน่ จากเดิมที่ใช้งานง่ายอยู่แล้ว ตอนนี้ Google Docs ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกเท่าตัว ไม่ต้องกดเข้าแท็บเมนูเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันใด ๆ แต่เพียงแค่พิมพ์ @ คุณก็สามารถคลิกเลือกสิ่งที่คุณต้องการได้เลย ง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างง่ายดาย มิหนำซ้ำยังเพิ่มความเป็นมืออาชีพได้อีกด้วย เนื่องจากเจ้าฟังก์ชัน @ ตัวนี้สามารถลิงก์ไปยังแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google workspace ทำให้งานที่คุณได้สร้างสรรค์ไว้นั้นถูกเชื่อมต่อถึงกันและมีรายละเอียดต่าง ๆ ปรากฏที่หน้า Google Docs ได้โดยตรง ทั้งหมดนี้เพียงแค่พิมพ์ @ ตัวเดียวจริง ๆ   ไม่รอช้า มาดูกันเลยว่าสูตรลับ @ ใน Google Docs นี้จะมีฟังก์ชันอะไรซ่อนอยู่บ้าง สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @ @ ชื่อพนักงานเพื่อมอบหมายงาน หากคุณต้องการมอบหมายงานให้พนักงาน หรือต้องการกล่าวถึงพนักงานคนใดคนหนึ่งในหัวข้องานหรือเนื้อหานั้น ๆ คุณสามารถพิมพ์ @ แล้ว Google จะโชว์บัญชีของคนที่คุณเคยสนทนาด้วยหรือคนที่คุณเคย Interact อะไรบางอย่างร่วมกันเพื่อให้รวดเร็วต่อการค้นหา แต่ถ้าหากคุณหาคนที่คุณต้องการไม่เจอ คุณสามารถพิมพ์ชื่ออีเมลของบุคคลนั้นลงไปได้เช่นเดียวกัน @ ชื่อไฟล์เพื่อให้งานลิงก์ถึงกัน ถ้าคุณต้องการที่จะแนบไฟล์อื่นลงใน Google Docs เช่น ไฟล์จาก Google Sheets, Google Slides, Google Forms หรือแม้กระทั่งรูปหรือไฟล์อื่น ๆ ที่เก็บอยู่ใน Google Drive คุณก็สามารถ @ ลงมาได้เลย...

Continue reading

5 ไม้เด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ บริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้อยู่หมัดด้วย Google Sheets

5 ไม้เด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ บริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้อยู่หมัดด้วย Google Sheets ไม่ว่าจะธุรกิจไหนๆ ต่างก็ต้องรับมือกับข้อมูลที่มีอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอก การจัดเก็บเอกสารทุกอย่างด้วยกระดาษอาจทำให้ข้อมูลบางส่วนตกหล่นหรือสูญหายระหว่างการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็น บิลใบเสร็จ, ข้อตกลง, หรือสัญญาการซื้อขายต่างๆ เป็นต้น จะดีกว่าไหม หากคุณลองปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบเดิมให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย Google Workspace สู่ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลและสามารถค้นหา ทำงาน นำเสนอได้ทันทีที่คุณต้องการเพียงแค่คลิกไม่กี่ครั้ง Google Sheets หรือแอปพลิเคชันเอกสารรูปแบบสเปรดชีตที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ช่วยให้คุณสามารถจัดการข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า และสร้างแผนโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภูมิและตัวกรองให้ง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์ AI อัจฉริยะในการทำข้อมูลเชิงลึก คุณสามารถทำงานร่วมกับทุกคนได้ทุกเมื่อและในทุกที่ที่ต้องการ 1. เทมเพลตเอกสารช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น การสร้างไฟล์ประเภทเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจทำให้เสียเวลาอย่างไร้ประโยชน์ คุณสามารถประหยัดเวลาเพิ่มขึ้นได้ด้วยเทมเพลตต่างๆ ทั้งใน Google Docs, Sheets, Slides, Forms, หรือ Sites โดยคุณสามารถเลือกเทมเพลตที่มีอยู่หรือสร้างเองก็ได้ วิธีการใช้งาน • เลือกหนึ่งเทมเพลตจากรายการเทมเพลตแนะนำที่ด้านบนของหน้าแรก หรือคลิกที่แกลเลอรีเทมเพลตเพื่อดูเทมเพลตเพิ่มเติม หมายเหตุ: หากไม่พบแกลเลอรีเทมเพลต ให้ดูที่หัวข้อแสดงหรือซ่อนแกลเลอรีเทมเพลต • หากมีไฟล์ที่เปิดอยู่ในเครื่องมือแก้ไขเอกสาร ให้คลิกที่ไฟล์ (File)  > ใหม่ (New) > เลือก ‘จากเทมเพลต (From Template)’ > เลือกเทมเพลตต้องการ 2. กรองข้อมูลสเปรดชีตโดยไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิม หากต้องทำงานในสเปรดชีตร่วมกันกับผู้อื่น แต่ต้องการดูข้อมูลแค่บางส่วนโดยไม่ให้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่หายไป คุณสามารถสร้างมุมมองตัวกรองที่เปลี่ยนแค่มุมมองของข้อมูลเท่านั้นได้โดยที่ไม่กระทบกับข้อมูลที่มีอยู่ วิธีการใช้งาน • เปิดสเปรดชีตที่ต้องการสร้างมุมมองตัวกรอง • คลิกเซลล์ที่มีข้อมูล • เลือกข้อมูล (Data) > มุมมองตัวกรอง (Filter views) > สร้างมุมมองตัวกรองใหม่ (Create new filter view) • คลิกรายการแบบเลื่อนลงในส่วนหัวของคอลัมน์แล้วเลือกข้อมูลที่ต้องการกรอง ระบบจะบันทึกมุมมองตัวกรองเมื่อทำการเปลี่ยนแปลง • หลังจากเลือกข้อมูลที่ต้องการกรองแล้ว ให้คลิกตกลง หมายเหตุ: ป้อนชื่อสำหรับมุมมองตัวกรองในช่องชื่อ หากไม่ได้ป้อนชื่อ ระบบจะบันทึกมุมมองตัวกรองเป็น หมายเลข...

Continue reading
How call center get our number

เผย 7 ช่องทางสำรวจแก๊งมิจฉาชีพอย่าง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? พร้อมแนวทางป้องกัน

คุณเป็นหนึ่งคนที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจใช่หรือไม่? แล้วคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาเบอร์โทรของคุณมาจากที่ไหน? นี่เป็นคำถามที่หลายคนก็ต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเมื่อแก๊งต้มตุ๋นที่มาในรูปแบบของการโทรขอข้อมูลกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2565 บ้างก็อ้างว่าคุณมีพัสดุที่ยังไม่ได้รับ บ้างก็อ้างว่าคุณมียอดบัตรเครดิตที่ยังไม่ชำระ หรือแม้กระทั่งว่ามีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ได้สร้างความรำคาญใจ สร้างปัญหาและสร้างมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ยอดผู้เสียหายสูงถึง 270% เมื่อเทียบกับปี 2564 แต่ทว่าการหลอกลวงแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์ที่แก๊งมิจฉาชีพนี้ต้องการ แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนตัวอีกมากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และเลขบัตรเครดิต ที่ซึ่งการโทรไปหลอกนั้นจะสามารถเป็นประตูเปิดทางให้แก๊งมิจฉาชีพล้วงข้อมูลเหล่านี้ไปได้  ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจึงควรกลับไปแก้ไขที่ต้นตอ ลองสำรวจว่าคุณเคยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไหนบ้าง แล้วแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ข้อมูลของคุณมาอย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปกับ Demeter ICT 7 ข้อสำรวจแก๊ง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? 1. เอามาจากเว็บไซต์สมัครงาน เว็บสมัครงานถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลาย ๆ คนได้ลงข้อมูลส่วนตัวไว้ในโปรไฟล์ก็ดี บน Resume ก็ดี โดยที่จะใช้ข้อมูลนั้นในการสมัครงานและหวังว่านั่นจะเป็นช่องทางที่คุณจะได้รับการติดต่อกลับนั่นเอง แต่ว่าคุณเองก็คงลืมเอะใจไปว่าชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล และที่อยู่ของคุณก็ต่างเป็นที่หมายปองของแก๊งมิจฉาชีพอย่างเช่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือแม้กระทั่งแก๊งโทรขายตรงหรือโทรขายฝันก็รวมอยู่ในเว็บไซต์รับสมัครงานกันไม่น้อยเลยทีเดียว  2. เอามาจาก Social Media ส่วนตัว Social Media ช่องทางยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่งที่คุณอาจจะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวว่ามิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลจากช่องทางนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ลองกลับไปเช็คที่โปรไฟล์ของคุณดูว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลไว้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีข้อมูล 2 อย่างนี้ แก๊งมิจฉาชีพก็สามารถเอามาทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น การโทรหลอกเอาข้อมูลหรือที่หลายคนเรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการล้วงข้อมูลทางอีเมลแบบ Phishing หากใครที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่บนโปรโฟล์ ก็แนะนำว่าอย่าใส่จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok ก็ควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ 3. เอามาจากการคลิกลิงก์ คุณเคยเจอบ้างไหมลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาในข้อความโดยมีคำพูดที่เย้ายวนใจราวกับว่าเขาอ่านความคิดคุณออก ซึ่งยากที่จะหักห้ามใจไม่กดเข้าไปเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณคลิกเข้าไปแค่ครั้งเดียวแก๊งต้มตุ๋นก็สามารถล้วงความลับของคุณได้แล้วง่าย ๆ หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการตอบคอมเมนต์โดยการแนบลิงก์ลงบน Social Media ซึ่งหากคุณเผลอคลิกเข้าไป ลิงก์นั้นสามารถนำคุณไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทันที  4. เอามาจากการกรอกแบบฟอร์ม หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมออนไลน์เป็นพิเศษ คุณคือหนึ่งในเป้าหมายของแก๊งนี้ ซึ่งการหลอกลวงเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่อย่างไรก็ตามป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง โดยการทำงานของแก๊งนี้จะมาในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์โปรโมชันต่าง ๆ...

Continue reading

Customer Service 5.0 in Action: เปิดประสบการณ์บริการลูกค้ายุค 5.0 ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวทันโลกการทำงานวิถีใหม่ด้วย Zendesk

มาถึงยุคของการตลาด 5.0 ยุคที่เปรียบเสมือนการนำการตลาด 3.0 ที่เน้นถึงความเข้าใจในมนุษย์และการตลาด 4.0 อย่าง Omnichannel มาผสานกัน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคือหัวใจสำคัญ และเป็นยุคที่ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า (Customer Experience) อย่างแท้จริง คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ผู้ที่ปรับตัวก่อนคือผู้ชนะ เราจะปรับการบริการลูกค้าให้เข้ากับการตลาดและวิถีการทำงานของโลกที่เปลี่ยนไปนี้อย่างไรได้บ้าง? ภายใต้แนวคิดนี้ Demeter ICT ขอเชิญชวนคุณเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ ‘Customer Service 5.0 in Action: เปิดประสบการณ์บริการลูกค้ายุค 5.0 ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวทันโลกการทำงานวิถีใหม่ด้วย Zendesk’ งานสัมมนาที่จะนำเสนอแนวคิดการบริการลูกค้ารูปแบบใหม่ให้เข้ากับกลยุทธ์การตลาด 5.0 ครบครันทั้ง 4 ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น Human: เข้าใจ Insight การใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการบริการลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะสร้างการทำงานที่ยืดหยุ่น ใช้ต้นทุนน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Data: เราจะเก็บข้อมูลและนำมาประยุกต์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของทั้งพนักงานและลูกค้าอย่างไรได้บ้าง? Analyze: การนำ Data มาวิเคราะห์เพื่อปรับแต่งและพัฒนา CX  และ Platform: เจาะลึกฟีเจอร์ของ Zendesk ที่จะช่วยให้การทำงานและการบริการลูกค้าของคุณเป็นเรื่องง่าย และหากต้องการจะปรับปรุงการบริการลูกค้าควรจะเริ่มต้นอย่างไร? บรรยายพิเศษโดยดร.วรัญญู ซีอีโอของบริษัท Demeter ICT และผู้เชี่ยวชาญอีกสองท่านอย่างคุณชนัสและคุณชัยธวัชที่มีประสบการณ์ในการแนะนำการบริการและปรับแต่งระบบให้กับธุรกิจหลายขนาด ให้มั่นใจว่าคุณจะได้แนวคิดหรือไอเดียบางอย่างจากงานสัมมนานี้อย่างแน่นอน ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง ลงทะเบียนฟรี สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม เข้าใจแนวคิดของการบริการลูกค้ายุค 5.0 ตลอดจนขั้นตอนว่าทำอย่างไรถึงจะเป็นจริงได้ การพลิกกระบวนการทำงานที่ไซโลให้ทันสมัย รับกับเทรนด์การทำงานในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดในด้านการบริการและเพิ่มศักยภาพในการทำงาน แนวทางการยกระดับประสบการณ์ความพึงพอใจของลูกค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิมและเหนือคู่แข่ง ทำความรู้จัก Zendesk อันดับ 1 Digital Customer Service ที่มีผู้ใช้งานกว่า 170,000 รายทั่วโลกทั้ง Shopify, Tesco, Netflix แถลงไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ Zendesk และกรณีศึกษาการปรับใช้จากองค์กรชั้นนำ Agenda 14.00 – 14.05Opening & Welcoming Speech 14:05 – 14:30Customer...

Continue reading

Agoda ใช้ Zendesk ยกระดับประสบการณ์ของทั้งพนักงานและพาร์ทเนอร์

เข้าสู่ช่วงซัมเมอร์ที่มีวันหยุดยาวเหมาะแก่การพักร้อน และเป็นช่วงที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม ทริปท่องเที่ยวต่าง ๆ จะคึกคักเป็นพิเศษ หากให้แนะนำหนึ่งในเครื่องมือยอดฮิตในการจองโรงแรม หาที่พักออนไลน์ล่ะก็ เชื่อว่าชื่อ ‘Agoda’ จะต้องผุดขึ้นมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคนแน่ ๆ การคาดเดานี้ฟังดูไม่เกินจริงไปเลย พิจารณาจากที่ Agoda เริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพเล็ก ๆ ก่อตั้งในปี 2541 โดยไมเคิล เคนนี่ ชาวอเมริกาคนหนึ่งที่มาอยู่เมืองไทย ความคิดแรกเริ่มของเขาคือก่อตั้งเว็บไซต์ต้นทางหนึ่งในการหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวรวมถึงรับจองโรงแรมทางออนไลน์ หลังจากนั้น ธุรกิจของไมเคิล เคนนี่ ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของโรงแรมสักแห่งเดียวก็ตาม ปัจจุบัน Agoda มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ แม้จะเผชิญกับพิษโควิด-19 จนมีข่าวเลิกจ้างพนักงานกว่า 1,500 คน ออกในปี 2020 ทว่าก็ยังเป็นบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 4,800 คนในสำนักงาน 32 แห่งทั่วโลก เป็นพาร์ทเนอร์กับโรงแรมและบ้านเช่ากว่า 2.7 ล้านหลัง และได้รับรีวิวผู้ใช้งานกว่า 35 ล้านรีวิว  เป็นตัวเลขที่น่าทึ่งสำหรับธุรกิจที่เป็นเหมือนคนกลางระหว่างพาร์ทเนอร์กับลูกค้า การทำให้มั่นใจว่าทั้งโรงแรมหรือสายการบินจะแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เพียงแค่นั้นพนักงานของ Agoda เองก็ต้องการการสนับสนุนในด้านระบบการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่ดีพอ Agoda ทำได้อย่างไร? เบื้องหลังการทำงานและการบริการลูกค้าของ Agoda เป็นอย่างไรกันนะ? ในบทความนี้ เราจะมาหาคำตอบกัน “เราเคยชินกับการพึ่งพวกเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ แต่มันไม่ได้ช่วยให้เราเห็นภาพของ Process ในการแก้ปัญหาหรือติดตามผลการทำงานภายในได้เลย” Andrea Sebestyen, senior project manager, Customer Experience Group at Agoda กล่าว “ที่เราต้องการคืออยากให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนเข้าถึงการโต้ตอบทั้งหมดง่าย ๆ ทั้งอีเมล ประวัติการโทร ไม่ว่าจะจากพาร์ทเนอร์หรือพนักงานด้วยกันก็ตาม นี่สำคัญมากเพราะจะได้แน่ใจว่าจะมีพนักงานที่คอยดูแลคำร้องเสมอหากว่าสมาชิกในทีมต้องการความช่วยเหลือ หรือหากไม่ว่างหรือลา เรายังต้องการข้อมูล Insight ด้วยว่าคำร้องแบบไหนที่เราได้รับบ่อย ต้องแก้ปัญหาอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไหร่ ทั้งหมดนี้ เราไม่สามารถทำได้เลยด้วยเครื่องมือที่ใช้อยู่” นี่เองเป็น Pain Points ของ Agoda และเป็นจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่การใช้...

Continue reading