อีเมล (Email) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยการส่งข้อความผ่านอินเทอร์เน็ต ประกอบไปด้วยเนื้อหาของอีเมล ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (สามารถมีหลายคนได้) ซึ่งโดยปกติแล้วผู้คนจะนิยมใช้อีเมลในการติดต่อสื่อสารสำหรับข้อความที่เป็นทางการ เช่น การติดต่อด้านธุรกิจ การประชาสัมพันธ์หรือการประกาศเกี่ยวกับบริษัท การรับสมัครงาน การติดต่อกับบริษัทคู่ค้าต่างประเทศ เป็นต้น หากคุณเพิ่งเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทใหม่ การมีอีเมลของบริษัทไว้สื่อสารกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร คือสิ่งแรกที่จะช่วยให้การสื่อสารในบริษัทเป็นไปได้อย่างราบรื่นและเป็นระบบ อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทของคุณดูมีความน่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพอีกด้วย รูปแบบของอีเมล อีเมลจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนหัวและส่วนเนื้อความ อ้างอิงรูปแบบอีเมลจาก Gmail 1. ส่วนหัว อีเมลของผู้รับ หัวข้ออีเมล หัวข้ออื่น ๆ เช่น Cc คือ การส่งอีเมลให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องที่ไม่ใช่ผู้สื่อสารหลัก Bcc คือ การส่งอีเมลให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องโดยซ่อนอีเมลของผู้รับนี้เอาไว้ ซึ่งผู้รับอีเมลและผู้ที่อยู่ใน Cc จะไม่เห็นอีเมลของคนที่อยู่ใน Bcc 2. เนื้อหา/ข้อความในอีเมล ข้อความในอีเมลนี้จะเป็นใจความหลักในการสื่อสาร ซึ่งคุณสามารถแนบไฟล์เอกสาร แนบรูปภาพ แนบลิงก์ไปกับข้อความได้เลย อีกทั้งคุณยังสามารถปรับแต่งข้อความได้ที่เมนูด้านล่าง เช่น การปรับแต่งลักษณะตัวอักษร การนำเข้าไฟล์จาก Google Drive การใส่ลายเซ็น การจัดการ Layout และอื่น ๆ ตัวอย่างอีเมลสำหรับบริษัท sales@dmit.co.th sales = ชื่อสำหรับการตั้งอีเมล คุณสามารถเลือกใช้ชื่อได้ตามต้องการ (คนส่วนใหญ่นิยมใช้ชื่อจริงหรือชื่อแผนก) @ = เครื่องหมายกั้นระหว่างชื่อและโดเมนเนม dmit.co.th = ชื่อโดเมนเนม 3 ส่วนนี้จะประกอบกันเป็น 1 อีเมลนั่นเอง ดังนั้นหากคุณต้องการมีอีเมลเป็นของบริษัท คุณจึงจะต้องมีโดเมนด้วย ทำความรู้จักโดเมนเนมได้ที่นี่ Demeter ICT ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้าน Business Transformation จัดหาโซลูชันเพื่อการทำงานที่เหมาะสมที่สุดให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Google Workspace, Gemini, AppSheet และแพลตฟอร์มอื่น ๆ รวมถึงบริการรับจดโดเมน สร้างอีเมลบริษัท และจัดอบรมการใช้งานโซลูชันต่าง ๆ ...
การป้องกันอีเมลตก spam
การตั้งค่านี้มีไว้ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการแก้ไขเวลาที่มีอีเมลเข้ามาที่หน้าอินบ็อกแล้วอีเมลชอบไปตกอยู่ที่โฟลเดอร์สแปมบ่อยๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการตั้งค่าได้ตามวิธีการดังนี้ คลิกที่ลูกศรชี้ลงขนาดเล็กที่ด้านขวาสุดของแถบค้นหา เพื่อกำหนดการค้นหา เลือกเงื่อนไขการค้นหา คลิกที่ตัวกรอง เพื่อเริ่มการตั้งกฏ เลือก Option ให้กับการตั้งค่านี้ คลิกเลือก ไม่ส่งไปที่สแปม (Never send it to Spam) คลิกเลือก ใช้การตั้งค่านี้กับอีเมลที่เคยส่งมาก่อนหน้านี้ด้วย (Also apply filter to matching conversations.) คลิก Create filter เสร็จเรียบร้อย ***หากต้องการให้การกรองนี้มีผลกับอีเมลที่เคยส่งมาแล้วให้ คลิกที่ Also apply filter to matching message บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371092-262-6390 (support)095-896-5507 (sale)support@dmit.co.thOfficial LINE: @dmit...
แค่มี Google Translate ไม่ต้องกลัวหลงทางหรือสั่งอาหารไม่ได้
ปัญหาของคนที่ใช้ Google Translate หลายคนคือเวลาเห็นป้ายข้อความในภาษาต่างประเทศ ไม่รู้จะแปลยังไง แต่ต่อไปนี้เราไปเที่ยวประเทศไหนก็ไม่ต้องกลัวหลงทาง หรือสั่งอาหารไม่ได้แล้วครับ เพราะแค่พกเครื่องโทรศัพท์มือถือไปไหนมาไหน เราก็เที่ยวได้อย่างสบายใจ ก่อนหน้านี้ถ้าใครจำได้ Google Translate แอพแปลภาษาของ Google บนโทรศัพท์มือถือสร้างความตื่นตะลึงให้กับชาวโลกด้วยพีเจอร์ Instant translate ที่เพียงเราเอากล้องในโทรศัพท์มือถือไปส่องตามป้าย,หน้าจอแสดงผล,กระดาษ หรืออะไรก็ตามแต่ที่มีตัวหนังสือพิมพ์อยู่ มันจะสามารถแปลคำหรือประโยคที่อยู่บนป้ายเหล่านั้นให้เป็นภาษาที่เราต้องการได้เลยทันที แต่น่าเสียดายที่ช่วงแรกที่ปล่อยออกมา Google รองรับเพียง 7 ภาษาเท่านั้นและไม่มีภาษาไทย มาจนถึงวันนี้ Google Translate อัพเดตใหม่รองรับภาษาไทยในการทำ Instant translate หรือ แปลสด แล้วครับ Google ประกาศเรื่องอัพเดตใหม่ของ Google Translate เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมาว่า Quote: “พวกเราเริ่มต้นเปิดความสามารถนี้ให้กับ 7 ภาษาคือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, โปรตุเกส, รัสเซีย และสเปน มาวันนี้เราขอเพิ่มเข้าไปอีก 20 ภาษา โดยคุณสามารถแปลแบบไปกลับระหว่างภาษาอังกฤษ, บัลแกเรีย, คาตาลัน, โครเอเชีย, เช็ก, เดนิช, ดัตช์, ฟิลิปปินส์, ฟินแลนด์, ฮังการี, อินโดนีเซีย, ลิทัวเนีย, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย, สโลวัก, สวีเดน, ตุรกี และยูเครน นอกจากนั้นคุณยังสามารถแปลแบบทางเดียวจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาฮินดีและภาษาไทยได้อีกด้วย (หรือถ่ายภาพนิ่งของตัวหนังสือแล้วเอามาแปลทีหลัง เราก็แปลได้ถึง 37 ภาษา)” จากการทดลองด้วยตัวเองพบว่า เมื่อเราอัพเดต Google Translate แล้วเข้าไปใช้งานเลือกภาษาเป็น English -> Thai เมื่อกดปุ่มกล้องแล้วจะมีข้อความแจ้งมาให้ download language pack เพิ่มอีกประมาณ 3MB จากนั้นก็ใช้งานได้เลยครับ เอากล้องไปส่งตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่ไหนก็ได้ แล้วมันจะถูกแทนที่ด้วยภาษาไทยทันที มหัศจรรย์มาก คือเข้าใจอารมณ์ของ “วุ้นแปลภาษา” ของวิเศษในโดราเอมอนเลยทีเดียว วิดีโอต่อไปนี้จะเป็นวีดีโอแนะนำอัพเดตของ Google Translate ที่ทำประกอบเพลง La Bamba...
Continue readingการเพิ่มตารางนัดหมายผ่านอีเมล์
เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์มา เพื่อบอกวันที่ต้องการสร้างการนัดหมาย หรือวันที่อยากชวนทำกิจกรรมอะไรบางอย่างโดยที่ไม่ invite จากปฏิทินโดยตรง คุณสามารถเป็นผู้เพิ่มวันและเวลานั้นลงไปยังปฏิทินของคุณโดยผ่านทางอีเมล์ได้ ซึ่งมีวิธีการทำได้ง่ายๆ ดังนี้ Login เข้าสู่ระบบอีเมล์ G Suite (Google apps for business) แล้วเลือก inbox หรือกล่องข้อมูลขาเข้า แล้วเปิดอีเมล์ขึ้นมา จากนั้นดูที่วันเวลาในเนื้อหาอีเมล์ กดที่วัน หรือเวลานั้น 1ครั้ง เพื่อเริ่มการเพิ่มกิจกรรมลงในปฏิทิน จะมี Pop- up แสดงขึ้นมา เพื่อให้เราแก้ไขหัวข้อ วันและเวลา ซึ่งค่าเริ่มต้น จะนำชื่อเรื่องของอีเมล์มาเป็นชื่อกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในปฏิทิน ส่วนวันและเวลานั้นก็จะนำมาจากเนื้อหาในอีเมล์ จากนั้นกดปุ่ม “Add to calendar” เพื่อเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์นี้ลงในปฏิทินของคุณ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย *** หมายเหตุ: ผู้รับเมลล์จะสามารถเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฏิทินได้นั้น ผู้ส่งอีเมล์จะต้องระบุวันและเวลา เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Monday, on Monday about 10.00 AM เป็นต้น และเมื่อผู้รับอีเมล์ทำการเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฎิทิน Google จะเลือกวันที่ใกล้วันปัจจุบันมากที่สุดเป็นค่าเริ่มต้นให้ เช่น วันนี้เป็นวันอังคารที่10 มิถุนายน 2556 ถ้าได้รับอีเมล์มีเนื้อหาว่า Let’s meeting on Tuesday ค่าเริ่มต้นจะเป็นวันอังคารสัปดาห์ถัดไป คือ วันอังคารที่17 มิถุนายน 2556 นั้นเอง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
มีอีเมล์บริษัทโดเมนตัวเอง ง่ายนิดเดียว
สืบเนื่องจากงานสัมมนาที่ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ร่วมกับกูเกิ้ล (Google) เมื่อปลายเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา มีท่านผู้ประกอบการหลายท่านได้สอบถามว่าตอนนี้ใช้อีเมล์แบบฟรีอยู่คือใช้เป็นชื่อบริษัทแล้วตามด้วย @gmail.com หรือ @yahoo.com หรือ @hotmail.com หรือที่มีอีกแบบคือใช้ชื่อตัวเองแล้วตามด้วยโดเมนฟรีทั้งหลาย ปัญหาที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านรับทราบร่วมกันคือการทำธุรกิจแต่ใช้โดเมนอีเมล์แบบฟรีดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ เพราะว่าโดเมนเนมของตัวเองเปรียบเหมือนการเอาใจใส่หน้าบ้าน ว่าง่ายๆ เปรียบเหมือนป้ายชื่อบริษัทเราถ้าทำไม่ดี เอากระดาษ A4 มาแปะแล้วเขียนชื่อ ความน่าเชื่อถือก็หายไปทันที เพราะการมีโดเมนตัวเองนั่นหมายถึงการพิสูจน์ตัวตนมาระดับหนึ่ง คำถามที่ผู้ประกอบการหลายท่านมักจะถามว่าอยากอีเมล์โดเมนตัวเองจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะไม่รู้วิธีจะทำอย่างไร ซึ่งเราสามารถทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : จดโดเมนเนม (Domain Name) ก่อน การมีโดเมนก็เหมือนการมีเลขที่บ้านเป็นของตัวเอง ใครผ่านไปผ่านมาก็จะรู้ว่า อ๋อ นี่คือบ้านจริงๆ นะ มีตัวตน มีทะเบียนบ้าน คล้ายๆ กับการที่เราไปจดทะเบียนการค้านะครับ คนที่มาซื้อของกับเราก็จะเชื่อถือ เพราะการจดโดเมนโดยเฉพาะโดเมน .co.th เราต้องมีการยืนยันตัวตนไม่มากก็น้อย ซึ่งการมีโดเมน .co.th นี่ชัดเจนเลยว่าต้องเป็นบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ใครที่มาเถียงบอกว่าไม่จริงหรอก ทำไมต้องจดทะเบียนการค้าหรือมีโดเมนตัวเอง ก็ลองดูไปเสนอสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้ารายใหญ่ๆ หรือขยายช่องทางการขายแบบ mass ดูนะครับแล้วท่านจะเข้าใจ หลังจดโดเมนเนมท่านก็จะมีเลขที่ต่างๆ หลังบ้านที่บอกว่าโดเมนของเราเบอร์อะไร จะให้เว็บไซต์เราชี้ไปที่เบอร์อะไร และอีเมล์คืออะไร ค่าใช้จ่ายไม่แพงหลักร้อยบาทเท่านั้น ขั้นตอนที่ 2 : มีข้อมูลหน้าบ้านบนเว็บไซต์และอีเมล์เท่ห์ๆ ถึงขั้นนี้เราต้องร้องเฮเพราะเรามีโดเมนตัวเองเรียบร้อยแล้ว ทีนี้อยากมีเว็บไซต์กับอีเมล์ตัวเองบ้างที่เป็น www.mydomain.com และอีเมล์ somchai@mydomain.com จะทำได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสองเรื่องนี้ต้องแยกกันนะครับ การมีเว็บไซต์ตัวเองเราเปรียบเหมือนกับเราเอาบ้านเลขที่เราไปแขวนหน้าบ้าน ว่าแต่บ้านเราอยู่ไหนครับ ก็มีสองวิธีคือ 1 ซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเอง (ปลูกบ้านเอง) อันนี้วุ่นวายมากสำหรับมือใหม่ ไม่แนะนำ กับวิธีที่ 2 คือ เช่าพื้นที่กับผู้ให้บริการโฮสติ้ง (เช่าบ้านเค้าอยู่ จ่ายค่าเช่ารายปี) ค่าเช่าจ่ายก็แล้วแต่ขนาดความกว้างของบ้านมีตั้งแต่สามพันจนถึงมากกว่านั้น ซึ่งโดเมนเราก็ต้องบอกกับคนทั่วโลกด้วยการใส่ตัวเลขในระบบโดเมนในขั้นแรกว่าเว็บเราบ้านเลขที่เท่าไหร่ (แต่ถ้ายังไม่อยากมีเว็บไซต์ตัวเอง ก็ข้ามไปขั้นตอนที่ 3 นะครับ) ซึ่งโดยปกติถ้าเช่าเว็บโฮสติ้งเค้าจะมีฟรีอีเมล์มาให้ด้วยที่เป็นโดเมนตัวเอง somchai@mydomain.com แบบฟรีๆ แต่แบบที่ทราบกันครับว่าของฟรีของแถมต้องทำใจกับความเสถียรและข้อจำกัด...
Continue readingเมื่อ Chromebooks กลายเป็นสื่อการเรียนรู้อันดับต้นๆในนิวซีแลนด์
จากรายผลการวิเคราะห์จาก International Data Corporation (IDC) นิวซีแลนด์ติดอันดับต้นๆของประเทศที่ใช้ Chromebooks เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยในอันดับมีสวีเดน และสหรัฐอเมริการวมอยู่ด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยสำคัญในการยกระดับการศึกษา สู่ความเป็นสากลโลกมากขึ้น และในประเทศนิวซีแลนด์ก็กำลังใช้เครื่องมีอดิจิตัลเพื่อช่วยนักเรียนในการเรียนรู้ในห้องเรียน หรือนอกเหนือจากห้องเรียน ดังเช่นโรงเรียน Bombay ทางตอนใต้ของโอ็คแลนด์ คุณครูตระหนักได้ในทันทีว่าตั้งแต่นักเรียนใช้ Chromebooks โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้นั้นเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ในปี 2014 อัตราการอ่านของนักเรียนอยู่ที่ร้อยละ 78 ในขณะที่ปี 2016 เพิ่มสูงขึ้นมาก จนอยู่ที่ร้อยละ 90 นอกจากนี้ โรงเรียน Manaiakalani ทางตะวันออกของโอ๊คแลนด์ นักเรียนบางส่วนเริ่มเข้าเรียนด้วยระดับทักษะที่ต่ำกว่าโรงเรียนอื่นๆ จึงเลือก Chromebooks เป็นตัวช่วยในโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ และยังใช้เครื่องมือจาก G Suite for Education นักเรียนจึงสามารถเรียนไปพร้อมๆกับเพื่อนๆ คุณครู หรือผู้ปกครองได้ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียน ห้องสมุด หรือแม้แต่ที่บ้านก็ได้ ที่มา – Google Blog บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
ผู้ใช้บริการ G Suite สามารถใช้งานฟีเจอร์ Explore ใน Google Sheets ได้แล้ว
ย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ทางกูเกิ้ลประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของคุณใน Google Sheets ผ่าน Machine Learning ซึ่งในตอนนี้คุณสามารถใช้ฟีเจอร์ Explore บน Google Sheets ได้แล้ว ได้ข้อมูลรวดเร็ว → ปัญหาก็ถูกแก้ได้ทันท่วงที เมื่อคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น และสามารถวิเคราะห์ผลออกมาอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าคุณก็จะสามารถแก้ปัญหาธุรกิจของคุณได้เร็วขึ้นเช่นกัน ซึ่งตัวช่วยที่ให้คุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้นั่นก็คือ Explore ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดใน Google Sheets ให้คุณสามารถวิเคราะห์ผลกำไรของปีที่แล้ว หรือจะดูแนวโน้มลูกค้าในการเลือกใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทก็ทำได้เช่นกัน ฟีเจอร์ Explore ใหม่ใน Google Sheets ยังสามารถสร้างผลวิเคราะห์ข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพกราฟได้ เพียงแค่คลิกปุ่ม “Explore” บริเวณด้านล่างขวา กรอกคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการของคุณในช่องค้นหา เพียงเท่านี้ก็จะได้กราฟข้อมูลสำเร็จรูป โดยที่คุณไม่ต้องมานั่งสร้างเองให้เสียเวลา ที่มา – Google Blog บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
เพิ่มการป้องกัน phishing สำหรับ Gmail บนระบบ ios
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กูเกิ้ลได้เพิ่มฟีเจอร์ป้องกัน phishing (anti-phishing security checks) สำหรับ Gmail บนระบบแอนดรอยด์ไปแล้ว วันนี้ระบบ ios ก็สามารถใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อคุณคลิกไปที่ลิงก์ต้องสงสัย หรือลักษณะดูแล้วไม่น่าปลอดภัยบนกล่องข้อความใน Gmail จะมีข้อความแจ้งเตือนเด้งขึ้นมา แต่คุณสามารถเลือกที่จะกดข้ามไปก็ได้หากมั่นใจว่าลิงก์นั้นปลอดภัยแน่นอน เมื่อคุณคลิกลิงก์ที่ดูเสี่ยงต่อความปลอดภัย ข้อความจะปรากฏตามภาพด้านล่าง เป็นข้อความแจ้งเตือนก่อนที่คุณจะเข้าไปยังชื่อ URL ต้นทาง ซึ่งการแจ้งเตือนเหล่านี้จะช่วยป้องกันชื่อบัญชีของคุณจากการ phishing การโจรกรรมทางข้อมูล หรือเนื้อห้าที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่มา – G Suite Update บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE ...
ปรับปรุงครั้งใหญ่ในการติดตามงานเอกสารบน G Suite
Google Docs, Sheets, Slides ปรับปรุงฟีเจอร์ด้านการแก้ไขเอกสารร่วมกัน (collaboration) และการควบคุมเวอร์ชันของเอกสาร (version control) ที่จะทำให้คุณสามารถติดตามการแก้ไขไฟล์เอกสารของเพื่อนร่วมทีมได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้ เดิมที เอกสารในกลุ่ม Docs จะถูกบันทึกการแก้ไขเป็น revision history ตามเวลา ของใหม่เราสามารถตั้งชื่อเวอร์ชันได้เอง และเปลี่ยนชื่อมาเป็น version history แทน ผู้ใช้ยังสามารถเรียกดูเฉพาะเวอร์ชันที่ถูกตั้งชื่อ เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของเอกสารได้ กรณีที่เอกสารมีคนแก้กันหลายคน มี suggested edits มากจนงง เราสามารถพรีวิวดูหน้าตาเอกสารที่รับทุกการแก้ไข (accept all) หรือปฏิเสธทุกการแก้ไข (reject all) ก่อนได้ นอกจากนี้ระบบยังเพิ่มปุ่ม accept/reject all ให้ด้วย เพื่อประหยัดเวลาของคนตรวจเอกสาร ผู้ใช้บน Android/iPhone/iPad สามารถ suggest changes ได้แล้ว ช่วยให้คอมเมนต์หรือแก้ไขเอกสารได้จากทุกที่ ที่มา – Google บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...