Project Management คืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ไปดูกัน!

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Project Management คืออะไร? Project Management คือ การบริหารโปรเจกต์ การจัดระเบียบ การติดตาม และการจัดการดำเนินงานทั้งหมดภายในโปรเจกต์ เพื่อให้โปรเจกต์นั้นบรรลุตามเป้าหมาย ตามเวลาและตามงบประมาณที่วางไว้ ซึ่งในปัจจุบัน Project Management Tool ช่วยให้ทีมของคุณสามารถจัดระเบียบรายละเอียดงานทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียว แชร์ความคิดเห็นในแต่ละ Task งาน มองเห็นความคืบหน้าของ Process งานทั้งหมด และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการทำ Project Management มีอะไรบ้าง? ทุกโปรเจกต์จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ที่คุณกำลังทำงานอยู่ ทีมที่คุณอยู่ และทีมของคุณต้องการมีรูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างไร? แต่โดยทั่วไปแล้วการทำ Project Management จะมี 5 ขั้นตอนหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นดังนี้ 1. การเริ่มต้นโปรเจกต์ (Project Initiation) จะเป็นช่วงที่คุณต้องการรวบรวมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นี้ทั้งหมดและระบุขอบเขตของโปรเจกต์นี้ให้ชัดเจน โดยจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและขนาดของโปรเจกต์ของคุณ ซึ่งคุณอาจจะต้องการสร้างแผนงานของโปรเจกต์ไว้ด้วย เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป 2. การวางแผนโปรเจกต์ (Project Planning) คือ การที่คุณร่างข้อกำหนดของโปรเจกต์และกำหนดว่า “ความสำเร็จหรือเป้าหมายของโปรเจกต์” นี้คืออะไร? แต่ละขั้นตอนมีความสำคัญกับการจัดการโปรเจกต์เพื่อให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายอย่างไร? ในขั้นตอนการวางแผน คุณจะสร้างแผนโปรเจกต์ ระบุความสำคัญและลำดับเวลาของแต่ละ Task งาน พร้อมกับการแบ่งหน้าที่และมอบหมายงานให้กับทีมต่าง ๆ ตามด้วยจัดการงบประมาณและค่าใช้จ่ายในท้ายที่สุด 3. การดำเนินโปรเจกต์ (Project Execution) โปรเจกต์ส่วนใหญ่มักจะติดอยู่ในขั้นตอนนี้ ซึ่งเป็นเวลาที่คุณและทีมจะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของโปรเจกต์ ในระหว่างขั้นตอนดำเนินการนี้ คุณจะต้องมีทักษะในการจัดการปริมาณงาน การจัดการเวลา และการจัดการงานเพื่อให้แน่ใจว่าทีมของคุณสามารถรับมือกับมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผน และงานไม่ล้นมือจนเกินไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากคุณมี Project Management Tool มาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโปรเจกต์ จะทำให้คุณมองเห็นภาพกว้างของโปรเจกต์ที่ทุกทีมได้รับรวมถึงปริมาณงานที่กำลังดำเนินการอยู่ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 4. ผลการดำเนินงานของโปรเจกต์ (Project Performance) การรายงานผลสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ในระหว่างการดำเนินงานและหลังขั้นตอนการดำเนินการเสร็จสิ้น ระหว่างการดำเนินงาน การรายงานผลจะช่วยให้ผู้จัดการโปรเจกต์ (Project Manager) มองเห็นถึงปัญหาที่คุณติดอยู่หรือสิ่งที่คุณต้องการความช่วยเหลือ...

Continue reading

Asana คืออะไร? รู้จัก Asana ซอฟต์แวร์ด้านการทำ Project Management ที่ดีที่สุด

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Asana คืออะไร? Asana คือ ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการโปรเจกต์ (Project Management Software) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคล ทีม แผนก หรือองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การจัดระเบียบทีมหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การติดตามการทำงาน โปรเจกต์ และเป้าหมายให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้ Asana ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูงเหมาะกับการทำงานในปัจจุบัน ทั้งการตั้งค่ามุมมองของหน้าจอการทำงานให้เหมาะสมกับตัวเองได้ การเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่องค์กรใช้งานอยู่ การสร้างรีพอร์ทเพื่อให้เห็นภาพรวมของโปรเจกต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานและทีมที่ตรงจุด รวมถึงการใช้งานบนมือถือที่เป็นแอปพลิเคชันและรองรับทั้ง iOS และ Android สามารถติดตามโปรเจกต์ได้แม้กระทั่งตอนเดินทาง ฟีเจอร์ของ Asana มีอะไรบ้าง? จัดระเบียบงาน (Organize work) : สร้าง Tasks งานหรือโปรเจกต์ พร้อมกระจายงานที่สามารถจัดการได้และมอบหมายงานให้กับสมาชิกในทีมที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Collaborate effectively) : สามารถสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แชร์ไฟล์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของงาน ภายใน Asana ได้ทั้งหมด ติดตามความคืบหน้า (Track progress) : ติดตามดูสถานะของงานและโปรเจกต์ทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย กำหนดเวลาของโปรเจกต์ (Project deadlines) : กำหนดเวลาสำหรับงานและโปรเจกต์ และมีการส่งแจ้งเตือนเมื่อเวลานั้นใกล้เข้ามา จัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritize work) : ใช้ฟีเจอร์ที่ช่วยจัดลำดับความสำคัญและวันครบกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่างานไหนสำคัญที่สุดและต้องทำให้เสร็จก่อน กำหนดเป้าหมาย (Set goals) : ติดตามความคืบหน้าของงาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักของบริษัท และดูว่างานแต่ละอย่างมีส่วนช่วยให้ภาพรวมของบริษัทโตขึ้นได้อย่างไร การเชื่อมต่ออย่างอิสระ (Integrations) : เชื่อมต่อ Asana กับเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่คุณใช้อยู่แล้ว เช่น Slack, Google Drive, Dropbox และอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย ประโยชน์ของการใช้ Asana คืออะไร? 1.ช่วยจัดระเบียบและเพิ่มความชัดเจนให้กับองค์กร (Improved organization and clarity) ศูนย์กลางของข้อมูล: ช่วยกำจัดข้อมูลที่กระจัดกระจายทั้งในอีเมล...

Continue reading

Getting started with Asana มาเริ่มต้นใช้งาน Asana กัน!

วิธีเริ่มต้นใช้งาน Asana ในบทความนี้ ดีมีเตอร์ ไอซีที จะพาทุกท่านมาเรียนรู้วิธีการปรับแต่งประสบการณ์การใช้งาน Asana โดยสามารถกำหนดการตั้งค่าตามการใช้งานของคุณได้เองอย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งโปรไฟล์ การจัดการการแจ้งเตือนในกล่องจดหมาย และการใช้งานฟีเจอร์ ‘My Tasks’ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กำหนดการตั้งค่า Asana ของคุณ 1. My Settings (การตั้งค่าของฉัน) My Settings คือส่วนที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งข้อมูลของคุณและควบคุมการตั้งค่าของคุณได้ โดยก่อนที่คุณจะเริ่มใช้งาน Asana สิ่งสำคัญคือคุณต้องกรอกข้อมูลโปรไฟล์ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อนามสกุล ตำแหน่งงาน รวมถึงส่วน About me (เกี่ยวกับฉัน) เพื่อให้เพื่อนร่วมงานสามารถอ่านและรู้ได้ว่าเป็นคุณ นอกจากนี้คุณยังสามารถระบุเวลาทำงานและวิธีการติดต่อที่ต้องการได้ 2. Notifications (การแจ้งเตือน) การตั้งค่าแจ้งเตือนจะช่วยแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับกิจกรรม การเปลี่ยนแปลง และการโต้ตอบใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกับงานที่คุณกำลังติดตามใน Asana เพื่อให้มั่นใจว่าคุณทราบถึงการอัปเดตที่สำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม ซึ่งคุณสามารถรับการแจ้งเตือนผ่านกล่องจดหมาย Asana อีเมล หรือเบราว์เซอร์ของคุณได้ โดยกล่องจดหมายของคุณใน Asana จะแสดงข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับโครงการที่คุณเป็นสมาชิกและงานที่คุณร่วมงานหรือได้รับมอบหมายให้ทำ เมื่อคุณดำเนินงานของคุณเสร็จสิ้นแล้ว การแจ้งเตือนในกล่องจดหมายของ Asana จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ หากคุณเลือกรับการแจ้งเตือนทางอีเมล คุณสามารถรับได้ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน คือ  สรุปรายวัน  อัปเดตกิจกรรม  การกล่าวถึงเท่านั้น  รายงานรายสัปดาห์  หมายเหตุ: ใช้ได้เฉพาะแพ็กเกจ Asana Business และ Enterprise เท่านั้น และด้วยการแจ้งเตือนผ่านเบราว์เซอร์ คุณสามารถรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการอัปเดตงานและ @mentions แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดแท็บ Asana ก็ตาม 3. Inbox (กล่องจดหมาย) กล่องจดหมายขาเข้าของคุณจะทำหน้าที่เป็นฟีดข่าวที่กรองการอัปเดตกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของคุณ โดยกล่องจดหมายจะแสดงข้อมูลอัปเดตที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่คุณมีส่วนร่วม งานที่คุณกำลังร่วมงานอยู่ หรืองานที่ได้รับมอบหมายใหม่ คุณสามารถตอบกลับการอัปเดตเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายจากกล่องจดหมายของคุณและไปที่งานของคุณได้อย่างรวดเร็ว โดยการแจ้งเตือนล่าสุดจะอยู่ที่ด้านบน นอกจากนี้คุณยังสามารถกรองการแจ้งเตือนของคุณได้ตลอดเวลาเพื่อเลือกดูสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณก่อน 4. My Task (งานของฉัน) ใน My Task จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่รวบรวมรายการสิ่งที่ต้องทำของคุณ...

Continue reading