Asana Features Updated ประจำเดือนเมษายน 2025

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Unified toolbar: ใช้แถบเครื่องมือรูปแบบเดียวกันในทุกหน้าจอของ Asana เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและต่อเนื่อง “Member of” tab in mobile project directory: ค้นหาโปรเจกต์ที่คุณเป็นสมาชิกได้จากแท็บ “member of” บนแอปมือถือ Updated Google Drive attachment filepicker: แนบไฟล์จาก Google Drive ใน Asana ได้ง่าย ๆ เพียงวางลิงก์หรือพิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ New OAuth (Open Authentication) flow for Google Drive in Asana desktop app: เชื่อมต่อกับ Google Drive ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นบนเวอร์ชันเดสก์ท็อปของ Asana สำหรับ Asana Package Starter และ Premium Custom task types and statuses: สร้างประเภทงานตามกระบวนการทำงานของคุณ เพื่อช่วยให้จัดการงานได้เป็นระบบมากขึ้นและปรับปรุงการแสดงผลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในโปรเจกต์ของคุณ ให้ไปที่เมนู “Customize” เลือก “Tasks template” คลิก “Types” แล้วเลือก “Custom” จากเมนูดรอปดาวน์ ตั้งชื่อประเภทงานของคุณ เช่น “สถานะคำขอการตลาด” กำหนดตัวเลือกสถานะที่กำหนดเอง เช่น Submitted, In review, Sent, Published กำหนดสีสำหรับแต่ละสถานะ ตั้งค่าว่าสถานะไหนที่จะทำให้งานนั้นเสร็จสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ เพิ่มรายละเอียดอื่น ๆ ใน Tasks template คลิก “Done” เพื่อบันทึกเทมเพลตงานที่กำหนดเองของคุณ...

Continue reading

Asana Features Updated ประจำเดือนมีนาคม 2025

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Cross-platform syncing of draft comments in iOS: การซิงค์ความคิดเห็นที่คุณร่างเอาไว้บน iOS ข้ามแพลตฟอร์มระหว่างมือถือและเว็บไซต์ เพื่อให้คุณเห็นความคิดเห็นของคุณที่ร่างไว้บนทุกอุปกรณ์ Inbox notifications in Microsoft Teams: ผู้ใช้งาน Asana สามารถได้รับการแจ้งเตือนผ่าน Microsoft Teams ได้โดยตรงใน Inbox จาก Asana จากแถบด้านข้าง เข้าถึงแชทของคุณและคลิกที่แชทกับบอท Asana พิมพ์ “link project” คลิกปุ่ม Link project จากนั้นบอท Asana จะขอให้คุณเลือกโปรเจกต์ที่ต้องการเชื่อมโยง เลือก My Tasks แล้วคลิก Link เพื่อเริ่มรับการแจ้งเตือนส่วนตัว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการมอบหมายหรือยกเลิกการมอบหมายงานให้คุณ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Project views in Microsoft Teams desktop app: สร้างการมองเห็นความคืบหน้าของโปรเจกต์ร่วมกัน โดยที่สมาชิกในทีมไม่ต้องออกจาก Microsoft Teams ได้โดยมีขั้นตอนดังนี้ ในการฝัง (Embed) โปรเจกต์ Asana ใน Microsoft Teams ให้คลิกที่ปุ่ม + เพื่อเพิ่มแท็บใหม่ ค้นหา “Asana” และติดตั้งแท็บแอป Asana สำหรับช่องทางนั้น เลือกโปรเจกต์ที่คุณต้องการฝัง (Embed) คุณสามารถเลือกที่จะส่งการแจ้งเตือนโปรเจกต์จาก Asana ไปยังช่องทางนี้ได้ และการแสดงผลโปรเจกต์แบบ Embed สามารถใช้งานได้เฉพาะในแอป Microsoft Teams เวอร์ชัน Desktop เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ สำหรับ Asana Package Starter...

Continue reading

5 ขั้นตอน ยกระดับโฟลว์การทำงานของทีม Project Management

ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะเข้าใจว่าการบริหารโปรเจกต์ (Project Management) คือ การควบคุมและกำหนดเวลาของโปรเจกต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารโปรเจกต์กลับมีขอบเขตที่กว้างกว่านั้นมาก ซึ่งในบทความนี้เรามีคำแนะนำง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ 5 ขั้นตอนของการบริหารโปรเจกต์ได้อย่างครบถ้วน การเข้าใจวงจรของการจัดการโปรเจกต์จะช่วยให้คุณปรับปรุงกระบวนการภายใน และด้วยการนำเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการโปรเจกต์ จะยิ่งช่วยยกระดับการทำงานของคุณให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 5 ขั้นตอน การยกระดับการทำงานของทีม Project Management มีอะไรบ้าง? PMBOK® หรือ Project Management Body of Knowledge คือคู่มือที่รวบรวมความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโปรเจกต์ จัดทำโดย Project Management Institute หรือ PMI โดยเนื้อหาในคู่มือจะเจาะลึกขั้นตอนการจัดการโปรเจกต์ทั้ง 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการโปรเจกต์ 1. การเริ่มต้นโปรเจกต์ (Project initiation) ในช่วงเริ่มต้นของโปรเจกต์ ทีมจะต้องกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโปรเจกต์ ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมศึกษาถึงความเป็นไปได้ และจัดทำเอกสารโปรเจกต์เพื่อให้สมาชิกในทีมเข้าถึงข้อมูลและสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย โดยทีมส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นด้วยการประชุมหรือศึกษาความเป็นไปได้ของโปรเจกต์ นอกจากการนำเสนอแนวคิดเบื้องต้นของโปรเจกต์แล้ว คุณควรระบุถึงประโยชน์ ต้นทุน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโปรเจกต์ รวมถึงตัวชี้วัดความสำเร็จอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่องค์กรของคุณใช้ พร้อมสรุปรายละเอียดสำคัญของโปรเจกต์ เช่น เป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลา จะช่วยให้ทีมเข้าใจขอบเขตงานและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโปรเจกต์ได้ง่ายขึ้น 2. การวางแผนโปรเจกต์ (Project planning) ขั้นตอนแรกของการวางแผนโปรเจกต์คือการกำหนดเป้าหมายของโปรเจกต์ในแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนโดยคุณสามารถใช้แผนงานที่ได้รับความนิยมเหล่านี้ SMART Goals เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ ทำได้จริง เกี่ยวข้อง และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน วิธีนี้ช่วยให้ทีมสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนโปรเจกต์ และติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ CLEAR Goals เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เน้นการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับทีมที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา OKR (Objectives & Key Results) เป็น framework ที่มุ่งเน้นการจัดวางเป้าหมายในระดับองค์กร โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ในภาพรวมและกำหนดโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ OKR จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างชัดเจน มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้...

Continue reading

Asana Features Updated ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2025

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Your Year in Asana: ร่วมเฉลิมฉลองสิ่งที่คุณและทีมทำสำเร็จ ด้วยการย้อนชมผลงานของคุณตลอดปีที่ผ่านมาใน Asana อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Curated team pages: ยกระดับการใช้งานรูปแบบทีม เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องด้วยหน้าเพจแบบทีมที่มีการจัดการไว้เป็นอย่างดี https://www.dmit.co.th/wp-content/uploads/2025/01/Team-page-Update-Feature.mp4 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ iOS multi-filter and multi-sort: ใช้ Filters และการเรียงลำดับโปรเจกต์ในหลากหลายมุมมองได้ในที่เดียวเมื่อใช้งานบน iOS สำหรับ Asana Package Starter และ Premium Android project summaries: ดูภาพรวมความคืบหน้าของโปรเจกต์แบบคร่าว ๆ ด้วยฟีเจอร์สรุปโปรเจกต์อัจฉริยะบนมือถือ สำหรับ Asana Package Advanced และ Business Saved views for capacity planning and workload: สร้างมุมมองการบันทึกเพื่อดูสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณและทีมของคุณ สำหรับ Asana Package Enterprise Multiple onboarding flows in custom onboarding: สร้างประสบการณ์การเริ่มต้นใช้งานที่แตกต่างกันตามบทบาท ทีม หรือตามความต้องการภายในโดเมนเดียวกันได้  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Private custom fields: ปกป้องความเป็นส่วนตัวของฟิลด์ที่กำหนดเองและตั้งค่าต่าง ๆ โดยกำหนดให้เฉพาะสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์เท่านั้นที่สามารถดูหรือแก้ไขได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Edit restriction on custom field values: ปกป้องข้อมูลที่สำคัญโดยการกำหนดสิทธิ์ว่าใครสามารถแก้ไขค่าของฟิลด์ที่ตั้งค่าในโปรเจกต์ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Portfolio advanced permissions: จำกัดสิทธิ์การแก้ไข ปรับแต่งและแชร์พอร์ตโฟลิโอ ให้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Transfer...

Continue reading

รู้จัก Change Management เตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเติบโต ไม่ว่าจะเป็นการนำเครื่องมือใหม่ กลยุทธ์ใหม่ หรือการบุกตลาดใหม่ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ อาจเป็นไปได้ง่าย แต่การเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนที่เหมาะสม มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ความวุ่นวายและประสิทธิภาพขององค์กรที่ลดลง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงขององค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด คุณต้องมีกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ที่มีประสิทธิภาพ บทความนี้เราจะอธิบายว่าการทำ Change Management คืออะไร? และกระบวนการทำ Change Management ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย! Change Management คืออะไร? Change Management คือ กระบวนการวางแผน เตรียมตัวและจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพนักงานและทีมต่าง ๆ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการทำ Change Management มักเริ่มจากการทดลองกับกลุ่มเล็ก ๆ ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก่อน แล้วค่อยขยายไปทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป้าหมายของการทำ Change Management ก็คือการเตรียมทีมให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ขั้นตอนการทำ Change Management มีอะไรบ้าง? เราจะขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ เมื่อองค์กรของคุณกำลังจะนำเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานภายในองค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน อย่างเช่น แพลตฟอร์ม Asana พนักงานและองค์กรต้องเตรียมตัวอย่างไร? และมีขั้นตอนอะไรบ้าง? 1. การระบุเหตุผลและวางแผนให้ชัดเจน ต้องระบุเหตุผลและวางแผนให้ชัดเจนว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงนี้จึงจำเป็นและต้องเกิดขึ้น เช่น ปรับปรุงการทำงาน ลดปัญหา และบรรลุเป้าหมายขององค์กร พร้อมกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs) เช่น อัตราการใช้งานและผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งานเครื่องมือใหม่ ๆ 2. การสื่อสารและสร้างความเข้าใจภายในองค์กร หลังจากที่ระบุเหตุผลและการวางแผนที่ชัดเจนแล้ว ก็ถึงเวลาแจ้งให้ทีมงานทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบถึงเหตุผลและเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงนั้นว่าทำไปเพื่ออะไร? พร้อมการรับฟังความคิดเห็นหรือตอบคำถามจากทีมงานที่เกี่ยวข้อง โดยบางบริษัทอาจจัดตั้งทีม Adoption Alliance ก็คือทีมที่คอยดูแลการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย การสื่อสารภายในองค์กรให้ทุกคนเข้าใจ รวมถึงการกระตุ้นให้พนักงานและทีมต่าง ๆ เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3. การเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลง ศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง และเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ โดยออกแบบกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้รู้ถึงผลกระทบ พร้อมบันทึกคำถามและผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อเตรียมการรับมือหรือวิธีการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะขยายไปทั่วทั้งองค์กร เช่น ทีมการตลาด ทดลองใช้งาน Asana ในการบริหารแคมเปญการตลาดเพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกันและแก้ไขปัญหาก่อนใช้งานจริงในองค์กร 4. การเริ่มต้นดำเนินการเปลี่ยนแปลง...

Continue reading

Asana Feature Updated ประจำเดือนมกราคม 2025

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Group tasks by date fields: จัดกลุ่มงานโดยใช้ช่องวันที่ในโปรเจกต์และใน “งานของฉัน (My tasks)” เพื่อการจัดระเบียบโปรเจกต์และการติดตามกระบวนการทำงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Board view with no task limits: สามารถมองเห็นและจัดกลุ่มงานในโปรเจกต์หรือในบอร์ด “งานของฉัน (My tasks)” ได้ ไม่ว่าจะมีงานมากแค่ไหนก็ตาม Improved customization in board view: สามารถจัดกลุ่มตามผู้รับผิดชอบ เรียงลำดับ และซ่อนกลุ่มที่ไม่มีงานในมุมมองบอร์ดของโปรเจกต์ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Enhancements to project overview in iOS: ติดตามความคืบหน้าของทีมได้ง่าย ๆ บนมือถือ IOS ด้วยการรวมข้อมูลเชิงลึกของโปรเจกต์ไว้ในที่เดียว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Granular email notification settings: ปรับแต่งการแจ้งเตือนทางอีเมลได้ตามใจ ด้วยตัวเลือกที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นสำหรับการรับการแจ้งเตือน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Tab management improvement: ตั้งค่าแท็บใดก็ได้ให้เป็นค่าเริ่มต้นในโปรเจกต์, พอร์ตโฟลิโอและทีม สำหรับ Asana Package Starter และ Premium Custom sorting in Gantt view: จัดกลุ่มงานในมุมมองแบบ Gantt ให้เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของโปรเจกต์ของคุณ https://www.dmit.co.th/wp-content/uploads/2025/01/Gantt-View-Feature-update.mp4#t=1 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ สำหรับ Asana Package Advanced และ Business Portfolio saved views: ปรับแต่งและบันทึกมุมมองพอร์ตโฟลิโอเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายทุกเมื่อวิธีสร้างมุมมองพอร์ตโฟลิโอ: ใช้การเรียงลำดับและตัวกรองกับพอร์ตโฟลิโอของคุณ คลิก Save view เพื่อบันทึกมุมมองนี้เป็นแท็บรายการเริ่มต้นสำหรับทุกคน...

Continue reading

อัปเดต 10 Marketing Trends สำหรับปี 2025 มีอะไรบ้าง?

นับตั้งแต่ยุคโฆษณาในหนังสือพิมพ์มาจนถึงปัจจุบันที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทรนด์การตลาดมีการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค นั่นหมายความว่านักการตลาดไม่สามารถเลือกใช้วิธีการเดิม ๆ ที่เคยได้ผลในอดีตมาใช้ตลอดเวลาได้ ฉะนั้นการมองหาแนวโน้มหรือเทรนด์ใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจรักษาความได้เปรียบและวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ในปี 2025 นี้ เราได้ทำการสรุป 10 เทรนด์การตลาดสำคัญ โดยมีทั้งที่ยังเป็นเทรนด์ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วและเทรนด์การตลาดใหม่ ๆ ที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในปี 2025 นี้ จะมีอะไรบ้าง? เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. AI in Marketing เทรนด์การตลาดกับ AI ยังไปต่อด้วยกันยาว ๆ ด้วยการเปิดตัวเครื่องมือ AI ของแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ChatGPT, Gemini, Asana AI, BrazeAI™ หรือ Zendesk AI แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กำลังเติบโตและเปลี่ยนแปลงอนาคตของการตลาดอย่างชัดเจน ในปี 2025 นี้ นักการตลาดจะยังคงปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี AI ในกระบวนการทำงานหลายส่วน ๆ และเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของคุณ มาดูกันว่านักการตลาดสามารถทำงานร่วมกับ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านไหนกันได้บ้าง? วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและคาดการณ์แนวโน้ม (Data Analysis) จากผลวิจัยของ The Work Innovation Lab พบว่า 30% ของพนักงานใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้ว และจำนวนกว่าสองเท่า (62%) ต้องการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภคและลูกค้า เพราะพวกเขาเชื่อว่าข้อมูลที่ได้จาก AI และ Machine Learning สามารถช่วยให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการโฆษณาที่ชาญฉลาดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่เสียเงินไปกับกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าของเรา วางแผนได้ดีขึ้น ด้วยการการคาดการณ์แนวโน้มที่แม่นยำ เข้าใจพฤติกรรมของผู้ซื้อได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มอัตราการรักษาลูกค้าและความภักดี โดยการส่งคอนเทนต์ที่เฉพาะตัวกับแต่ละคน (Personalization) ภาพจาก Report: The State of AI at Work...

Continue reading

KENDO ขยายธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Asana

ทีม KENDO ต้องทำงานด้วยความซับซ้อนในการสนับสนุนการเติบโตของแบรนด์ และการจัดการงานภายในองค์กร ซึ่งการนำ Asana มาใช้งาน ทำให้องค์กรมีระบบศูนย์กลางข้อมูลที่ทุกคนสามารถจัดลำดับความสำคัญและสร้างความรับผิดชอบในการทำงานที่สำคัญ พร้อมทั้งดำเนินกระบวนการที่สามารถนำไปใช้กับทุกคนในองค์กรได้ และส่งเสริมการสื่อสารภายในที่รวดเร็วและเชื่อมโยงกันทั่วทั้งบริษัท สรุปประเด็นสำคัญในการใช้ Asana ของ KENDO ปัญหาของ KENDO ที่เกิดขึ้น พนักงานของ KENDO ใช้เครื่องมือหลากหลายในการจัดการงาน ทำให้ยากต่อการมองเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ส่งผลให้ทีมทำงานแบบแยกส่วนและผู้บริหารขาดข้อมูลที่สำคัญในการทำงาน KENDO กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การจัดการงานผ่านอีเมลและสเปรดชีตไม่สามารถรองรับการทำงานของพนักงานได้ การขาดกระบวนการที่บูรณาการกันส่งผลให้เกิดกระบวนการทำงานที่ไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีเส้นตายในการทำงานชัดเจน และงานสำคัญและเร่งด่วนมักจะถูกมองข้าม โซลูชันของ Asana KENDO ใช้ Asana เป็นระบบศูนย์กลางข้อมูลที่พนักงานทุกระดับสามารถมองเห็นได้ว่าใครทำอะไรและเมื่อไหร่ ด้วยการขยายตัวของธุรกิจที่รวดเร็ว ระบบข้อมูลแบบรวมศูนย์นี้ช่วยให้ทีมจัดลำดับความสำคัญของงานที่สำคัญที่สุดเพื่อขยายธุรกิจของแบรนด์ได้ ทีมสามารถปรับปรุงกระบวนการ เช่น การสร้างปฏิทินการตลาดและการทำให้คำร้อง (Ticket request) ของ IT เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทำงานสำคัญได้เร็วขึ้น ผู้บริหารสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาตามความรับผิดชอบให้กับทีมได้รวดเร็ว เพราะผู้บริหารมีข้อมูลอัปเดตและคำขออนุมัติที่มองเห็นได้ ผลลัพธ์ที่ได้ ประหยัดเวลาถึง 87 วันทำการ: KENDO ประหยัดเวลาไปได้ประมาณสามเดือนจากการประสานงานงานเมื่อเปรียบเทียบกับระบบก่อนหน้านี้ เพิ่มประสิทธิภาพ 58%: การเพิ่มจำนวนพนักงานที่ใช้ Asana ช่วยให้ KENDO ประหยัดเวลามากขึ้นถึง 58% ในปีเดียว สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้น: ด้วยการสร้างโปรเจกต์ (Project) ใน Asana ทีมการตลาดสามารถมองเห็นภาพรวมของแคมเปญได้ทั้งหมด ทำให้สื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสในการสร้างผลกระทบ และเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ดีขึ้น “เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจที่ท้าทาย เราต้องทำงานอย่างรวดเร็ว แต่เราไม่สามารถทำได้หากไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน ผมเชื่อว่าการนำกระบวนการต่างๆ เช่นที่เราสร้างใน Asana มาใช้ จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้” Romain Ehrhard CIO การประสานงานกับลูกค้าโดยตรงแบบดิจิทัล การทำงานร่วมกันในการปรับแต่งเนื้อหาและข้อความระหว่างทีมและช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ การเปิดตัวสินค้าใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขาย ที่ต้องทำงานประสานงานกันผ่านช่องทางดิจิทัล ทีมดิจิทัลของ KENDO ใช้ Asana ในการเชื่อมโยงทุกกิจกรรมบนเว็บไซต์ การตลาดแบบเน้น Performance และระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ทำให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันและปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น เพิ่มผลกระทบของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ...

Continue reading

Asana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะในการบริหารงานและโปรเจกต์ของคุณ

ยินดีต้อนรับสู่ Asana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์การจัดการงานและโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งการทำงานอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณ บทความนี้จะแนะนำภาพรวมเกี่ยวกับฟีเจอร์และสิ่งที่ Asana AI สามารถทำได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน! เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Asana AI คืออะไร? Asana AI คือ เครื่องมือผู้ช่วยอัจฉริยะที่ผสานเข้ากับแพลตฟอร์ม Asana เพื่อช่วยให้คุณจัดการงานและโปรเจกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ Asana AI จึงสามารถทำให้งานประจำเป็นงานอัตโนมัติ ช่วยในการสร้างและแก้ไขงาน และจัดทำสรุปข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณได้ ฟีเจอร์ของ Asana AI มีอะไรบ้าง? 1. สถานะอัจฉริยะ (Smart Status) รับข้อมูลพร้อมอัปเดตสถานะของโปรเจกต์และงานของคุณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ติดตามข้อมูลได้ง่ายโดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลทั้งหมดเอง 2. แชทอัจฉริยะ (Smart Chat) รับคำตอบที่มาจาก AI สำหรับคำถามเกี่ยวกับการจัดการโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีข้อมูลครบถ้วน 3. ฟิลด์อัจฉริยะ (Smart Fields) ใช้ AI ในการกรอกข้อมูลสำคัญให้อัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่ารายละเอียดงานของคุณจะครบถ้วนและอัปเดตอยู่เสมอ 4. สรุปอัจฉริยะ (Smart Summaries) รับสรุปรายงานของโปรเจกต์ งาน และพอร์ตโฟลิโอของคุณแบบกระชับ ช่วยให้เข้าใจประเด็นสำคัญโดยไม่ต้องอ่านรายละเอียดยาว ๆ 5. ตัวแก้ไขอัจฉริยะ (Smart Editor) ปรับปรุงกระบวนการสร้างและแก้ไขงานด้วยคำแนะนำจาก AI ช่วยให้เขียนคำอธิบายงานได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. โปรแกรมสร้างกฎอัจฉริยะ (Smart Rule Creator) สร้างรูปแบบ Workflow การทำงานของคุณให้เป็นอัตโนมัติ ด้วยกฎที่ปรับแต่งเองและขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทำงานประจำวันได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 7. เป้าหมายอัจฉริยะ (Smart Goals) ปรับปรุงประสิทธิภาพและทำให้การตั้งเป้าหมายมีมาตรฐานยิ่งขึ้นด้วย Smart Goals ที่วิเคราะห์เป้าหมายปัจจุบันและเสนอแนวทางการพัฒนา เช่น การเพิ่มเกณฑ์ความสำเร็จ สรุปผลกระทบ ระบุเป้าหมายหลัก สนับสนุนเป้าหมายย่อย และกำหนดทีมที่รับผิดชอบ 8. โปรเจกต์อัจฉริยะ (Smart Project)...

Continue reading