หลาย ๆ คนคงได้ยินคำว่ายุคดิจิทัลกันมาบ้างแล้ว แต่ทว่ายุคดิจิทัลนั้นไม่ใช่แค่เทรนด์ที่มาแล้วหายอีกต่อไป การเข้าสู่โลกดิจิทัลจะเปลี่ยนการทำงานของคุณไปตลอดกาล เพื่อให้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2565 นี้ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยว่าคุณจะต้องปรับตัวและรับมืออย่างไรเพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์และตอบโจทย์ต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด 1. ในโลกอนาคต การทำงานจะถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น McKinsey คาดการณ์ว่ามากกว่า 20% ของแรงงานทั่วโลก สามารถทำงานได้เกือบตลอดเวลาโดยไม่ต้องอยู่ที่ออฟฟิศและไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรือประสิทธิภาพของงาน ระบบอัตโนมัติจะมีบทบาทสำคัญในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid และจะทำให้งานและคนมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิติด้านล่างนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลในปี 2564 ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงาน (66%) และเทคโนโลยี (49%) ระบบอัตโนมัติที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับปี 2565 ได้แก่ การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน (54%) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน (49%) และการสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น (41%) 2. ธุรกิจที่ปรับตัวเร็วเท่านั้นที่จะอยู่รอด MuleSoft บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มกล่าวว่าเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยโลกดิจิทัลนั้นสร้างแรงกดดันมหาศาลให้กับองค์กรในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ อ้างอิงจากข้อมูลของ PwC ผู้บริโภค 1 ใน 3 จะหยุดบริโภคแบรนด์นั้น ๆ หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีแค่เพียงครั้งเดียว ทางออกขององค์กรคือองค์กรจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในแต่ละช่วง ส่วนประกอบพื้นฐานสามประการของธุรกิจที่จะอยู่รอดได้คือ ต้องมีการคิดแบบผสมผสานซึ่งจะช่วยให้คุณไม่สูญเสียความคิดสร้างสรรค์ อะไร ๆ ก็ปรับเปลี่ยนได้ มีความเป็นอิสระทางความคิดมากขึ้น ต้องมีสถาปัตยกรรมธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนได้ที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรของคุณถูกสร้างขึ้นให้มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนสภาพได้เร็วจากสถานการณ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้คือความสามารถเชิงโครงสร้างขององค์กรที่จะทำให้คุณมีกลไกที่จะใช้ในการออกแบบธุรกิจ เทคโนโลยีคือเครื่องมือที่จะเชื่อมโยงหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งงาน คน และองค์กร 3. นักเทคโนโลยีธุรกิจจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ภายในปี 2567 ผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยี 80% จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงรูปแบบการเขียนโค้ดที่น้อยลงหรือไม่ต้องเขียนโค้ดและเครื่องมือในการพัฒนาโดยใช้ AI จะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ บทความเพิ่มเติม:ไม่ต้องเขียน Code ก็สร้าง Application ได้จริงเหรอ? 4. Hyperautomation ระบบอัตโนมัติเพิ่มความเป็นดิจิทัลที่มากขึ้น ระบบอัตโนมัติจะเป็นแรงผลักดันขั้นพื้นฐานสำหรับองค์กรดิจิทัลยุคใหม่ การวิจัยในปี 2564 ชี้ให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยเร่งการกระจายอำนาจของธุรกิจด้วยการลงทุนทางด้านดิจิทัล การบริการลูกค้าถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด การมีระบบอัตโนมัติรองรับจะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มความพึงพอใจในงานของทีมได้อย่างดี เช่น แชทบอท บริการอัตโนมัติที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันลูกค้า...
Continue readingเปิดเหตุผลที่ใคร ๆ ต่างก็หลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโล
ไซโล (Silo) คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงไม่ควรมี ไซโล คือ ระบบที่แยกการทำงานเป็นแผนกโดยแต่ละแผนกมีแนวทางการทำงานและการสื่อสารที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานร่วมกันเป็นทีมในองค์กรใหญ่ หากแต่ละทีมขาดการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเข้าใจไม่ตรงกันภายในบริษัท อาจจะส่งผลให้กระบวนการทำงานในบริษัทไม่มีประสิทธิผลไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกองค์กรควรหลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโลเพื่อลดปัญหาและเพิ่มคุณภาพให้กับงาน ตัวอย่างเช่น SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็กำลังทลายระบบไซโลแล้วเข้าสู่วัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture) อยู่เช่นเดียวกัน นับว่าช่วงปีที่ผ่านมาและปีต่อ ๆ ไปนี้หลาย ๆ หน่วยงานต้องปรับเปลี่ยนมาใช้การทำงานที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น มีพนักงานใหม่เข้ามา มีทีมหรือแผนกเพิ่มขึ้น อายุของพนักงานในบริษัทเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นอีกเช่นกัน ดังนั้นการทำงานที่เชื่อมต่อกันและการสื่อสารถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่อองค์กรที่จะช่วยให้องค์กรนั้นเติบโตได้อย่างต่อเนื่องซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการขับเคลื่อนของพนักงานที่มีการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี Google Workspace เองก็ถูกออกแบบให้การทำงานมีการเชื่อมต่อกันและมีการสื่อสารกันมากขึ้นภายในองค์กร ใช้งานง่ายและสะดวกเหมาะสำหรับทุกวัย Demeter ICT – Google Cloud Partner อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ก็ได้นำ Google Workspace มาปรับใช้ในองค์กรเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายไอที หรือฝ่ายบัญชี ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ปรับตัวในทันยุคดิจิทัลที่กำลังดำเนินต่อไปในอนาคต ผลกระทบจากการใช้ระบบไซโลในองค์กร ขาดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่าระบบไซโลนั้นเป็นการทำงานแบบแยกแผนก ตัวใครตัวมัน ทีมใครทีมมัน ไม่มีการสื่อสารระหว่างแผนก แต่ทว่าความจริงแล้วนั้นเราจะขาดส่วนนี้ไปไม่ได้เลย เพราะในการทำงานงานหนึ่งหลาย ๆ ทีมต้องช่วยและประสานงานกันจึงจะทำให้สำเร็จได้ ถ้าทีมขาดการสื่อสารที่ดี และการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพพอ อาจส่งผลให้แต่ละทีมเข้าใจในตัวงานไม่ตรงกันและทำงานยากมากขึ้น ท้ายที่สุดอาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีต่อกันจนถึงขั้นทำลายความสัมพันธ์เลยก็ว่าได้ เพิ่มขั้นตอนการทำงานหรือใช้เวลาในการทำงานยาวนานขึ้น ต่อจากข้อด้านบน แน่นอนอยู่แล้วว่าหากทีมขาดการประสานงานที่ดีไปก็จะทำให้ขั้นตอนการทำงานเพิ่มมากขึ้น การทำงานเกิดความซ้ำซ้อน งาน ๆ หนึ่งใช้เวลานานมากกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้พนักงานเสียเวลาในการที่จะไปจัดการงานอื่นอีกด้วย ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กร เมื่อพนักงานทำงานแยกกัน ความเข้าใจทีมต่างกัน ก็จะทำให้พนักงานไม่อยากร่วมงานกัน ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร ส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัทและร้ายที่สุดคือส่งผลต่อผลประกอบการซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน วิธีทำลายล้างระบบไซโล จัดหาโปรแกรมหรือระบบที่ช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพนักงานในบริษัทมีความหลากหลายมากขึ้น การที่มีระบบที่ดีจะช่วยให้การทำงานระหว่างพนักงานเองมีความง่ายและรวดเร็ว ติดต่อสื่อสารกันได้ไม่มีสะดุด เช่น Google Workspace และ Zendesk มีแหล่งข้อมูลที่คนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจข้อมูลที่ตรงกัน ดังนั้นองค์กรจึงควรมีแหล่งเก็บข้อมูลที่พนักงานทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานร่วมกันได้ พูดง่าย ๆ ก็คือการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกันนั่นแหละ หากใครต้องการใช้ข้อมูลส่วนไหนก็สามารถเข้ามาดูได้ โดยที่บุคคลอื่นก็จะเห็นชุดข้อมูลเดียวกัน จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ให้บุคคลภายในองค์กร สืบเนื่องมาจากการแบ่งฝ่ายทำงาน...
Continue readingมีไฟล์เป็นร้อย หายังไงให้เจอภายใน 5 วิ
มีไฟล์เป็นร้อยก็หาเจอได้ภายใน 5 วิด้วย Cloud Search เครื่องมือการค้นหาข้อมูลอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกับ Google Workspace โดยตรง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่คุ้นชินกับแอปพลิเคชันนี้ ดังนั้นทาง DMIT จะขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้คุณได้เข้าใจการทำงานของ Cloud Search มากขึ้น สมมุติว่าคุณต้องการหาไฟล์ ๆ หนึ่ง แต่คุณไม่ทราบว่าไฟล์นั้นชื่ออะไร ถูกเก็บไว้ที่ไหน คุณก็สามารถค้นหาได้จาก Keywords ที่คุณรู้หรือที่คุณคิดว่าน่าจะใช่ จากนั้น Google จะโชว์ผลลัพธ์ทั้งหมดมาให้คุณภายในพริบตาเดียวเท่านั้น Cloud Search หาไฟล์จากที่ไหนได้บ้าง? จากที่ได้กล่าวไปแล้วด้านบนว่า Cloud Search ทำงานกับ Google Workspace ดังนั้นแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ ก็จะมีทั้ง Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive, Calendar, และ Sites รวมไปถึงกลุ่มที่คุณเข้าร่วมหรือกลุ่มภายในองค์กรได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นคุณสามารถเลือกกรองไฟล์ส่วนที่คุณต้องการค้นหาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ไฟล์เอกสาร PDF งานนำเสนอ วิดีโอ หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆ คุณก็สามารถค้นหาไฟล์ที่คุณต้องการใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าคุณไม่ต้องเข้าทีละแอปเพื่อค้นหาไฟล์ ๆ เดียวอีกต่อไป Cloud Search จัดให้ครบจบได้ภายใน 5 วิ คอนเฟิร์ม! Cloud Search อยู่ที่ไหน? คุณจะต้องไปที่หน้า Gmail ของคุณจากนั้นกด Google Apps ที่อยู่ด้านบนขวา แล้วเลื่อนไปที่ Cloud Search โดยมี Logo สีฟ้าแบบนี้ จากนั้นก็เริ่มค้นหาได้เลย! สำหรับแพ็กเกจที่รองรับ Cloud Search ได้แก่ Business Standard, Business Plus, และ Enterprise หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Demeter ICT...
Continue readingไม่ต้องเขียนโค้ดก็สร้างแอปพลิเคชันได้ด้วย AppSheet
จริง! เพียงแค่มี AppSheet ผลิตภัณฑ์จากทาง Google คุณก็สามารถสร้าง Application ได้แล้ว ง่ายมาก ไม่ต้องเขียน Code ย้ำ! ไม่ต้องเขียน Code ด้วยความที่สมัยนี้อะไร ๆ ก็เป็นดิจิทัลไปซะหมด หลาย ๆ องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและพัฒนาให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน หลาย ๆ คน ก็เริ่มสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง ซึ่งตัว AppSheet นี้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้องค์กรของคุณสามารถสร้างแอปพลิเคชันไว้ใช้ในองค์กรได้โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ทางไอทีหรือเทคโนโลยีที่ดูจะเข้าใจและเข้าถึงยากเหลือเกิน หากลองนึกย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนที่กว่าจะสร้างแอปพลิเคชันนึงขึ้นมานั้นต้องใช้เวลาในการเขียน Code ยาวนานและยากมาก ๆ แถมยังต้องใช้เงินจำนวนมากในการสร้างอีก แต่หากเปรียบเทียบกับปัจจุบันนี้ อะไร ๆ ก็ถูกปรับให้ง่ายขึ้น สร้างง่าย ใช้งานง่าย ออกแบบตามวัตถุประสงค์เองได้เลย AppSheet X Google AppSheet สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์จากทาง Google ได้ เช่น Google Data Studio และ Google Workspace (Google Docs, Sheets, Forms, Drive, และอื่น ๆ) คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลเองได้โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ที่หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินและเคยใช้งานกันมาบ้างแล้ว ซึ่งทำให้การใช้งาน AppSheet นั้นดูง่ายขึ้นมากกว่าเดิมอีกหลายเท่า AppSheet ช่วยอะไรได้บ้าง? ออกแบบได้ตามต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาในองค์กรองค์กรของคุณสามารถกำหนดรูปแบบของแอปพลิเคชันได้ตามต้องการ ตัวอย่างเช่น บริษัทคุณมีปัญหาเรื่องการเช็คชื่อพนักงาน ไม่รู้จะว่าพนักงานเข้า – ออกงานตรงตามเวลาหรือไม่ คุณสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรมาสร้างแอปพลิเคชันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ทั้งยังทำให้บริษัทของคุณดูทันสมัยและมีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้นอีกด้วย ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการทำงานจากเดิมที่คุณต้องส่งเอกสารเพื่อดำเนินเรื่องอะไรสักอย่างในบริษัท คุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มและรอดำเนินการซึ่งก็ไม่รู้จะใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะดำเนินการเสร็จเนื่องจากต้องส่งเอกสารไปยังหลายฝ่าย ใช้เวลาก็หลายวัน แต่ถ้าคุณมี AppSheet คุณลืมขั้นตอนเหล่านั้นไปได้เลย คุณสามารถกรอกข้อมูลผ่านแอปและระบบจะทำการส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้โดยอัตโนมัติ เสร็จภายในไม่กี่นาที สร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นให้กับองค์กรการทำงานแบบเดิม ๆ จะไม่จำเป็นอีกต่อไป หากองค์กรของคุณมีเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์การทำงานของพนักงานให้สะดวกมากยิ่งขึ้น มีแอปที่คอยช่วยจัดการให้การทำงานมีความรวดเร็วและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้องค์ของคุณดูมีความเป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อมากขึ้น หากคุณมีความสนใจนำ AppSheet นี้ไปปรับใช้กับองค์กรของคุณ คุณสามารถซื้อบริการแยกได้ ยิ่งไปกว่านั้นทางเรามีโปรโมชันสุดคุ้มให้ ถ้าคุณซื้อบริการ Google Workspace Enterprise...
Continue readingGoogle Meet VS Microsoft Team เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
หากพูดถึงเรื่องการประชุมทางไกล (Video Conference) ก็คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันจากสองบริษัทชื่อดังอย่างเช่น Google Meet และ Microsoft Team ซึ่งหลาย ๆ คนคงจะคุ้นชินและเคยใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้มาบ้างแล้ว แต่ว่าแอปพลิเคชันไหนกันที่เหมาะกับคุณ เหมือนและต่างกันอย่างไร วันนี้ DMIT ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ที่นี่ให้อย่างจัดเต็ม พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย! ระดับความยากง่ายของการใช้งาน Google Meet นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เพียงแค่กดเข้าหน้าแรกบนหน้าเดสก์ท็อปหรือบนแอปในโทรศัพท์ คุณก็จะเจอปุ่มที่สามารถสร้าง Meeting ได้ทันที อีกทั้งเมื่อคุณได้สร้าง Meeting ไว้แล้วคุณสามารถเลือกใช้ภาพพื้นหลังหรือเอฟเฟ็กต์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ส่วนฝั่ง Microsoft Team นั้นจะมีการใช้งานที่ซับซ้อนมากขึ้นอีกสักหน่อย เนื่องจากเน้นการประชุมที่ค่อนข้างมีความเป็นทางการ การจะเลือกใช้งานฟังก์ชันใดจึงอาจจะต้องกดหลายปุ่ม แต่ก็ไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน แถมยังมีภาพพื้นหลังและลูกเล่นอื่น ๆ ไม่แพ้กัน หมายเหตุ : หากคุณต้องการเข้าใช้งานผ่านโทรศัพท์ คุณจะต้องทำการดาวน์โหลดและใช้งานผ่านแอปเท่านั้น แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ Google Meet Calendar – คุณสามารถสร้าง New Meeting ได้ใน Google Calendar ทันที เพียงแค่คลิกวันที่และเวลาที่คุณต้องการสร้าง จากนั้นก็สามารถเพิ่มคนที่คุณต้องการที่จะให้เข้าร่วมประชุมหรือแชร์ลิงก์ได้เลย Gmail – หากคุณได้รับคำเชิญหรือมีคนแชร์ลิงก์ Meeting ให้ Google จะทำการส่ง Email เข้าไปใน Gmail ของคุณเพื่อให้คุณกดยืนยันที่จะเข้าร่วม Chat – สมมุติว่าคุณกำลังคุยงานอยู่แล้วต้องการที่จะ Meeting โดยด่วน คุณสามารถกดปุ่มรูปวิดีโอได้ที่ด้านล่างขวา จากนั้นคุณก็จะเข้าสู่ Google Meet โดยอัตโนมัติ Microsoft Team Outlook – คุณสามารถสร้างลิงก์ Meeting แล้วแชร์ไปให้ผู้เข้าร่วมทาง Email ได้ แต่มีข้อแม้คือคุณต้องเขียนอีเมลขึ้นมาเอง Calendar – การใช้งานจะคล้ายกับ Google Meet ที่กล่าวไปด้านบน แต่ว่า Microsoft...
Continue readingCanva บริษัทผลิตแพลตฟอร์มเพื่อการออกแบบชื่อดัง สนับสนุนการทำงานร่วมกันของพนักงานด้วย Google Workspace
“Canva พื้นที่ที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการออกแบบได้อย่างง่าย“ Canva นำเสนอสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันด้วย Google Workspace เพื่อสนับสนุนพนักงานที่อยู่ต่างประเทศที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้พวกเขาเชื่อมต่อถึงกันและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด “Google Workspace เป็นเหมือนอากาศและน้ำสำหรับเรา เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในที่ทำงานของเรา” Jeff Lai ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานภายในของ Canva กล่าว ยืนยันจากผู้ใช้จริงมาอย่างยาวนาน Google Workspace ธุรกิจที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันในองค์กรอย่างสร้างสรรค์บนระบบคลาวด์ ซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยมจึงทำให้ได้รับความไว้วางใจจากหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น Canva ผู้ใช้งาน Google Workspace มาอย่างยาวนาน และ Jeff Lai ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานภายในของ Canva ได้กล่าวไว้ว่า “หากจะเป็นธุรกิจระดับโลก บริษัทต้องมั่นใจว่าองค์กรมีเทคโนโลยีที่สามารถเติบโตและขยายไปพร้อมกับตนเองได้” ดังนั้น Canva จึงตัดสินใจเลือก Google Workspace ที่จะมาตอบโจทย์การทำงานร่วมกันจากทั่วทุกมุมโลก Canva มีใบอนุญาตใช้งาน Google Workspace มากถึง 1,850 สิทธิ์ เพื่อรองรับพนักงานราว 1,200 คน ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมความต้องการด้านการสื่อสาร การเชื่อมต่อ และประสิทธิภาพของผลงาน โดยมั่นใจว่าการใช้บริการ Google Workspace จะทำให้องค์กรมีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอเพื่อให้ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าบริการซื้อพื้นที่จัดเก็บเสริม ทีมนักออกแบบ นักพัฒนา นักการตลาด นักลงทุน และที่ปรึกษาของ Canva ใช้ Google Workspace สำหรับงานต่าง ๆ เช่น จัดกำหนดการประชุม ส่งอีเมลให้ฝ่ายภายในและภายนอก จัดเก็บไฟล์และติดตามกิจกรรมในสเปรดชีต ซึ่งการทำงานบน Google Workspace นั้นช่วยให้ Canva สามารถขยายฐานผู้ใช้งานได้มากขึ้นและช่วยให้ Canva ประสบความสำเร็จในการสร้างแพลตฟอร์มที่มีเทมเพลตและแบบอักษรนับพัน รวมถึงรูปภาพสต็อก ไอคอน และภาพประกอบนับล้าน เข้าถึงได้จากทุกหนทุกแห่งราว 100 % เนื่องจากพนักงานของ Canva ที่อยู่ต่างประเทศนั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โมเดลการทำงานแบบกระจายจึงเป็นโซลูชันที่เหมาะสมที่สุด Canva เลือกใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันที่พร้อมให้บริการตลอดแบบ 24/7...
Continue readingPhishing และ Malware ก็ทำอะไร Google Workspace ไม่ได้!
เมื่อการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid working) กลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับองค์กรหลายแห่ง การรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความน่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก และถือเป็นรากฐานที่ทำให้คนสามารถทำงานร่วมกันบน Cloud ได้อย่างสบายใจไปพร้อมกับ Google Workspace ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการเข้ารหัสแบบ Client-side Client-side Encryption หรือการเข้ารหัสโดยข้อมูลลูกค้า คือ การที่องค์กรทำการล็อคประตูเข้าถึงคลังข้อมูลบางอย่างหรือที่เราเรียกว่าการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่ข้อมูลจะถูกอัปโหลดไปยัง Server ซึ่ง Password ที่ใช้ล็อคไว้นั้นคือกุญแจเข้ารหัสที่มีเพียงแค่คนในองค์กรที่รู้เท่านั้น วิธีนี้จะทำให้องค์กรเองสามารถควบคุมข้อมูลด้วยตัวเองได้โดยตรง ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาข้อมูลที่เป็นความลับได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะใช้งานบนอุปกรณ์ใดก็ตาม อีกทั้งยังสามารถแชร์ไฟล์ที่เข้ารหัสให้บุคคลอื่นได้อีกด้วย ซึ่งหากรวมกับการเข้ารหัสแบบอื่นๆ จากทาง Google แล้ว องค์กรจะสามารถยกระดับการป้องกันข้อมูลที่อยู่ใน Google Workspace มากขึ้นกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า การเข้ารหัสแบบ Client-side นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา บันทึกการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น สำหรับลูกค้า Google Workspace Enterprise Plus การเข้ารหัส Client-side จะพร้อมใช้งานใน Google Drive, Docs, Sheets, และ Slides ในขั้นต้น โดยรองรับไฟล์หลายประเภท รวมถึงไฟล์ Office, PDF และอื่นๆ การป้องกัน Phishing และ Malware สำหรับ Google Drive Phishing คือ การหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ที่มีเป้าหมายเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลเพื่อหลอกให้เจ้าของอีเมลคลิกเข้าไปเพื่อดึงข้อมูลส่วนตัวออกมา เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ส่วน Malware คือการปล่อยไวรัสเข้าอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ เพื่อไปทำลายข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นๆให้เกิดความเสียหาย สำหรับ Google Workspace นั้นมีการปกป้องข้อมูลแบบ built-in ใน Google Drive ที่จะช่วยบล็อกเนื้อหาฟิชชิงและมัลแวร์จากผู้ใช้และองค์กรภายนอก ซึ่งตอนนี้ Google ได้พัฒนาให้ Google Workspace แอดมินสามารถเข้ามาจัดการข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้ด้วยตัวเองเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายในและปัญหาจากผู้ใช้งาน หากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ไฟล์ที่เกี่ยวข้องจะถูกตั้งค่าสถานะและทำให้มองเห็นได้เฉพาะแอดมินและเจ้าของไฟล์เท่านั้น...
Continue readingอะไรในองค์กรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z?
ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอเกริ่นก่อนว่าคน Gen Z นั้นคือคนที่เกิดปีพ.ศ. 2538 – 2552 ซึ่งหลายๆ องค์กรอาจจะเคยทำงานร่วมกันกับคน Gen นี้มาบ้างแล้ว และอาจสงสัยว่าทำไมคน Gen นี้ส่วนมากจะทำงานกับองค์กรได้ไม่นาน เปลี่ยนงานบ่อย จนทำให้หลายๆคนคิดว่าคน Gen นี้ไม่มีความอดทนเอาซะเลย แต่จริงๆแล้วคน Gen นี้ไม่ได้ความอดทนต่ำแต่อย่างใด แต่ทว่าเขานั้นเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมาย ชอบความสะดวกรวดเร็ว และชอบเรียนรู้บนโลกออนไลน์ซะส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คน Gen Z ต้องการทำงานกับองค์กรที่ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง ทำไมทำงานกับคน Gen Z ถึงยากนัก? สำหรับองค์กรในประเทศไทยนั้นพนักงานส่วนใหญ่จะมีอายุค่อนข้างมากและยึดติดกับระบบการทำงานแบบเดิมๆ เคยทำงานแบบไหนก็จะทำแบบนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตัวอย่างเช่น หากคุณเคยทำงานบนกระดาษหรือโปรแกรมใดๆที่คุณเคยใช้ คุณก็จะไม่เปิดใจให้กับสิ่งใหม่ๆถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้นก็ตาม ซึ่งเหตุผลก็เพียงเพราะคุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นยากที่จะเรียนรู้และคุณคุ้นชินกับระบบแบบเดิมมากกว่า แต่หากมองในมุมคน Gen Z เขาไม่ได้คิดอย่างนั้นเลย คนรุ่นนี้ต้องการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นหากจะตอบคำถามที่ว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงทำงานกับองค์กรได้ไม่นาน ก็คงต้องย้อนกลับไปว่าองค์กรของคุณมีเทคโนโลยีที่จะซัพพอร์ตการทำงานให้คนรุ่นใหม่ในยุคสมัยนี้แล้วหรือยัง? เครื่องมือเทคโนโลยีแบบไหนที่จะช่วยให้การทำงานกับ Gen Z ง่ายขึ้น? Kahoot Gen Z in the workplace report. จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่ต้องการทำงานบนโทรศัพท์ สื่อออนไลน์ วิดีโอ และผ่านโซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนนั้นต้องการอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ส่วนตัวอย่างเช่นโทรศัพท์ก็ตาม การทำงานบนสื่อหรือแอปพลิเคชันออนไลน์ก็มีความต้องการใช้งานสูงไม่แพ้กัน ณ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันหลากหลายให้เลือกใช้ จะรู้ได้อย่างไรว่าแอปไหนดีที่สุด ซึ่งคำตอบก็คือแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันครบ ใช้งานง่าย เหมาะกับทุกวัย เช่น Google Workspace ซึ่งนับว่าเป็นแอปพลิเคชันหนึ่งที่ใช้งานง่ายมากๆ ตอบโจทย์การทำงานหลากหลายรูปแบบ เพราะใน Google Workspace นั้นจะมีแอปพลิเคชันย่อยอีกมากมายแบ่งตามการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา และบนทุกแพลตฟอร์มอีกด้วย สำหรับการทำงานหรือเรียนรู้ผ่านวิดีโอ คนสมัยนี้ชอบการเห็นภาพและการได้ยินเสียงไปพร้อมกันเพราะจะทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมกับสิ่งนั้นๆและทำให้เขาจดจำเนื้อหาของวิดีโอเหล่านั้นได้มากและง่ายขึ้นกว่าเดิม ง่ายกว่าการศึกษาจากหนังสือด้วยตัวเองหลายเท่า การใช้โซเชียลมีเดียก็ยังคงมีความนิยมอยู่ไม่น้อยเช่นกัน จะเห็นได้จากการที่หลายๆ องค์กรใช้โซเชียลมีเดียเป็นสื่อในการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น Facebook และ Instagram ซึ่งสามารถเรียกสื่อเหล่านี้ว่าเป็นหน้าบ้านขององค์กรแทนเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ การที่องค์กรเลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆสื่อสารนั้นจะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากว่าคน Gen...
Continue readingGoogle Cloud (Storage) คืออะไร?
Google Cloud คือ? Google Cloud ชื่อที่เราเรียกกันจนชินปาก จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนหมายถึงนั่นก็คือ Google Cloud Storage นั่นเอง ซึ่งก็คือการจัดเก็บข้อมูลผ่านทาง Google ที่คุณสามารถสร้างและเก็บไฟล์ได้โดยผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่าย เพียงแค่คุณมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ผ่าน Google Workspace (Docs, Sheets, Slides) หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google ระบบก็จะทำการบันทึกไฟล์อัตโนมัติและอัปโหลดบน Cloud ได้ทันที ไม่เพียงแต่งานเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆที่คุณต้องการจัดเก็บอีกด้วย *ในส่วนของ Google Cloud นั้นจะมีความหมายคนละอย่างกันกับ Google Cloud Storage นะ ! Google Cloud Storage ดียังไง? ไม่ต้องมี Hard Disk หรือ Flash Drive หลายๆคนอาจจะชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผ่าน Hard Disk หรือ Flash Drive ซึ่งคุณนั้นต้องพกมันไปทุกที่ ไม่หนำซ้ำยังต้องระวังเรื่องไวรัสอีก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ไปซะหมด คุณจะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมแบบเดิมๆอีกต่อไป ทุกครั้งที่คุณมีการทำงานผ่านแอปพลิเคชันของ Google งานของคุณก็จะถูกบันทึกอยู่บน Cloud ทันที ประหยัดค่าใช้จ่าย สืบเนื่องมาจากข้อด้านบน แน่นอนว่าพอคุณไม่ต้องพก Hard Disk หรือ Flash Drive ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่มีความจำเยอะขึ้นเพื่อจัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลที่มากขึ้น แชร์ให้คนอื่นได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้คุณสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือแชร์ให้บุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าตัวคุณไม่ได้ออนไลน์อยู่ เพื่อนหรือทีมของคุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Hard Disk หรือ Flash Drive เช่นเดิมที่เมื่อก่อนนั้นคุณต้องเสียบกับ Computer หรือ...
Continue reading