PDPA is

PDPA คืออะไร? กฎหมายบังคับใช้ที่ทุกองค์กร “ต้อง” ให้ความสำคัญ

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเจ้าของข้อมูล (บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล) มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ โดยที่องค์กรจะต้องยินยอมปฏิบัติตามสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลตามที่เจ้าของข้อมูลได้ระบุไว้เท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ชื่อ-นามสกุล เชื้อชาติ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน/ เลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร/ ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลรูปใบหน้า ความคิดเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลสุขภาพ และอื่น ๆ สามารถดูได้ที่นี่ ตัวอย่างข่าวในประเทศไทยที่มีปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหลปี 2564 ทำไมทุกองค์กร”ต้อง”ให้ความสำคัญ? เมื่อ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565 นี้ คุณได้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้แล้วหรือยัง? แน่นอนว่าหากเป็นข้อบังคับใช้แล้วเนี่ย องค์กรของคุณจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นแน่ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่พื้นฐานที่องค์กรควรมีอีกต่อไป แต่เป็นพื้นฐานที่องค์กร “ต้องมี” ต่างหาก เพราะ ณ ปัจจุบัน หลาย ๆ องค์กรหันมาดำเนินกิจการแบบออนไลน์และทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ข้อมูลถูกเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นเหตุให้หลาย ๆ หน่วยงานต่างจับตาอยู่ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งหน่วยงานที่ว่านี้คือบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง ที่ต้องการเข้ามาปลอมแปลงดึงข้อมูลความลับภายในบริษัทไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกระทำการใด ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ยินยอมในการกระทำดังกล่าว ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปด้านบนจะเห็นได้ว่าองค์กรทุกองค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย (Data Loss Prevention) ภายในบริษัทที่จะสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลนี้ได้ ซึ่ง DLP นี้จะคอยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คอยดูความเคลื่อนไหว สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ หากเกิดเหตุอันใดน่าสงสัย ระบบก็จะทำการคุ้มกันข้อมูลโดยทันที โดยที่ท่านสามารถซื้อระบบรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะก็ได้ หรือซื้อซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันในการเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยก็ได้ ในทางกลับกันหากองค์กรของท่านไม่มีความเข้าใจในกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีการเก็บข้อมูลพนักงานเป็นความลับ เผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปโดยที่พนักงานเจ้าของข้อมูลนั้นไม่ได้ยินยอม ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับ PDPA ท่านจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย...

Continue reading
PDPA Webinar

ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace

“ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” นับถอยหลังอีกไม่ถึงหนึ่งเดือน… ก่อน PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว โค้งสุดท้ายของการเตรียมตัว แล้วธุรกิจของคุณพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงนี้? เมื่อข้อมูลที่มีอยู่ในมือกลายเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับบริษัทในยุคนี้ ซึ่งในบางครั้งการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลมากเกินไปและใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อเจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎ PDPA และถือเป็นความผิดที่อาจได้รับโทษได้ทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการปรับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องรู้ให้เท่าทันเหตุการณ์และทำความเข้าใจก่อนมีผลบังคับใช้ Personal Data Protection Act (PDPA) หรือในชื่อไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อดูแลข้อมูลของผู้คนภายในประเทศและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลไม่ให้องค์กรหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนำข้อมูลของคุณไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม  พ.ร.บ.นี้ ใกล้ตัวขนาดไหน? สำหรับประชาชนทั่วไปก็อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ เช่น ได้รับโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยไม่รู้ว่ามิจฉาชีพเหล่านี้ได้เบอร์หรือข้อมูลเรามาจากไหน บริษัทประกันโทรหาเพื่อเสนอขาย หรือมีการโฆษณาผ่านอีเมลจากที่ไหนไม่รู้โดยที่เราไม่ได้ยินยอมมาก่อน ซึ่งการเข้ามาของ PDPA จะช่วยลดเหตุการณ์เหล่านี้ให้น้อยลง เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่นำข้อมูลไปใช้โดยพละการจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี สำหรับในแง่มุมของธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ จำต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่าธุรกิจของเรามีการละเมิด PDPA อยู่หรือไม่? เพื่อไม่ให้ทำผิดข้อกฎหมายไม่ว่าจะเป็นความประมาทโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตามที ดังนั้นการให้ความสำคัญและการเตรียมพร้อมรับมือ PDPA จึงเป็นสิ่งที่องค์กร “ต้อง” ให้ความสนใจนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ PDPA และได้ตระหนักถึงมาตรการการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลของภาคธุรกิจและองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ “ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจใน PDPA  แก่ผู้ประกอบการ พร้อมเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Google Workspace จากบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Google เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถรับมือกับ PDPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพไปพร้อมกับเรา ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม ได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมาย PDPA ก่อนปรับใช้จริงในเดือนมิถุนายน...

Continue reading
การใช้งาน Google Docs

สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @

Google Docs หนึ่งในแอปพลิเคชันในการสร้างงานเอกสารยอดนิยมที่ใช้งานง่าย มีครบทุกฟังก์ชัน ซึ่ง Demeter ICT เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยิน ได้ลอง หรือกำลังใช้งานเจ้าตัว Google Docs นี้อยู่เป็นแน่ จากเดิมที่ใช้งานง่ายอยู่แล้ว ตอนนี้ Google Docs ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกเท่าตัว ไม่ต้องกดเข้าแท็บเมนูเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันใด ๆ แต่เพียงแค่พิมพ์ @ คุณก็สามารถคลิกเลือกสิ่งที่คุณต้องการได้เลย ง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างง่ายดาย มิหนำซ้ำยังเพิ่มความเป็นมืออาชีพได้อีกด้วย เนื่องจากเจ้าฟังก์ชัน @ ตัวนี้สามารถลิงก์ไปยังแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google workspace ทำให้งานที่คุณได้สร้างสรรค์ไว้นั้นถูกเชื่อมต่อถึงกันและมีรายละเอียดต่าง ๆ ปรากฏที่หน้า Google Docs ได้โดยตรง ทั้งหมดนี้เพียงแค่พิมพ์ @ ตัวเดียวจริง ๆ   ไม่รอช้า มาดูกันเลยว่าสูตรลับ @ ใน Google Docs นี้จะมีฟังก์ชันอะไรซ่อนอยู่บ้าง สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @ @ ชื่อพนักงานเพื่อมอบหมายงาน หากคุณต้องการมอบหมายงานให้พนักงาน หรือต้องการกล่าวถึงพนักงานคนใดคนหนึ่งในหัวข้องานหรือเนื้อหานั้น ๆ คุณสามารถพิมพ์ @ แล้ว Google จะโชว์บัญชีของคนที่คุณเคยสนทนาด้วยหรือคนที่คุณเคย Interact อะไรบางอย่างร่วมกันเพื่อให้รวดเร็วต่อการค้นหา แต่ถ้าหากคุณหาคนที่คุณต้องการไม่เจอ คุณสามารถพิมพ์ชื่ออีเมลของบุคคลนั้นลงไปได้เช่นเดียวกัน @ ชื่อไฟล์เพื่อให้งานลิงก์ถึงกัน ถ้าคุณต้องการที่จะแนบไฟล์อื่นลงใน Google Docs เช่น ไฟล์จาก Google Sheets, Google Slides, Google Forms หรือแม้กระทั่งรูปหรือไฟล์อื่น ๆ ที่เก็บอยู่ใน Google Drive คุณก็สามารถ @ ลงมาได้เลย...

Continue reading
How call center get our number

เผย 7 ช่องทางสำรวจแก๊งมิจฉาชีพอย่าง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? พร้อมแนวทางป้องกัน

คุณเป็นหนึ่งคนที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจใช่หรือไม่? แล้วคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาเบอร์โทรของคุณมาจากที่ไหน? นี่เป็นคำถามที่หลายคนก็ต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเมื่อแก๊งต้มตุ๋นที่มาในรูปแบบของการโทรขอข้อมูลกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2565 บ้างก็อ้างว่าคุณมีพัสดุที่ยังไม่ได้รับ บ้างก็อ้างว่าคุณมียอดบัตรเครดิตที่ยังไม่ชำระ หรือแม้กระทั่งว่ามีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ได้สร้างความรำคาญใจ สร้างปัญหาและสร้างมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ยอดผู้เสียหายสูงถึง 270% เมื่อเทียบกับปี 2564 แต่ทว่าการหลอกลวงแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์ที่แก๊งมิจฉาชีพนี้ต้องการ แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนตัวอีกมากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และเลขบัตรเครดิต ที่ซึ่งการโทรไปหลอกนั้นจะสามารถเป็นประตูเปิดทางให้แก๊งมิจฉาชีพล้วงข้อมูลเหล่านี้ไปได้  ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจึงควรกลับไปแก้ไขที่ต้นตอ ลองสำรวจว่าคุณเคยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไหนบ้าง แล้วแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ข้อมูลของคุณมาอย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปกับ Demeter ICT 7 ข้อสำรวจแก๊ง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? 1. เอามาจากเว็บไซต์สมัครงาน เว็บสมัครงานถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลาย ๆ คนได้ลงข้อมูลส่วนตัวไว้ในโปรไฟล์ก็ดี บน Resume ก็ดี โดยที่จะใช้ข้อมูลนั้นในการสมัครงานและหวังว่านั่นจะเป็นช่องทางที่คุณจะได้รับการติดต่อกลับนั่นเอง แต่ว่าคุณเองก็คงลืมเอะใจไปว่าชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล และที่อยู่ของคุณก็ต่างเป็นที่หมายปองของแก๊งมิจฉาชีพอย่างเช่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือแม้กระทั่งแก๊งโทรขายตรงหรือโทรขายฝันก็รวมอยู่ในเว็บไซต์รับสมัครงานกันไม่น้อยเลยทีเดียว  2. เอามาจาก Social Media ส่วนตัว Social Media ช่องทางยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่งที่คุณอาจจะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวว่ามิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลจากช่องทางนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ลองกลับไปเช็คที่โปรไฟล์ของคุณดูว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลไว้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีข้อมูล 2 อย่างนี้ แก๊งมิจฉาชีพก็สามารถเอามาทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น การโทรหลอกเอาข้อมูลหรือที่หลายคนเรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการล้วงข้อมูลทางอีเมลแบบ Phishing หากใครที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่บนโปรโฟล์ ก็แนะนำว่าอย่าใส่จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok ก็ควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ 3. เอามาจากการคลิกลิงก์ คุณเคยเจอบ้างไหมลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาในข้อความโดยมีคำพูดที่เย้ายวนใจราวกับว่าเขาอ่านความคิดคุณออก ซึ่งยากที่จะหักห้ามใจไม่กดเข้าไปเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณคลิกเข้าไปแค่ครั้งเดียวแก๊งต้มตุ๋นก็สามารถล้วงความลับของคุณได้แล้วง่าย ๆ หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการตอบคอมเมนต์โดยการแนบลิงก์ลงบน Social Media ซึ่งหากคุณเผลอคลิกเข้าไป ลิงก์นั้นสามารถนำคุณไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทันที  4. เอามาจากการกรอกแบบฟอร์ม หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมออนไลน์เป็นพิเศษ คุณคือหนึ่งในเป้าหมายของแก๊งนี้ ซึ่งการหลอกลวงเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่อย่างไรก็ตามป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง โดยการทำงานของแก๊งนี้จะมาในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์โปรโมชันต่าง ๆ...

Continue reading
How to manage task effectively

3 วิธีแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลากว่าเดิมถึง 2 เท่า

เคยเจอกันไหมปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ต้องส่งไฟล์กันไปมา ดาวน์โหลดลงเครื่อง ทำงานต่อ แล้วส่งกลับ บางทีก็ทำผิดบ้าง ทำให้ต้องทำใหม่… ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป เพียงแค่คุณมีเจ้าตัวซอฟต์แวร์ตัวนี้ ที่สามารถช่วยให้คุณทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน มิหนำซ้ำยังใช้งานได้ง่ายมาก ๆ อีกด้วย เจ้าซอฟต์แวร์ที่ว่านี้ก็คือ Google Workspace ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานบนโลกอินเทอร์เน็ตจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้งานทั่วโลก ซึ่ง Google Workspace นี้หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นชื่อกันอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเคยได้ยิน Google Docs, Google Sheets, Google Slides, และ Google Forms ซะมากกว่า ซึ่งทั้งสี่แอปนี้ จริง ๆ แล้วก็เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันของ Google Workspace นั่นเอง เอาละ! คุณคงจะรู้จักซอฟต์แวร์นี้คร่าว ๆ แล้ว มาดูกันว่า Google Workspace จะช่วยให้คุณลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้อย่างไรบ้าง 3 วิธีแก้ไขปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน 1. ทำงานร่วมกันในไฟล์เดียว แชร์ถึงกันได้แบบ Real Time คุณสามารถแชร์ไฟล์งานให้กับทีมของคุณให้เข้ามาทำงานร่วมกันหรือพร้อมกันได้เลย โดยเข้าไปที่แอปพลิเคชันนั้น ๆ กดปุ่มแชร์ที่ด้านบนขวาแล้วใส่ชื่อ @ ของสมาชิกในทีมของคุณ จากนั้นไฟล์ก็จะถูกแชร์ไปยังบัญชีต่าง ๆ แล้ว หรืออีกวิธีหนึ่งคือการคัดลอก Link จากปุ่มแชร์แล้วส่งให้ทีมได้เลย เพียงเท่านี้ทุกคนในทีมก็สามารถทำงานในไฟล์เดียวกันได้ ปรึกษากันตอนทำงานก็ได้ ไม่ต้องทำคนละไฟล์ ดาวน์โหลด บันทึกแล้วส่งให้กันเหมือนที่เคยทำ ลดขั้นตอนการทำงานไปเยอะ 2. มอบหมายงานผ่าน @ ในไฟล์ หลังจากที่คุณทราบวิธีการแชร์ไฟล์แล้ว ทีนี้หากคุณต้องการจะมอบหมายงานงานหนึ่งให้กับคนในทีม คุณสามารถพิมพ์ @ ชื่อบัญชีของคนนั้นได้เลย เมื่อทีมของคุณเข้ามา เขาก็จะทราบได้ทันทีเลยว่าคุณต้องการให้เขาทำอะไร ตรงไหนบ้าง หรือแม้กระทั่ง @ ประชุม อีเว้นท์หรือไฟล์งานต่าง ๆ คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับไฟล์ที่มีข้อมูลเยอะและมีลูกทีมหลายคน เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ทีมของคุณไม่ต้องพิมพ์สิ่งเดิมซ้ำ ๆ ไม่ต้องคอยถามย้ำ...

Continue reading
Cancel G Suite Legacy

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที แจ้งยุติให้บริการ Google Apps Standard / G Suite Legacy

เรียน ผู้ดูแลระบบ และลูกค้าที่เคารพของบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที ทุกท่าน บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด แจ้งยุติการให้บริการระบบอีเมลแบบ Google Apps Standard / G Suite Legacy ตามนโยบายจากทาง Google ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 โดยทางลูกค้าสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. ไม่มีความประสงค์ใช้งานระบบอีเมลของ Google ต่อไปแล้ว สำหรับลูกค้าที่ชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือยังไม่หมดอายุสัญญาบริการ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลท่าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการคำนวนและคืนส่วนต่างให้กับท่านตามสัดส่วนของระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงหมดอายุสัญญา โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายจะแนะนำขั้นตอนการดำเนินการต่อไป ติดต่อทีมฝ่ายขาย Google Workspace จากนั้นท่านสามารถเลือกวิธีการจัดการข้อมูลของท่านได้  2 วิธีการดังนี้ 1.1. การสำรองข้อมูลภายในองค์กรของท่าน (Backup) ด้วยการ Take out ข้อมูลของท่าน เพื่อเก็บข้อมูลสำรองไว้ใช้งานภายหลัง วิธีการดาวน์โหลดข้อมูล หมายเหตุ: หลังจากทำการ Zip ไฟล์ข้อมูลที่เก็บถาวรแล้ว มีระยะเวลาในการดาวน์โหลดประมาณ 7 วัน ก่อนที่ไฟล์จะหมดอายุลง (Google อนุญาตให้ดาวน์โหลดไฟล์ที่เก็บถาวรแต่ละรายการได้ 5 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้น โปรดส่งคำ Take out ใหม่อีกครั้ง) สำรองข้อมูลอีเมลด้วยการดาวน์โหลดแบบ POP3 บนอีเมลไคลเอนต์ (Email client) เปิดข้อความจาก Gmail ในโปรแกรมรับส่งอีเมลอื่น ๆ ที่รองรับ POP3 ได้ เช่น Microsoft Outlook หรือ Thunderbird เปิดใช้ POP ตั้งค่าให้อ่านข้อความ Gmail ในโปรแกรมรับส่งอีเมลอื่นที่รองรับ POP3 1.2. การโอนย้ายระบบอีเมล (Email Migration) ไปยังระบบใหม่ที่ลูกค้าต้องการใช้งานต่อหลังจากนี้ สามารถติดต่อสอบถามจากผู้ให้บริการระบบอีเมลรายใหม่เพื่อเพิ่มความสะดวก และลดระยะเวลาการดำเนินการของท่าน...

Continue reading
How Data Loss Protection in Google Workspace comply with PDPA

Data Loss Prevention (DLP) ใน Google Workspace ช่วยยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้สอดคล้องกับ PDPA ได้อย่างไร?

PDPA คืออะไร? PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุไปถึงตัวตนของคนคนนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยที่เจ้าของข้อมูลมีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายของมูลนั้น ๆ นั่นเอง *ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุใน PDPA จะไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล ดังนั้นองค์กรหรือบริษัทของคุณจึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือที่เรียกว่า Data Loss Prevention (DLP) ที่จะมีหน้าที่ช่วยรักษาความปลอดภัยและช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปนอกองค์กรได้ง่าย ซึ่งแต่ละองค์กรนั้นจะมีซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้รักษาความปลอดภัยนี้แตกต่างกันไป DLP ใน Google Workspace มีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับ PDPA อย่างไรบ้าง? Google Workspace ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA อยู่เสมอ เช่น ISO/IEC27001 ระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล ISO/IEC27017 ระบบมาตรฐานรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และ ISO/IEC27018 แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลของคนในองค์กร เป็นต้น นอกจากนี้ Google Workspace ยังได้รับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยอีกมากมายตามด้านล่างนี้ จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า Google Workspace นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา ซึ่งถ้า DLP สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติหรือน่าสงสัย ระบบจะส่งแจ้งเตือนไปยังแอดมินผู้ดูแลระบบหรือผู้มีอำนาจควบคุมให้ทราบว่า ณ เวลานั้นได้มีบุคคลหนึ่งกำลังพยายามที่จะแชร์ คัดลอกข้อความ หรือบันทึกรูปภาพหน้าจอข้อมูลที่เป็นความลับภายในองค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลออกไปเผยแพร่ต่อแหล่งอื่น เมื่อระบบตรวจพบ ระบบจะทำการยับยั้งและตรวจสอบโดยทันที หากต้องการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวให้เป็นความลับต้องทำอย่างไรและข้อมูลไหนถือเป็นข้อมูลความลับบ้าง? เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น Demeter ICT ได้สรุปตามรูปภาพด้านล่างนี้ หลังจากที่คุณได้ทำการสำรวจข้อมูลในองค์กรเรียบร้อยแล้วและต้องการตั้งค่าข้อมูลให้เป็นความลับ (ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครอง) คุณสามารถดำเนินการได้ที่ Admin Console แล้วกำหนดว่าข้อมูลไหนที่พนักงานไม่สามารถแชร์ คัดลอก และบันทึกรูปภาพส่งออกไปยังบุคคลภายนอกได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือคุณสามารถเข้ารหัสไฟล์ได้ซึ่งหมายความว่าไฟล์ที่คุณได้เข้ารหัสไว้นั้นจะไม่สามารถถูกแชร์ไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งในไฟล์นั้น ๆ คุณยังสามารถกำหนดได้อีกด้วยว่าไฟล์ที่ว่านี้เป็นความลับระดับไหน มากหรือมากที่สุด โดยคุณสามารถเข้าไปที่ Google Drive แล้วคลิกสร้างเอกสารใหม่จากนั้นเลือกเข้ารหัสไฟล์ หากเข้ารหัสเรียบร้อยแล้วคุณจะเห็นโลโก้รูปโล่ล็อกอยู่ตรงที่ปุ่มแชร์ด้านบนขวา ไม่ว่าจะเป็น Google Docs, Google...

Continue reading
build application by Apps script or AppSheet

Apps Script VS AppSheet ใช้แอปไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด!

ใช้ App ไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด? อยากเขียนแอปพลิเคชันจัง แต่ทำอย่างไรดีไม่มีความรู้เรื่องโค้ด หรือโปรแกรมใด ๆ เลย? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณได้รู้จัก App Script และ AppSheet แอปพลิเคชันสุดล้ำใน Google Workspace ที่แทบไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องภาษาเฉพาะในการเขียนโค้ด คนธรรมดาอย่างเราก็ทำได้ แต่จะใช้แอปไหนดีล่ะถึงจะสร้างได้ง่ายที่สุดและเหมาะกับคุณมากที่สุด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ 2 แอปพลิเคชันนี้กัน Apps Script คือ แพลตฟอร์มเขียนโค้ด Javascript แบบ Low Code Platform ที่ทำงานอยู่บน Cloud-based ซึ่งช่วยให้คุณสามารถสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะ Apps Script ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกันกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ จาก Google Workspace ได้อย่างง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขั้นเทพแต่อย่างใด AppSheet คือ แพลตฟอร์มที่คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดในการสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชัน ถือเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันสุดพิเศษจากทาง Google ที่สามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้อย่างไม่สะดุดเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าความรู้เป็นศูนย์ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเอง ง่ายมาก ๆ  สรุปง่าย ๆ ก็คือเจ้าสองแอปนี้ถูกออกแบบให้มาช่วยในการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ง่ายที่สุด ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียนรู้ได้รวดเร็ว และสร้างระบบอัตโนมัติได้ด้วยตนเอง เพียงแค่มี Apps Script หรือ AppSheet ก็สามารถสร้างสรรค์ได้ตามใจต้องการ แล้ว Apps Script และ AppSheet ทำงานกันอย่างไร? จากที่ได้กล่าวไปด้านบนแล้วว่าทั้งสองแอปสามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้ ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive หรือ Forms ก็สามารถดึงไฟล์มาสร้างได้เลย โดยที่ตัว App Scripts คุณจะสามารถสร้างฟังก์ชัน Add on ที่อยู่ในแอปพลิเคชันต่าง...

Continue reading
What to prepare for Hybrid Working

Checklist 5 สิ่งต้องมีก่อนปรับใช้ Hybrid Working ในบริษัท

ณ ตอนนี้จะไม่พูดถึงคงไม่ได้กับการทำงานแบบ Hybrid Working การทำงานที่ออฟฟิศและที่บ้านสลับกันไป เนื่องจากสถานการณ์โควิดในปัจจุบันทำให้พนักงานไม่สามารถไปทำงานที่ออฟฟิศได้แบบ 100% จึงเกิดเป็นเทรนด์การทำงานแบบใหม่นี้ขึ้นเรียกว่า การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทได้นำการทำงานแบบ Hybrid Working นี้มาปรับใช้กันไม่น้อยเพราะวิธีนี้ถือเป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์โควิดนี้ได้ มาดูไปพร้อมกันเลยว่าหากคุณต้องการปรับเปลี่ยนบริษัทให้เข้าสู่ Hybrid Working คุณจำเป็นจะต้องมีอะไรบ้าง? 1. มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยตอบโจทย์ในการทำงาน – Google Workspace เมื่อโควิดไม่ดีขึ้นสักที เราก็ต้องปรับวิถีการทำงานโดยการสลับไปทำงานที่ออฟฟิศบ้าง ทำงานที่บ้านบ้างเพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ ดังนั้นการมีซอฟต์แวร์ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ดีจะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น ใช้งานสะดวก และไม่ส่งผลกระทบต่องานหากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย ๆ Google Workspace เครื่องมือที่ Demeter ICT กำลังใช้งานอยู่นั้นถือว่าตอบโจทย์มาก ๆ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันบนโลกออนไลน์แบบ Real time collaboration และยังมีหลากหลายฟังก์ชันให้คุณได้เลือกใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละแผนก ไม่ว่าจะทีมไหนก็สามารถนำเครื่องมือจาก Google Workspace มาใช้ทำงานได้อย่างราบรื่น มีแอปพลิเคชันและฟังก์ชันเด็ด ๆ อะไรบ้าง? คลิกเลย! 2. จัดสรรจำนวนพนักงานให้เหมาะสม จำนวนพนักงานถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่แอบสร้างปัญหาให้บริษัทอยู่บ่อยครั้งเพราะโควิดเป็นเหตุให้หลายบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง ทำให้งาน Overload ในบางตำแหน่งก่อเกิดความไม่พอใจและทำให้ประสิทธิผลของงานออกมาได้ไม่เต็มที่นัก ดังนั้นบริษัทควรมีการจัดสรรพนักงานที่ดีเพื่อเป็นการช่วยเหลือพนักงานเองและเพื่อรักษา Productivity ของบริษัทให้อยู่ในระดับที่ดีอยู่เสมอ 3. มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยและดูแลความสะอาด การดูแลรักษาความสะอาดโดยเฉพาะในยุคโควิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บริษัทต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเช่น มีการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ให้พนักงานในบางจุด ไม่อนุญาตให้พนักงานถอดหน้ากากอนามัยหากไม่จำเป็น และไม่ควรให้พนักงานรับประทานอาหารหรือขนมขบเคี้ยวขณะทำงาน เป็นต้น 4. จัดโต๊ะทำงาน/ ที่นั่งแบบ Social distancing ไม่ว่าจำนวนพนักงานจะเท่าใด เพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง ก็ควรนั่งทำงานกันแบบเว้นระยะ (Social distancing) การขยายออฟฟิศคงไม่ใช่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่เพราะมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านั้น การจัดระยะการนั่งจึงถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อของโควิดได้ หากพนักงานนั่งห่างกันก็ทำให้เปอร์เซ็นการติดเชื้อมีน้อยลง จัดตารางให้พนักงานเข้าออฟฟิศไม่ตรงกันและนั่งแยกกัน แค่นี้ก็สามารถทำงานแบบ Hybrid working ได้อย่างสะดวกมากขึ้นแล้ว 5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำนักงานแจกจ่ายให้พนักงาน บริษัทควรจัดเตรียมและแจกจ่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้กับพนักงานเพื่อที่พนักงานจะสามารถพกพาอุปกรณ์กลับไปทำงานที่บ้านได้อย่างสะดวก เช่น แล็ปท๊อปและเมาส์ เพราะหากบริษัทไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้ ข้อมูลของบริษัทอาจปะปนกับข้อมูลส่วนตัวของพนักงานได้ อีกทั้งยังทำให้ข้อมูลบริษัทเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมได้ง่ายเนื่องจากอุปกรณ์ส่วนตัวไม่มีการควบคุมหรือระบบป้องกันที่ดีพอนั่นเอง จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า...

Continue reading