การบริหารจัดการงานในองค์กรทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการมอบหมายงานหรือจัดการโปรเจกต์ของตัวเองอีกต่อไป แต่ต้องรวมถึงการประสานงานระหว่างทีม การวางโครงสร้างเวิร์กโฟลว์ให้เป็นไปอย่างลื่นไหลและการสื่อสารที่เรียลไทม์ ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานในยุคปัจจุบัน หลาย ๆ องค์กรจึงเริ่มมองหาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ทีมทำงานได้ง่ายขึ้น เป็นระบบมากขึ้นและลดการทำงานซ้ำซ้อนให้น้อยลง ดังนั้นหนึ่งในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นคือระบบ “Work Management” ทำความรู้จัก Work Management คืออะไร? Work Management คือ กระบวนการจัดการงานในภาพรวมให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์ งานที่ต้องทำเป็นประจำ หรือกระบวนการทำงานที่ต่อเนื่อง เป้าหมายของการทำ Work Management คือทำให้ทุกคนในทีมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรู้ว่า “ใครต้องทำอะไร กำลังทำอะไร ทำเมื่อไร และทำอย่างไร” เพราะฉะนั้นการทำ Work Management จึงไม่ใช่แค่การจัดการงาน แต่เป็นการผสานคนกับงานในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่จำเป็นตรงกันและพร้อมเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างมั่นใจ Work Management vs Project Management ต่างกันอย่างไร? หลาย ๆ คนอาจจะกำลังสับสนว่าทั้งสองตัวนี้ต่างกันอย่างไร? แม้ว่าอาจจะมีบางมิติที่คล้ายกัน แต่ Work Management และ Project Management มีขอบเขตที่ต่างกันอย่างชัดเจนดังนี้ Work Management คือ การจัดการงานที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการทำงานของแต่ละงานให้เป็นระบบ การวางแผนและการสื่อสารกับทีม เพื่อให้การทำงานระหว่างทีมต่าง ๆ (Cross-functional) เป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด Project Management คือ การจัดการโปรเจกต์และภาพรวมตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดของโปรเจกต์นั้น ๆ เท่านั้น เช่น การวางไทม์ไลน์, การทำ to-do list, การประเมินทรัพยากรที่มี, จัดลำดับขั้นตอนและความสำคัญของงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ 3 องค์ประกอบสำคัญของการทำ Work Management ให้ได้ผลจริง การจัดการงานในทีมไม่ใช่แค่การตั้งเดดไลน์หรือมอบหมายงานเท่านั้น แต่ต้องมี “ระบบ” ที่ทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างลื่นไหล ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ 3 องค์ประกอบนี้: 1. การสื่อสาร (Communication) การทำงานร่วมกันต้องเริ่มจากการสื่อสารที่ดี แต่ในยุคที่เรามีแชท อีเมล วิดีโอคอลเต็มไปหมด สิ่งสำคัญคือการตกลงให้ชัดว่า จะใช้เครื่องมือไหนกับเรื่องอะไร...
Continue reading