สำหรับองค์กรที่มีการเปลี่ยนค่ายใช้งานระบบอีเมลองค์กรจาก Microsoft มายัง Google และต้องการย้ายข้อมูลไฟล์และโฟลเดอร์ (Migration) ที่อยู่ใน Microsoft OneDrive มาไว้ที่ Google Drive สามารถทำได้ง่ายๆในไม่กี่คลิกเท่านั้น พนักงานก็สามารถรอรับไฟล์ได้เลย! อัปเดตจาก Google! ผู้ดูแลระบบขั้นสูง (Super admin) ของระบบ Google Workspace ในองค์กรท่านจะสามารถย้ายข้อมูลจาก OneDrive มายัง Google Drive ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถย้ายไฟล์ของผู้ใช้งานพร้อมกันถึง 100 บัญชี ได้ในคราวเดียวกัน (รองรับพื้นที่จัดเก็บไฟล์เริ่มต้นที่ 30 GB หรือมากกว่า 5 TB/ บัญชีผู้ใช้งานแพ็กเกจ Google Workspace) และยังสามารถแชร์สิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น Google ได้เพิ่มเติมฟีเจอร์ที่ช่วยควบคุมและจัดการการย้ายข้อมูลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นให้กับผู้ดูแลระบบ ดังนี้ กำหนดช่วงเวลาของไฟล์ที่ต้องการย้าย สามารถเลือกย้ายเฉพาะไฟล์ที่อยู่ในช่วงวันที่ที่ต้องการ เช่น ต้องการย้ายเฉพาะไฟล์ที่สร้างหรือแก้ไขระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567 เป็นต้น เลือกยกเว้นรูปแบบไฟล์บางประเภทหรือไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถตั้งค่าให้ระบบข้ามการย้ายไฟล์บางประเภทได้ เช่น ไม่ต้องการย้ายไฟล์วิดีโอ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์นามสกุล .exe นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดขนาดไฟล์สูงสุดที่ไม่ต้องการย้ายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ Bandwidth มากเกินไปหรือปัญหาในการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ อนุญาตให้ Google จับคู่ผู้ใช้ต้นทางและปลายทางโดยอัตโนมัติ ปกติแล้วการย้ายข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มมักจะต้องมีการสร้าง “แผนที่ข้อมูลประจำตัว” (Identity map) เพื่อจับคู่บัญชีผู้ใช้ระหว่างสองระบบ นั่นก็คือบัญชี OneDrive กับบัญชี Google Drive ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย เพราะ Google จะพยายามจับคู่บัญชีผู้ใช้ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากในการตั้งค่าได้มากทีเดียว ข้อควรทราบ: ระบบอัตโนมัติของ Google อาจไม่สามารถจับคู่บัญชีผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง 100% ในบางกรณี ผู้ดูแลระบบควรตรวจสอบผลการจับคู่บัญชีผู้ใช้ทุกครั้งเพื่อลดความผิดพลาด วิธีการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูล จาก Microsoft OneDrive ไปยัง Google...
Continue readingวิธีการขออนุมัติลายเซ็นในไฟล์ PDF บน Google Drive
คุณกำลังมองหาวิธีขออนุมัติลายเซ็นแบบไม่ต้องปริ้นเอกสารอยู่รึเปล่า Google อัปเดตให้ผู้ใช้ Google Workspace สามารถใช้ eSignature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์บน Google Docs ได้แล้ว ล่าสุดสามารถใช้ eSignature ที่ไฟล์ PDF บน Google Drive ได้เช่นกัน พร้อมให้คุณกรอกข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ตำแหน่งงาน หรือชื่อบริษัทไดที่ไฟล์โดยตรง โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่น ครบจบในที่เดียว ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการทำงาน ง่ายทั้งผู้ขออนุมัติและผู้ลงนาม คำแนะนำในการใช้ฟีเจอร์ eSignature สามารถเพิ่มฟิลด์ได้สูงสุด 200 ฟิลด์ต่อเอกสาร สามารถเพิ่มผู้เซ็นชื่อได้สูงสุด 10 คนต่อเอกสาร หากเอกสารมีผู้ที่ต้องเซ็นชื่อมากกว่า 1 คน ฟิลด์ทั้งหมดจะแสดงสีต่างกัน เพื่อให้จำแนกแต่ละรายชื่อได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณทำการปิดหน้าต่างไฟล์ PDF ที่มีฟิลด์ eSignature ฟิลด์เหล่านั้นจะไม่ได้รับการบันทึก หากคุณต้องการบันทึกฟิลด์ eSignature ให้สร้างเป็นเทมเพลตไว้ที่ Google Docs วิธีสร้าง eSignature บนไฟล์ PDF ไปที่ drive.google.com บนคอมพิวเตอร์ อัปโหลดไฟล์ PDF ใหม่หรือค้นหาไฟล์ที่มีอยู่แล้วบนไดรฟ์ เปิดไฟล์ที่ต้องการขึ้นมา ให้อยู่ในโหมด “View” คลิกที่สามจุดขวามือบน แล้วเลือก ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (eSignature) สร้างรายชื่อผู้ลงนามที่ Insert Field For (เพิ่มได้สูงสุด 10 ชื่อต่อเอกสาร) 6. ลากฟิลด์ที่ต้องการอย่างน้อย 1 ฟิลด์ลงในเอกสาร โดยสีของฟิลด์จะจำแนกสีเฉพาะแต่ละบุคคล ลายเซ็น (Signature) คำนำหน้า (Initials) ชื่อ (Name) ช่องข้อความ (Text field) วันที่ลงนาม (Date signed) วิธีส่งคำขอ eSignature บนไฟล์ PDF เมื่อคุณเพิ่มฟิลด์ที่ต้องการทั้งหมดแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “ขอลายเซ็น...
Continue readingGoogle ประกาศข่าวดี! สำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน Business Starter สร้าง Shared drives ได้แล้วในเดือนนี้!
ประกาศข่าวดีล่าสุดจาก Google! เพื่อเป็นการมอบประสบการณ์การเข้าถึงพื้นที่จัดเก็บไฟล์ร่วมกันขององค์กรบนคลาวด์ Google จึงได้ขยายสิทธิ์การเข้าใช้งาน Shared drives ใน Google Drive ให้กับผู้ใช้งาน Google Workspace ในแพกเก็จ Business Starter โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (จากเดิมที่เข้าใช้งานได้เฉพาะแพกเก็จ Business standard, Business plus, และ Enterprise เท่านั้น) ซึ่งจะสามารถเริ่มเข้าใช้งาน Shared drives ได้ในวันที่ 23 กันยายน 2567 นี้ Shared drives เปรียบเสมือนไดรฟ์ส่วนกลางขององค์กรที่มีไว้สำหรับรวบรวมไฟล์และเอกสารของทีมงานหรือโปรเจกต์ต่างๆไว้ในที่เดียว ทำให้พนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้งานสามารถสร้างไดรฟ์ส่วนกลางและเพิ่มสมาชิกในไฟล์และโฟล์เดอร์ได้ด้วยตนเอง โดยการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดแจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ดูแลระบบ Google Workspace ขององค์กร ความสำคัญอีกประการหนึ่งของ Shared drives คือการช่วยรักษาข้อมูลองค์กรให้คงอยู่ แม้ว่าสมาชิกในทีมจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือออกจากองค์กรไปแล้วก็ตาม ทำให้ข้อมูลสำคัญยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในที่เดียว และสามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และองค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเช่นกัน (ทำความรู้จัก Shared drives เพิ่มเติมได้ที่บทความ Shared drives ใน Google Drive คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ?) สำหรับผู้ดูแลระบบ Google Workspace ขององค์กรของท่าน สามารถดูรายละเอียดการตั้งค่า Shared drives ได้ที่นี่ หากท่านมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อ Demeter ICT ได้เลยทันที แหล่งที่มา: Business Starter customers will soon have access to shared drives...
ยกระดับความปลอดภัยจาก Spam บน Google Drive
ยกระดับความปลอดภัย จาก Spam บน Google Drive หากพูดถึงระบบการรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือ Google ที่มีระบบ Safety บนโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในระบบปลอดภัยที่สุดในโลก โดยการตรวจหาภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตแบบอัตโนมัติที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม จากอดีตถึงปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ Google ได้รับการพัฒนาด้านการป้องกันความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Google Workspace อย่างระบบความปลอดภัยบน Gmail ที่ทำหน้าที่ตรวจหาอีเมลฉบับขาเข้าโดยอัตโนมัติว่าอีเมลฉบับไหนมีแนวโน้มไม่พึงประสงค์หรือดูท่าทีว่าไม่ปลอดภัยต่อผู้รับอีเมลก็จะทำการดึงอีเมลฉบับนั้นไปไว้ในโฟลเดอร์ Spam ทันที อัปเดต! เพิ่มระบบความปลอดภัยสำหรับ Google Drive ล่าสุด Google Drive ก็มีอัปเดตการป้องกันความปลอดภัยบนไดรฟ์เช่นกัน โดยมีการเพิ่มโฟล์เดอร์ Spam เข้ามาไว้สำหรับให้เจ้าของไดร์ฟแยกไฟล์ที่ไม่ต้องการหรือคาดว่าไม่ปลอดภัย และเมื่อเจ้าของไดรฟ์ทำการย้ายไฟล์ไปยังโฟล์เดอร์ Spam แล้ว ก็จะไม่สามารถรับการแจ้งเตือน คอมเมนต์ จากไฟล์นั้นได้ รวมถึงไฟล์นั้นจะไม่ปรากฎบนไดรฟ์อีกต่อไป ซึ่งฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 วิธีแยกไฟล์ไปยัง Spam บน Google Drive เข้าไปที่ Google Drive คลิกที่ Shared with Me เลือกไฟล์ที่ต้องการ สามารถเลือกแบบหลายไฟล์พร้อมกันได้ โดยการทำเครื่องหมายถูกที่หน้าชื่อไฟล์นั้นๆ คลิกขวาไฟล์ที่เลือกแล้วคลิก Report หรือเลือกลากไฟล์ที่ต้องการไปที่โฟลเดอร์ Spam ได้เช่นเดียวกัน เลือกเหตุผลที่ต้องการ report เพื่อรายงานไปยัง Google เพื่อตรวจสอบการละเมิดนโยบาย โดยมีหัวข้อดังนี้ Spam or fraud สแปมหรือการฉ้อโกง Disturbing or inappropriate content การรบกวนหรือเนื้อหาไม่เหมาะสม Copyright violation การละเมิดลิขสิทธิ์ Child endangerment เป็นภัยต่อเด็ก Other ilegal activity อื่นๆที่ผิดกฎหมาย 6. ทำเครื่องหมาย ✓ หากต้องการบล็อคอีเมลเจ้าของไฟล์ 7. คลิก Report เป็นอันเสร็จสิ้น Tips...
Continue readingDraft หรือ Final แค่ Docs ไฟล์เดียวจบ
Draft หรือ Final แค่ Docs ไฟล์เดียวจบ พอกันที! กับการเซฟงานเอกสารหลายเวอร์ชั่น Customer Success Story… กรณีศึกษาเรื่องราวความสำเร็จจากการใช้งาน Google Workspace โดยลูกค้าผู้ใช้งานจริง เสียเวลาไปเท่าไหร่กับกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะไฟล์เอกสาร ที่ต้องมีการแก้ไขปรับไปมาอยู่หลายหน เชื่อได้เลยว่าเกือบทุกองค์กร ไม่แผนกใดก็แผนกหนึ่งต้องประสบปัญหานี้อยู่แน่นอน อย่างตัวอย่างเรื่องจริงจาก Customer Success Story ขององค์กรที่เกี่ยวกับ Manufacturing แห่งหนึ่ง … กระบวนการทำงานเดิม ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของพนักงานตำแหน่ง Communication Specialist จากบริษัทการผลิตแห่งหนึ่ง ขอใช้นามสมมุติว่านิพิธ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารให้กับคนในองค์กร ทุกครั้งเมื่อเขาจะประกาศเรื่องใดๆให้ทุกคนในองค์กรรับรู้ เขาจำเป็นต้องร่างเนื้อหานั้นๆบน Word และต้องส่ง draft แนบไปกับอีเมล ให้กับผู้บริหาร review ตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกครั้ง แน่นอนว่าไม่ได้จบที่ไฟล์เดียว บ่อยครั้งที่ผู้บริหาร ต้องเดินทางไปดูงานยังสาขาอื่นๆ เขาจะทำการตรวจสอบเอกสารได้ก็ต่อเมื่อเปิด laptop เท่านั้น ทำให้ระยะเวลาการ review ช้าลงไปด้วย ที่แย่ไปกว่านั้นคือหลายครั้งที่ผู้บริหารไม่สามารถเข้าดู draft ได้ เนื่องจากติดปัญหาด้านการเข้าถึง หรือ access ไฟล์ และมีหลายครั้งที่ผู้บริหารต้องทำการตรวจสอบแก้ไขรายละเอียดผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งหลังจากนิพิธได้รับ comment เขาต้องนำมาปรับแก้ไขให้เป็น final และต้องส่งให้หัวหน้าทีม review ฉบับ final อีกครั้ง ก่อนทำการเผยแพร่ จะเห็นได้ว่ากระบวนการทำงานของนิพิธเป็นไปค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากระยะเวลาของกระบวนการทำงานค่อนข้างยาวนาน ไม่ใช่ส่งผลกระทบแต่ตัวเขาเท่านั้น แต่พนักงานทุกคนในองค์กรก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้รับข่าวสารล่าช้าเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าผลเสียไม่ได้มีเท่านี้แน่นอน… หลังปรับกระบวนทำงานด้วย Google Workspace แล้วชีวิตการทำงานของนิพิธก็พลิกเปลี่ยนไปเลย หลังจากองค์กรของเขาเริ่มนำ Google Workspace มาใช้ และเมื่อเขารู้ว่า Google Workspace มีเครื่องมือที่ช่วยการทำงานเขาได้… Features ที่นิพิธผู้เป็น Communication Specialist หยิบมาใช้ในกระบวนการทำงานของเขา นั่นก็คือ Google Docs และ Google Drive...
Continue readingปรับโฉมฟีเจอร์ Location picker ช่วยจัดการย้ายไฟล์บนไดร์ฟให้เร็วกว่าเดิม
ปรับโฉมฟีเจอร์ Location picker จัดการย้ายไฟล์บนไดร์ฟให้เร็วกว่าเดิม มาแล้ว! location picker หรือ เครื่องมือเลือกตำแหน่งการย้ายไฟล์ โฉมใหม่! ของ Google Drive เป็นการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ UI บนเบราว์เซอร์ ที่จะช่วยให้คุณเลือกจัดการไฟล์หรือโฟล์เดอร์ไปยังตำแหน่งปลายทางที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ารูปแบบเดิม รูปแบบ location picker ใหม่เป็นอย่างไร? แถบบนของหน้าต่าง location picker จะมี 3 หัวข้อให้คุณเลือก นั่นคือ Suggestion (แนะนำ), Starred (ที่ติดดาว) และ All location (พื้นที่ทั้งหมด) เพื่อให้คุณเข้าถึงโฟล์เดอร์ที่ต้องการจะย้ายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แสดงรายละเอียดเส้นทางของไฟล์ไปยังโฟล์เดอร์ที่ย้าย และหากโฟล์เดอร์ที่คุณเลือกนั้นเป็นโฟล์เดอร์ว่าง จะปรากฎด้วยรูปภาพโฟล์เดอร์ว่างเปล่า หรือหากคุณอยากจะสร้างโฟล์เดอร์ใหม่ก็ทำได้เช่นเดียวกัน หากในแถบ Suggestion ได้แสดงโฟล์เดอร์ที่คุณคาดว่าไม่น่าเกี่ยวข้อง คุณสามารถทำการลบโฟล์เดอร์นั้นออกจากการแนะนำได้เลย เมื่อเสร็จสิ้นการย้ายไฟล์ จะแสดงรายละเอียดที่แถบสีดำด้านล่างซ้าย ว่าคุณได้ย้ายไฟล์ไปที่โฟล์เดอร์นั้นเรียบร้อยแล้ว หากไฟล์ที่คุณมีเป็นไฟล์ชนิด “view only (สำหรับดูเท่านั้น)” จะไม่สามารถทำการจัดการย้ายไฟล์ได้ เนื่องจากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของไฟล์ดังกล่าว วิธีการโอนย้ายไฟล์ ด้วย location picker รูปแบบใหม่ ใน 3 ขั้นตอน คลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการจะโอนย้าย เลือก > Move to 2. เลือกที่แถบ Suggestion, Starred, หรือ All location ได้ตามต้องการ แล้วเลือกโฟล์เดอร์ปลายทางที่ต้องการจะย้ายไฟล์ 3. คลิก Move เป็นอันเสร็จสิ้นการย้ายไฟล์ และ จะแสดงรายละเอียดที่แถบสีดำด้านล่างซ้าย ว่าคุณได้ย้ายไฟล์ไปที่โฟล์เดอร์นั้นเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า สำหรับการอัปเดตของ location picker ซึ่งการใช้งานก็จะคล้ายๆกับรูปแบบเดิมเลย เพียงแต่มีแถบ Suggestion, Starred, และ All location เพิ่มขึ้นมา โดย Google บอกอีกว่าการพัฒนานี้ก็เพื่อให้เข้าถึงไฟล์นั้นๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว...
Continue readingShared drives ใน Google drive คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ?
หากคุณเคยใช้หรือกำลังใช้ Google drive อยู่ ก็คงเคยเห็น Shared drives ผ่านตาอยู่บ่อยครั้งอย่างแน่นอน แต่ทว่าคุณอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของมันมากนัก ซึ่ง Demeter ICT บอกได้เลยว่า หากคุณมี Shared drives ไว้ในครอบครองล่ะก็ คุณจะสามารถลดขั้นตอนการทำงานได้เยอะมาก ๆ ยิ่งหากองค์กรของคุณมีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว Shared drives คืออะไร ? “ทุกคนต่างมี My drive เป็นของตัวเอง ดังนั้นแล้วองค์กรก็ต้องมี Drive เป็นของตัวเองเหมือนกันใช่ไหมล่ะ ก็นั่นแหละที่เราเรียกกันว่า Shared drives” ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลย Shared drives คือ พื้นที่ส่วนกลางขององค์กรที่ทุกคนสามารถเก็บไฟล์หรือแชร์ไฟล์ออนไลน์ให้กับคนในทีมได้ เปรียบเสมือนออฟฟิศที่มีแฟ้มเอกสารวางเรียงราย หากใครจะใช้เอกสารเล่มไหนก็เพียงแค่หยิบมันออกมานั่นเอง Shared drives เหมาะสำหรับไฟล์ที่ต้องการแชร์ไปให้กับบุคคลหลายคนโดยที่ไม่ผูกมัด Owner เช่น ไฟล์ที่แชร์ให้คนในทีมและไฟล์ที่แชร์ให้สำหรับทุกคนในองค์กร เป็นต้น Shared drives แตกต่างกับการแชร์ไฟล์แบบทั่วไปอย่างไร ? สำหรับการแชร์ไฟล์แบบทั่วไปจะเป็นการแชร์ไฟล์จากบุคคลหนึ่งถึงอีกบุคคลหนึ่ง หรือหากสร้างกลุ่มไว้ คุณจะแชร์ถึงกลุ่มนั้นก็ได้เช่นกัน ความต่างอยู่ที่ตรงนี้ ! การแชร์แบบทั่วไป คุณจะสามารถเป็น Owner ได้แค่คนเดียวเท่านั้น หากคุณลาหยุดหรือลาออก ไฟล์นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้ คุณจะต้องเปลี่ยน Owner เป็นคนอื่นหรือว่าให้คนอื่นขอสิทธิ์ในการเข้าถึงก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้ แต่สำหรับ Shared drives จากที่ได้มีการเกริ่นไปบ้างแล้วว่า Shared drives นั้นเป็นการแชร์แบบไม่ผูกมัด หมายความว่า ในหนึ่ง Folder คุณสามารถตั้งค่าให้มี Owner ได้หลายคน หรือภาษา Shared drives เราเรียกกันว่า Manager ซึ่งหากใครคนใดคนหนึ่งหายไป ทุกคนก็ยังสามารถเข้าถึงไฟล์ต่าง ๆ ใน Folder นั้นได้ตามปกติ และหากคุณเป็นคนช่างสังเกตล่ะก็ คุณจะพบว่าข้อมูลด้านบนมีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไป ใช่แล้ว ! สำหรับ Shared drives...
Continue reading3 ขั้นตอนกู้คืนเอกสารได้ง่าย ๆ ด้วย Google Drive
การเผลอลบไฟล์เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ท่านคงจะไม่อยากให้เกิดขึ้นอยู่เป็นแน่ แต่สำหรับผู้ใช้งาน Google Workspace ท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการทำงานบนคลาวด์ ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะทุกไฟล์ของท่านจะไม่หายไปไหนถึงแม้ว่าท่านจะเผลอลบไปแล้วก็ตาม แล้วถ้าเผลอไปกดลบ ไฟล์งานที่ถูกลบจะไปอยู่ที่ไหน? อยากกู้คืนกลับมาต้องทำอย่างไร? แล้วต้องกู้คืนภายในกี่วัน? บทความนี้ Demeter ICT มีคำตอบ ไปดูกัน! 3 ขั้นตอนกู้คืนไฟล์ด้วย Google Drive เปิด Google Drive ไปที่ ถังขยะ (Trash) คลิกขวาที่ไฟล์นั้น แล้วกดเลือกกู้คืนหรือ Restore เพียงแค่นี้คุณก็สามารถกู้คืนไฟล์ได้แล้ว ง่ายมาก ๆ ซึ่งไฟล์ที่คุณกู้คืนมานั้นจะกลับไปอยู่ที่แอปพลิเคชันเดิม เช่น คุณลบรายชื่อลูกค้าที่อยู่ใน Google Sheets เมื่อกู้คืนกลับ ไฟล์ก็จะเข้าไปอยู่ใน Google Sheets ตามเดิม แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะสามารถกู้คืนไฟล์เมื่อไหร่ก็ได้นะ! เพราะถึงแม้ว่าไฟล์จะถูกเก็บไว้บนคลาวด์ก็จริง แต่ Google Drive ก็มีเงื่อนไขว่า คุณจะสามารถกู้คืนไฟล์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ไฟล์ถูกลบเท่านั้น หลังจากนั้นไฟล์จะถูกลบไปอย่างถาวร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ Drive ของคุณมีพื้นที่ว่างเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง หากคุณเป็นเจ้าของไฟล์ ลบไฟล์ไปแล้วคนอื่นจะยังเห็นไฟล์นั้นอยู่หรือไม่? หากคุณเป็นคนสร้างไฟล์นั้น (Owner) แล้วลบออก ทีมของคุณจะยังเห็นไฟล์นั้นอยู่ แต่จะไม่สามารถทำงานบนไฟล์นั้นได้ ดังนั้นหากคุณต้องการใช้ไฟล์นั้นต่อ ให้คุณ Make a Copy ได้เลย (คลิกที่ไฟล์นั้นแล้วจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมาให้คุณ Make a copy) หรือวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการ Transfer Ownership ให้กับคนในทีมก่อนที่คุณจะลบไฟล์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะเมื่อคุณไม่ใช่เจ้าของไฟล์แล้ว คุณลบไฟล์ออก ไฟล์จะถูกลบไปจาก Google Drive ของคุณคนเดียวเท่านั้น ต้องการลบไฟล์ทั้งหมดทำอย่างไร? เปิด Google Drive ไปที่ ถังขยะ (Trash) กดล้างข้อมูลในถังขยะ (Empty Trash) จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าการกู้คืนไฟล์หรือการล้างข้อมูลนั้นไม่ซับซ้อนเลย ด้วยระบบ Cloud...
Continue readingGoogle Cloud (Storage) คืออะไร?
Google Cloud คือ? Google Cloud ชื่อที่เราเรียกกันจนชินปาก จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนหมายถึงนั่นก็คือ Google Cloud Storage นั่นเอง ซึ่งก็คือการจัดเก็บข้อมูลผ่านทาง Google ที่คุณสามารถสร้างและเก็บไฟล์ได้โดยผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่าย เพียงแค่คุณมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ผ่าน Google Workspace (Docs, Sheets, Slides) หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google ระบบก็จะทำการบันทึกไฟล์อัตโนมัติและอัปโหลดบน Cloud ได้ทันที ไม่เพียงแต่งานเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆที่คุณต้องการจัดเก็บอีกด้วย *ในส่วนของ Google Cloud นั้นจะมีความหมายคนละอย่างกันกับ Google Cloud Storage นะ ! Google Cloud Storage ดียังไง? ไม่ต้องมี Hard Disk หรือ Flash Drive หลายๆคนอาจจะชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผ่าน Hard Disk หรือ Flash Drive ซึ่งคุณนั้นต้องพกมันไปทุกที่ ไม่หนำซ้ำยังต้องระวังเรื่องไวรัสอีก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ไปซะหมด คุณจะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมแบบเดิมๆอีกต่อไป ทุกครั้งที่คุณมีการทำงานผ่านแอปพลิเคชันของ Google งานของคุณก็จะถูกบันทึกอยู่บน Cloud ทันที ประหยัดค่าใช้จ่าย สืบเนื่องมาจากข้อด้านบน แน่นอนว่าพอคุณไม่ต้องพก Hard Disk หรือ Flash Drive ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่มีความจำเยอะขึ้นเพื่อจัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลที่มากขึ้น แชร์ให้คนอื่นได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้คุณสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือแชร์ให้บุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าตัวคุณไม่ได้ออนไลน์อยู่ เพื่อนหรือทีมของคุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Hard Disk หรือ Flash Drive เช่นเดิมที่เมื่อก่อนนั้นคุณต้องเสียบกับ Computer หรือ...
Continue reading