Customer Service (การบริการลูกค้า) คือคำที่ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้รู้จักกันอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า “Customer Service” มีที่มาจากที่ไหน? ใครเป็นคนที่คิดค้นคำนี้หรือตำแหน่งนี้ขึ้นมากันนะ..? ต้องขอย้อนไปถึงอดีตอันแสนยาวนานสมัย 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่เริ่มมีการค้าขายทางไกลเกิดขึ้น ด้วยแนวโน้มการค้าขายที่เพิ่มสูงขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อลูกค้าหรือที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า “การบริการ” นั้นมันก็เกิดขึ้นตามมาด้วย คำนิยามของการบริการหรือ Customer Service จาก Investopedia คือ “การโต้ตอบแบบตัวต่อตัวโดยตรงระหว่างผู้บริโภคที่ทำการซื้อกับตัวแทนของบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์นั้น” แต่จริง ๆ แล้วไม่มีบันทึกว่าใครเป็นผู้กำหนดคำว่า “การบริการลูกค้า” ขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่าคำ ๆ นี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยการขยายตัวของการค้า โดยที่จะมีการแบ่งเป็นช่วงของการบริการได้ดังต่อไปนี้ Stage 1 : Face to Face Service การบริการแบบตัวต่อตัว ในระยะแรก การบริการลูกค้าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดด้วยตัวเองระหว่างผู้บริโภคกับผู้ค้าเนื่องจากยังเป็นช่วงที่ยังไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ จดหมายจึงเป็นหนึ่งช่องทางในการติดต่อของลูกค้า แต่มันก็ใช้เวลานานเกินไปกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหานั้น ค.ศ. 1760 – 1820 ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ทำให้ระบบเศรษฐกิจของยุโรปและอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการสร้างโรงงานใหม่ การผลิตที่รวดเร็ว รวมถึงทีมบริการลูกค้ากลุ่มแรกก็ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงสมัยนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งวิธีการบริการลูกค้าในช่วงนั้นยังเป็นแบบตัวต่อตัวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วที่สุด ค.ศ. 1776 อดัม สมิธ ตีพิมพ์ The Wealth of Nations ซึ่งอธิบายถึงระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม วางรากฐานของการแข่งขันในตลาดและ Customer Service ก็ถูกนำมาเป็นหนึ่งเครื่องมือในการทำธุรกิจในตอนนั้น Original Edition of An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations ค.ศ. 1868 Watkins Liniment ซึ่งเป็นพนักงานขายแบบ door-to-door เป็นบริษัทแรกที่เสนอการรับประกันคืนเงิน เขาเสนอการคืนเงินเต็มจำนวนให้กับลูกค้าหากพวกเขาไม่พอใจในสินค้า Stage 2 : The invention of...
Continue reading5 เครื่องมือห้ามพลาดใน Zendesk Marketplace ตัวช่วยให้ธุรกิจ Ecommerce ของคุณสุดยอดกว่าที่เคย
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซใช้ Zendesk ดีไหม? บทความนี้มีคำตอบ ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน โจทย์ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซคงจะเป็นเรื่องที่ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมั่นและวางใจในสินค้า แต่ปัจจุบันที่ผู้บริโภคคุ้นชินกับการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ความท้าทายของแวดวงร้านค้าออนไลน์ก็ไม่ได้จบลงเพียงเรื่องของความไว้วางใจอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการจัดส่งและประสบการณ์ทางออนไลน์ของลูกค้าที่ต้องทำให้ราบรื่นมากที่สุด ในบทความนี้เราจึงได้รวมโซลูชันอีคอมเมิร์ซสุดฮิตของ Zendesk มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ขอบอกเลยว่านอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้แล้ว ทางฝั่งผู้ขายเองก็ยังช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นสุด ๆ ไปเลยด้วย ว่าแล้วก็มาเริ่มดูกันเลย Zendesk + Ecommerce 01 ช่วยเหลือและบริการด้านการขายด้วย Ada กับ Certainly Ada คือระบบแชทบอทอัตโนมัติ ใช้เป็นแนวหน้าในการช่วยเหลือลูกค้า จากสถิติแล้วหากตั้งค่าการทำงานดี ๆ แล้วล่ะก็ Ada ก็สามารถปิดคำร้องได้ถึง 80% เลยทีเดียว การให้บริการที่รวดเร็วฉับไวยังช่วยเพิ่มคะแนน CSAT (คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า) และยอดขายให้กับธุรกิจ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Ada เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูการสนทนาระหว่างบอทกับลูกค้าได้โดยไม่รบกวนการทำงานของบอทเลยแม้แต่น้อย สร้างและอัปเดต Ticket อัตโนมัติใน Zendesk วัดผล CSAT ได้ชิว ๆ ช่วยเหลือลูกค้าได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทาง Website หรือ Facebook เชื่อมต่อเข้ากับ Zendesk Support ได้อย่างราบรื่น นอกจาก Ada แล้วแชทบอทอีกตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ Certainly แตกต่างจาก Ada ที่เหมาะในการนำมาใช้ร่วมกับ Ticket แชทบอทของ Centainly จะสามารถใช้ได้กับฟีเจอร์ Live Chat & Messaging โดยจะทำหน้าที่เป็นแชทบอทโต้ตอบกับลูกค้าในเชิงรุก นำลูกค้าไปยังหน้าสินค้าที่ต้องการ และช่วยในการปิดการขายให้ง่ายขึ้น จุดเด่นที่น่าสนใจของ Certainly เข้าใจและตอบกลับลูกค้าได้มากกว่า 14 ภาษา พาลูกค้าไปยังแผนกที่ต้องการติดต่อได้ง่าย ตัวเลือก API ที่หลากหลายต่อการใช้งาน สามารถใช้ตัวหนังสือ ปุ่ม หรือรูปภาพสินค้าประกอบการสนทนาได้ ผลัดเปลี่ยนระหว่างแชทบอทกับเจ้าหน้าที่อย่างไร้รอยต่อ สามารถเปิด อัปเดต ปิด Ticket ได้ด้วยตนเอง ใช้ร่วมกับฟีเจอร์ Live Chat...
Continue readingHow to สร้าง Portfolio & Resume ด้วย Google Sites
Google Sites แอปพลิเคชันสร้างเว็บไซต์จาก Google Workspace ที่เพียงแค่คลิกก็สามารถสร้างหน้าเว็บไซต์ของตัวเองได้ ไม่ต้องเขียนโค้ดให้ยุ่งยาก ใคร ๆ ก็ทำได้! ซึ่ง Google Sites นั้นไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือที่เอาไว้สร้างเว็บไซต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่คุณยังสามารถออกแบบให้ Google Sites เป็นแหล่งจัดเก็บหรือแหล่งรวบรวมลิงก์ผลงานให้อยู่ในรูปแบบที่สวยงามดั่งหน้าเว็บไซต์ได้เลย! โดยในวันนี้ Demeter ICT จะสอนทุกคนใช้งาน Google Sites เพื่อออกแบบ Portfolio & Resume ที่สามารถรวบรวมข้อมูลของคุณไว้ในที่เดียวได้อย่างง่าย ต้องทำอย่างไรบ้าง? ไปดูกัน! วิธีสร้าง Portfolio/ Resume ด้วย Google Sites 1. เปิดหน้า Google Sites 2. ไปที่ Template Gallery ที่ด้านบนขวา เลื่อนลงมาแล้วเลือก Portfolio ในหมวดหมู่ Personal 3. ก่อนที่จะเริ่มออกแบบหน้าเว็บ ให้คุณเลือกก่อนว่าคุณต้องการแท็บเมนูอยู่ด้านบนหรืออยู่ด้านหน้า โดยไปที่ Settings เลือก Navigation คลิก Mode 4. จากเมนู Setting หากคุณมี Google Analytic และต้องการให้เชื่อมต่อกับหน้าเว็บที่คุณกำลังสร้างนี้ ให้คลิกไปที่ Analytics ใส่ Measurement ID แล้วกดสวิตช์เปิดที่ด้านล่าง 5. เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเริ่มใส่ข้อมูล รูปภาพ หรือไฟล์งานตามที่ Template แนะนำได้เลย หรือหากต้องการออกแบบเนื้อหาเอง เช่น ปุ่มลิงก์ไปยัง Facebook, LinkedIn, หรือ Email คุณสามารถไปที่เมนู Insert ที่ด้านขวาแล้วเลือกฟังก์ชันที่คุณต้องการ โดยมีตัวเลือกดังนี้ Button Table of Content Image Carousel YouTube Map Chart ...
Continue reading4 เหตุผลที่ Airbus เลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud
Chief information officer (CIO) ของ Airbus กล่าวว่า “ ‘Any device, anytime, anywhere’ คือวิสัยทัศน์ใหม่ของ Airbus ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการซัพพอร์ตของ Google Workspace และ Google Cloud ที่ช่วยเปลี่ยนรูปแบบการรักษาความปลอดภัย การจัดการข้อมูล และการทำงานร่วมกันขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ทำไม Airbus ถึงเลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud? 1. ระบบมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้มั่นใจว่า Google Workspace และ Google Cloud นั้นมีความปลอดภัยมากพอตามที่ Airbus ต้องการ Airbus จึงได้มีการนำโมเดล Zero-trust security มาประยุกต์ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลและควบคุมความปลอดภัย ไม่ว่าพนักงานจะทำงานอยู่ที่ใด เมื่อไรก็ตามที่มีการ Log in เข้าใช้งาน ระบบจะทำการตรวจสอบก่อนเสมอ ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะถูกจำกัดให้เข้าใช้งานเพียงครั้งเดียวหรือเรียกว่า Single Login เท่านั้น รวมถึงระบบจะมีการแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการเข้าสู่ระบบในครั้งนั้นด้วย และสำหรับด้านฝั่ง Admin เพื่อให้การปกป้องข้อมูลมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่า Google Workspace เพื่อกำหนดกฎการเข้าถึงข้อมูลและการแชร์ไฟล์สำหรับภายในและภายนอกองค์กรได้ ไม่เพียงเท่านั้น การเข้ารหัสยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการรักษาข้อมูลให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย โดย Google Workspace จะใช้การเข้ารหัสครั้งล่าสุดเป็นมาตรฐานในการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด อีกทั้ง Airbus ยังมีการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ (Client-side encryption) ไว้สำหรับโปรเจกต์ที่มีความละเอียดอ่อนของข้อมูลขั้นสูง เพราะการเข้ารหัสแบบดังกล่าวจะทำให้องค์กรมีสิทธิ์ควบคุมข้อมูลในฐานะเจ้าของคีย์การเข้ารหัสแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง 2. สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก Airbus มีคลังข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าในองค์กรมีการปฏิบัติตามนโยบายการควบคุมข้อมูลอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) แล้วหรือไม่ (สำหรับประเทศไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)) ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นการจัดการข้อมูลอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ...
Continue readingข่าวดี! สำหรับแอดมิน Zendesk สร้างแหล่งข้อมูลการตั้งค่าบัญชีอย่างง่ายเพียงไม่กี่คลิก
Zendesk ได้ทำการอัปเดตแหล่งข้อมูลใหม่สำหรับการตั้งค่าบัญชีของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น เพียงคลิกไอคอนความช่วยเหลือ (?) ที่มุมขวาของหน้าเพจ Admin center เพื่อเปิดแถบทางด้านขวาของหน้าจอ แถบเหล่านี้จะประกอบไปด้วย คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) 1. คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) 2. คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด 3. ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (Knowledge Base) 4. หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) ตอนนี้เนื้อหาการตั้งค่าอาจจะมีเพียงบางส่วน แต่ในอนาคต Zendesk จะอัปเดตข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ Zendesk ไม่เพียงแต่ที่จะคำนึงถึง Customer Experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึง Agent Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเองอีกด้วย เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะนำพามาซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีตามไปด้วย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner ซอฟต์แวร์เพื่อการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Omnichannel สำหรับทุกธุรกิจ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – Your CX Transformation Partner ผู้ให้บริการ Zendesk ระดับ Premier Partner ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ 02 030 0066 แพ็กเกจและราคา...
รู้หรือไม่? Google Chat ก็ Pin แชตได้นะ
Google Chat แอปพลิเคชันสำหรับการสื่อสารของ Google Workspace ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก ซึ่งวันนี้ Demeter ICT จะพาคุณไปเรียนรู้วิธีการ Pin แชตซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากเพราะหลายคนประสบปัญหาแชตตกหล่นทำให้พลาดการสนทนาไป แต่หากคุณ Pin แชตเป็นแล้วรับรองว่าแชตไหนเข้ามาคุณก็จะสามารถเห็นได้ในทันที ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปเริ่มกันเลย! วิธีการ Pin แชตใน Google Chat สำหรับ Desktop เปิด Google Chat เลือกแชตของคนที่คุณต้องการจะ Pin (ปักหมุด) กดไปที่ จุดสามจุด (…) แล้วเลือก Pin ได้เลย สำหรับ Mobile Phone เปิดแอปพลิเคชัน Google Chat หรือหากไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ที่ App store หรือ Play store เลือกแชตของคนที่คุณต้องการจะ Pin (ปักหมุด) แล้วกดค้าง เลือก Pin นอกจากนี้ Google Chat ยังมีฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Emoji GIF อัปโหลดไฟล์ สร้างห้องประชุมด่วน หรือแม้กระทั่งการจัด Format ที่เปรียบเสมือนการยก Google Docs มาไว้ใน Google Chat ดูฟังก์ชันอื่น ๆ หรือทำความรู้จัก Google Chat เพิ่มเติม คลิก ติดตามข่าวสารดี ๆ และทริคเด็ด ๆ เกี่ยวกับ Google Workspace ได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือ Line: @dmit (มี @) Demeter...
Continue readingฟีเจอร์ยอดฮิต! ของ Zendesk ระหว่าง Automations VS Triggers ต่างกันอย่างไร?
วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ลูกค้า Zendesk หลาย ๆ ท่านสงสัยเกี่ยวกับสองฟีเจอร์ยอดนิยมของ Zendesk ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้าอย่างฟีเจอร์ Automations และฟีเจอร์ Triggers ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? เริ่มจาก Automations จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของเวลา (Time Based) Triggers จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action Based) 1. Automations คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว Automations ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณระบุข้อกำหนดและกระบวนการทำงานด้านการบริการลูกค้าขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่เฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจ (CSAT) ไปให้ลูกค้าหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้วและ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved ไปแล้ว 24 ช.ม. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ให้เข้าไปหน้า Zendesk ของคุณและไปที่ Support (Agent Workspace) คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้างเพื่อไปยัง Admin Center > คลิกที่หัวข้อ Objects & rules ที่แถบด้านซ้าย > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อการตั้งค่า 2. Triggers คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว Triggers ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Triggers แบบง่าย...
Continue readingซื้อ Google Workspace กับ Partners แตกต่างจากการซื้อโดยตรงอย่างไร?
Google Workspace ซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานที่ ณ ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือที่ใคร ๆ ก็ต่างให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากเจ้าตัว Google Workspace นี้ถูกสร้างและพัฒนาให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลที่จะเน้นการทำงานแบบบนคลาวน์ คือการใช้เทคโนโลยีมาสร้างสื่อออนไลน์เพื่อช่วยในการทำงานให้ได้มากที่สุด ยืดหยุ่น ใช้งานง่าย มีหลากหลายแอปพลิเคชันให้เลือกใช้และใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา และแน่นอนว่าหากท่านกำลังบทความนี้อยู่ นั่นก็แสดงว่าท่านคือหนึ่งคนที่กำลังสนใจซอฟต์แวร์ตัวนี้อยู่ใช่หรือเปล่า? ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงขอถือโอกาสพาทุกท่านมาทำความรู้จัก Google Workspace ว่าการซื้อผ่าน Partners แตกต่างจากซื้อโดยตรงอย่างไรทั้งในแง่ของราคา การออกใบกำกับภาษี การให้บริการ และช่องทางการติดต่อ อีกทั้งเราจะพาทุกท่านมาดูด้วยว่าแต่ละแอปพลิเคชันสามารถทำอะไรได้บ้าง มีฟังก์ชันเจ๋ง ๆ เด็ด ๆ อะไรซ่อนอยู่ มาดูกันเลย! 1. ความแตกต่างในแง่ของราคา หากพูดถึงความต่างในเรื่องราคาของแต่ละแพ็กเกจ Demeter ICT หนึ่งใน Google Cloud Premier Partner ขออนุญาตแจ้งว่าราคาที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์นั้นเป็นราคาอย่างเป็นทางการจากทาง Google Workspace ดังนั้นไม่ว่าท่านจะซื้อโดยตรงหรือผ่าน Partners ก็จะมีราคาเท่ากัน แต่โปรโมชันที่ท่านได้รับนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ Partners และแพ็กเกจที่ท่านเลือกใช้ ซึ่งหากท่านต้องการได้รับสิทธิ์โปรโมชัน ท่านจำเป็นต้องใช้บริการ Google Workspace ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถดูแพ็กเกจได้ที่เว็บไซต์ www.dmit.co.th หรือติดต่อสอบถามราคาเพื่อให้ทีมฝ่ายขายเช็คโปรโมชันกับทาง Google Workspace มาได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือโทร 02-030-0066 2. ซื้อ Google Workspace ผ่าน Partners ท่านสามารถขอใบกำกับภาษีได้ นี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญมาก ๆ ที่ลูกค้าหรือบริษัทในประเทศไทยตัดสินใจใช้บริการกับทาง Demeter ICT เพราะหากท่านซื้อ Google Workspace ผ่านทางทีม Google โดยตรงท่านจะไม่สามารถขอใบกำกับภาษีและเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ดังนั้นการเลือกใช้บริการจาก Partners อย่าง Demeter ICT จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก หากท่านใดสนใจใช้บริการกับเรา ก็สามารถติดต่อได้ตามช่องทางที่ให้ไว้ในข้อ 1...
Continue readingถอดบทเรียนแก้ปัญหาและสร้างการบริการให้ชนะใจลูกค้า จากงานสัมมนา Quickstart to Customer Service Success
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมาทาง Demeter ICT ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk’ เนื้อหาภายในงานเป็นอย่างไรนั้น ในบทความนี้เราก็ได้นำมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย Session 01: A Guide To Customer Service Success เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จะบริการลูกค้าให้ดีก็ต้องปรับตัวตาม นับตั้งแต่ COVID-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปหลายอย่าง ดังที่เรามักจะได้เห็นแนวคิดเรื่องเทรนด์ผู้บริโภคหรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ปรากฏตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่ตรงกันไม่ว่าจะเป็นรายงานไหนคือลูกค้ามีความคาดหวังต่อแบรนด์สูงขึ้น และเรื่องของการบริการลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกันในการที่ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ลูกค้าหันมาติดต่อกับองค์กรธุรกิจผ่านช่องทางที่ลูกค้าใช้ในการคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว นั่นก็คือช่องทาง Social Messaging เช่น Whatsapp, LINE, Facebook Messenger, Twitter ฯลฯ เป็นเหตุทำให้ธุรกิจเพิ่มช่องทาง Social Messaging มากขึ้น เพื่อรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้า เมื่อลูกค้าออนไลน์มากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะติดต่อกับภาคธุรกิจนอกเวลาทำงาน โดยผ่านช่องทางออนไลน์หรือ Social Messaging เพราะลูกค้าคาดหวังข้อมูลหรือคำตอบในเวลาที่คิดออก แต่พบว่าหลายธุรกิจไม่ได้รองรับวิธีการในการรับมือลูกค้าหลังเวลาเลิกงาน ซึ่งหลายธุรกิจแก้ปัญหาด้วยการนำเอาเครื่องมือที่สามารถให้ลูกค้า Self Service ได้ ไม่ว่าจะเป็น Help Center หรือแชทบอทเข้ามาให้บริการมากขึ้น ทว่าจากแนวโน้มนี้เององค์กรจึงประสบปัญหา (Pain Points) ด้านการบริการลูกค้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าเข้ามาหลายช่องทาง แม้องค์กรจะเพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงลูกค้า แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการลูกค้าแบบเฉพาะบุคคลหรือแบบ Personalized ได้ เนื่องจากไม่มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าหรือต้องทำงานหลายระบบ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเอต้องการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของแบรนด์แห่งหนึ่ง จึงได้ทักแชทไปในไลน์ เมื่อเล่าปัญหาของตนจบกลับพบว่าเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตให้บริการ ต้องส่งอีเมลไปแจ้งฝ่ายซัพพอร์ตทางอีเมล นายเอจึงต้อง ‘เล่าปัญหาซ้ำอีกรอบ’ ทางอีเมล รอจนกระทั่งมีการตอบกลับถึงจะได้ในสิ่งที่ต้องการ Pain Points ของนายเอที่เป็นลูกค้า คือการที่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ และต้องรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับนาน ซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ของลูกค้ายุคปัจจุบันที่กว่า 61% ของลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นทันทีหากได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว และสิ่งที่ลูกค้ามองว่าเป็นประสบการณ์แย่มากที่สุดก็คือการเล่าปัญหาซ้ำ...
Continue reading