เชื่อว่าบริษัทหรือองค์กรของคุณมักมีช่องทางติดต่อลูกค้ามากกว่า 2 ช่องทางขึ้นไปแน่นอน บางองค์กรมีอีเมล เบอร์โทรศัพท์ แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้กระแสโซเชียลมีเดียก็มาแรงมาก จึงต้องเพิ่มช่องทางติดต่ออย่าง Facebook Youtube หรือ Twitter เป็นต้น พนักงานของคุณก็ต้องคอยตอบคำถามลูกค้าโดยการเปิดหน้าต่าง Facebook ทีนึง เปิดหน้าต่างอีเมลทีนึงกันจ้าละหวั่น จะดีกว่าไหมหากมีตัวช่วยที่สามารถรวบรวมช่องทางติดต่อลูกค้าเหล่านี้ นำมารวมไว้ภายในหน้าต่างเดียว! ซึ่งสิ่งนั้นมีอยู่จริง นั่นก็คือระบบ Help desk นั่นเอง แล้วมันคืออะไร เราไปทำความรู้จักกันดีกว่า ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk Help desk เป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้าได้หลากหลายช่องทาง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆด้วยกัน คือ ระบบการจัดการ Ticket (Ticket Management), ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation Suite), และการรายงานผล หรือเพิ่มประสิทธิภาพ (Reporting/Optimization) ระบบ Help desk ยังมีจุดเชื่อมต่อสำหรับติดต่อกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถสอบถามปัญหาต่างๆ หรือการสั่งซื้อสินค้า แปลงค่าเป็น Ticket ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามผล และแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันพิเศษที่รวบรวมปัญหาและคำตอบซ้ำๆ จากลูกค้าลงในรูปแบบฐานความรู้ เช่น หน้าคำถามที่พบบ่อย (FAQs) หรือบทความแนะนำ (Guide Articles) และยังสามารถรวบรวมช่องทางติดต่อลูกค้าหลากหลายช่องทาง เอามารวมไว้ภายในซอฟท์แวร์ในหน้าต่างเดียว ประโยชน์ต่อองค์กร ประโยชน์ที่เราสามารถพบเห็นทั่วไปจากการใช้ระบบ Help desk ระบบ Help desk ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน สามารถช่วยจัดการกับฐานข้อมูลที่ซับซ้อนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้องใจ ข้อมูลส่วนตัวเบื้องต้น ประวัติการโทร บันทึกการแก้ปัญหา รวมถึงระดับความพึงพอใจต่อการรับบริการด้วย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดก็สามารถติดตาม และแก้ปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงพนักงานได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอโดยใช้ระบบ Help desk ซอฟต์แวร์ Help Desk ช่วยให้งานต่างๆเช่น จัดประเภทและจัดลำดับความสำคัญของ Ticket รวมถึงสามารถดูได้ว่า Ticket เข้าชมเพจไหนในเว็บไซต์ของเราบ้าง การแจ้งเตือนและการจัดการสถานะของ Ticket และอื่น...
Continue reading5 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการออกแบบฐานข้อมูลความรู้สำหรับธุรกิจ
ทุกวันนี้ ลูกค้าส่วนมากมักจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความเป็นอิสระในการหาหนทางต่างๆ ด้วยเหตุผลนี้นี่เอง 90% ของลูกค้าส่วนใหญ่ จึงคาดหวังให้แบรนด์หรือองค์กรเสนอช่องทางต่างๆให้พวกเขาสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม การทำฐานข้อมูลความรู้แบบมาตรฐานทั่วๆไปนั้นไม่เพียงพอ การดีไซน์ฐานข้อมูลความรู้ก็มีส่วนช่วยในการสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าด้วยเช่นกัน ถ้าการดีไซน์นั้นไม่สวยงามและดึงดูดพอ ก็จะไม่สามารถสร้างความประทับใจได้ ดังนั้นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่ดีที่สุดนั้นก็คือต้องใช้งานง่าย และเข้าถึงได้ง่าย เราลองมาดูกันว่าแนวทางการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่ดีนั้นมีอะไรบ้าง: 1. จัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนแต่เรียบง่าย ขั้นแรกของการดีไซน์ฐานข้อมูลความรู้ที่ดีนั้นก็คือความเรียบง่าย ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาคำตอบได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่ลูกค้าต้องการ หากคุณมีข้อมูลมากมายมหาศาล การจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน กระชับ และเหมาะสมตรงกับเนื้อหาก็จะสามารถช่วยได้เยอะเลยทีเดียว 2. หัวข้อสั้นๆ แต่ได้ใจความ ไม่มีใครชอบอ่านอะไรยาวๆยืดเยื้อ (บางคนก็อาจจะชอบ) หัวเรื่องสั้นๆที่มีคีย์เวิร์ดจะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลองตั้งชื่อหัวเรื่องที่กระชับแต่ได้ใจความ และลองคิดว่าลูกค้าน่าจะค้นหาอะไรบ้าง 3. อวดช่องค้นหาที่มีอยู่ไปเลย วิธีที่แน่นอนที่สุดในการค้นหาคำตอบของลูกค้าโดยตรงนั้นคืออะไรกันนะ? ช่องค้นหาไงล่ะ ยิ่งช่องค้นหาโดดเด่นมากเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะสามารถค้นหาคำตอบได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งนั้นเราเรียกว่าประสบการณ์ดีๆที่ไม่ต้องพยายามอะไรมาก เมื่อคุณจะดีไซน์ฐานข้อมูลความรู้ อย่าลืมที่จะวางช่องค้นหาให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วยล่ะ 4. ไม่ต้องคลิกนั่นคลิกนี่ วางหน้าเพจ FAQ ในตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลูกค้าของคุณไม่อยากที่จะต้องมานั่งหาว่าเพจ FAQ ของคุณอยู่ที่ไหน เมื่อมีคำถามที่พบบ่อยมากขึ้น การทำให้หน้า FAQ อยู่ในระดับสายตาและสามารถเข้าถึงได้ง่ายภายในคลิกเดียว คือกุญแจสำคัญของการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า 5. อย่าทำให้เป็นเรื่องยาก ในขณะที่คุณกำลังให้ลูกค้าสามารถช่วยตนเองได้อย่างเต็มที่ แต่ก็อย่ามัวแต่เขิน หลบหายไปไหนล่ะ ในส่วนของหน้า “ติดต่อเรา” ที่สังเกตได้ง่ายนั้นบ่งบอกได้ว่าคุณพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือลูกค้าเมื่อต้องการเสมอ การดีไซน์ฐานข้อมูลความรู้ที่ดีควรสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายดายให้กับลูกค้าในการค้นหาคำตอบของพวกเขา ฐานข้อมูลความรู้ที่เจ๋งที่สุดสำหรับองค์กรของคุณต้องสามารถคาดการณ์ปัญหาของลูกค้าก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง และวิธีที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้นเคยกับสินค้าและบริการของคุณด้วย ช่องทางการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองเป็นจุดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ดังนั้นฐานข้อมูลความรู้ที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีอีกด้วย ศึกษาเคล็ดลับที่ดีที่สุดของ Zendesk ในการตั้งค่าและออกแบบฐานความรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ที่ Demeter ICT ที่มา : Zendesk Facebook บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE ...
แปลงประสบการณ์ของลูกค้า ให้เป็นความพึงพอใจสูงสุด
แปลงประสบการณ์ของลูกค้าให้เป็นความพึงพอใจสูงสุด ลูกค้าที่ภักดี จะช่วยเหลือบริษัทของเราแม้ในยามที่มีพายุโหมกระหน่ำ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมบริษัทที่ประสบความสำเร็จถึงให้ความสำคัญกับลูกค้า เปรียบเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางของการวางกลยุทธ์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า และยังช่วยเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์อีกด้วย และด้วย Zendesk ระบบ helpdesk ในการซัพพอร์ตลูกค้า ที่จะช่วยบริษัทของคุณ ให้เหมือนกับการแล่นเรือบนท้องทะเลที่เงียบสงบ บริการของเราสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าของคุณ เราคาดการณ์ถึงความสำคัญของการบริการลูกค้าอยู่เสมอ และบริการของเราตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้นได้อย่างดี บริการอย่างมืออาชีพ เราจะร่วมมือกับบริษัทของคุณ เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น บริการทันใจ การันตีได้เลย ไม่ว่าคุณจะต้องการความช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหน เราพร้อมให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ร่วมมือและรับฟัง บริการของเราช่วยธุรกิจของคุณในการซัพพอร์ตลูกค้า ผ่านช่องทางหลักของคุณ แล้วนำมารวมให้อยู่ภายในช่องทางเดียว มุ่งเน้นสิ่งสำคัญ เบี่ยงเบนปัญหาธรรมดาทั่วๆไป หันไปเทความสนใจให้กับการใช้เวลาสื่อสารที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ วัดผลและปรับปรุงแก้ไข วัดผลประสิทธิภาพการให้บริการของทีมคุณในการค้นหาขุดแข็ง และจุดอ่อน บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
Zendesk เข้าซื้อกิจการ Outbound.io เสริมทัพบริการ CRM เชิงรุก
Zendesk ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสารและซัพพอร์ตลูกค้าสำหรับแบรนด์ต่างๆเข้าซื้อกิจการ Outbound.io เจ้าของแพลตฟอร์มในการส่ง email, notification, และ SMS อัตโนมัติ เดินหน้าเข้าสู่การให้บริการเชิงรุก Outbound.io ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 มีบริการหลักคือระบบส่งอีเมล์, mobile และ web push notification, และ SMS อัตโนมัติที่มี optimize มาแล้วอย่างดีเยี่ยม ซึ่งรวมไปถึงการส่งข้อความตาม segment ของลูกค้าที่แบ่งตามข้อมูลที่มี และการทำ A/B testing และกำหนดเป้าหมายในแต่ละแคมเปญ การเข้าร่วมกิจการของ Outbound.io ในครั้งนี้จะทำให้บริษัทและแบรนด์สามารถใช้ Zendesk ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ในช่องทางที่หลากหลาย โดยลูกค้าผู้รับสารนั้นจะได้รับข้อความน้อยลง และมีคุณภาพมากขึ้น มุ่งสู่เป้าหมายของ Zendesk ในการให้บริการลูกค้าสัมพันธ์ครบวงจร ตั้งแต่ การพบปะลูกค้า การซื้อขาย ไปจนถึงขึ้นตอนการซัพพอร์ตที่ตามมา ที่มา: Venturebeat บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
“Pathfinder” เครื่องมือที่ทำให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าบนหน้าเว็บ
“Pathfinder” เครื่องมือที่ทำให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าบนหน้าเว็บ ลองนึกภาพว่าคุณเป็นลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือ บางทีคุณอาจต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะข้อมูลเชิงลึกของ Zendesk (เป็นตัวอย่างหนึ่ง) ขั้นตอนแรกของคุณคือการค้นหาในศูนย์ช่วยเหลือของเราและดูบทความหนึ่งของเราเกี่ยวกับ Insights แต่นั่นอาจไม่ใช่ข้อมูลที่คุณต้องการ ขั้นตอนที่สองอาจเป็นไปเพื่อตรวจสอบฟอรัมเกี่ยวกับแดชบอร์ดข้อมูลเชิงลึกในชุมชน Zendesk ด้วย อย่างไรก็ตามฟอรัมไม่ครอบคลุมถึงปัญหาของคุณ ในที่สุดคุณจะติดต่อผู้สนับสนุนของ Zendesk เพื่อขอความช่วยเหลือ ในบางสถานการณ์การสนับสนุนผู้สนับสนุนอาจแนะนำให้คุณอ่านบทความในศูนย์ช่วยเหลือหรือไปที่ฟอรัม นี้จะน่าผิดหวังสวยแม้ว่าตั้งแต่คุณต้องการได้ลองเส้นทางเหล่านั้น สถานการณ์ที่ดีที่สุดคือถ้าผู้สนับสนุนรู้อยู่แล้วว่าคุณต้องการอะไรและสามารถพบคุณได้ตรงกับที่คุณอยู่ในประสบการณ์การสนับสนุน แนะนำแอป Pathfinder แอปพลิเคชันถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ Zendevian Cup ซึ่งเป็นแฮ็กสตาธานีทั่วทั้ง บริษัท ของเรา พนักงาน Zendesk จำนวนหนึ่งเห็นว่าจำเป็นต้องมีแอปที่จะช่วยให้ธุรกิจรู้ได้ว่าลูกค้ามีการเข้าชมบทความของศูนย์ช่วยเหลือหรือฟอรัมชุมชนก่อนและหลังจากที่พวกเขาส่งตั๋วไปแล้ว พวกเขาสร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้การสนับสนุนบริบทมากขึ้นและช่วยแก้ปัญหาให้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าพวกเขาสามารถปรับปรุงการบริการตนเองได้อย่างไรหากลูกค้าเปิดตั๋วบ่อยๆหลังจากดูฟอรัมและบทความบางอย่างแล้ว ในช่วงเบต้าเราได้เห็นว่า Pathfinder App เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้ามากแค่ไหน ตามที่ James Baldwin ผู้จัดการอาวุโสของ Advocacy ผู้ใช้ที่ Change.org แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำของโลกสำหรับการสร้างชุมชนการกระทำและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Pathfinder ให้เราบริบทล้ำค่าและข้อมูลเชิงลึกในการเดินทางของลูกค้าที่ช่วยให้เราสามารถปรับการโต้ตอบ, แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ของเราอย่างเต็มรูปแบบ ด้วย Pathfinder เราสามารถใช้เวลาน้อยลงไปกับลูกค้าของเราและมีเวลามากขึ้นในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและโลกของพวกเขา ” ประโยชน์ของแอป Pathfinder: แอป Pathfinder ช่วยปรับปรุงตัวแทนและประสบการณ์ของลูกค้าโดย: ให้การสนับสนุนส่วนบุคคลมากขึ้น ผู้สนับสนุนจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทความในศูนย์ช่วยเหลือและโพสต์ฟอรัมฟอรัมชุมชนที่ได้ดูไปแล้ว บริบทเพิ่มเติมช่วยให้ผู้สนับสนุนสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงการบริการตนเอง ด้วยการทำความเข้าใจกับบทความที่มักส่งผลต่อการรับตั๋วใหม่จากลูกค้าของคุณ ลดความขัดข้องของลูกค้า โดยมั่นใจว่าผู้สนับสนุนไม่แนะนำบทความที่พวกเขาได้อ่านไปแล้ว ตามรายงานจาก Jake Sorofman และ Laura McLellan ของ Gartner ในปี 2016 “89% ของ บริษัท คาดว่าจะแข่งขันกันส่วนใหญ่บนพื้นฐานของประสบการณ์ของลูกค้า” * นั่นหมายความว่าลูกค้า – มากขึ้นกว่าเดิม – คาดว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับบริการที่ง่าย ธุรกิจต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ Kate Leggett จาก Forrester ได้สรุปแนวโน้มด้านบริการลูกค้าของปี 2016 (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Zendesk) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบริการลูกค้าต้องเป็นเรื่องง่ายมีประสิทธิภาพและปลูกฝังอารมณ์ในแง่ดี: “บริษัท...
Continue readingTrivago บอกเล่าประสบการณ์การบริหารจัดการลูกค้า
ที่ Trivago พนักงานมากกว่า 950 คนมุ่งเน้นที่จะผลักดันนวัตกรรมทั้งในเครื่องมือค้นหา และการแก้ปัญหาด้านการตลาดของบริษัท โดยการท้าทายสถานะของอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2005 บริษัท Trivago เป็นหนึ่งในบริษัทอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดในภาคเทคโนโลยีการท่องเที่ยว วันนี้ Trivago เป็นบริษัทค้นหาโรงแรมทางอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุกๆ เดือน มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 120 ล้านคนเลือกใช้บริการของ Trivago ในการค้นหาที่พัก เพื่อเปรียบเทียบราคาที่ถูกที่สุดจากโรงแรมมากกว่า 1 ล้านแห่ง เพื่อที่จะให้ข้อมูลที่นักท่องเที่ยวต้องการในเว็บไซต์ Trivago ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงแรม จึงได้ทุ่มเทให้กับทีม Hotel Relation และยังส่งมอบประสบการณ์สุด ‘ว้าว’ ให้กับลูกค้า เมื่อพูดถึงรายงานบรรทัดแรก ระบบสนับสนุนจะให้ภาพรวมที่ชัดเจนและรวดเร็ว “การวิเคราะห์ของระบบสนับสนุนเป็นสิ่งที่โดดเด่นจริงๆ การมองเห็นกระบวนการทำงานและความคืบหน้าของทีม Hotelier Care ของเราเป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม” Savvidis กล่าว สำหรับ Savvidis แล้ว ระบบสนับสนุนนั้นใช้งานง่าย อีกทั้งระบบนี้ยังเป็นทางการและโปร่งใส “คนของเราตอนนี้มีความภาคภูมิใจในงานของพวกเขา แต่สิ่งที่เรารู้สึกสนุกไปกับงานจริงๆก็คือฟังก์ชัน Multi-brand ซึ่งช่วยให้เราสามารถสร้างประสิทธิภาพและความพึงพอใจในบริการให้ดียิ่งขึ้นได้ “ หลังจากดำเนินการใช้ระบบสนับสนุนแล้ว Trivago ทำการสำรวจฝ่ายธุรกิจโรงแรมเพื่อประเมินความพึงพอใจโดยรวม พวกเขาพบว่ามากกว่า 8 ใน 10 ของธุรกิจโรงแรมมีความสุขกับบริการของทีม Hotelier Care ไม่เพียงแค่นั้น ทีมงานของเรายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างความพึงพอใจในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงเทคนิคการตอบสนองต่อไป Savvidis บอกเล่าประสบการณ์ให้ว่า ทีมยังสามารถบรรลุเป้าหมายในการโต้ตอบตลอด 24 ชั่วโมง ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่เกินครึ่งได้รับการตอบกลับภายในเวลาดังกล่าวอีกด้วย “การวิเคราะห์ของระบบสนับสนุนเป็นสิ่งที่โดดเด่นจริงๆ การมองเห็นกระบวนการทำงานและความคืบหน้าของทีม Hotelier Care ของเราเป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม” – Ioannis Savvidis หัวหน้าฝ่าย HOTELIER CARE & OPERATIONS ที่ Trivago ที่มา: Zendesk บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371...
Continue readingการปฏิบัติงานบริหารลูกค้า 4 ประเภท บริษัทของคุณอยู่ในประเภทใด?
“การกระทำสำคัญกว่าคำพูด” จริงไหม? แน่นอนว่าสิ่งที่คุณปฏิบัตินั้นย่อมมีความหมายมากกว่าสิ่งที่คุณพูด หรือสิ่งที่คุณเป็นอยู่แล้ว วลีนี้ไม่ได้ใช้เพียงแค่กับผู้คนเท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้เข้ากับการขาย การตลาด โซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการด้านบริการลูกค้า จากรายงานของ Zendesk Benchmark (เผยแพร่ไว้เมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2015) เราตัดสินใจที่จะสำรวจไอเดียนี้โดยการใช้เวลาในการมองข้ามความเป็นอุตสาหกรรมธรรมดา ค้นหาการจัดประเภทที่เกี่ยวข้องและถูกต้องสำหรับการบริการลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะการบริการลูกค้าทั้ง 4 ประเภทขององค์กร จากการใช้กระบวนการวิเคราะห์แบบจัดกลุ่ม เราได้จัดกลุ่มองค์กรบริการลูกค้าตามลักษณะการปฏิบัติงานและการจัดการที่คล้ายคลึงกันและพบว่าทีมสนับสนุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมาตราฐานที่ดียิ่งขึ้น 1. นักสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Builders) เหล่าทีมเล็กพริกขี้หนูเหล่านี้ถนัดในการจัดการความสัมพันธ์ รวมถึงส่งมอบประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้าประทับใจได้ดี วัฒนธรรมนี้สามารถพบเห็นได้จากการขยายการตลาดของพวกเขา 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านความจุกจิก (Master of Complexity) บริษัทเหล่านี้มีโครงสร้างการจัดการแบบไดนามิก และดำเนินงานด้านบริการลูกค้าที่จุกจิกและซับซ้อนได้ดีทีเดียว 3. ดอกไม้ที่เบ่งบานช้า (Late Bloomers) ด้วยแนวทางที่ไม่สมดุลในการสนับสนุนการจัดการ บริษัทเหล่านี้เลยยังไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ พวกเขาอาจให้ความสำคัญไปยังฝ่ายขายหรือฝ่ายการตลาดของตนมากเกินไป แทนที่จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนลูกค้า (ปัญหาทั่วไปของบริษัท start-ups) 4. กัปตันการชั่ง (Captain of Scale) ทีมงานเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการจัดการบริการลูกค้ามากที่สุดเท่าที่พวกเขาทำได้ เพื่อการขายและการตลาด และกำหนดมาตรฐานระดับทองคำในการดำเนินงานสนับสนุนลูกค้าเลยทีเดียว เราไปถึงจุดนั้นกันอย่างไร? ตามแนวทางการวิเคราะห์ จากงานวิจัยได้จัดกลุ่มธุรกิจและองค์กรไว้ 12 กลุ่มด้วยกัน โดยอาศัยตัวชี้วัดที่บอกถึงภาระงานที่คล้ายคลึงกัน กลยุทธ์การสนับสนุน และแหล่งที่มาของการดำเนินงานบริการลูกค้าของพวกเขา ซึ่ง 12 กลุ่มนี้ ถูกแบ่งอย่างละเอียดทีกที จึงได้ออกมาเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ที่มีลักษณะการดำเนินงานและการจัดการที่คล้ายกัน การมุ่งเน้นไปที่มาตรฐานการปฏิบัติงานในรายงานฉบับที่ 4 ของเรา ไม่ใช่เพียงแค่การสำรวจข้อมูลที่สนุกสนานเท่านั้น รายงานนี้จะเจาะลึกข้อมูลในแต่ละประเภททั้ง 4 ประเภท (และ 12 กลุ่มย่อย) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกและเคล็ดลับเช่นเดียวกับเกณฑ์มาตรฐานที่แท้จริงสำหรับการเปรียบเทียบองค์กรต่างๆ ที่มีความหมายและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น แล้วบริษัทของคุณเป็นประเภทไหนล่ะ? เกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมรวมทั้งขนาดของบริษัท และประเภทกลุ่มเป้าหมายยังคงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับหลาย ๆ บริษัท ที่กำลังมองหาภาพรวมในการเปรียบเทียบ แต่เราค้นพบว่าหลายบริษัทจะเกี่ยวโยงกับบริษัทที่มีการดำเนินงานและการจัดการที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรม ที่มา: Zendesk บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ...
Continue readingการออกแบบหน้าเพจ”คำถามที่พบบ่อย”เพื่อให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
การพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนลูกค้าของคุณก็ทำได้ดีทีเดียว แต่จริงๆแล้ว จากการสำรวจของ Zendesk พบว่า 67% ของลูกค้าต้องการติดต่อสอบถามไปยัง call center 91% ลูกค้าที่ชอบค้นหาคำตอบด้วยตนเอง หาคำตอบด้วยตนเองจากหน้าเพจ FAQ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ดังนั้น การดีไซน์หน้าเพจ FAQ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้งานให้มีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทของคุณกับลูกค้าอีกด้วย ระบุเป้าหมาย Christopher Calabrese UX ดีไซน์เนอร์ระดับสูงแห่ง Cooper ในนิวยอร์กกล่าวว่า ก่อนที่คุณและทีมจะดีไซน์หน้าเพจ “คำถามที่พบบ่อย” บนเว็บไซต์ของคุณ ควรตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมองค์กรของคุณต้องการเป็นหนึ่งในอันดับแรก? ถ้าเว็บไซต์ของคุณสร้างความสับสนให้แก่ลูกค้า และลูกค้าไม่สามารถหาข้อมูลสำคัญได้ งั้นหน้าเพจ “คำถามที่พบบ่อย” ก็จะเป็นเพียงแค่กล่องยาที่รักษาโรคไม่ได้ แค่นั้นเอง อย่าลืม ‘ใคร’ ในคำถามที่พบบ่อย สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมเว็บไซต์ คือสิ่งสำคัญที่สุด ในส่วนของหน้าคำถามที่พบบ่อย อย่าไขว้เขวกับภารกิจหลักเด็ดขาด ซึ่งในที่นี้คือเวลาลูกค้ามีคำถามที่ต้องการคำตอบ การให้ข้อมูลที่เรียบง่ายและตรงประเด็นคือสูตรลับแห่งชัยชนะ มีสิ่งที่ควรพินิจพิเคราะห์อยู่ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ คำถามในหน้าเพจคำถามที่พบบ่อยของคุณ ควรเป็นคำถามที่คาดว่าลูกค้าจะถามจริงๆ ไม่ใช่ว่าใส่อะไรลงไปก็ได้ ดังนั้นควรลองถามพนักงานคนอื่นๆดูก่อน อย่างที่สองคือ สมมติว่ามีคำถามประมาณ 4-5 คำถามบนเพจ ลองเอาออกแล้วใส่ส่วนขยายสำหรับคำตอบบริเวณด้านล่างคำถามแทน ลูกค้าของคุณจะได้ไม่ต้องคลิกนั่นคลิกนี่ ลงทุนกับสื่อต่างๆอย่างวิดีโอให้คำแนะนำ หรือรูปภาพสวยๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงกล่องข้อความที่เด้งขึ้นมาเพื่อเรียกยอดไลค์ สิ่งใดก็ตามที่ช่วยให้ผู้ใช้เว็บไซต์บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ จะนำไปสู่ประสบการณ์ที่น่าทึ่งได้ดีทีเดียว มือถือ มือถือ มีแต่มือถือเต็มไปหมด กฎเหล็กที่ขาดไม่ได้เลยคือ ลูกค้าของคุณใช้โทรศัพท์มือถือกันทั้งนั้นนะ และพวกเขาก็คาดหวังที่จะใช้บริการจากคุณไม่ว่าจะเป็นตอนใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือตอนใช้โทรศัพท์มือถือ ดีไซน์หน้าเว็บไซต์และเว็บเพจต่างๆของคุณ ต้องทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถรองรับได้ แล้วก็คำนึงถึงความสวยงามด้วยล่ะ การวางกลยุทธ์แพลตฟอร์มบนมือถือเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าให้มันมีบทบาทสำคัญมากกว่า หรือแยกมันออกจากเว็บไซต์หลักของคุณ เพราะว่าการดีไซน์แพลตฟอร์มบนมือถือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น เป็นอย่างไรบ้างล่ะ? ยอดเยี่ยมมาก! ตอนนี้คุณได้ออกแบบหน้าเพจ FAQ ที่ดีที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย ผ่านเข้ารอบต่อไปได้เลย หลังจากนั้นก็ควรสำรวจด้วยว่าเพจคำถามที่พบบ่อยของคุณ ประสบความสำเร็จต่อผู้ใช้งานหรือลูกค้าของคุณหรือเปล่า ตรวจดูข้อมูลต่างๆบนเว็บไซต์ และลองถามพนักงานของคุณด้วยว่าพวกเขาได้ยินอะไรจากลูกค้าบ้างหรือเปล่า? ที่มา: Zendesk สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02 030 0066 Facebook Page : @demeterict support@dmit.co.th Official LINE...
ส่งมอบประสบการณ์ที่แสนพิเศษให้ลูกค้าออนไลน์
หากตอนนี้คุณเป็นหัวหน้าทีมสนับสนุนที่กำลังยุ่งอยู่กับทีมเพื่อจัดการ KPI ลองนึกภาพชุดข้อมูลที่เน้นคำแนะนำและการดำเนินการที่เรียบง่าย ให้คุณสามารถใช้งานได้เพื่อบรรลุเป้าหมายของคุณ เรามีประสบการณ์ทั้งหมดที่น่าหงุดหงิดเมื่อคุณกำลังออนไลน์และต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก แต่กลับไม่มีวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับบริษัท อาจจะเป็นหน้าเพจ “ติดต่อเรา” ที่มีแต่ข้อมูลติดต่อพื้นฐานอย่างเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล์ แต่ไม่มีสิ่งใดยืนยันว่าคุณจะได้รับการตอบกลับเมื่อไหร่ นี่เป็นประสบการณ์ที่คุณให้กับลูกค้าของคุณอยู่หรือไม่? ในโพสต์นี้เราจะแบ่งปันวิธีการที่ทำให้บริษัทของคุณโดดเด่น ด้วยประสบการณ์ออนไลน์ที่ไร้รอยต่อกับลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยทีมสนับสนุนของคุณสามารถเร่งเวลาในการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที Zendesk Web Widget จึงนำพลังของ Zendesk มาสู่เว็บไซต์ของคุณผ่านการติดต่อในรูปแบบต่างๆ อย่างการแชทสด และคำแนะนำที่ฝังอยู่ในส่วนของการบริการด้วยตนเอง ลองมาดูรายละเอียดกันเถอะ ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่ห่างจากคุณ ลูกค้าของคุณไม่ควรต้องไปตามล่าขอความช่วยเหลือ ลดประสบการณ์ออนไลน์แย่ๆ ของพวกเขาด้วยการทำให้การขอความช่วยเหลือและค้นหาคำตอบเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม เมื่อฝังเว็บวิดเจ็ตนี้ลงในเว็บไซต์แล้วล่ะก็ คลิกเพียงครั้งเดียวก็สามารถให้คำแนะนำ หรือให้คำตอบกับลูกค้าของคุณได้เลย นอกจากนี้สิ่งที่เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับการแนะนำโดยอัตโนมัติ หากลูกค้ายังต้องการความช่วยเหลือพวกเขาสามารถเลือกประเภทของคำถามก่อนที่จะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ***กดดูคลิป*** แก้ปัญหาได้เร็วขึ้นด้วยระบบบริการตนเอง ไม่ใช่คำถามทั้งหมดต้องได้รับการตอบกลับแบบส่วนตัวและไม่ใช่ลูกค้าทุกคนมีเวลาหรือมีความปรารถนาต่อสิ่งเดียว การแสดงสิ่งที่เป็นความรู้โดยตรงในเครื่องมือช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้เองแทนที่จะรอการตอบกลับ ทำให้ประสบการณ์นั้นดียิ่งขึ้นเพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องมานั่งมองหาเนื้อหาที่ต้องการ ซึ่งความช่วยเหลือตามบริบทในเว็บวิดเจ็ตจะแสดงสิ่งที่เป็นความรู้เบื้องต้นโดยอิงตามหน้าเว็บที่ลูกค้ากำลังดูอยู่ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้ากำลังมองหาหน้าเช็คเอาต์ พวกเขาสามารถหาบทความเกี่ยวกับการชำระเงินหรือตัวเลือกการจัดส่งได้เมื่อคลิกที่วิดเจ็ต ลูกค้าที่หาคำตอบเองนั้นจะช่วยย่นระยะเวลาในการรอการตอบกลับ และเป็นโอกาสสำหรับทีมสนับสนุนของคุณเพื่อให้ความสำคัญกับคำถามที่ท้าทายมากขึ้น ตรวจจับข้อมูลมากขึ้นอย่างแม่นยำและรวดเร็ว การจับข้อมูลตามบริบทจากลูกค้าจะช่วยลดความไม่แน่นอนในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น ได้รับหมายเลขคำสั่งซื้อของลูกค้าก่อนที่พวกเขาจะส่งคำถามเกี่ยวกับสถานะการสั่งซื้อ โดยโฟกัสไปยังข้อมูลที่มีความสำคัญจริงๆ ลูกค้าจะไม่รู้สึกจมอยู่กับรูปแบบที่ยืดเยื้อ ในขณะที่ตัวแทนสนับสนุนยังมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการจะเสนอรายละเอียดในเวลาอันรวดเร็ว ในกรณีที่เป็นไปได้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการทิ้งภาระให้กับลูกค้าเพื่อให้ข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลที่คุณมีอยู่แล้วจากเส้นทางของลูกค้าด้วยแอพพลิเคชัน Pathfinder ที่ตัวแทนสนับสนุนสามารถดูหน้าเพจต่างๆ ที่ลูกค้าเข้าชม ค้นหา รวมถึงบทความที่พวกเขาดูก่อนที่จะเข้าถึงในส่วนของความช่วยเหลือได้ ติดตั้งข้อมูลนี้เพื่อให้ตัวแทนสนับสนุนสามารถตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น เว็บวิดเจ็ตนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความช่วยเหลือนั้นสามารถค้นหาได้อย่างง่ายดายเสมอ โดยมีตัวเลือกด้านบริการตนเองและศูนย์กลางเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิ่งที่ต้องการได้ในเวลาที่รวดเร็วที่สุด สำหรับในส่วนบริษัทของคุณนั่นหมายถึงการทำให้ลูกค้าพึงพอใจจากการบริการที่สามารถตอบสนองได้มากขึ้น อีกทั้งทีมสนับสนุนที่มีบริบทมากขึ้นจากคำถามที่ได้รับ เพื่อให้สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ที่มา : Zendesk สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02 030 0066 Facebook Page : @demeterict support@dmit.co.th Official LINE...