หลาย ๆ คนคงได้ยินคำว่ายุคดิจิทัลกันมาบ้างแล้ว แต่ทว่ายุคดิจิทัลนั้นไม่ใช่แค่เทรนด์ที่มาแล้วหายอีกต่อไป การเข้าสู่โลกดิจิทัลจะเปลี่ยนการทำงานของคุณไปตลอดกาล เพื่อให้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2565 นี้ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยว่าคุณจะต้องปรับตัวและรับมืออย่างไรเพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์และตอบโจทย์ต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด 1. ในโลกอนาคต การทำงานจะถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น McKinsey คาดการณ์ว่ามากกว่า 20% ของแรงงานทั่วโลก สามารถทำงานได้เกือบตลอดเวลาโดยไม่ต้องอยู่ที่ออฟฟิศและไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรือประสิทธิภาพของงาน ระบบอัตโนมัติจะมีบทบาทสำคัญในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid และจะทำให้งานและคนมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิติด้านล่างนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลในปี 2564 ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงาน (66%) และเทคโนโลยี (49%) ระบบอัตโนมัติที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับปี 2565 ได้แก่ การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน (54%) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน (49%) และการสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น (41%) 2. ธุรกิจที่ปรับตัวเร็วเท่านั้นที่จะอยู่รอด MuleSoft บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มกล่าวว่าเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยโลกดิจิทัลนั้นสร้างแรงกดดันมหาศาลให้กับองค์กรในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ อ้างอิงจากข้อมูลของ PwC ผู้บริโภค 1 ใน 3 จะหยุดบริโภคแบรนด์นั้น ๆ หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีแค่เพียงครั้งเดียว ทางออกขององค์กรคือองค์กรจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในแต่ละช่วง ส่วนประกอบพื้นฐานสามประการของธุรกิจที่จะอยู่รอดได้คือ ต้องมีการคิดแบบผสมผสานซึ่งจะช่วยให้คุณไม่สูญเสียความคิดสร้างสรรค์ อะไร ๆ ก็ปรับเปลี่ยนได้ มีความเป็นอิสระทางความคิดมากขึ้น ต้องมีสถาปัตยกรรมธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนได้ที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรของคุณถูกสร้างขึ้นให้มีความยืดหยุ่นและฟื้นคืนสภาพได้เร็วจากสถานการณ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้คือความสามารถเชิงโครงสร้างขององค์กรที่จะทำให้คุณมีกลไกที่จะใช้ในการออกแบบธุรกิจ เทคโนโลยีคือเครื่องมือที่จะเชื่อมโยงหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งงาน คน และองค์กร 3. นักเทคโนโลยีธุรกิจจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ภายในปี 2567 ผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยี 80% จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงรูปแบบการเขียนโค้ดที่น้อยลงหรือไม่ต้องเขียนโค้ดและเครื่องมือในการพัฒนาโดยใช้ AI จะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ บทความเพิ่มเติม:ไม่ต้องเขียน Code ก็สร้าง Application ได้จริงเหรอ? 4. Hyperautomation ระบบอัตโนมัติเพิ่มความเป็นดิจิทัลที่มากขึ้น ระบบอัตโนมัติจะเป็นแรงผลักดันขั้นพื้นฐานสำหรับองค์กรดิจิทัลยุคใหม่ การวิจัยในปี 2564 ชี้ให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยเร่งการกระจายอำนาจของธุรกิจด้วยการลงทุนทางด้านดิจิทัล การบริการลูกค้าถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด การมีระบบอัตโนมัติรองรับจะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มความพึงพอใจในงานของทีมได้อย่างดี เช่น แชทบอท บริการอัตโนมัติที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันลูกค้า...
Continue readingเปิดเหตุผลที่ใคร ๆ ต่างก็หลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโล
ไซโล (Silo) คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงไม่ควรมี ไซโล คือ ระบบที่แยกการทำงานเป็นแผนกโดยแต่ละแผนกมีแนวทางการทำงานและการสื่อสารที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานร่วมกันเป็นทีมในองค์กรใหญ่ หากแต่ละทีมขาดการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเข้าใจไม่ตรงกันภายในบริษัท อาจจะส่งผลให้กระบวนการทำงานในบริษัทไม่มีประสิทธิผลไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกองค์กรควรหลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโลเพื่อลดปัญหาและเพิ่มคุณภาพให้กับงาน ตัวอย่างเช่น SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็กำลังทลายระบบไซโลแล้วเข้าสู่วัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture) อยู่เช่นเดียวกัน นับว่าช่วงปีที่ผ่านมาและปีต่อ ๆ ไปนี้หลาย ๆ หน่วยงานต้องปรับเปลี่ยนมาใช้การทำงานที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น มีพนักงานใหม่เข้ามา มีทีมหรือแผนกเพิ่มขึ้น อายุของพนักงานในบริษัทเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นอีกเช่นกัน ดังนั้นการทำงานที่เชื่อมต่อกันและการสื่อสารถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่อองค์กรที่จะช่วยให้องค์กรนั้นเติบโตได้อย่างต่อเนื่องซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการขับเคลื่อนของพนักงานที่มีการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี Google Workspace เองก็ถูกออกแบบให้การทำงานมีการเชื่อมต่อกันและมีการสื่อสารกันมากขึ้นภายในองค์กร ใช้งานง่ายและสะดวกเหมาะสำหรับทุกวัย Demeter ICT – Google Cloud Partner อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ก็ได้นำ Google Workspace มาปรับใช้ในองค์กรเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายไอที หรือฝ่ายบัญชี ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ปรับตัวในทันยุคดิจิทัลที่กำลังดำเนินต่อไปในอนาคต ผลกระทบจากการใช้ระบบไซโลในองค์กร ขาดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่าระบบไซโลนั้นเป็นการทำงานแบบแยกแผนก ตัวใครตัวมัน ทีมใครทีมมัน ไม่มีการสื่อสารระหว่างแผนก แต่ทว่าความจริงแล้วนั้นเราจะขาดส่วนนี้ไปไม่ได้เลย เพราะในการทำงานงานหนึ่งหลาย ๆ ทีมต้องช่วยและประสานงานกันจึงจะทำให้สำเร็จได้ ถ้าทีมขาดการสื่อสารที่ดี และการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพพอ อาจส่งผลให้แต่ละทีมเข้าใจในตัวงานไม่ตรงกันและทำงานยากมากขึ้น ท้ายที่สุดอาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีต่อกันจนถึงขั้นทำลายความสัมพันธ์เลยก็ว่าได้ เพิ่มขั้นตอนการทำงานหรือใช้เวลาในการทำงานยาวนานขึ้น ต่อจากข้อด้านบน แน่นอนอยู่แล้วว่าหากทีมขาดการประสานงานที่ดีไปก็จะทำให้ขั้นตอนการทำงานเพิ่มมากขึ้น การทำงานเกิดความซ้ำซ้อน งาน ๆ หนึ่งใช้เวลานานมากกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้พนักงานเสียเวลาในการที่จะไปจัดการงานอื่นอีกด้วย ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กร เมื่อพนักงานทำงานแยกกัน ความเข้าใจทีมต่างกัน ก็จะทำให้พนักงานไม่อยากร่วมงานกัน ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร ส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัทและร้ายที่สุดคือส่งผลต่อผลประกอบการซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน วิธีทำลายล้างระบบไซโล จัดหาโปรแกรมหรือระบบที่ช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพนักงานในบริษัทมีความหลากหลายมากขึ้น การที่มีระบบที่ดีจะช่วยให้การทำงานระหว่างพนักงานเองมีความง่ายและรวดเร็ว ติดต่อสื่อสารกันได้ไม่มีสะดุด เช่น Google Workspace และ Zendesk มีแหล่งข้อมูลที่คนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจข้อมูลที่ตรงกัน ดังนั้นองค์กรจึงควรมีแหล่งเก็บข้อมูลที่พนักงานทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานร่วมกันได้ พูดง่าย ๆ ก็คือการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกันนั่นแหละ หากใครต้องการใช้ข้อมูลส่วนไหนก็สามารถเข้ามาดูได้ โดยที่บุคคลอื่นก็จะเห็นชุดข้อมูลเดียวกัน จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ให้บุคคลภายในองค์กร สืบเนื่องมาจากการแบ่งฝ่ายทำงาน...
Continue readingแสดงความเป็นเจ้าของเอกสารด้วยการใส่ลายน้ำใน Google Docs กันเถอะ!
แสดงความเป็นเจ้าของเอกสารด้วยการใส่ลายน้ำใน Google Docs กันเถอะ! Google Docs แอปพลิเคชันการทำงานเอกสารร่วมกันแบบเรียลไทม์จาก Google Workspace เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘ลายน้ำ (Watermark)’ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มรูปภาพลายน้ำใน Google Docs ได้แล้ว การเพิ่มลายน้ำนี้จะถูกทำซ้ำในทุกหน้าของเอกสาร ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มโลโก้บริษัท การสร้างแบรนด์ และการออกแบบที่คุณเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ลายน้ำของรูปภาพจะยังคงอยู่เมื่อนำเข้าหรือส่งออกเอกสารจาก Microsoft Word อีกด้วย วิธีการเพิ่มลายน้ำใน Google Docs เปิดเอกสารใน Google Docs ในคอมพิวเตอร์ ไปที่แทรก (Insert) > ลายน้ำ (Watermark) เลือกรูปภาพ คุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบของลายน้ำได้ในแผงทางด้านขวา คลิกเสร็จสิ้น อีกวิธีในการแก้ไขลายน้ำมีดังนี้ คลิกขวาที่ลายน้ำบนเอกสารของคุณ คลิกเลือกลายน้ำ (Select watermark) เลือกตัวเลือกรูปภาพในแถบเครื่องมือ (Image options) เพียงเท่านี้คุณก็สามารถปรับแต่งเอกสารของคุณได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถแบ่งปันเอกสารด้วยความมั่นใจ นอกจาก Google Docs ที่เป็นหนึ่งในชุดการทำงานใน Google Workspace ยังมีแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกในการทำงานและรักษาความปลอดภัยแก่งานของคุณได้อย่างเยี่ยมยอด หากคุณสนใจยกระดับการทำงานในองค์กรของคุณหรือมีข้อข้องสงสัยอยากสอบถามเกี่ยวกับ Google Workspace สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace ‘เปรียบเทียบเอกสาร’ ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Docs ที่จะทำให้การตรวจเอกสารของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม แอปพลิเคชันทำงานร่วมกันเเบบเรียลไทม์ ช่วยให้งานเอกสารเป็นเรื่องง่ายกับ Google Docs...
มีไฟล์เป็นร้อย หายังไงให้เจอภายใน 5 วิ
มีไฟล์เป็นร้อยก็หาเจอได้ภายใน 5 วิด้วย Cloud Search เครื่องมือการค้นหาข้อมูลอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกับ Google Workspace โดยตรง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่คุ้นชินกับแอปพลิเคชันนี้ ดังนั้นทาง DMIT จะขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้คุณได้เข้าใจการทำงานของ Cloud Search มากขึ้น สมมุติว่าคุณต้องการหาไฟล์ ๆ หนึ่ง แต่คุณไม่ทราบว่าไฟล์นั้นชื่ออะไร ถูกเก็บไว้ที่ไหน คุณก็สามารถค้นหาได้จาก Keywords ที่คุณรู้หรือที่คุณคิดว่าน่าจะใช่ จากนั้น Google จะโชว์ผลลัพธ์ทั้งหมดมาให้คุณภายในพริบตาเดียวเท่านั้น Cloud Search หาไฟล์จากที่ไหนได้บ้าง? จากที่ได้กล่าวไปแล้วด้านบนว่า Cloud Search ทำงานกับ Google Workspace ดังนั้นแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ ก็จะมีทั้ง Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive, Calendar, และ Sites รวมไปถึงกลุ่มที่คุณเข้าร่วมหรือกลุ่มภายในองค์กรได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นคุณสามารถเลือกกรองไฟล์ส่วนที่คุณต้องการค้นหาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ไฟล์เอกสาร PDF งานนำเสนอ วิดีโอ หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆ คุณก็สามารถค้นหาไฟล์ที่คุณต้องการใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าคุณไม่ต้องเข้าทีละแอปเพื่อค้นหาไฟล์ ๆ เดียวอีกต่อไป Cloud Search จัดให้ครบจบได้ภายใน 5 วิ คอนเฟิร์ม! Cloud Search อยู่ที่ไหน? คุณจะต้องไปที่หน้า Gmail ของคุณจากนั้นกด Google Apps ที่อยู่ด้านบนขวา แล้วเลื่อนไปที่ Cloud Search โดยมี Logo สีฟ้าแบบนี้ จากนั้นก็เริ่มค้นหาได้เลย! สำหรับแพ็กเกจที่รองรับ Cloud Search ได้แก่ Business Standard, Business Plus, และ Enterprise หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Demeter ICT...
Continue readingGoogle Meet รองรับคนเข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 500 คน แล้ว!
Google Meet รองรับคนเข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 500 คน! หนึ่งในแอปพลิเคชันชุดการทำงานจาก Google Workspace ที่เราภูมิใจนำเสนอนั่นคือ Google Meet แอปพลิเคชันจัดประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอ เสียง และข้อความ ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของคุณกับผู้ร่วมงาน ปัจจุบัน Google Meet สามารถรองรับการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมได้สูงสุดถึง 500 คน การเพิ่มขนาดการประชุมทำให้การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และคนอื่นๆง่ายมากยิ่งขึ้น แพ็กเกจที่พร้อมใช้งาน Google Workspace Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, และ Education Plus อัปเกรดแพ็กเกจหรือสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว เปลี่ยนการทำงานร่วมกันที่แสนยุ่งยากให้ง่ายขึ้นด้วย Google Workspace พื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์การปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นำองค์กรของคุณก้าวสู่อนาคตไปกับ ดีมีเตอร์ ไอซีที อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจเพิ่มเติม Google Meet เปลี่ยนพื้นหลังบนโทรศัพท์และแท็บเล็ตได้แล้ว ไปดูวิธีกันเลย! Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว! Google Meet VS Microsoft Team เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?...
Google Meet VS Microsoft Team เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
หากพูดถึงเรื่องการประชุมทางไกล (Video Conference) ก็คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันจากสองบริษัทชื่อดังอย่างเช่น Google Meet และ Microsoft Team ซึ่งหลาย ๆ คนคงจะคุ้นชินและเคยใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้มาบ้างแล้ว แต่ว่าแอปพลิเคชันไหนกันที่เหมาะกับคุณ เหมือนและต่างกันอย่างไร วันนี้ DMIT ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ที่นี่ให้อย่างจัดเต็ม พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย! ระดับความยากง่ายของการใช้งาน Google Meet นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เพียงแค่กดเข้าหน้าแรกบนหน้าเดสก์ท็อปหรือบนแอปในโทรศัพท์ คุณก็จะเจอปุ่มที่สามารถสร้าง Meeting ได้ทันที อีกทั้งเมื่อคุณได้สร้าง Meeting ไว้แล้วคุณสามารถเลือกใช้ภาพพื้นหลังหรือเอฟเฟ็กต์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ส่วนฝั่ง Microsoft Team นั้นจะมีการใช้งานที่ซับซ้อนมากขึ้นอีกสักหน่อย เนื่องจากเน้นการประชุมที่ค่อนข้างมีความเป็นทางการ การจะเลือกใช้งานฟังก์ชันใดจึงอาจจะต้องกดหลายปุ่ม แต่ก็ไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน แถมยังมีภาพพื้นหลังและลูกเล่นอื่น ๆ ไม่แพ้กัน หมายเหตุ : หากคุณต้องการเข้าใช้งานผ่านโทรศัพท์ คุณจะต้องทำการดาวน์โหลดและใช้งานผ่านแอปเท่านั้น แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ Google Meet Calendar – คุณสามารถสร้าง New Meeting ได้ใน Google Calendar ทันที เพียงแค่คลิกวันที่และเวลาที่คุณต้องการสร้าง จากนั้นก็สามารถเพิ่มคนที่คุณต้องการที่จะให้เข้าร่วมประชุมหรือแชร์ลิงก์ได้เลย Gmail – หากคุณได้รับคำเชิญหรือมีคนแชร์ลิงก์ Meeting ให้ Google จะทำการส่ง Email เข้าไปใน Gmail ของคุณเพื่อให้คุณกดยืนยันที่จะเข้าร่วม Chat – สมมุติว่าคุณกำลังคุยงานอยู่แล้วต้องการที่จะ Meeting โดยด่วน คุณสามารถกดปุ่มรูปวิดีโอได้ที่ด้านล่างขวา จากนั้นคุณก็จะเข้าสู่ Google Meet โดยอัตโนมัติ Microsoft Team Outlook – คุณสามารถสร้างลิงก์ Meeting แล้วแชร์ไปให้ผู้เข้าร่วมทาง Email ได้ แต่มีข้อแม้คือคุณต้องเขียนอีเมลขึ้นมาเอง Calendar – การใช้งานจะคล้ายกับ Google Meet ที่กล่าวไปด้านบน แต่ว่า Microsoft...
Continue readingเปิดโหมด ‘Focus time’ ขอเวลาโฟกัสงานกับ Google Calendar
เปิดโหมด ‘Focus time’ ขอเวลาโฟกัสงานกับ Google Calendar เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงานในหลายที่ถูกปรับตามนโยบายเพื่อป้องกันโรคระบาดอย่าง COVID-19 จนในหลายๆบริษัทต้องให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from home) มีการส่งข้อความทางออนไลน์ (Google Chat) และการประชุมออนไลน์ (Google Meet) มากขึ้นทำให้หลายท่านต้องพบกับปัญหาการแบ่งเวลาทำงานได้ยากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Google Calendar ได้เพิ่มประเภทของกิจกรรมใหม่ในชื่อ ‘เวลาโฟกัส (Focus time)’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Out of office คือทาง Calendar จะปฏิเสธกิจกรรมที่ขัดแย้งกันโดยอัตโนมัติเช่น การปฏิเสธเข้าร่วมการประชุม เป็นต้น เพื่อให้คุณสามารถมีสมาธิสำหรับการทำงานและการคิดงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงป้องกันการถูกรบกวนในช่วงเวลานั้นอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม หากต้องการให้เวลาโฟกัสของคุณโดดเด่นต่างจากกิจกรรมและการประชุมอื่นๆ คุณสามารถกำหนดสีใหม่ให้แตกต่างได้ นอกจากนี้เวลาโฟกัสตามกำหนดการของคุณจะถูกติดตามใน Time Insights ของคุณด้วย แพ็กเกจที่พร้อมใช้งาน Google Workspace Business Standard, Business Plus, Enterprise เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีสมาธิกับการทำงานหรือการคิดงานของคุณได้โดยไม่ถูกรบกวนอีกต่อไป ทุกคนจะรู้ได้ในทันทีว่า ณ ขณะเวลานั้นคุณต้องการเวลาส่วนตัวในการทำงาน ซึ่งต่างจาก Out of office ที่จะขึ้นว่าคุณไม่พร้อมทำงานเนื่องจากไม่ได้อยู่ที่ทำงาน Google Workspace พื้นที่การทำงานที่ทำให้คุณทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น นอกจากนี้แอปพลิเคชันจาก Google Workspace ต่างก็มีฟังก์ชันช่วยในการทำงานที่หลากหลาย และยังมีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อให้การทำงานของคุณลื่นไหลอยู่เสมอ หากคุณสนใจ Google Workspace ติดต่อ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจเพิ่มเติม เปิดตัว Time Insights ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Calendar เจาะลึกเวลาทำงานและประชุม สุดเจ๋ง Google Calendar ปักโลเคชันตอกบัตรว่าทำงานอยู่ที่ไหนได้แล้ว Google Calendar ตัวช่วยในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว...
เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace
เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace Google Workspace เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ผู้ใช้งานสามารถอนุมัติ (Approvals) คำขออนุมัติเป็นผู้ตรวจสอบหรือเพิ่มผู้ตรวจสอบใน Google Docs, Sheets, และ Slides เมื่อมีคำขออนุมัติ เจ้าของไฟล์สามารถอนุมัติ, ปฏิเสธ, เพิ่มความคิดเห็น, หรือแก้ไขเอกสารในการตอบกลับได้ เมื่อเจ้าของไฟล์ได้อนุมัติคำขอเป็นผู้ตรวจสอบหรือเพิ่มผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะได้รับลิงก์ไปยังเอกสารจากการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล, เบราว์เซอร์, หรือ Google Chat ตามการตั้งค่าการแจ้งเตือนที่พวกเขาตั้งไว้ใน Google Drive และเมื่อมีการแก้ไขเอกสาร ผู้ตรวจสอบทั้งหมดจะได้รับแจ้งเตือนการแก้ไขและเอกสารเวอร์ชันล่าสุดเพื่อรออนุมัติอีกครั้ง วิธีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ ‘อนุมัติ (Approvals)’ ฟีเจอร์นี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการอนุมัติสัญญา เอกสารทางกฎหมาย และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการอนุมัติอย่างเป็นทางการที่มีการทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายราย เพื่อรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสาร เมื่อผู้ตรวจสอบทุกคนอนุมัติแล้วไฟล์จะถูกล็อค (Lock file) และไม่สามารถแก้ไขได้ หากคุณกำหนดวันครบกำหนด (Add due date) ผู้ตรวจสอบของคุณจะได้รับอีเมลเตือนความจำว่าจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติหรือเลยกำหนดการขออนุมัติ นอกจากนี้คุณยังป้องกันไม่ให้ผู้ใช้แก้ไขเนื้อหาของรายการ หรือแสดงความคิดเห็นและคำแนะนำได้โดยเลือกล็อกเอกสาร หมายเหตุ ในกรณีที่คุณขออนุมัติจากบุคคลหลายคน การอนุมัติจะสมบูรณ์ได้เมื่อผู้ตรวจสอบทั้งหมดอนุมัติไฟล์ หากมีการแก้ไขในระหว่างกระบวนการอนุมัติ ผู้ตรวจสอบทั้งหมดจะได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมลเพื่ออนุมัติไฟล์เวอร์ชันล่าสุดอีกครั้ง หากผู้ตรวจสอบเพียงคนเดียวปฏิเสธไฟล์คำขออนุมัติเอกสารจะถูกปฏิเสธทันที เมื่อผู้ตรวจสอบทั้งหมดอนุมัติเอกสาร ไฟล์จะถูกล็อค ทุกคนจะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ที่ล็อกไว้ได้จนกว่าจะปลดล็อกหรืออนุมัติการปลดล็อกไฟล์ แพ็กเกจที่สามารถใช้งานได้ Business Standard, Business Plus, Enterprise เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นๆ ได้โดยที่ยังสามารถรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับทุกคนได้ในทันทีกับ Google Workspace ทั้ง Google Docs, Sheets, และ Slides หากคุณกำลังมองหาพื้นที่การทำงานที่จะทำให้งานของคุณง่ายขึ้นสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ...
Phishing และ Malware ก็ทำอะไร Google Workspace ไม่ได้!
เมื่อการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid working) กลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับองค์กรหลายแห่ง การรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความน่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก และถือเป็นรากฐานที่ทำให้คนสามารถทำงานร่วมกันบน Cloud ได้อย่างสบายใจไปพร้อมกับ Google Workspace ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการเข้ารหัสแบบ Client-side Client-side Encryption หรือการเข้ารหัสโดยข้อมูลลูกค้า คือ การที่องค์กรทำการล็อคประตูเข้าถึงคลังข้อมูลบางอย่างหรือที่เราเรียกว่าการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่ข้อมูลจะถูกอัปโหลดไปยัง Server ซึ่ง Password ที่ใช้ล็อคไว้นั้นคือกุญแจเข้ารหัสที่มีเพียงแค่คนในองค์กรที่รู้เท่านั้น วิธีนี้จะทำให้องค์กรเองสามารถควบคุมข้อมูลด้วยตัวเองได้โดยตรง ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาข้อมูลที่เป็นความลับได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะใช้งานบนอุปกรณ์ใดก็ตาม อีกทั้งยังสามารถแชร์ไฟล์ที่เข้ารหัสให้บุคคลอื่นได้อีกด้วย ซึ่งหากรวมกับการเข้ารหัสแบบอื่นๆ จากทาง Google แล้ว องค์กรจะสามารถยกระดับการป้องกันข้อมูลที่อยู่ใน Google Workspace มากขึ้นกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า การเข้ารหัสแบบ Client-side นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา บันทึกการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น สำหรับลูกค้า Google Workspace Enterprise Plus การเข้ารหัส Client-side จะพร้อมใช้งานใน Google Drive, Docs, Sheets, และ Slides ในขั้นต้น โดยรองรับไฟล์หลายประเภท รวมถึงไฟล์ Office, PDF และอื่นๆ การป้องกัน Phishing และ Malware สำหรับ Google Drive Phishing คือ การหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ที่มีเป้าหมายเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลเพื่อหลอกให้เจ้าของอีเมลคลิกเข้าไปเพื่อดึงข้อมูลส่วนตัวออกมา เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ส่วน Malware คือการปล่อยไวรัสเข้าอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ เพื่อไปทำลายข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นๆให้เกิดความเสียหาย สำหรับ Google Workspace นั้นมีการปกป้องข้อมูลแบบ built-in ใน Google Drive ที่จะช่วยบล็อกเนื้อหาฟิชชิงและมัลแวร์จากผู้ใช้และองค์กรภายนอก ซึ่งตอนนี้ Google ได้พัฒนาให้ Google Workspace แอดมินสามารถเข้ามาจัดการข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้ด้วยตัวเองเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายในและปัญหาจากผู้ใช้งาน หากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ไฟล์ที่เกี่ยวข้องจะถูกตั้งค่าสถานะและทำให้มองเห็นได้เฉพาะแอดมินและเจ้าของไฟล์เท่านั้น...
Continue reading