Generative AI คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? 

Generative AI คืออะไร ? Generative AI คือ แขนงหนึ่งของ Artificial Intelligence (AI) ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ โมเดลสามมิติ และอื่น ๆ  ตัวอย่างที่คุณสามารถเห็นได้ชัดคือ ChatGPT แน่นอนว่า 90% ของคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ คงเคยใช้งาน ChatGPT กันมาบ้างแล้ว และคงทราบวิธีการทำงานของ ChatGPT ว่าเป็น AI ที่สามารถตอบคำถามหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้เพียงแค่คุณพิมพ์ (Input) สิ่งที่คุณต้องการลงไปในระบบ จากนั้น Generative AI ใน ChatGPT ก็จะทำงานโดยการประมวลผลจากข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นคำตอบให้คุณได้เลยทันที หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ Google Workspace ที่ไม่นานมานี้ Google ก็ได้ประกาศออกมาว่า จะมีการนำ Generative AI มาช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการทำงานให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้ Generative AI ช่วยสร้างเอกสารและสร้างสไลด์นำเสนองานได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้หลายธุรกิจเริ่มมีการนำ Generative AI เข้ามาใช้งานกันแล้ว ซึ่งต้องบอกเลยว่า Generative AI จะไม่ใช่แค่เทรนด์ที่มาแล้วหายไปแต่อย่างใด แต่ Generative AI จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ผลักดันธุรกิจให้สามารถก้าวหน้าไปอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นองค์กรใดที่นำ Generative AI เข้ามาปรับใช้จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เร็วกว่าคู่แข่งอื่นในท้องตลาดอย่างแน่นอน Generative AI ทำอะไรได้บ้าง ? 1. ช่วยแนะนำไอเดียและสร้างสรรค์เนื้อหาที่แปลกใหม่ หากคุณเป็นสายคอนเทนต์ต้องบอกเลยว่า Generative AI นี้เกิดมาเพื่อคุณเลยนะ ! อย่าเข้าใจผิดว่า Generative AI จะมาแทนที่คุณได้ แต่ Generative AI จะมาช่วยสร้างสรรค์ผลงานของคุณให้ดียิ่งขึ้นต่างหาก เพราะเวลาใดที่คุณนึกไอเดียเกี่ยวกับงานไม่ออกหรือไม่รู้ว่าจะเริ่มโปรเจกต์อย่างไรและตรงไหนดี คุณสามารถใช้ Generative AI...

Continue reading

Google Workspace Showcase: Generative AI & AppSheet โซลูชันอัจฉริยะพลิกโฉมโลกธุรกิจ 

งานสัมมนาเปิดตัว Google Workspace Generative AI ครั้งแรกในประเทศไทย 20 กันยายน 23 l 13.30 – 17.00 น. Showcase: Generative AI & AppSheet โซลูชันอัจฉริยะพลิกโฉมโลกธุรกิจ หากคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มเพื่อการทำงานที่ตอบโจทย์ครบทุกโซลูชันด้วย AI บอกเลยว่าปีนี้เป็นปีแห่ง Generative AI เทคโนโลยีที่สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและแน่นอนที่สุด!  “มาร่วมทำความรู้จัก Generative AI สู่ Duet AI ใน Google Workspace งานสัมมนาเปิดตัว AI ของ Google Workspace ครั้งแรกในประเทศไทย” พร้อมทั้งต่อยอดการทำงานให้ล้ำขึ้นไปอีกขั้นด้วย AppSheet แอปพลิเคชันไร้โค้ดจาก Google มาช่วยทรานฟอร์มธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างอัจฉริยะและอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ลงทะเบียนขอสิทธิ์เข้าร่วมงานได้เลย ! งานสัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เข้าร่วมงาน SPEAKERS WarissaraChawalitsoonthorn Customer Engineer, Google Cloud, Thailand Chutimon Phattaraworadech Google Workspace Solutions Consultant Anucha Jaemjaeng AVP,  Google Business Change Consultant KanjawanPayakkat AppSheet Engineer PariyaMeeros AppSheet Specialist PrawfaPhermpoonboon AVP, Sales (Google Cloud Solutions) AGENDA 13.30 – 14.00 น. Register 14.00 – 14.25 น. Introduction to Google Workspace Generative AI ...

Continue reading

3 เหตุผลที่ไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน ”แทน” อีเมลบริษัท

การทำงานด้วยอีเมลส่วนตัวเป็นทางเลือกหนึ่งของหลาย ๆ บริษัทที่ให้พนักงานได้ใช้ช่องทางของตัวเองสำหรับการทำงานในแต่ละวัน ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะให้ความสะดวกและสามารถลดต้นทุนได้ในระยะสั้น แต่หารู้ไม่ว่าการใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงานนั้นสามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อบริษัทได้เลย ซึ่งหากปล่อยไว้จนบานปลายก็คงไม่ดีเท่าไหร่นักหากจะต้องมารื้อระบบการทำงานในภายภาคหน้า ดังนั้นเพื่อเป็นการเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันให้บริษัทก่อนจะสายเกินแก้ เราจึงได้คัดเลือก 3 เหตุผลหลักที่คุณไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวทำงานแทนอีเมลบริษัท เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มก่อตั้งบริษัทหรือกำลังใช้อีเมลแบบส่วนตัวอยู่ ให้เห็นภาพและทำความเข้าใจข้อจำกัดในการทำงานด้วยอีเมลแบบส่วนตัวมากขึ้นว่าส่งผลเสียต่อบริษัทอย่างไรบ้าง  1. อีเมลไม่มีความน่าเชื่อถือ ดูเหมือนมิจฉาชีพ ในฐานะผู้รับหากคุณได้รับอีเมลจาก AAA@gmail.com / BBB@hotmail.com หรือ CCC@yahoo.com คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าอีเมลนี้คืออีเมลจากคนในบริษัทที่คุณต้องการจะติดต่อจริง ๆ ? และอีเมลนี้ถูกส่งมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ? ปลอดภัยที่จะเปิดเข้าไปอ่านมากแค่ไหน ?  กว่าจะได้เปิดอีเมลต้องคิดวนไปวนมาอยู่หลายครั้งเลยใช่ไหมล่ะ ? ว่าจะอันตรายไหม จะเชื่อได้มากน้อยแค่ไหนในยุคที่มิจฉาชีพทางไซเบอร์ระบาดหนักขนาดนี้ และในกรณีที่คุณเป็นผู้ส่งเอง คุณอาจจะไม่ได้รับการติดต่อกลับจากคนที่คุณต้องการก็ได้เช่นกัน เนื่องจากอีเมลส่วนตัวของคุณเข้าข่ายเป็นอีเมลที่ไม่น่าเชื่อถือมากพอสำหรับการติดต่องานของบริษัท ทำให้คุณดูเหมือนมิจฉาชีพถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่ก็ตาม  ดังนั้นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือคุณจึงควรใช้อีเมลสำหรับบริษัท (@company.co.th / .com) สำหรับการติดต่องานของบริษัทจึงจะเป็นวิธีที่เหมาะสมมากที่สุด 2. บริษัทไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลได้ ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของข้อมูลและความปลอดภัย เนื่องจากตอนนี้ประเทศไทยเรามี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า PDPA ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายคอยปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลออกไปโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต  หากคุณใช้อีเมลสำหรับบริษัท คุณจะสามารถตั้งค่าและตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่น การแชร์ข้อมูลต้องห้ามออกนอกบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลหรือการถูกโจรกรรมข้อมูล ซึ่งหากใครที่มีการใช้งานบัญชีอีเมลบริษัทของ Google Workspace จะไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องนี้เลย เพราะ Google นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานระดับโลก แต่หากคุณใช้อีเมลส่วนตัวล่ะก็ คุณจะไม่มี Admin Console เหมือนกับอีเมลบริษัท ดังนั้นหากพนักงานคนไหนส่งข้อมูลอะไรออกไป คุณจะไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกแชร์ออกไปได้นั่นเอง 3. พนักงานลาออก = ข้อมูลบริษัทหาย เมื่อพนักงานใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องาน นั่นก็หมายความว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรับ-ส่ง ก็จะถูกเก็บไว้ใน Drive ส่วนตัวของพนักงานคนนั้นเช่นกัน ดังนั้นแล้วหากพนักงานคนใดคนหนึ่งลาออก ข้อมูลทั้งหมดนั้นจะไม่ถูกโอนมายังบริษัทแต่อย่างใด หรือหากโอนย้ายจาก Drive มาได้ คุณก็จะไม่ใช่เจ้าของข้อมูลนั้นอยู่ดี ทำให้เวลาที่คุณจะเข้าไปตั้งค่าหรือเข้าไปใช้งานอาจจะไม่ค่อยสะดวกนัก  ตัวอย่างเช่น พนักงาน A ต้องการจะลาออก จึงได้แชร์ไฟล์ทั้งหมดที่ตนมีให้บริษัท ซึ่งพนักงานคนอื่น...

Continue reading

ธุรกิจ SMB ใช้ Google Workspace อย่างไรให้ปัง!

ธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) ไม่จำเป็นต้องมีการทำงานที่เป็นระบบมากก็ได้ ทำเท่าที่ทำได้ก็พอ ความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะหากวางแผนการใหญ่ การทำให้ลูกค้าพอใจด้วยระบบการทำงานที่ง่ายทั้งต่อลูกค้าและองค์กรเองนั้นก็สำคัญนะ  มาเช็กกันหน่อยว่าขณะนี้คุณกำลังทำงานแบบนี้อยู่หรือไม่ ?  ส่งอีเมลสำหรับข้อความที่เป็นทางการหรือต้องการหลักฐานยืนยันเท่านั้น  นัดประชุมหรือนัดพบลูกค้าด้วยโทรศัพท์ ใช้หลายแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มในการติดต่อประสานงาน จาก Checklist นี้จะเห็นว่าคุณต้องใช้ถึง 3 ช่องทางในการดำเนินงาน 1 งาน ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนได้ ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ธุรกิจ SMB หันมาใช้การสื่อสารจากช่องทางเดียวกันด้วยฟังก์ชันจาก Google Workspace เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณมีการทำงานที่ง่ายมากขึ้น สามารถติดต่อลูกค้าได้ครอบคลุมด้วยแพลตฟอร์มเดียว ฟังก์ชันที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย ! 3 ฟังก์ชันจาก Google Workspace แนะนำสำหรับธุรกิจ SMB 1. นัดหมายด้วย Appointment Schedule จาก Google Calendar ก่อนหน้านี้ฟังก์ชัน Appointment Schedule นั้นมีไว้สำหรับผู้ใช้บริการ Google Workspace Individual เท่านั้น แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นบัญชีฟรีหรือใช้บริการแพ็กเกจสำหรับองค์กรก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้แล้ว โดยคุณสามารถสร้างหน้าเพจสำหรับการนัดหมายได้ โดยไปที่ Google Calendar  คลิกวันที่ใดก็ได้ เลือก Appointment Schedule กด Set up the schedule จากนั้นก็ตั้งค่าต่าง ๆ ได้เลย เช่น ชื่อหน้า booking เวลาที่เปิดให้นัดหมาย เวลาต่อรอบนัดหมาย และอื่น  โดยคุณสามารถแชร์หน้า Booking ให้กับลูกค้าของคุณได้ 2 ช่องทาง คือ Google Calendar: ลูกค้าสามารถเปิดปฏิทินของคุณแล้วเลือกเวลาที่ต้องการนัดหมายได้เลย Gmail: คุณสามารถส่งลิงก์ให้ลูกค้าจองตารางนัดหมายได้โดยไปที่ Appointment Schedule กดปุ่ม Share สำหรับฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การสร้างหน้าการนัดหมายแบบไม่จำกัด การส่งแจ้งเตือนการนัดหมายแบบอัตโนมัติ การเช็กดูตารางว่างจากปฏิทินหลายฉบับ หรือการตรวจสอบตัวตนของผู้นัดหมาย เป็นต้น คุณสามารถเลือกดูแพ็กเกจของ Google...

Continue reading

AppSheet VS Google Forms เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ? คุ้มค่าไหมหากจะซื้อ AppSheet ?

หากคุณเคยเห็น AppSheet หรือเคยใช้งาน AppSheet กันมาบ้างแล้ว คุณจะทราบว่าเจ้าตัว AppSheet เนี่ยมีการทำงานคล้าย Google Forms เลย คือการสร้างฟอร์มขึ้นมาเพื่อเก็บหรือนำเข้าข้อมูล และด้วยความเหมือนที่ว่านี้เองอาจจะทำให้คุณไม่เห็นถึงการนำไปใช้งานจริงของ AppSheet กันมากนัก ซึ่งหากจะพูดตามความเป็นจริงในฐานะผู้ที่ได้ทดลองใช้งานมาแล้ว ต้องบอกเลยว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่แตกต่างในเรื่องของการนำไปใช้งานและการตั้งค่าเชิงลึกต่าง ๆ  ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้คุณได้ทำความรู้จัก AppSheet มากขึ้นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง มีความเหมือนและแตกต่างกับ Google Forms อย่างไร เปรียบเทียบกันชัด ๆ ไปเลย ! Google Forms ทำอะไรได้บ้าง ? สร้างฟอร์มแบบสอบถาม เก็บข้อมูล และอื่น ๆ  สามารถดูผลลัพธ์ใน Google Forms และใน Google Sheets ได้ (Google Forms → Google Sheets) ตกแต่งได้ เช่น สี ฟอนต์ และภาพหน้าปก AppSheet ทำอะไรได้บ้าง ? สร้างแอปในรูปแบบของฟอร์มนำเข้าข้อมูลได้ โดยการนำข้อมูลจาก Google Sheets มาใช้งานเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อและใช้เพื่อเก็บข้อมูล (Google Sheets → AppSheet) สามารถกำหนดฟังก์ชันเองได้ (ภาษา AppSheet เรียกว่า Action) เช่น ส่งแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีคนส่งฟอร์มเข้ามา หรือการส่งฟอร์มขอ Approvals ไปยังหัวหน้างาน สามารถสแกน Barcode, QR code, OCR และอื่น ๆ สามารถออกแบบ Workflow ให้เข้ากับการทำงานของแต่ละแผนกได้ สามารถคำนวณให้ได้แบบอัตโนมัติ สามารถตั้งค่าการแสดงผลบนหน้าแอปได้ เช่น ข้อมูลที่ต้องการและรูปแบบการแสดงผล สร้าง Chatbot ได้ ตกแต่งได้ เช่น ธีมของแอป ฟอนต์ ไอคอน โลโก้...

Continue reading

วิธีตั้งค่ากำหนดสถานที่ทำงาน (Working Location) ใน Google Calendar

สำหรับท่านใดที่กำลังใช้งาน Google Calendar เพื่อการทำงานหรือติดต่อประสานงานอยู่ ต้องบอกว่าฟีเจอร์ Working Location นี้เป็นประโยชน์มาก ๆ เพราะนอกจากจะใช้ Google Calendar ในการนัดประชุมแล้ว ท่านยังสามารถระบุสถานที่ทำงานของท่านในแต่ละวันได้อีกด้วย  ยิ่งถ้าท่านมีการทำงานที่เป็น Hybrid Working Location แล้วก็ยิ่งสะดวกมาก ๆ เพราะผู้ที่ทำงานร่วมกับท่านหรือผู้ที่มีหน้าที่ตรวจเช็กจะสามารถทราบได้ว่าวันใดท่านทำงานที่สำนักงาน วันใดทำงานจากที่บ้าน หรือวันใดบ้างที่ท่านต้องไปพบลูกค้า เป็นต้น  วิธีตั้งค่าสถานที่ทำงานใน Google Calendar เปิด Google Calendar เลือกวันที่วันใดก็ได้  เมื่อหน้าต่างปรากฏขึ้นให้เลือกเมนู Working Location ดังรูปภาพด้านล่าง      4. จากนั้นคลิกไปที่ Does not repeat เพื่อกำหนดว่าท่านต้องการให้สถานที่ที่ท่านเลือกแสดงบนวันใดบ้าง      5. ในส่วนสุดท้ายท่านจะต้องเลือกสถานที่ทำงาน ซึ่งใน Google Calendar จะมีอยู่ 3 ตัวเลือก คือ Home: บ้าน Office: สำนักงาน Other locations: สำนักงานหรือสถานที่อื่น (ท่านสามารถระบุได้) หากต้องการแก้ไขทำอย่างไร ? เปิด Google Calendar แล้วไปที่วันที่ท่านต้องการแก้ไข คลิกไปที่เส้น Location จะขึ้นคำว่า Change      3. คลิกแล้วเลือกสถานที่ใหม่ได้เลยทันที ฟีเจอร์ Working Location นี้มีใน Google Workspace แพ็กเกจใดบ้าง ? ฟีเจอร์ Working Location สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ใน Google Workspace ทุกแพ็กเกจ แต่สำหรับบุคคลที่ใช้งานบัญชีส่วนตัวเวอร์ชันฟรี (@gmail.com) ในการติดต่องาน จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ เนื่องจากฟีเจอร์นี้ถูกปล่อยออกมาสำหรับการใช้งานในรูปแบบขององค์กร ดังนั้นท่านใดที่ใช้บัญชีส่วนตัวจึงจะไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง  ติดตามฟีเจอร์อัปเดตใหม่ได้ก่อนใครที่ www.dmit.co.th...

Continue reading

ความสำคัญของ Data Management พร้อมวิธีวางแผนจัดการข้อมูลเบื้องต้น

Data Management คือ กระบวนการจัดการข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ได้แก่ การรวบรวม การควบคุม การเก็บรักษา ตลอดจนถึงการทำลายข้อมูล  ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรยังไม่มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดีเท่าไรนัก ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาเป็นอาวุธลับสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้ ดังนั้นการจัดการข้อมูลในองค์กรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทำไม Data Management จึงสำคัญ ? แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้ 1. สามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด ข้อมูลถือเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับธุรกิจ เพราะข้อมูลจะช่วยให้ธุรกิจกำหนดกลยุทธ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นแคมเปญโฆษณา การประชาสัมพันธ์สำหรับการตลาด หรือการออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งผู้บริหารยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด แม่นยำ มั่นใจ และรวดเร็วอีกด้วย 2. ลดกระบวนการทำงาน พนักงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้คุณอาจจะกำลังใช้เอกสารหลายฉบับสำหรับการเรียกดูข้อมูลชุดเดียวกันอยู่ ‘แล้วถ้าวันหนึ่งคุณต้องการข้อมูลแค่ชุดเดียว แต่ปรากฏว่าข้อมูลนี้มีอยู่ในเอกสารหลายฉบับมาก ๆ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเอกสารฉบับไหนมีข้อมูลที่ถูกต้อง ?’  ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการซื้อของนาย A เอกสารฉบับที่ 1 อาจระบุว่านาย A ชอบซื้อสินค้าโดยการผ่อนชำระ แต่ในเอกสารฉบับที่ 2 ระบุว่านาย A ชอบซื้อด้วยเงินสด หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ เอกสารฉบับที่ 1 มีข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารฉบับที่ 2 มีพฤติกรรมการซื้อหรือข้อมูลอื่น ๆ เวลาจะใช้งานก็ต้องเปิดดูเอกสารควบคู่กันไป หากมาลองคิดดูดี ๆ แล้วก็หลายขั้นตอนอยู่ใช่ไหม ?  ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบและจัดเก็บแหล่งเดียวกันจะทำให้พนักงานไม่ต้องทำงานหลายขั้นตอน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้เลยทันที ข้อมูลถูกต้อง และเป็นข้อมูลชุดเดียวกันกับพนักงานคนอื่น หมดกังวลเรื่องการใช้ข้อมูลผิดจากการดึงข้อมูลมาจากคนละเอกสารอีกด้วย 3. ข้อมูลมีความปลอดภัย ลดปัญหาภัยไซเบอร์ การจัดการที่ดีจะต้องมาพร้อมกับนโยบายการควบคุมความปลอดภัยภายในองค์กรด้วย ยิ่งข้อมูลมีจำนวนมากเท่าไหร่ การเลือกผู้ให้บริการในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ปลอดภัยก็ยิ่งสำคัญ หากองค์กรมีการจัดการข้อมูลที่ดีที่สามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างหนาแน่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงในหลายรูปแบบ เช่น การป้องกันข้อมูลรั่วไหล และการถูกโจรกรรมอันสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การเงิน และอื่น ๆ เป็นต้น 4. สำรองข้อมูลได้ทันที ไร้กังวลเรื่องการลบข้อมูลจาก Human Errors Human Errors เป็นอะไรที่ป้องกันยากมาก ๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการวางแผนการจัดการข้อมูลเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ลบข้อมูลโดยที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากองค์กรมีการจัดการและควบคุมข้อมูลได้อย่างดีก็จะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลต่าง ๆ...

Continue reading

ใน Google Docs ก็กด React ได้นะ

หลังจากที่เราได้แนะนำ How To ใส่ Emoji ใน Google Docs กันไปแล้ว วันนี้ Google ก็ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ออกมาเพิ่มอีกแล้ว เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่แพ้กันทีเดียว ฟีเจอร์นี้ก็คือ การกด Reaction ใน Google Docs นั่นเอง ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนงานเอกสารอันน่าเบื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น แถมยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อีกด้วย และยังสามารถใช้ได้ในทุกแพ็กเกจเลยนะ วิธีการใส่ Reaction ใน Google Docs เปิด Google Docs แล้วไปยังหน้าเอกสารที่คุณต้องการ พิมพ์ @ ลงหน้ากระดาษ เลื่อนลงไปที่ Voting Chip      4. เลือก Emoji ที่คุณต้องการได้เลย เช่น ? 1 vote ❤️ 0 vote      5. จากนั้นผู้ใช้เอกสารแต่ละคนจะสามารถคลิกที่ Emoji เพื่อ React ได้คนละ 1 ครั้ง คุณสามารถนำฟีเจอร์ Reaction ไปใช้อย่างไรได้บ้าง ? ที่มาของชื่อ Voting Chip แน่นอนว่าคุณสามารถนำไปใช้สำหรับการโหวตหรือ Poll ได้ ใช้สำหรับการแสดงการรับรู้แบบสั้น ๆ ว่าคุณรับรู้ข้อความนี้แล้วโดยที่ไม่ต้องคอมเมนต์หรือทักข้อความบอกใน Google Chat สามารถกด Reaction บนคอมเมนต์เพื่อบ่งบอกว่าคุณเห็นด้วยกับคอมเมนต์นั้นได้ กด Reaction เพื่อเป็นกำลังใจว่าข้อความนั้นเป็นที่ชื่นชอบ และอื่น ๆ ซึ่งคุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้เองได้เลย  >> ติดตามฟีเจอร์อื่น ๆ ของ Google Workspace ก่อนใคร ได้ที่ www.dmit.co.th หมวดหมู่ Blog >> ต้องการสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานหรือสนใจใช้บริการพร้อมรับ Newsletter...

Continue reading

สรุปสาระสำคัญส่งท้ายงานสัมมนา AppSheet – The Fastest Workflow App for Smart Enterprises

ก่อนอื่นเลย Demeter ICT ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในงานสัมมนาของเราอย่างมาก โดยภายในงานนี้เราได้นำผู้เชี่ยวชาญด้าน AppSheet และ Cloud Solution มาให้ความรู้โดยตรงและตอบคำถามกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเนื้อหาหลักของงานสัมมนาจะเกี่ยวข้องกับการสาธิตการใช้งานแอปพลิเคชันและการแชร์วิธีการทำงานของ AppSheet เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานของ AppSheet มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพการใช้งานจริงของการปรับใช้ AppSheet ในแต่ละสายงาน ทีม และอุตสาหกรรมกันด้วย เราจึงได้นำ AppSheet มาปรับใช้เป็นเครื่องมือในการลงทะเบียนเข้าร่วมงานไปจนถึงการใช้เป็นช่องทางในการให้ผู้เข้าร่วมสามารถถามคำถามและข้อสงสัยเข้ามาระหว่างการบรรยายอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงได้หยิบยกสาระสำคัญที่น่าสนใจมาฝากทุกท่าน เพื่อเป็นการสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชัน แหล่งข้อมูล และการนำ AppSheet มาประยุกต์ใช้จริงกับธุรกิจในด้านต่าง ๆ https://youtu.be/5lltYPbaMwI ฟังก์ชันที่โดดเด่นของ AppSheet Approval – สามารถสร้างแอปสำหรับส่งข้อมูลหรือแนบเอกสารขออนุมัติให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการกดปุ่มอนุมัติได้เลยทันที ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ OCR (Optical Character Recognition) – สามารถแปลงข้อมูลจากเอกสารและรูปภาพขึ้นมาเป็นข้อมูลดิจิทัล หรือจะอัปโหลดเอกสารจากไฟล์อื่นนอกเหนือจาก Google Workspace ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น PDF, Excel และอื่น ๆ  Chatbot – สามารถสร้าง Chatbot เพื่อช่วยจัดการภาระงานของท่านได้ เช่น การรวบรวมรายการที่ท่านต้องเซ็นอนุมัติ รายการใหม่ที่ส่งเข้ามา หรือจะเปิดดูใน Calendar ก็สามารถทำได้ และในกรณีที่ใน Inbox นั้นมีอีเมลจำนวนมากจนทำให้ท่านไม่สามารถมองเห็นอีเมลที่กำลังรอการอนุมัติทั้งหมดได้ Chatbot คือทางออกที่จะช่วยท่านได้เยอะมาก ๆ เพราะ Chatbot จะช่วยจัดหมวดหมู่และคอยแจ้งเตือนงานที่ท่านต้องจัดการนั่นเอง  ไม่เพียงแค่นี้ AppSheet ยังมีฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การสแกนบาร์โค้ดหรือ QR Code, การส่งอีเมลอัตโนมัติ, การคำนวณเพื่อลด Human Error, จดจำสถานที่, และอื่น ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูลของ AppSheet Native source – AppSheet...

Continue reading