google workspace

G Suite Legacy สู่ Google Workspace: เก่าไปใหม่มา เรื่องควรรู้ก่อนเปลี่ยนมาใช้ Google Workspace

“เก่าไปใหม่มา จาก G Suite Legacy สู่ Google Workspace” Google เริ่มไตรมาสแรกของปี 2022 ด้วยการประกาศยกเลิกบริการ Google Apps Standard (Legacy) หรือ G Suite รุ่นใช้งานฟรี หลังให้บริการเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี ข่าวนี้ทำให้หลายองค์กรหรือผู้ที่ใช้งานรุ่น Legacy อยู่เกิดความตกใจและรู้สึกเคว้งกันไม่น้อย เนื่องจากไม่ทราบทิศทางและขั้นตอนดำเนินการหากต้องผันตัวไปเป็นผู้ใช้รายใหม่และเตรียมย้ายระบบอีเมลหรืออัปเกรดมายัง Google Workspace เวอร์ชันที่ถูกรีแบรนด์ใหม่จาก G Suite เพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้ใช้บริการให้ครบครันมากยิ่งขึ้น หากพูดถึงระบบอีเมลหรือแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานของ Google กว่าจะมีวันนี้ก็นับว่าเป็นเวลากว่าหลายปีแล้วที่ Google ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ในการใช้งานของผู้บริโภคกว่าพันล้านคนทั่วโลก ที่ผ่านมาก็ได้มีการรีแบรนด์หลายครั้ง จนกลายมาเป็น Google Workspace ในที่สุด เรียกได้ว่า Google Workspace คือ “The Future of Work” เลยก็ว่าได้ จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ในปัจจุบัน Google Workspace ได้ถูกนำมาใช้งานกับภาคธุรกิจอย่างแพร่หลาย มีผู้ใช้งานหลากหลายแบบทั้ง แบบ Free Gmail, Google Apps Legacy, G Suite Legacy และ Google Workspace  บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที เองได้รับข้อคำถามที่พบบ่อยจากกรณี Google ประกาศเลิกให้บริการตัว Legacy ดังกล่าวจากผู้ใช้งานเข้ามามากมายในทุกวัน เราจึงถือโอกาสนี้จัดงานสัมมนาออนไลน์ขึ้นเพื่อแนะแนวทางให้กับทุกท่านที่กำลังใช้งาน G Suite รุ่นใช้งานฟรี (Legacy) และยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรหากต้องอัปเกรดเป็น Google Workspace หรือท่านที่กำลังสนใจนำ Google Workspace ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานร่วมกันในองค์กรของท่าน ได้เข้ามารับฟังข้อมูลที่ถูกต้องประกอบการตัดสินใจของท่านต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม บทสรุปจากทาง Google ยกเลิกให้บริการ Google Apps Standard (Legacy)...

Continue reading

Omada Health

Omada Health ใช้ Zendesk รวมช่องทางการเข้าถึงให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม...

กลยุทธ์รับมือ “ลูกค้าหัวร้อน” พร้อมวิธีแก้ปัญหาอย่างมืออาชีพ!

“แล้วทำไมลูกค้าถึงหัวร้อน? เพราะลูกค้าอาจได้รับประสบการณ์บางอย่างที่ไม่ดีมา ‘หรือ’ ไม่ได้ในสิ่งที่พวกเขาคาดหวังไว้” แล้วอะไรล่ะคือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง? จากผลสำรวจของ Zendesk ที่เป็น Customer Service Software ชั้นนำได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าที่ใช้งานทั่วโลกพบว่า 79% ของลูกค้าต้องการข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และ สามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเอง 83% ของลูกค้าคาดหวังว่าควรมีคนตอบรับเขาในไปทันที เมื่อลูกค้าติดต่อไปที่บริษัท 80% ของลูกค้าคาดหวังว่าบริษัทจะเก็บข้อมูลของพวกเขาโดยที่ไม่ต้องให้ลูกค้าพูดซ้ำหลายรอบ 76% ของลูกค้าต้องการให้ข้อมูลและประสบการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับบริษัทมีความเป็นส่วนตัว ต้องการดู Report ฉบับเต็มคลิก > https://bit.ly/3519mUb นี่คือสิ่งที่ลูกค้าในโลกปัจจุบันคาดหวังกับการบริการของบริษัท เพราะฉะนั้นการที่พวกเขาไม่ได้ตามที่หวังก็ส่งผลให้ พวกเขาไม่พอใจและรู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆ โดยผลสำรวจของ Zendesk กล่าวว่า 71% ของลูกค้าพร้อมที่จะย้ายไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งถ้าหากได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีเพียงครั้งเดียว และผลเสียที่แย่ที่สุดคือลูกค้านำไปรีวิวและบอกต่อลูกค้าคนอื่น ๆ ทำให้บริษัทเสียหาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการรับมือกับ “ลูกค้าหัวร้อน” นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรที่จะต้องใจเย็นและมีสติในการพูดคุยกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา วันนี้ Demeter ICT มีวิธีการรับมือกับลูกค้าหัวร้อนพื้นฐาน 5 ขั้นตอนมาแนะนำให้กับทุกท่านสามารถลองทำตามได้ ดังนี้ 1. รับฟังปัญหาของลูกค้าอย่างเต็มใจ เราต้องคิดเสมอว่าถ้าลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีลูกค้าคงไม่หัวร้อน ถ้าลูกค้าหัวร้อนแปลว่าเขาต้องรับประสบการณ์ที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นเราควรที่จะรับฟังรายละเอียดของปัญหาของลูกค้าอย่างเต็มใจ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด 2. จับประเด็นและทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้า ฟังปัญหาของลูกค้าอย่างละเอียด พร้อมกับทำความเข้าใจต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง และจัดลำดับความสำคัญว่าควรจะแก้ปัญหาอะไรก่อนหลัง 3. ขอโทษลูกค้าอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา แสดงความสำนึกผิดและรู้สึกผิดอย่างจริงใจ ความจริงใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับข้อนี้เพราะจะเป็นส่วนที่ทำให้ลูกค้าใจเย็นลงได้ 4. กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาให้ลูกค้า หลังจากที่เราขอโทษลูกค้าอย่างจริงใจเรียบร้อยแล้วก็แสดงความกระตือรือร้นและเสนอทางที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้าอย่างจริงจังเช่นกัน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกได้รับความสำคัญอีกครั้ง และช่วยบรรเทาประสบการณ์ที่ไม่ดีของลูกค้าให้กลับมาดียิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย 5. ติดตามผลกับลูกค้าจนกว่าปัญหาของลูกค้าจะคลี่คลาย หลังจากที่เสนอแนวทางแก้ปัญหาให้กับลูกค้าแล้ว ก็ห้ามละทิ้งให้ลูกค้าอยู่กับปัญหาของลูกค้าต่อไปเป็นอันขาด ต้องสนับสนุน ช่วยเหลือลูกค้าจนกว่าลูกค้าจะได้รับสิ่งที่ต้องการทั้งหมด และหลังจากแก้ปัญหาของลูกค้าเสร็จแล้วก็ขอโทษและขอบคุณลูกค้าพร้อมนำเอาปัญหาของลูกค้ามาปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต แต่ทว่าก็ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่จะยอมให้คุณแก้ปัญหาแบบที่เรากล่าวไว้ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จะไม่ปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยปัญหาที่ทำให้ลูกค้าหัวร้อนนั้นมักจะเกิดขึ้นจากที่หลาย ๆ บริษัทไม่มีเครื่องมือหรือระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบันได้ แต่ผลสำรวจของ Zendesk กล่าวว่า 79% ของลูกค้าจะให้อภัยความผิดพลาดของบริษัทหลังจากได้รับการบริการที่ดีและมีการพัฒนา ดังนั้นการมองหาโซลูชันหรือเครื่องมือที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงรูปแบบกระบวนการทำงาน (Digital Transformation) ให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่สิ่งที่ ”ควรทำ” อีกต่อไป...

Continue reading

สรุป Digital Transformation ปี 2022 ยุ่งยาก แพง คุ้มหรือเปล่าและจะเริ่มอย่างไรดี?

พูดถึง Digital Transformation เชื่อว่านาทีนี้หลายคนคงคุ้นเคยและรู้ความสำคัญของคำ ๆ นี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 Digital Transformation ก็ติดสปีดกลายเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจจะต้องนำมาปรับใช้ให้ได้ มีหลายองค์กรที่ทำสำเร็จจนเกิดกรณีศึกษามากมาย และก็มีหลายองค์กรเช่นกันที่มองว่า Digital Transformation เป็นภาระใหญ่ที่ทำให้ต้องเสียงบ ทำไม่สำเร็จสักทีทั้งไม่ได้ผลลัพธ์ดั่งที่คาดหวังนัก  หากว่าคุณหรือองค์กรของคุณเป็นกรณีแบบที่สองล่ะก็ โปรดวางใจว่าคุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง  จากการสำรวจของ Mckinsey พบว่า องค์กรอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณประจำปีจากเดิมเป็นสองเท่าถึงห้าปีเพื่อให้ครอบคลุมในเรื่องของ IT เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึง Digital Transformation แล้วอาจนึกปวดหัว ใจหนักอึ้งพอ ๆ กับที่ต้องรีโนเวทบ้านเลยทีเดียว Digital Transformation ที่แท้จริงคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร การวางแผนโมเดลธุรกิจขึ้นใหม่ Re-skill พนักงาน และทดลองทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง “จริง ๆ นะสิ่งที่เกิดขึ้นเวลาผู้คนพูดถึงเรื่องนี้คือ ‘อ้อ ที่ลงทุนเป็นล้าน ๆ มาหลายปีน่ะเหรอ เพื่อให้ได้มุมมองของลูกค้าแบบ 360 องศา มันคุ้มค่าจริง ๆ เหรอ?’ อะไรแบบนี้” – Lisa Nicholas, CEO of Digital Banking Services กล่าว ทว่าคำตอบก็คือ “ใช่ มันคุ้มค่า” เธอกล่าว การทำ Digital Transformation จะต้องมองในแง่ถึงเป้าหมายที่องค์กรอยากจะทำให้เป็นผลสำเร็จให้ได้ และหนทางกว่าจะไปให้ถึงว่าต้องใช้อะไรเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น ต่างเป้าหมาย ต่างอุปสรรค ต่างข้อจำกัดด้านทรัพยากร การทำ Digital Transformation จึงไม่สามารถ Copy-and-Paste รูปแบบธุรกิจจากที่อื่นโดยไม่เข้าใจถึงบริบทการใช้งานที่แท้จริง หรือแม้แต่การทุ่มเงินไปกับการซื้อเทคโนโลยี ก็ไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ถึงอย่างนั้นในด้านของแนวคิดว่าควรจะเริ่มต้นทำ Digital Transformation อย่างไรนั้น เราได้สรุปมาให้คุณแล้ว มาเริ่มต้นดูกันเลย 1. ตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรและหัวหน้าทีม ในหลาย ๆ บทความส่วนใหญ่มักจะเริ่มขั้นตอนแรกของ Digital Transformation ให้เป็นการตั้งเป้าหมายหรือภาพรวมใหญ่ ๆ ทว่าเสาหลักที่สำคัญที่สุดของการ Digital Transformation ก็คือ...

Continue reading

Customer Service Transformation 2022: เจาะลึกความคาดหวังของลูกค้าพร้อมพลิกโฉมการบริการรูปแบบใหม่ให้เหนือคู่แข่งด้วย Zendesk

เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วงเวลาวิกฤตที่เต็มไปด้วยความผันผวนของความไม่แน่นอน ทำให้หลายองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาด้านการจัดการในหลายด้าน การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ (Digital Transformation) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ‘ทางเลือก’ อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ ‘ต้องทำ’ รวมถึงการบริการและสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ที่กลายเป็นเทรนด์และเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยช่วงชิงความได้เปรียบท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น ทว่าขึ้นชื่อว่าการปรับตัว การที่พนักงานจะต้องปรับให้เข้ากับวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ โดยที่ในขณะเดียวกันแบรนด์ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเพื่อตอบสนองและเติมเต็มความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นงานสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที – Your CX Transformation Partner จึงขอเชิญชวนคุณให้รู้จักกับซอฟต์แวร์ช่วยบริการลูกค้าชั้นนำอย่าง Zendesk และพาคุณเจาะลึกถึงการทรานฟอร์มการบริการลูกค้าให้ครบทั้ง 3 มุมมองด้วยกัน มุมมองของลูกค้า สิ่งใดที่ลูกค้าต้องการ สิ่งใดที่จะเป็นมาตรฐานใหม่ที่แบรนด์ต้องมีต่อจากนี้ มุมมองของพนักงาน ทำอย่างไรถึงจะทำงานได้อย่างคล่องตัว เป็นระบบและวัดผลได้ ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นโดยที่พนักงานมีความสุขกับการทำงาน และมุมมองของผู้บริหาร เหตุใดบริษัทหลายแห่งทั่วโลกถึงเลือก Zendesk เครื่องมือนี้ช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นอย่างไร ลดต้นทุนได้จริงหรือไม่ คุ้มค่าแค่ไหนที่จะใช้งาน มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับเราในงานสัมมนาออนไลน์ ‘Customer Service Transformation 2022: เจาะลึกความคาดหวังของลูกค้าพร้อมพลิกโฉมการบริการรูปแบบใหม่ให้เหนือคู่แข่งด้วย Zendesk’ งานสัมมนาที่จะช่วยแถลงทุกข้อสงสัยในทุกมิติของการทรานฟอร์มการบริการลูกค้าแบบครบวงจร ให้คุณเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าในปี 2022 นี้ เสริมศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่และวางแผนให้ธุรกิจก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง ลงทะเบียนฟรี สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม เข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าในปี 2022 แนวโน้มความต้องการการบริการของลูกค้ายุคใหม่ที่จะเป็นมาตรฐานนับจากนี้ ทำความรู้จัก Zendesk อันดับ 1 Digital Customer Service ที่มีผู้ใช้งานกว่า 170,000 รายทั่วโลก แนวทางในการมีระบบจัดการและระบบการบริการลูกค้าที่ดีในองค์กร การพลิกกระบวนการธุรกิจแบบเดิมที่จำเจโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม แถลงไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ Zendesk และกรณีศึกษาการปรับใช้จากองค์กรชั้นนำ Agenda 14.00 – 14.05 Opening & Welcoming Speech 14:05 – 14:30 Customer Expectation in 2022 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหัวใจหลักในการทำธุรกิจก็คือ ‘ลูกค้า’ เช่นนั้นพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าในปี 2022...

Continue reading

บทสัมภาษณ์ DesignLibro ผสานข้อมูลเพื่อประสบการณ์ลูกค้าที่ราบรื่นด้วย Zendesk

“สิ่งสำคัญในการบริการลูกค้าคือ การตรงต่อเวลาและการให้ Solution แก่ลูกค้าได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า” Afei Chen Head of Customer Support at DesignLibro DesignLibro เริ่มธุรกิจเมื่อปี 2020 เป็น Startup ที่ขายของออนไลน์อยู่บน E-commerce ชื่อดังอย่าง Amazon และได้เป็น Top Seller บน Marketplace ในกลุ่มประเภทสินค้า Pet Supply, Home & Kitchen, Appliance ภายใต้แบรนด์ PetLibro และ Toppin ทางบริษัทได้เจาะกลุ่มเป้าหมายไปที่ทวีปอเมริกาเหนือ ธุรกิจกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและเริ่มรู้สึกได้ว่าลูกค้าที่เข้ามานั้นล้นมือเกินไป ทาง DesignLibro จึงได้มองหาโซลูชันที่จะช่วยเข้ามา Support ด้าน Customer Service เพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาเพิ่มมากขึ้นและเป็นการยกระดับการบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย Afei Chen กล่าว “เนื่องด้วยปริมาณของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามามีมากขึ้น Zendesk เป็นหนึ่งในโซลูชันที่ตอบโจทย์ในการทำงานทุกรูปแบบสำหรับเรา ทั้งในเรื่องของฟังก์ชันการใช้งานที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า รวมถึงการดู Report ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่สะดวกกว่าระบบอื่น ๆ มี Interface ที่เหมาะกับผู้ใช้งานและง่ายต่อการแก้ไขระบบหลังบ้าน” การผสานระหว่างร้านค้าออนไลน์และ Zendesk ด้วยความสามารถของ Zendesk ทำให้ Agent (ผู้ใช้งาน) สามารถทำงานได้บนหน้าจอเพียงหน้าเดียว โดยรวมช่องทางการสื่อสารแบบ Digital ทั้งหมดไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์, อีเมล, แชท, โซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อทีมบริการเช่น ข้อมูลลูกค้า, ประวัติการสั่งซื้อ, รายละเอียดการสั่งซื้อ ก็อยู่ในหน้าจอของ Zendesk ทั้งหมด เป็นต้น เนื่องจาก DesignLibro เป็นร้านค้าออนไลน์ที่มีช่องทางการติดต่อที่มากมายและหลายแบรนด์ บริษัทจึงเลือกเครื่องมือที่เชื่อมข้อมูลเหล่านั้นไว้ด้วยกัน โดยผสานข้อมูลจากร้านค้าบน Amazon ผ่านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)...

Continue reading
work insights

Work Insights คืออะไร?

Work Insights คือ? Work Insights คือตัวจัดการจาก Google Workspace ที่จะช่วยรายงานข้อมูลการทำงานแบบเชิงลึกภายในองค์กร ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการพัฒนากระบวนการการทำงานให้องค์กรทำงานได้อย่างชาญฉลาด Work insights นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่คุณไม่ควรพลาด ไปทำความรู้จักเจ้าเครื่องมือนี้กันเลย! Work Insights ทำอะไรได้บ้าง? Work Insights จะทำการเก็บข้อมูลว่าพนักงานมีการใช้งานแอปพลิเคชันของ Google Workspace มากน้อยแค่ไหนโดยจะสรุปออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อให้คุณได้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น เช่น เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทีมของคุณมีการใช้งาน Gmail ที่ 98% Google Docs ที่ 75% และ Google Meet ที่ 45% เป็นต้น  คุณสามารถดูได้ว่าในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Google Docs, Sheets, Slides มีการทำงานร่วมกันอย่างไรบ้าง เช่น เปอร์เซ็นของการแก้ไข คอมเม้น หรือ แค่เปิดเข้าดูไฟล์ ซึ่งฟังก์ชันนี้จะช่วยให้บุคคลที่เป็นหัวหน้าสามารถเช็คการทำงานของทีมได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นเนื่องจากหลายบริษัทยังมีการ Work From Home กันอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถดูได้ว่าการใช้งาน Google Workspace ลดการใช้งานแอปอื่นได้มากแค่ไหน การใช้ Google Workspace นั้นจะทำให้การทำงานง่ายขึ้นอย่างมาก ไม่ต้องสลับแอปให้ยุ่งยาก ฟังก์ชันครบ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการทำงานจากหลายแอปและช่วยประหยัดเวลาในการทำงานอีกด้วย Work Insights มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร? การใช้งาน Work Insights จะทำให้ทีมเห็นภาพมากขึ้นว่าทีมของตนมีการทำงานเป็นอย่างไร ใช้เวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละแอปพลิเคชัน โดยทีมสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประเมินหรือวิเคราะห์การทำงานเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนการทำงานให้ดีขึ้นได้ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว หากทีมมีการจัดการเป็นอย่างดีจะให้ทำองค์กรมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้ภาพลักษณ์และผลประกอบการดีขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการทำงานภายในองค์กรจึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ  Work Insights เหมาะกับใครบ้าง? ผู้ดูแลระบบไอที (IT administrators) ผู้บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change management staff) เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล (Human resources staff) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการบุคคล (People operations staff)...

Continue reading

ฟีเจอร์จาก Zendesk! ปรับขนาดหน้าจอสนทนา ช่วยให้การบริการลูกค้าได้อย่างอิสระ

“หน้าจอการทำงานที่อึดอัด ทำให้การบริการลูกค้าของเรามีประสิทธิภาพที่ลดลง” ดังนั้น Zendesk จึงได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในส่วนของ Agent Workspace เอาใจทีมบริการลูกค้า ด้วยการปรับขนาดหน้าจอการสนทนาระหว่าง Agent กับลูกค้าได้อย่างอิสระ ช่วยให้ Agent สามารถเห็นบทความบน Help Center หรือมุมมองหน้าจอในการบริการลูกค้าสบายมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการปรับขนาดหน้าจอมีอะไรบ้าง? คลิกเข้าไปที่ใน Ticket ที่เราต้องการ เพื่อเปิดหน้าจอการสนทนากับลูกค้า นำเมาส์ไปชี้ที่เส้นขอบระหว่างช่องการสนทนาและช่องรายละเอียดของลูกค้าด้านขวามือ จนมีไอคอนลูกศรซ้ายขวาปรากฏขึ้นและเส้นขอบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน คลิกและลากเส้นไปด้านขวาหรือด้านซ้ายเพื่อขยายหรือย่อขนาดของหน้าจอได้อย่างอิสระ การปรับเปลี่ยนขนาดหน้าจอจะยังคงอยู่ ไม่ว่าคุณจะย้ายไปยังหน้าต่างอื่น ๆ หรือว่าจะปิดและเปิด Ticket นี้ขึ้นมาใหม่ ขนาดหน้าจอที่ปรับไว้จะเหมือนเดิมจนกว่าคุณจะรีเฟรชใหม่ทั้งหมด Zendesk คำนึงถึง Pain point ของผู้ใช้งาน (Agent) และลูกค้าอยู่เสมอจึงได้ออกแบบฟีเจอร์มาเพื่อช่วยเหลือให้การบริการลูกค้านั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน เพราะทุก ๆ อย่างจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของคุณ แหล่งที่มา: support.zendesk.com ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner ซอฟต์แวร์เพื่อการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Omnichannel สำหรับทุกธุรกิจ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – Your CX Transformation Partner ผู้ให้บริการ Zendesk ระดับ Premier Partner ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ 02 030 0066 แพ็กเกจและราคา...

อุปสรรคด้านภาษาจะหมดไปด้วยฟีเจอร์ใหม่จาก Google Meet ‘Translated caption’

อุปสรรคด้านภาษาจะหมดไปด้วยฟีเจอร์ใหม่จาก Google Meet ‘Translated caption’ ในปี 2021 ทาง Google Meet ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘Translated captions’ ในเวอร์ชันเบต้า ซึ่งทำให้สามารถแปลภาษาขณะที่พูดอยู่เป็นคำบรรยายในภาษาที่เรากำหนดได้ ปัจจุบันทาง Google Meet เปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ได้แล้วใน Google Workspace บางรุ่น ‘Translated captions’ ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ช่วยให้การแบ่งปันข้อมูล การเรียนรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้คำบรรยายที่แปลแล้วยังสามารถส่งผลกระทบต่อการตั้งค่าการศึกษา ทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อและโต้ตอบกันได้ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้จะคุยกันคนละภาษาก็ตาม ภาษาที่รองรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน วิธีเปิดใช้งานฟีเจอร์ เปิด Google Meet ในคอมพิวเตอร์ ในการประชุม ให้คลิกตัวเลือกเพิ่มเติม   การตั้งค่า คำบรรยายวิดีโอ เปิด “คําบรรยายวิดีโอ” และตั้งค่าเป็นภาษาอังกฤษ  เปิด “คําบรรยายฉบับแปล” เลือกภาษา หมายเหตุ : ในตอนนี้การแปลคำบรรยายวิดีโอสามารถให้บริการในวิดีโอคอลที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้น หากต้องการใช้คําบรรยายฉบับแปล คุณควรตั้งค่า “คําบรรยายวิดีโอ” เป็นภาษาอังกฤษ และ “คําบรรยายฉบับแปล” เป็นภาษาที่ต้องการแปล แพ็กเกจที่พร้อมใช้งาน Google Workspace Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, และ Google Workspace for Education Plus อัปเกรดแพ็กเกจหรือสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที พันธมิตรระดับ Google Premier Partner ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว เปลี่ยนการทำงานร่วมกันที่แสนยุ่งยากให้ง่ายขึ้นด้วย Google Workspace พื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ...

Continue reading