การพูดคุยกับลูกค้าในปัจจุบันสำคัญพอๆกับตัวสินค้าเลย ลูกค้าส่วนใหญ่สมัยนี้มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากการพูดคุยกับผู้ขาย เพราะคนไทยชอบการพูดคุยที่เป็นกันเองเหมือนเพื่อน ถ้ายิ่งมีไลฟ์สไตล์เดียวกันแล้วนั้นจะยิ่งคุยกันยาวเลย ซึ่งการตอบหรือพูดคุยกับลูกค้าเป็นสิ่งหนึ่งที่จะวัดว่าคุณให้ความสำคัญกับลูกค้าแค่ไหน ส่วนช่องทางที่ลูกค้าติดต่อเพื่อมาพูดคุยกับเราก็มีมากมาย และหลักๆในเวลานี้ก็จะมี Facebook Messenger, LINE, WhatsApp, Twitter Direct Message และ WeChat หรือศัพท์ทาง IT จะเรียกว่า Multichannel ซึ่งทาง Zendesk ได้รวบรวมช่องทางเหล่านั้นมารวมไว้ในที่เดียวและทำให้คุณสามารถพูดคุยหรือตอบกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านแค่ทางเดียว หรือศัพท์ทาง IT เรียกว่า Omnichannel ระบบของ Zendesk ที่จะทำให้คุณใกล้ชิดและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้ามากขึ้น Respond right away ข้อความตอบกลับลูกค้าอัตโนมัติ สำหรับตอบคำถามที่ลูกค้าถามบ่อยๆโดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลามาตอบเองทุกครั้ง และคุณยังสามารถปรับแต่งข้อความเป็นคำพูดที่เป็นตัวคุณเองได้อีกด้วยเพื่อสร้างความใกล้ชิดมากขึ้นไม่ให้ดูเป็นระบบเกินไป Be available ตั้งปุ่มแชทบนหน้าเว็บไซต์หรือแอปของคุณได้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถส่งข้อความหาคุณได้ ทุกที่ ทุกเวลา Get it together เป็นศูนย์รวบรวมและบอกช่องทางของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา แล้วยังสามารถดูข้อมูลของลูกค้าในขณะทำงานได้แบบเรียลไทม์ “ลูกค้าต้องการติดต่อเราทาง WhatsApp, และ Zendesk ก็สามารถช่วยให้เราลดระยะเวลาในการตอบกลับลูกค้าทาง WhatsApp จากเป็นวันลดมาเหลือไม่กี่นาที ก่อนที่จะมาใช้ Zendesk เราต้องให้เจ้าหน้าที่ใช้โทรศัพท์สามถึงสี่เครื่อง พร้อมหมายเลข WhatsApp ในการรับข้อความจากลูกค้า ซึ่งวิธีนี้มันไม่สามารถทำให้เราขยายธุรกิจและวัดผลอะไรไม่ได้เลย แต่ตอนนี้เราสามารถรจสอบและจัดการข้อความใน WhatsApp พร้อมกับลูกค้าที่มาจากช่องทางอื่นๆ และมอบการบริการที่ดีกว่าเดิมให้กับลูกค้าในช่องทางต่างๆที่เขาสะดวกได้ การที่ Zendesk สามารถเชื่อมกับ WhatsApp ได้คือหัวใจสำคัญในการขยายตลาดสู้ระดับโลกอย่างต่อเนื่องของเรา” – Gib Lopez, Co-founder และ COO บริษัท PAYJOY Zendesk ช่วยให้ดีขึ้นได้ยังไง? สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้าโดยเชื่อมต่อกับช่องทางที่ลูกค้าสะดวกที่สุด ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยในการจัดการแและจัดลำดับความสำคัญของลูกค้าจากช่องทางต่างๆในที่เดียว เชื่อมต่อรวดเร็วและง่ายดาย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นจากระบบการทำงานที่มีอยู่ ที่มา : Zendesk ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk...
Continue readingMartech เครื่องมือยุคใหม่ที่เป็นยิ่งกว่า Data
รู้จัก Martech เครื่องมือการตลาดยุคใหม่ที่เป็นยิ่งกว่า Data ในยุคที่ Data เป็นหนึ่งใน Key Success Factor ยิ่งเข้าใจ รู้ข้อมูลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถจัดสรรประสบการณ์ที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้าได้แม่นยำมากขึ้นเท่านั้น หากแต่ถึงแม้จะมีข้อมูลมหาศาลในกำมือ จะมีประโยชน์อะไรหากเราไม่สามารถบริหารข้อมูลเหล่านั้นได้ “CRM (Customer Relationship Management) มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ และถือเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าคุณไม่รู้จักลูกค้า ไม่รู้จัก Data ของลูกค้าของคุณ ก็ไม่มีเครื่องมืออะไรสามารถช่วยคุณทำการตลาดได้” – Michael Chen, CEO & Co-founder, Buzzebees ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีสำหรับทำการตลาด ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนด้านการทำการตลาดโดยเฉพาะขึ้นมามากมาย เรามารู้จัก Martech เทคโนโลยีทางการตลาดที่ทำให้นักการตลาดทำงานง่ายขึ้นกัน Martech คืออะไร และมีอะไรบ้าง? ย้อนกลับไปเมื่อสิบปีก่อน โลกของธุรกิจและการตลาดได้เกิดศาสตร์ใหม่ที่กลายเป็นอาชีพที่เราคุ้นชินกันอย่าง Digital Marketing หรือนักการตลาดดิจิตัล หน้าที่ของ Digital Marketing ก็ครอบคลุมการทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย Google SEO SEM หลายสิบปีที่ผ่านมามีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์การตลาด และเครื่องมือใหม่ๆ ที่เราต้องปรับตัวให้ทันตลอดเวลา หนึ่งในนั้นก็คือ Martech “พื้นที่หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดที่เปลี่ยนไป MarTech (Marketing Technology) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการทำการตลาดยุคใหม่ ซึ่งกรอบการทำงานของ Martech คือการใช้ข้อมูลและเครื่องมือเทคโนโลยีในการสร้าง engagement ตัดสินใจ และติดตามผล” – Dilip Mistry, Partner, Mckinsey& Company Martech เป็นคำที่มาจากการประสมกันของ Marketing กับ Technology เป็นคำเรียกโดยรวมของเครื่องมือทำการตลาด หรือก็คือ เป็นเทคโนโลยีสำหรับทำการตลาดที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานหลักๆ ในการทำงานการตลาดนั่นเอง แต่การหยิบจับ Martech สักตัวมาใช้ก็ถือเป็นความท้าทายเหมือนกัน อ้างอิงจากเว็บไซต์ chiefmartec.com ในปี 2011 Martech มีเพียงแค่ประมาณ 150 ตัว แต่จากข้อมูลล่าสุด ในปี...
Continue reading5 สิ่งที่ต้องมีในธุรกิจยุค 5G
เพิ่งมีข่าวไปหมาดๆ กับการประมูล 5G ในประเทศไทย ซึ่งก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่มาร่วมประมูลแข่งขันกันมากมายทั้ง AIS, TRUE, DTAC, TOT และ CAT และสิ่งที่จะเพิ่มและเข้ามาเปลี่ยนแปลงในยุค 5G นั่นคือ ไม่ใช่แค่โทรศัพท์อย่างเดียวแล้วที่จะมี Internet หรือ Wifi แต่มันจะเป็นยุคที่เรียกว่า IoT หรือ Internet of Things ก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายๆอย่างจะมี Internet ในตัวเองหมด เช่น ทีวี, ตู้เย็น, ไฟ และอีกมากมาย คือ เรียกว่าเราแทบจะกินอยู่หลับนอนด้วย Internet เลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ชีวิต หรือ lifestyle ของคนในปัจจุบันกำลังจะเปลี่ยนไป ทุกอย่างจะไวขึ้นและรวดเร็วมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นธุรกิจก็จะต้องปรับตัวและไวให้ทันคนในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่ง 5 สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้ 5 สิ่งที่ต้องมีสำหรับยุค 5G ที่กำลังจะเข้ามา ต้องมีช่องทางให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าหรือหาข้อมูลได้ในหลากหลายช่องทาง เพราะในปัจจุบัน ลูกค้าออกมาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ร้านค้าจึงต้องสร้างให้สินค้าไปใกล้และเข้าหาลูกค้ามากขึ้นเอง ในช่องทางต่างๆ เช่น Social Media, การโทรศัพท์, Application หรือ เว็บไซด์ต่างๆ ต้องมีช่องทางการจ่ายเงินให้ลูกค้าหลากหลายช่องทาง เช่น Credit/Debit Card, iBanking หรือ Application การจ่ายเงินต่างๆ เช่น Paypal, Promptpay, Alipay, etc. เพราะการที่ลูกค้าจ่ายเงินนานและยุ่งยาก ยิ่งทำให้ลูกค้ามีเวลาตัดสินใจในการซื้อสินค้ามากขึ้น ดังนั้นถ้าลูกค้าเจอร้านที่จ่ายเงินยุ่งยากและใช้เวลานานเขาก็พร้อมที่จะไปทันที ต้องมีการขนส่งถึงที่อยู่ของลูกค้าด้วยความรวดเร็วและถูกต้องปลอดภัย ไม่ว่าเราจะใช้ขนส่งสาธารณะหรือส่งด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่สำคัญมากในตัดสินใจของลูกค้า คือ ลูกค้าจะต้องสามารถตรวจสอบหรือเช็คสถานะสินค้าของตัวเองได้ว่าจะถึงวันไหน ตอนนี้อยู่ที่ไหน ซึ่งพวกเขาอาจจะทักมาในช่องทางต่างๆ ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) ให้กับลูกค้าเนื่องจากทุกๆร้านก็พยายามที่จะทำให้สินค้าไปใกล้ลูกค้าให้มากขึ้น แล้วอะไรคือตัวที่วัดว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าของร้านไหนหล่ะ? นั่นคือเรื่องของการบริการ ลูกค้าในปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Experience มาก ถ้าพวกเขาเจอประสบการณ์ที่ไม่ดีกับร้านของคุณเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแล้วย้ายไปซื้อของร้านอื่นทันที เพราะฉะนั้นข้อนี้ก็เป็นอีกข้อนึงที่สำคัญมาก ต้องมี Content...
Continue readingCustomer Experience Trend ปี 2020 ฉบับจัดเต็ม
เปิดกรุ Customer Experience Trend ปี 2020 ฉบับจัดเต็ม – Every company can inspire loyalty – จะองค์กรไหนก็สร้างความจงรักภักดีได้ ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จะหวังพึ่งเศรษฐกิจก็ช่างไม่แน่นอนเอาเสียเลย สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย คือ Customer loyalty หรือความจงรักภักดีของลูกค้า สามารถนำพาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ และการนำมาซึ่ง Customer loyalty นั้น ก็ต้องสร้าง Customer experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าให้ออกมาดีเสียก่อน ดังข้อมูลนี้ จากตัวเลขถือว่าเป็นข่าวดีเลยทีเดียว แต่ช้าก่อน Loyalty ไม่ใช่อะไรที่แค่ให้ไปแล้วจะเกิดขึ้นได้ หากแต่เกิดจากการหมั่นบ่มเพาะและรักษาให้คงอยู่เอาไว้ เมื่อปราศจากความเอาใจใส่ที่ดี มันก็จะหายไปอย่างง่ายดาย การเข้าใจจุดเชื่อมระหว่าง Loyalty กับวิธีการที่ใช้ดูแลลูกค้าตลอดประสบการณ์ของลูกค้าจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก หากคุณเป็นบริษัทที่มีธุรกิจแบบ B2B ล่ะก็ Loyalty ยังข้องเกี่ยวโดยตรงถึงการตัดสินใจของลูกค้าในการทำธุรกิจ ในการนำเสนอข้อเสนอต่างๆ ตลอดถึงด้านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงกันข้าม ผลลัพธ์ที่จะเกิดหากไร้ซึ่ง Loyalty เลยก็คือ ถูกตัดสัมพันธ์และย้ายไปทำธุรกิจกับแบรนด์คู่แข่งของคุณแทน – ปัจจัยที่จะตัดสินว่าลูกค้าของคุณจะเลือกเส้นเรื่องไหนก็คือ Service (การบริการ) ประสบการณ์ลูกค้าที่ดีสร้างความภักดี ประสบการณ์ลูกค้าที่แย่พาจมดิ่งลงเหว – ในผลการวิจัยนี้จะเป็นรายงานของ Zendesk หนึ่งในซอฟท์แวร์ Customer Service ที่ดีที่สุด ซึ่งได้วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ซอฟท์แวร์ของบริษัทต่างๆ ร่วมกับข้อมูลจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ Customer Service 1,000 คน เจ้าหน้าที่บริหารด้านประสบการณ์ลูกค้า 300 คน หัวหน้าฝ่ายขาย 300 คน และลูกค้า 3,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก เราลองมาดูว่าอะไรที่สำคัญที่สุดในการให้บริการประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า เทียบกับเหตุการณ์สุดย่ำแย่จนนำไปสู่ประสบการณ์ด้านลบของลูกค้ากัน จะเห็นได้ว่าเรื่องของเวลาการตอบกลับเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก ลูกค้าต้องการการตอบกลับที่รวดเร็ว เลือกช่องทางสื่อสารที่ตอบกลับเร็วที่สุดตามแต่ความซับซ้อนของคำถาม ลูกค้าจะคาดหวังให้ทางบริษัทประสานงานกันเองภายใน จะได้ไม่ต้องกล่าวถึงปัญหาซ้ำๆ ซากๆ ลูกค้ายังมีความต้องการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ใช้ self-service และเปิดใจต่อบอทหรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) หากว่ามันสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในอีกด้านหนึ่ง หากลูกค้ารู้สึกว่าตนเองถูกละเลย...
Continue readingรู้หรือไม่? Zopim live chat ถูกพัฒนาเป็น Zendesk Chat แล้ว
Zopim live chat คือ แพลตฟอร์มการแชทพูดคุยกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ (Real-Time) บนเว็บไซต์ ที่ถูกคิดค้นและก่อตั้งโดยกลุ่มนักศึกษาชาวสิงคโปร์ของมหาวิทยาลัย NUS (National University of Singapore) ซึ่งระบบ Zopim เหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าตลอดเวลา เพื่อทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ และได้รับการบริการที่ทันท่วงที และที่พิเศษกว่านั้นยังมีการเก็บสถิติของลูกค้าที่เข้ามาชมเว็บไซต์ในแต่ละหน้าได้อีกด้วย ซึ่งทาง Zendesk เห็นถึงความสามารถของระบบและการบริการนี้ จึงได้ซื้อมากิจการมาในปี คศ. 2014 เพื่อพัฒนาต่อในชื่อของ Zendesk Chat ซึ่งทีมของ Zopim ในสิงคโปร์ก็ได้เข้ามาร่วมงานกับทาง Zendesk และได้พัฒนาระบบร่วมกันต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพฟีเจอร์ต่างๆให้เข้ากับกลุ่มธุรกิจใน Zendesk มากขึ้น เช่น จะสามารถเห็น Customer Journey หรือ ทาง Zendesk Chat เรียกว่า Visitor Path ของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อดูพฤติกรรมต่างๆ และลดการถามคำถามซ้ำในสิ่งที่ลูกค้ารับรู้จากการไปหน้าเว็บไซต์ของเรามาแล้ว เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากที่สุด www.chattooltester.com/reviews/zopim-review/ และยังมีระบบสร้าง Triggers เป็นข้อความ Popup อัตโนมัติไปยังลูกค้าที่อยู่หน้าเว็บไซต์นานๆ เพราะระบบของ Zopim หรือ Zendesk Chat เนี่ย คิดว่าลูกค้าอาจจะมีความลังเลในการตัดสินใจหรือมีคำถามบางอย่างที่ยังหาคำตอบไม่ได้จึงได้ค้างอยู่หน้าเว็บไซส์ของเรา ซึ่งทางฟีเจอร์ตัวนี้ จะทำให้ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ลูกค้าจะออกจากหน้าเว็บไซส์ของเรา ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมราคา Zendesk พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475 (คุณตอง) support@dmit.co.th Line Official...
Customer Journey vs. Customer Experience
Customer Journey vs. Customer Experience ในยุคปัจจุบันที่ช่องทางเข้าถึงลูกค้ามีมากมายหลายช่องทาง ลูกค้าไม่ได้เริ่ม Customer Journey ที่เดินเข้าไปดู เลือก และซื้อสินค้าเพียงในร้านค้าอีกแล้ว กว่าครึ่งของการตัดสินใจเลือกซื้อทั้งหมดเริ่มต้นที่ออนไลน์ หากแต่เทรนด์การตลาดดิจิตัลทุกวันนี้ไม่ได้หยุดเพียงช่องทางการซื้อที่หลากหลายเท่านั้น แต่เป็น Customer Experience หรือการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า เนื่องจากลูกค้าในยุคปัจจุบันไม่ได้ตัดสินใจที่สินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่จะได้รับมากขึ้น แม้จะต้องจ่ายในราคาแพงขึ้น ก็ยินยอม การพัฒนา Customer Experience (CX) จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่มัดใจลูกค้า และนำไปสู่อีกขั้นของความสำเร็จได้ “การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ หากแต่การเข้าใจการเดินทางของลูกค้า ร่วมกับพัฒนาประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่าง คือปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว้าว ประทับใจสุดๆ ได้เลยทีเดียว” มาดูวิธีปรับให้ไม่ตกยุคปี 2020 กัน 1. เพราะโทรศัพท์มือถือคือเครื่องมือสู่ความประทับใจแรกพบ ทราบหรือไม่? 70% ของ Traffic ที่มากที่สุดในโลกมาจากโทรศัพท์มือถือ 61% ของลูกค้าอ่านอีเมลบนมือถือ และกว่า 95% ของผู้ใช้ Facebook ก็กดเข้าเว็บไซต์ด้วยสมาร์ทโฟน นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โพสต์ในโซเชียลมีเดีย โฆษณา สิ่งที่ควรมุ่งเน้นหลักในปี 2020 ก็คือการปรับปรุง Mobile Experience ที่ๆ ลูกค้ามองเห็น มีส่วนรวม และซื้อสินค้า 2. รู้จักลูกค้าของคุณให้มากที่สุด เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น กลยุทธ์การตลาดแบบ Personalization ก็ทำได้ง่ายขึ้น เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะคน ผ่านการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำคอนเทนต์ สินค้า บริการ ผ่านช่องทางสื่อสาร ราคาและประสบการณ์ที่เหมาะกับคนๆ นั้น สร้างความแตกต่างในการให้บริการให้ได้มากกว่าคู่แข่ง ทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ตรงความต้องการมากขึ้น ดังนั้น การมีฐานข้อมูลลูกค้าและเครื่องมือวิเคราะห์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ เรายังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงช่องทางการเข้าถึงของลูกค้า สำรวจว่าลูกค้าเป้าหมายของเราเข้าถึงเราผ่านช่องทางไหน มีความสนใจเป็นพิเศษด้านใด วิเคราะห์เป็น Customer Journey และปรับปรุงกระบวนการให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น เช่น หากเราต้องการทราบว่าส่วนไหนในเว็บไซต์ของเราที่ลูกค้ามีความสนใจมากที่สุด รู้พฤติกรรมของลูกค้า เราก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับแต่งหน้าเว็บ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้ลูกค้าได้...
Continue readingCustomer Support Trends และการรับมือลูกค้าในยุคที่อะไร ๆ ก็เป็น Omnichannel
Zendesk แพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อ “CRM” และ “Customer Support” ตอบโจทย์การให้บริการในยุคที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าต่างใช้ชีวิตและติดต่อสื่อสารกันผ่านทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ต่างก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Call Center, Email, Facebook Messenger, Instagram, LINE, Twitter, Website Web Form และ Live Chat การที่ธุรกิจหรือแบรนด์มีการ support ลูกค้าในทุกช่องทาง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถติดต่อและเข้าถึงแบรนด์ได้ในช่องทางที่ลูกค้าสะดวกและคุ้นเคย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่จะบริหารจัดการลูกค้าพร้อมกันในหลาย ๆ ช่องทางนั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและมักสร้างปัญหาในเรื่องของการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้กับทีมซัพพอร์ตลูกค้าอยู่ไม่น้อย ทำให้บริษัทในปัจจุบันจำเป็นต้องมี Admin คอยดูแล ตอบคำถามและแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าต่างช่องทางกันตามความเชี่ยวชาญของแต่ละทีม ยกตัวอย่างเช่น Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนโซเชียล รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง inbox Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนเว็บไซต์ รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง Email Admin ที่ตอบคำถามและบริการลูกค้าทาง LINE ทีม Call Center ที่รับเรื่อง ตอบคำถามและประสานงานกับทีมอื่น ๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งหากอ้างอิงจากลิสด้านบนอย่างคร่าว ๆ ใน 1 องค์กร จำเป็นต้องมี Admin อย่างน้อย 4 คน หรือมากกว่า 2 ทีม ที่ต้องคอยตอบคำถาม แก้ไขปัญหา รับเรื่องร้องเรียนของลูกค้าในแต่ละวัน ในจุด ๆ นี้เองที่จะทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนเกิดขึ้น ทั้งความซ้ำซ้อนของการทำงาน และความซ้ำซ้อนที่ลูกค้าจะได้รับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลูกค้าท่านเดียวกัน แต่ติดต่อเข้ามาต่างช่องทาง หากเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ทีมไม่มีการทำงานร่วมกันจะเกิดการแก้ปัญหาที่ซ้ำซ้อน ลูกค้าแจ้งเรื่องกับเจ้าหน้าที่ Call Center เจ้าหน้าที่ทำการโอนสายให้ทีมที่เกี่ยวข้อง ลูกค้าต้องตอบคำถามและเล่าปัญหาเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวก่อให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองเวลาโดยไม่จำเป็น และอาจกลายเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจในการรับบริการให้กับลูกค้าได้ Customer Support เทรนด์ของลูกค้าในยุค Seamless และ Omnichannel 60% ของลูกค้า เลือกใช้มากกว่าหนึ่งช่องทางในการติดต่อกับแบรนด์...
Continue readingทีมของคุณพร้อมสำหรับวันหยุดปีใหม่นี้หรือยัง?
ในช่วงวันหยุดยาวของการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2020 ที่กำลังจะถึงนี้ ก็ถือเป็นเทศกาลที่ธุรกิจอาจมีการหยุดให้บริการในช่วงนั้น ๆ หรือการบริหารจัดการพนักงานที่ต้องอยู่ทำงานในช่วงวันหยุดอาจมีความเบาบางและไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่เท่าตอนเปิดบริการตามเวลาปกติ บางปัญหา… ลูกค้าอาจรอได้ และบางปัญหา… ลูกค้าก็อาจจะรอไม่ได้ ซึ่งหากเกิดกรณีเหล่านี้ขึ้น สิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการคงไม่ใช่การถือสายรอ หรือการถูกโอนสายไป ๆ มา ๆ ระหว่างแผนกเป็นแน่แท้ สำหรับบริษัทที่ไม่อยากสูญเสียลูกค้าไปจากความไม่พร้อมในการเตรียมการรับมือกับลูกค้าในช่วงวันหยุด จึงควรมีการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าให้กับแผนกบริการลูกค้าหรือแผนกซัพพอร์ตลูกค้าไว้เป็นกรณีพิเศษสำหรับช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการเตรียมทีมบริการลูกค้าที่ดีก็เหมือนแสงสว่างให้กับลูกค้าที่กำลังมองหาความช่วยเหลือ และเป็นโอกาสอันดีที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์และเป็นการเพิ่มความภักดีให้กับลูกค้า สิ่งแรกที่บริษัทต้องทำคือการเตรียมรับมือกับจำนวนการติดต่อของลูกค้าที่จะเข้ามาให้มากกว่าจำนวนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับ เพราะจากการศึกษาของ Zendesk พบว่า ปริมาณ ticket โดยรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากถึง 42% ในช่วงวันหยุด โดยปริมาณ ticket ทางอีเมลจะเพิ่มขึ้นถึง 49% ช่องทางแชทเพิ่มขึ้นถึง 92% ขณะที่การสนทนาทางโทรศัพท์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และการสนทนาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม เช่น Facebook เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งสำหรับบริษัทที่ไม่ได้มีการเตรียมการไว้รองรับการติดต่อกับลูกค้าจำนวนมากจะทำให้เวลาในการตอบสนองต่อลูกค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า หรือคะแนน CSAT เป็นอย่างมาก ทดลองใช้ trial ฟรี เวลาสำหรับ Omnichannel วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือกับปริมาณการติดต่อที่เพิ่มขึ้นคือการเพิ่มพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนการติดต่อของลูกค้า โดย Zendesk พบว่าผู้ค้าปลีกมักเพิ่มเจ้าหน้าที่ 10-20% ในช่วงวันหยุด แต่ธุรกิจเหล่านั้นกลับต้องพิจารณาการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลักษณะที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในปัจจุบันที่ต้องการการบริการแบบ Omnichannel หรือก็คือการที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะสามารถติดต่อกับบริษัทใด ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ ในช่องทางที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา โดยพบว่า 95% ของลูกค้าใช้ช่องทางที่แตกต่างกัน 3 ช่องทาง ในการติดต่อกับบริษัทหรือแบรนด์ต่าง ๆ ความท้าทายของการซัพพอร์ตลูกค้า โดยส่วนใหญ่ทีมที่เล็กกว่ามักมีรูปแบบการรับพนักงานที่ผสมผสาน ภายใต้กรอบการทำงานทำให้พนักงานในทีมเล็ก ๆ ต้องมีความคล่องตัว สามารถปรับตัวได้ดีและมักจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเต็มที่เพื่อจัดการกับคำขอของลูกค้าที่มาจากหลายช่องทางได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันทีมที่มีขนาดใหญ่มักมีรูปแบบการซัพพอร์ตที่เฉพาะตัวซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมากขึ้นและสามารถปลดล็อกประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าทีมจะมีโครงสร้างอย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจในปริมาณ ticket เพื่อที่จะจัดขนาดของทีมซัพพอร์ตได้อย่างเหมาะสม โดยมีตัวแปรที่ควรพิจารณาดังนี้ 1. ปริมาณ ticket ต่อวัน 2. เวลาเฉลี่ยในการจัดการกับ ticket ต่อวัน 3. เวลาเฉลี่ยที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการรับลูกค้าทางโทรศัพท์ในแต่ละวัน ต้องใช้ Agents...
Continue reading5 ช่องว่างของธุรกิจ SMB ที่มีผลต่อประสบการณ์ลูกค้า
เมื่อพูดถึงเรื่องของประสบการณ์ลูกค้า (Customer experience) กับธุรกิจ SMB สิ่งที่เรามักเจอก็คือช่องว่างระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังทำกับประสบการณ์จริง ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณภาพในการให้บริการของธุรกิจ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจ SMB ที่ใช้ Zendesk จำนวน 6,891 แห่ง จาก 104 ประเทศ และจากผลการสำรวจผู้นำทางด้านประสบการณ์ลูกค้าจำนวน 600 คน พบว่า ช่องว่างหลัก ๆ ที่มีผลต่อการบริการลูกค้ามีดังนี้ 1. ธุรกิจไม่ได้เสนอทางเลือกในการติดต่อให้กับลูกค้ามากนัก74% ของธุรกิจ SMB บอกว่าพวกเขากำลังทำ แต่มีเพียง 28% เท่านั้นที่เข้าถึงลูกค้าแบบ Omnichannel จริง ๆ 2. ธุรกิจไม่มีช่องทาง Self service ให้กับลูกค้า54% ใช้เพื่อวัดผลและตัดสินความสำเร็จ ขณะที่มีเพียง 9% เท่านั้นที่ใช้เพื่อช่วยเหลือลูกค้า 3. ธุรกิจไม่มีการเชื่อมต่อข้อมูล64% ของธุรกิจเห็นด้วยที่ต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูล ขณะที่ 26% มีเครื่องมือที่ช่วยในการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน 4. ธุรกิจตอบสนองต่อลูกค้าช้า85% มีการวัดผลความสำเร็จจากความรวดเร็ว และมี 22% ที่ใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมง ในการตอบกลับลูกค้าครั้งแรก 5. ธุรกิจไม่รู้ถึงศักยภาพและคุณภาพในการให้บริการของตนเอง82% ของผู้นำทางธุรกิจ SMB ประเมินความสำเร็จจากประสบการณ์ของลูกค้า แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับธุรกิจ SMB พบว่ามีมากถึง 2 ใน 3 ที่ไม่มีการวัดประสบการณ์ของลูกค้า (CSAT) แล้วธุรกิจ SMB ควรทำอย่างไร? 1. ผลักดันการให้บริการลูกค้าแบบ Omnichannel41% ของผู้นำทางด้านประสบการณ์ลูกค้ามักเสนอช่องทางการให้บริการลูกค้า 3 ช่องทางขึ้นไป 2. มอบเครื่องมือที่จำเป็นให้กับทีมของคุณบริษัท SMB ชั้นนำสามารถแก้ไข Ticket ได้เร็วขึ้นถึง 40% เมื่อใช้ Omnichannel โซลูชันเข้ามาช่วย 3. เชื่อมต่อ live channels เข้ากับธุรกิจ อย่างเช่น live...
Continue reading