เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น Google จึงได้นำ AppSheet แพลตฟอร์มการสร้างแอปพลิคชันแบบไร้โค้ดมาพัฒนาเพื่อให้ลูกค้าของ Google Workspace สามารถนำกระบวนการทำงานมาต่อยอดให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน และสามารถเชื่อมต่อกับ Google Cloud และฐานข้อมูลอื่นๆมากมาย ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด หากท่านใดกำลังสงสัยอยู่ว่า AppSheet คืออะไร สามารถทำความรู้จักได้ที่บทความนี้ >>สรุป AppSheet คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? (ฉบับเข้าใจง่าย) ประกาศข่าวดีล่าสุดจาก Google เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา Google ได้เพิ่มความสามารถของ AppSheet Core ให้กับลูกค้าที่ใช้งาน Google Workspace สำหรับองค์กรและหน่วยงานการศึกษา ให้ได้ใช้งานกันไปเลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม Google Workspace แพ็กเกจใดบ้างที่สามารถใช้งาน AppSheet Core ได้? AppSheet Core จะถูกเพิ่มเข้ามาในแพ็กเกจ Google Workspace ดังต่อไปนี้ Business Starter, Standard และ Plus Enterprise Starter และ Standard Non-profits Education Standard AppSheet Core ทำอะไรได้บ้าง? AppSheet Core คือหนึ่งในแพ็กเกจของ AppSheet ยอดนิยมที่ให้ท่านได้ใช้ฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความสามารถของแอปพลิเคชันให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการสร้าง Automation ขั้นสูงและการจัดการและควบคุมความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน ท่านสามารถดูรายละเอียดของ AppSheet Core เพิ่มเติมได้ที่นี่ >> เปรียบเทียบแพ็กเก็จ AppSheet วิธีตั้งค่าความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน AppSheet Core หากท่านกังวลในเรื่องของความปลอดภัยของการใช้งานแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็น: การแชร์แอปพลิเคชันสู่ภายนอกองค์กร การเชื่อมต่อแอปพลิเคชันกับฐานข้อมูลภายนอกองค์กร การส่งอีเมลอัตโนมัติสู่บัญชีนอกองค์กร การใช้แอปพลิเคชัน AppSheet อื่น ที่ไม่ใช่ขององค์กร ผู้ดูแลระบบ (Admin) Google Workspace ขององค์กรท่านสามารถตั้งค่า...
Continue readingธุรกิจ SMB ใช้ Google Workspace อย่างไรให้ปัง!
ธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) ไม่จำเป็นต้องมีการทำงานที่เป็นระบบมากก็ได้ ทำเท่าที่ทำได้ก็พอ ความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะหากวางแผนการใหญ่ การทำให้ลูกค้าพอใจด้วยระบบการทำงานที่ง่ายทั้งต่อลูกค้าและองค์กรเองนั้นก็สำคัญนะ มาเช็กกันหน่อยว่าขณะนี้คุณกำลังทำงานแบบนี้อยู่หรือไม่ ? ส่งอีเมลสำหรับข้อความที่เป็นทางการหรือต้องการหลักฐานยืนยันเท่านั้น นัดประชุมหรือนัดพบลูกค้าด้วยโทรศัพท์ ใช้หลายแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มในการติดต่อประสานงาน จาก Checklist นี้จะเห็นว่าคุณต้องใช้ถึง 3 ช่องทางในการดำเนินงาน 1 งาน ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนได้ ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ธุรกิจ SMB หันมาใช้การสื่อสารจากช่องทางเดียวกันด้วยฟังก์ชันจาก Google Workspace เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณมีการทำงานที่ง่ายมากขึ้น สามารถติดต่อลูกค้าได้ครอบคลุมด้วยแพลตฟอร์มเดียว ฟังก์ชันที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย ! 3 ฟังก์ชันจาก Google Workspace แนะนำสำหรับธุรกิจ SMB 1. นัดหมายด้วย Appointment Schedule จาก Google Calendar ก่อนหน้านี้ฟังก์ชัน Appointment Schedule นั้นมีไว้สำหรับผู้ใช้บริการ Google Workspace Individual เท่านั้น แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นบัญชีฟรีหรือใช้บริการแพ็กเกจสำหรับองค์กรก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้แล้ว โดยคุณสามารถสร้างหน้าเพจสำหรับการนัดหมายได้ โดยไปที่ Google Calendar คลิกวันที่ใดก็ได้ เลือก Appointment Schedule กด Set up the schedule จากนั้นก็ตั้งค่าต่าง ๆ ได้เลย เช่น ชื่อหน้า booking เวลาที่เปิดให้นัดหมาย เวลาต่อรอบนัดหมาย และอื่น โดยคุณสามารถแชร์หน้า Booking ให้กับลูกค้าของคุณได้ 2 ช่องทาง คือ Google Calendar: ลูกค้าสามารถเปิดปฏิทินของคุณแล้วเลือกเวลาที่ต้องการนัดหมายได้เลย Gmail: คุณสามารถส่งลิงก์ให้ลูกค้าจองตารางนัดหมายได้โดยไปที่ Appointment Schedule กดปุ่ม Share สำหรับฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การสร้างหน้าการนัดหมายแบบไม่จำกัด การส่งแจ้งเตือนการนัดหมายแบบอัตโนมัติ การเช็กดูตารางว่างจากปฏิทินหลายฉบับ หรือการตรวจสอบตัวตนของผู้นัดหมาย เป็นต้น คุณสามารถเลือกดูแพ็กเกจของ Google...
Continue readingวิธีตั้งค่ากำหนดสถานที่ทำงาน (Working Location) ใน Google Calendar
สำหรับท่านใดที่กำลังใช้งาน Google Calendar เพื่อการทำงานหรือติดต่อประสานงานอยู่ ต้องบอกว่าฟีเจอร์ Working Location นี้เป็นประโยชน์มาก ๆ เพราะนอกจากจะใช้ Google Calendar ในการนัดประชุมแล้ว ท่านยังสามารถระบุสถานที่ทำงานของท่านในแต่ละวันได้อีกด้วย ยิ่งถ้าท่านมีการทำงานที่เป็น Hybrid Working Location แล้วก็ยิ่งสะดวกมาก ๆ เพราะผู้ที่ทำงานร่วมกับท่านหรือผู้ที่มีหน้าที่ตรวจเช็กจะสามารถทราบได้ว่าวันใดท่านทำงานที่สำนักงาน วันใดทำงานจากที่บ้าน หรือวันใดบ้างที่ท่านต้องไปพบลูกค้า เป็นต้น วิธีตั้งค่าสถานที่ทำงานใน Google Calendar เปิด Google Calendar เลือกวันที่วันใดก็ได้ เมื่อหน้าต่างปรากฏขึ้นให้เลือกเมนู Working Location ดังรูปภาพด้านล่าง 4. จากนั้นคลิกไปที่ Does not repeat เพื่อกำหนดว่าท่านต้องการให้สถานที่ที่ท่านเลือกแสดงบนวันใดบ้าง 5. ในส่วนสุดท้ายท่านจะต้องเลือกสถานที่ทำงาน ซึ่งใน Google Calendar จะมีอยู่ 3 ตัวเลือก คือ Home: บ้าน Office: สำนักงาน Other locations: สำนักงานหรือสถานที่อื่น (ท่านสามารถระบุได้) หากต้องการแก้ไขทำอย่างไร ? เปิด Google Calendar แล้วไปที่วันที่ท่านต้องการแก้ไข คลิกไปที่เส้น Location จะขึ้นคำว่า Change 3. คลิกแล้วเลือกสถานที่ใหม่ได้เลยทันที ฟีเจอร์ Working Location นี้มีใน Google Workspace แพ็กเกจใดบ้าง ? ฟีเจอร์ Working Location สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ใน Google Workspace ทุกแพ็กเกจ แต่สำหรับบุคคลที่ใช้งานบัญชีส่วนตัวเวอร์ชันฟรี (@gmail.com) ในการติดต่องาน จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ เนื่องจากฟีเจอร์นี้ถูกปล่อยออกมาสำหรับการใช้งานในรูปแบบขององค์กร ดังนั้นท่านใดที่ใช้บัญชีส่วนตัวจึงจะไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง ติดตามฟีเจอร์อัปเดตใหม่ได้ก่อนใครที่ www.dmit.co.th...
Continue readingเพิ่มลูกเล่นให้การประชุม ด้วยฟีเจอร์ Q&As & Polls
ในการประชุมวีดิโอคอล Google Meet ผู้จัดการประชุมสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์ Q&As & Polls ให้ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมในการประชุมนั้นๆได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง 2 ฟีเจอร์นี้ Google Meet ได้ทำการเพิ่มขึ้นมาจาก Activities เดิมดังนี้ Breakout rooms – เปิดใช้ห้องกลุ่มย่อยสำหรับการ DiscussionRecording – บันทึกการประชุมวิดีโอ Transcript – บันทึกข้อความถอดเสียงWhiteboarding – ใช้กระดานไวท์บอร์ดด้วย Jamboard Polls – ใช้แบบสำรวจ (NEW)Q&As – ใช้การถามและตอบ (NEW) โดยบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักความสามารถของฟีเจอร์ Q&As และ Polls กันว่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการประชุมได้อย่างไรบ้าง ฟีเจอร์ Q&As หรือ ถามและตอบ ฟีเจอร์ Q&As เป็นฟีเจอร์ที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการพิมพ์เพื่อถามคำถามได้ โดยที่ผู้ถามไม่จำเป็นต้องเปิดไมโครโฟนให้เกิดการติดขัดระหว่างการบรรยาย ตัวอย่างเช่น กรณีงานสัมมนาผ่าน Meet หากผู้เข้าร่วมสัมมนามีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติมสามารถพิมพ์คำถามไว้ได้ที่ฟีเจอร์ Q&As ได้ โดยที่ผู้บรรยายจะสามารถเห็นคำถามนั้นได้ทันที และหากคำถามใดที่ตอบแล้ว ผู้จัดการประชุมสามารถทำเครื่องหมาย mark as answered ไว้ได้เลย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดยังสามารถร่วมโหวตคำถามที่ถูกใจได้อีกด้วย ฟีเจอร์ Polls หรือ แบบสำรวจ ในการประชุมบางครั้งอาจจะต้องมีโหวตคำตอบหรือความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งผู้จัดการประชุมสามารถใช้ฟีเจอร์ Polls นี้เพื่อสร้างแบบสำรวจได้อย่างเรียลไทม์ โดยผู้โหวตสามารถเลือกโหวตแบบไม่ประสงค์ออกนามได้ อีกทั้งผู้จัดการประชุมยังสามารถตั้งค่าเปิดให้แสดงผลการโหวตได้เลยทันที นอกจากนี้ยังสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อการสร้างแบบทดสอบความเข้าใจในการเรียนการสอนหรือการประชุมได้อีกด้วย เพิ่มเติม: ผู้จัดการประชุมสามารถสร้างแบบสำรวจล่วงหน้าไว้ก่อนได้ และหากต้องการเปิดให้โหวต ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม Vote ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ Q&As หรือ Polls สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมได้ดีทีเดียว และจะช่วยเพิ่มสีสันหรือความน่าสนใจของการประชุมนั้นๆได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย ติดตามอัปเดต Google Workspace จาก Demeter ICT ได้ที่ คลิก...
ใน Google Docs ก็กด React ได้นะ
หลังจากที่เราได้แนะนำ How To ใส่ Emoji ใน Google Docs กันไปแล้ว วันนี้ Google ก็ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ออกมาเพิ่มอีกแล้ว เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่แพ้กันทีเดียว ฟีเจอร์นี้ก็คือ การกด Reaction ใน Google Docs นั่นเอง ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนงานเอกสารอันน่าเบื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น แถมยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อีกด้วย และยังสามารถใช้ได้ในทุกแพ็กเกจเลยนะ วิธีการใส่ Reaction ใน Google Docs เปิด Google Docs แล้วไปยังหน้าเอกสารที่คุณต้องการ พิมพ์ @ ลงหน้ากระดาษ เลื่อนลงไปที่ Voting Chip 4. เลือก Emoji ที่คุณต้องการได้เลย เช่น ? 1 vote ❤️ 0 vote 5. จากนั้นผู้ใช้เอกสารแต่ละคนจะสามารถคลิกที่ Emoji เพื่อ React ได้คนละ 1 ครั้ง คุณสามารถนำฟีเจอร์ Reaction ไปใช้อย่างไรได้บ้าง ? ที่มาของชื่อ Voting Chip แน่นอนว่าคุณสามารถนำไปใช้สำหรับการโหวตหรือ Poll ได้ ใช้สำหรับการแสดงการรับรู้แบบสั้น ๆ ว่าคุณรับรู้ข้อความนี้แล้วโดยที่ไม่ต้องคอมเมนต์หรือทักข้อความบอกใน Google Chat สามารถกด Reaction บนคอมเมนต์เพื่อบ่งบอกว่าคุณเห็นด้วยกับคอมเมนต์นั้นได้ กด Reaction เพื่อเป็นกำลังใจว่าข้อความนั้นเป็นที่ชื่นชอบ และอื่น ๆ ซึ่งคุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้เองได้เลย >> ติดตามฟีเจอร์อื่น ๆ ของ Google Workspace ก่อนใคร ได้ที่ www.dmit.co.th หมวดหมู่ Blog >> ต้องการสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานหรือสนใจใช้บริการพร้อมรับ Newsletter...
Continue readingรู้หรือไม่? เราสามารถตอบรับการขอเข้าถึงไฟล์ได้ 2 วิธี
หนึ่งในความสามารถของ Google Workspace ที่ Google เองภูมิใจนำเสนอนั่นก็คือความปลอดภัยที่รักษาข้อมูลของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนมีพนักงานคอยรักษาความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ช.ม. ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่นการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่อยู่บนแอปพลิเคชันของ Google Workspace ซึ่งปกติแล้วไฟล์นั้นๆจะถูกตั้งค่าจำกัดการเข้าถึง (Restricted) เป็น default หากมีบุคคลภายนอกต้องการเข้าถึงไฟล์ ก็จะมีแจ้งเตือนไปยังเจ้าของไฟล์ให้ทำการตรวจสอบการขออนุญาตเข้าถึงไฟล์ก่อนทุกครั้ง โดยบทความนี้ จะมาแชร์วิธีการรีวิวหรือการตรวจสอบการเข้าถึงไฟล์ ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธีด้วยกัน วิธีที่ 1: รีวิวผ่านอีเมล ในกรณีที่มีบุคคลที่ต้องการขอเข้าถึงไฟล์ เจ้าของไฟล์จะได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมลเข้ามาว่ามีผู้ที่ต้องการสิทธิ์ในการเข้าถึง โดยที่เจ้าของไฟล์สามารถอนุมัติหรือปฎิเสธการเข้าถึงไฟล์พร้อมให้บทบาทสิทธิ์ของไฟล์นั้นๆ ผ่านอีเมลได้เลย วิธีที่ 2: รีวิวผ่านไฟล์ วิธีนี้เป็นอัปเดตล่าสุดของ Google ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ Docs, Slides, Sheets, PDFs และอื่นๆ ให้สามารถรีวิวผ่านไฟล์ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถรีวิวผ่านอีเมลได้เพียงวิธีเดียว เมื่อมีผู้ที่ต้องการเข้าถึงไฟล์เอกสาร เจ้าของไฟล์จะได้รับการแจ้งเตือนที่ไฟล์นั้นๆ สังเกตได้ว่าจะปรากฎจุดที่ปุ่มแชร์ของไฟล์ โดยที่เจ้าของไฟล์สามารถรีวิวการขอเข้าถึงไฟล์ รวมการให้สิทธิ์บทบาทการเข้าถึงไฟล์จากตรงนี้ได้เลย ทำความรู้จักบทบาทสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ Viewer (ผู้มีสิทธิ์อ่าน): มีสิทธิ์ดู แต่แก้ไขหรือแชร์ไฟล์กับผู้อื่นไม่ได้Commenter (ผู้แสดงความคิดเห็น): มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ แต่แก้ไขหรือแชร์ไฟล์กับผู้อื่นไม่ได้Editor (ผู้มีสิทธิ์แก้ไข): มีสิทธิ์แก้ไขไฟล์ ยอมรับหรือปฏิเสธคำแนะนำ และแชร์ไฟล์กับผู้อื่นได้ บอกเลยว่าอัปเดตครั้งนี้จะให้ช่วยการทำงานร่วมกันทั้งภายในและนอกองค์กรง่ายขึ้นแน่นอน หรือหากไฟล์ใดที่คุณต้องการจำกัดระยะเวลาการเข้าถึง คุณสามารถตั้งค่าได้ตามบทความนี้ >>> ไฟล์หมดอายุเมื่อไหร่ หมดสิทธิ์เข้าถึงทันที! เพื่อตัดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้เลย...
โปรดทราบ! Google Meet มีคำบรรยายภาษาไทยแล้ว พร้อมอัปเดตการแปลเพิ่มอีก 4 ภาษา
เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เมื่อ Google Meet ประกาศอัปเตดเพิ่มเติมภาษาในส่วนของคำบรรยาย (Closed captions) และ การแปลภาษา (Translated captions) เพราะอัปเดตรอบนี้มีภาษาไทยด้วยนะ Closed Captions Update! มาเริ่มที่การอัปเดตภาษาของคำบรรยายหรือแคปชันกันก่อนเลย โดยล่าสุดมีเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 7 ภาษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 13 ภาษา ซึ่งหนึ่งในภาษาที่เพิ่มมานั้นคือภาษาไทยนั่นเอง! การเปิดใช้งานคำบรรยายสามารถช่วยให้การประชุมนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น ในกรณีที่ผู้พูดพูดเร็วเกินไป หรือการที่เราไม่สันทัดในการฟังภาษานั้นๆ อาจทำให้จับฟังคำไม่ทัน หรือกรณีที่ไม่สะดวกในการเปิดเสียงการประชุม เป็นต้น วิธีตั้งค่าคำบรรยายในการประชุม วิธีเปิด/ปิดคำบรรยาย ไปที่ Google Meet เข้าร่วมการประชุม เลือกเปิด/ปิดคำบรรยายที่แถบด้านล่าง วิธีเปลี่ยนภาษาคำบรรยาย คลิกที่ Menu > เลือก Setting > เลือก Captions เลือกภาษา เพิ่มเติม: ภาษาที่คุณเลือกจะเป็นค่าเริ่มต้นจนกว่าคุณจะเปลี่ยนแปลง ถึงแม้อัปเดตภาษาไทยของรอบนี้จะเป็น beta ทางทีมงานของเราได้ลองใช้งานเปิดฟีเจอร์คำบรรยายที่เป็นภาษาไทยดูแล้ว บอกได้เลยว่าการทำงานของฟีเจอร์นี้ค่อนข้างจับคำไทยได้ดีถึง 90% เลยทีเดียว และถึงแม้ว่าจะมีการพูดภาษาอังกฤษบ้างไทยบ้าง ฟีเจอร์นี้ก็จะเปลี่ยนเป็นคำบรรยายเป็นภาษานั้นๆให้เลยอัตโนมัติ Translate captions Update! ต่อมาเรามาดูการอัปเดตของการแปลภาษากันบ้าง นั่นก็คือ Google Meet ได้มีการเพิ่มเติมภาษาของการแปลขึ้นมา 4 ภาษา จากเดิมมี 7 ภาษา โดยสามารถแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาเหล่านั้นได้อัตโนมัติ วิธีตั้งค่าการแปลภาษาในการประชุม ไปที่ Google Meet เข้าการประชุม คลิกที่ Menu > เลือก Setting > เลือก Captions เปิด Translate captions เลือกภาษาคำบรรยายที่ Language of the Meeting เลือกว่าต้องการแปลเป็นภาษาใดที่ Translate to เพิ่มเติม: Translate captions นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่ใช้ Business...
Continue readingForrester ยก Google ขึ้นแท่นผู้นำด้าน Data Security Platform Q1 2023
Google Cloud เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ หลายองค์กรได้ปรับเปลี่ยนการทำงานมาอยู่รูปแบบออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ ดังนั้น Google จึงได้มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา ที่จะสามารถช่วยให้ข้อมูลถูกจัดเก็บและเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย ทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบและควบคุมส่วนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ….นี่แหละกลยุทธ์ที่สำคัญของ Google และด้วยระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยนี้เอง ทำให้ The Forrester Wave™ ยก Google Cloud ให้เป็นผู้นำด้าน Data Security Platforms Q1 2023 นวัตกรรมการรักษาความปลอดภัย คือ จุดแข็งของ Google ที่ไม่มีใครเทียบได้ Google นั้นให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของการเก็บข้อมูลออนไลน์เป็นอันดับหนึ่ง เริ่มจากการนำกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยมายกระดับธุรกิจเชิงพาณิชย์และองค์กรภาครัฐทุกแห่งสู่ Cloud-Native Security ที่ใช้การประมวลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน AI และ Machine Learning ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลฝั่งองค์กรและฝั่ง End users ได้รับการปกป้องอย่างครบถ้วน ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยี Data Loss Prevention (DLP) ของ Google ยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลได้แบบ Real-time ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ในบทวิจัยของ Forrester ได้กล่าวว่า “Google นั้นโดดเด่นในเรื่องของนวัตกรรมอย่างมาก ตัวอย่างเช่น AI และ Machine Learning, การพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร, การร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ (การประมวลผล, การควบคุม, และการจัดการบน Cloud service เป็นต้น)” ทุกการใช้งานมีความปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า infoType detectors – กลไกการตรวจจับข้อมูลอ่อนไหว ทำให้ Google สามารถเก็บรักษาข้อมูลความลับอันถือเป็นสินทรัพย์ขององค์กรได้ทั้งใน Google Chrome Enterprise และใน Google Workspace (Gmail & Drive) เช่น ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการวิเคราะห์ต่าง ๆ...
Continue readingแชร์วิธีการเชื่อมต่อกราฟใน Google Sheets, Docs, Slides เข้าด้วยกันแบบ Real-time
พอกันทีกับการที่ต้องคอยแก้ไขข้อมูลไปมา พอกันทีกับการสร้างกราฟใหม่อยู่ตลอด พอกันทีกับการที่ต้องคอย Screenshot หน้าจอแล้วไปวางในไฟล์อื่น วันนี้คุณจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลและใช้กราฟตัวเดียวกันจาก Google Sheets, Docs, Slides ได้เลยทันที ! ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนอีกต่อไป เพียงแค่เปลี่ยนจากการเลือกประเภทของกราฟ (Bar, Column, Line, Pie) เป็นการเลือกกราฟจาก Sheets แทน ….นี่คือขั้นตอนแบบรวบรัดนะ แต่สำหรับใครที่ต้องการเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าต้องไปที่ไหน ? ทำอย่างไร ? เราได้แบ่งขั้นตอนการแทรกกราฟไว้ ดังนี้ ขั้นตอนการนำกราฟจาก Google Sheets มาที่ Docs และ Slides คุณต้องสร้างข้อมูลและสร้างกราฟใน Google Sheets ให้เรียบร้อยเสียก่อน เปิด Google Docs หรือ Google Slides ไปที่ Insert (แทรก) > Chart เลือก From Sheets 4. เลือกไฟล์ Sheets ที่มีกราฟที่คุณต้องการ เพียงเท่านี้เป็นอันเรียบร้อย ! วิธีทำให้ข้อมูลในกราฟเชื่อมต่อกันแบบ Real-time เมื่อคุณเปลี่ยนข้อมูลในตารางใน Google Sheets จะเห็นว่ากราฟใน Sheets มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ แต่ใน Docs และ Slides ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้คุณทำตามนี้ เปิด Docs หรือ Slides แล้วไปที่ Chart บนหน้ากระดาษของคุณ จากนั้นให้คุณคลิก Update ที่มุมบนขวาของกราฟนั้น ๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำกราฟมาเชื่อมต่อกันได้แบบ Real-time แล้วง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะทำงานเอกสารหรืองานนำเสนอก็ไม่ต้องคอยนำเข้ากราฟทุกครั้งที่แก้ไขข้อมูลเหมือนที่เคยทำมา ลืมการทำงานแบบเดิม ๆ ไปได้เลย ! ติดตาม Demeter ICT...
Continue reading