ปัจจุบันวิกฤตการระบาด COVID-19 ส่งผลให้ทุกคนต้องปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้องค์กรและพนักงานมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมไปถึงการศึกษาเครื่องมือและแอปต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานที่บ้านมีความสะดวกเเละมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความนิยมในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันที่ช่วยในเรื่องของการประชุมออนไลน์ หรือแอปที่สามารถ Video Conference สื่อสารระหว่างกันได้แม้อยู่คนละที่ โดยแอปพลิเคชันการประชุมออนไลน์ที่ตอบโจทย์การทำงานเเบบ Work From Home มีให้เลือกมากมายหลากหลายแอปพลิเคชันด้วยกัน อีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่ทุกท่านคุ้นเคยเเละรู้จักกันดีอย่างแอปพลิเคชัน Google Meet ซึ่งตัวของแอปพลิเคชันได้ถูกออกเเบบมาให้มีความสะดวกและใช้งานง่ายในการทำงาน อีกทั้งยังมีฟังก์ชันที่สามารถครอบคลุมขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ในการประชุมออนไลน์ได้ครบถ้วนอีกด้วย ซึ่งตัวแอปพลิเคชัน Google Meet ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจเเละตอบโจทย์การทำงานเเบบ Work From Home เป็นอย่างมาก แอปพลิเคชันการประชุมออนไลน์ของ Google Meet เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการประชุมวิดีโอสำหรับองค์กร (Video Conference) ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานเป็นทีม โดยผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับทีมได้ทุกเวลา ในส่วนของการใช้งานกับ Google Meet ผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมประชุมทางวิดีโอ (Video Conference) ได้โดยตรงจากช่องทาง Calendar, Gmail หรือคำเชิญทางอีเมล อีกทั้งยังสามารถบอกรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ได้ทั้งหมดเพื่อป้องกันการสื่อสารที่อาจจะตกหล่นในข้อมูลต่าง ๆ ได้ ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการประชุม เช่น การตัดเสียงรบกวน คำบรรยายสด โหมดแสงน้อย อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่าง Polls Q&A และ Hand raising หรือการยกมือระหว่างการประชุมเพื่อให้ผู้ใช้งานในที่ประชุมได้มีส่วนร่วมในการโหวต หรือการถาม-ตอบ ที่จะทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของ Video Conference ของ Google Meet ฟังก์ชันในการใช้งานมีความสะดวกต่อการทำงานเป็นอย่างมาก เพียงแค่ผู้ใช้งานสร้างและแชร์ลิงก์กับเพื่อนร่วมงานของคุณก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้เเล้ว โดยการเข้าร่วมประชุมนั้นผู้ใช้งานสามารถคลิกลิงก์จากใน Calendar ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถคลิกลิงก์จากใน Gmail หรือ Meet ได้อีกด้วย ในด้านของความปลอดภัยในการใช้งานตัว Google Meet ได้ถูกออกแบบการป้องกันความปลอดภัยด้วยโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายมาตรฐานเดียวกันกับ Google ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถสร้างประสบการณ์ Video Conference กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละง่ายต่อการทำงาน พร้อมทั้งยังมีฟังก์ชันที่น่าสนใจอื่น...
Continue readingGoogle Workspace คืออะไร? พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่แบบจัดเต็มปี 2021
Google Workspace คืออะไร? พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ แบบจัดเต็มปี 2021 “Everything you need to get anything done, now in one place” (ทุกสิ่งที่คุณต้องการรวมไว้อยู่ในที่เดียว) สโลแกนใหม่ของ Google Workspace ซึ่งเกิดจากการรีแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ที่ทุกท่านรู้จักกันดีในชื่อ G Suite โดยการรีแบรนด์ในครั้งนี้นอกจากจะเปลี่ยนชื่อแบรนด์และโลโก้แล้ว ยังมีการเปลี่ยนชื่อและโลโก้ของแอปพลิเคชันหลักบางตัว โดยการออกเเบบและดีไซน์สะท้อนถึงการเชื่อมโยงกัน เป็นประโยชน์และยืดหยุ่นต่อการใช้งานในการทำงานร่วมกัน พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่แบบจัดเต็มโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอปพลิเคชันที่หลาย ๆ ท่านคุ้นเคยมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น Gmail, Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Meet และอื่น ๆ อีกมากมาย ในปัจจุบัน ปี 2021 องค์กรและภาคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นแบบ Online Working สูงขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ บริษัทมีการให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านหรือปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work from Home เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับธุรกิจในยุค New Normal ซึ่ง Google Workspace ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่สามารถตอบโจทย์สำหรับการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต (Next Normal) Google Workspace คืออะไร Google Workspace คือ เเพลตฟอร์มสำหรับการทำงานและการสื่อสารร่วมกันในองค์กรเเบบครบวงจร ซึ่ง Google Workspace ทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ 100% นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับระบบการรักษาความปลอดภัยระดับเดียวกับ Google ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเเละอุ่นใจตลอดการใช้งาน อีกทั้งยังสนับสนุนการบริการทางธุรกิจและสนับสนุนระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายในของบริษัทให้มีความสะดวกเเละมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการรวมแอปพลิเคชันยอดฮิตอย่าง Gmail, Meet, Google...
Continue readingGoogle Vault คืออะไร ป้องกันข้อมูลในองค์กรสูญหายได้ 100%
Google Vault คืออะไร Google Vault คือ ห้องนิรภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Google Workspace ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้งานบริการต่างๆ Google Workspace สำหรับองค์กรแล้ว Google vault มีประโยชน์ในการช่วยเก็บรักษา ค้นหา ส่งออก ข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละบัญชีในองค์กร เพื่อใช้ในการสำรองข้อมูลในกรณีที่ผู้ใช้งานมีการลบข้อมูลหรือมีการลาออกของพนักงาน เป็นต้น วิธีลงชื่อเข้าใช้งาน Google Vault วิธีที่ 1: เข้าผ่าน URL พิมพ์ URL : vault.google.com ป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน กดถัดไปเพื่อลงชื่อเข้าใช้งาน วิธีที่ 2: เข้าผ่าน Gmail ลงชื่อเข้าใช้งาน Gmail คลิกที่ 9 จุด (Google apps) เลือก Google Vault กฎการเก็บรักษาข้อมูล Google Vault จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อมีการตั้งกฎการเก็บรักษาข้อมูลแล้วเท่านั้น ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้โดยผู้ดูเเลระบบขั้นสูง (Super administrator) มิเช่นนั้น Google จะทำการลบทิ้งข้อมูลแบบถาวร ซึ่งกฎการเก็บรักษาข้อมูลของ Google Vault มี 2 ประเภท คือ 1. กฎการเก็บรักษาเริ่มต้น (Default Rules) เป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมดของบริการไว้สำหรับทุกบัญชีในองค์กรที่ได้รับอนุญาตในระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถเลือกระยะเวลาจัดเก็บได้ว่าต้องการเก็บรักษาแบบถาวร (Idefinitely) หรือเก็บรักษาแบบกำหนดระยะเวลา (Retention Period) 2. กฎการเก็บรักษาที่กำหนดเอง (Custom Rules) การเก็บข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่ต้องการในระยะเวลาที่กำหนด ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายขั้นตอนการตั้งกฎการเก็บรักษาเริ่มต้น (Default Rules) วิธีตั้งค่าการเก็บรักษาแบบถาวร (Indefinitely) ล็อคอินเข้าใช้ Google Vault เลือก Retention เลือกแถบ Default Rules คลิกที่สเตตัส Off...
Continue readingหาไฟล์ใน Google Drive ไม่เจอ ลองใช้ Advanced Search
Google Drive เป็นพื้นที่บน Cloud ที่เราเก็บข้อมูลไว้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูป ไฟล์วิดีโอ ซึ่งเมื่อเราเก็บในปริมาณที่มากขึ้น การหาไฟล์ก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่ตามมา วันนี้เรามีวิธีที่จะทำให้การหาไฟล์เป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย Advanced Search นั่นเอง วิธีค้นหาไฟล์ใน Google Drive ด้วย Advanced Search เปิด Google Drive ในช่อง Search คลิกไอคอนที่อยู่ทางด้านขวา (Search Option) 3. เมื่อคลิกเข้ามา จะพบกับหน้าต่าง Advanced Search โดยข้างในจะประกอบไปด้วย Type : ประเภทไฟล์เอกสารที่ต้องการจะค้นหา เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูป Owner : ค้นหาตามเจ้าของไฟล์ Anyone : จากทุกคน Owned by me : เจ้าของคือฉัน Not owned by me : ไฟล์ที่ฉันไม่ได้เป็นเจ้าของ Specific person : ระบุเจาะจง Location : ตำแหน่งของไฟล์ Date modified : ค้นหารายการที่ได้รับการแก้ไขก่อนหรือหลังวันที่ที่ระบุ โดยโหมด Custom สามารถระบุช่วงวันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น Item Name: ค้นหาจากชื่อไฟล์ ตัวอย่าง: title:Conference 2014 Has the words : ค้นหาเอกสารที่มีคําหรือวลีที่ตรงกัน Shared with: ค้นหาเอกสารซึ่งบัญชีที่ระบุมีสิทธิ์เข้าถึง รวมถึงไฟล์ที่บัญชีดังกล่าวเป็นเจ้าของ ตัวอย่าง: shared with : bob@gmail.com Followup : ค้นหาไฟล์ที่มีรายการการทํางานหรือคําแนะนําที่มอบหมายให้คุณ ตัวอย่าง: Followup :any มีการมอบหมายหรือแนะนำใด ๆ ก็ตามในเอกสาร...
Continue reading5 ฟีเจอร์เด็ดของ Google Keep ที่คนจดโน้ตไม่ควรพลาด
Google Keep เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google Workspace ที่มีไว้ช่วยจดโน้ตหรือบันทึกต่าง ๆ อย่างสะดวกสบาย พร้อมกับฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้คุณจดโน้ตได้ง่ายขึ้น รวดเร็วแบบโปร พร้อมทั้งแชร์ให้กับคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูทั้ง 5 ฟีเจอร์เด็ดของ Google Keep ที่คนจดโน้ตไม่ควรพลาด 1. # แฮชแท็ก แบ่งหมวดหมู่และจัดกลุ่มโน้ต ฟีเจอร์นี้จะทำให้โน้ตและบันทึกต่าง ๆ เป็นระเบียบ หาง่าย โดยการใส่แฮชแท็กในโน้ต เช่น #Work #Meeting ก็จะทำให้โน้ตของคุณถูกแบ่งไว้เป็นหมวด ๆ ตามที่ตั้งชื่อ เหมือนกับสร้าง Label ไว้ให้โน้ตนั่นเอง ซึ่งจะทำให้คุณหาโน้ตได้ง่ายขึ้นตามแฮชแท็กที่สร้างไว้ โดยค้นหาตามชื่อซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ 2. พิมพ์ไม่ทัน พูดเอาก็ได้ อีกหนึ่งฟีเจอร์เด็ดของ Google Keep คือ การถอดเสียงพูด โดยคุณสามารถพูดลงบนโน้ต และ Google Keep จะทำการพิมพ์ข้อความที่คุณพูดลงไปให้อัตโนมัติแบบเรียลไทม์ เรียกได้ว่า พูดปุ๊ป พิมพ์ลงให้ปั๊ป และเสียงที่พูดนั้นก็จะถูกบันทึกไว้ให้ในโน้ต ซึ่งสามารถเปิดฟังทีหลังได้อีกด้วย 3. พิมพ์แล้ว พูดแล้ว เขียนอีกก็ได้ ไม่ต้องไปอีกแอปเพื่อจดบันทึกโดยการเขียน ถ้าคุณไม่ถนัดพิมพ์ Google Keep สามารถให้คุณเขียนแทนการพิมพ์ได้ และยิ่งกว่านั้นคือเมื่อคุณเขียนเสร็จแล้ว สามารถถอดลายมือออกมาเป็นตัวหนังสือ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งพิมพ์อีกรอบ 4. แปลงลายมือหรือข้อความในภาพเป็นตัวอักษร Google Keep สามารถแปลงข้อความในภาพหรือลายมือที่เราเขียนไว้ในโน้ตออกมาเป็นตัวอักษรได้ โดยที่คุณไม่ต้องนำภาพหรือสิ่งที่เขียนเอาไว้มาพิมพ์ลงโน้ตอีกรอบ ฟีเจอร์นี้ก็สร้างความสะดวกสบายสุด ๆ เพียงแค่คลิกไอคอน สามจุด > Grab Image Text (จับข้อความจากรูปภาพ) เท่านี้ข้อความในภาพทั้งหมดก็จะถูกถอดออกมาเป็นตัวหนังสือ สามารถ Copy ไปวางที่อื่นได้อีกด้วย 5. โน้ตเสร็จแล้ว แชร์ให้เพื่อน ฟีเจอร์นี้คล้ายกับการแชร์เอกสารใน Google Docs ที่คุณสามารถแชร์ให้กับเพื่อนร่วมงานหรือใครก็ได้ เพียงแค่ใส่อีเมลของคนที่คุณต้องการจะแชร์เข้าไป เท่านี้ก็จะสามารถเข้ามาดู แก้ไข หรือทำงานร่วมกันในโน้ตที่คุณสร้างขึ้นได้...
Continue readingเพิ่มความปลอดภัยของบัญชี Google Workspace ด้วย 2 Step Verification
2 Step Verification คืออะไร ? 2 Step Verification คือ การยืนยันตัวตนในการลงชื่อเข้าใช้บัญชีอีเมลแบบ 2 ขั้นตอน โดยการใส่รหัสผ่านในขั้นตอนแรก หลังจากนั้นระบบจะมีการส่งรหัสไปยังโทรศัพท์มือถือที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ และนำรหัสนั้นมาใส่อีกครั้งเป็นขั้นตอนที่ 2 หากถูกต้อง เราจะสามารถเข้าใช้งานบัญชีอีเมลได้ ซึ่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มักจะใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการความปลอดภัยของบัญชี เพราะหากมีผู้ไม่หวังดีแอบรู้รหัสผ่านก็จะสามารถเข้าถึงบัญชีและข้อมูลทั้งหมดได้ทันที แต่หากเราเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ จะทำให้เรารู้ทันทีหากมีใครพยายามแอบเข้าบัญชีอีเมลของเรา นั่นเป็นที่มาของคำว่า “2 Step Verification หรือ การยืนยัน 2 ขั้นตอน” แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปิดใช้ เนื่องจากมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องนำรหัสที่ได้รับมาพิมพ์เองอีกครั้ง คล้ายกับเวลาเราได้รับ OTP จากธนาคารนั่นเอง โดยทาง Google ได้เล็งเห็นปัญหานี้ จึงออกแบบระบบมาใหม่เพื่อที่จะทำให้บัญชีของเราได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย และยังใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ออกแบบการใช้งานใหม่ ปลอดภัยยิ่งขึ้น หากเราเปิดใช้งาน การยืนยันบัญชีแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Verification) จากเดิมเราต้องใส่รหัสผ่านขั้นที่ 1 และใส่รหัสที่ได้รับทางโทรศัพท์มือถือ เป็นขั้นตอนที่ 2 บางคนอาจจะมองว่ายุ่งยากเกินไป โดยทาง Google ได้มีการปรับปรุงการใช้งานให้มีความง่ายขึ้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ใส่รหัสผ่าน และจะได้รับการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ที่ทำการลงทะเบียนไว้ ขั้นตอนที่ 2 เลือกคำตอบตามหน้าจอที่ได้มีการถามให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถเข้าบัญชีอีเมลของเราได้ ซึ่งจะสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะกดเพียงไม่กี่ปุ่ม แทนการนำรหัสหลายๆ ตัวมาใส่ และที่สำคัญไปกว่านั้นบัญชีของท่านก็ยังปลอดภัยขึ้นอีกระดับ ซึ่งผู้ที่ผูกบัญชีอีเมลกับธนาคารหรือรับส่งอีเมลที่มีข้อมูลเยอะไม่ควรพลาด และไม่ควรมองข้าม ดูเพิ่มเติม ได้ที่ เปิดใช้งานการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจและราคา Google Workspace 02 030...
Continue readingพื้นที่เก็บข้อมูลใน Google Workspace เต็ม ทำอย่างไรดี?
จากที่ Google ประกาศเปลี่ยนนโยบายการคิดพื้นที่แบบใหม่ ทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 เป็นต้นไป ไฟล์งานเอกสารที่สร้างจาก Google Drive เช่น Docs, Sheets, Slides, Forms,, Jamboard และ Drawings จะถูกคิดพื้นที่ตามการใช้งานจริงทันที อ่านรายละเอียดการบริการของ Google ที่มีการคิดพื้นที่เก็บข้อมูล และวิธีการตรวจสอบดูว่าบัญชีของท่านใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไปเท่าไหร่ได้ที่บทความนี้ Google ประกาศคิดพื้นที่เก็บข้อมูล เตรียมตัวอย่างไรดี? ซึ่งถ้าหากท่านเป็นผู้ใช้งาน Google Drive และพื้นที่ในไดรฟ์เกิดเต็มขึ้นมา ท่านสามารถแก้ปัญหาได้โดยการซื้อพื้นที่เพิ่ม ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซื้อพื้นที่ แต่ถ้าหากท่านใดไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และคิดว่าลักษณะการใช้งานของท่านไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากนัก Demeter ICT ก็มีวิธีการจัดการไฟล์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน และให้ท่านสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนี้ 1. ลบอีเมลที่มีขนาดใหญ่บน Gmail เพื่อให้ได้พื้นที่กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ในช่องค้นหาให้พิมพ์ has:attachment larger:10M ซึ่งหมายความว่าเราจะหาอีเมลฉบับที่มีขนาดตั้งแต่ 10MB ขึ้นไป โดยหากท่านต้องการค้นหาไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ ก็สามารถเพิ่มตัวเลขได้เลยตามต้องการ คลิกที่ไอคอนรูปแว่นขยายเพื่อค้นหาไฟล์ เลือกอีเมลที่ไม่ต้องการแล้วคลิกไอคอนรูปถังขยะเพื่อลบ จากนั้นที่เมนูด้านซ้ายให้คลิกที่เมนู ‘ถังขยะ หรือ Trash’ คลิก ‘ลบไฟล์ออกจากถังขยะอย่างถาวร หรือ Empty Trash now’ เพื่อลบข้อมูลออกจากถังขยะอย่างถาวร หมายเหตุ: ในกรณีที่ท่านเพียงแค่ย้ายไฟล์มาที่ถังขยะแต่ไม่ได้เลือกลบไฟล์ออกจากถังขยะอย่างถาวร หรือ Empty Trash now ไฟล์ทั้งหมดจะถูกลบอย่างถาวรโดยอัตโนมัติเมื่อครบ 60 วัน ท่านถึงจะได้พื้นที่คืนกลับมา 2. ลบไฟล์ขนาดใหญ่ใน Google Drive ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ใช้คอมพิวเตอร์เปิดเว็บเบราว์เซอร์จากนั้นคัดลอกลิงก์นี้ไปวาง https://drive.google.com/drive/u/0/quota เพื่อดูรายชื่อไฟล์ที่ใช้พื้นที่เรียงตามขนาดจากไฟล์ใหญ่ไปเล็ก 2. ย้ายไฟล์ที่ไม่ต้องการหรือไม่ได้ใช้งานแล้วลงถังขยะ จากนั้นคลิก ‘ลบไฟล์ออกจากถังขยะอย่างถาวร หรือ Empty Trash now’ เพื่อลบข้อมูลออกจากถังขยะอย่างถาวร เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้พื้นที่ว่างใน Google Drive กลับมาภายใน 24 ชั่วโมง หมายเหตุ:...
Continue readingผู้ดูแลระบบไม่ควรพลาด! วิธีตรวจสอบพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย Admin Console
จากที่ทาง Google ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเริ่มคิดพื้นที่การใช้งานตามจริงของ Google Photos, Docs, Sheets, Slides, Forms, Drawings และ Jamboard ซึ่งหากท่านใดเป็นผู้ดูแลระบบหรือ Admin ไม่ควรพลาด! วิธีตรวจสอบพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย Admin Console อ่านรายละเอียดประกาศเปลี่ยนนโยบายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เตรียมตัวให้พร้อม Google ประกาศเปลี่ยนนโยบายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (New Google Storage Policies) อ่านรายละเอียดการบริการของ Google ที่มีการคิดพื้นที่เก็บข้อมูล และวิธีการตรวจสอบดูว่าบัญชีของท่านใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไปเท่าไหร่ได้ที่บทความนี้ Google ประกาศคิดพื้นที่เก็บข้อมูล เตรียมตัวอย่างไรดี? กรณีที่พื้นที่เก็บข้อมูลของท่านเต็ม จะส่งผลกระทบดังนี้ ไม่สามารถอัปโหลดไฟล์เพิ่ม หรือสร้างไฟล์ใหม่ บน Google Drive ได้ ไม่สามารถสำรองรูปภาพและวิดีโอไปยัง Google Photos ส่งผลกระทบต่อการรับอีเมลใน Gmail ของท่าน สำหรับผู้ดูแลระบบอีเมล Google Workspace (เดิมชื่อ G Suite) ของบริษัทหรือองค์กร สามารถตรวจสอบการใช้งานพื้นที่ของข้อมูลดังกล่าวที่มีการคิดพื้นที่ให้กับพนักงานหรือผู้ใช้งาน Google Workspace ทั้งหมด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้งานได้ ดังนี้ วิธีตรวจสอบการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลของพนักงานในองค์กรด้วย Admin Console เข้าสู่ระบบ Admin Console ของผู้ดูแลระบบที่ admin.google.com จากหน้าแรกของ Admin Console ให้ไปที่ รายงาน > รายงานของผู้ใช้ > การใช้แอป บริการที่มีการคิดพื้นที่ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ Gmail, Google Drive และ Google Photos 4. สามารถเพิ่มตัวกรอง > พื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ ใส่จำนวนโควต้าพื้นที่เก็บข้อมูล เช่น 30720 MB (30...
Continue reading3 วิธี จัดการไฟล์ใน Google Drive ให้หาเจอง่าย ทำตามได้ไม่ยุ่งยาก
ในเรื่องของข้อมูลมีความจำเป็นอย่างมาก ๆ ต่อการใช้งานในเเต่ละองค์กร ซึ่งกรณีนี้ขอยกตัวอย่างการใช้พื้นที่การใช้งานบน Google Drive ซึ่งข้อมูลของเเต่ละองค์กรประกอบไปด้วยไฟล์เอกสาร โฟลเดอร์ ที่อาจจะเป็นข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาลต่อองค์กรของท่าน รวมไปถึงอาจจะเป็นข้อมูลทางการเงินที่จะต้องมีการรักษาความลับต่อองค์กรหรือข้อมูลของลูกค้าที่ห้ามสูญหายและห้ามเปิดเผย สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ 3 วิธีจัดการพื้นที่บนผลิตภัณฑ์ Google Drive ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อปริมาณข้อมูลที่พนักงานในองค์กรมีการใช้งานจริง เพื่อเป็นการรอรับมือกับการอัปเดตในเรื่องของการคิดพื้นที่ของการใช้งาน Google Drive ที่จะมีการคิดพื้นที่เพิ่มขึ้นมาในอนาคต ซึ่ง 3 วิธีจัดการพื้นที่บนผลิตภัณฑ์ Google Drive สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนด้านล่างกันได้เลย วิธีการที่ 1 วิธีการสร้าง Shared drives เพื่อจัดการข้อมูลใน Folder เปิด Google Drive หรือพิมพ์URL: https://drive.google.com ให้คลิกที่รายการ Shared drives ทางด้านซ้าย คลิก NEW ที่ด้านบน ป้อนชื่อแล้วคลิก CREATE เพื่อสร้าง Shared drives หมายเหตุ: หลังจากที่ได้มีการสร้าง Shared drive เรียบร้อยเเล้วหากต้องการเพิ่มสมาชิกเเละการตั้งค่าระดับการเข้าถึง วิธีสร้างโฟลเดอร์ หลังจากที่เราได้มีการสร้าง Shared drives เเละได้มีการเพิ่มสมาชิกเรียบร้อยเเล้ว ลำดับถัดไปจะเป็นการเเสดงขั้นตอนการสร้างโฟลเดอร์ เพื่อที่สามารถจัดการประเภท หมวดหมู่ ในเเต่ละหมวดงานที่เกี่ยวข้องมาจัดเเสดงในโฟลเดอร์เดียวกัน โดยขั้นตอนการสร้างโฟลเดอร์สามารถดำเนินการได้จากขั้นตอนด้านล่าง ที่ด้านซ้าย ให้คลิกไดรฟ์ที่แชร์หรือโฟลเดอร์ที่มีอยู่ คลิก NEW > Folder เพื่อสร้างโฟร์เดอร์ ป้อนชื่อโฟลเดอร์แล้วคลิก CREATE วิธีการที่ 2 วิธีการสร้างใส่ Description เพื่อดู Activity เพื่อการค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น หลังจากที่ได้สร้างโฟลเดอร์หรือไฟล์เอกสารไว้ในไดรฟ์เเล้ว ลำดับถัดไปจะอธิบายการดูรายละเอียดเเละกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงในรายการไฟล์ที่ถูกสร้างหรืออัปโหลดไปยังไดรฟ์ โดยวิธีการดูกิจกรรมของไดรฟ์และรายละเอียดไฟล์ ให้เลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้วคลิกข้อมูลทีในแท็บรายละเอียด โดย 1. ให้คลิก View Details รายละเอียดเพื่อดูข้อมูลและการเปลี่ยนแปลง เช่น ประเภทไฟล์และเจ้าของ ขนาดโฟลเดอร์และจำนวนรายการ บุคคลที่แก้ไข สร้าง หรือเปิดรายการครั้งล่าสุด 2. คลิกแก้ไข...
Continue reading