Zendesk สำหรับทีม HR

Zendesk คือ ซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการกับคำขอของลูกค้าจากหลากหลายช่องทาง (Multi-channel) ในขณะเดียวกัน Zendesk ยังสามารถทำหน้าที่เป็นช่องทางในการบริการตนเอง (Self-service) ให้แก่พนักงานในองค์กรรวมถึงทีม HR ให้สามารถปรับปรุงการดำเนินงานและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทที่พนักงานสามารถมีส่วนร่วมซึ่งกันและกันจะส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 4% ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย ลดการหมุนเวียนพนักงานถึง 90% และเพิ่มความภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์หรือองค์กรเป็นสองเท่า พนักงานสามารถบริการด้วยตนเองได้ การทำงานร่วมกันช่วยสร้างพลังให้แก่พนักงาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ช่องทางในการบริการตนเองของพนักงานกลายเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากรบุคคลที่ดียิ่งขึ้น และศูนย์ช่วยเหลือหรือ Help Center ของ Zendesk ช่วยให้พนักงานในองค์การสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น รายละเอียดเกี่ยวกับประกันสุขภาพ ผลประโยชน์ นโยบายของบริษัท และอื่นๆตามแต่ทางบริษัทจะใส่ข้อมูลเพื่อให้พนักงานสามารถค้นคว้าด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เนื่องจากซอฟต์แวร์ของ Zendesk สามารถฝังวิดเจ็ตไว้บน มือถือ แชท และบนเว็บไซต์ภายในขององค์กรได้ โดยในส่วนของพนักงาน วิดเจ็ตจะแสดงลิงก์ไปยังบทความในศูนย์ช่วยเหลือที่มีความเกี่ยวข้องกับการค้นหา เพื่อลดปัญหาการตอบคำถามที่พบบ่อยซ้ำๆ สะดวกและใช้งานง่าย แอปพลิเคชัน answer suggestion ของ Zendesk จะช่วยหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจาก Help center มาช่วยเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามพนักงาน ทำให้ทีม HR สามารถดูข้อมูลพนักงานได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรวันหยุดหรือผลประโยชน์ต่างๆ จากการผสานรวมกับระบบการจัดการทรัพยากรบุคคล ที่เป็นที่นิยมอย่าง Workday หรือแอพทรัพยากรบุคคลอื่นๆ จาก Zendesk app marketplace เพื่อระบบ ticket ที่ดียิ่งขึ้น แสดงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพของ Zendesk จะช่วยแสดงภาพการทำงานของคุณเพื่อค้นหาจุดอ่อนของทีม และการปรับปรุงกระบวนการโดยการติดตามการทำงานของทีม HR และการแก้ปัญหาผ่านช่องทางการสนับสนุนต่างๆ นอกจากนี้คุณยังสามารถวัดความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อทีม HR จากผลสำรวจความพึงพอใจของพนักงานที่จะปรากฎขึ่้น อัตโนมัติภายหลังการรับบริการได้อีกด้วย Zendesk ไม่เพียงแต่เป็นซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารประสบการณ์ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและ การทำงานร่วมกันภายในองค์ หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://goo.gl/ZvW8g4 ที่มา: Zendesk ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand...

Continue reading

โต้ตอบกับลูกค้าของคุณได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยแอปพลิเคชัน Zendesk Chat

Zendesk Chat คือ ไลฟ์แชทซอฟต์แวร์ที่องค์กรใหญ่ๆ ไปจนถึงธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลกชื่นชอบและให้ความไว้วางใจ โดยทางบริษัท Zendesk ได้สร้างแอปพลิเคชันของ Zendesk Chat ขึ้นมา เพื่อยกระดับความสามารถในการแชทให้เพิ่มขึ้นผ่านระบบ iOS และ Android โดยนำเอาฟังก์ชันเจ๋งๆที่มีอยู่บนแดชบอร์ดของ Zendesk Chat มารวมเอาไว้ ทำให้รู้สึกไม่แตกต่างจากการใช้งานผ่านเว็บไซต์มากนัก โดยจากการวิจัยพบว่า ลูกค้ามีโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อได้รับการบริการผ่านการแชท เนื่องจากการแชทเป็นวิธีการที่สะดวกรวดเร็วและเป็นส่วนตัว ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลารอและเสียอารมณ์ นอกจากนี้การทำให้ลูกค้ารอนานๆ มีโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าหนีไปเลือกรับบริการหรือซื้อสินค้าจากรายอื่นที่ตอบเร็วกว่า ขณะนี้มีผู้ใช้งานกว่า 200,000 เว็บไซต์ที่ใช้ Zendesk Chat เพื่อสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านทางไลฟ์แชทแอปพลิเคชัน เข้าถึงลูกค้าของคุณ ในแบบเรียลไทม์ จัดการกับการสนทนา ของคุณได้ทุกที่ ใช้คีย์ลัดเพื่อ ตอบคำถามทั่วไป รู้ว่าคุณกำลังคุยอยู่กับใคร ประโยชน์ของการใช้ไลฟ์แชทแอปพลิเคชัน จัดการ ตรวจสอบ และตอบกลับการสนทนาของลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้นด้วยความสามารถในการดูหน้าเว็บไซต์ล่าสุดที่ลูกค้าเข้าชมและประวัติการแชทของ ผู้เข้าชมในอดีตได้ สามารถดูว่าใครออนไลน์บนเว็บไซต์ของคุณในแบบเรียลไทม์ เพื่อโอกาสทางการขายใหม่ๆบนเว็บไซต์ของคุณ คุณจะไม่พลาดทุกข้อความแชทจากทั้งลูกค้าและผู้ที่เข้าชมบนเว็บไซต์ของคุณด้วยการแจ้งเตือนแบบเต็มรูปแบบ ให้การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการแชทระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกันเองได้ ปรับปรุงเวลาในการตอบสนองลูกค้าและลดเวลาในการพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ด้วยคุณสมบัติทางลัดหรือรูปแบบข้อความที่สร้างไว้ล่วงหน้า สลับระหว่างแดชบอร์ดเว็บออนไลน์และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดายในขณะที่ยังคงบทสนทนาจากที่ที่คุณ ได้หยุดไว้ สามารถสนทนาต่อกับลูกค้าในขณะที่ใช้แอปพลิเคชันอื่นพร้อมการสนับสนุนแบบ multi-tasking ด้วย Slide Over และ Split View (บน iPad) เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zendesk Chat และทดลองใช้ฟรีที่นี่: https://goo.gl/kcH9EP ที่มา: Zendesk สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371 092-262-6390 095-804-5482 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...

ธุรกิจการผลิตลื่นไหลเมื่อใช้ G Suite

G Suite เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสร้างผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าของคุณรัก กระบวนการผลิตราบรื่น เชื่อมต่อกับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย และควบคุมทุกกระบวนการทำงานแบบออนไลน์ สร้างผลิตภัณฑ์สู่ชีวิตจริงให้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ • ทำงานร่วมกัน และแชร์ผลวิจัยผลิตภัณฑ์ ดีไซน์ ผลการตอบรับ และแบบจำลองผ่านทาง Google Drive • จัดการกิจกรรมต่างๆ ของทีม หรือสิ่งที่ต้องทำด้วย Google Sheets หรือปฏิทินของทีมใน Google Calendar • ประชุมผ่านวิดีโอด้วย Google Hangouts ระหว่างผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย เพื่อการสื่อสารที่ดียิ่งขึ้นและลดกระบวนการที่ยุ่งยาก ควบคุมการทำงานแบบออนไลน์ ไม่ว่าจากอุปกรณ์ใดก็ตาม • ทำธุรกิจอย่างลื่นไหลมากขึ้นด้วยการย้ายกระบวนการต่างๆ ให้เป็นออนไลน์ • ใช้ Google Forms ในการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ในเวลาเพียงไม่กี่นาที สำหรับสั่งซื้อ ฝึกอบรม หรืออื่นๆ • เข้าไปอัปเดตแบบฟอร์มได้อย่างง่ายดายจากโต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ จัดการรายการสิ่งที่ต้องทำสำหรับพนักงาน และตารางเวลาแบบออนไลน์ • ใช้ Google Sites ร่วมกับ Google Sheets และ Google Calendar ในการสร้างตารางเวลาแบบออนไลน์สำหรับพนักงาน • วางแผนและกำหนดรายการที่ต้องทำ ติดตามผล และข้อยกเว้นต่างๆ ได้ภายในที่เดียว • สมากชิกในทีมสามารถเข้าถึงตารางเวลา และเพิ่มความคิดเห็น หรือปรับเปลี่ยนสถานะได้โดยตรงจากเว็บเบราว์เซอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371092-262-6390 (support)095-896-5507 (sale)support@dmit.co.thOfficial LINE: @dmit...

จัดโครงสร้างทีมงานสนับสนุนการบริการ (Customer Support) แบบไหนถึงโดนใจลูกค้า

หลายท่านมักจะมีคำถามว่าทีมสนับสนุนการทำงานลูกค้า (customer support) ที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีรูปแบบการทำงานอย่างไร แล้วเราจะบริหารจัดการอย่างไรให้ลูกค้าได้รับบริการดีที่สุดและได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมในการรับบริการ แล้วทีมงานเราต้องมีทักษะอะไรที่จะเข้าใจและให้บริการลูกค้าอย่างประทับใจ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องยากจริงๆ ครับ แต่อันที่จริงแล้ว เรื่องราวไม่ได้ยากขนาดนั้น ขอให้เราเข้าใจในการใช้เครื่องมือและรูปแบบในการทำงานของทีมงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างสูงสุด กำหนดหน้าที่ ทีมงาน และลำดับชั้นในการให้บริการ แน่นอนครับว่าทีมงานที่ดีต้องเริ่มจากหลักการที่ถูกต้องก่อน เพราะถ้ากระดุมเม็ดแรกกลัดผิดที่เหลือก็แทบไม่ต้องพูดถึงกันแล้ว ซึ่งอย่างแรกของแรกก็คือจะต้องตอบคำถามตัวเองก่อนว่าบริษัทเราต้องให้บริการลูกค้าในเรื่องอะไรบ้างเป็นหลัก เช่น ถ้าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ แน่นอนครับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะถามปัญหาด้านเทคนิค และปัญหาการใช้งาน ถ้าเราเป็นบริษัทค้าปลีกก็ต้องตอบให้ได้ว่าปัญหาไหนคือปัญหาที่ลูกค้าถามไถ่เข้ามามากอันดับต้นๆ จุดเริ่มต้นนี้จะทำให้เรากำหนดหน้าที่ การทำงาน และทีมงานที่ตอบสนองการให้บริการลูกค้าได้อย่างตรงจุด  ตัวอย่างบริษัทผู้ให้บริการระบบ Multi-Channel Customer Service ระดับโลกอย่าง Zendesk ที่ให้บริการลูกค้าและพาร์ทเนอร์ให้กับองค์กรใหญ่ๆ ทั่วโลกก็ได้แบ่งการทำงานเป็น 3 ระดับ (Tiers) ตามความซับซ้อนของการให้บริการ ดังนี้ (ท่านผู้อ่านอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ก็ได้ครับ) ระดับที่ 1 (Tier 1) ตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ระดับที่ 2 (Tier 2) ตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้งานและปัญหาทางเทคนิค  ระดับที่ 3 (Tier 3) ตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิคเชิงลึก และปัญหาที่ซับซ้อน การแบ่งระดับการตอบคำถามของทีมงานจะช่วยให้ทีมสนับสนุน (Agents) สามารถตอบคำถามภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างแม่นยำ ไม่ต้องบอกให้ลูกค้ารอแล้วขอไปถามคนที่รู้เรื่อง (ซึ่งเรามักจะเจอในหลายแห่ง เวลาโทรศัพท์ไปสอบถามคำถาม) ซึ่งการตอบคำถามในเรื่องที่ตนเองชำนาญจะช่วยให้ทีมงานยิ่งเกิดความมั่นใจและต่อยอดไปยังเรื่องอื่นๆ ได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ยังไม่มีสูตรสำเร็จว่าจัดทีมงานอย่างไรให้การสนับสนุนการให้บริการเป็นไปอย่างดีเยี่ยม แต่หลักๆ เราก็อาจจะเริ่มทีละนิดทีละหน่อยตามขนาดของจำนวนการติดต่อเข้ามาของลูกค้าก็ได้ครับ เช่น  กำหนดเวลาว่าเมื่อไหร่เราจะมีโครงสร้างทีมงาน Customer Support กำหนดว่าเมื่อไหร่จะแบ่งการให้บริการเป็นลำดับขั้น (Tier) กำหนดว่าเมื่อไหร่จะแบ่งปัญหาเป็นทีมงานเฉพาะแต่ละเรื่อง กำหนดว่าเมื่อไหร่จะมีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า การสนับสนุนเสริมทัพให้ทีมสนับสนุนการให้บริการ หลังจากที่เราได้มีโครงสร้างทีมงานแล้ว เราก็ต้องมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้ทีมงานของเราเองทำงานอย่างมีความสุขและมีประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน (คงไม่มีใครอยากโดนลูกค้าบ่นและพูดจาแรงๆ ทุกวันใช่มั๊ยครับ) ซึ่งการให้บริการลูกค้าที่ดีต้องเริ่มที่เราต้องทำให้ทีมงานของเรามีความสุขและมีประสบการณ์ที่ดีในการทำงานก่อน ทักษะที่สำคัญ 5 ประการในการให้บริการลูกค้า ทักษะ 5 ประการที่หัวหน้าทีม customer support ต้องกำหนดในการรับสมัครทีมงานมาทำงานด้าน customer support เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี มีดังต่อไปนี้ เข้าใจในความเดือดร้อนหรือข้อสงสัยของลูกค้า ชำนาญในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เพราะบางครั้งต้องใช้ทักษะในการหาคำตอบจากที่ต่างๆ มีทักษะในการสื่อสารที่ดี ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายๆ ชอบพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นทุกวัน สมรรถนะหลัก 6...

Continue reading

กูเกิ้ลนำพลังของ AMP ใส่ลงใน Gmail

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางกูเกิ้ลได้พัฒนาหน้าเพจบนโทรศัพท์มือถือให้โหลดข้อมูลเร็วขึ้นผ่านรูปแบบ open-source framework หรือเรียกว่า AMP (Accelerated Mobile Pages) ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเว็บเพจที่มีคุณภาพ และเป็นโอกาสที่ดีที่ทางกูเกิ้ลจะเพิ่มความทันสมัยให้กับ “หน้าอีเมล” แล้ว AMP คืออะไร? AMP ย่อมาจาก Accelerated Mobile Pages และเป็นวิธีที่ใช้สร้างหน้าเว็บที่ใช้ทรัพยากรน้อยและโหลดได้รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์เคลื่อนที่นั่นเอง วันนี้ทางกูเกิ้ลนำคุณสมบัติของ AMP มาใส่ใน Gmail ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์ และมีประสบการณ์ร่วมกับการใช้อีเมลมากยิ่งขึ้น บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Pinterest, Booking.com ก็กำลังพัฒนาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ด้วย AMP บนอีเมลเช่นเดียวกัน ที่มา – Google Blog บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371092-262-6390 (support)095-896-5507 (sale)support@dmit.co.thOfficial LINE: @dmit...

CEM การตลาดเชิงประสบการณ์: กลยุทธ์สู่การตลาดยุคใหม่

  Demeter ICT จับมือกับ Zendesk ร่วมจัดงานสัมมนา CEM การตลาดเชิงประสบการณ์: กลยุทธ์สู่การตลาดยุคใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างแบรนด์จากการบริหารประสบการณ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า โดย คุณอนุชิต ขำน้อย (Head of Customer Service and Community, LINE Mobile, Thailand) คุณญาณ์นิศา อังศุวัฒนานนท์ (Country Sales Manager, Zendesk Inc) คุณชนัส สาทรกิจ (Manager, Cloud Service Department, บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด) วันที่ 21 มีนาคม 2561 เวลา 13:00น. – 17:00น. อาคาร KX (สถานี BTS วงเวียนใหญ่)                   ในยุคที่สินค้าแทบจะไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบ คุณสมบัติ และคุณภาพ บวกกับการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การครองใจลูกค้าไว้ให้นานที่สุดโดยการสร้างประสบการณ์ร่วมที่ดีตลอดการให้บริการแก่ลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่างให้ความสนใจ แนวคิด “การบริหารประสบการณ์ลูกค้า” หรือ CEM (Customer Experience Management) เป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์เชิงบวกอย่างสม่ำเสมอในทุกครั้งที่สื่อสารกับลูกค้า เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าตอบโจทย์กับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าที่สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าในปัจจุบัน งานสัมมนาครั้งนี้คือโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ในการบริหารประสบการณ์ลูกค้ากับ Head of Customer Service and Community จาก LINE Mobile ประเทศไทย รวมถึงการนำเครื่องมือ Multi-Channel Customer Services มาใช้ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า พร้อมฟังกรณีศึกษาจากผู้ให้บริการระบบ Multi-Channel Customer Services อันดับหนึ่งของโลก...

Continue reading

ระบบ Ticket คืออะไร?

การเข้าถึงที่แตกต่างกัน จำนวนช่องทางการสื่อสารที่ถูกสร้างขึ้นในปัจจุบันเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันกลับเป็นเรื่องยากที่จะรองรับลูกค้าผ่านการบริการที่สอดคล้องกัน หลายๆบริษัทอนุญาตให้ลูกค้าส่งคำร้องขอผ่านทางแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ ซึ่งมักบังคับให้ลูกค้ากรอกข้อมูลต่างๆที่จำเป็น เช่น หมายเลขบัญชี หรือ อีเมล ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่จะได้รับข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการให้บริการ แต่ก็ไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าเสมอไป ลูกค้าบางคนชอบติดต่อด้วยโทรศัพท์เพราะมีความรวดเร็ว บางคนชอบส่งข้อความสั้นๆอย่างการทวีต ทำให้ธุรกิจในปัจจุบันถูกบังคับให้ต้องมีการรองรับลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางที่หลากหลาย ซึ่งบางช่องทางอาจขาดข้อมูลของลูกค้าที่จำเป็น นอกจากนี้ด้วยรูปแบบช่องทางที่แตกต่างกัน ทำให้การประสานงานเป็นไปได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าอาจจะส่งเรื่องร้องเรียนบริษัทไปทางอีเมลก่อน จากนั้นมีการทวีตข้อความร้องเรียนอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องจากคนละช่องทางการร้องเรียนอาจไม่ได้รับทราบมาก่อนว่าลูกค้าได้แจ้งเรื่องเข้ามาก่อนแล้ว และข้อมูลดังกล่าวของลูกค้าจะไม่ได้ถูกบันทึกไว้เพื่อใช้อ้างอิงในครั้งต่อๆไป ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลในการอ้างอิงถึงปัญหาในการให้บริการกับลูกค้ารายเดิม ฉะนั้นระบบ Ticket จึงถูกคิดค้นมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทผ่านช่องทางที่ต้องการได้ และยังมั่นใจว่าทางเจ้าหน้าที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของลูกค้าจากการบันทึกเข้าภายในระบบที่มีการจัดระเบียบขั้นสูง ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเรียนรู้และปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป ระบบ Ticket คืออะไร?Ticket System หรือ ระบบ Ticket คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยรวบรวมคำร้องขอของลูกค้าทั้งหมดที่มาจากหลากหลายช่องทางนำมาจัดเก็บไว้ในที่เดียว พูดง่ายๆก็คือ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อคุณเข้ามาทาง Live Chat, E-mail, Facebook, Messenger, Line@หรือ Twitter ก็ตาม ข้อความเหล่านั้นจะถูกส่งเข้ามาและถูกเก็บเป็น Ticket ไว้ในระบบหรือหน้าแพลตฟอร์มนั่นเอง รู้หรือไม่?ระบบการจัดการ Ticket หรือ Ticket management ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างง่ายดายในแพลตฟอร์มเดียว ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าในแต่ละครั้งได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และในกรณีที่ลูกค้ารายเดิมกลับมาอีกครั้ง เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของลูกค้ารายนั้นโดยอัตโนมัติ รวมถึงข้อมูลของการติดต่อครั้งสุดท้าย ว่าลูกค้ารายนั้นมีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่แก้ปัญหาให้อย่างไร และเจ้าหน้าที่คนก่อนหน้าสื่อสารอะไรไปกับลูกค้าท่านนี้บ้าง นอกจากนี้ระบบการจัดการ Ticket ยังช่วยรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงทีมเจ้าหน้าที่ เมื่อมีปัญหาที่ลูกค้าหลายรายได้รับบ่อยๆ เจ้าหน้าที่สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวและดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่มีระบบการจัดการ Ticket คำร้องขอของลูกค้าผ่านช่องทางที่บริษัทไม่มีการติดตามจะถูกปล่อยทิ้งไปและไม่มีใครสังเกตเห็น ยากต่อการติดตามลูกค้าและดูไม่เป็นมืออาชีพ เนื่องจากไม่มีระบบที่มีประสิทธิภาพในการติดตามข้อมูลของลูกค้า เมื่อลูกค้ารายเดิมติดต่อเข้ามา ในมุมมองของบริษัทจะเป็นการติดต่อครั้งแรกกับลูกค้ารายเดิมเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ยุ่งยากเมื่อต้องรับมือกับลูกค้าที่เข้ามาหลากหลายช่องทาง เป็นเหตุให้อาจมี Ticket ที่สูญหายหรือถูกละเลย ยากต่อการจัดการกับ Ticket ที่เข้ามา เมื่อไม่มีการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับ Ticket ที่ชัดเจน ต้องคอยเปิดทุกหน้าต่างของช่องทางการติดต่อลูกค้า เช่น E-mail, Facebook, Messenger, Line@ หรือ Twitter อยู่ตลอดเวลา แทบจะติดตามไม่ได้เลยเมื่อมีข้อผิดพลาด ที่มา: Zendesk...

Continue reading

ประมวลผลงานที่โดดเด่นของ G Suite ในปี 2017 ที่ผ่านมา

เราลองมาดูภาพรวมกันว่า เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา มีอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับ G Suite บ้าง   1. ระบบ AI แสนอัจฉริยะจาก Google ทางกูเกิ้ลได้รวมระบบ AI ใส่ลงใน G Suite ให้คุณสามารถบรรลุผลได้มากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง ด้วยระบบอัจฉริยะ (Machine Learing) อย่างเช่น ใน Google Sheets ช่วยคุณสร้างภาพแผนภูมิ ตาราง จากการระบุประโยคคำถาม คุณจะได้คำตอบสำเร็จรูปที่คุณต้องการได้ในทันที 2. ช่วยปกป้องข้อมูลทางธุรกิจของคุณ การป้องกันข้อมูลสำคัญทางธุรกิจเป็นสิ่งท้าทายที่ทุกบริษัทต้องเผชิญ แต่ Gmail ช่วยแจ้งเตือนเมื่อคุณกำลังโต้ตอบอีเมลกับบุคคลอื่นนอกชื่อโดเมนบริษัทของคุณ นอกจากนี้ใน Google Drive ช่วยคุณปกป้องข้อมูลได้อย่างง่ายดายด้วยการควบคุม จำกัดการแชร์ข้อมูล และยังมี Google Vault เครื่องมือที่จะช่วยรองรับข้อกำหนดทางกฎหมาย และการปฏิบัติตามเงื่อนไขของบริษัท และยังช่วยให้คุณสามารถจัดการแอปพลิเคชันของบุคคลที่สามที่สามารถเข้าถึงข้อมูล G Suite ของคุณได้ง่ายขึ้น 3. ให้ความสำคัญกับการประชุม ทราบหรือไม่ว่าเราใช้เวลาไปกับการประชุมอย่างมากโดยไม่รู้ตัว กูเกิ้ลสร้างประสบการณ์ใหม่ใน Hangouts สำหรับองค์กร ออกแบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในห้องประชุม นอกจากนี้ Google Calendar ยังทำการเปลี่ยนโฉมใหม่ และสามารถใช้งานได้แล้วบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ 4. การแก้ปัญหาระดับองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกัน และการจัดเก็บข้อมูล บริษัทใหญ่มักจะปวดหัวกับการจัดการเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนการทำงาน แผนการประชุม หรือแผนการเงิน ดังนั้นจึงต้องมีตัวช่วยในการค้นหา จัดการเอกสารของคุณ ซึ่งทางกูเกิ้ลทำการพัฒนา Google Drive อยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Google Drive ตอบโจทย์ความต้องการของคนในองค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งมีเครื่องการันตีด้วยว่า Google Drive ถูกให้ชื่อว่าเป็นผู้นำด้านคลาวด์โซลูชัน Gartner และ Forrester Wave ซึ่งคุณสามารถอ่านบทความได้ที่นี่ 5. สร้างเครื่องมือสำหรับการตลาด เพื่อการผสานรวมกันได้มากยิ่งขึ้น กูเกิ้ลสร้างเครื่องมือที่จะช่วยให้การทำการตลาด และการขายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างการประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับ Salesforce อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังรวม Hire...

Continue reading

แก้ปัญหาระบบภายในมหาวิทยาลัยแบบเดิมๆ ฉบับ UCLA

การใช้งาน จำนวนนักศึกษา จำนวนเจ้าหน้าที่แผนก ฟีเจอร์ที่ชอบ โซลูชันที่ใช้ ภายใน มากกว่า 43,000 200 ทริกเกอร์ University of California, Los Angeles หรือ UCLA เปิดดำเนินกิจการครั้งแรกที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นหนึ่งในเก้าวิทยาเขตของ University of California แผนกจิตวิทยาของ UCLA เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งโดดเด่นในเรื่องของการมีสิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรจำนวนมากเพื่อโอกาสในการวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย โดยคณะอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจะได้รับทุนการศึกษาประจำปีมากกว่า 14 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำในสาขาของตน เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ UCLA พยายามทำให้การบริการของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อที่จะสามารถทุ่มเททรัพยากรให้กับการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ยกเว้นภาควิชาจิตวิทยา ซึ่งดำเนินงานด้าน core help desk ด้วยเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 2 คน ในการจัดการคำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และนักวิจัยมากกว่า 200 คน Cathy McCann ผู้ดูแลแผนกให้ความช่วยเหลือกล่าวว่า “หลายปีที่ผ่านมาเราได้รับการร้องขอในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางอีเมล โทรศัพท์ และบุคคล โดยคำร้องขอเหล่านั้นมีตั้งแต่การขอรหัสผ่านที่เป็นเรื่องง่ายๆ ไปจนถึงปัญหาที่ซับซ้อน ในขณะที่เรามุ่งมั่นและพยายามอย่างหนักเราก็พบว่าการทำงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าเรามีระบบ Ticket ง่ายๆ ที่ช่วยให้เราสามารถจัดการคำร้องขอและติดตามทุกอย่างได้จากส่วนกลาง นอกจากนี้เรายังต้องการ web-based help desk เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องใช้ทรัพยากรด้านไอทีภายในอีกด้วย” McCann กล่าวต่อว่า “ราคาของ Zendesk Support ความสะดวกสบายและความง่ายในการใช้งานไม่มีเจ้าไหนเทียบได้ โซลูชันยังมีฟีเจอร์มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้งานได้ง่ายทั้งสำหรับเราและสำหรับผู้ใช้งานของเรา ในฐานะที่เป็นทีมเล็กๆ ที่ให้บริการฐานผู้ใช้จำนวนมากที่แตกต่างกันไปในด้านความถนัดทางเทคนิค McCann จะต้องแน่ใจว่ามีการสื่อสารกันอย่างกระชับได้ใจความเมื่อต้องแก้ไขปัญหา และด้วยทริกเกอร์อัตโนมัติที่เกิดขึ้นตามการตั้งค่าเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการทำงานขององค์กร ช่วยเปลี่ยนการสนทนาที่เคยเกิดขึ้นผ่านอีเมลหลายฉบับและนำมารวบรวมไว้ในการสนทนาเดียวที่สามารถติดตามได้ “ทริกเกอร์ของ Zendesk Support เหมาะสำหรับการช่วยให้พนักงานกลุ่มเล็กๆของเรา สื่อสารกับผู้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Support ทุกๆครั้งที่มีการอัปเดตระบบ ผู้ใช้จะได้รับการอัปเดตสถานะทางอีเมลเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้งานรู้ว่าเราไม่ได้ละเลยพวกเขา” McCann กล่าว McCann ยังสังเกตอีกว่าเธอได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของ Zendesk “โดยปกติเวลาเราโทรหาบริษัทอื่นๆ มักได้รับการโอนสายไปทั่วทุกแผนก แต่เมื่อใดก็ตามที่ฉันโทรหา Zendesk ฉันได้เชื่อมต่อกับคนที่ใช่อย่างรวดเร็ว”...

Continue reading