สตาร์บัคส์ (Starbucks) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1971 ในเมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสตาร์บัคส์ มีสาขากว่า 36,000 สาขาทั้งในสหรัฐอเมริกา และในอีกกว่า 80 ประเทศทั่วโลก นับเป็นผู้นำแห่งธุรกิจกาแฟของโลกโดยแท้จริง และ Starbucks เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีชื่อเสียงในการให้ประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Experience) โดย Starbucks สาขาแรกได้เปิดทำการในประเทศจีนในเดือนมกราคม 1999 ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 6,500 สาขา ใน 250 เมือง มีพนักงานมากกว่า 60,000 คน Starbucks มองเห็นว่าลูกค้าจะได้รับบริการที่ดี ต้องเกิดจากการมีระบบสนับสนุนการทำงานให้กับบุคลากร (Employee Service) ที่ดี จุดเริ่มต้นของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร ในช่วงการขยายธุรกิจในประเทศจีน Starbucks China ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรในองค์กรไม่ว่าจะเป็นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ร้านสาขา ซึ่งสามารถสรุปความต้องการได้เป็น 4 เรื่องดังต่อไปนี้ องค์กรมีปัญหาในด้านการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่บุคลากรจำเป็นต้องเข้าถึง ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการภายในและให้ความสำคัญกับการสนับสนุนข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของบุคลากร เนื่องจากธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นให้บุคลากรสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมด้านธุรกิจ การฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับกาแฟ การฝึกอบรมการจัดการร้านค้า และข้อมูลอื่นๆ ได้ตลอดเวลา ทรัพยากรบุคคล: แผนกทรัพยากรบุคคลมีจำนวนคนจำกัด และต้องจัดการกับสิทธิประโยชน์ กฎเกณฑ์ และประเด็นอื่นๆ จำนวนมากทุกวัน โดยเฉพาะกฎระเบียบทและขั้นตอนการทำงานภายในของสตาร์บัคส์ที่มีรายละเอียดปลีกย่อย ขั้นตอนการทำงานในแต่ละวันของพนักงานภายในนั้นยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และไม่บูรณาการกัน ในการดำเนินงานนี้ Starbucks China ได้เลือกโซลูชั่นส์ของ Udesk มาช่วยในการพัฒนาระบบการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรในองค์กร (Employee Portal) เนื่องจากโซลูชั่นส์ของ Udesk สามารถตอบโจทย์การทำงานและงบประมาณได้อย่างตรงความต้องการ ความต้องการของ Starbucks China ในการพัฒนาระบบ สตาร์บัคส์ไชน่า (Starbucks China) ได้กำหนดความต้องการในการพัฒนาระบบดังนี้ ระบบ Employee Portal ให้พนักงานเข้าถึงได้แบบ One-Stop Service: ในอดีต Starbucks China มีเพียงช่องทางโทรศัพท์ภายในสำหรับสนุบสนุนการทำงานโดยให้พนักงานโทรติดต่อขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่พนักงานของ Starbucks มีความต้องการความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งปริมาณความหลากหลายทำให้การสื่อสารผ่านช่องทางโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูล มักจะใช้เวลานานรวมไปถึงการส่งเรื่องไปมาหรือติดต่ออีกแผนกหนึ่งที่เป็นคนละช่องทาง...
Continue readingเชื่อมต่อ CXBOX Hub กับ LINE Group Chat แชทคุยกับลูกค้าพร้อมดู Insight ไปพร้อมกัน
ในเทรนด์ธุรกิจทุกวันนี้ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของประสบการณ์ที่ลื่นไหล (Seamless Experience) และการเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อเพื่อให้ทุกปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นไปอย่างมีคุณภาพ หนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่หลายองค์กรเลือกใช้งานก็คือ LINE Group Chat ทว่าจะดีกว่าไหมนะถ้า LINE Group Chat นี้จะไม่ได้ทำได้แค่แชทคุยอย่างเดียว แต่ยังก้าวข้ามขีดจำกัด ให้เจ้าหน้าที่สามารถดูข้อมูลเชิงลึก ติดตามประสิทธิภาพ ปรับปรุงการสร้างประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้นไปอีกขั้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้แล้วด้วย CXBOX Hub เครื่องมือที่เป็นดั่งสะพานเชื่อมต่อช่องว่างของ LINE และ Zendesk CXBOX Hub ประสานช่องว่างระหว่าง LINE และ Zendesk LINE Group Chat เป็นช่องทางติดต่อยอดนิยมที่ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้แบบเรียลไทม์ ถึงอย่างนั้นความสามารถของ LINE Group Chat ก็ยังมีข้อจำกัดที่ขวางกั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่ในแง่ที่ว่า เราจะไม่สามารถเห็นข้อมูลเชิงลึก ติดตามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ หรือดำเนินงานติดตามด้านอื่น ๆ แบบละเอียดได้เลย ตรงนี้เองที่ CXBOX Hub ได้เข้ามาเปลี่ยนเกมอย่างสิ้นเชิง CXBOX Hub สามารถผสานรวม (Integrate) เข้ากับทั้ง LINE และ Zendesk กลายเป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่มาพร้อมเครื่องมือวัดผลและการอัปเดตที่เรียลไทม์ เรียกได้ว่า CXBOX Hub ช่วยให้ธุรกิจไม่ได้ทำแค่บริหารการสนทนาทั่วไปเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการ มั่นใจได้ว่าการสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นแม้ในช่วงเวลาที่ปริมาณการแชทสูงที่สุด รวมเหตุผลที่คุณควรเชื่อมต่อ LINE Group Chat กับ CXBOX Hub CXBOX Hub ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 1. ติดตามประสิทธิภาพการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ต่างจากการใช้ LINE เพียงอย่างเดียว CXBOX Hub มอบเครื่องมือที่ช่วยวัดผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่พร้อม KPI อย่างละเอียด ช่วยให้คุณติดตามได้ว่าเจ้าหน้าที่รับมือกับปัญหาของลูกค้าอย่างไร และตัดสินใจด้วยข้อมูลเพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการ 2. เห็นผลแบบเรียลไทม์ CXBOX Hub ใช้ Sunshine Conversations API จึงทำให้มั่นใจได้ว่าจะเห็นอัปเดตข้อความแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีปริมาณข้อความสูงแค่ไหนก็ตาม ช่วยลดความล่าช้าและตอบสนองต่อลูกค้าของคุณได้อย่างรวดเร็ว 3....
Continue readingMcDonald’s China ยกระดับการบริการลูกค้าด้วย Digital Transformation
แมคโดนัลด์ (McDonald’s) เป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจบริการร้านอาหาร ก่อตั้งขึ้นในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1955 โดย ณ สิ้นปี 2023 มีร้านอาหารของ McDonald’s มากกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก โดยในแต่ละวันได้ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 70 ล้านรายในกว่า 100 ประเทศ McDonald’s ติด 10 อันดับแรกในรายชื่อแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกของ BrandZ เป็นเวลามากกว่า 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2023 McDonald’s อยู่ในอันดับ 5 โดยมีมูลค่าแบรนด์มากกว่า 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ McDonald’s ได้เข้ามาเปิดธุรกิจในประเทศจีนโดยมีสาขาแรกที่เมืองเซินเจิ้น (McDonald’s China) ในเดือนตุลาคม ปี 1990 ปัจจุบัน McDonald’s China เป็นธุรกิจบริหารเครือร้านอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมีสาขามากกว่า 6,000 สาขาในประเทศจีน ได้มีวิสัยทัศน์ในการทำ Digital Transformation เพื่อยกระดับการทำงานของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบต่างๆ เข้าด้วยกันผ่าน API เพื่อรองรับการใช้ AI ในการให้บริการลูกค้า หนึ่งในการดำเนินการข้างต้นคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริการลูกค้า (Digital Customer Service) ของ Udesk มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์บริการลูกค้า (McDonald’s Customer Center) โดยเริ่มใช้งานจริงในปี 2022 ซึ่งได้ทำการเชื่อมโยงข้อมูลระบบภายในมากกว่า 40 ระบบ เพื่อให้การบริการลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้กำหนดเป้าหมายการบริการคือการสร้างแพลตฟอร์มศูนย์บริการลูกค้าอัจฉริยะ ด้วยการรับข้อมูลคำติชมของผู้ใช้จากหลากหลายช่องทาง นำ AI Chatbot (AI Text Bot) และ Voice Bot มาปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผลการบริการลูกค้า ทำการเชื่อมโยงโมดูลคำสั่งงานของระบบภายในต่างๆ คำสั่งงานบริการลูกค้าจะได้รับการประมวลผลในเวลาที่รวดเร็วสำหรับการบริการลูกค้าแต่ละราย จุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยน สิ่งที่ผลักดันให้เกิดการทำ Digital Transformation ในการบริการลูกค้าของ McDonald’s เริ่มมาจากปัญหา 3...
Continue readingสรุปกลยุทธ์ทำการตลาดผ่าน WeChat ตอนที่ 1
หากคุณคิดว่าคุณจะทำธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าในประเทศจีน การทำการตลาดผ่าน WeChat ก็เป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าจำเป็นครับ Wechat เป็นแอพที่มีคนใช้งานวัดโดย Monthly Active Users ทั่วโลกประมาณ 1.38 พันล้านคน (ข้อมูลเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2567) และแน่นอนว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน (ประมาณ 854 ล้านคน) จากจำนวนผู้ใช้งานขนาดนี้ก็บอกได้ว่า Wechat เป็นแอพที่นับได้ว่าเป็นอวัยวะหนึ่งของคนจีนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากับเพื่อน การเรียกรถแท๊กซี่ การสั่งอาหาร การชำระเงิน ฯลฯ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงกันครับว่าวิธีการทำการตลาดผ่าน WeChat จะทำอย่างไรได้บ้าง รวมไปถึงวิธีการทำโฆษณาผ่านช่องทาง WeChat Official Account (WeChat OA) เพื่อเป็นการทำให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักในตลาดจีน จดทะเบียนเพื่อสมัคร WeChat Official (WeChat OA) การจะทำการตลาดในประเทศจีน เราจำเป็นจะต้องมี WeChat Official Account หรือ WeChat OA ก่อน ซึ่งทำไมต้องจดทะเบียนในแบบ WeChat Official Account เพราะว่าการใช้ WeChat Official Account คือการยืนยันตัวตนถึงความน่าเชื่อถือที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถจดทะเบียนเพื่อสมัครได้ ธุรกิจหรือองค์กรที่จะจดทะเบียน WeChat Official Account ได้ จะต้องเป็นประเภทธุรกิจที่ Tencent กำหนดไว้และผ่านการพิสูจน์ตัวตนทางเอกสารเท่านั้น ซึ่งธุรกิจที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ WeChat Official Account ครับ หากถามว่าทำไมต้องใช้ WeChat Official Account คำตอบก็คือ เป็นช่องทางในการเข้าถึงและดึงดูดลูกค้าที่มีศักยภาพ เพิ่มการรับรู้แบรนด์ ส่งการแจ้งเตือนแบบ Push ไปยังผู้ติดต่อที่ติดตามเพจ สร้างความภักดีของลูกค้า เป็นช่องทางในการเชื่อมผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์/เพจอีคอมเมิร์ซของบริษัท การมองเห็นที่ดีขึ้นหมายถึงความน่าเชื่อถือที่ดีขึ้น เนื้อหาสร้างสรรค์คุณภาพสูงเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดผู้ชม ผ่าน WeChat Official Account ซึ่งไม่เพียงแต่มีการติดต่อกับลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างแคมเปญโฆษณาที่แท้จริงได้อีกด้วย ดังนั้นจึงมีแบรนด์ต่างประเทศจำนวนมากที่ใช้ WeChat เป็นช่องทางหลักสำหรับการโฆษณาของตน ประเภทของบัญชี WeChat Official...
Continue readingGem in Gemini คืออะไร? อยากใช้ Gemini แบบ Personalized ต้องลอง !
Gem in Gemini คืออะไร? Gem in Gemini คือ การใช้ Gemini สร้างสรรค์คำตอบให้ Personalized ตรงตามความต้องการของคุณมากขึ้น โดยการใช้งาน Gem จะถูกแบ่งออกตามจุดประสงค์ของการใช้งาน เช่น ผู้ช่วยด้านงานเขียนหรือผู้ช่วยด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น หากคุณต้องการที่จะ Personalized Gemini คุณต้องให้ข้อมูลพื้นฐานกับ Gemini เสียก่อน ตัวอย่างเช่น คุณกำหนดจุดประสงค์ของการใช้งาน Gemini ให้ช่วยแนะนำด้านงานเขียนไว้ว่า ‘คุณทำงานด้านการตลาดในบริษัทขายซอฟต์แวร์ ปกติแล้วคุณต้องเขียนคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านไอที เทรนด์ต่าง ๆ การอัปเดตฟีเจอร์ และสิ่งที่น่าสนใจ โดยต้องเขียนออกมาให้อยู่ในรูปแบบกึ่งทางการ อ่านแล้วดูน่าสนใจและดูมีความเป็นมืออาชีพ’ นี่เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวคุณที่ Gemini จะเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์คำตอบให้เหมาะสม ดังนั้นหลังจากนี้หากคุณต้องการถามเรื่องงานเขียน Gemini ก็จะอ้างอิงการสร้างคำตอบจากข้อมูลนี้ อาทิ คุณต้องการให้ Gemini วางแผนการทำคอนเทนต์ให้ภายในไตรมาสที่ 4 จากนั้น Gemini ก็จะออกแบบคอนเทนต์ให้ครอบคลุมข้อมูลที่คุณได้ให้ไว้นั่นเอง วิธีการใช้งาน Gem in Gemini เข้าเว็บไซต์ Gemini (หาก Gemini ของคุณมีคำว่า Advanced ที่มุมบนซ้าย คุณจะสามารถใช้งาน Gem ได้) ไปยังแท็บด้านซ้ายเลือก Gem manager 3. จากนั้นจะมีหมวดหมู่แนะนำการใช้งานปรากฏขึ้น เช่น Brainstorm, Career Guide, Coding Partner, Learning Coach, และ Writing editor ตามรูปภาพด้านล่างนี้ 4. เลือกประเภทการสร้างสรรค์คอนเทนต์ตามต้องการ หรือหากคุณต้องการสร้าง Gem ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น ดูที่หัวข้อถัดไป วิธีการสร้าง Gem ใหม่ให้ Personalized มากขึ้น ไปที่ Gem manager คลิก New Gem...
Continue readingfoodora สร้างความเชื่อมั่นและขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่าน BrazeAI™
foodora บริษัทจัดส่งอาหารที่ดำเนินกิจการกว่า 200 เมืองทั่วยุโรป เป็นผู้นำในด้านธุรกิจ Digital Quick Commerce โดยมีพันธกิจ คือการมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจ รวดเร็ว และราคาที่คุ้มค่า เพื่อให้ลูกค้ามีเวลาโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญอื่น ๆ ในชีวิตพวกเขา และสามารถสั่งสิ่งที่ต้องการได้ทุกเวลาตามใจชอบ โดยไม่มีความรู้สึกผิด บริษัทมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเสมือนมิตรภาพ โดยสร้างความไว้วางใจและความภักดีไปพร้อม ๆ กัน ด้วยความที่ foodora เข้าใจความต้องการของลูกค้า จึงได้ตั้งเป้าที่จะส่งมอบการสื่อสารด้วยข้อความที่มีความ Personalized กับลูกค้าแต่ละคนในเวลาที่เหมาะสม เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำและสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าในระยะยาว ความท้าทายและเป้าหมายของ foodora ความท้าทาย foodora ต้องการแพลตฟอร์มที่สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าได้แบบครอบคลุม เพื่อรวบรวมการสื่อสารกับลูกค้าทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว ก่อนหน้านี้พวกเขามีปัญหาด้านการสื่อสารด้วยข้อความที่ไม่ค่อยตรงกับความต้องการของลูกค้า และต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มหลายตัวที่ขาดข้อมูลเชิงลึก ส่งผลให้พลาดโอกาสและสูญเสียลูกค้าไป เป้าหมาย เป้าหมายของ foodora มีความชัดเจน คือการเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Customer Engagement) โดยการส่งข้อความที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละคนแบบ Personalized เพื่อเพิ่มอัตรา Conversion Rate และความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงการลด Unsubscribe Rate ยกระดับการรักษาความสัมพันธ์และสร้างความภักดีที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าที่ใช้งาน foodora กลยุทธ์ทางการตลาดที่ foodora เลือกใช้ ด้วย Braze ทำให้ foodora สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดแบบ Cross-Channel Marketing ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านหลากหลายช่องทางที่ลูกค้าของพวกเขาอยู่ เช่น ผ่าน Email, Push Notification และ In-app Messaging นอกจากนี้พวกเขายังใช้เครื่องมืออย่าง Intelligent Timing ที่เป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของ BrazeAI™ ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อเปลี่ยนการส่งข้อความแบบเดิม ๆ ตามเวลาที่กำหนด มาเป็นการส่งข้อความในเวลาที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด โดย foodora เริ่มทดลองใช้ฟีเจอร์ Intelligent Timing กับลูกค้าใหม่ในออสเตรีย ช่วงที่พวกเขากำลัง Onboarding กับ Braze โดยผลลัพธ์ช่วงทดลองแสดงให้เห็นว่ามี Unsubscribe Rate...
Continue readingAsana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะในการบริหารงานและโปรเจกต์ของคุณ
ยินดีต้อนรับสู่ Asana AI ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์การจัดการงานและโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งการทำงานอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณ บทความนี้จะแนะนำภาพรวมเกี่ยวกับฟีเจอร์และสิ่งที่ Asana AI สามารถทำได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน! เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Asana AI คืออะไร? Asana AI คือ เครื่องมือผู้ช่วยอัจฉริยะที่ผสานเข้ากับแพลตฟอร์ม Asana เพื่อช่วยให้คุณจัดการงานและโปรเจกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ Asana AI จึงสามารถทำให้งานประจำเป็นงานอัตโนมัติ ช่วยในการสร้างและแก้ไขงาน และจัดทำสรุปข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับโปรเจกต์ของคุณได้ ฟีเจอร์ของ Asana AI มีอะไรบ้าง? 1. สถานะอัจฉริยะ (Smart Status) รับข้อมูลพร้อมอัปเดตสถานะของโปรเจกต์และงานของคุณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ติดตามข้อมูลได้ง่ายโดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลทั้งหมดเอง 2. แชทอัจฉริยะ (Smart Chat) รับคำตอบที่มาจาก AI สำหรับคำถามเกี่ยวกับการจัดการโปรเจกต์ของคุณ ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีข้อมูลครบถ้วน 3. ฟิลด์อัจฉริยะ (Smart Fields) ใช้ AI ในการกรอกข้อมูลสำคัญให้อัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่ารายละเอียดงานของคุณจะครบถ้วนและอัปเดตอยู่เสมอ 4. สรุปอัจฉริยะ (Smart Summaries) รับสรุปรายงานของโปรเจกต์ งาน และพอร์ตโฟลิโอของคุณแบบกระชับ ช่วยให้เข้าใจประเด็นสำคัญโดยไม่ต้องอ่านรายละเอียดยาว ๆ 5. ตัวแก้ไขอัจฉริยะ (Smart Editor) ปรับปรุงกระบวนการสร้างและแก้ไขงานด้วยคำแนะนำจาก AI ช่วยให้เขียนคำอธิบายงานได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. โปรแกรมสร้างกฎอัจฉริยะ (Smart Rule Creator) สร้างรูปแบบ Workflow การทำงานของคุณให้เป็นอัตโนมัติ ด้วยกฎที่ปรับแต่งเองและขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทำงานประจำวันได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 7. เป้าหมายอัจฉริยะ (Smart Goals) ปรับปรุงประสิทธิภาพและทำให้การตั้งเป้าหมายมีมาตรฐานยิ่งขึ้นด้วย Smart Goals ที่วิเคราะห์เป้าหมายปัจจุบันและเสนอแนวทางการพัฒนา เช่น การเพิ่มเกณฑ์ความสำเร็จ สรุปผลกระทบ ระบุเป้าหมายหลัก สนับสนุนเป้าหมายย่อย และกำหนดทีมที่รับผิดชอบ 8. โปรเจกต์อัจฉริยะ (Smart Project)...
Continue readingไม่พลาดทุกการอัปเดตจาก Drive ด้วยการแจ้งเตือนรูปแบบแชท บน Google Chat
ผู้ที่ใช้งาน Google Drive และ Google Chat อยู่เป็นประจำ ฟังทางนี้! Google ได้แนะนำช่องทางการแจ้งเตือนไฟล์และเอกสารบนไดรฟ์ที่ง่ายและเร็วกว่าเดิมในรูปแบบแชท ด้วย “Google Drive Chat App” บน Google Chat จากก่อนหน้านี้ที่ได้รับการแจ้งเตือนในรูปแบบอีเมลผ่าน Gmail เพียงช่องทางเดียว หลายท่านอาจจะคุ้นเคย Google Drive Chat App กันมาบ้างแล้ว เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา Google ได้เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งแอปนี้บน Google Chat ได้ด้วยตัวเอง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกันกับไฟล์ต่างๆบน Google Drive มากขึ้น และข่าวดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำการติดตั้งการใช้งาน Google จะทำการทยอยอัปเดตการติดตั้งให้กับกลุ่มผู้ใช้งาน Google Workspace ทุกบัญชีโดยอัตโนมัติ! เพื่อให้ทุกท่านได้รับการแจ้งเตือนทั้งหมดที่เกี่ยวกับไดรฟ์บนหน้าต่างแชทได้เลยทันที Google Drive Chat App ช่วยให้คุณจัดการไฟล์ได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง? ตอบกลับหรือจัดการความคิดเห็นบน Docs, Sheets, และ Slides และยังสามารถเพิ่มแท็กหรือเพิ่มการกล่าวถึงได้ เลือกให้สิทธิ์คำขอเข้าถึงไฟล์ เช่น Viewer, Commenter หรือ Editor ได้รวดเร็ว หรือสามารถบล็อกคำขอได้ทันที ดูการกล่าวถึงคุณจากไฟล์ Docs, Sheets, และ Slides โดยตรงได้ที่ Shortcut “Mentions” ที่แถบด้านซ้ายของหน้าต่าง Google Chat ข้อดีของการเชื่อมต่อ Google Drive บน Google Chat สามารถรู้ถึงการเคลื่อนไหวของ Drive ผ่าน Chat: ไม่ต้องเปิดสลับไปมาระหว่างหลายแอป ช่วยร่นระยะเวลาการทำงานให้ไวยิ่งขึ้น แจ้งเตือนทันที: ไม่มีพลาดหรือตกหล่นทุกการแจ้งเตือนบน Drive เพิ่มช่องทางการแจ้งเตือน: รับการแจ้งเตือนได้ทั้งอีเมลและแชท ทำงานร่วมกันกับทีมได้สะดวกมากขึ้น: ทุกคนที่มีส่วนร่วมในไฟล์จะได้รับแจ้งเตือนในแชทแบบเรียลไทม์ เรียกได้ว่าการเพิ่มฟังก์ชันการทำงาน “Google Drive Chat App” บน...
Continue readingGemini for Google Workspace ให้ Privacy ของผู้ใช้งานมาเป็นอันดับหนึ่ง
กำลังเป็นที่จับตามอง สำหรับการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของ Generative AI หรือ Gemini ใน Google Workspace ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับสาวกผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานอย่าง Google Workspace เป็นอย่างมาก เพราะด้วยความสามารถที่น่าอัศจรรย์ของ AI ที่สามารถเนรมิตผลงานให้ผู้ใช้งานได้เลือกสรรตามความต้องการ ด้วยความฉลาดของ AI นี้ อาจทำให้หลายท่านเกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านข้อมูลของผู้ใช้งาน ว่าการที่ AI สามารถสร้างผลงานออกมาได้อย่างรู้ใจแบบนี้จะมีการละเมิดสิทธิความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้งานหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ Google ได้ทำการออกมาชี้แจงอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะไม่มีการนำข้อมูลใดๆของผู้ใช้งานไปเปิดเผยอย่างแน่นอน ขึ้นชื่อว่า Google แน่นอนว่า Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง หากลองสังเกตดู คุณจะสามารถเห็นได้จากระบบการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอนอย่าง 2 Step Verification เมื่อมีการล็อกอินเข้าใช้งานบัญชี Gmail หรือแม้กระทั่งการยืนยันสิทธ์ขอเข้าถึงไฟล์จากบุคคลภายนอกก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่า Google ให้ความสำคัญกับ Data privacy ของผู้ใช้งานเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ข้อมูลของคุณยังเป็นของคุณเสมอ ข้อมูลต่างๆของคุณที่อยู่บน Gmail หรือแอปพลิเคชันใดๆก็ตามบน Google Workspace ยังคงไว้ซึ่งสิทธิของคุณในการเลือกกระทำการต่างๆต่อข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการลบ หรือดาวน์โหลดข้อมูล โดย Google จะไม่มีสิทธิ์ในการนำข้อมูลไปขาย หรือแม้แต่เพื่อเป็นจุดประสงค์ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของ Google เอง หรือนำไปใช้งานกับบริการอื่นๆของ Google เช่น การค้นหาบน Search Engine การป้อนการเรียนรู้ภาษาของ Gemini Chat Experience หรือแม้กระทั่ง Generative AI ของ Google ก็ตาม ข้อมูลของคุณได้รับการปกป้องอย่างดีที่สุดเสมอ เมื่อใดก็ตามที่คุณมีการแนะนำ/แก้ไข spelling suggestion หรือ reporting spam บนฟีเจอร์ต่างๆของ Google Workspace การกระทำเหล่านั้นจะได้รับการป้องกันโดยไม่มีการระบุตัวตนของผู้รายงาน โดย Google จะนำรายงานเหล่านั้นไปเรียนรู้และแก้ไขปรับปรุงพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เช่น spam protection, spell check และ...
Continue reading