เข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาวจีนง่ายๆด้วยเครื่องมือ WeChat Mini Program

หัวข้อการจัดสัมมนาออนไลน์ เรื่อง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาวจีนง่ายๆด้วยเครื่องมือ Wechat Mini program  ช่องทางการการขายออนไลน์ในประเทศจีน ช่องทางการขายออนไลน์ที่ธุรกิจต่างชาติสามารถใช้ได้ (Cross Border e-Commerce) พฤติกรรมผู้บริโภคบนออนไลน์ในจีน สินค้าอะไรที่ขายดีแบบ Cross Border e-Commerce WeChat Mini-Program ช่วย Cross Border e-Commerce ได้อย่างไร วิธีการเปิดร้านบน WeChat Mini-Program สินค้าที่ขายได้บน WeChat Mini-Program Speaker : ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ (CEO & Founder of Demeter ICT)ถาม-ตอบ ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 13:30 – 15:00 น. บรรยายผ่านช่อง Google Meet **งานสัมมนาออนไลน์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย**   ลงทะเบียนสัมนาฟรี...

G Suite tips! ส่งอีเมลใน Gmail หลาย ๆ คนพร้อมกันทีเดียว โดยไม่ต้องใส่ชื่อทีละคน

วันนี้ทาง Demeter ICT จะพาทุกท่านไปรู้จัก G Suite Tips! โดยในครั้งนี้เป็นการสร้าง Labels หรือกลุ่มใน Google Contacts ที่จะทำให้ท่านสามารถส่งอีเมลใน Gmail  ได้หลาย ๆ คนพร้อมกันทีเดียว โดยที่ไม่ต้องใส่ชื่อทีละคนให้เสียเวลา มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ ขั้นตอนการสร้าง เข้าไปที่ Contacts หาง่าย ๆ โดยอยู่ในจุด 9 จุดมุมขวาบน 2. เมนูด้านซ้ายตรง Labels ให้คลิก Create label เพื่อเป็นการสร้างกลุ่ม 3. เมื่อคลิกขึ้นมาแล้ว ให้ใส่ชื่อกลุ่มที่ท่านต้องการลงไปได้เลย ตัวอย่างเช่น Marketing จากนั้นกด Save 4. จะพบว่ามี Labels ที่ท่านสร้างขึ้นมาในเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นให้คลิกไปยัง Directory เพื่อทำการเพิ่มรายชื่ออีเมลไปยัง Labels 5. เมื่อท่านทำการเลือกรายชื่ออีเมลเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น กดไปที่ Manage Labels แถบเมนูด้านบน และเลือก Labels ที่ท่านสร้างขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เลือก Labels Marketing จากนั้นกด Apply ก็เป็นการเสร็จสิ้น และเมื่อท่านคลิกไปยัง Labels ที่สร้างไว้จะพบว่ามีรายชื่อที่ท่านเพิ่มเข้าไป ก็เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์  ไปส่งอีเมลกันเลย! 6. และวิธีการส่งอีเมลง่าย ๆ ไปยังหลาย ๆ คน ก็คือขั้นตอนนี้นั่นเอง เปิดหน้าต่างไปยัง Gmail คลิก New compose หรือสร้างอีเมลใหม่ขึ้นมา ตรง To สามารถพิมพ์ชื่อ Labels ที่ท่านสร้างขึ้น โดยจะปรากฎขึ้นอัตโนมัติให้ท่านคลิกเลือกได้เลย จากนั้นเมื่อท่านเลือก Labels นั้น ๆ แล้ว รายชื่ออีเมลที่ท่านได้เพิ่มไว้หลาย ๆ คน...

Continue reading

Github กับการซัพพอร์ต Developers กว่า 50 ล้านคนด้วย Zendesk

Github ชื่ออันคุ้นหูที่เชื่อว่าใครที่ทำงานข้องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์คงได้รู้จักหรือใช้งานมาสักครั้ง โดย Github คือบริษัท Software Development Hosting จากสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่นำเสนอแพลตฟอร์มที่เป็นทั้งพื้นที่เก็บข้อมูล แชร์ข้อมูล และมีฟีเจอร์การทำงานร่วมกันที่อำนวยความสะดวกมากมายให้กับ Developers หากจะกล่าวถึงประวัติของ Github คร่าวๆ Github ก่อตั้งเมื่อปี 2008 โดย Chris Wanstrath ได้คิดค้น Code Commit ตัวแรก เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนโค้ด ซึ่งได้กลายเป็นแพลตฟอร์มพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในเวลาต่อมา ทุกวันนี้ มี Developers ที่ใช้งาน Github ถึงกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก องค์กรจากหลายภาคส่วนในหลายอุตสาหกรรม แม้กระทั่ง Zendesk ล้วนได้รับประโยชน์มากมายจากคลังซอฟต์แวร์ คอมมูนิตี้ รูปแบบการทำงานจาก Github   เมื่อธุรกิจใหญ่โตขึ้น ความต้องการในระบบซัพพอร์ตก็ทะยานมากขึ้นตาม เดิมทีนั้น Github ใช้โซลูชันแบบ Home-grown (ชื่อว่า Halp) ในการจัดการกับคำร้องจากลูกค้าและพนักงานในองค์กร แต่เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ต้นทุนที่จะต้องใช้ไปกับทรัพยากรเพื่อคงระบบเหล่านี้ก็ยิ่งมากขึ้นตาม เป้าหมายของ Github จึงเป็นการตามหาระบบที่จะช่วยในการซัพพอร์ตที่สามารถบริหารจัดการเองได้ วัดผลได้ และประยุกต์ใช้งานกับซัพพอร์ตแพลตฟอร์ม เพื่อที่วิศวกรของ Github จะสามารถโฟกัสไปที่แก่นงานหลักของ Github ได้อย่างเต็มที่ “ทีมที่ดูแลด้านเอกสารเองก็เป็นส่วนหนึ่งของทีมซัพพอร์ต เรายังมีทีมด้านบริษัทและทีมนักพัฒนา หรือ Dot-com ทีม ทีมด้านบริษัทนั้นใช้ Zendesk Support ตั้งแต่ปี 2012 แล้ว ส่วนทีมนักพัฒนาเองก็ใช้ Halp ที่เป็นเครื่องมือภายใน” Barbara Kozlowski, Senior Director of Global Support กล่าว ด้วยความที่ซัพพอร์ตทีมของ Github มักจะทำงานแบบรีโมทโดยสมบูรณ์ Github เล็งเห็นว่า Zendesk เป็นโอกาสที่ช่วยด้านการติดต่อสื่อสารไม่เพียงแต่กับลูกค้าเท่านั้น แต่เป็นระหว่างในองค์กรเองก็สามารถทำได้ ทั้งระบบ Ticket ที่ลื่นไหลและช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Github...

Continue reading

Customer Service VS Customer Support ต่างกันอย่างไร?

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Customer Service และ Customer Support แล้ว อาจจะคิดว่าบริบทการทำงานเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกัน หรือคล้าย ๆ กัน แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้อยู่ มีความแตกต่างอะไรบ้างมาดูกัน.. เริ่มต้นกันที่เราต้องรู้ก่อนว่า Customer Service การบริการลูกค้าคืออะไร? Customer Service หรือ การบริการลูกค้า คือ การสื่อสาร พูดคุย หรือการตอบโต้กับลูกค้าในสิ่งที่พวกเขาสงสัย ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัท เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (CX) โดยที่ไม่ต้องสนับสนุนลูกค้าทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปกินร้านอาหาร การให้บริการลูกค้าคือ เมื่อคุณสั่งอาหารพนักงานจะเอาเมนูมาให้ จดรายการอาหาร นำเอาอาหารมาเสิร์ฟ จนไปถึงการชำระเงิน แต่พนักงานไม่ต้องมาช่วยคุณสอนวิธีการกินอาหารหรือวิธีการจ่ายเงิน ดังนั้นทีมบริการลูกค้าจะมุ้งเน้นไปที่ทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเลือกใช้ สินค้าหรือบริการของบริษัทนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับทั้งตัวผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเองด้วย พร้อมทั้งติดตามความสนใจของลูกค้าเพื่อที่จะอัพเกรดการขายหรือขยายการใช้สินค้าให้บริการลูกค้าในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดต่อหรือส่งต่อข้อมูลของลูกค้าไปยังทีมเทคนิคต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องการติดต่อได้ เพราะทางทีม Customer Service จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเชิงลึกเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือบริการ ดังนั้นถ้าเราสามารถส่งต่อไปให้ฝ่าย Customer Support จะสามารถแก้ไขได้เร็วกว่า ช่วยเพิ่มความประทับใจ ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ มาต่อกันด้วย คำว่า Customer Support การสนับสนุนลูกค้าคืออะไร? Customer Support หรือ การสนับสนุนลูกค้า คือ ทีมที่คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกค้ามีปัญหาเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือบริการของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาเป็นส่วนที่สำคัญมาก ดังนั้นทีมที่สนับสนุนลูกค้าก็ควรมีการจัดตั้งการอบรมการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา การอัพเกรดการบริการไปจนถึงการสิ้นสุดบริการได้ นอกจากทีม Customer Support จะต้องเชี่ยวชาญทางด้านตัวสินค้าและบริการเพื่อที่จะช่วยเหลือลูกค้าที่เจอกับปัญหานั้น ๆ แล้ว ยังต้องมีความอดทนและทักษะของการเป็นผู้นำที่จะพาลูกค้าที่กำลังเจอปัญหาไปสู่การแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนก็ไม่ควรจะจบลงจนกว่าลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะได้รับการแก้ปัญหาที่เสร็จสิ้นและพึงพอใจแล้ว โดยทีมสนับสนุนลูกค้าในปัจจุบันมักจะนำซอฟต์แวร์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการหรือที่เรียกกันว่า SaaS ย่อมาจาก Software as a Service ที่จะช่วยให้การซัพพอร์ตลูกค้าได้อย่างไร้ขอบเขตมากขึ้น คุณสามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ไหน...

Continue reading

เข้าถึงตลาดออนไลน์จีนด้วย China Digital Marketing Trends

อย่างที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลจีนบล็อกการใช้แพลตฟอร์ม Google หรือ Facebook ในประเทศจีน ไม่ให้ใช้ชาวจีนใช้แพลตฟอร์ม หรือเว็บไซร์ออนไลน์จากต่างประเทศ เเต่ให้ใช้เว็บที่ถูกทำขึ้นเเละควบคุมโดยคนจีนในประเทศจีนเท่านั้น เพราะทางภาครัฐสามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารทางออนไลน์เพื่อไม่ให้ข่าวสารที่สำคัญหรือเป็นความลับหลุดออกไปจากประเทศจีน เพื่อเป็นการทำให้เกิดความสงบสุขสบายใจของรัฐบาลให้อยู่ในกฎที่ตั้งเอาไว้ เเละไม่ผิดกฎหมายรัฐบาลของจีน  ก่อนจะเข้าเรื่องของ China digital marketing Trends จะของเกริ่นนำเกี่ยวกับพฤติกรรมของชาวจีนก่อนในเรื่องของวัฒนธรรมของจีนที่เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มากจึงมีวัฒนธรรม เเละมีความคิดที่หลากหลายไม่เหมือนกันในเเต่ละภาค ซึ่งประเทศจีนมีประชากรกว่า1,400 ล้านคนจึงมีพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนกว่าประเทศอื่นๆ เเละมีความเป็นตัวเองสูงมาตั้งเเต่สมัยอดีตกาล ดังนั้นการพัฒนาการใช้อินเทอร์เน็ตของจีนจึงไม่เหมือนประเทศอื่น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทย จะเริ่มจาก เดสก์ท็อป โน๊ตบุ๊ค แล้วค่อยมาเป็นสมาร์ทโฟน เเต่ที่ประเทศจีนนั้นสามารถก้าวกระโดดมาเป็นสมาร์ทโฟนได้เลย เนื่องจากจีนสามารถผลิตสมาร์ทโฟนได้ด้วยตัวเอง เเละส่วนมากไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศทุกที่ก็จะติดต่องาน หรือธุรกิจต่างๆด้วยการขอ E-mail เเต่ที่เมืองจีนถ้าจะติดต่องานจะขอเป็น WeChat เเทน นี่ก็เป็นอีกพฤติกรรมที่ไม่เหมือนประเทศไหนๆเลย  ดังนั้นการทำ  Digital Marketing ของประเทศอื่นๆไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศจีนได้เลย  ซึ่งเป็นที่มาของChina Digital Marketing Trends ซึ่งวันนี้เราจะมาอธิบายว่าSocial Commerce คืออะไร Social Commerce คือการที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคสามารถ ดูสินค้า สั่งสินค้า เเละจ่ายสินค้าได้ครบจบใน Social Mediaเลย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกับโซเชียลมีเดียนั้นถือเป็นเรื่องเดียวกันในประเทศจีน เเละมีความเเตกต่างกับต่างประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นที่ประเทศจีนคำว่า “Social Commerce” จึงถือเป็นเทรนด์ที่ต้องจับตามองอย่างมาก ยกตัวอย่างว่าจีนเเตกต่างจากประเทศอื่นๆหรือเเม้เเต่ประเทศไทยยังไงบ้าง อย่างในประเทศไทยเวลาเราซื้อของในออนไลน์ เฟสบุค หรือ ไอจี ก็จะเเคบรูปสินค้าที่สนใจมาให้คนขายผ่านทางไลน์ พอเเม่ค้าบอกยอดเงิน หรือค้าต้องจดเลขบัญชีหรือจำเลขบัญชีเเละธนาคารเพื่อโอนผ่านทางโมบายแบงกิ้งต่างๆ เเต่สำหรับเมืองจีนโดยเฉพาะ WeChat ไม่ต้องเข้าออกเเอปให้ยุ่งยากสามารถ สามารถเลือกชื้อของกดสั่งสินค้าเเละจ่ายเงินผ่าน WeChat ได้เลย เรียกได้ว่าครบถ้วนจบในเเอปเดียวจริงๆ เพราะWeChat ไม่ได้ทำได้แค่แชทอย่างเดียว เเต่ยังเป็นโซเชียลมีเดีย และวีเเชทเพย์อีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่องทางทำมาหากินของคนจีนได้อย่างดี เพราะเมื่อลูกค้าดูสินค้าเเล้วถูกใจอยากได้ก็สามารถสั่งซื้อ เเละชำระเงินได้ทันทีซึ่งสะดวก รวดเร็วทันใจกว่าในการที่ไม่ต้องนั่งกดเปลี่ยนเเอปไปมา หรือจำเลขบัญชี จำเงินที่ต้องโอน จำซื่อคนรับเงิน ยิ่งไปกว่านั้นไม่เปลืองเมมโมรี่มือถือในการโหลดเเอปเยอะๆอีกด้วย  ในประเทศไทย การซื้อสินค้าในช่องทางออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เเละส่วนมากที่ใช้ช่องทางออนไลน์ยังเป็นคนกรุงเทพที่อยู่เมืองใหญ่ เเตกต่างกับคนจีนที่คนจีนส่วนมากทุกคนไม่ว่าจะวัยรุ่น เป็นผู้สูงอายุ หรือจะอยู่เมืองไหนก็ตามของจีนก็มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากกว่าออกมาชื้อเเบบออฟไลน์ชะอีก ปัจจุบัน WeChat มีผู้ใช้ในจีนกว่าเกือบ...

Continue reading

สำรวจกลยุทธ์ เพิ่มยอดเปิดอ่านอีเมลอย่างไร ให้สูงกว่าค่าเฉลี่ย Open Rate เดิม

Email Marketing เป็นอีกหนึ่งวิธีสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สื่อสารกับลูกค้าเชิงลึกได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างก็ต้องเริ่มจากการให้ลูกค้ากดคลิกเปิดมันขึ้นมาก่อน อัตราการเปิดอ่าน หรือ Email Open Rate จึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการวัดผลประสิทธิภาพของอีเมลนั้นๆ ก่อนอื่น เรามาดูค่าเฉลี่ยการเปิดอีเมลโดยทั่วไปกัน จากรีเสิรช์ล่าสุด สามารถสรุปค่าเฉลี่ยการเปิดอีเมลจาก 3 เครื่องมือหลักไว้ได้ดังนี้ Constant Contact : 13.94% Mailchimp : 21.33% GetResponse : 22.15% ดังนั้น หาก Open Rate ของคุณอยู่ในตัวเลขเฉลี่ยระหว่าง 12% ถึง 25% แล้วล่ะก็ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แล้วเราจะเพิ่มค่าเฉลี่ยการเปิดอ่านนี้ได้อย่างไร? 1. Email list ให้เป็นปัจจุบัน Open rate, Conversion rate และ Click-through rate ล้วนขึ้นอยู่กับคุณภาพของลิสต์รายชื่ออีเมล การสร้างลิสต์อีเมลที่จะส่งไปจึงเป็นอะไรที่สำคัญและควรค่าแก่การให้ความใส่ใจอย่างมาก ถึงอย่างนั้นการสร้าง Email list ก็ไม่ได้วัดคุณภาพได้จากจำนวนเสมอไป สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึง คืออีเมลลิสต์ในนั้น ต้องการที่เห็นอีเมลของคุณจริงๆ หรือเปล่าต่างหาก คุณควรเลือกให้ดีว่าจะเพิ่มใครลงในลิสต์เหล่านั้นบ้าง การส่งคำยืนยันซ้ำสองครั้งให้แน่ใจว่าพวกเขาต้องการอีเมลจากคุณจริงๆ และช่วยลดความเสี่ยงที่เมลของคุณจะกลายเป็นสแปม ให้ความสนใจกับ Email bounce rate และลบรายชื่อที่ล้าสมัยออกไป ตรวจหารายชื่อที่มีปฏิสัมพันธ์กับอีเมลน้อย สอบถามว่าพวกเขายังต้องการรับอีเมลจากคุณอยู่หรือไม่ หากไม่ได้รับการตอบกลับ ก็ควรจะลบจากรายชื่ออีเมลออกไป การลบลิสต์อีเมลที่เพียรหามาอย่างหนักแน่นอนว่าอาจทำให้รู้สึกไม่ดีนัก แต่การเพียรสร้างลิสต์อีเมลให้เป็นปัจจุบัน จะทำให้คุณปรับปรุงกลยุทธ์และเลือกโฟกัสในอีเมลลิสต์ที่สำคัญกว่าได้ 2. ตั้งชื่อหัวข้อให้น่าสนใจ ชื่อหัวข้อเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ลูกค้าจะเลือกตัดสินใจว่าจะคลิกเปิดเข้าไปหรือไม่ ดังนั้นในการตั้งชื่อจะต้องคำนึงในมุมมองของลูกค้า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาจะได้ หรือคุณต้องการให้พวกเขาทำอะไรกันแน่ ใช้ความคิดเหล่านี้เป็นตัวโฟกัสหลักในการตั้งชื่อหัวข้อเหล่านั้น การตั้งชื่อหัวข้อไม่ควรจะยาวเกินไป และมุ่งเน้นให้ตรงประเด็น จำนวนตัวอักษรไม่ควรมากเกิน 40 ตัว ยิ่งถ้าวิเคราะห์จากพฤติกรรมลูกค้าแล้วมีแนวโน้มที่จะเปิดผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีการจำกัดการแสดงผลเป็นหลัก ก็ยิ่งควรตั้งให้รัดกุมเข้าไว้ อีกกฎข้อหนึ่งที่สำคัญ คือควรเลือกใช้คำที่หลีกเลี่ยงจะโดนเสี่ยงเข้าใจผิดว่าเป็นสแปม เพราะหากอีเมลของคุณส่งไปไม่ถึงกล่องข้อความเข้าล่ะก็ ลูกค้าก็ไม่สามารถเห็นได้เหมือนกัน 3. ใช้ประโยชน์จาก Preheader Text Preheader Text เป็นอีกข้อความที่ผู้รับของคุณจะเห็นก่อนตัดสินใจคลิก ดังนั้นการเลือกใช้คำส่วนนี้ให้ชาญฉลาดก็สำคัญอย่างมาก...

Continue reading

Github

Github เลือก Zendesk ผนึกกำลังสร้างแพลตฟอร์มซัพพอร์ต...

Google Meet เพิ่มมุมมองขณะวิดีโอคอลได้ถึง 49 คน

ตอนนี้ใน Google Meet สามารถเห็นผู้ร่วมประชุมได้ถึง 49 คนพร้อมกัน ด้วยตัวเลือกมุมมองแบบอัตโนมัติและแบบตาราง (Tiled) นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในหน้าจอด้วย ซึ่งแต่เดิมคุณจะไม่เห็นภาพตัวเองเมื่อวิดีโอคอล โดยการวางเมาส์เหนือภาพ thumbnail ของตัวเองที่มุมขวาบน คุณจะเห็นตัวเลือกในการเพิ่มหรือลบตัวเองออกจากตาราง การเห็นผู้คนมากขึ้นในเวลาเดียวกันขณะประชุมช่วยให้สามารถเห็นปฏิกิริยาของทุกคนที่มีต่อสิ่งที่กำลังพูดคุย และช่วยให้รู้สึกว่าการวิดีโอคอลเหมือนเป็นการประชุมแบบตัวต่อตัว กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มตัวเองเข้าไปในหน้าจอจะช่วยให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมนั้นๆ อีกด้วย ฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานใน Google Meet บนเว็บเบราวเซอร์เท่านั้น ตามค่าเริ่มต้นจำนวนตารางสูงสุดที่คุณจะเห็นในการจัดวางอัตโนมัติคือ 9 ช่อง และในรูปแบบ Tiled คือ 16 ช่อง แต่หลังจากอัปเดตนี้คุณจะสามารถใช้แถบเลื่อนเพื่อปรับจำนวนตารางได้ตามต้องการ หากคุณจำนวนตารางน้อยลงก็อย่าเพิ่งตกใจ จำนวนจะขึ้นอยู่กับขนาดหน้าต่างของคุณ เนื่องจากตารางที่มีจะปรับให้พอดีกับหน้าจอของคุณ โดยคุณสามารถใช้งาน Google Meet ได้ใน Google Workspace ทุกแพ็คเกจ ที่มา – G suite Updates Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

Google Meet เพิ่มมุมมองขณะวิดีโอคอลได้ถึง 49 คน

ตอนนี้ใน Google Meet สามารถเห็นผู้ร่วมประชุมได้ถึง 49 คนพร้อมกัน ด้วยตัวเลือกมุมมองแบบอัตโนมัติและแบบตาราง (Tiled) นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในหน้าจอด้วย ซึ่งแต่เดิมคุณจะไม่เห็นภาพตัวเองเมื่อวิดีโอคอล โดยการวางเมาส์เหนือภาพ thumbnail ของตัวเองที่มุมขวาบน คุณจะเห็นตัวเลือกในการเพิ่มหรือลบตัวเองออกจากตาราง การเห็นผู้คนมากขึ้นในเวลาเดียวกันขณะประชุมช่วยให้สามารถเห็นปฏิกิริยาของทุกคนที่มีต่อสิ่งที่กำลังพูดคุย และช่วยให้รู้สึกว่าการวิดีโอคอลเหมือนเป็นการประชุมแบบตัวต่อตัว กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มตัวเองเข้าไปในหน้าจอจะช่วยให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมนั้นๆ อีกด้วย ฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานใน Google Meet บนเว็บเบราวเซอร์เท่านั้น ตามค่าเริ่มต้นจำนวนตารางสูงสุดที่คุณจะเห็นในการจัดวางอัตโนมัติคือ 9 ช่อง และในรูปแบบ Tiled คือ 16 ช่อง แต่หลังจากอัปเดตนี้คุณจะสามารถใช้แถบเลื่อนเพื่อปรับจำนวนตารางได้ตามต้องการ หากคุณจำนวนตารางน้อยลงก็อย่าเพิ่งตกใจ จำนวนจะขึ้นอยู่กับขนาดหน้าต่างของคุณ เนื่องจากตารางที่มีจะปรับให้พอดีกับหน้าจอของคุณ ที่มา – G suite Updates G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...