Google Meet สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้แล้ว

สนุกไปกับการประชุมมากขึ้น Google Meet อัปเดตฟีเจอร์ สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้แล้ว โดยเลือกจากภาพที่คุณมีหรือจาก Google Meet ที่มีภาพพื้นหลังให้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพออฟฟิศ วิวทิวทัศน์ หรือแบบ Abstract โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่น ๆ สามารถใช้ในเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome ได้เลย  ซึ่งในปัจจุบัน Google Meet ที่ติดตั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่ สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้แล้ว บนอุปกรณ์ในรุ่นดังต่อไปนี้ 1. หากต้องการใช้ฟีเจอร์เปลี่ยนพื้นหลัง Google Meet และเอฟเฟกต์ในอุปกรณ์ iOS คุณต้องใช้อุปกรณ์ในรุ่นดังต่อไปนี้ iPhone 8 ขึ้นไป iPad รุ่นที่ 5 ขึ้นไป iOS 12 ขึ้นไป 2. หากต้องการใช้ฟีเจอร์เปลี่ยนพื้นหลัง Google Meet และเอฟเฟกต์ในอุปกรณ์ Android คุณต้องใช้อุปกรณ์ในรุ่นดังต่อไปนี้ Samsung Galaxy S9 ขึ้นไป Pixel 3 ขึ้นไป อุปกรณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน อ่านบทความที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจอื่น ๆGoogle Meet เปลี่ยนพื้นหลังบนโทรศัพท์และแท็บเล็ตได้แล้ว ไปดูวิธีกันเลย! วิธีเปลี่ยนพื้นหลัง Google Meet บนคอมพิวเตอร์ หรือเดสก์ทอป ตั้งค่าง่าย ๆ ดังนี้ เปลี่ยนก่อนเริ่มวิดีโอคอล เปิดแอป Meet    > เลือกการประชุม ก่อนเข้าร่วม ให้แตะเอฟเฟกต์    ที่ด้านล่างมุมมองของตัวเอง– หากต้องการให้พื้นหลังเบลอเพียงเล็กน้อย ให้แตะเบลอพื้นหลังเล็กน้อย – หากต้องการให้พื้นหลังเบลอมากขึ้น ให้แตะเบลอพื้นหลัง – หากต้องการอัปโหลดพื้นหลังของตัวเอง ให้แตะเพิ่ม – หากต้องการเลือกพื้นหลังที่ได้อัปโหลดไว้ล่วงหน้า ให้แตะพื้นหลังที่ต้องการใช้– หากต้องการเลือกรูปแบบ ให้แตะรูปแบบ > รูปแบบที่ต้องการใช้ที่ด้านล่าง– หากต้องการเลือกตัวกรอง ให้แตะตัวกรอง >...

Continue reading

ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คืออะไร?

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นที่นิยมและมีเกิดใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับลูกค้าที่เขาต้องเจอ แต่สิ่งนึงที่ยังไม่เปลี่ยนก็คือคนยังคิดอยู่เสมอว่าการติดต่อที่สะดวกและไวที่สุดคือการโทรหรือการสื่อสารทางโทรศัพท์ (และไม่ใช่แค่ Gen X Gen Y แต่ Gen Z ก็ยังคิดแบบนั้น) เพราะฉะนั้นหากคุณต้องการที่จะเอาชนะใจของลูกค้าในทุก Gen จริง ๆ แล้วการที่คุณมีระบบการจัดการทางโทรศัพท์ที่ดีควรเป็นพื้นฐานของบริษัท เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตและอยู่เหนือคู่แข่งมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยระบบการบริการที่ดีกว่า หรือจะเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจที่คุณไม่จำเ็นที่จะต้องจ้างพนักงานเพื่อมารับสายลูกค้าทุกคนที่ติดต่อเข้ามา ซึ่งระบบ IVR (Interactive Voice Response) สามารถช่วยคุณในสิ่งที่พูดมาทั้งหมดข้างต้นได้ ภาพจาก : https://www.zendesk.com/blog/what-is-ivr/ เรามาทำความรู้จักกับระบบ IVR (Interactive Voice Response) เพิ่มเติมกันดีกว่า ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คือ การตอบโต้เมนูอัตโนมัติทางธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณโทรหาบางบริษัท แล้วจะมีระบบบอกว่า “ติดต่อฝ่ายขายกด 1“ “ติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตกด 2” “แจ้งปัญหากด 3” แบบนี้เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ สามารถช่วยในการเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ประเภทของปัญหาหรือหมายเลขที่ติดต่อ และยังช่วยพาลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาให้ไปยังจุดที่เขาต้องการได้เลย โดยที่ไม่ต้องเพิ่มภาระให้กับฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยที่ระบบ IVR เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา ผ่านตัวเลขที่เป็นตัวแทนของปัญหาในโทรศัพท์ พร้อมทั้งฝั่งของบริษัท สามารถตั้งค่าคำตอบล่วงหน้าสำหรับลูกค้าถามบ่อย ๆ เพื่อลดเวลาในการรอของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นการบริการลูกค้าแบบ Self Service รูปแบบนึงที่หลายๆบริษัทชั้นนำมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว หากคุณต้องการที่จะยกระดับการบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบ IVR นี้ ก็ควรที่จะมองหาระบบหรือซอฟต์แวร์ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตในการติดตั้งให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้เรา Demeter ICT ซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Zendesk มาแนะนำ เป็นซอฟต์แวร์ที่จะช่วยยกระดับเรื่อง Customer Service และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยังลดเวลารวมไปถึงต้นทุนในเรื่องของกระบวนการทำงานบางอย่างได้อีกด้วย ซึ่งตัวที่จะช่วยในเรื่องของระบบ IVR นั้นจะมีชื่อว่า Zendesk Talk หากคุณต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zendesk คลิกเลย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ...

Continue reading

4 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ บริหาร Customer Experience อย่างไร เปลี่ยนลูกค้าขาจรเป็นลูกค้าประจำ

ก่อนอื่น เรามารู้จักความหมายของ Customer Experience Management กันก่อน Customer Experience Management หรือ CXM คือ การบริหารประสบการณ์ลูกค้า ระบบที่องค์กรใช้ในการติดตาม สำรวจควบคุม และสร้างอิทธิพลไปยัง Customer Touchpoint ซึ่งเป็นจุดสำคัญอย่างมากในการสร้างประสบการณ์เพื่อพิชิตใจลูกค้าให้ได้ วัตถุประสงค์ของการทำ Customer Experience Management จึงเป็นการให้บริการ Customer Service ในระดับที่มีคุณภาพคงที่ พัฒนา Brand Loyalty ของลูกค้า และการสร้าง Engagement ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น “Customer Experience คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกค้าจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ เราจะต้องบริหารประสบการณ์นั้น เพื่อที่ทีมจะสามารถทำงานร่วมกัน และส่งมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อที่น่าพึงพอใจให้แก่ลูกค้า” – Dave Dyson, Senior Customer Service Evangelist จาก Zendesk กล่าว และหากว่าแบรนด์ของคุณกำลังผจญกับความท้าทายในการบริหารประสบการณ์ลูกค้าล่ะก็ บางที 4 เทคนิคจากมืออาชีพเหล่านี้อาจช่วยคุณได้ 1. ตั้งเป้าหมายให้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ หลายครั้งที่องค์กรมองปัญหาแค่ในมุมของตัวเอง และหาทางแก้ปัญหานั้นในแบบที่ตนเองจะได้รับประโยชน์มากที่สุด แต่กลับทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าย่ำแย่ลง ยกตัวอย่าง พนักงานคอลเซ็นเตอร์พยายามจบบทสนทนากับลูกค้าให้ได้ใน 5 นาทีเพื่อจะได้มียอดผลงานดีๆ ให้บริษัท ทั้งที่การทำแบบนั้นอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกรวบรัดและเสียประสบการณ์ความประทับใจดีๆ ได้ เพราะแบบนั้น การเซ็ทเป้าหมายให้เป็นไปในมุมของลูกค้า จึงเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก 2. ให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจถึงความสำคัญของ CX ทุกการลงทุนย่อมต้องอาศัยความเข้าใจและความพร้อมที่จะเสี่ยง การตั้งเป้าลงทุนในด้าน CX ทั้งการซื้อซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารประสบการณ์ลูกค้า ก็ต้องอาศัยคนหนุนหลังที่ซัพพอรต์ส่วนนี้ได้ ในการนี้ อาจจะเป็นการพรีเซนต์ถึงผลลัพธ์ที่วัดผลได้อย่าง ROI หรือผลตอบรับในระยะยาว ที่ไม่ใช่แค่ลูกค้าไม่พอใจหนึ่งครั้ง แต่ทวิตบอกต่อกันจนพาให้คนอื่นเสียความรู้สึกต่อแบรนด์ตามไปด้วย ต้องบอกให้ชัดว่ากำลังทำอะไรและเป้าหมายที่ทำคืออะไร 3. ใช้ข้อมูลมาช่วยในการวิเคราะห์หาจุดบกพร่อง คำวิจารณ์เกี่ยวกับสินค้า นำมาใช้ในการพัฒนาสินค้า แต่ถ้าไล่ Customer Journey ไปทีละส่วนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ในทุกจุด Touch Point ที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ก็จะทำให้รู้จุดที่ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่และนำมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขได้ อาจจำเป็นต้องใช้ระบบที่ช่วยในการจับข้อมูลเหล่านี้...

Continue reading

Customer Service Improvement in The New Normal ครั้งที่ 2

ปี 2020 กำลังสิ้นสุดลง ย่างเข้าสู่ปี 2021 เพียงในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น สถานการณ์โรคระบาด เศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายบริษัทต้องหาแนวทางหรือวิธีการต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การปรับเปลี่ยนองค์กรให้รับกับรูปแบบการทำงานแบบดิจิตัล และการมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ รับฟังลูกค้า ยังคงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สมควรให้ความสำคัญอย่างมาก Customer Service หรือฝ่ายบริการลูกค้า เป็นฝ่ายที่รับหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เปรียบเสมือนภาพตัวแทนของแบรนด์ และเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้ การมีบริการทั้งก่อนและหลังซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ดีจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ และเป็นการสร้างจุดเด่นด้านความแตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การแข่งขันสูงนี้ โดยในงานสัมมนานี้ Demeter ICT จะขอพาคุณร่วมเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ปี 2021 ด้วยกัน คุณจะได้ร่วมฟังเทรนด์การบริการลูกค้าสำหรับปีหน้า แนวทางการบริการลูกค้าในยุคใหม่ ประสบการณ์ สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับลูกค้า และพาคุณปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าของธุรกิจคุณด้วยซอฟต์แวร์พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าระดับโลกอย่าง Zendesk ให้คุณยกระดับการบริการ เตรียมตัวรับมือยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต ลงทะเบียน Agenda 14:00 – 14:10 Opening & Welcoming Speech 14:10 – 14:25 Customer Service trends for upcoming 2021 อัปเดตเทรนด์การบริการลูกค้าในปีหน้า 2021 ก่อนใคร เพื่อเตรียมตัวรับมือยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 14:25 – 14:40 Way to improving your Customer Service in the New Normal แนวทางการบริการลูกค้าในยุคใหม่ ประสบการณ์ สิ่งที่ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับลูกค้า 14:40 – 15:20 Customer Service Transformation with Zendesk ปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าของธุรกิจคุณด้วย Zendesk และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 15:20 – 15:30 Q&A Speakers ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ CEO...

Continue reading

4 ช่องทางที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นด้วย Zendesk

ความคาดหวังที่ลูกค้าทุกคนมีกับร้านค้าทุกร้าน คือ การบริการที่ดี การซัพพอร์ตลูกค้าที่ดี ซึ่งการซัพพอร์ตที่รวดเร็วก็เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการบริการที่ดี รวมถึงซอฟต์แวร์ที่คุณใช้อยู่ช่วยให้คุณบริการและซัพพอร์ตลูกค้าได้ดีและรวดเร็วได้หรือไม่? ถ้ายังวันนี้เรามี Software ที่จะช่วยให้การบริการลูกค้าดียิ่งขึ้น และยังรวมไปถึงกระบวนการทำงานอื่นๆที่จะง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งนี่เป็น 4 ช่องทางที่ Zendesk สามารถช่วยให้คุณมีการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมได้ (และทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอีกด้วย) Zendesk ตั้งค่าตามต้องการและปรับแต่งตามที่ต้องการ เป็น Software ที่สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วันก็สามารถเริ่มใช้งานได้ ใช้งานง่ายปรับแต่งข้อมูลตามที่ตัวเองต้องการได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา เพื่อให้พนักงานมุ่งเน้นกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ามากกว่าการมานั่งอบรม คุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง Zendesk มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ หากคุณกำลังโซลูชันอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการทำงานของคุณในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น Zendesk สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่เรามีมืออาชีพรุ่นเก๋าที่จะช่วยแนะนำ และพูดถึงการปรับกระบวนการทำงานได้ Zendesk ไม่ได้ช่วยแค่ลูกค้า แต่ช่วยพนักงานด้วย ไม่ได้ช่วยแค่ให้ CX ดีขึ้นอย่างเดียวแต่ผู้ใช้ หรือลูกค้าของ Zendesk ก็ยังทำงานง่ายขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเรื่องการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่อยู่ในที่เดียว ทำให้พนักงานที่ทำงานทุกคนมีข้อมูลลูกค้าทุกคน ไม่จำเป็นที่จะต้องไปขอข้อมูลของคนอื่นให้ยุ่งยากอีกต่อไป Zendesk ช่วยให้คุณมีเวลาที่มากขึ้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงโซลูชันใหม่ๆ มักจะต้องใช้เวลานานทั้งการติดตั้ง การฝึกอบรม จนไปถึงการลองใช้จริงภายในองค์กร แต่ Zendesk ปรับมาให้ ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ง่าย ใครๆก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะ Zendesk สร้างเพื่อให้ทุกคนมีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ด้วยการทำงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความยืดหยุ่น และก็ยังช่วยผลักดันธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ทาง Zendesk มี ช่วยให้คุณสามารถมอบการบริการและการซัพพอร์ตลูกค้าที่ยอดเยี่ยมได้ เพื่อที่จะสร้างความประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และความภักดีต่อแบรนด์ของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น ที่มา : Zendesk Blog ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475 (คุณตอง)...

Continue reading

Google Workspace คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง

ประกาศรีแบรนด์ครั้งใหญ่! ต้องขอเกริ่นก่อนว่า Google ได้มีการประกาศรีแบรนด์ G Suite เป็น Google Workspace พร้อมเปลี่ยนไอคอนแอปพลิเคชัน หลัก ๆ บางตัวให้เป็นดีไซน์ใหม่ทั้งหมดภายใต้คอนเซป Everything you need to get anything done, now in one place โดย Google Workspace ได้รวบรวมแอปพลิเคชันทั้งหมดที่ทุกคนรู้จักดีเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว เช่น Gmail, Calendar, Drive, Docs, Sheets, Slides, Meet และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ที่ไหน ออฟฟิศ ทำงานที่บ้าน คุณก็สามารถติดต่อกับลูกค้าได้ในทุกอุปกรณ์ Google Workspace จึงเป็นเปรียบเสมือนพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการสร้างสรรค์ (Create) สื่อสาร (Communicate) และการทำงานร่วมกัน (Collaborate) อย่างแท้จริง https://www.youtube.com/watch?v=Sb6fKtuxDKs&feature=emb_imp_woyt Google Workspace คืออะไร? “Google Workspace” คือ บริการอีกอย่างหนึ่งจาก Google เป็นชุดแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยจะมีแอปพลิเคชันที่เหมาะสำหรับการทำงานต่างๆ มากมายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Gmail – ที่อยู่อีเมลที่เป็นชื่อโดเมนบริษัท เช่น you@yourcompany.comCalendar – การนัดหมายการประชุม และปฏิทินออนไลน์Google Drive – พื้นที่จัดเก็บไฟล์ และข้อมูลบนคลาวด์ ที่ได้มากกว่า Free Gmail ถึง 2 เท่าDocs, Sheets, Slides, Forms – เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์Google Meet – Video Conference สำหรับองค์กร ปลอดภัย ใช้งานง่ายAdmin – ตัวควบคุมความปลอดภัย และจัดการบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดในองค์กร และอื่นๆ อีกมากมายใน แอปพลิเคชันทั้งหมดของ Google Workspace ด้วยการทำงานทั้งหมดของ Google Workspace จะอยู่บนระบบคลาวด์ (Cloud) เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้...

Continue reading

ส่องวิจัย เมื่อหลายรัฐบาลทั่วโลก นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ CX ในวิกฤตโควิด-19

Forrester บริษัทวิจัยชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาออกรายงานถึงตัวอย่างกลวิธีที่รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกใช้ในการรับมือกับโควิด-19 หนึ่งสิ่งที่สามารถสรุปผลได้ คือ โควิด-19 บีบให้รัฐบาลต้องปรับตัว และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าหรือ CX (Customer Experience) ในบทความนี้ เราจะมาดู 7 ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ของรัฐบาลอื่นทั่วโลกกัน 1. สหรัฐอเมริกา อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทำงานแบบ Remote อย่างการประชุมทางไกล หรือ Video Conference และเอกสารที่เดิมทีเซ็นด้วยมือลงกระดาษให้สามารถเซ็นทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ หรือใช้การถ่ายรูปเอกสารที่มีการเซ็นแล้วส่งผ่านทางอีเมล 2. จีน ใช้เครื่องจับความร้อน และเทคโนโลยีเอไอในการตรวจแบบเรียลไทม์ ให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็ว เลี่ยงการสัมผัสระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขกับบุคคลทั่วไป 3. เกาหลีใต้ สร้างแพลตฟอร์มในการให้ข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับโควิด-19 ถึงสถานที่ต่างๆ ว่าจุดไหนที่สามารถซื้อหน้ากากหรือเจลล้างมือได้ รวมถึงจุดที่สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อได้โดยไม่จำเป็นต้องลงจากรถ 4. สิงค์โปร์ มีการใช้หุ่นยนตร์สุนัขจากบริษัทบอสตัน ไดนามิค ในการตรวจตราจำนวนคนในสวนสาธารณะ และแจ้งเตือนประชาชนให้มีการเว้นระยะห่างกัน 5. อินโดนีเซีย ใช้แอปพลิเคชันที่สามารถสร้าง QR Code แบบจำเพาะสำหรับการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ 6. เยอรมัน มีการใช้แอปพลิเคชันเข้ามาช่วยในการเฝ้าระวัง โดยให้คนทั่วไปสามารถแชร์ข้อมูลติดตามการเคลื่อนไหวได้แบบไม่ระบุชื่อ 7. ออสเตรเลีย ใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 โดยเฉพาะ มีฟังก์ชันให้ลงทะเบียนเรื่องการกักตัว และ Chatbot จาก WhatsApp เข้ามาเสริมในการให้ข้อมูล การพัฒนาด้านนวัตกรรม อีกหนึ่งพันธกิจสำคัญของทุกรัฐบาล ทั้งบุคคลทั่วไป หรือแม้แต่นักธุรกิจต่างล้วนต้องพึ่งพาความเป็นเสถียรภาพของรัฐบาลในการรับมือกับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาต่างๆ และการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข วิกฤตครั้งนี้จึงเหมือนกับบททดสอบครั้งใหญ่ที่บ่งบอกถึงศักยภาพในการแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้นๆ เดิมทีองค์กรภาครัฐมักไม่ขึ้นชื่อในเรื่องของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยนัก แต่ในวิกฤตโควิด-19นี้ องค์กรในหลายภาคส่วนทั่วโลกต่างได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการสร้างประสบการณ์ (CX) ให้ดีกว่าเดิม  ที่มา : Forrester, Zendesk ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482...

Continue reading

ดู Preview Link ใน Docs, Sheets, Slides แสนปัง ไม่ต้องสลับหน้าจอ

การอัปเดตนี้ทำให้การดู Preview Link ใน Docs, Sheets, Slides เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยคุณไม่ต้องสลับหน้าจอเพื่อไปดูเอกสารที่ลิงก์ไว้ ซึ่งจะทำให้การทำงานของคุณนั้นรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้การอ่านหรือดูเอกสารที่มีการเชื่อมต่อกับเนื้อหาอื่น ๆ ได้ไม่มีสะดุด แต่เดิมการคลิกไปที่ลิงก์ที่เชื่อมเอกสารไว้ จะมีการเปิดไปอีกหน้าต่างนึง ซึ่งก็เป็นการรบกวนสมาธิขณะอ่านเอกสาร แต่ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันกับแอปอื่น ๆ ของ Google Workspace ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace (G Suite) ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดราคา Google Workspace (G Suite) 02-030-0066...

5 เทคนิคกู้วิกฤตชื่อเสียงแบรนด์ ดึงภาพลักษณ์ติดลบแย่ๆ ให้ดีขึ้น

แม้จะพยายามหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาดจนแบรนด์เสียชื่อเสียงไปมากแค่ไหน แต่ท้ายสุดแล้วก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่ามันจะไม่มีวันที่จะไม่เกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์นี้ที่ข่าวสารแพร่กระจายรวดเร็วปานสายฟ้าแล่บ ความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจถูกตีแผ่และพูดถึงในวงกว้างจนเป็นไวรัล สำหรับทีมการตลาดแล้ว นั่นก็คือฝันร้ายดีๆ นี่เอง แล้วในจุดนั้น เราควรจะทำหรือต้องทำอย่างไร ถึงจะกู้วิกฤตนี้ และประณีประนอมเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้าให้กลับคืนมาได้ มาดูกัน 1. ขอโทษอย่างรวดเร็วและจริงใจ หากว่าคุณเผลอโพสต์คอนเท้นท์หรืออะไรที่ไปทำร้ายประสบการณ์ของลูกค้าเข้าล่ะก็ สิ่งแรกที่ควรทำไม่ใช่การปฏิเสธข้อผิดพลาดใดๆ ทั้งนั้น แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตัวเองถึงปัญหาที่เกินขึ้น ถึงอย่างนั้นแค่เพียงการรีบขอโทษก็ใช่จะเพียงพอเสมอไป หากว่ามันถูกมองว่าไร้ความจริงใจ ก็อาจยิ่งพือกระแสลบให้ทวีมากกว่าเดิมได้ สิ่งที่ควรทำจึงเป็นไม่เพียงแต่ขอโทษเอาหน้า แต่ควรระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เลี่ยงที่จะกล่าวในมุมของบริษัท แต่ลองพิจารณาในมุมของลูกค้า พยายามทำให้พวกเขามั่นใจว่าจะไม่มีการทำผิดพลาดเดิมๆ ซ้ำอีก การเรียนรู้ที่จะกล่าวขอโทษเป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกลับมา ความพึงพอใจของลูกค้าจะเพิ่มขึ้น 15% หลังยอมรับคำขอโทษนั้น 2. พัฒนาด้าน Customer Service ให้มากขึ้น หลังจากทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ยอดแย่อย่างไม่ตั้งใจ สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ก็คือการทำให้มั่นใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง การโฟกัสความสนใจไปที่การปรับปรุง Customer Service ให้ดียิ่งขึ้นจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก หนึ่งในวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือการตรวจเช็คกระแสต่างๆ ใน Social Media อยู่เสมอ ไม่ต้องถึงขนาดที่ว่าทุกอย่างจะต้องคอยตามเทรนด์เพื่อจะสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าตลอด แต่อาจเป็นการตอบกลับรีวิวที่ได้รับ หรือตอบกลับคอมเม้นท์จากลูกค้าบ้าง ให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่เข้าถึงยากและดูเย็นชาเกินไปนัก  3. ให้ในสิ่งที่เกินความคาดหวัง อีกวิธีหนึ่งที่จะชนะใจลูกค้า ก็คือการยื่นข้อเสนอที่เกินความคาดหวัง โดยปกติเรามักจะเห็นแบรนด์แสดงออกว่าใส่ใจลูกค้าผ่านการส่งกิฟต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของส่วนลด คูปอง หรือแม้แต่ตัวอย่างของสินค้าให้ลองทดลองใช้ก่อนได้ฟรี สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่นัก แต่เราก็ยังสามารถนำมันมาปรับให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นไปอีกได้ 59% ของลูกค้ากล่าวว่าพวกเขาจะรู้สึกดีขึ้น หากว่าแบรนด์ให้ข้อเสนอแบบ Personalized ที่เกี่ยวกับความสนใจของตัวเองโดยตรง 4. เลือกสังเวียนให้ดีเสียก่อน บางทีลูกค้าของเรา ก็ใช่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ถูกเสมอไป ในบางครั้งก็อาจมีแอคเค้าท์จำพวกก่อกวนที่จงใจบ่อนทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ หรืออาจล้ำเส้นถึงขั้นใส่ร้ายพนักงานในข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นในกรณีนี้ อย่าได้กลัวที่จะออกมาปกป้องตัวเองและแสดงเจตนารมย์ของแบรนด์ให้ชัดเจน โดยเฉพาะหากว่ามีการล้ำเส้นถึงการกระจายข้อมูลส่วนตัวของพนักงานหรือถึงขั้นกระทำให้อับอายแล้วล่ะก็ สิ่งที่แบรนด์ควรทำคือตอบโต้คำร้องที่ไม่เป็นจริงแบบมืออาชีพ แสดงให้เห็นชัดว่ายืนหยัดอยู่ข้างพนักงาน จะทำให้กระแสนิยมของแบรนด์พลิกกลับมาดีขึ้นได้ 5. คอยจับตาและสำรวจหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ หนึ่งในวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ก็คือการติดตาม Social Media แบรนด์อื่นในวงการเดียวกัน ในคีย์เวิร์ดที่ไม่จำเพาะว่าต้องเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองเสมอไป เราควรจะต้องรู้ว่าคู่แข่งของเรามีเพอฟอแมนซ์อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้มองหาจุดอ่อนและเปลี่ยนมันให้เป็นโอกาสของตัวเองได้ นอกจากนี้ การรวบรวมฟี้ดแบคจากลูกค้า พุ่งความสนใจไปที่การสร้าง Customer Loyalty และการประเมินเรื่อง Customer Retention...

Continue reading