คุณเคยสงสัยไหมว่า Netflix รู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะดูรายการอะไรต่อ? Facebook แยกใบหน้าในรูปของเราได้อย่างไร? อะไรที่ทำให้รถยนต์ไร้คนขับ สามารถเกิดขึ้นได้จริง? หรือแม้กระทั่ง พนักงานบริการลูกค้ารู้ได้อย่างไรว่าคุณจะพึงพอใจในบริการของพวกเขาหรือไม่ ก่อนที่คุณจะทันได้ตอบแบบสอบถามเสียอีก คำตอบของคอนเซปต์ที่นำไปสู่นวัตกรรมเหล่านี้ ก็คือ “Machine Learning” Machine Learning คืออะไร? ก่อนอื่น มาดูคำจำกัดความของ Machine Learning กัน : Machine Learning คือ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผล คาดการณ์ ตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้ชุดข้อมูลที่ป้อนเข้าไป ตัวอย่างเกี่ยวกับอัลกิริทึมของ Machine Learning ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ก็คือแพลตฟอร์มสตรีมเพลงต่างๆ ที่มักจะแนะนำเพลงใหม่ๆ หรือศิลปินให้กับผู้ใช้ โดยอัลกอรึทึมของ Machine Learning จะทำการวิเคราะห์จากข้อมูลเพลงหรือศิลปินที่ผู้ใช้ชื่นชอบ เทียบกับผู้ฟังอื่นที่มีแนวโน้มการฟังเพลงแบบเดียวกัน หลายธุรกิจที่มีระบบแนะนำมักจะใช้เทคนิคนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการนำ Machine Learning เข้ามาใช้ในงานที่เป็น ‘ระบบอัตโนมัติ’ มากมายแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ Machine Learning เข้าช่วยในการกวาดล้างมัลแวร์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่ต้องการการแจ้งเตือนหุ้นตัวโปรด อัลกอริทึมของเอไอจะถูกโปรแกรมให้เรียนรู้ในแบบที่คล้ายกับผู้ช่วยส่วนตัวบนโลกเสมือน ซึ่งเป็นอะไรที่ Machine Learning สามารถทำได้ดีเลยทีเดียว Machine Learning มักมาควบคู่กับระบบและการ Coding ที่สลับซับซ้อน ที่ในท้ายที่สุดแล้วทำหน้าที่ไม่แตกต่างจากกลไกของไฟฉาย รถยนตร์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง “Machine Learning” ความหมายของมันก็คือบางอย่างที่แสดงผลการทำงานเดียวกับข้อมูลที่ถูกป้อน และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับคุณมีไฟฉายที่มักเปิดเองอัตโนมัติเมื่อคุณพูดประมาณว่า “ที่นี่มืดจังเลยนะ” ต่อให้คุณไม่ได้พูดประโยคเดียวกันนี้ ไฟฉายนั้นก็จะยังคงเปิดเองต่อให้คุณพูดประโยคอื่นที่ขอแค่มีคำว่า “มืด” แล้ว Deep Learning คืออะไร? ในแง่การปฏิบัติแล้ว จะกล่าวว่า Deep Learning เป็นซับเซตของ Machine Learning ก็คงไม่ผิดนัก ในความเป็นจริงเทคนิคของ Deep Learning ไม่แตกต่างจาก Machine Learning และยังมีฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายคลึงกัน หากแต่ว่า ขีดความสามารถจะแตกต่างกันเสียหน่อย...
Continue readingBusiness Transformation กับบสย. ด้วย Google Workspace
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จึงตัดสินใจนำ Google Workspace เข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กร โดยไว้วางใจให้ Demeter ICT ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace รายใหญ่ประเทศไทย เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการทำ Business Transformation ควบคู่ไปกับการทำ Change Management เพื่อเตรียมพร้อมองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานครั้งสำคัญ โดยการทำ Business Transformation และ Change Management ในครั้งนี้ช่วยให้ บสย. สามารถทะยอยปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น ซึ่งในโครงการนี้ทาง Demeter ICT เริ่มต้นด้วยการวางแผนร่วมกับ บสย. เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาขององค์กรรวมทั้งผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจน และได้มีการจัด Training Workshop เพื่อทำการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการใช้เครื่องมือ Google Workspace ให้กับพนักงานทุกคน ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง เพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์กับกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น เมื่อพนักงานได้ทำความรู้จักและสามารถใช้งานเครื่องมือ Google Workspace เป็นอย่างดีแล้ว จึงเริ่มทำ Business Transformation Workshop เพื่อให้พนักงานแต่ละทีม ได้ระดมความคิด พัฒนาและต่อยอดจากกระบวนการทำงานเดิมที่ทำอยู่ รวมถึงบอกเล่าปัญหาที่เจอจากการทำงาน และ Brainstorm วิธีที่จะนำ Google Workspace มาช่วยในการพัฒนาการทำงาน ในระหว่างโครงการนี้ทาง Demeter ICT ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับแต่ละทีม เพื่อให้โครงการที่ทุกทีมคิดขึ้นมา เกิดเป็นต้นแบบของการ Transformation ในวิธีการทำงานแบบใหม่ที่ประยุกต์มาจาก Google Workspace และเป็นโมเดลให้กับองค์กรในการพัฒนากระบวนการทำงานต่อไป นอกจากนี้ทาง บสย. ยังได้มีการจัด Pitching Day เพื่อให้พนักงานได้นำเสนองานหลังจากที่ Workshop กันไป และนำร่องการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยใช้เครื่องมือ Google Workspace ซึ่งก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง โดยพนักงานของ บสย. เป็นผู้ออกแบบกระบวนการทำงานด้วยตนเอง และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายของทาง บสย. คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการสร้างนวัตกรรมของกระบวนการ (Process Innovation)...
Continue reading75% ของบริษัทชั้นนำด้านระบบ Cloud 100 แห่ง ใช้ Zendesk
เทรนด์ที่เน้นการทำงานที่เน้นด้าน Remote Working มากขึ้น ทำให้ในปี 2020 นี้เราได้เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทด้านคลาวด์และซอฟต์แวร์หลายบริษัท Business-to-Business (B2B) ซอฟต์แวร์ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว และยังมีท่าทีจะเติบโตขึ้นไปได้อีกอย่างต่อเนื่อง Forbes ได้ลิสต์รายชื่อบริษัทชั้นนำด้าน Cloud Solution และ Software as a service (SaaS) 100 บริษัท จำแนกตามการเติบโต ยอดขาย มูลค่าและองค์กร ตลอดจนคะแนนความนิยมจากสาธารณชนและบริษัทในแวดวงเดียวกัน ในปีนี้หนึ่งในบริษัทที่ได้คะแนนตรงส่วนนี้ไป ก็คือ Zendesk กว่า 75% ของ Forbes Cloud 100 ใช้ Zendesk ในการช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า เรามาดูเหตุผลว่าทำไมบริษัทเหล่านี้ถึงได้ลงทุนด้าน Customer Experience (CX) กับ Zendesk กัน 1. สิ่งสำคัญของซอฟต์แวร์คือการทำงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น การบริการลูกค้า ก็ควรจะไร้รอยต่อด้วยเช่นกัน จากการสำรวจผ่าน Startups CX Benchmark Report 2020 พบว่า บริษัท StartUps น้อยกว่าหนึ่งในสามที่มีการใช้โซลูชันเรื่อง Customer Experience ต่างจากการสำรวจบริษัทคลาวด์ชั้นนำ ที่มีการจัดการด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะพวกเขาเล็งเห็นว่าความสำเร็จของซอฟต์แวร์พวกเขาเอง ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่ดีเช่นเดียวกัน บริษัทอย่าง Culture Amp กับ Airtable เริ่มจากการต้องการหน้า User Interface ที่ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจที่จะใช้ และอยากให้ Customer Service ในองค์กรราบรื่นไร้รอยต่อ แนวคิดนี้นำไปสู่การลงทุนด้านโซลูชันที่ทำให้ลูกค้าทำอะไรๆ ได้ง่ายขึ้น และหากพิจารณาจากความสำเร็จในตอนนี้ การลงทุนนั้นก็คุ้มค่าไม่เลวเลย 2. ในโลกที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การเข้าหาลูกค้าในช่องทางที่ใช่ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ดี Elena Gomez, Chief Financial Official จาก Zendesk กล่าวว่าปีนี้ถือเป็นบทเรียนมาราธอนสำหรับองค์กรในการท้าทายการบริหารที่คล่องแคล่วยืดหยุ่น และการปรับตัวรับภายใต้วิกฤต ให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ “โดยปกติบริษัทด้าน SaaS...
Continue reading“Experience Data” กุญแจสู่การยกระดับการบริการลูกค้า
การบริการลูกค้าที่มีคุณภาพ เป็นความสำคัญอย่างนึงที่ทุกธุรกิจควรจะต้องมี เพราะผลสำรวจจาก Zendesk ลูกค้า 1 ใน 3 พร้อมที่จะหนีคุณไปหากพบประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายกับแบรนด์ ๆ นั้น แต่ถ้าคุณทำให้ลูกค้ารู้สึกมีคุณค่าหรือว่าพบกับประสบการณ์ที่ดี เขาก็พร้อมที่จะจ่ายให้กับในครั้งต่อ ๆ ไป และอาจจะยอมจ่ายให้กับคุณมากขึ้น เพราะเขาเชื่อว่าจะได้รับประสบการณ์หรือสิทธิพิเศษที่ดีกว่าเดิม ธุรกิจในยุคปัจจุบันหลายๆแบรนด์มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ละแบรนด์จึงต้องสร้างความแตกต่าง ดังนั้นรูปแบบการเพิ่มหรือมอบฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์จึงเป็นที่นิยม แต่อาจจะส่งผลที่ไม่น่าพอใจนักสำหรับในปัจจุบันนี้ เพราะทุก ๆ แบรนด์ก็สามารถสร้างฟังก์ชั่นที่คล้ายกันได้อีกเช่นกัน ดังนั้นหลาย ๆ แบรนด์จึงเปลี่ยนทิศทางการสร้างความภักดีให้กับลูกค้า โดยมามุ่งเน้นทางด้านการบริการลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นกับลูกค้าแทน ซึ่ง ข้อมูลประสบการณ์ของลูกค้า (Experience Data) เป็นคีย์ที่สำคัญมากที่จะนำมาซึ่งการบริการที่ลูกค้าต้องการ แล้ว Experience Data(X-Data) หรือ ข้อมูลประสบการณ์ของลูกค้า คืออะไร? Experience Data(X-Data) คือ ความเชื่อ, อารมณ์, หรือจะเป็นความคิดของลูกค้า ที่สามารถบันทึกได้ในช่องทางต่าง ๆ เช่น แบบสำรวจ, ฟอร์มบนเว็บไซต์, พนักงานที่ติดต่อกับลูกค้า หรือจะเป็นช่องทางการติดต่อกับลูกค้า ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การบอก “เหตุผล” ของการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรา ซึ่งข้อมูลในส่วน X-Data จะต่างออกไปจาก Operational Data(O-Data) โดย O-Data จะบ่งบอก “สิ่งที่เกิด” มากกว่า จะยกตัวอย่างให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น มีลูกค้าคนนึงซื้อเสื้อกันหนาวจากแบรนด์เสื้อผ้าแบรนด์นึง แล้วลูกค้าเกิดไม่พอใจในตัวสินค้าเลยทำการขอคืนสินค้า ซึ่ง O-Data จะแสดงให้เห็นว่า ลูกค้าคนนี้กำลังขอคืนสินค้า แต่ X-Data จะแสดงให้เห็นว่า ทำไมลูกค้าคนนี้ถึงคืนเสื้อกันหนาวตัวนี้ เพราะลองใส่แล้วอาจจะอบอุ่นไม่เพียงพอ หรือ O-Data บอกว่าลูกค้าคนนี้ทิ้งรถเข็นเอาไว้ระหว่างกดซื้อของบน Website แต่ X-Data จะบอกว่าทำไมคนๆนี้ถึงทิ้งรถเข็นไว้ อาจจะเพราะความยุ่งยากในกระบวนการกดชำระเงิน ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่หลายๆคนหรือหลายๆบริษัทต้องการและมีมูลค่าที่สูงมากๆ เพราะว่ามันเป็นตัวบ่งบอกถึงความต้องการของลูกค้าในเชิงลึก ที่ไม่ใช่คนภายนอกจะรับรู้หรือเก็บมาได้ง่ายๆเลย เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลมาพัฒนาหรือปรับปรุงในส่วนที่ลูกค้าแนะนำหรือตำหนิมาให้ดียิ่งขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Zendesk ได้จับมือกับ Qualtrics เครื่องมือที่จะช่วยให้เก็บข้อมูล...
Continue readingรวมฟีเจอร์ออกใหม่ Google Meet
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง Google Meet ได้ออกฟีเจอร์มาใหม่มากมาย ล่าสุดคือ การแบ่งกลุ่มในห้องประชุม และยังมีฟีเจอร์การเปลี่ยนพื้นหลัง สร้าง Polls และอื่น ๆ ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้จะทำให้การประชุมทางวิดีโอของคุณมีลูกเล่นใหม่ ๆ มากขึ้น และสามารถทำให้คนเข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมกันมากขึ้นด้วยนั่นเอง ซึ่งเราได้รวบรวมฟีเจอร์ที่ออกใหม่มาไว้ในบทความนี้แล้ว 1. เปลี่ยนพื้นหลังการประชุม ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า Google Meet สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้แล้ว โดยลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Zoom ที่สามารถเลือกภาพจากในเครื่องของคุณหรือเลือกจาก Google Meet ได้เลย ซึ่งก็มีภาพอย่างอวกาศ ห้องประชุมหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เอาไว้ให้คุณเลือกใช้อย่างหลากหลาย 2. Q&A และ Polls Q&A และ Polls ฟีเจอร์ทั้ง 2 นี้ จะทำให้คนเข้าร่วมมีส่วนร่วมกับการประชุมได้ง่ายขึ้น เมื่อมีคำถามผู้เข้าร่วมสามารถตั้งคำถามระหว่างการประชุมไว้ได้ โดยที่ไม่รบกวนการประชุมนั้น ๆ สามารถมาตอบคำถามกันในช่วงสุดท้าย และการสร้าง Polls เป็นวิธีที่ง่าย ที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นต่อที่ประชุม โดยตอนจบการประชุมสามารถนำออกมาเป็น Report ได้ 3. แบ่งกลุ่มในห้องประชุม (Breakout Rooms) เป็นฟีเจอร์ที่ออกมาใหม่ล่าสุดตามที่ผู้ใช้งานร้องขอกันมา กับฟีเจอร์ Breakout Rooms ที่ตอนนี้ยังรับรองเฉพาะแพ็กเกจ Enterprise for Education สำหรับองค์กรการศึกษา แต่ในเร็ว ๆ นี้ผู้ใช้รายอื่นอย่างแพ็กเกจ Enterpries ก็จะรองรับด้วยเช่นกัน ซึ่งฟีเจอร์นี้จะสามารถแบ่งคนเข้าร่วมการประชุมออกเป็นกลุ่ม ๆ เหมาะกับการ Brainstorm หรือทำงานกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะถูกแยกออกเป็นห้อง ๆ ไม่สามารถเห็นหรือไม่ยินกลุ่มอื่นได้ แต่เจ้าของห้องประชุมจะสามารถเข้าไปดูในทุก ๆ กลุ่มเพื่อติดตามและร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งฟีเจอร์นี้สามารถสร้างกลุ่มได้มากสุดถึง 100 กลุ่มใน 1 การประชุม 4. ยกมือ (Virtually raise your hand) ฟีเจอร์ยกมือ จะเป็นการแสดงให้เจ้าของห้องประชุมสามารถรู้ได้ว่าคุณกำลังจะพูดหรือแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้น ๆ จากเดิมที่ต้องยกมือผ่านจอทำให้เจ้าของห้องหรือคนอื่น ๆ ไม่ทันสังเกตุเห็น...
Continue readingเงินหยวนดิจิทัล เเทนการใช้เงินสดของจีน
สกุลเงินหยวนดิจิทัลคืออะไร เงินหยวนดิจิทัล คือการที่นำเงินสดในกระเป๋า หรือที่เรียกว่าเงินกระดาษย้ายมาที่โลกออนไลน์ ซึ่งสามารถใช้จ่ายแบบออฟไลน์ได้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ตก็ยังสามารถใช้งานได้ เพราะใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) เพื่อจับคู่อุปกรณ์รับส่งข้อมูลธุรกรรมการเงิน ซึ่งเเอปหลักๆที่คนจีนนิยมใช้งานกันในมือถือตอนนี้คือ Alipay และ WeChat Pay เป็นเเอปที่ผูกกับบัญชีธนาคารของแต่ละคน ในปัจจุบันประเทศจีนมีผู้ใช้งานธุรกรรมผ่านมือถือมากกว่า 500 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศจีนกำลังมีการทำการวิจัย เเละพัฒนาด้านเงินหยวนดิจิทัล หรือ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นจากธนาคารกลางของจีน โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐบาลจีนซึ่งทางรัฐเป็นคนควบคุมดูเเลเอง ทำให้ค่าเงินมีความเสถียรนั้นคือ 1 : 1 เทียบเท่ากับเงินสดที่มีอยู่จริง ซึ่งเงินหยวนดิจิทัลออกแบบมาเป็น Central Bank Digital Currency (CBDC) เป็นสกุลเงินที่ควบคุมโดยธนาคารกลางของจีน เช่น ในบัญชีธนาคารมีเงินสด 200 หยวน ก็สามารถออกเงินได้ 200 หยวนดิจิทัล ดังนั้นมีความเเตกต่างกับ Bitcoin ที่ไม่มีความสเถียร หรือคงที่ เพราะสามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จีนจะเปลี่ยนเเปลงไปสู้สังคมไร้เงินสดเเบบเต็มตัว ซึ่งเงินหยวนดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่การใช้เงินในรูปแบบเงินสด อย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐของจีนอยากพัฒนา เเละเเก้ปัญหาความล่าช้าในการใช้จ่ายเงิน หรือทำธุรกรรมในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ทางรัฐได้รับความร่วมมือจากบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆหลายเเห่งช่วยกันพัฒนา เเละคิดค้นการนำหยวนดิจิทัลมาใช้ได้จริง เช่น Tencent (腾讯), Huawei (华为 ) และ China Merchants Bank ทำให้เงินหยวนดิจิทัล จะถูกเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มบริการชำระเงินจาก WeChat Pay, Alipay เเละแพลตฟอร์มอื่น ๆ ชาวจีนเริ่มเข้าสู่สังคมไร้เงินสดจากการที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนเช่น Tencent เเละ Alibaba เข้ามาปฎิวัติการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนเเทนการจ่ายเงินสด ซึงทางรัฐบาลได้เล็งเห็นความปลอดภัย เเละสะดวกสบายมากขึ้นจึงได้มีการสนับสนุนการจ่ายเงินผ่านการใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งได้ตอบโจทย์ประชาชนส่วนใหญ่ในจีน เพราะเเค่สเเกน QR Code ผ่านแพลตฟอร์ม WeChat Pay เเละ Alipay...
Continue reading10 ข้อ ที่ต้องรู้หากคุณใช้ Google Workspace
10 ข้อที่คุณต้องรู้หากคุณใช้ Google Workspace เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 1. สื่อสารครบจบที่เดียวใน Gmail Google Workspace ได้รวมเอาช่องทางการสื่อสารทั้งหมดเข้ามาไว้ที่หน้า Gmail ที่เดียว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต การใช้งานในหน้า Gmail จะไม่ได้มีเพียงแค่รับส่งเมลเท่านั้น แต่ยังมีห้องแชท (Google Chat) และการประชุมทางวิดีโอ (Google Meet) ทำให้คุณสามารถสื่อสารครบจบที่เดียวโดยที่ไม่ต้องสลับหน้าต่างหรือย้ายแอปให้ยุ่งยาก หากไม่พบ Google Chat และ Meet ให้ตรวจสอบการตั้งค่า Gmail และสามารถเปิดใช้งานได้ที่แถบ Chat and Meet ได้เลย ดูข้อมูลเพิ่มเติม: แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการสื่อสารในกลุ่ม 2. แชทตัวต่อตัวหรือกลุ่ม ได้ง่ายยิ่งขึ้น ใช้ Google Chat ส่วนตัวเพื่อการสนทนาแบบตัวต่อตัวอย่างรวดเร็วกับเพื่อนร่วมงาน หรือสร้างกลุ่มแบบเป็นกันเองและแชทกับหลาย ๆ คนได้พร้อมกันในหน้า Gmail ทางด้านขวา เรามาดูกันเลยว่าในหน้าต่าง Chat กับ Room คืออะไร Chat: เป็นช่องส่งข้อความส่วนตัวเพื่อสนทนาอย่างรวดเร็วและใช้ Bot เพื่อค้นหาข้อมูลและทำงานแบบอัตโนมัติได้ * หมายเหตุ: หากใช้ Gmail จากที่ทํางานหรือสถานศึกษา คุณอาจไม่เห็น Bot หากผู้ดูแลระบบ G Suite ปิดใช้ Bot ให้กับองค์กร และสร้างห้องแชทสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเป็นทางการมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ให้ทีมได้ร่วมกันดำเนินโครงการ ในห้องแชท ทีมจะมีชุดข้อความที่เรียกว่าการสนทนาในหัวข้อต่าง ๆ ได้ในห้องเดียว และทุกคนที่ถูกเพิ่มไปยังห้องแชทก็จะดูประวัติการสนทนาเพื่อติดตามการพูดคุยก่อนที่ตนจะเข้ามาได้ ปักหมุด (Pin) คนหรือห้องแชทที่คุณติดต่อด้วยบ่อย ๆ ไว้ที่ด้านบนของรายการเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา Rooms: สร้างพื้นที่ทำงานสำหรับโครงการหรือทีมของคุณที่มีข้อความแชท เอกสาร และงานที่ใช้ร่วมกัน แก้ไขเอกสารไปพร้อมกับสตรีมแชท ดูข้อมูลเพิ่มเติม : ห้องแชทและข้อความกลุ่ม 3. นัดหมาย เริ่ม และเข้าร่วมการประชุมได้ผ่านหน้า...
Continue readingChat VS Messaging แตกต่างกันอย่างไร?
ทุกวันนี้การที่ลูกค้าจะส่งข้อความหาแบรนด์ไหนสักแบรนด์หนึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ฟีเจอร์แชทและส่งข้อความจึงเป็นฟีเจอร์สามัญที่พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ การทำความเข้าใจการสื่อสารทางธุรกิจรูปแบบเหล่านี้เองจึงเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก แบบใดที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า แบบไหนดูเป็นธรรมชาติ หรือแม้แต่คำถามที่ว่าแท้จริงแล้วระหว่างการแชทกับการส่งข้อความ ความแตกต่างของมันอยู่ที่ไหนกันแน่ เรามาหาคำตอบของความเหมือนที่แตกต่างนี้กัน Live Chat คืออะไร? Chat หรือในที่นี้หมายถึง Live Chat เป็นช่องทางการสื่อสารที่ถูกใช้งานมากที่สุดช่องทางหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว Live Chat จะปรากฏบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันมือถือของบริษัท ไม่ค่อยปรากฏอยู่ในช่องส่งข้อความทางอื่นเท่าไหร่นัก ด้วยความที่พื้นฐานเดิมเน้นการโต้ตอบแบบ Synchronous ให้ต่อบทสนทนากันได้แบบเรียลไทม์ เมื่อบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่กับลูกค้าจบลง ประวัติการแชทก็จะถูกลบออกไปด้วย Synchronous Messaging หรือความหมายก็คือการสื่อสารแบบโต้ตอบสองทางแบบที่ Live Chat ใช้ ในเรื่องของข้อจำกัดไม่แตกต่างจากการทำงานของการโทรคุยในโทรศัพท์นักตรงที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ณ ขณะนั้นตั้งแต่ต้นจนจบ ตรงข้ามกับระบบ Asynchronous ที่ให้สิทธิ์หยุดและเริ่มการสนทนาเมื่อไหร่ก็ได้ จะเรียลไทม์โต้ตอบในทันทีก็ได้หรืออาจจะพักไว้ก่อน การสื่อสารส่วนใหญ่ระหว่างเพื่อนกับครอบครัวที่ไม่เป็นทางการมากและตามความสะดวกสบายเสียมากกว่าจึงเป็นแบบ Asynchronous การส่งข้อความในแอป Messenger ต่างๆ ก็นับเป็น Asynchronous เช่นกัน แล้ว Messaging คืออะไร? Messaging หรือการส่งข้อความ โดยทั่วไปจะหมายถึงการสนทนาทางช่องทางโซเชียลต่างๆ อย่าง Facebook Messenger, WhatsApp, WeChat และ Instagram ลูกค้า ระบบ Messaging เป็นรูปแบบ Asynchronous ลูกค้าจะสามารถตัดสินใจตอบกลับตอนไหนก็ได้ จึงค่อนข้างสะดวกสบายกว่าสำหรับกรณีคำร้องที่ไม่เร่งรีบนัก Messaging ยังสามารถจำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ Social Messaging กับ Embedded Messaging Social Messaging จะอ้างอิงถึงบทสนทนาที่ใช้แอปหรือแพลตฟอร์มส่งข้อความของบุคคลที่ 3 อาทิ WhatsApp, Facebook Messenger, WeChat แม้แต่ Instagram หรือ Twitter DMs ช่องทางเหล่านี้เป็นที่รู้จักดีเพราะแบรนด์แทบทั้งโลกล้วนใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น นอกจากนี้ Social Messaging ยังสามารถใช้ในการส่งแบบสอบถาม แจ้งเตือน...
Continue readingเตรียมโบกมือลา Google Hangouts ปีหน้าเปลี่ยนมาเป็น Google Chat
เตรียมตัวให้พร้อมกับ Google Chat ที่จะมาแทนที่ Google Hangouts ในปีหน้า แต่อย่าพึ่งตกใจไปเพราะการใช้งานยังคงคอนเซปเหมือนเดิม คือ เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร และสามารถรับส่งข้อความภายในองค์กรหรือนอกองค์กรได้อย่างปลอดภัย ไม่เปลืองพื้นที่ ซึ่งทาง Google ได้ทำการเปลี่ยนชื่อตัวแอปพลิเคชัน มีการปรับเปลี่ยนหน้าตาการใช้งานให้สวยงามมากขึ้น พร้อมทั้งมีฟีเจอร์ที่เป็นมากกว่าแชทธรรมดา เพื่อช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เมื่อเปลี่ยนจาก Google Hangouts ไปยัง Google Chat ทาง Google จะสำรองข้อมูลประวัติการแชททั้งหมด โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย มีฟีเจอร์อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้างใน Google Chat 1. แชทได้ทันทีเมื่ออยู่หน้า Gmail สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน Google Chat ได้โดยตรงจากหน้า Gmail ทั้งในหน้าเว็บและบนโทรศัพท์ โดยที่ไม่ต้องโหลดแอปแยก ซึ่งคงคอนเซปของ Google Workspace ที่รวมเครื่องมือทุกอย่างไว้ในหน้าเดียว เพื่อให้การสื่อสารของคุณนั้นต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการรับส่งอีเมล การติดต่อคน รวมถึงการประชุมก็สามารถสร้าง Google Meet ในแชทได้เลยทันที 2. แชทเดี่ยวและกลุ่มแยกกันอย่างชัดเจน ใน Google Chat แยกแชทเดี่ยวและกลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งหน้าต่าง Chat คือ แชทเดี่ยว เป็นช่องส่งข้อความส่วนตัว เพื่อสนทนาอย่างรวดเร็วและใช้ Bot เพื่อค้นหาข้อมูลและทำงานแบบอัตโนมัติได้ หน้าต่าง Room คือ แชทกลุ่มหรือสร้างพื้นที่ในการทำงานกับทีมของคุณโดยจะมีหน้าต่างของข้อความแชท ไฟล์เอกสาร และงานที่ใช้ร่วมกัน สามารถแก้ไขเอกสารไปพร้อมกับสตรีมแชท ทั้งนี้ยังสามารถปักหมุดแชทที่คุยเอาไว้คุยบ่อย ๆ ได้อีกด้วย 3. Status บอกสถานะ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานของคุณได้รู้ว่าคุณนั้นสะดวกตอบข้อความหรือไม่ โดยเบื้องต้นจะขึ้นเป็น Active คือ กำลังใช้งานอยู่และคุณสะดวกในการตอบแชทได้ หากคุณกำลังประชุมหรือติดงานอื่น ๆ เพื่อนของคุณจะรับรู้ได้หากคุณเลือก Do not Disturb คือ ห้ามรบกวนและการแจ้งเตือนข้อความก็จะไม่ขึ้นแสดงรบกวน ส่วน Away คือ คุณนั้นไม่ได้ใช้งานอยู่ นอกจากนี้ถ้าเราลาและลงใน Calendar ทาง Google...
Continue reading