เพื่อให้ง่ายต่อการเปิด แก้ไข และทำงานร่วมกันบนไฟล์ Microsoft Offices ที่รับส่งใน Gmail ทาง Google Workspace ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ เพื่อนำมาแก้ไข แล้วอัปโหลดขึ้นไปใหม่เพื่อที่จะส่งอีเมล แต่สามารถคลิกเพื่อเปิดแก้ไขไฟล์ใน Google Docs, Sheets, Slides และแนบไฟล์ตอบกลับอีเมลได้เลยทันที ซึ่งมีตั้งแต่แพ็กเกจ Google Workspace Business Starter, Business Standard, Business Plus, Enterprise Standard, and Enterprise Plus โดยมีฟีเจอร์ที่เพิ่มมา ดังนี้ เมื่อได้รับไฟล์ที่แนบมาจาก Gmail คุณสามารถเปิดไฟล์เพื่อแก้ไขเอกสารข้างในได้ง่าย ๆ เพียงคลิกแค่ครั้งเดียวจากตัวไฟล์ โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดออกมา และเอกสารในไฟล์ยังคง Format เดิม แม้ว่าจะเป็นไฟล์ของ Microsoft หรืออื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกัน ลดเวลาการแปลงไฟล์ และลดขั้นตอนการดาวน์โหลด ง่ายต่อการแนบไฟล์เพื่อตอบกลับอีเมลหลังจากที่แก้ไขใน Docs, Sheets, Slides ได้ทันที โดยคลิกที่ File > Email > Reply with This File เป็นฟีเจอร์ใหม่เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากคุณไม่ต้องบันทึกงานลงไดร์ฟหรือลงคอมพิวเตอร์ เพื่ออัปโหลดและตอบกลับอีเมล แต่คุณสามารถคลิกเพื่อส่งอีเมลพร้อมทั้งแนบไฟล์ได้เลยทันที 2 ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันกับไฟล์นามสกุลอื่น ๆ โดยเฉพาะไฟล์ของ Microsoft Offices ที่มีการรับส่งใน Gmail กันอย่างมาก ซึ่ง Google Workspace เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่อที่จะทำให้เกิดการยืดหยุ่นต่อการทำงานร่วมกันมากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02-030-0066...
How to อัพเกรดการบริการลูกค้าด้วย Experience Data
ก่อนอื่นหากใครไม่รู้ว่า Experience Data คืออะไร? คลิกเลย ซึ่งการที่เรามี Experience Data(X-Data) ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถนำข้อมูล X-Data มาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ มันก็อาจจะเสียเปล่า ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จะมาบอกถึงการนำเอา X-Data มาปรับใช้ในธุรกิจเพื่อเป็นการอัพเกรดการบริการของคุณ และสามารถสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้ ติดตามตัวชี้วัด และ เปรียบเทียบกับคู่แข่ง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็แล้วแต่ ต้องมาจากการวัดผลที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นทีมบริการลูกค้าก็มีตัววัดผลที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าหลายตัว เพื่อดูความพึงพอใจของลูกค้าและนำเอาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน และนำมาปรับใช้ให้ดีกว่าคู่แข่งได้ ดังนี้ Net Promoter Score(NPS) คะแนนผู้สนับสนุนสุทธิ คือ คะแนนที่จะวัดความภักดีของลูกค้าด้วยการที่ถามว่า คุณจะแนะนำ องค์กรA, สินค้าB หรือ บริการC ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จักของคุณหรือไม่ Customer Satisfaction(CSAT) ความพึงพอใจของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความพึงพอใจว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการที่ได้รับในระดับใด Customer Effort Score(CES) คะแนนความพยายามของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความสะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะด้วย การบริการหรือตัวสินค้าเอง แก้ปัญหาก่อนที่ส่งผลกระทบต่อกำไร หากคุณมีข้อมูล X-Data ของลูกค้า คุณจะสามารถรู้ถึงอารมณ์ของลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่เราจะควบคุมไม่ได้ และจะส่งผลถึงฟีดแบคหรือกำไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งได้ซื้อสินค้าหรือบริการของเราไปแล้วเกิดมีปัญหา เราสามารถตรวจสอบ Social Media ได้ทันทีหากมีการกล่าวถึงคุณ เพื่อเป็นการยับยั้งปัญหาก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาด ปรับแต่งกระบวนการทำงาน และฝึกอบรมภายใน เมื่อคุณเก็บข้อมูล X-Data มากขึ้น คุณจะเริ่มเข้าใจ อารมณ์ ความคิด และความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นคุณสามารถนำเอาข้อมูล X-Data มาปรับกระบวนการทำงานบางอย่างขององค์กรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ พร้อมทั้งเทรนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่พบเจอและให้เข้าใจถึงปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น หากมีลูกค้าติดต่อมาหาคุณถามคำถามเดียวกันบ่อย ๆ คุณก็อาจจะเพิ่มตัวเลือกการช่วยเหลือตัวเอง(Self Service) กับคำถามนี้เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการช่วยทั้งลูกค้าและตัวพนักงานเองด้วย ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล X-Data ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยให้การเก็บข้อมูลของคุณง่าย สะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่ง Zendesk ก็เป็นหนึ่งในซอฟท์แวร์หรือเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์นี้ให้กับคุณได้ และยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายที่คุณอาจไม่เคยรู้...
Continue readingGCash
ผู้ให้บริการ E-Wallet ชั้นนำของฟิลิปปินส์ GCash ร่วมงานกับ Zendesk พัฒนาประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้กับลูกค้ากว่า 20 ล้านคน...
Facebook จับมือ Zendesk เสริมสร้างประสบการณ์การสนทนาที่ทรงพลัง
หากพูดถึงโซเชียลมีเดียที่เป็นที่นิยมรู้จักกันทั่วโลก เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องมีตัวเลือก ‘Facebook’ อยู่ต้นๆ อย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่ในด้านการให้ข่าวสารความบันเทิงของโลกโซเชียลเท่านั้น Facebook ได้กลายเป็นฐานสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ โดยปัจจุบันพบว่ามีแอคเค้าท์ธุรกิจถึงกว่า 40 ล้านรายที่แอคทีฟในระบบ Messenger ในขณะที่ใน WhatsApp เองก็มียอดที่ทะยานขึ้นถึง 164% ในแถบละตินอเมริกา ส่วน Instagram ก็เพิ่งจะเปิด API ธุรกิจเป็นครั้งแรกเมื่อเวลาไม่นานมานี้ Facebook เลือก Zendesk เป็น CX Partner หลักในการจัดสรรด้านการสนทนาและการซัพพอร์ตลูกค้าผ่าน Messaging การจับมือร่วมงานกันนี้ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถเชื่อมการเข้าถึงระหว่างกันได้ง่าย และส่งผลให้การตอบกลับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ Messaging ของ Facebook ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ WhatsApp สามารถทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การร่วมมือกันเหล่านี้ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับผู้ติดตาม การทำธุรกรรมทางโซเชียล และการแก้ไขปัญหาด้านการบริการลูกค้าต่างๆ และนอกเหนือกว่านั้น Zendesk กับ Facebook จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของโปรดักส์ ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Facebook ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น Messenger API สำหรับ Instagram และหลักการทำงานของ WhatsApp ที่จะช่วยให้ธุรกิจที่ใช้ WhatsApp ดำเนินกิจการได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบ Social Messaging ที่ดีกว่าเดิม แอป Messaging เป็นแอปที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนในเรื่องของความสะดวกสบาย มีผู้คนจำนวนมากที่ใช้แอปส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับทั้งเพื่อนและครอบครัว จากสถิติทั่วโลกพบว่า กว่า 175ล้านคนเคยมีประสบการณ์ติดต่อแอคเค้าท์ธุรกิจมาแล้วใน WhatsApp และมีผู้ใช้งานกว่า 100ล้านคนที่ส่งข้อความไปมาระหว่างกันทุกวัน โดย Zendesk จะเข้ามาช่วยให้สามารถตั้งค่าบทสนทนาใน WhatsApp, Messenger และ Instagram จาก Admin Center ควบคู่ไปกับช่องทางโซเชียลอื่นๆ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะสามารถตอบกลับและแก้ไขปัญหาคำร้องได้รวดเร็ว การร่วมมือกันของ Zendesk กับ Facebook ยังทำให้มั่นใจในการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของระบบ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ แพลตฟอร์มของ Zendesk...
Continue readingGoogle Vault โฉมใหม่ ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น
Google ทำการปรับโฉมอินเทอร์เฟซสำหรับ Google Vault ซึ่งใช้งานง่ายมากกว่าเดิม รวมทั้งใส่ฟีเจอร์ใหม่เพื่อให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น สำหรับการใช้งาน Vaults โฉมใหม่ ไปที่ vault.google.com และลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีผู้ดูแลระบบ Google Workspace ของคุณ Google Vault โฉมใหม่! สำหรับ Google Vault โฉมใหม่ จะยังมีฟังก์ชันหลักทั้งหมดจากอินเทอร์เฟซแบบเดิม และไม่มีผลกระทบต่อการตั้งค่า Google Vault ที่คุณมีอยู่ การปรับอินเทอร์เฟซในครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้: เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้งานครั้งแรก จะเจอหน้าโฮมเพจที่มีตัวเลือกให้คุณเข้าถึงข้อมูล (ตามสิทธิ์ที่กำหนด) ถึง 3 ตัวเลือกด้วยกัน คือ Retention, Matters, และ Reporting. เมื่อคุณตั้งค่าการเก็บรักษา และการระงับ จะมีคำแนะนำการตั้งค่าแบบ step-by-step ปรากฏขึ้น ข้อกำหนดการเก็บรักษา การระงับ และผลการค้นหาที่กำหนดเองได้ จะแสดงในตารางที่เรียงลำดับได้ และกรองได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจขอบเขตของข้อมูล และผลการค้นหาของคุณได้ง่ายขึ้น การดูผลการค้นหา หรือการรายงานผลต่างๆ จะง่ายขึ้น เมื่อคลิกที่ไอเทมที่ต้องการ จะปรากฏเป็นแผงด้านข้างแทนการเปิดหน้าต่างใหม่ เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้งานครั้งแรก จะเจอหน้าโฮมเพจที่มีตัวเลือกให้คุณเข้าถึงข้อมูล (ตามสิทธิ์ที่กำหนด) ถึง 3 ตัวเลือกด้วยกัน คือ Retention, Matters, และ Reporting แสดงผลในตารางที่เรียงลำดับได้ และกรองได้ อินเทอร์เฟซใหม่สำหรับสร้าง และจัดการข้อกำหนด ที่มา – Google Workspace Updates Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...
เปิดร้านบน WeChat กับ TMall ต่างกันอย่างไร?
เปิดร้านบน WeChat กับ TMall ต่างกันอย่างไร? การเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ซึ่งเเนวทางการเลือกเเพลตฟอร์มนั้นขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ราคา และกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในจีนมีหลากหลาย โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Tmall (天貓), WeChat (微信), Pingduoduo (拼多多), JD.com (景東) รวมไปถึง Social Commerce ต่างๆ เช่น Kuaishou(Kwai), Douyin (抖音) หรือที่ในตลาดนอกประเทศจีนเรียกว่า Tiktok ซึ่งกำลังมาแรงในปี 2020 โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์จากโควิด-19 ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จากการสำรวจของ QuestMobile2020 พบว่าบริษัทเจ้าของโมบายเเอปที่ได้รับความนิยมสูงสุด 2 อันดับในจีน ณ เดือนมีนาคม ปี 2020 เป็นค่าย Tencent เเละ Alibaba ซึ่งจะเห็นได้ว่าอันดับที่ 1 และ 2 จะอยู่ในเครือของ Tencent โดยแอปที่มีผู้เข้าใช้มากที่สุดคือ WeChat ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 946 ล้านคน เเละตามมาด้วย QQ ที่มีผู้ใช้งาน 705 ล้านคน สำหรับรองลงมาเป็นอันดับที่ 3 และ 4 เป็น-ของเครือของ Alibaba คือ Alipay มีผู้ใช้งานถึง 703 ล้านคน เเละ Taobao 670 ล้านคน ตามลำดับ ส่วนอันดับต่อมาเป็นแอปด้านคอนเทนท์บันเทิงนั่นก็คือ iQIYI (爱奇艺 อ่านว่าอ้ายฉีอี้) ที่ให้บริการหนังออนไลน์สตรีมมิ่งคล้ายกับ Netflix ที่มีผู้ใช้งาน 572 ล้านคน เเละ Youku ที่ให้บริการคล้ายกับกับ Youtube ที่มีผู้ใช้งาน 536 ล้านคน อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจไทยที่มักจะมีคำถามว่าการจะขายสินค้าไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างประเทศจีนจะมีช่องทางใดบ้าง...
Continue readingกรณีศึกษา Factory Gear Thailand กับการยกระดับการบริการลูกค้าด้วย Zendesk
“ Support Module ของ Zendesk ช่วยให้จัดการลูกค้าได้เยอะขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการผิดพลาด ตอนนี้ยอดขายบนช่องทางออนไลน์ก็ค่อย ๆ ขยับดีขึ้นเรื่อย ๆ – วุฒิ เลิศรัตน์โกสุมภ์ – กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีรสยาม ฮาร์ดแวร์ จำกัด “ https://www.youtube.com/watch?v=VtASfJZGU64 ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Factory Gear กัน คุณ วุฒิ เลิศรัตน์โกสุมภ์ กรรมการผู้จัดการ Factory Gear Thailand โดยที่ Factory Gear เป็นร้านขายเครื่องมือช่างคุณภาพสูงสำหรับมืออาชีพ จากทั่วทุกมุมโลก ที่มีแฟรนไชส์มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยทาง Factory Gear ได้ร่วมมือกับ บริษัท วีรสยาม ฮาร์ดแวร์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือช่างระดับพรีเมี่ยมในประเทศไทย เพื่อเปิดร้าน Factory Gear Thailand แห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2555 หากท่านใดสนใจเครื่องมือช่างระดับพรีเมี่ยม สามารถไปแวะชมได้ที่ 2 สาขา Mega Bangna ชั้น1 (Real Garage) และ Central World ชั้น5 (Gear Garage) Pain Point ของ Factory Gear เนื่องจาก Factory Gear ต้องการที่จะขยายตลาดให้มากกว่าแค่การขายแบบออฟไลน์ จึงได้เปิดช่องทางออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line OA, Youtube และ Website เพื่อรองรับเทรนด์ของลูกค้าในยุค 4.0 ซึ่งลูกค้าก็ได้ติดต่อเข้ามาจากช่องทางออนไลน์มาเพิ่มขึ้นจริงๆ แต่ด้วยการที่มีลูกค้าติดต่อมาเยอะขึ้นพร้อมกับมีช่องทางมากมายนั้น มักจะทำให้เกิดล่าช้าในการตอบลูกค้า และเกิดความสับสนและผิดพลาดได้ง่าย ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ ดังนั้นทาง Factory Gear...
Continue readingOmniChannel vs MultiChannel ต่างกันอย่างไร?
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียระหว่างร้านค้ากับลูกค้าจะเป็นเรื่องที่ปกติในสังคม แต่จริงๆแล้วมันมีรายละเอียดบางอย่างที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ ว่านอกจากการที่ร้านค้าจะเปิดช่องทางที่เอาไว้ติดต่อกับลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางแล้ว มันยังมีวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่านั้นอีก วันนี้ทาง Demeter ICT จึงจะมาแนะนำคำศัพท์ที่มีชื่อว่า OmniChannel กับ MultiChannel ซึ่งอาจจะมีหลายๆคนที่เคยได้ยินสองคำนี้แล้ว หรือบางคนอาจจะไม่รู้จักกันคำนี้เลย แต่ในวันนี้ เราจะมารู้จักสองคำนี้กันมากขึ้นไปพร้อมๆกัน – มาทำความรู้จักกันเลย – Omni-Channel หรือ การตลาดแบบช่องทางเดียว คือ การผสานหรือรวบรวมช่องทางการติดต่อของลูกค้าทั้งหมดไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น E-mail, Social Media(Facebook, Line, Whatsapp, และอื่นๆ) Website, โทรศัพท์, หรือจะเป็น Chat ในรูปแบบต่างๆ Multi-Channel หรือ การตลาดแบบหลายช่องทาง คือ คือการขยายช่องทางเพื่อรองรับการติดต่อของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทาง ซึ่งจะแบ่งแยกช่องทางแต่ละช่องทางอย่างชัดเจน – ความแตกต่าง – ซึ่งถ้าพูดถึงในปัจจุบันหลายๆรูปแบบธุรกิจถือว่าเป็นรูปแบบของ MultiChannel อยู่แล้ว เพราะหลายๆร้านค้าก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อรองรับลูกค้าจากช่องทางที่เขาสะดวกในติดต่อมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณต้องการที่จะพัฒนาหรือขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รองรับลูกค้าที่มากขึ้น MultiChannel อาจจะไม่ใช่ข้อที่ตอบโจทย์คุณเท่าไหร่ เพราะถ้าคุณขยายธุรกิจเติบโตขึ้น ลูกค้าก็จะมีมากขึ้น ซึ่งก็แปลว่าคุณจะต้องสื่อสารหรือพูดคุยกับลูกค้ามากขึ้น และการที่แยกแพลตฟอร์มการตอบหลายๆช่องทางนั้น อาจส่งผลมีปัญหาเกิดขึ้นตามมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีพนักงานสื่อสารกับลูกค้าหรือว่า Admin หลายๆคน Admin แต่ละจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าคนนี้แก้ไขปัญหาเสร็จรึยัง คุยกันถึงไหน หรือจะเป็นเรื่องการตอบพร้อมกันหรือแย่งกันตอบยิ่งทำให้เกิดความสับสน และสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าได้ แล้วถ้าหากคุณมีพนักงานน้อย อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตอบลูกค้า และส่งผลให้งานของ Admin นั้น Overload จนทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายๆ หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลของลูกค้าเอง ถ้าลูกค้าคนนี้เคยติดต่อเรามา แล้วเขาติดต่อใหม่มาอีกครั้งนึง หรือติดต่อมาอีกช่องทางนึง คุณก็ต้องขอข้อมูลใหม่อีกรอบนึง ซึ่งนี่เป้นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งและพนักงานยังต้องทำงานซำซ้อนอีกด้วย แต่ด้วยรูปแบบการทำงานของ OmniChannel ที่รวมทุกช่องทางไว้ในที่เดียว เพื่อตัดปัญหาความสับสนระหว่างพนักงานที่เป็น Admin เอง หรือจะเป็นสถานะของลูกค้าแต่ละคนว่าตอนนี้อยู่กระบวนการไหน เพื่อให้ Admin คนอื่นๆรู้ว่า ลูกค้าคนนี้มีคนรับแล้วเคสไปแล้วหรือยัง หรือตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ รอการแก้ไขปัญหาอยู่ และยังมีประวัติของลูกค้าโชว์ชัดเจนให้หน้าเดียวกัน เพื่อให้คนที่มาดูแลงานต่อสามารถรู้ถึงข้อมูลและปัญหาของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องถามซ้ำอีกรอบให้เกิดความพอใจ เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการทำงานได้อย่างดี และสิ่งที่สำคัญที่สุดของระบบ OmniChannel ที่บริษัทสำหรับที่ต้องการจะเติบโตและขยายธุรกิจคือ...
Continue readingฟีเจอร์ใหม่ใน Google Sheets | Cleanup Suggestions และ Column Stats
สำหรับ Google Sheets นั้นส่วนใหญ่แล้วเราใช้ทำข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ ซึ่งในบางทีปริมาณข้อมูลที่เราใส่ไปก็มีค่อนข้างเยอะ และไม่มีเวลามานั่งตรวจสอบข้อมูลอีกทีว่าสมบูรณ์ถูกต้องหรือไม่ ทาง Google Sheets เลยออกฟีเจอร์ใหม่ นั่นก็คือ Cleanup Suggestions และ Column Stats ที่นำ AI มาช่วยกรองข้อมูล เพื่อล้างข้อมูลที่ซ้ำหรือไม่จำเป็นออก และช่วยแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถดึงข้อมูลมาสร้างเป็นสถิติและแสดงผลเป็นกราฟได้ทันที ทำให้คุณสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว Cleanup Suggestions ช่วยทำอะไร ช่วยตรวจสอบและกรองข้อมูลทั้งหมดแบบอัตโนมัติอย่างชาญฉลาดและรวดเร็ว เพื่อล้างข้อมูลที่มีการซ้ำกัน (Duplicate Rows) ลบช่องว่าง (Extra Spaces) รวมถึงช่วยแก้ไขข้อมูลที่มีฟอร์แมตที่ไม่ตรงกันในช่องคอลัมน์นั้น ๆ (Identifying Anomalies) ซึ่ง Cleanup Suggestion จะแสดงก็ต่อเมื่อคุณคลิกไปที่แถบเครื่องมือข้างบน Data > Cleanup Suggestions โดยจะแสดงตรงแถบด้านขวาของ Sheets วิธีนี้จะสามารถช่วยแก้ไขข้อมูลของคุณให้สมบูรณ์และแม่นยำมากขึ้น Column Stats ช่วยทำอะไร ช่วยสรุปข้อมูลของแต่ละคอลัมน์อัตโนมัติ โดยจะแสดงผลเป็นกราฟและดึงข้อมูลมาสรุปเป็นสถิติเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นผลรวม ค่าที่มากที่สุด หรือค่าเฉลี่ย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมข้อมูลของแต่ละคอลัมน์ สามารถทำความเข้าใจข้อมูลและวิเคราะห์เชิงลึกต่อได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้คุณมองหาค่าที่ผิด ปกติในคอลัมน์นั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น คลิกไปที่แถบเครื่องมือข้างบน Data > Column Stats จะแสดงผลแถบด้านขวาเช่นเดียวกันกับ Cleanup Suggestions Cleanup Suggestion และ Cloumn Stats 2 ฟีเจอร์ที่ออกใหม่นี้ จะช่วยให้การทำงานใน Sheets ของคุณรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากมี AI ที่ชาญฉลาดสามารถสรุปผลออกมาให้คุณนั้นเห็นภาพของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณนำไปวิเคราะห์ต่อในภาพรวมใหญ่ได้ง่ายขึ้น ลดการผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำในข้อมูลเชิงลึกได้ Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ...
Continue reading