การกลับมาของวิกฤติโควิด-19 คราวนี้มีความรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดมา จนรัฐต้องออกประกาศมาตรการล็อคดาวน์จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงหลายจังหวัด ทำให้หลาย ๆ หน่วยงานในประเทศไทยได้มองหาและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานบนคลาวด์กันมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการรัฐและให้พนักงานสามารถ “ทำงานที่บ้าน” (Work from Home) ได้อย่างปลอดภัย บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียและเปิดประสบการณ์การรับมือล็อกดาวน์เมืองด้วยเทคโนโลยีจาก Google พร้อมแนะนำเจ้าของกิจการและองค์กรต่าง ๆ พลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาสในการปฏิรูปซอฟต์แวร์องค์กรสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) เพื่อปรับรูปแบบการทำงานของพนักงานในองค์กรให้เป็นการ “ทำงานจากบ้าน” หรือ Work from Home อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี Google Workspace แบบครบวงจร เพื่อหยุดรูปแบบการทำงานในออฟฟิศแบบเดิม ๆ เข้าสู่การทำงานในยุคใหม่ และเพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความยืดหยุ่น โดยไม่จำเป็นต้องทำงานอยู่ในที่เดียวกันอีกต่อไป… ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม • ไอเดียในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานร่วมกันช่วง Work from Home พร้อมวิธีการที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง • ทำความรู้จักกับ Google Workspace เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันขององค์กรยุคดิจิทัล ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคนทั่วโลก • การบริหารกระบวนการทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และการจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยเทคโนโลยี (พนักงานจะสามารถทำงานได้หลากหลาย รวดเร็ว และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น) • การใช้งานเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมือให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 1. Power of Workspace Collaboration – พลังของการส่งเสริมการทำงานร่วมกันให้กับพนักงานในองค์กร 2. Productivity Improvement by Cloud Collaboration Tool – วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันด้วยเครื่องมือที่ทำงานบนคลาวด์ 3. PDPA – พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่ล่าสุดกับ Google Workspace Agenda 20.00 – 20.05 น. พิธีกรกล่าวเปิด 20.05 – 20.20 น. The Power of Work from...
Continue readingThe Modern Conversational Experience: ปฎิรูปการสื่อสารยุคใหม่ให้ธุรกิจไม่มีวันหลับใหลด้วย Zendesk
เดินทางมาถึงครึ่งหลังของปี 2021 ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและมีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปในชั่วข้ามคืน บทสนทนาเพียงครั้งเดียวก็ชี้ชะตาได้ว่าแบรนด์จะได้ ‘ปิดดีล’ หรือ ‘โดนเท’ สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจยุคใหม่นี้จึงไม่เพียงแต่ต้องมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพของสินค้า แต่เป็นการคิดหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อบูรณาการประสบการณ์ดิจิทัลเข้ากับการสื่อสารให้ไร้รอยต่อ สร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่งและส่งมอบประสบการณ์สนทนาที่เหนือล้ำ (Conversational Experience) เอาชนะใจลูกค้าให้ได้ คำถามคือ ควรทำอย่างไรและต้องเริ่มจากอะไร ธุรกิจจึงจะสามารถไปถึงจุดนั้น จุดที่การติดต่อสื่อสารของลูกค้าไม่ว่าจากช่องทางไหนก็สามารถเชื่อมถึงกันแบบไร้รอยต่อ จุดที่ลูกค้าสามารถเลือกบริการตัวเอง หาข้อมูลและแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ จุดที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องหัวหมุนกับคำถามเดิมที่เข้ามาซ้ำ ๆ แต่สามารถไปมุ่งเน้นกับเคสคำร้องที่อาจเร่งด่วนมากกว่า จุดที่ธุรกิจรับเรื่องได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงแบบไม่หลับใหล แม้เป็นนอกเวลาทำการก็สามารถปิดดีลได้ และยังส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือล้ำให้กับลูกค้า ใช้ต้นทุนที่น้อยลง เพื่อสร้างบางสิ่งบางอย่างที่พิสูจน์แล้วว่าคือ ‘การบริการยุคใหม่’ ที่จะกลายเป็นมาตรฐานต่อไปนับจากนี้ มาร่วมหาคำตอบด้วยกันกับเรากับงานสัมมนาออนไลน์ ‘The Modern Conversational Experience: ปฎิรูปการสื่อสารยุคใหม่ให้ธุรกิจไม่มีวันหลับใหลด้วย Zendesk’ งานสัมมนาที่จะช่วยไขข้อข้องใจเรื่องการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เจาะลึกเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับการบริการลูกค้าและพาคุณให้รู้จักกับ Zendesk เครื่องมือสร้างประสบการณ์ที่จะช่วยปฏิรูปธุรกิจของคุณ ให้ธุรกิจมีความคล่องตัวพร้อมรับทุกสถานการณ์และส่งมอบ Conversational Experience ที่เหนือล้ำในทุกบทสนทนา ลงทะเบียน สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม เข้าใจ Pain Points ในแง่มุมของลูกค้าและการทำธุรกิจยุคดิจิทัล ไขข้อข้องใจเรื่อง Digital Transformation ช่วยลดต้นทุนในส่วนไหนบ้าง ลดอย่างไร อัปเดตแนวโน้มการใช้ Self-service และ Chatbot เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไรบ้าง เผยแนวทางการบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ การพลิกกระบวนการธุรกิจแบบเดิมที่จำเจโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม แนะนำโซลูชันที่ช่วยให้ธุรกิจสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ยอดเยี่ยม Agenda 14.00 – 14.05Opening & Welcoming Speech 14:05 – 14:25Sharing Customer Pain Points and The Rise Of Digital Transformation แชร์ประสบการณ์และ Pain Points ในแง่มุมของลูกค้ายุคดิจิทัล การเติบโตของ Digital Transformation 14:25 – 15:00Power Up...
Continue readingวิธีเชื่อมต่อ Facebook กับ Zendesk รับเรื่องและตอบกลับในที่เดียว
อีกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญที่พลาดไม่ได้ของ Zendesk ก็คือการรวบรวมการติดต่อสื่อสารของลูกค้าจากทุกช่องทาง เจ้าหน้าที่สามารถติดตามและบริหารจัดการลูกค้าทั้งหมดได้ในหน้าแพลตฟอร์มเดียวในรูปแบบ Ticket Management ซึ่งระบบ Ticket นี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้รวดเร็วขึ้น ในมุมเจ้าหน้าที่เองก็สามารถรับเรื่องจากลูกค้าที่มาจากหลายช่องทางได้โดยไม่จำเป็นต้องนั่งมอนิเตอร์หน้าโซเชียลมีเดียอื่นหรือเปิดหลายหน้าจอให้วุ่นวายเลยแม้แต่น้อย สำหรับบทความนี้เราก็มีตัวอย่างขั้นตอนการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Facebook เข้ากับ Zendesk มาให้ทุกคนได้ดูกัน และหากว่าคุณใช้แพ็กเกจ Zendesk Suite ล่ะก็ คุณจะสามารถเชื่อมเพจได้มากสุดถึง 15 เพจเลยทีเดียว ขั้นตอนการเชื่อมต่อ Facebook กับ Zendesk เข้าไปที่ไอค่อนรูปฟันเฟือง (Admin) บริเวณหัวข้อ Channel เลือก Facebook 2. คลิก Add your first Facebook Page หรือหากกรณีที่คุณมีเพจอื่นที่เชื่อมต่ออยู่แล้ว คลิก add new Page 3. เลือกเพจที่คุณต้องการเชื่อมต่อกับ Zendesk แล้วกด Next 4. พิจารณาว่าจะให้สิทธิ์ Zendesk ในเรื่องใดบ้าง อย่างไรก็ตามหากคุณปิดการให้สิทธิ์การเข้าถึงบางส่วนอาจทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง Facebook กับ Zendesk ไม่สมบูรณ์นัก จึงขอแนะนำว่าเป็น ‘Yes’ ทั้งหมดจะเป็นการดีกว่า จากนั้นกด Done 5. หน้าต่างจะแจ้งว่าขณะนี้คุณได้เชื่อมเพจเข้ากับ Zendesk เรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม OK 6. หน้าจอจะเด้งกลับไปยังหน้า Zendesk โดยอัตโนมัติ ครั้งนี้จะปรากฏเพจที่คุณได้ทำการเลือกไว้แสดงขึ้นมาและให้คุณเลือกติ๊กการเข้าถึงต่าง ๆ หลังจากติ๊กเลือกเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Add 7. เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน ทีนี้คุณก็เชื่อมต่อเพจ Facebook เข้ากับ Zendesk ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงอย่างนั้นกดที่ edit แล้วมาดูส่วนของการตั้งค่าเพิ่มเติมอีกสักนิดกัน 8. ในหน้าตั้งค่าจะแบ่งเป็นสองช่วงหลัก ๆ คือ Include Wall posts และ Include private messages คุณสามารถเลือก...
Continue readingแอปประชุมออนไลน์ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ Work From Home กับ Google Meet
ปัจจุบันวิกฤตการระบาด COVID-19 ส่งผลให้ทุกคนต้องปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้องค์กรและพนักงานมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมไปถึงการศึกษาเครื่องมือและแอปต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานที่บ้านมีความสะดวกเเละมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความนิยมในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันที่ช่วยในเรื่องของการประชุมออนไลน์ หรือแอปที่สามารถ Video Conference สื่อสารระหว่างกันได้แม้อยู่คนละที่ โดยแอปพลิเคชันการประชุมออนไลน์ที่ตอบโจทย์การทำงานเเบบ Work From Home มีให้เลือกมากมายหลากหลายแอปพลิเคชันด้วยกัน อีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่ทุกท่านคุ้นเคยเเละรู้จักกันดีอย่างแอปพลิเคชัน Google Meet ซึ่งตัวของแอปพลิเคชันได้ถูกออกเเบบมาให้มีความสะดวกและใช้งานง่ายในการทำงาน อีกทั้งยังมีฟังก์ชันที่สามารถครอบคลุมขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ในการประชุมออนไลน์ได้ครบถ้วนอีกด้วย ซึ่งตัวแอปพลิเคชัน Google Meet ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการประชุมออนไลน์ที่น่าสนใจเเละตอบโจทย์การทำงานเเบบ Work From Home เป็นอย่างมาก แอปพลิเคชันการประชุมออนไลน์ของ Google Meet เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการประชุมวิดีโอสำหรับองค์กร (Video Conference) ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานเป็นทีม โดยผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับทีมได้ทุกเวลา ในส่วนของการใช้งานกับ Google Meet ผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมประชุมทางวิดีโอ (Video Conference) ได้โดยตรงจากช่องทาง Calendar, Gmail หรือคำเชิญทางอีเมล อีกทั้งยังสามารถบอกรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ได้ทั้งหมดเพื่อป้องกันการสื่อสารที่อาจจะตกหล่นในข้อมูลต่าง ๆ ได้ ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการประชุม เช่น การตัดเสียงรบกวน คำบรรยายสด โหมดแสงน้อย อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่าง Polls Q&A และ Hand raising หรือการยกมือระหว่างการประชุมเพื่อให้ผู้ใช้งานในที่ประชุมได้มีส่วนร่วมในการโหวต หรือการถาม-ตอบ ที่จะทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของ Video Conference ของ Google Meet ฟังก์ชันในการใช้งานมีความสะดวกต่อการทำงานเป็นอย่างมาก เพียงแค่ผู้ใช้งานสร้างและแชร์ลิงก์กับเพื่อนร่วมงานของคุณก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้เเล้ว โดยการเข้าร่วมประชุมนั้นผู้ใช้งานสามารถคลิกลิงก์จากใน Calendar ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถคลิกลิงก์จากใน Gmail หรือ Meet ได้อีกด้วย ในด้านของความปลอดภัยในการใช้งานตัว Google Meet ได้ถูกออกแบบการป้องกันความปลอดภัยด้วยโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายมาตรฐานเดียวกันกับ Google ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถสร้างประสบการณ์ Video Conference กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละง่ายต่อการทำงาน พร้อมทั้งยังมีฟังก์ชันที่น่าสนใจอื่น...
Continue readingเปิดกรุกรณีศึกษา Zendesk+Ecommerce ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าแบบดิจิทัล
“สิบปีของการปรับใช้ Ecommerce ถูกร่นให้เหลือเพียงสามเดือนในปี 2020” Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการของสหรัฐอเมริกาสรุปวิจัยออกมา เป็นที่คุ้นเคยกันดีในระยะเวลาเกือบสองปีมานี้นับตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ท่ามกลางการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือแม้แต่การ Work From Home ทำงานที่บ้าน พฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ก็ได้ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ หลายแบรนด์อีคอมเมิร์ซเองจึงได้เริ่มมองหาวิธีสร้างความแตกต่างให้ตัวเองโดดเด่นมากขึ้น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดนั้นก็คือการส่งมอบประสบการณ์แบบดิจิทัลที่เหนือล้ำกว่าคู่แข่งให้ได้ และมันก็เป็นจุดนี้เองที่ฟีเจอร์ผสานรวม (Integration) ของ Zendesk ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ แค่ผสานรวมก็ยกระดับประสบการณ์อีคอมเมิร์ซได้ทันที Ecommerce Solution ของ Zendesk นั้นมีให้เลือกตั้งแต่แบบ Pre-built หรือจะใช้ฟีเจอร์ Integration ผสานรวมเข้ากับแพลตฟอร์มอย่าง Shopify, Magento, Narvar และอื่น ๆ อีกมากมายแล้วใช้งานได้ทันทีแบบ Out Of The Box เลยก็สามารถทำได้ แอปพลิเคชันที่ต่อขยายเพิ่มพูนฟังก์ชันการใช้งานตามความต้องการได้นี้เองที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ลูกค้าแบบไร้รอยต่อและช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริการตนเองที่ดีกว่าเดิม : ลูกค้าได้รับการซัพพอร์ตที่รวดเร็วผ่านทาง Chatbot สามารถตรวจสอบได้ว่าออเดอร์ของตนอยู่ในลำดับขั้นไหนของการจัดส่ง จะทำเรื่องขอคืนสินค้าหรือคืนเงินก็ทำได้ง่าย ๆ ฝ่ายเจ้าหน้าที่กับประสบการณ์การทำงานที่ดีขึ้น : ฟีเจอร์ Integration ของ Zendesk ช่วยให้เจ้าหน้าที่เห็นทุกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นประวัติการสั่งซื้อหรือสินค้าที่เลือก เจ้าหน้าที่สามารถรับเรื่องได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าจอของ Zendesk เลยแม้แต่น้อย เรามาดูตัวอย่างที่น่าสนใจของ Zendesk + ธุรกิจ ECommerce นี้กัน Spartan Race บูสต์ยอดขายและ CSAT จากการผสาน Zendesk กับ Shopify ในฐานะแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและมีอุปกรณ์กีฬาเป็นของตัวเอง Spartan Race มีลูกค้าอยู่กว่า 30 ประเทศ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น Spartan Race ก็ต้องการระบบซัพพอร์ตที่จะช่วยยกระดับการบริการไปได้ทั่วโลก เฉพาะที่สหรัฐอเมริกาที่เดียวทีมซัพพอร์ตของ Spartan Race ก็ต้องรับมือกับคำร้องกว่า 230,000 Tickets และยังมีคำร้องเกี่ยวกับร้านค้าในออนไลน์อีกจำนวนมาก ตอนแรก Spartan Race ใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ล็อคอินเข้าไปในหลาย ๆ...
Continue readingGoogle Workspace คืออะไร? พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่แบบจัดเต็มปี 2021
Google Workspace คืออะไร? พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ แบบจัดเต็มปี 2021 “Everything you need to get anything done, now in one place” (ทุกสิ่งที่คุณต้องการรวมไว้อยู่ในที่เดียว) สโลแกนใหม่ของ Google Workspace ซึ่งเกิดจากการรีแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ที่ทุกท่านรู้จักกันดีในชื่อ G Suite โดยการรีแบรนด์ในครั้งนี้นอกจากจะเปลี่ยนชื่อแบรนด์และโลโก้แล้ว ยังมีการเปลี่ยนชื่อและโลโก้ของแอปพลิเคชันหลักบางตัว โดยการออกเเบบและดีไซน์สะท้อนถึงการเชื่อมโยงกัน เป็นประโยชน์และยืดหยุ่นต่อการใช้งานในการทำงานร่วมกัน พร้อมอัปเดตฟีเจอร์ใหม่แบบจัดเต็มโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอปพลิเคชันที่หลาย ๆ ท่านคุ้นเคยมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น Gmail, Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Meet และอื่น ๆ อีกมากมาย ในปัจจุบัน ปี 2021 องค์กรและภาคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นแบบ Online Working สูงขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ บริษัทมีการให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านหรือปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work from Home เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับธุรกิจในยุค New Normal ซึ่ง Google Workspace ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่สามารถตอบโจทย์สำหรับการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต (Next Normal) Google Workspace คืออะไร Google Workspace คือ เเพลตฟอร์มสำหรับการทำงานและการสื่อสารร่วมกันในองค์กรเเบบครบวงจร ซึ่ง Google Workspace ทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ 100% นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับระบบการรักษาความปลอดภัยระดับเดียวกับ Google ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเเละอุ่นใจตลอดการใช้งาน อีกทั้งยังสนับสนุนการบริการทางธุรกิจและสนับสนุนระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายในของบริษัทให้มีความสะดวกเเละมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการรวมแอปพลิเคชันยอดฮิตอย่าง Gmail, Meet, Google...
Continue readingAI Chatbot กลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจไม่มีวันหลับใหล
โลกยุคดิจิทัลเป็นโลกที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพราะทุกแอปพลิเคชัน ทุกโซเชียลมีเดีย มีการเปิดใช้งานและออนไลน์อยู่เสมอ ธุรกิจต่าง ๆ จึงมองหาโอกาสหรือโซลูชันที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทำยอดขายหรือกำไรได้มากขึ้น ซึ่งก็มีหลาย ๆ ธุรกิจที่เลือก AI Chatbot เป็นตัวช่วยเพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตในธุรกิจที่สามารถให้บริการหรือขายสินค้าได้ตลอดแบบไม่มีวันหลับไหล AI Chatbot คืออะไร? AI (Artificial Intelligence) แปลว่า ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่ง AI Chatbot คือ ปัญญาประดิษญ์ที่ถูกสร้างมาเพื่อจำลองเป็นมนุษย์หรือพนักงานในการการสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้บริโภคในรูปแบบของข้อความนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้พัฒนา Chatbot หลากหลายเจ้า แต่เจ้าที่เราจะหยิบยกมาพูดในวันนี้ คือ inGenious AI Chatbot เพราะมันไม่เพียงแค่ตอบแชทอัตโนมัติได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเสนอขายสินค้า ปิดการขาย เก็บข้อมูลลูกค้า หรือแม้แต่เป็น Help Center ในการช่วยเหลือลูกค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงแบบไม่มีวันหยุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ inGenious AI Chatbot ถูกเลือกเป็นโซลูชันนึงที่ธุรกิจนำเอามาใช้ เพราะมันไม่ได้มีดีแค่การเพิ่มโอกาสและยอดขายให้กับธุรกิจเท่านั้น แต่มันยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Zendesk Support เพื่อช่วยเก็บข้อมูลที่คล้ายคลึงกับระบบ CRM ช่วยลดงานให้กับทีม Customer Service & Support อย่างมาก ทำให้สามารถเอาเวลาไปช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริงได้ หรือถ้าลูกค้าต้องการที่จะติดต่อกับคนหรือเจ้าหน้าที่ inGenious AI Chatbot ก็สามารถสลับให้คนหรือเจ้าหน้าที่มาคุยกับลูกค้าแทนได้ในทันที และที่สำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของธุรกิจคือ Chatbot ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจในหลาย ๆ ส่วนได้อย่างมหาศาล จากผลสำรวจที่ว่า Chatbot สามารถช่วยธุรกิจลดต้นทุนไปได้กว่า 30% ในส่วนของการซัพพอร์ตลูกค้า AI Chatbot ถูกนำมาใช้ในหลายธุรกิจมาสักพักใหญ่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดูได้จากขนาดตลาดของ Chatbot ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 703 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2016 และคาดการณ์ว่าจะมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2024 Chatbot จะเป็นแรงผลักดันในการสื่อสารทางธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ธุรกิจที่เหมาะกับการใช้แชทบอทหรือสามารถนำแชทบอทมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ สถาบันและอุตสาหกรรมทางการเงิน การดูแลสุขภาพ การศึกษา...
Continue readingGoogle Vault คืออะไร ป้องกันข้อมูลในองค์กรสูญหายได้ 100%
Google Vault คืออะไร Google Vault คือ ห้องนิรภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Google Workspace ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้งานบริการต่างๆ Google Workspace สำหรับองค์กรแล้ว Google vault มีประโยชน์ในการช่วยเก็บรักษา ค้นหา ส่งออก ข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละบัญชีในองค์กร เพื่อใช้ในการสำรองข้อมูลในกรณีที่ผู้ใช้งานมีการลบข้อมูลหรือมีการลาออกของพนักงาน เป็นต้น วิธีลงชื่อเข้าใช้งาน Google Vault วิธีที่ 1: เข้าผ่าน URL พิมพ์ URL : vault.google.com ป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน กดถัดไปเพื่อลงชื่อเข้าใช้งาน วิธีที่ 2: เข้าผ่าน Gmail ลงชื่อเข้าใช้งาน Gmail คลิกที่ 9 จุด (Google apps) เลือก Google Vault กฎการเก็บรักษาข้อมูล Google Vault จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อมีการตั้งกฎการเก็บรักษาข้อมูลแล้วเท่านั้น ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้โดยผู้ดูเเลระบบขั้นสูง (Super administrator) มิเช่นนั้น Google จะทำการลบทิ้งข้อมูลแบบถาวร ซึ่งกฎการเก็บรักษาข้อมูลของ Google Vault มี 2 ประเภท คือ 1. กฎการเก็บรักษาเริ่มต้น (Default Rules) เป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมดของบริการไว้สำหรับทุกบัญชีในองค์กรที่ได้รับอนุญาตในระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถเลือกระยะเวลาจัดเก็บได้ว่าต้องการเก็บรักษาแบบถาวร (Idefinitely) หรือเก็บรักษาแบบกำหนดระยะเวลา (Retention Period) 2. กฎการเก็บรักษาที่กำหนดเอง (Custom Rules) การเก็บข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่ต้องการในระยะเวลาที่กำหนด ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายขั้นตอนการตั้งกฎการเก็บรักษาเริ่มต้น (Default Rules) วิธีตั้งค่าการเก็บรักษาแบบถาวร (Indefinitely) ล็อคอินเข้าใช้ Google Vault เลือก Retention เลือกแถบ Default Rules คลิกที่สเตตัส Off...
Continue readingรู้หรือไม่? Zendesk สามารถเชื่อมต่อ Facebook ได้ถึง 15 เพจ!
ใช่แล้ว! คุณอ่านไม่ผิด Zendesk สามารถเชื่อมต่อ Facebook ได้ถึง 15 เพจจริง ๆ Zendesk คืออะไร? Zendesk คือ Customer Service & Support Software หรือ Help Desk ชื่อดังจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการบริการและซัพพอร์ต เพื่อสร้าง CX หรือประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า พร้อมเป็นกระบวนการทำงานในรูปแบบของ Cloud System ทั้งหมด ทั้งนี้ Zendesk ยังได้รับรางวัล Digital Customer Service Software อันดับ 1 จาก Gartner อีกด้วย ซึ่งจุดเด่นของซอฟต์แวร์ตัวนี้ก็คือการทำกลยุทธ์แบบ Omnichannel ที่จะช่วยรวบรวมช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทุกช่องทางไว้ในที่เดียวไม่ว่าจะ Facebook, Line, Twitter, Instagram, Whatsapp, WeChat และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแค่ในส่วนของ Facebook เองก็สามารถเชื่อมต่อได้ถึง 15 เพจแล้ว ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Zendesk เพิ่มเติม >> https://bit.ly/2QY2cwD เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบันตัวสินค้าและการบริการลูกค้าที่ดีมันต้องไปควบคู่กัน ถ้าคุณภาพสินค้าดีแต่การบริการลูกค้าไม่ดี ลูกค้าก็พร้อมที่จะย้ายไปหาคู่แข่งหรือมองหาสินค้าทดแทนที่ได้รับการบริการที่ดีกว่า ดังนั้นการบริการและซัพพอร์ตที่ดีก็เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อช่องทางการสื่อสารของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทาง หรือ Omnichannel ก็เป็นการที่ช่วยให้ทีมบริการและซัพพอร์ตลูกค้าทำงานง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะจะได้ไม่ต้องย้ายแพลตฟอร์มหรือหน้าจอในการตอบลูกค้าไปมา ที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ พร้อมกับการเก็บข้อมูลของลูกค้าคนนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องให้ลูกค้าต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ ให้วุ่นวาย เรียกได้ว่าสร้างประสบการณ์ที่ดีทั้งลูกค้าและในส่วนของทีมงานเองในเวลาเดียวกัน นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของซอฟต์แวร์ Zendesk เท่านั้น Zendesk ยังมีฟีเจอร์อีกมากมายไปดูกัน >> https://bit.ly/3ddhBRu ถ้าหากใครสนใจหรืออยากลองนำ Zendesk ไปเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อสร้าง CX ที่ไม่เหมือนใคร ก็สามารถติดต่อ Demeter ICT...
Continue reading