เปิดตัว Time Insights ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Calendar เจาะลึกเวลาทำงานและประชุม

Time Insights เป็นฟีเจอร์ที่ทาง Google Calendar พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้เหล่าคนทำงานที่ใช้ Google Calendar สร้างนัดการประชุม (Meeting) สามารถวิเคราะห์ได้ว่าในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือน คุณใช้เวลาการประชุมไปมากน้อยเท่าไร เพื่อเป็นแนวทางวางแผนจัดเวลาการทำงานอย่างเป็นระบบ ด้วยสถานการณ์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ผู้คนต้องประชุมออนไลน์เยอะมากขึ้น และอาจส่งผลให้รู้สึกควบคุมและจัดการเวลาการทำงานได้น้อยลง Time Insights จึงเข้ามาช่วยในการจัดการเวลาในการทำงานให้ดีขึ้น โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการทำงานและประชุมบนปฏิทิน ซึ่งจะแสดงข้อมูลดังนี้ Time breakdown คือฟีเจอร์ที่จะแยกเวลาทำงานและประเภทของการประชุมของคุณบนปฏิทิน Time In Meeting คือฟีเจอร์ที่แสดงภาพรวมการใช้เวลาประชุมของแต่ละวัน ช่วยให้คุณเห็นว่าในแต่ละวันของสัปดาห์นั้น ๆ คุณใช้เวลาประชุมเป็นเวลานานเท่าไร , วันไหนของสัปดาห์ที่เป็นวันที่คุณงานยุ่งที่สุด, ในแต่ละสัปดาห์ของเดือนนั้น คุณใช้เวลาในการประชุมไปมาก-น้อยเท่าไร (วิเคราะห์ได้ทั้งเวลาทั้งหมดและเวลาเฉลี่ย) People you meet with คือฟีเจอร์ย่อยใน Time Insights ที่ช่วยทำให้คุณเห็นว่าในตลอดสัปดาห์, หรือ เดือนนั้น ๆ ใครเป็นคนที่คุณประชุม (Meeting) ด้วยเยอะที่สุดและใช้เวลาในการประชุมร่วมกับคน ๆ นั้นไปเป็นเวลาเท่าไร ช่วยให้คุณจัดลำดับความสำคัญของการประชุมในแต่ละครั้งและประเมินสถานการณ์การประชุมในแต่ละเดือนได้  แพ็กเกจที่สามารถใช้งานได้ :  Google Workspace Business Standard, Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, Education Plus และ Nonprofits customers  เพิ่มเติม :  วิธีเปิดหรือปิดข้อมูลเชิงลึกด้านเวลาให้กับผู้ใช้ ดูว่าคุณใช้เวลาไปกับการประชุมอย่างไร Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจและราคา Google Workspace 02 030 0066...

Zendesk เปิดตัวฟีเจอร์เลือกอีโมจิตามโทนสีผิว ตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่หลากหลาย

ความแตกต่างของสีผิวเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจและพยายามผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกมาสักพักใหญ่แล้ว เพราะความแตกต่างทางสีผิวนั้นไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเก่ง ความดี หรือความสำเร็จ ใด ๆ เลย ซึ่งทาง Zendesk เองก็มีผู้ใช้งานและพนักงานที่ความหลากหลายทางสีผิวแตกต่างกันออกไป และ Zendesk ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความเท่าเทียมที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเรียกร้องนี้ ทำให้ผู้พัฒนาระบบ Zendesk Agent Workspace ได้ออกแบบฟีเจอร์การเลือกโทนสีผิวสำหรับอีโมจิ เพื่อแสดงถึงฐานผู้ใช้งาน (Agent) ของ Zendesk ที่หลากหลาย วิธีเลือกโทนสีผิวให้กับอีโมจิ ผู้ใช้งาน (Agent) สามารถคลิกไอคอนอีโมจิด้านล่างกล่องข้อความและเลือกอีโมจิที่ต้องการส่งให้กับลูกค้า นำเมาส์ไปชี้ที่ไอคอนที่คุณเลือกจะมีคำว่า Select a skin tone ขึ้นมาและเลือกโทนสีผิวที่จะใช้เพื่อแสดงตัวตนของผู้ใช้งานเองได้ตามที่ต้องการ Zendesk Agent Workspace ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งาน (Agent) โดยเฉพาะให้ทำงานง่ายและปรับแต่งตามที่ผู้ใช้งานต้องการ เพราะ Zendesk เชื่อว่าการสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ดีมีความสำคัญพอ ๆ กับการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า นอกเหนือจากการเลือกโทนสีผิวของอีโมจิ Zendesk Agent Workspace ยังมีฟีเจอร์ที่สร้างประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับผู้ใช้งานและลูกค้าอีกมากมาย รับสิทธิ์ทดลองใช้ Zendesk ฟรีที่นี่! >> https://bit.ly/3eT06pN ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02 030 0066 Facebook Page : @demeterict support@dmit.co.th Official LINE...

ตรวจสอบประสบการณ์ลูกค้าด้วย Zendesk Explore ฟีเจอร์ที่เป็นมากกว่าแค่ตัวแสดงกราฟ

การวัดผลประสบการณ์ของลูกค้าว่าลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี (CX) จากธุรกิจของเราหรือไม่นั้น ต้องใช้ข้อมูลหลาย ๆ ส่วน ไม่สามารถใช้ตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งมาตัดสินได้ เพราะฉะนั้นการที่คุณมีข้อมูลของลูกค้ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลดีต่อธุรกิจมากเท่านั้น ตามรายงานแนวโน้มจาก CX Trends 2020, บริษัทที่นำข้อมูลที่ได้จากลูกค้าในหลาย ๆ ส่วนมาใช้สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้เร็วขึ้น 36% และเวลาในการรอแก้ปัญหาของลูกค้าลดลงถึง 79% เพราะการสำรวจเส้นทางและวัดผลในทุก ๆ แง่มุมของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจนั้นจะทำให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างละเอียดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง CX ที่ง่ายขึ้น แต่ทว่าการที่จะเก็บข้อมูลหลาย ๆ ส่วนนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ โดย Zendesk Explore เป็นฟีเจอร์หนึ่งของซอฟต์แวร์ Zendesk (#1 Digital Customer Service Software) ที่จะช่วยดูแนวโน้มที่สำคัญต่อธุรกิจ ในการหาวิธีการปรับปรุงการสนทนาของทีมสนับสนุนกับลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้า (CX) ที่ดีขึ้น และแสดงผลการวัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจของคุณได้แบบง่ายดาย เริ่มจากการทำความเข้าใจในทุก ๆ บทสนทนากับลูกค้าด้วยการวิเคราะห์แบบ Omnichannel เพราะการสนทนากับลูกค้านั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์จนไปถึงการแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย สำรวจและติดตามข้อมูลในทุกช่องทางเพื่อให้คุณมองเห็นประสบการณ์ของลูกค้าอย่างแท้จริง นอกจากนี้การที่ธุรกิจติดตามลูกค้าในทุก ๆ ช่องทาง ส่งผลให้ธุรกิจสามารถจัดลำดับความสำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพในช่องทางที่ยอดนิยมสำหรับธุรกิจของคุณให้ดียิ่งขึ้นได้ พอเราเห็นข้อมูลในแต่ละช่องทางที่ลูกค้าติดต่อเข้ามาแล้วนั้น ต่อมาก็จะมาดูในส่วนของคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า (CSAT) และเวลาการรอจะช่วยเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีถึงประสิทธิภาพของแต่ละช่องทาง ช่องทางใดที่มีอัตราความพึงพอใจสูงสุดและเวลาในการแก้ไขที่เร็วที่สุดคือช่องทางที่ธุรกิจควรลงทุนและโปรโมทให้กับลูกค้าเพื่อมาใช้ช่องทางนั้นให้มากขึ้น ติดตามประสบการณ์ของลูกค้าด้วยแดชบอร์ดที่ทุกคนสามารถสร้างข้อมูลที่อยากเห็นเป็นของตัวเองและปรับแต่งได้ตลอดเวลา การออกแบบและความซับซ้อนของแดชบอร์ดควรสะท้อนถึงความต้องการและขนาดขององค์กรของคุณ สตาร์ทอัพมักจะมีแดชบอร์ดที่ง่ายกว่าองค์กร แดชบอร์ดของ Zendesk Explore เหล่านี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มประสบการณ์ลูกค้าที่สำคัญที่สุด และคุณก็ยังสามารถปรับแต่งข้อมูลที่จะแสดงในส่วนที่ตัวเองต้องการรูัได้อย่างอิสระ บริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่ามักจะใช้ประโยชน์จากแดชบอร์ดเหล่านี้ในเชิงลึกและละเอียดมากขึ้น ในกรณีดังกล่าว ข้อมูลระดับสูง เช่น คะแนน CSAT สามารถแยกย่อยตามตัวชี้วัดที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น เช่น ประเภทลูกค้าหรือข้อมูลประชากร Zendesk Explore ยังอนุญาตให้ผู้ใช้สร้างแดชบอร์ดกำหนดเองได้ตั้งแต่เริ่มต้น การวัดผลประสบการณ์ของลูกค้าด้วยแผนภูมิที่แข็งแกร่งและตัวเลือกรายงานการวัดผลอาจไม่เพียงพอ แต่คุณต้องแสดงผลของข้อมูลนั้นในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ Zendesk Explore มีแผนภูมิให้คุณเลือกมากกว่า 20 ประเภท พร้อมด้วยคำแนะนำที่ช่วยดูความเหมาะสมของข้อมูลและการแสดงแผนภูมิให้เข้าใจง่ายและดีที่สุดออกมา ทำไม Zendesk Explore ต้องมีตัวเลือกแผนภูมิมากขนาดนี้? เนื่องจากการแสดงภาพของข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้มองเห็นแนวโน้มและข้อมูลได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเห็นข้อมูลฐานลูกค้าของคุณชัดเจนขึ้นด้วยแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาแบ่งตามข้อมูลประชากรอย่างไร หรือเหตุใดพวกเขาจึงมักจะติดต่อบริษัทของคุณมากที่สุด คุณยังสามารถเพิ่มแผนภูมิทั้งหมดที่คุณสร้างลงในแดชบอร์ดหรือแชร์ให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคนมีข้อมูลชุดเดียวกัน ช่วยลดความผิดพลาดและสามารถทำรายงานอัปเดตข้อมูลได้อัตโนมัติภายในครั้งเดียว...

Continue reading

Gartner จัดอันดับ Zendesk ผู้นำด้าน CRM Customer Engagement 6 ปีซ้อน

เชื่อว่าหลายคนในแวดวงไอที อาจจะเคยได้ยิน Magic Quadrant ของ Gartner มาบ้างไม่มากก็น้อย ล่าสุดในการจัดอันดับของปี 2021 นี้ Zendesk ก็ได้รับเลือกให้เป็น Leader ด้าน CRM Customer Engagement Center และยังไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นการรั้งตำแหน่งถึงปีที่ 6 ติดต่อกัน เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก Gartner Magic Quadrant กันก่อน Magic Quadrant คือ ชื่อของรายงานการวิจัยทางการตลาด (Market Research Reports) โดยบริษัท Garner Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อการวิจัยและให้คำปรึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ในตลาด รวมทั้งทิศทาง พัฒนาการของเทคโนโลยี และผู้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ สรุปให้เข้าใจได้ว่า Magic Quadrant ก็คือการวิเคราะห์ตำแหน่งด้านการแข่งขันทางการตลาด (Positioning) ของบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนั่นเอง โดยจะแสดงผลเป็นกราฟเมทริกซ์ 2 มิติ พิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Completeness of Vision แกน X ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ และ Ability to Execute แกน Y ปัจจัยด้านขีดความสามารถ  การประเมินของ Gartner Magic Quadrant จึงสามารถช่วยให้เห็นภาพรวมการแข่งขันของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแวดวงนั้น ๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ บริษัทไหนที่เป็นผู้นำตลาด บริษัทไหนที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต หรือบริษัทไหนมีขีดจำกัดในการพัฒนา ยิ่งตำแหน่งอยู่ด้านขวามาก ก็แสดงว่ามีคะแนนด้าน Completeness of Vision สูง และยิ่งตำแหน่งอยู่ด้านบน ก็แสดงว่ามี Ability to Execute สูงมากเช่นเดียวกัน โดยเมทริกซ์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อแสดงความสามารถของแต่ละแบรนด์...

Continue reading

สุดเจ๋ง Google Calendar ปักโลเคชันตอกบัตรว่าทำงานอยู่ที่ไหนได้แล้ว

สิ้นเดือนสิงหาคม ปี 2564 นี้ ใน Google Calendar จะสามารถเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้งานระบุตำแหน่งที่ทำงานในแต่ละวันได้ ซึ่งบุคคลภายในองค์กรหรือทีมจะสามารถดูและวางแผนการทำงานร่วมกันได้สะดวกมากขึ้น เรียกได้ว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานแบบ Work from Home และการทำงานในอนาคตที่เป็นแบบไฮบริดสลับทำงานที่บ้านและออฟฟิศ ซึ่งตอบโจทย์อีกหลายองค์กรที่สามารถติดตามชั่วโมงการทำงานของพนักงานได้อีกด้วย โดยฟีเจอร์นี้จะสามารถระบุได้ว่าวันนี้เราทำงานอยู่ที่ใด เช่น บ้าน ออฟฟิศ หรือเลือกปักโลเคชันอื่น ๆ ได้ วิธีการตั้งค่าง่าย ๆ เข้าไปที่ Google Calendar คลิกการตั้งค่าหรือไอคอนฟันเฟือง จากนั้นคลิกการตั้งค่า (Setting) เลือกหัวข้อชั่วโมงการทำงานและตำแหน่งที่อยู่ (Working Hours &  Location) จากนั้นตั้งค่าตามวันและเวลาที่เข้างาน และเลือกโลเคชันระบุว่าทำงานอยู่ไหน เช่น ที่บ้าน เสร็จสิ้น  แพ็กเกจที่สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ : Google Workspace Business Standard, Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, Education Plus, Nonprofits และ G Suite Business Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจและราคา Google Workspace 02 030 0066...

7 เหตุผล ทำไมธุรกิจควรใช้ Chatbot ในการบริการลูกค้า

ทราบหรือไม่? จากแบบสำรวจพบว่า 61% ของลูกค้า พึงพอใจที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางอีเมล 44% ที่พอใจกับการให้บริการทางโทรศัพท์ และเป็นจำนวนถึง 73% ที่ชอบการบริการลูกค้าทางไลฟ์แชทมากที่สุด การติดตั้งไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่เท่าไหร่นัก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมการติดต่อพูดคุยในสังคมหลายอย่างในวิถีชีวิตของเราต่างเอนเอียงไปในการส่งข้อความโต้ตอบกันมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายบริษัทจึงมักติดตั้งไลฟ์แชทเป็นช่องทางทางเลือกให้กับลูกค้าในการติดต่อเจ้าหน้าที่ ทว่าหากต้องการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าทางไลฟ์แชทหรือคาดหวังการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวล่ะก็ ไลฟ์แชทก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง และมันก็เป็นจุดนี้เองที่แชทบอท (Chatbot) ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมสำหรับการบริการลูกค้าทางแชท ในบทความนี้ เรามาดู 7 เหตุผลว่าทำไม? ถึงควรใช้แชทบอทเข้ามาช่วยในการบริการลูกค้ากัน 7 เหตุผลว่าทำไมธุรกิจถึงควรใช้ Chatbot ในการบริการลูกค้า 1. เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานที่ซ้ำซ้อน แชทบอทช่วยตอบคำถามของลูกค้าที่ซ้ำซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานะการจัดส่งสินค้า ระเบียบการขอคืนเงิน หรือแม้แต่การเปลี่ยนพาสเวิร์ด ขึ้นอยู่กับระบบการทำงานและประเภทของธุรกิจขององค์กรนั้น ๆ ในด้านของเจ้าหน้าที่เองก็สามารถรับมือกับคำร้องที่ยุ่งยากกว่าได้ ระยะเวลาที่ลูกค้าจะต้องรอการตอบกลับของเจ้าหน้าที่ก็จะลดน้อยลงเช่นเดียวกัน 2. ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ประมวลผลได้รวดเร็ว ในวันทำงานที่แสนวุ่นวาย นอกจากแชทบอทจะช่วยตอบกลับลูกค้าสำหรับปัญหาบางอย่างแทนเจ้าหน้าที่ได้แล้ว เจ้าหน้าที่เองก็สามารถใช้แชทบอทช่วยประมวลผลส่งข้อมูลที่ต้องการให้กับลูกค้าได้อีกด้วย ยกตัวอย่างหากลูกค้าต้องการข้อมูลไปศึกษาเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถใช้แชทบอทวิเคราะห์บทสนทนากับลูกค้าและให้แชทบอทแนะนำบทความที่ลูกค้าต้องการส่งไปในแชทได้ 3. การบริการที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเอไอของแชทบอทไม่ว่าจะเป็นแชทบอทของ Zendesk หรือ InGeniusAI เปรียบเสมือนผู้ช่วยอัจฉริยะ โดยจะสามารถประมวลผลข้อมูลของลูกค้าเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมความชอบ ประวัติการซื้อหรือแม้แต่หน้าเพจที่รับชมและแอคชันต่าง ๆ ทำให้แบรนด์สามารถใช้แชทบอทส่งข้อความแจ้งเตือนหาลูกค้าได้ ข้อความที่ส่งอาจเป็นได้ทั้งการประกาศข่าวสารทั่วไป สินค้าลดราคา ข้อเสนอเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าสนใจที่จะช่วยปรับปรุง Customer Journey ของลูกค้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4. มอบประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคล แม้จะเป็นแชทบอทก็สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่มีข้อมูลของลูกค้า แบรนด์ก็สามารถใช้แชทบอทสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมได้ อย่างการส่งข้อความหาลูกค้าตามวันเกิด หรือแม้แต่การตอบคำถามที่อ้างอิงข้อมูลในระบบของลูกค้าที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ 5. ช่องทางแชทที่มีศักยภาพ ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ช่องทางการส่งข้อความไม่ว่าจะเป็นไลฟ์แชทหรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ต่างได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก ดังที่ระบุไว้ในรายงานของ Econsultancy ว่ามีลูกค้าถึง 73% ที่ชอบการบริการลูกค้าทางไลฟ์แชท แชทบอทจึงเป็นอีกตัวช่วยที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้าในช่องทางที่ลูกค้าต้องการและให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นได้ 6. แชทบอทช่วยลดต้นทุนได้ แชทบอทช่วยให้ธุรกิจบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงโดยไม่หลับใหล ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาเวลาไหนก็ตามแม้ว่าจะอยู่นอกเหนือเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ แชทบอทก็สามารถรับเรื่องแทนเจ้าหน้าที่ก่อนเบื้องต้นได้ และหากไม่ใช่การติดต่อที่ซับซ้อนถึงขั้นที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ล่ะก็ แชทบอทก็สามารถปิดคำร้องหรือแม้แต่ช่วยขายสินค้าด้วยตนเองได้เลยทีเดียว 7. ภาพลักษณ์แบรนด์มีความทันสมัย เช่นเดียวกับแนวโน้มการใช้ช่องทางส่งข้อความของลูกค้า การใช้แชทบอทเองก็กำลังมาแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากรายงาน  Customer Experience Trend ของ...

Continue reading
google-calendar-helps-you-organize-your-life-schedule-perfectly

Google Calendar ตัวช่วยในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเมืองเป็นไปด้วยความเร่งรีบ ต้องแข่งขันกับเวลาเสมอ การวางแผนเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาออกจากออฟฟิศ การตั้งเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายกี่ครั้งต่อสัปดาห์ การเพิ่มทักษะให้ตัวเอง พบปะกับครอบครัว และการสร้างกิจกรรมให้กับตัวเอง ซึ่งการวางแผนเหล่านี้จะช่วยทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น และ Google Calendar ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว ตอบโจทย์คนทำงานที่ต้องการวางแผนงานอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนในแต่ละวัน โดยจุดเด่นของ Google Calendar หรือแอปพลิเคชันปฏิทินออนไลน์ ที่ไม่ได้เป็นแค่ปฏิทินออนไลน์ธรรมดา ๆ เท่านั้น เเต่มีความโดดเด่นตอบโจทย์สำหรับคนวัยทำงานที่มีตารางการประชุมและมีรายละเอียดการประชุมอัดแนนทุกสัปดาห์ ส่วนจะมีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย หาเวลานัดหมายกับเพื่อนร่วมงานให้ตรงกัน คุณสามารถดูวัน หรือเวลาว่างของเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อจัดการตารางนัดหมายที่ว่างตรงกันด้วยการคลิก Find a time โดยสามารถใส่อีเมลของเพื่อนหลาย ๆ คนเพื่อตรวจสอบได้มากถึง 20 คน วางเเผนกำหนดเวลาประชุมได้อย่างรวดเร็ว หลังจากตรวจสอบเวลาว่างของคนในทีมเเล้ว เลือกวัน เวลาที่ว่างตรงกัน คลิกเลือกวันที่ต้องการใส่หัวข้อการประชุม หลังจากนั้นทำการ Invite คนในทีมพร้อมส่งอีเมลยืนยัน เเละหลังจากทีมที่รับเชิญได้กดรับคำเชิญเเล้ว รายละเอียดของกิจกรรมทั้งหมดจะถูกเพิ่มลงใน Calendar ของคุณอัตโนมัติ ปฏิทินออนไลน์แบบครบวงจรที่ออกแบบมาสำหรับทีม ใช้เวลากับการวางแผนให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาทำงานมากขึ้นด้วยปฏิทินที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะผสานการทำงานร่วมกับ Gmail, Drive, Contacts, Sites และ Meet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้คุณทราบกำหนดการของงานที่ต้องทำถัดไปได้สะดวกยิ่งขึ้น ปฏิทินมีการแจ้งเตือนกิจกรรม โดยค่าเริ่มต้น Google Calendar จะแสดงการแจ้งเตือนแบบ Pop up 10 นาที ก่อนกิจกรรม โดยคุณสามารถเปลี่ยนเวลาการแจ้งเตือนภายในการตั้งค่าของ Google Calendar ได้สำหรับกิจกรรมทั้งหมด โดยคลิกการตั้งค่า (การตั้งที่ด้านขวาบน) ในส่วน “ทั่วไป” ทางด้านซ้าย ให้คลิกการตั้งค่าการแจ้งเตือน ในส่วน “การตั้งค่าการแจ้งเตือน” คุณจะดำเนินการต่าง ๆ ได้ดังนี้ เปิดหรือปิดการแจ้งเตือน: คลิกเมนูการแจ้งเตือนแบบเลื่อนลง แล้วเลือกวิธีรับการแจ้งเตือนที่ต้องการ ปรับระยะเวลาของการแจ้งเตือนที่มีการเลื่อน: เปิด “การแจ้งเตือนในเดสก์ท็อป” แล้วคลิกแสดงการแจ้งเตือนแบบเลื่อนได้จนกว่าจะถึงเวลาเริ่มและปรับเวลาตามต้องการ ใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย สามารถดูและแก้ไขข้อมูลกำหนดการใน Calendar ของคุณได้จากแท็บเล็ต แล็บท็อป หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งรองรับทั้งระบบ...

Continue reading

ส่องเทรนด์! พฤติกรรมผู้บริโภคปี 65 จากวิกฤติ COVID-19 ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร?

ผลการคาดการณ์ของธุรกิจธนาคารต่าง ๆ ที่ประเมินสถานการณ์โควิด-19 เอาไว้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงก็ในไตรมาสที่ 4 และในส่วนของธุรกิจเองก็คิดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวก็ในปี 65 ดังนั้นในระหว่างนี้แบรนด์ควรจะต้องมีวิธีปรับตัวอย่างไร? เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเป็นการสร้างโอกาสให้แบรนด์ของคุณไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ในช่วงที่ผู้บริโภคนั้นมีจิตใจที่ย่ำแย่และต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อผู้บริโภคมีอะไรบ้าง? สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ลง เนื่องจากหลาย ๆ สถานการณ์ที่รุมเร้าไม่ใช่แค่เพียงโควิด-19 เท่านั้นแต่ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจที่แย่ไม่แพ้กัน ทำให้เกิดภาวะเครียดตามมา จึงเกิดการชอปปิงบำบัดออนไลน์ขึ้นมาแทน ผู้บริโภคเริ่มเซนซิทีฟกับเรื่องราคามากขึ้นเพราะผู้บริโภคมีรายได้ที่ลดลง ออมเงินกันมากขึ้น ความมั่นใจต่อภาครัฐส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเช่นกัน ผู้บริโภคไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เพราะไม่สามารถคาดเดาว่ารัฐจะจัดการกับสถานการณ์นี้ได้เมื่อไหร่ เทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเมื่อเกิดโควิด-19 การบริโภคสินค้าบนช่องทาง Digital, การ Work from home, Live Online, Webinar โดยในตอนแรกอาจจะยังเป็นสถานการณ์ที่หลาย ๆ บริษัทอาจจะยังไม่คุ้นชิน แต่ตอนนี้ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีทำให้มันกลายเป็น Permanent Shift คือ การเปลี่ยนแปลงแบบถาวร  ความต้องการบริโภคสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น แต่ต้องบอกก่อนว่าจำนวนผู้บริโภคบนช่องทางออนไลน์มีจำนวนมากขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และเน้นไปที่ Functional เป็นหลัก แต่เทรนด์ที่เพิ่มเข้ามาในช่วงโควิด-19 คือความต้องการทางด้าน Emotional หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ชอปปิงบำบัด Active in Social & Sustain ผู้บริโภคมี Mindset ในแง่ของสังคม วัฒนธรรมต่อแบรนด์ที่เปลี่ยนไป เช่น ความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์ของแบรนด์ทางสังคม และเรื่องที่ Sensitive ที่สุดของประเทศไทยคือเรื่องของการเมือง ทำให้แบรนด์ต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ให้มากขึ้นและเตรียมรับมือกับ Crisis Management ตลอดเวลา 8C ที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป Connectivity การเข้าถึงผู้บริโภคในทุก ๆ Touchpoint ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ให้เชื่อมต่อถึงผู้บริโภค Conversation การสนทนาที่เพิ่มรูปแบบมากขึ้น ไม่ใช่แค่การสนทนาเพื่อขายของเพียงเท่านั้น แต่ต้องรับฟังปัญหาของผู้บริโภคให้มากขึ้น Compassion ความเห็นอกเห็นใจผู้บริโภคว่าต้องเจอกับอะไรในตอนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าให้จดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เลย Consciousness การตระหนักรู้จิตใจของผู้บริโภค ธุรกิจสามารถช่วยแก้ปัญหาอะไรของคุณได้บ้าง จากเดิมที่เน้น Functional แต่มาเพิ่ม Emotional เข้าไปด้วย ซึ่งถ้าธุรกิจทำได้แบรนด์ของเราจะไปอยู่ในใจของลูกค้าอย่างแน่นอน...

Continue reading
google-chat

Google Chat เครื่องมือสื่อสารทรงพลัง ตอบโจทย์การทำงานร่วมกันภายในองค์กร

ในปัจจุบันการทำงานเเบบ Online Working ในเรื่องของการสื่อสารร่วมกันถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การทำงานในเเต่ละโปรเจกต์มีความคล่องตัวเเละราบรื่นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำงานในแผนกไหนขององค์กรต่างก็ต้องใช้เครื่องมือสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา เเต่การจะสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเเละช่วยเสริมให้ชีวิตประจำวันของการทำงานมีความราบรื่นในเเต่ละวันนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ อีกหนึ่งตัวเลือกที่ทรงพลังอย่าง Google Chat ที่มีความโดดเด่นและตอบโจทย์เฉพาะในด้านของการสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กร มีฟังก์ชันที่จะทำให้คุณมีความสะดวกมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดย Google Chat ทำอะไรได้บ้าง เริ่มต้นใช้งานอย่างไร ไปดูกันเลย Google Chat เริ่มต้นใช้งานได้อย่างไร ? คุณสามารถดาวน์โหลดแอป Chat หรือจะดูข้อความได้โดยตรงจากใน Gmail เลือกช่องทางที่เหมาะสมสำหรับทุกการสนทนาสำหรับคุณ เพื่อช่วยให้คุณติดตามการสื่อสารในงานได้ทั้งหมด Google Chat ทำอะไรได้บ้าง ? 1. สนทนาเเบบแชทเดี่ยวและกลุ่ม ใน Google Chat จะแยกแชทเดี่ยวและกลุ่มกันอย่างชัดเจน ในหน้าต่าง Chat เดี่ยวจะเป็นช่องส่งข้อความส่วนตัวระหว่างคน 2 คน ส่วนหน้าต่าง Rooms คือ แชทกลุ่ม คุณสามารถสร้างพื้นที่ในการทำงานร่วมกับทีมของคุณได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถปักหมุดแชทที่คุยบ่อย ๆ ได้อีกด้วย Chat      Rooms Chat      Rooms 2. แชร์ไฟล์ นัดหมาย ผ่านแชท คุณสามารถแชร์ไฟล์งานจาก Drive หรือไฟล์ในคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อนร่วมงานในเเชทได้ เเละยังนัดหมายต่าง ๆ ใน Calendar ได้ง่าย ๆ เพียงเเค่คลิกที่ไอคอนของเเต่ละเเอปในด้านล่างขวามือของแชทคุณ ซึ่งไอคอนต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่ในหน้าต่างเเชทช่วยให้คุณทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น 3. กล่องเเชทบอกสถานะกำลังใช้งาน โดยเบื้องต้นเมื่อคุณใช้งาน Google Chat จะเเสดงผลคล้ายกับใน Messenger ของ Facebook ที่จะขึ้นสีเขียว คือ กำลังใช้งานอยู่นั้นเอง เเต่ทาง Google Chat จะมีความโดดเด่นเฉพาะในด้านของการทำงาน เนื่องจากเวลาใช้งานจะขึ้นเป็น Active คือ กำลังใช้งานอยู่เป็นการบอกว่าคุณสะดวกในการตอบแชทได้ เเต่หากคุณกำลังติดงานอื่น ๆ หรือประชุมอยู่นั้น คุณสามารถเลือก...

Continue reading