ข่าวดี! Zendesk เชื่อมต่อกับ WeChat ได้แล้ว

WeChat คือ แพลตฟอร์มการสื่อสารยอดนิยมจากประเทศจีนที่มีผู้ใช้งานกว่า 963 ล้านคนทั่วโลก ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจที่อยากจะเจาะกลุ่มลูกค้าคนจีนมักเลือกใช้ WeChat ในการสร้าง Brand Awareness และทำการโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าของตนเอง โดยบทความนี้จะมาอธิบายถึงวิธีการเชื่อมต่อช่องทางการสื่อสาร WeChat เข้ากับ Zendesk Agent Workspace เพื่อให้ลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาสอบถามสินค้าหรือแจ้งปัญหาต่าง ๆ ผ่านช่องทาง WeChat ได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้น ทีมบริการและซัพพอร์ตลูกค้าทำงานง่ายขึ้นผ่าน Zendesk เพียงแพลตฟอร์มเดียว อีกทั้งข้อมูลและทุกการติดต่อของลูกค้าจะถูกเก็บเป็น Ticket ไว้อีกด้วย เริ่มแรกหากคุณต้องการที่จะเชื่อมต่อ WeChat เข้ากับ Zendesk แพ็กเกจ Zendesk ที่สามารถเชื่อมต่อได้คือ Zendesk Suite และต้องทำการเปิดใช้งานระบบรับส่งข้อความบน Agent Workspace ด้วยการไปที่ Admin Center > คลิก “Channels” > เลือก Messaging & Social > Messaging Setup ก่อน ต่อมาเป็นวิธีการเชื่อมต่อ WeChat เข้ากับ Zendesk แบบละเอียด ไปที่ Admin Center > คลิก “Channels” ในแถบด้านข้าง จากนั้นเลือก Messaging & Social > Messaging คลิกที่ Add Channel และเลือก WeChat จากดรอปดาวน์ คลิกที่ปุ่ม Link Account (เชื่อมโยงบัญชี) และทำตามคำแนะนำเพื่อสแกน WeChat QR Code ของคุณ สแกน QR Code โดยใช้ WeChat ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ Android หรือ IOS...

Continue reading

Google Cloud (Storage) คืออะไร?

Google Cloud คือ? Google Cloud ชื่อที่เราเรียกกันจนชินปาก จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนหมายถึงนั่นก็คือ Google Cloud Storage นั่นเอง ซึ่งก็คือการจัดเก็บข้อมูลผ่านทาง Google ที่คุณสามารถสร้างและเก็บไฟล์ได้โดยผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่าย เพียงแค่คุณมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ผ่าน Google Workspace (Docs, Sheets, Slides) หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google ระบบก็จะทำการบันทึกไฟล์อัตโนมัติและอัปโหลดบน Cloud ได้ทันที ไม่เพียงแต่งานเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆที่คุณต้องการจัดเก็บอีกด้วย  *ในส่วนของ Google Cloud นั้นจะมีความหมายคนละอย่างกันกับ Google Cloud Storage นะ ! Google Cloud Storage ดียังไง? ไม่ต้องมี Hard Disk หรือ Flash Drive หลายๆคนอาจจะชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผ่าน Hard Disk หรือ Flash Drive ซึ่งคุณนั้นต้องพกมันไปทุกที่ ไม่หนำซ้ำยังต้องระวังเรื่องไวรัสอีก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ไปซะหมด คุณจะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมแบบเดิมๆอีกต่อไป ทุกครั้งที่คุณมีการทำงานผ่านแอปพลิเคชันของ Google งานของคุณก็จะถูกบันทึกอยู่บน Cloud ทันที ประหยัดค่าใช้จ่าย สืบเนื่องมาจากข้อด้านบน แน่นอนว่าพอคุณไม่ต้องพก Hard Disk หรือ Flash Drive ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่มีความจำเยอะขึ้นเพื่อจัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลที่มากขึ้น แชร์ให้คนอื่นได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้คุณสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือแชร์ให้บุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าตัวคุณไม่ได้ออนไลน์อยู่ เพื่อนหรือทีมของคุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Hard Disk หรือ Flash Drive เช่นเดิมที่เมื่อก่อนนั้นคุณต้องเสียบกับ Computer หรือ...

Continue reading

Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว!

Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว! Google Meet หนึ่งในแอปพลิเคชันจาก Google Workspace ระบบอีเมลองค์กรและชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกัน ที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจของคุณสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ทาง Google Meet ได้ประกาศฟีเจอร์ผู้จัด (Organizer) Google Meet สามารถปิดเสียงทุกคนพร้อมกันใน Google Meet ทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์แล็ปท็อป ในส่วนของฟีเจอร์ที่ได้รับการอัปเดตใหม่นี้ผู้จัด Google Meet หรือผู้ควบคุมการประชุมร่วม (Moderation controls) สามารถใช้ฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ในการประชุม ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถเปิดไมโครโฟนหรือกล้องได้จนกว่าคุณจะปลดล็อก ซึ่งคุณสามาารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ทั้งในห้องหลักและห้องกลุ่มย่อย (Breakout rooms) ฟีเจอร์นี้ดีอย่างไร? ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้จัด Google Meet สามารถควบคุมการประชุมของตัวเองได้ เพื่อป้องกันการก่อกวนจากผู้เข้าร่วมหรือเสียงรบกวนอื่นๆ โดยผู้จัดสามารถตัดสินใจอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในเวลาที่ต้องการได้ หมายเหตุ: ผู้เข้าร่วมที่ใช้แอป Android และ iOS เวอร์ชันที่ไม่รองรับการล็อกเสียงและวิดีโอจะถูกนำออกจากการประชุมหากผู้จัด หรือผู้ควบคุมการประชุมร่วมเปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกอย่างใดอย่างหนึ่ง หากผู้เข้าร่วมต้องการเข้าร่วมการประชุมที่เปิดใช้งานการล็อคอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เข้าร่วมจะได้รับแจ้งให้อัปเดตแอปหรือใช้อุปกรณ์อื่นเพื่อเข้าร่วมการประชุม การปิดฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอจะทำให้ผู้เข้าร่วมเหล่านี้สามารถเข้าร่วมการประชุมได้อีกครั้ง รุ่นที่รองรับขั้นต่ำคือ แอนดรอยด์: Android OS เวอร์ชัน M หรือใหม่กว่า iOS: iOS เวอร์ชัน 12 หรือใหม่กว่า แอป Meet หรือ Gmail: เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอ รวมทั้งการล็อกการแชทและการนำเสนอ ที่กำหนดโดยผู้จัดในการประชุมหลักจะมีผลกับห้องกลุ่มย่อยที่เปิดตัวในภายหลังด้วย เมื่อเปิดห้องกลุ่มย่อยและมีเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าล็อกในแต่ละห้องจะไม่ส่งผลต่อการตั้งค่าของห้องกลุ่มย่อยอื่นๆ หรือการประชุมหลัก ติดตามข้อมูลข่าวสารการอัพเดตเกี่ยวกับ Google Meet และแอปพลิเคชันอื่นๆ ใน Google Workspace ได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที หากสนใจสามารถสอบถามแพจเกจและราคา Google Workspace ได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจอื่น ๆ วิธีเปลี่ยนพื้นหลัง Google Meet บนคอมพิวเตอร์...

Continue reading
Google Workspace Background and solution for digitized world

Google Workspace เกิดมาได้อย่างไรและตอบโจทย์ยุคดิจิทัลได้มากแค่ไหน?

It’s Time for Google Workspace! ถึงเวลาแล้วที่ Google จะช่วยคุณพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบเดิมๆให้ดีขึ้นด้วย Google Workspace เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่จะทำให้การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายๆ หากจะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นก็คงจะหนีไม่พ้นวิกฤติการณ์โควิด 19 ที่อยู่กับเรามายาวนานอย่างไม่คาดคิด ทำให้การทำงานในยุคปัจจุบันนั้นถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายบริษัทยกเลิกการทำงานรูปแบบเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้ตอบสนองต่อโลกดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้น การเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศหรือการไปประชุมก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไปหากว่าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แม้ว่าพนักงานบริการส่วนหน้าที่ต้องติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงก็ต้องเปลี่ยนมาให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตแทน ตลอดจนถึงแพทย์หรือหน่วยงานภาครัฐก็ยังต้องมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ตกระบวนการการทำงานและบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีระบบ สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่ามากที่สุด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างมากสำหรับ Google แต่ถ้าหากมองอีกมุมหนึ่งก็ยังนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญเลยทีเดียวที่จะช่วยผู้คนให้ประสบความสำเร็จในโลกของดิจิทัลเช่นนี้ ดังนั้น Google จึงได้สร้าง Google Workspace ขึ้นโดยมีสโลแกนว่า “ทุกสิ่งที่คุณต้องการ รวมอยู่ที่นี่ที่เดียว” Google Workspace ประกอบไปด้วยชุดแอปพลิเคชันที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น Gmail, Calendar, Drive, Docs, Sheets, Slides, Meet, และอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าคุณจะไปทำงานที่ออฟฟิศหรือจะทำงานที่บ้าน Google Workspace คือโซลูชันที่ดีทีสุดที่จะช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมและช่วยยกระดับการสื่อสารและทำงานร่วมกันในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น  Google Workspace ได้พัฒนาแอปพลิเคชันโดยมีแนวคิดหลัก 3 ข้อ ดังนี้ 1. เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ในเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา Google ได้ประกาศโซลูชันใหม่ที่จะรวบรวมการทำงานของคุณให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ อีเมล เสียง หรือ วิดีโอ ก็สามารถรวมอยู่ในที่เดียวกันได้ โดยสิ่งนี้จะเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้บริการ Google Workspace สำหรับการใช้งาน Google Workspace นั้นก็ง่ายมากๆเลยทีเดียว ตอบโจทย์ทั้งองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ โดยที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ Chat และ Drive ได้ และสามารถสร้างผลงานและทำงานร่วมกันกับผู้ใช้งานคนอื่นได้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคนนอกองค์กรก็ตาม ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง Google Workspace ยังถูกออกแบบมาเพื่อให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Docs, Sheets, และ Slides คุณสามารถกดดูไฟล์งานได้โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าต่างใหม่ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะสามารถประหยัดเวลาในการทำงานและทำให้งานนั้นเสร็จเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถแท็กคนที่คุณต้องการจะกล่าวถึงเพื่อให้คนๆนั้นเห็น Email, Chat หรือ Video ตามที่คุณต้องการได้ ไม่เพียงแค่นั้น...

Continue reading

3 วิธี เพิ่ม Customer Experience สำหรับคนไข้ เมื่อสุขภาพและเทคโนโลยีต้องเวิร์คไปด้วยกัน

ในช่วงปีที่ผ่านมานี้เรียกได้ว่าเรื่องของสุขภาพและเทคโนโลยีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก นับจากที่มีภาวะโรคระบาดโควิด-19 บริษัทด้านเทคโนโลยีสุขภาพหลายแห่งทั่วโลกได้มีการระดมทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการหาแนวทางแจกจ่ายวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือหาช่องทางใหม่ ๆ ในการเข้าถึงผู้ป่วย สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดยากที่จะโต้เถียงว่าเราได้เข้าสู่ ‘จุดพลิกผันทางดิจิทัล’ เป็นที่เรียบร้อย และเมื่อสุขภาพและเทคโนโลยีต้องมีอยู่ควบคู่กันไป หลายบริษัทก็ได้คิดหาทางปรับปรุงประสบการณ์เพื่ออำนวยประโยชน์สำหรับคนไข้โดยเฉพาะ ในบทความนี้ เรามาดูตัวอย่างที่น่าสนใจในการยกระดับประสบการณ์สำหรับคนไข้ของบริษัทเหล่านี้กัน 1. Luma Health กับการยกระดับการสื่อสารด้วย Zendesk Luma Health เป็นบริษัทด้านประกันสุขภาพที่ก่อตั้งด้วยแนวคิดที่ว่าการดูแลสุขภาพควรจะเรียบง่าย ไร้รอยต่อ มีประสิทธิภาพในทุกปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า เพราะยึดถือเรื่องความเป็นส่วนตัว ว่องไวและการสื่อสารเป็นสำคัญ Luma Health จึงต้องการแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ในระดับมาตรฐานเดียวกัน และในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ วิกฤตโรคระบาดที่เร่งเร้าถึงความสำคัญของเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น Luma Health ก็ได้ยินยอมรับความท้าทายครั้งใหม่ด้วยความช่วยเหลือจาก Zendesk  Kristina Kemp, Director of Customer Success กล่าว “เรื่องของสุขภาพไม่อาจปล่อยผ่านไปได้ง่าย ๆ มีแนวทางหลายอย่างที่ต้องปฏิบัติตามในการดูแลผู้ป่วย และแม้แต่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่เล็กที่สุดก็อาจสร้างผลกระทบที่ใหญ่โตได้ เราอาจสร้างการบริการที่ดีที่สุด แต่ถ้าผู้คนไม่รู้ว่ามันใช้งานอย่างไร เราก็ล้มเหลวอยู่ดี” Luma Health ให้การสนับสนุนลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่คลินิคขนาดเล็กที่ใช้งานเทคโนโลยีไม่มากนักตลอดจนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มองหาการปรับแต่งและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สิ่งที่เหมือนกันคือไม่ว่าลูกค้ารายไหนก็ต้องการการสื่อสารที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น Luma Health ต้องการวิธีที่จะรักษาการสนับสนุนลูกค้าให้แตกต่างและเป็นส่วนตัวด้วยทีมทรัพยากรที่จำกัด ตรงจุดนี้ที่ Zendesk ได้เข้ามาช่วยเรื่องการบริการให้ดีขึ้นได้ “Zendesk เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน HIIPA และยังช่วยให้เวิร์คโฟลว์การทำงานของเรารวดเร็วขึ้นอย่างมาก เราไม่ต้องใช้เครื่องมือภายนอกในการส่งหรือรับข้อมูลจากลูกค้า ตอนนี้เราสามารถทำทุกอย่างได้โดยตรงใน Zendesk” Leo Mahalhaes, Lead Technical Support Engineer กล่าว 2. การเข้าถึงเครื่องมือและบริการด้านสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตั้งแต่วิกฤตโรคระบาด มีผู้คนจำนวนมากที่มีสุขภาพจิตย่ำแย่ ทำให้แอปพลิเคชันอย่าง Calm ที่ช่วยแนะนำเรื่องการทำสมาธิ เรื่องเล่าก่อนนอนและเคล็ดลับด้านสุขภาพจิตถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษา หรือแม้แต่มีเงินไม่เพียงพอจะแบกรับค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่ต้องการคำปรึกษา บริษัทเทคโนโลยีสุขภาพหลายแห่งเองก็ได้หาหนทางช่วยเหลือผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชัน หนึ่งในกลวิธีนั้นก็คือการรักษาผ่านตัวอักษร (Text-based Therapy) Mindler บริษัทสัญชาติสวีเดนเป็นอีกหนึ่งบริษัทด้านเทคโนโลยีสุขภาพที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ป่วยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแบบเสมือนจริง COO ของ Mindler Magnus Peterson ได้แชร์มุมมองสำคัญในการช่วยเหลือลูกค้าที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเรื่องสุขภาพจิตไว้ว่า “สิ่งที่ผมบอกกับทีมของผม...

Continue reading

5 ประโยชน์ของ AI Chatbot สำหรับการบริการลูกค้า มีอะไรบ้าง?

ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ยังลังเลว่า AI Chatbot จะเหมาะกับธุรกิจของคุณหรือไม่? บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ AI Chatbot สำหรับการบริการลูกค้า ระบบ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่ทุกคนเคยเห็นในหนัง Sci-fi อาจจะมีความน่ากลัวและสยองแบบที่หลาย ๆ เรื่องชอบเล่า แต่จริง ๆ แล้วบอท AI ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย แถมการเติบโตอุตสาหกรรมบอท AI นั้นยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรมและนำประโยชน์มาสู่โลกของธุรกิจและลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด ผลสำรวจจาก The bot market ในปี 2018 ตลาดของบอท AI มีมูลค่าอยู่ที่ 1.274 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 อีกด้วย ยิ่งตอนนี้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปและคุ้นชินกับ AI ที่ถูกพัฒนามาเป็น Chatbot ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้ามากขึ้น ทำให้การนำ AI Chatbot มาใช้ในเรื่องของ Customer Service ก็สูงขึ้นด้วย โดย 60% ของผู้บริโภคสื่อสารกับแชทบอทของธุรกิจในปีที่แล้ว และกว่า 48% ของผู้บริโภคพบว่าพวกเขายินดีที่จะคุยกับแชทบอทเพราะได้รับการโต้ตอบที่รวดเร็วกว่า ยิ่งไปกว่านั้นประโยชน์ของ AI Chatbot ยังมีอีกมากมายต่อจากนี้ 5 ประโยชน์ที่ AI Chatbot ช่วยเรื่องการบริการลูกค้าได้ มีอะไรบ้าง? แต่บางคนหรือบางธุรกิจอาจรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าการนำ Chatbot หรือ AI มาแทนที่การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่จริง ๆ แล้วการนำเทคโนโลยีเข้ามาไม่ได้นำเข้ามาเพื่อที่จะแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด แต่เข้ามาช่วยส่งเสริม แบ่งเบา การทำงานของทีมบริการและซัพพอร์ตลูกค้าบวกกับช่วยเพิ่มโอกาสอื่น ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย 1 . ลูกค้าได้รับการโต้ตอบและคำตอบที่เร็วขึ้น การบริการลูกค้าแบบ Self-service กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น กว่าสองในสามของผู้บริโภคกล่าวว่าเขาชอบการบริการแบบ Self-service มากกว่าที่จะต้องคุยกับพนักงานเพราะ AI Chatbot จะทำให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเองและรวดเร็วยิ่งขึ้น 89% ของลูกค้ากล่าวว่า...

Continue reading

Messaging best practices for better customer service

Forty-two percent of people worldwide have a smartphone, and 87 percent of smartphone owners use messaging. Let those numbers sink in for a minute. Customers overwhelmingly want to interact with businesses on the same messaging channels they use in their personal lives. They’re also looking to connect with brands through live chat on their web and mobile apps. Messaging already had the highest customer satisfaction score of any support channel before COVID-19, with a CSAT of 98 percent. And now, with consumers quarantined at home and relying on technology to communicate even more, the amount of time they’re spending on...

Continue reading

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน Google Sites หนึ่งในฟีเจอร์ของ Google Workspace ทำให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้คุณจะไม่มีทักษะการเขียนโปรแกรมก็ตาม เพราะ Google Sites ช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยการคลิก ลาก และวางเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์งานกิจกรรม ก็สามารถสร้างได้ง่ายๆเพียง 6 ขึ้นตอนต่อไปนี้ หมายเหตุ: ทำความรู้จักกับ Google Sites ได้ที่ สร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ไม่ง้อโปรแกรมเมอร์ด้วย Google Sites 1. การสร้างเว็บไซต์ จากหน้าแรกของ Sites ให้คลิกสร้าง+ ที่ด้านบน หรือเลือกเทมเพลตโดยคลิก Template gallery (แกลเลอรีเทมเพลต) จาก Google ไดรฟ์ ให้คลิก New (ใหม่) > More (เพิ่มเติม) > Google Sites 2. การตั้งชื่อเว็บไซต์ Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) ชื่อเอกสารของเว็บไซต์จะปรากฏให้คุณเห็นเท่านั้น และคุณไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้  Site name (ชื่อเว็บไซต์) ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ของคุณปรากฏคุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไป Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย 3. การเลือกเลย์เอาต์   สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts (เลย์เอาต์) ที่ด้านขวาตามรูปภาพ 4. การเลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยแต่ละธีมจะมีพื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า รูปแบบสี และการเลือกฟอนต์ คุณจะปรับเปลี่ยนแบบอักษร สี และพื้นหลังในภายหลังได้ และยังเปลี่ยนธีมได้ทุกเมื่อหลังจากสร้างเว็บไซต์แล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลง ให้คลิกเลิกทำหรือทำซ้ำ 4.1 เปลี่ยนภาพพื้นหลัง...

Continue reading

เปิดโมเดล สร้างธุรกิจให้ก้าวทันการทำงานในยุคใหม่ไปกับ Google Workspace

“ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เป็นเรื่องที่ภาคธุรกิจในปัจจุบันต่างตระหนักถึง ดังจะเห็นได้จากปัญหาการแพร่ระบาดของวิกฤติ COVID-19 ที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว และได้สร้างผลกระทบอย่างคาดไม่ถึงให้กับภาคธุรกิจและเศรษฐกิจทั่วโลก ถึงแม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาย รัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิว และจะเริ่มเปิดประเทศในอีกไม่นานนี้ก็ตาม แต่ในอนาคตก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นมาอีกบ้าง การแพร่ระบาดจะกลับมาอีกไหม? จะมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นอีกหรือเปล่า? จึงเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจไม่นิ่งนอนใจ  ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดคือองค์กรธุรกิจหลายแห่งปรับตัวและมองหาวิธีการใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อได้อย่างราบรื่น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับทุก ๆ สถานการณ์ ทั้งนี้ยังต้องมีความสอดรับกับกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน เพื่อให้ก้าวทันยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอนั่นเอง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จึงขอเชิญชวนเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ ที่กำลังมองหาวิธีการทำงานและเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสมที่สุด พลิกวิกฤติในความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 เป็นโอกาสในการปฏิรูปการทำงานของพนักงานในองค์กรให้ก้าวทันยุคใหม่หรือปี 2022 ที่กำลังจะมาถึงนี้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นด้วยเทคโนโลยีจาก Google ให้คุณพร้อมรับกับทุกสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงการทำงานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานทางไกล (Remote Working) การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานหลักได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคตในยุคหลัง COVID-19 หรือ Next Normal นั่นเอง ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม โมเดลในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานร่วมกันในองค์กรยุคใหม่ พร้อมวิธีการที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ทำความรู้จัก Google Workspace เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันขององค์กรยุคดิจิทัล ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคนทั่วโลก การลดต้นทุนแฝงจากการใช้งานซอฟต์แวร์ในการทำงานหลายระบบ (Silo) ในแบบเดิม ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้านทรัพยากร การบริหารกระบวนการการทำงานร่วมกันในองค์กรอย่างเป็นระบบ ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และการจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยเทคโนโลยี (พนักงานจะสามารถทำงานได้หลากหลาย รวดเร็ว และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น) การใช้งานเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมือให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด Agenda 20.00 – 20.05 น. พิธีกล่าวเปิด 20.05 – 20.20 น. Reduce Costs, Boost Productivity, and Simplify manageability for Your Business...

Continue reading