ไซโล (Silo) คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงไม่ควรมี ไซโล คือ ระบบที่แยกการทำงานเป็นแผนกโดยแต่ละแผนกมีแนวทางการทำงานและการสื่อสารที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานร่วมกันเป็นทีมในองค์กรใหญ่ หากแต่ละทีมขาดการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเข้าใจไม่ตรงกันภายในบริษัท อาจจะส่งผลให้กระบวนการทำงานในบริษัทไม่มีประสิทธิผลไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกองค์กรควรหลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโลเพื่อลดปัญหาและเพิ่มคุณภาพให้กับงาน ตัวอย่างเช่น SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็กำลังทลายระบบไซโลแล้วเข้าสู่วัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture) อยู่เช่นเดียวกัน นับว่าช่วงปีที่ผ่านมาและปีต่อ ๆ ไปนี้หลาย ๆ หน่วยงานต้องปรับเปลี่ยนมาใช้การทำงานที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น มีพนักงานใหม่เข้ามา มีทีมหรือแผนกเพิ่มขึ้น อายุของพนักงานในบริษัทเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นอีกเช่นกัน ดังนั้นการทำงานที่เชื่อมต่อกันและการสื่อสารถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ต่อองค์กรที่จะช่วยให้องค์กรนั้นเติบโตได้อย่างต่อเนื่องซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากการขับเคลื่อนของพนักงานที่มีการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี Google Workspace เองก็ถูกออกแบบให้การทำงานมีการเชื่อมต่อกันและมีการสื่อสารกันมากขึ้นภายในองค์กร ใช้งานง่ายและสะดวกเหมาะสำหรับทุกวัย Demeter ICT – Google Cloud Partner อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ก็ได้นำ Google Workspace มาปรับใช้ในองค์กรเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายไอที หรือฝ่ายบัญชี ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ปรับตัวในทันยุคดิจิทัลที่กำลังดำเนินต่อไปในอนาคต ผลกระทบจากการใช้ระบบไซโลในองค์กร ขาดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่าระบบไซโลนั้นเป็นการทำงานแบบแยกแผนก ตัวใครตัวมัน ทีมใครทีมมัน ไม่มีการสื่อสารระหว่างแผนก แต่ทว่าความจริงแล้วนั้นเราจะขาดส่วนนี้ไปไม่ได้เลย เพราะในการทำงานงานหนึ่งหลาย ๆ ทีมต้องช่วยและประสานงานกันจึงจะทำให้สำเร็จได้ ถ้าทีมขาดการสื่อสารที่ดี และการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพพอ อาจส่งผลให้แต่ละทีมเข้าใจในตัวงานไม่ตรงกันและทำงานยากมากขึ้น ท้ายที่สุดอาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีต่อกันจนถึงขั้นทำลายความสัมพันธ์เลยก็ว่าได้ เพิ่มขั้นตอนการทำงานหรือใช้เวลาในการทำงานยาวนานขึ้น ต่อจากข้อด้านบน แน่นอนอยู่แล้วว่าหากทีมขาดการประสานงานที่ดีไปก็จะทำให้ขั้นตอนการทำงานเพิ่มมากขึ้น การทำงานเกิดความซ้ำซ้อน งาน ๆ หนึ่งใช้เวลานานมากกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้พนักงานเสียเวลาในการที่จะไปจัดการงานอื่นอีกด้วย ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กร เมื่อพนักงานทำงานแยกกัน ความเข้าใจทีมต่างกัน ก็จะทำให้พนักงานไม่อยากร่วมงานกัน ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร ส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัทและร้ายที่สุดคือส่งผลต่อผลประกอบการซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน วิธีทำลายล้างระบบไซโล จัดหาโปรแกรมหรือระบบที่ช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพนักงานในบริษัทมีความหลากหลายมากขึ้น การที่มีระบบที่ดีจะช่วยให้การทำงานระหว่างพนักงานเองมีความง่ายและรวดเร็ว ติดต่อสื่อสารกันได้ไม่มีสะดุด เช่น Google Workspace และ Zendesk มีแหล่งข้อมูลที่คนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจข้อมูลที่ตรงกัน ดังนั้นองค์กรจึงควรมีแหล่งเก็บข้อมูลที่พนักงานทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานร่วมกันได้ พูดง่าย ๆ ก็คือการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกันนั่นแหละ หากใครต้องการใช้ข้อมูลส่วนไหนก็สามารถเข้ามาดูได้ โดยที่บุคคลอื่นก็จะเห็นชุดข้อมูลเดียวกัน จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ให้บุคคลภายในองค์กร สืบเนื่องมาจากการแบ่งฝ่ายทำงาน...
Continue readingทำความรู้จักฟีเจอร์ Macro จาก Zendesk ตอบลูกค้ารวดเร็วเพียงไม่กี่คลิก
Macro หรือ มาโคร ฟีเจอร์ยอดฮิตสำหรับลูกค้าที่ใช้ Zendesk ที่จะช่วยให้การตอบลูกค้าของคุณง่ายเหมือนปลอกกล้วยเพียงไม่กี่คลิกเท่านั้น วันนี้ Demeter ICT ได้นำวิธีการสร้าง Macro แบบเจาะลึกพร้อมบอกประโยชน์ของการใช้ Macro มาเผยให้กับทุกท่านที่อ่านบทความนี้ได้ดูกัน ไปเริ่มกันเลย! ฟีเจอร์ Macro คืออะไร? คือ เทมเพลตการตอบโต้กับลูกค้าที่สร้างโดยผู้ใช้งาน (Agent) จะเป็นคีย์ลัดเวลาที่ Agent ต้องตอบคำถามหรือปัญหาซ้ำ ๆ ให้กับลูกค้า ทำให้ Agent ไม่ต้องพิมพ์คำตอบใหม่ซ้ำ ๆ หรือหาคำตอบใหม่อยู่เสมอ แต่กดเพียงไม่กี่คลิกก็สามารถตอบกลับลูกค้าได้ในทันที ประโยชน์ของ Macro มีอะไรบ้าง? อันดับแรกที่แน่ ๆ เลยก็คือตอบกลับลูกค้าไวขึ้น (มาก) เพิ่มความพึงพอใจและสร้างประสบการณ์ที่ดี (CX) ให้กับลูกค้า ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลารอคำตอบนาน ลดเวลาการทำงานที่เสียเปล่าของ Agent ลงไปได้อย่างมหาศาล ลดความผิดพลาดในกรณีที่ Agent ตอบผิดหรือพิมพ์ผิดที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาได้ ต่อมาจะแสดง 8 ขั้นตอนการสร้าง Macro บน Zendesk ให้ทุกท่านได้ดูกันแบบเจาะลึกทีละขั้นตอนกันเลย 1. อันดับแรกก่อนที่ทุกท่านจะใช้ฟีเจอร์ Macro ได้คือทุกท่านต้องใช้ Zendesk ก่อนนั่นเองหรือหากท่านใดที่ยังไม่ได้ใช้ Zendesk แต่อยากจะลองใช้และสร้าง Macro ไปพร้อม ๆ กัน ทาง Demeter ICT มีให้ทุกท่านทดลองใช้งานฟรี 14 วัน เพียงคลิกลิงก์นี้ได้เลย > https://bit.ly/3eT06pN 2. ไปที่หน้า Zendesk Support (Agent workspace) > คลิกรูปเฟืองหรือ Admin > แล้วกดคำว่า ‘Macros’ 3. คลิกคำว่า ‘Add macro’ เพื่อสร้าง Macro ที่คุณต้องการ 4. จะมาที่หน้าการสร้าง Macro...
Continue readingRCS Messaging คืออะไร? รู้จักมาตรฐานใหม่ในการส่งข้อความที่จะมาแทนที่ SMS
วันหนึ่งโทรศัพท์มือถือของคุณสั่น มีแจ้งเตือนข้อความเข้าเด้งขึ้นมาแจ้งว่าเสื้อผ้าในร้านค้าโปรดของคุณกำลังลดราคาและแนบลิงก์ไว้สำหรับให้คุณคลิกต่อ ทั้งหมดเป็นข้อความที่ไม่ยาวมาก ไม่มีรายละเอียด ไม่มีรูปภาพให้ช่วยตัดสินใจใด ๆ ทั้งสิ้น ทว่ามันก็เป็นความเคยชินสำหรับระบบส่งข้อความแบบ SMS ที่อยู่กับเรามาเกือบยี่สิบปี ‘Old habits die hard’ ดังคำกล่าวนี้ การส่งข้อความแบบ SMS หรือ Short Message Service แม้ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างนั้นมันจะดีกว่าหรือไม่หากว่าครั้งนี้ข้อความที่ส่งมาจะต่างออกไปเสียหน่อย การจัดวางดูสะอาดน่าอ่านมากขึ้น และมีรูปภาพสินค้าสะดุดตาชวนให้กดซื้อ ไม่ดูน่าสงสัยเหมือนกดจากลิงก์อีกต่อไป เพราะความต้องการที่จะพัฒนาระบบส่งข้อความนี้เองจึงก่อให้เกิดบริการส่งข้อความที่อัปเดตจาก SMS ให้ดีขึ้นกว่าเดิม บริการนี้ เราเรียกมันว่า RCS Messaging (Rich Communication Service) RCS Messaging คืออะไร? RCS Messaging คือ บริการส่งข้อความในโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ พัฒนาขึ้นโดย Google มีฟีเจอร์สมัยใหม่ที่ช่วยให้ประสบการณ์การส่งข้อความทันสมัยมากขึ้นอย่างการส่งรูปภาพความละเอียดสูง การแนะนำการตอบกลับ การแชทแบบกลุ่ม หรือกระทั่งเวิร์คโฟลว์การซื้อขาย เดิมฟีเจอร์เหล่านี้ไม่นับว่าน่าประหลาดใจนักเพราะเราต่างคุ้นเคยกันดีจากแอปส่งข้อความในโซเชียลมีเดียอย่าง WhatsApp หรือ Facebook Messenger อยู่แล้ว ทว่าเพราะ SMS ยังคงเป็นที่นิยมอยู่มากในการรับส่งข้อความจากระบบมือถือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น OTP บริการแจ้งเตือนจากผู้ให้บริการเครือข่าย โปรโมชันสินค้าจากแบรนด์ เรียกได้ว่าเป็นช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วและเข้าถึงผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน จึงนำไปสู่แนวคิดที่จะพัฒนา SMS ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวมฟีเจอร์ในแอปส่งข้อความทางโซเชียลมีเดียเหล่านั้นไว้ในที่เดียว “RCS Messaging ช่วยให้การส่งข้อความยืดหยุ่นมากขึ้น” Stephanie Langlois, a product manager at Zendesk กล่าว “คล้ายกับสิ่งที่เราคาดหวังจากช่องทางโซเชียลในทุกวันนี้” เราจะใช้ RCS Messaging ในการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้นได้อย่างไรบ้าง? สำหรับธุรกิจที่ทำการตลาดทางช่องทางส่งข้อความเป็นหลัก RCS Messaging เรียกได้ว่าช่วยยกระดับการเข้าถึงลูกค้าไปเป็นอีกระดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ ฟีเจอร์ที่ทำได้มากขึ้นกว่าเดิมช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพและช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมามากขึ้น เรามาดูตัวอย่างการใช้ RCS Messaging กัน 1. ระบบแนะนำการตอบกลับสำหรับลูกค้า ระบบช่วยแนะนำการตอบกลับสำหรับลูกค้าช่วยนำทางลูกค้าไปลำดับขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้นโดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์หรือหาข้อมูลด้วยตนเอง ยกตัวอย่างหากต้องการส่งนัดหมายให้ลูกค้า บริษัทก็สามารถสร้างปุ่มนัดหมายส่งไปในข้อความ หากอยากให้ผู้รับยืนยันก็สามารถเพิ่มปุ่มตกลงหรือปุ่มนัดหมายใหม่ในรูปแบบตอบกลับอัตโนมัติ เช่นเดียวกันหากต้องการให้ลูกค้าติดต่อกลับ...
Continue readingแสดงความเป็นเจ้าของเอกสารด้วยการใส่ลายน้ำใน Google Docs กันเถอะ!
แสดงความเป็นเจ้าของเอกสารด้วยการใส่ลายน้ำใน Google Docs กันเถอะ! Google Docs แอปพลิเคชันการทำงานเอกสารร่วมกันแบบเรียลไทม์จาก Google Workspace เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘ลายน้ำ (Watermark)’ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มรูปภาพลายน้ำใน Google Docs ได้แล้ว การเพิ่มลายน้ำนี้จะถูกทำซ้ำในทุกหน้าของเอกสาร ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มโลโก้บริษัท การสร้างแบรนด์ และการออกแบบที่คุณเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ลายน้ำของรูปภาพจะยังคงอยู่เมื่อนำเข้าหรือส่งออกเอกสารจาก Microsoft Word อีกด้วย วิธีการเพิ่มลายน้ำใน Google Docs เปิดเอกสารใน Google Docs ในคอมพิวเตอร์ ไปที่แทรก (Insert) > ลายน้ำ (Watermark) เลือกรูปภาพ คุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบของลายน้ำได้ในแผงทางด้านขวา คลิกเสร็จสิ้น อีกวิธีในการแก้ไขลายน้ำมีดังนี้ คลิกขวาที่ลายน้ำบนเอกสารของคุณ คลิกเลือกลายน้ำ (Select watermark) เลือกตัวเลือกรูปภาพในแถบเครื่องมือ (Image options) เพียงเท่านี้คุณก็สามารถปรับแต่งเอกสารของคุณได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถแบ่งปันเอกสารด้วยความมั่นใจ นอกจาก Google Docs ที่เป็นหนึ่งในชุดการทำงานใน Google Workspace ยังมีแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกในการทำงานและรักษาความปลอดภัยแก่งานของคุณได้อย่างเยี่ยมยอด หากคุณสนใจยกระดับการทำงานในองค์กรของคุณหรือมีข้อข้องสงสัยอยากสอบถามเกี่ยวกับ Google Workspace สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace ‘เปรียบเทียบเอกสาร’ ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Docs ที่จะทำให้การตรวจเอกสารของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม แอปพลิเคชันทำงานร่วมกันเเบบเรียลไทม์ ช่วยให้งานเอกสารเป็นเรื่องง่ายกับ Google Docs...
มีไฟล์เป็นร้อย หายังไงให้เจอภายใน 5 วิ
มีไฟล์เป็นร้อยก็หาเจอได้ภายใน 5 วิด้วย Cloud Search เครื่องมือการค้นหาข้อมูลอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกับ Google Workspace โดยตรง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่คุ้นชินกับแอปพลิเคชันนี้ ดังนั้นทาง DMIT จะขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้คุณได้เข้าใจการทำงานของ Cloud Search มากขึ้น สมมุติว่าคุณต้องการหาไฟล์ ๆ หนึ่ง แต่คุณไม่ทราบว่าไฟล์นั้นชื่ออะไร ถูกเก็บไว้ที่ไหน คุณก็สามารถค้นหาได้จาก Keywords ที่คุณรู้หรือที่คุณคิดว่าน่าจะใช่ จากนั้น Google จะโชว์ผลลัพธ์ทั้งหมดมาให้คุณภายในพริบตาเดียวเท่านั้น Cloud Search หาไฟล์จากที่ไหนได้บ้าง? จากที่ได้กล่าวไปแล้วด้านบนว่า Cloud Search ทำงานกับ Google Workspace ดังนั้นแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ ก็จะมีทั้ง Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive, Calendar, และ Sites รวมไปถึงกลุ่มที่คุณเข้าร่วมหรือกลุ่มภายในองค์กรได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นคุณสามารถเลือกกรองไฟล์ส่วนที่คุณต้องการค้นหาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ไฟล์เอกสาร PDF งานนำเสนอ วิดีโอ หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆ คุณก็สามารถค้นหาไฟล์ที่คุณต้องการใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าคุณไม่ต้องเข้าทีละแอปเพื่อค้นหาไฟล์ ๆ เดียวอีกต่อไป Cloud Search จัดให้ครบจบได้ภายใน 5 วิ คอนเฟิร์ม! Cloud Search อยู่ที่ไหน? คุณจะต้องไปที่หน้า Gmail ของคุณจากนั้นกด Google Apps ที่อยู่ด้านบนขวา แล้วเลื่อนไปที่ Cloud Search โดยมี Logo สีฟ้าแบบนี้ จากนั้นก็เริ่มค้นหาได้เลย! สำหรับแพ็กเกจที่รองรับ Cloud Search ได้แก่ Business Standard, Business Plus, และ Enterprise หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Demeter ICT...
Continue readingแม้ขณะแก้ไข Ticket ก็ทำงานเป็นทีมให้ดีขึ้นได้ด้วย Collaboration Tool จาก Zendesk
ท่ามกลางคำร้องหรือปริมาณ Ticket ที่เข้ามาในแต่ละวัน บ้างอาจเป็นคำร้องที่แก้ไขได้โดยง่าย เพียงไม่กี่นาทีก็ปิด Ticket ได้อย่างรวดเร็ว ทว่าก็คงมีบางกรณีเช่นกันที่ใน Ticket เหล่านั้นจะมีคำร้องที่สลับซับซ้อน ถึงขั้นที่อาจไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวคนเดียวได้ และมันก็เป็นเวลานั้นเองที่จะถึงคราวต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่คนอื่น เพื่อให้ แอดมิน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสาร ดูข้อมูลของ Ticket บริการลูกค้าได้อย่างราบรื่น Zendesk จึงได้ออกฟีเจอร์สำหรับการทำงานร่วมกันมาหลากหลายรูปแบบ ให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงผู้ที่ต้องการได้โดยไม่จำเป็นต้องออกจากหน้าตอบ Ticket เลยแม้แต่น้อย ในบทความนี้เราจะมาดูฟีเจอร์เพื่อการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้นของ Zendesk รวมทั้งเคล็ดลับว่าฟีเจอร์ไหนเหมาะจะใช้ตอนไหนถึงจะเหมาะสมที่สุดกัน 1. Side Conversation Side Conversation เป็นฟีเจอร์ที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถส่งข้อความสนทนากับเจ้าหน้าที่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าเจ้าหน้าที่คนนั้นจะใช้ Zendesk อยู่หรือเป็นบุคคลแผนกอื่นก็ตาม ก็สามารถพาให้เข้ามาร่วมแก้ไข Ticket โดยไม่รบกวนการสนทนาหลักของเจ้าหน้าที่กับลูกค้าใน Ticket เดิม ฟีเจอร์นี้ตอบรับความต้องการขององค์กรส่วนใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่จากแผนกอื่นได้ แทนที่จะสร้างกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนและอาจทำให้ลูกค้าต้องรอ ก็สามารถใช้ Side Conversation ทำงานร่วมกับใครก็ได้ (ทั้งในและนอกองค์กร) ในรูปแบบของหน้าต่างสนทนาขนาดพอเหมาะด้านข้าง Ticket เจ้าหน้าที่สามารถแนบไฟล์ส่งข้อมูลให้อีกฝ่ายทางช่องทางนี้ได้เลยโดยตรง ตัวอย่างการใช้งาน -สำหรับการทำงานร่วมกันภายในองค์กร: Side Conversation ช่วยให้เข้าถึงเจ้าหน้าที่จากแผนกอื่นได้ทางอีเมล โดยเจ้าหน้าที่จะสามารถส่งอีเมลจากในหน้าตอบ Ticket ไปหาผู้ที่ต้องการเพื่อขอรับคำปรึกษาก่อนตอบลูกค้าได้ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะทางอีเมลเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็น Slack หรือซอฟต์แวร์อื่นก็สามารถเชื่อมต่อส่งข้อความในหน้าเดียวได้เช่นเดียวกัน -สำหรับการทำงานร่วมกันภายนอกองค์กร: ในกรณีที่จำเป็นต้องติดต่อพาร์ทเนอร์ต่างบริษัท เจ้าหน้าที่สามารถส่งอีเมลเพื่อติดต่อได้ทันทีจากในหน้า Ticket ได้เลยเช่นเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องออกจากแพลตฟอร์มหรือหน้าจอเดิมเลยแม้แต่น้อย เช่น บริษัทอีคอมเมิร์ซที่จำเป็นต้องติดต่อถามเรื่องข้อมูลปริมาณสินค้าและการจัดจำหน่าย -สำหรับธุรกิจที่ต้องเป็นคนกลางในการประสานงาน: Side Conversation ช่วยให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกับทั้งสองฝ่ายได้ใน Ticket เดียว เช่น บริษัทขนส่งที่อาจจำเป็นต้องติดต่อกับทั้งผู้ซื้อและคนขับเพื่อประสานงาน Note: Side Conversation เป็นฟีเจอร์ที่รวมอยู่ใน Zendesk Suite ระดับ Professional ขึ้นไป 2. Light Agent ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ทุกคนที่จำเป็นต้องเข้าถึงการทำงานเต็มรูปแบบของ Zendesk เสมอไป ดังนั้น Zendesk จึงมีฟีเจอร์ Light...
Continue readingไม่ต้องเขียนโค้ดก็สร้างแอปพลิเคชันได้ด้วย AppSheet
จริง! เพียงแค่มี AppSheet ผลิตภัณฑ์จากทาง Google คุณก็สามารถสร้าง Application ได้แล้ว ง่ายมาก ไม่ต้องเขียน Code ย้ำ! ไม่ต้องเขียน Code ด้วยความที่สมัยนี้อะไร ๆ ก็เป็นดิจิทัลไปซะหมด หลาย ๆ องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและพัฒนาให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน หลาย ๆ คน ก็เริ่มสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง ซึ่งตัว AppSheet นี้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้องค์กรของคุณสามารถสร้างแอปพลิเคชันไว้ใช้ในองค์กรได้โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ทางไอทีหรือเทคโนโลยีที่ดูจะเข้าใจและเข้าถึงยากเหลือเกิน หากลองนึกย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนที่กว่าจะสร้างแอปพลิเคชันนึงขึ้นมานั้นต้องใช้เวลาในการเขียน Code ยาวนานและยากมาก ๆ แถมยังต้องใช้เงินจำนวนมากในการสร้างอีก แต่หากเปรียบเทียบกับปัจจุบันนี้ อะไร ๆ ก็ถูกปรับให้ง่ายขึ้น สร้างง่าย ใช้งานง่าย ออกแบบตามวัตถุประสงค์เองได้เลย AppSheet X Google AppSheet สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์จากทาง Google ได้ เช่น Google Data Studio และ Google Workspace (Google Docs, Sheets, Forms, Drive, และอื่น ๆ) คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลเองได้โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ที่หลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินและเคยใช้งานกันมาบ้างแล้ว ซึ่งทำให้การใช้งาน AppSheet นั้นดูง่ายขึ้นมากกว่าเดิมอีกหลายเท่า AppSheet ช่วยอะไรได้บ้าง? ออกแบบได้ตามต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาในองค์กรองค์กรของคุณสามารถกำหนดรูปแบบของแอปพลิเคชันได้ตามต้องการ ตัวอย่างเช่น บริษัทคุณมีปัญหาเรื่องการเช็คชื่อพนักงาน ไม่รู้จะว่าพนักงานเข้า – ออกงานตรงตามเวลาหรือไม่ คุณสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรมาสร้างแอปพลิเคชันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ทั้งยังทำให้บริษัทของคุณดูทันสมัยและมีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้นอีกด้วย ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการทำงานจากเดิมที่คุณต้องส่งเอกสารเพื่อดำเนินเรื่องอะไรสักอย่างในบริษัท คุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มและรอดำเนินการซึ่งก็ไม่รู้จะใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะดำเนินการเสร็จเนื่องจากต้องส่งเอกสารไปยังหลายฝ่าย ใช้เวลาก็หลายวัน แต่ถ้าคุณมี AppSheet คุณลืมขั้นตอนเหล่านั้นไปได้เลย คุณสามารถกรอกข้อมูลผ่านแอปและระบบจะทำการส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้โดยอัตโนมัติ เสร็จภายในไม่กี่นาที สร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นให้กับองค์กรการทำงานแบบเดิม ๆ จะไม่จำเป็นอีกต่อไป หากองค์กรของคุณมีเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์การทำงานของพนักงานให้สะดวกมากยิ่งขึ้น มีแอปที่คอยช่วยจัดการให้การทำงานมีความรวดเร็วและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้องค์ของคุณดูมีความเป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อมากขึ้น หากคุณมีความสนใจนำ AppSheet นี้ไปปรับใช้กับองค์กรของคุณ คุณสามารถซื้อบริการแยกได้ ยิ่งไปกว่านั้นทางเรามีโปรโมชันสุดคุ้มให้ ถ้าคุณซื้อบริการ Google Workspace Enterprise...
Continue readingสรุป 6 เทรนด์การสร้าง CX ปี 2022 สำหรับธุรกิจ จากงาน The New Way of CX
สำหรับผู้ทำธุรกิจ การศึกษาเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปรียบเสมือนมนุษย์ที่ศึกษาข่าวโควิด-19 เราต้องทำการอัปเดตและตามความเปลี่ยนแปลงให้ทันอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบรับกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งวันนี้เราได้สรุป 6 เทรนด์การสร้าง CX (Customer Experience) ที่เหมาะกับพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับปี 2022 โดย ดร.วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ CEO Founder ของบริษัท Demeter ICT ได้นำมาบรรยายในงานสัมมนา ‘The New Way of CX: ถอดรหัสประสบการณ์ลูกค้ายุคใหม่ ปลดล็อกธุรกิจให้ก้าวทันโลกปี 2022 ด้วย Zendesk’ ที่ผ่านมา จะมีเทรนด์อะไรบ้าง มาร่วมถอดรหัสไปด้วยกันได้เลย! 6 เทรนด์การสร้าง CX สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2022 มีอะไรบ้าง? 1. สร้างความสมดุลระหว่างการใช้คนและใช้ AI ในการบริการลูกค้า เพราะการนำ AI เช่น AI Chatbot มาใช้ในธุรกิจก็จะช่วยแบ่งเบาภาระในงานส่วนของการบริการเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากการจัดวางสมดุลระหว่างการใช้คนกับ AI ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมก็อาจจะเป็นดาบสองคมในการทำลาย CX ที่ลูกค้าจะได้รับก็เป็นได้ 2. สร้างการบริการลูกค้าที่เป็นส่วนตัว ส่วนตัวในที่นี้หมายถึงเรารู้จักว่าลูกค้าคนนี้คือใคร? ต้องการอะไร? ซื้ออะไรกับเราไปบ้าง? ติดต่อเรามาแล้วกี่รอบ? ไม่ต้องให้ลูกค้าอธิบายซ้ำหลายรอบให้วุ่นวายยิ่งเป็นการเพิ่ม CX ที่ดีให้กับลูกค้ามากขึ้น 3. สร้างกลไกในการรับข้อเสนอแนะจากลูกค้าที่เป็นระบบ โดยที่ให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นในส่วนต่าง ๆ ว่าสิ่งที่เขาได้รับบริการจากเราไปดีหรือไม่ดีตรงไหน? มีส่วนไหนที่อยากให้ปรับปรุงบ้าง? เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำเอาความคิดเห็นของลูกค้ามาปรับปรุงในกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 4. สร้างชุมชน (Communities) สำหรับลูกค้าเพื่อให้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ ซึ่งบริษัทที่ทำแบบนี้ เช่น Apple, Google หรือ Zendesk เองก็มีชุมชนให้ลูกค้าที่ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างอิสระ แล้วยังช่วยสร้าง Brand Loyalty ในระยะยาวอีกด้วย 5. สร้างช่องทางในการบริการลูกค้าที่มากกว่าหนึ่งช่องทาง (Multichannel) เพราะลูกค้ามักจะเลือกช่องทางการติดต่อสื่อสารที่พวกเขาสะดวกหรือใช้เป็นประจำ ธุรกิจจึงต้องสร้างช่องทางต่าง ๆ เพื่อรองรับผู้บริโภคที่เข้ามาจากหลากหลายทาง 6. สร้างระบบบริการตนเอง (Self-service) เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบการบริการตัวเองและไม่ชอบรอ เทรนด์การบริการลูกค้า Self-service...
Continue readingGoogle Meet รองรับคนเข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 500 คน แล้ว!
Google Meet รองรับคนเข้าร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 500 คน! หนึ่งในแอปพลิเคชันชุดการทำงานจาก Google Workspace ที่เราภูมิใจนำเสนอนั่นคือ Google Meet แอปพลิเคชันจัดประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอ เสียง และข้อความ ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของคุณกับผู้ร่วมงาน ปัจจุบัน Google Meet สามารถรองรับการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมได้สูงสุดถึง 500 คน การเพิ่มขนาดการประชุมทำให้การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และคนอื่นๆง่ายมากยิ่งขึ้น แพ็กเกจที่พร้อมใช้งาน Google Workspace Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, และ Education Plus อัปเกรดแพ็กเกจหรือสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว เปลี่ยนการทำงานร่วมกันที่แสนยุ่งยากให้ง่ายขึ้นด้วย Google Workspace พื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์การปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นำองค์กรของคุณก้าวสู่อนาคตไปกับ ดีมีเตอร์ ไอซีที อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจเพิ่มเติม Google Meet เปลี่ยนพื้นหลังบนโทรศัพท์และแท็บเล็ตได้แล้ว ไปดูวิธีกันเลย! Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว! Google Meet VS Microsoft Team เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?...