มาถึงยุคของการตลาด 5.0 ยุคที่เปรียบเสมือนการนำการตลาด 3.0 ที่เน้นถึงความเข้าใจในมนุษย์และการตลาด 4.0 อย่าง Omnichannel มาผสานกัน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคือหัวใจสำคัญ และเป็นยุคที่ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า (Customer Experience) อย่างแท้จริง คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ผู้ที่ปรับตัวก่อนคือผู้ชนะ เราจะปรับการบริการลูกค้าให้เข้ากับการตลาดและวิถีการทำงานของโลกที่เปลี่ยนไปนี้อย่างไรได้บ้าง? ภายใต้แนวคิดนี้ Demeter ICT ขอเชิญชวนคุณเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ ‘Customer Service 5.0 in Action: เปิดประสบการณ์บริการลูกค้ายุค 5.0 ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวทันโลกการทำงานวิถีใหม่ด้วย Zendesk’ งานสัมมนาที่จะนำเสนอแนวคิดการบริการลูกค้ารูปแบบใหม่ให้เข้ากับกลยุทธ์การตลาด 5.0 ครบครันทั้ง 4 ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น Human: เข้าใจ Insight การใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการบริการลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะสร้างการทำงานที่ยืดหยุ่น ใช้ต้นทุนน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Data: เราจะเก็บข้อมูลและนำมาประยุกต์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของทั้งพนักงานและลูกค้าอย่างไรได้บ้าง? Analyze: การนำ Data มาวิเคราะห์เพื่อปรับแต่งและพัฒนา CX และ Platform: เจาะลึกฟีเจอร์ของ Zendesk ที่จะช่วยให้การทำงานและการบริการลูกค้าของคุณเป็นเรื่องง่าย และหากต้องการจะปรับปรุงการบริการลูกค้าควรจะเริ่มต้นอย่างไร? บรรยายพิเศษโดยดร.วรัญญู ซีอีโอของบริษัท Demeter ICT และผู้เชี่ยวชาญอีกสองท่านอย่างคุณชนัสและคุณชัยธวัชที่มีประสบการณ์ในการแนะนำการบริการและปรับแต่งระบบให้กับธุรกิจหลายขนาด ให้มั่นใจว่าคุณจะได้แนวคิดหรือไอเดียบางอย่างจากงานสัมมนานี้อย่างแน่นอน ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง ลงทะเบียนฟรี สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม เข้าใจแนวคิดของการบริการลูกค้ายุค 5.0 ตลอดจนขั้นตอนว่าทำอย่างไรถึงจะเป็นจริงได้ การพลิกกระบวนการทำงานที่ไซโลให้ทันสมัย รับกับเทรนด์การทำงานในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดในด้านการบริการและเพิ่มศักยภาพในการทำงาน แนวทางการยกระดับประสบการณ์ความพึงพอใจของลูกค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิมและเหนือคู่แข่ง ทำความรู้จัก Zendesk อันดับ 1 Digital Customer Service ที่มีผู้ใช้งานกว่า 170,000 รายทั่วโลกทั้ง Shopify, Tesco, Netflix แถลงไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ Zendesk และกรณีศึกษาการปรับใช้จากองค์กรชั้นนำ Agenda 14.00 – 14.05Opening & Welcoming Speech 14:05 – 14:30Customer...
Continue readingAgoda ใช้ Zendesk ยกระดับประสบการณ์ของทั้งพนักงานและพาร์ทเนอร์
เข้าสู่ช่วงซัมเมอร์ที่มีวันหยุดยาวเหมาะแก่การพักร้อน และเป็นช่วงที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม ทริปท่องเที่ยวต่าง ๆ จะคึกคักเป็นพิเศษ หากให้แนะนำหนึ่งในเครื่องมือยอดฮิตในการจองโรงแรม หาที่พักออนไลน์ล่ะก็ เชื่อว่าชื่อ ‘Agoda’ จะต้องผุดขึ้นมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคนแน่ ๆ การคาดเดานี้ฟังดูไม่เกินจริงไปเลย พิจารณาจากที่ Agoda เริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพเล็ก ๆ ก่อตั้งในปี 2541 โดยไมเคิล เคนนี่ ชาวอเมริกาคนหนึ่งที่มาอยู่เมืองไทย ความคิดแรกเริ่มของเขาคือก่อตั้งเว็บไซต์ต้นทางหนึ่งในการหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวรวมถึงรับจองโรงแรมทางออนไลน์ หลังจากนั้น ธุรกิจของไมเคิล เคนนี่ ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของโรงแรมสักแห่งเดียวก็ตาม ปัจจุบัน Agoda มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ แม้จะเผชิญกับพิษโควิด-19 จนมีข่าวเลิกจ้างพนักงานกว่า 1,500 คน ออกในปี 2020 ทว่าก็ยังเป็นบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 4,800 คนในสำนักงาน 32 แห่งทั่วโลก เป็นพาร์ทเนอร์กับโรงแรมและบ้านเช่ากว่า 2.7 ล้านหลัง และได้รับรีวิวผู้ใช้งานกว่า 35 ล้านรีวิว เป็นตัวเลขที่น่าทึ่งสำหรับธุรกิจที่เป็นเหมือนคนกลางระหว่างพาร์ทเนอร์กับลูกค้า การทำให้มั่นใจว่าทั้งโรงแรมหรือสายการบินจะแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่เพียงแค่นั้นพนักงานของ Agoda เองก็ต้องการการสนับสนุนในด้านระบบการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่ดีพอ Agoda ทำได้อย่างไร? เบื้องหลังการทำงานและการบริการลูกค้าของ Agoda เป็นอย่างไรกันนะ? ในบทความนี้ เราจะมาหาคำตอบกัน “เราเคยชินกับการพึ่งพวกเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ แต่มันไม่ได้ช่วยให้เราเห็นภาพของ Process ในการแก้ปัญหาหรือติดตามผลการทำงานภายในได้เลย” Andrea Sebestyen, senior project manager, Customer Experience Group at Agoda กล่าว “ที่เราต้องการคืออยากให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนเข้าถึงการโต้ตอบทั้งหมดง่าย ๆ ทั้งอีเมล ประวัติการโทร ไม่ว่าจะจากพาร์ทเนอร์หรือพนักงานด้วยกันก็ตาม นี่สำคัญมากเพราะจะได้แน่ใจว่าจะมีพนักงานที่คอยดูแลคำร้องเสมอหากว่าสมาชิกในทีมต้องการความช่วยเหลือ หรือหากไม่ว่างหรือลา เรายังต้องการข้อมูล Insight ด้วยว่าคำร้องแบบไหนที่เราได้รับบ่อย ต้องแก้ปัญหาอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไหร่ ทั้งหมดนี้ เราไม่สามารถทำได้เลยด้วยเครื่องมือที่ใช้อยู่” นี่เองเป็น Pain Points ของ Agoda และเป็นจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่การใช้...
Continue reading3 วิธีแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลากว่าเดิมถึง 2 เท่า
เคยเจอกันไหมปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ต้องส่งไฟล์กันไปมา ดาวน์โหลดลงเครื่อง ทำงานต่อ แล้วส่งกลับ บางทีก็ทำผิดบ้าง ทำให้ต้องทำใหม่… ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป เพียงแค่คุณมีเจ้าตัวซอฟต์แวร์ตัวนี้ ที่สามารถช่วยให้คุณทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน มิหนำซ้ำยังใช้งานได้ง่ายมาก ๆ อีกด้วย เจ้าซอฟต์แวร์ที่ว่านี้ก็คือ Google Workspace ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานบนโลกอินเทอร์เน็ตจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้งานทั่วโลก ซึ่ง Google Workspace นี้หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นชื่อกันอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเคยได้ยิน Google Docs, Google Sheets, Google Slides, และ Google Forms ซะมากกว่า ซึ่งทั้งสี่แอปนี้ จริง ๆ แล้วก็เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันของ Google Workspace นั่นเอง เอาละ! คุณคงจะรู้จักซอฟต์แวร์นี้คร่าว ๆ แล้ว มาดูกันว่า Google Workspace จะช่วยให้คุณลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้อย่างไรบ้าง 3 วิธีแก้ไขปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน 1. ทำงานร่วมกันในไฟล์เดียว แชร์ถึงกันได้แบบ Real Time คุณสามารถแชร์ไฟล์งานให้กับทีมของคุณให้เข้ามาทำงานร่วมกันหรือพร้อมกันได้เลย โดยเข้าไปที่แอปพลิเคชันนั้น ๆ กดปุ่มแชร์ที่ด้านบนขวาแล้วใส่ชื่อ @ ของสมาชิกในทีมของคุณ จากนั้นไฟล์ก็จะถูกแชร์ไปยังบัญชีต่าง ๆ แล้ว หรืออีกวิธีหนึ่งคือการคัดลอก Link จากปุ่มแชร์แล้วส่งให้ทีมได้เลย เพียงเท่านี้ทุกคนในทีมก็สามารถทำงานในไฟล์เดียวกันได้ ปรึกษากันตอนทำงานก็ได้ ไม่ต้องทำคนละไฟล์ ดาวน์โหลด บันทึกแล้วส่งให้กันเหมือนที่เคยทำ ลดขั้นตอนการทำงานไปเยอะ 2. มอบหมายงานผ่าน @ ในไฟล์ หลังจากที่คุณทราบวิธีการแชร์ไฟล์แล้ว ทีนี้หากคุณต้องการจะมอบหมายงานงานหนึ่งให้กับคนในทีม คุณสามารถพิมพ์ @ ชื่อบัญชีของคนนั้นได้เลย เมื่อทีมของคุณเข้ามา เขาก็จะทราบได้ทันทีเลยว่าคุณต้องการให้เขาทำอะไร ตรงไหนบ้าง หรือแม้กระทั่ง @ ประชุม อีเว้นท์หรือไฟล์งานต่าง ๆ คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับไฟล์ที่มีข้อมูลเยอะและมีลูกทีมหลายคน เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ทีมของคุณไม่ต้องพิมพ์สิ่งเดิมซ้ำ ๆ ไม่ต้องคอยถามย้ำ...
Continue readingAgoda
Agoda ใช้ Zendesk ยกระดับประสบการณ์ของทั้งพนักงานและพาร์ทเนอร์ ...
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที แจ้งยุติให้บริการ Google Apps Standard / G Suite Legacy
เรียน ผู้ดูแลระบบ และลูกค้าที่เคารพของบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที ทุกท่าน บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด แจ้งยุติการให้บริการระบบอีเมลแบบ Google Apps Standard / G Suite Legacy ตามนโยบายจากทาง Google ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 โดยทางลูกค้าสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. ไม่มีความประสงค์ใช้งานระบบอีเมลของ Google ต่อไปแล้ว สำหรับลูกค้าที่ชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือยังไม่หมดอายุสัญญาบริการ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลท่าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการคำนวนและคืนส่วนต่างให้กับท่านตามสัดส่วนของระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงหมดอายุสัญญา โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายจะแนะนำขั้นตอนการดำเนินการต่อไป ติดต่อทีมฝ่ายขาย Google Workspace จากนั้นท่านสามารถเลือกวิธีการจัดการข้อมูลของท่านได้ 2 วิธีการดังนี้ 1.1. การสำรองข้อมูลภายในองค์กรของท่าน (Backup) ด้วยการ Take out ข้อมูลของท่าน เพื่อเก็บข้อมูลสำรองไว้ใช้งานภายหลัง วิธีการดาวน์โหลดข้อมูล หมายเหตุ: หลังจากทำการ Zip ไฟล์ข้อมูลที่เก็บถาวรแล้ว มีระยะเวลาในการดาวน์โหลดประมาณ 7 วัน ก่อนที่ไฟล์จะหมดอายุลง (Google อนุญาตให้ดาวน์โหลดไฟล์ที่เก็บถาวรแต่ละรายการได้ 5 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้น โปรดส่งคำ Take out ใหม่อีกครั้ง) สำรองข้อมูลอีเมลด้วยการดาวน์โหลดแบบ POP3 บนอีเมลไคลเอนต์ (Email client) เปิดข้อความจาก Gmail ในโปรแกรมรับส่งอีเมลอื่น ๆ ที่รองรับ POP3 ได้ เช่น Microsoft Outlook หรือ Thunderbird เปิดใช้ POP ตั้งค่าให้อ่านข้อความ Gmail ในโปรแกรมรับส่งอีเมลอื่นที่รองรับ POP3 1.2. การโอนย้ายระบบอีเมล (Email Migration) ไปยังระบบใหม่ที่ลูกค้าต้องการใช้งานต่อหลังจากนี้ สามารถติดต่อสอบถามจากผู้ให้บริการระบบอีเมลรายใหม่เพื่อเพิ่มความสะดวก และลดระยะเวลาการดำเนินการของท่าน...
Continue readingSoft Skill VS Hard Skill คืออะไร? ทักษะที่ Customer Service ควรมี!
“หลาย ๆ องค์กรหันมาให้ความสนใจในเรื่องของ Soft Skills และ Hard Skills ในตัวพนักงานมากขึ้น เพื่อให้ได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพและพร้อมพัฒนาให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้” Soft Skills คืออะไร? คือ ทักษะทางอารมณ์ที่เป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงไปถึงการทำงานและการโต้ตอบกับผู้อื่น ซึ่ง Soft Skills ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การพูดคุยสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น “ทักษะ” หมายความว่าเป็นสิ่งที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ แต่สำหรับบางคน Soft Skills ก็สามารถมีได้เลยตั้งแต่เกิดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ Hard Skills คืออะไร? คือ ทักษะทางด้านความรู้ ด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาจากประสบการณ์ในชีวิตหรือจากการเรียนเพื่อนำเอามาใช้ในชีวิตของการทำงานอย่างแท้จริง เช่น แพทย์ก็ต้องมีทักษะในการรักษาโรค สถาปนิกก็ต้องมีทักษะในการออกแบบโครงสร้างที่อยู่อาศัย การพูดได้หลายภาษา จนไปถึงทักษะการใช้ Microsoft หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงาน เป็นต้น ทำไมทีม Customer Service ถึงควรมีทั้ง Soft Skills และ Hard Skills? จริง ๆ แล้วจะพูดว่าการทำงานในโลกปัจจุบันการที่คนเรามีทั้ง Soft Skills และ Hard Skills เป็นสิ่งที่ปกติมากไม่ใช่สำหรับทีม Customer Service เพียงเท่านั้นแต่เป็นทุกคน เพราะทุกองค์กรล้วนแต่ต้องการทีมที่พร้อมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ซึ่งทีม Customer Service ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ในการพัฒนาทักษะแต่ละด้านก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น Soft Skills สำหรับทีม Customer Service เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องมีอยู่แล้วสำหรับทีม Customer Service เพราะเป็นอาชีพที่ใช้อารมณ์และการสื่อสารเป็นหลัก การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี ความคิดสร้างสรรค์ในการพูดคุยกับลูกค้า รับฟังปัญหาลูกค้าอย่างใจเย็น พร้อมแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ หรือจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การวิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังพบเจอ Hard Skills สำหรับทีม Customer...
Continue readingData Loss Prevention (DLP) ใน Google Workspace ช่วยยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้สอดคล้องกับ PDPA ได้อย่างไร?
PDPA คืออะไร? PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุไปถึงตัวตนของคนคนนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยที่เจ้าของข้อมูลมีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายของมูลนั้น ๆ นั่นเอง *ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุใน PDPA จะไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล ดังนั้นองค์กรหรือบริษัทของคุณจึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือที่เรียกว่า Data Loss Prevention (DLP) ที่จะมีหน้าที่ช่วยรักษาความปลอดภัยและช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปนอกองค์กรได้ง่าย ซึ่งแต่ละองค์กรนั้นจะมีซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้รักษาความปลอดภัยนี้แตกต่างกันไป DLP ใน Google Workspace มีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับ PDPA อย่างไรบ้าง? Google Workspace ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA อยู่เสมอ เช่น ISO/IEC27001 ระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล ISO/IEC27017 ระบบมาตรฐานรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และ ISO/IEC27018 แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลของคนในองค์กร เป็นต้น นอกจากนี้ Google Workspace ยังได้รับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยอีกมากมายตามด้านล่างนี้ จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า Google Workspace นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา ซึ่งถ้า DLP สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติหรือน่าสงสัย ระบบจะส่งแจ้งเตือนไปยังแอดมินผู้ดูแลระบบหรือผู้มีอำนาจควบคุมให้ทราบว่า ณ เวลานั้นได้มีบุคคลหนึ่งกำลังพยายามที่จะแชร์ คัดลอกข้อความ หรือบันทึกรูปภาพหน้าจอข้อมูลที่เป็นความลับภายในองค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลออกไปเผยแพร่ต่อแหล่งอื่น เมื่อระบบตรวจพบ ระบบจะทำการยับยั้งและตรวจสอบโดยทันที หากต้องการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวให้เป็นความลับต้องทำอย่างไรและข้อมูลไหนถือเป็นข้อมูลความลับบ้าง? เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น Demeter ICT ได้สรุปตามรูปภาพด้านล่างนี้ หลังจากที่คุณได้ทำการสำรวจข้อมูลในองค์กรเรียบร้อยแล้วและต้องการตั้งค่าข้อมูลให้เป็นความลับ (ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครอง) คุณสามารถดำเนินการได้ที่ Admin Console แล้วกำหนดว่าข้อมูลไหนที่พนักงานไม่สามารถแชร์ คัดลอก และบันทึกรูปภาพส่งออกไปยังบุคคลภายนอกได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือคุณสามารถเข้ารหัสไฟล์ได้ซึ่งหมายความว่าไฟล์ที่คุณได้เข้ารหัสไว้นั้นจะไม่สามารถถูกแชร์ไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งในไฟล์นั้น ๆ คุณยังสามารถกำหนดได้อีกด้วยว่าไฟล์ที่ว่านี้เป็นความลับระดับไหน มากหรือมากที่สุด โดยคุณสามารถเข้าไปที่ Google Drive แล้วคลิกสร้างเอกสารใหม่จากนั้นเลือกเข้ารหัสไฟล์ หากเข้ารหัสเรียบร้อยแล้วคุณจะเห็นโลโก้รูปโล่ล็อกอยู่ตรงที่ปุ่มแชร์ด้านบนขวา ไม่ว่าจะเป็น Google Docs, Google...
Continue reading5 เหตุผลว่าคุณควรลงทุนด้านการบริการลูกค้าได้แล้ว ก่อนจะเสียลูกค้าคนสำคัญไปโดยไม่รู้ตัว
ประโยคที่ว่า ‘เรื่องของการบริการลูกค้า (Customer Service) นั้นสำคัญมาก’ เป็นอะไรที่เราต่างพบเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ทว่าคำว่า ‘สำคัญ’ ที่ว่านี้มีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหนกัน จะมากเท่าฝ่ายการผลิตหรือการตลาดหรือเปล่า มันคุ้มค่าจริง ๆ หรือที่จะใช้งบประมาณไปกับด้านการบริการลูกค้า? “ถ้าลงทุนตรงส่วนนี้เพิ่มอีกเนี่ย มันจะได้ผลตอบแทนที่คุ้นค่าจริง ๆ น่ะเหรอ?” “แค่มีพนักงานคอยตอบคำถามก็น่าจะพอแล้ว” “ไปทุ่มกับการหาลูกค้าใหม่แทนดีกว่า” หากว่าตามหลักการ ความคิดเหล่านี้ก็ไม่นับว่าเป็นเรื่องผิดแต่อย่างใด ในเมื่อการทำธุรกิจเริ่มต้นจากมีสินค้าหรือบริการ เมื่อต้องการจะขายของ สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือการทำการตลาด เมื่อมีแผนงานเรียบร้อยเรื่องของการผลิตสื่อที่จะใช้ในการสื่อสารหากลุ่มเป้าหมายก็ตามมาเป็นลำดับ และแค่ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเราก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าเพียงแค่นี้ก็ใช้งบประมาณไปมหาศาล แน่นอนว่าแนวคิดที่จะเน้นขายสินค้าหรือบริการไม่ผิด.. หากเป็นหลายปีก่อนสมัยที่อินเทอร์เน็ตยังไม่กว้างไกลเท่าและเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขนาดนี้ เพราะในปัจจุบันที่เราต่างมาถึงยุคการตลาด 5.0 ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าอย่างชัดเจน ในตลาดที่หันไปทางไหนล้วนเจอสินค้าที่มีคุณภาพลักษณะใกล้เคียงกัน มาตรฐานของลูกค้าในการที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ๆ หนึ่งก็สูงขึ้นตามไปด้วย และ 1 ในปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการพิจารณาที่ว่านั้น ก็คือการบริการลูกค้า และบทความนี้เองจะเป็นข้อมูลที่จะมายืนยันกับคุณว่า การบริการลูกค้านั้น สำคัญมากกว่าที่คุณคิด 1. เพราะการรักษาลูกค้าเก่า (Customer Retention) ใช้เงินน้อยกว่าหาลูกค้าใหม่มาก การมุ่งเน้นไปยังการหาลูกค้าใหม่เป็นพื้นฐานที่ควรทำอยู่แล้ว เพียงแต่การรักษาลูกค้าเก่าก็สำคัญไม่แพ้กัน อ้างอิงจากสถิติของ Kolsky แล้วเชื่อหรือไม่ว่า การหาลูกค้าใหม่ใช้เงินแพงกว่าการรักษาฐานลูกค้าเก่าถึง 6-7 เท่า ในทางตรงกันข้ามหากอัตราการรักษาลูกค้าเก่า (Customer Retention Rate) สูงขึ้น 5% จะเทียบเท่ากับกำไร 25% – 95% ที่เพิ่มขึ้นเลยทีเดียว โอกาสที่จะ Upsell หรือ Cross-sell ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกค้าอยากมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำ ก็คือเรื่องของบริการหลังการขายและการบริการลูกค้าที่ดีนั่นเอง อ้างอิงจาก CX Trends 2022 ของ Zendesk ที่ระบุว่าการบริการลูกค้าที่ดีช่วยเพิ่มการรักษาลูกค้าเก่าถึง 60% ดังนั้นการบริการลูกค้าจึงเหมือนการลงทุนระยะยาว ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริการลูกค้าให้ดีในวันนี้ และคุณจะได้พื้นที่ให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต 2. เพราะการบริการลูกค้าถือเป็นหน้าเป็นตาของแบรนด์ และช่วยสร้างความภักดีของลูกค้าได้ จากการสำรวจของ Microsoft พบว่ามีผู้บริโภคถึง 96% ที่กล่าวว่าการบริการลูกค้าคือปัจจัยสำคัญที่พวกเขาจะภักดีต่อแบรนด์ ๆ หนึ่ง (Customer Loyalty) สอดคล้องกับการสำรวจของ Dimensional...
Continue readingApps Script VS AppSheet ใช้แอปไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด!
ใช้ App ไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด? อยากเขียนแอปพลิเคชันจัง แต่ทำอย่างไรดีไม่มีความรู้เรื่องโค้ด หรือโปรแกรมใด ๆ เลย? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณได้รู้จัก App Script และ AppSheet แอปพลิเคชันสุดล้ำใน Google Workspace ที่แทบไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องภาษาเฉพาะในการเขียนโค้ด คนธรรมดาอย่างเราก็ทำได้ แต่จะใช้แอปไหนดีล่ะถึงจะสร้างได้ง่ายที่สุดและเหมาะกับคุณมากที่สุด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ 2 แอปพลิเคชันนี้กัน Apps Script คือ แพลตฟอร์มเขียนโค้ด Javascript แบบ Low Code Platform ที่ทำงานอยู่บน Cloud-based ซึ่งช่วยให้คุณสามารถสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะ Apps Script ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกันกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ จาก Google Workspace ได้อย่างง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขั้นเทพแต่อย่างใด AppSheet คือ แพลตฟอร์มที่คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดในการสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชัน ถือเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันสุดพิเศษจากทาง Google ที่สามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้อย่างไม่สะดุดเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าความรู้เป็นศูนย์ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเอง ง่ายมาก ๆ สรุปง่าย ๆ ก็คือเจ้าสองแอปนี้ถูกออกแบบให้มาช่วยในการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ง่ายที่สุด ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียนรู้ได้รวดเร็ว และสร้างระบบอัตโนมัติได้ด้วยตนเอง เพียงแค่มี Apps Script หรือ AppSheet ก็สามารถสร้างสรรค์ได้ตามใจต้องการ แล้ว Apps Script และ AppSheet ทำงานกันอย่างไร? จากที่ได้กล่าวไปด้านบนแล้วว่าทั้งสองแอปสามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้ ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive หรือ Forms ก็สามารถดึงไฟล์มาสร้างได้เลย โดยที่ตัว App Scripts คุณจะสามารถสร้างฟังก์ชัน Add on ที่อยู่ในแอปพลิเคชันต่าง...
Continue reading