Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Self-service กลยุทธ์การบริการลูกค้ายุคดิจิทัลที่ถูกมองข้าม

ปัจจุบันด้วยสถานการณ์หลาย ๆ อย่างเป็นตัวเร่งให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป “ความสะดวกสบายและความรวดเร็ว” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ลูกค้า ‘Want’ อีกต่อไปแล้ว… แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้า ‘Need’ ไม่ว่าจะด้วยการสั่งซื้อสินค้า, การสอบถามข้อมูล, การชำระเงินหรือการแจ้งปัญหาต่าง ๆ ทุกอย่างต้องง่ายและไม่ซับซ้อน ส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์กรต้องมีการปรับปรุงการบริการอยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าได้ คุณเคยไหม..ที่เจ้าหน้าที่ต้องตอบคำถามของลูกค้าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ต้องพิมพ์คำตอบวนไปวนมา คุณเคยไหม..ที่ลูกค้าทักมาสอบถามข้อมูลตอนกลางคืนแล้วไม่มีใครคอยตอบ แต่การจะจ้างพนักงานมาบริการตอนกลางคืนก็ไม่คุ้มค่า อาจทำให้ลูกค้ารอและเสียโอกาสในการขาย คุณเคยไหม..ที่เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการตอบคำถามของลูกค้า ต้องคอยไปสอบถามฝ่ายอื่น ๆ จนเสียเวลาและอาจเกิดความผิดพลาดได้ แล้วธุรกิจต้องทำอย่างไร? ถึงจะตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ “ไม่ชอบรอ” ได้ Self-service การบริการลูกค้าที่หลายคนมองข้าม Self-service หรือการบริการตนเอง คือ หนึ่งทางออกที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้าของคุณให้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยการสร้าง Help center เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยตนเอง รวมถึง Bot ที่สามารถดูแลลูกค้าได้ทุกเวลา ซึ่งผลสำรวจจาก Zendesk CX Trends 2022 พบว่า 69% ของลูกค้าต้องการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพราะมันสะดวกและรวดเร็วที่สุด Self-service กลยุทธ์ที่ Win-Win ทั้งลูกค้าและธุรกิจ ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกแก้ไขได้โดยการนำระบบ Self-service มาปรับใช้ในการบริการลูกค้าของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่เพียงแค่แก้ปัญหาของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ของคุณและยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถมอบการบริการลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งได้อีกด้วย ยกระดับการบริการแบบ Self-service ด้วย Digital Platform อย่าง Zendesk Zendesk ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้าน Digital Customer Service อันดับ 1 จาก Gartner ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริการแบบ Self-service จึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยวางรากฐานให้กับธุรกิจ สามารถนำระบบ Zendesk ไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย โดยที่จะมีทั้งการสร้าง Knowledge Base, Help center, การสร้าง Communities ไปจนถึงการออกแบบ Answer bot ที่จะคอยดูแลลูกค้าของคุณได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ระบบ Zendesk ยังสามารถแสดงข้อมูลของลูกค้าที่ใช้งานส่วนของ Self-service...

Continue reading

7 อันดับข้อดีของ Zendesk ที่ผู้ใช้งานจริงกด ‘เลือก’ มากที่สุด

หากจะแนะนำ Zendesk โดยสรุปคงจะได้มากกว่าหนึ่งประโยค อย่างเช่นว่า Zendesk เป็นซอฟต์แวร์บริการลูกค้า ประเภท Help desk ทำงานบนคลาวด์ เป็นอันดับ 1 Digital Customer Service จากการจัดอันดับของ Gartner มีบริษัทที่ใช้ Zendesk มากกว่า 170,000 รายทั่วโลก รวมถึงบริษัทที่เราคุ้นชื่อกันดีอย่าง Netflix, Bitkub, Agoda ผู้ใช้กว่า 2,700 คนลงคะแนน Zendesk ในเว็บไซต์แนะนำซอฟต์แวร์อย่าง Software Advice ไว้ที่ 4.36 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยทุกหัวข้อการประเมินทั้ง 4 หัวข้อหลัก อันได้แก่ ความสะดวกสบายในการใช้ การบริการลูกค้า ความคุ้มค่าของเงินและฟังก์ชันการใช้งาน ล้วนได้คะแนนมากกว่า 4/5 คะแนนทั้งสิ้น ถึงอย่างนั้นท่ามกลางตลาดซอฟตแวร์ SaaS ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด อะไรที่เป็นข้อดี เป็นจุดแข็งที่ผู้ใช้งานเหล่านี้มองเห็นถึงเลือกใช้ Zendesk กันนะ? ในบทความนี้ Demeter ICT จึงขอพาคุณไปสำรวจข้อดีของ Zendesk ที่ได้รับเลือกมากที่สุด 7 อันดับจากเว็บ StackShare เว็บบอร์ดที่รวมนักพัฒนาและผู้ใช้งาน SaaS เอาไว้มากมาย อันดับ 1 รวมศูนย์การบริการทุกอย่างในที่เดียว เป็นฟีเจอร์ยอดฮิตเลยก็ว่าได้สำหรับการรวมทุกช่องทางสื่อสารของลูกค้าไว้ในหน้าจอเดียว ให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดระเบียบและตอบกลับการสนทนาต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ซึ่ง Zendesk ก็สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งช่องทางพื้นฐานอย่างอีเมล โทรศัพท์ ข้อความ ตลอดจนช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Line, Twitter, Instagram นอกจากนี้ Zendesk ก็ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ สำหรับการบริการลูกค้าครบ ไม่ว่าจะเป็นสร้าง Live Chat บนหน้าเว็บ สร้างระบบการโทร สร้าง Help Center คลังความรู้ทั้งของพนักงานและลูกค้า...

Continue reading
PDPA is

PDPA คืออะไร? กฎหมายบังคับใช้ที่ทุกองค์กร “ต้อง” ให้ความสำคัญ

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเจ้าของข้อมูล (บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล) มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ โดยที่องค์กรจะต้องยินยอมปฏิบัติตามสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลตามที่เจ้าของข้อมูลได้ระบุไว้เท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ชื่อ-นามสกุล เชื้อชาติ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน/ เลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร/ ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลรูปใบหน้า ความคิดเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลสุขภาพ และอื่น ๆ สามารถดูได้ที่นี่ ตัวอย่างข่าวในประเทศไทยที่มีปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหลปี 2564 ทำไมทุกองค์กร”ต้อง”ให้ความสำคัญ? เมื่อ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565 นี้ คุณได้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้แล้วหรือยัง? แน่นอนว่าหากเป็นข้อบังคับใช้แล้วเนี่ย องค์กรของคุณจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นแน่ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่พื้นฐานที่องค์กรควรมีอีกต่อไป แต่เป็นพื้นฐานที่องค์กร “ต้องมี” ต่างหาก เพราะ ณ ปัจจุบัน หลาย ๆ องค์กรหันมาดำเนินกิจการแบบออนไลน์และทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ข้อมูลถูกเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นเหตุให้หลาย ๆ หน่วยงานต่างจับตาอยู่ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งหน่วยงานที่ว่านี้คือบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง ที่ต้องการเข้ามาปลอมแปลงดึงข้อมูลความลับภายในบริษัทไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกระทำการใด ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ยินยอมในการกระทำดังกล่าว ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปด้านบนจะเห็นได้ว่าองค์กรทุกองค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย (Data Loss Prevention) ภายในบริษัทที่จะสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลนี้ได้ ซึ่ง DLP นี้จะคอยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คอยดูความเคลื่อนไหว สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ หากเกิดเหตุอันใดน่าสงสัย ระบบก็จะทำการคุ้มกันข้อมูลโดยทันที โดยที่ท่านสามารถซื้อระบบรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะก็ได้ หรือซื้อซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันในการเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยก็ได้ ในทางกลับกันหากองค์กรของท่านไม่มีความเข้าใจในกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีการเก็บข้อมูลพนักงานเป็นความลับ เผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปโดยที่พนักงานเจ้าของข้อมูลนั้นไม่ได้ยินยอม ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับ PDPA ท่านจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย...

Continue reading
PDPA Webinar

ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace

“ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” นับถอยหลังอีกไม่ถึงหนึ่งเดือน… ก่อน PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว โค้งสุดท้ายของการเตรียมตัว แล้วธุรกิจของคุณพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงนี้? เมื่อข้อมูลที่มีอยู่ในมือกลายเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับบริษัทในยุคนี้ ซึ่งในบางครั้งการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลมากเกินไปและใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อเจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎ PDPA และถือเป็นความผิดที่อาจได้รับโทษได้ทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการปรับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องรู้ให้เท่าทันเหตุการณ์และทำความเข้าใจก่อนมีผลบังคับใช้ Personal Data Protection Act (PDPA) หรือในชื่อไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อดูแลข้อมูลของผู้คนภายในประเทศและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลไม่ให้องค์กรหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนำข้อมูลของคุณไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม  พ.ร.บ.นี้ ใกล้ตัวขนาดไหน? สำหรับประชาชนทั่วไปก็อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ เช่น ได้รับโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยไม่รู้ว่ามิจฉาชีพเหล่านี้ได้เบอร์หรือข้อมูลเรามาจากไหน บริษัทประกันโทรหาเพื่อเสนอขาย หรือมีการโฆษณาผ่านอีเมลจากที่ไหนไม่รู้โดยที่เราไม่ได้ยินยอมมาก่อน ซึ่งการเข้ามาของ PDPA จะช่วยลดเหตุการณ์เหล่านี้ให้น้อยลง เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่นำข้อมูลไปใช้โดยพละการจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี สำหรับในแง่มุมของธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ และการใช้ข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ จำต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่าธุรกิจของเรามีการละเมิด PDPA อยู่หรือไม่? เพื่อไม่ให้ทำผิดข้อกฎหมายไม่ว่าจะเป็นความประมาทโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตามที ดังนั้นการให้ความสำคัญและการเตรียมพร้อมรับมือ PDPA จึงเป็นสิ่งที่องค์กร “ต้อง” ให้ความสนใจนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ PDPA และได้ตระหนักถึงมาตรการการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลของภาคธุรกิจและองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ฟรี ในหัวข้อ “ยกระดับความปลอดภัยของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับ PDPA ด้วย Google Workspace” เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจใน PDPA  แก่ผู้ประกอบการ พร้อมเสนอแนะแนวทางในการยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Google Workspace จากบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง Google เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถรับมือกับ PDPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพไปพร้อมกับเรา ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม ได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมาย PDPA ก่อนปรับใช้จริงในเดือนมิถุนายน...

Continue reading

10 Soft Skills ในการบริการลูกค้าสำหรับทีม Customer Service มีอะไรบ้าง?

ในโลกของการบริการลูกค้า (Customer Service) Soft Skills หรือทักษะความสามารถเชิงสมรรถนะที่หากพนักงานมีจะเป็นข้อได้เปรียบในการทำงานก็คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะการโต้ตอบกับลูกค้าไม่ว่าจะผ่านทางโทรศัพท์ อีเมลหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ สิ่งสำคัญในการบริการลูกค้าคือพนักงานต้องสามารถเชื่อมโยงบทสนทนาให้ลูกค้ารู้สึกว่ากำลังโต้ตอบกับคนที่ห่วงใยและใส่ใจปัญหาของพวกเขาอย่างแท้จริง แต่ถ้าพูดแค่ว่าทีม Customer Service ต้องมี Soft Skills มันอาจจะดูกว้างไปสักหน่อย วันนี้ Demeter ICT จึงมาสรุปและแบ่งทักษะที่ทีม Customer Service ต้องมี ออกมาเป็นข้อ ๆ ทั้งหมด 10 ข้อให้ทุกท่านได้เห็นภาพกันมากขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่า Soft Skills คืออะไร? สามารถดูรายละเอียดจากบทความนี้ได้เลย คลิก > https://bit.ly/37XKJwn 10 Soft Skills ที่ทีม Customer Service ต้องมี มีอะไรบ้าง? 1. การสื่อสารที่ชัดเจน (Clear communication) การสื่อสารที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการบริการลูกค้า คุณจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรและคุณสามารถทำอะไรให้กับลูกค้าได้บ้าง Tips: การพูดคุย – การพูดให้ชัดเจน พูดให้เสียงดังพอ และใช้น้ำเสียงที่สดใสจะช่วยให้คุณสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างชัดเจนและเชิงบวก          ส่งข้อความ – หากคุณเขียนข้อความหรือส่งอีเมลถึงลูกค้า ก็ควรใช้ไวยากรณ์และการสะกดคำที่เหมาะสม แล้วเลือกคำและวลีที่สื่อถึงทัศนคติที่มองโลกในแง่ดีเช่นเดียวกัน 2. ทักษะการฟัง (Listening skill) ทักษะการฟังก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าการสื่อสาร การรับฟังลูกค้าอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร? และคุณจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร? แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังตั้งใจฟังผ่านภาษากายและการตอบสนอง สิ่งสำคัญของการบริการลูกค้าคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าพนักงานได้ยินปัญหาของลูกค้าอย่างแท้จริง Tips: ถ้าหากคุณกำลังพูดคุยกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโทรศัพท์ อย่าขัดจังหวะเวลาที่ลูกค้ากำลังพูดและตอบคำถามทั้งหมดอย่างระมัดระวัง 3. การควบคุมตนเอง (Self-control) ผู้ที่ทำงานด้านบริการลูกค้าต้องสามารถจัดการกับลูกค้าทุกคนได้อย่างใจเย็น แม้กระทั่งคนที่คิดลบที่สุด คุณต้องพยายามอยู่ในความสงบและเยือกเย็นแม้ว่าลูกค้าของคุณจะไม่อยู่ก็ตาม ความอดทนและการควบคุมตนเองจะป้องกันไม่ให้คุณอารมณ์เสียและพูดอะไรที่ไม่เหมาะสมออกไปสู่ลูกค้า Tips: เมื่อลูกค้าอารมณ์เสีย เมื่อลูกค้าโกรธ การพยายามลดบทสนทนาและสงบสติอารมณ์นั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด 4. ทัศนคติเชิงบวก (Positive attitude) ทัศนคติเชิงบวกมีส่วนช่วยในการบริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี แม้ว่าคุณอาจจะคิดว่าการมองโลกในแง่ดีหรืออารมณ์ดีในตอนที่ลูกค้ารู้สึกไม่สบายใจนั้น จะทำให้ลูกค้าบางคนรู้สึกว่าเราไม่จริงจังในการช่วยเหลือลูกค้า แต่การมองโลกในแง่ดีสามารถช่วยให้ลูกค้าคิดบวกมากขึ้นและอารมณ์เย็นลงได้ และเราก็ต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราก็เต็มที่ในการช่วยเหลือลูกค้าอย่างจริงจังเช่นกัน...

Continue reading

5 สูตรคำนวณ Customer Retention อยากวัดผลลูกค้าให้ดีต้องมี

ทราบหรือไม่? จากรายงานของ Kolsky ได้ระบุเอาไว้ว่า การหาลูกค้าใหม่ใช้เงินแพงกว่าการรักษาฐานลูกค้าเก่าถึง 6-7 เท่า ในความหมายเดียวกันก็คือ ยิ่งมีอัตราการรักษาลูกค้าเก่าสูง (Customer Retention Rate) ก็เหมือนการลงทุนที่ได้กำไรสูงขึ้นตาม เพราะโอกาสที่จะ Upsell และ Cross-sell ล้วนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทว่าแล้วเราจะแน่ใจได้ยังไงกันนะว่า Customer Retention ที่ทำอยู่นั้นมันดีจริงหรือเปล่า ลูกค้าพอใจจริงใช่ไหม มีจุดไหนบ้างที่ควรแก้ไข สำคัญไม่แพ้การวางแผนรักษาลูกค้าเก่าให้ดีเลยก็คือเรื่องของการวัดผล ดังนั้นในบทความนี้ มาดูตัวอย่าง KPI ในการบริการลูกค้าพร้อมวิธีคำนวณกัน 1. Customer Churn Rate: อัตราที่ลูกค้าเก่าจะหยุดซื้อสินค้าหรือยกเลิกบริการ สูตรคำนวณ Customer Churn Rate = (จำนวนลูกค้าที่เสียไป ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) × 100 ตัวอย่างเช่น ในเดือนหนึ่งเดิมบริษัทมีลูกค้าเก่าอยู่ 100 คน พอถึงสิ้นเดือนพบว่าลูกค้าหายไป 10 คน ก็จะสามารถคำนวณได้ว่า (10 ÷ 100) × 100 Customer Churn Rate เท่ากับ 10% นั่นเอง หากบริษัทมี Customer Churn Rate สูงเกินไปจะส่งผลต่อการเติบโตได้ และเป็นสัญญาณเตือนว่าบริษัทอาจกำลังมีปัญหาหรือถึงเวลาต้องปรับกลยุทธ์การรักษาลูกค้าเก่าได้แล้ว 2. Customer Retention Rate (CRR): อัตราการรักษาลูกค้า สูตรคำนวณ Customer Retention Rate = (จำนวนลูกค้าทั้งหมด – จำนวนลูกค้าใหม่ที่หาได้) ÷ จำนวนลูกค้าเก่าตั้งแต่แรกเริ่ม × 100 เช่น เริ่มสัปดาห์มีลูกค้าทั้งหมด 100 คน ปลายสัปดาห์ก็มีลูกค้า 100 คนเช่นกัน ระหว่างสัปดาห์หาลูกค้าใหม่ได้ 10 คน อัตราการรักษาลูกค้าของสัปดาห์นี้จึงเป็น [(100-10)...

Continue reading
การใช้งาน Google Docs

สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @

Google Docs หนึ่งในแอปพลิเคชันในการสร้างงานเอกสารยอดนิยมที่ใช้งานง่าย มีครบทุกฟังก์ชัน ซึ่ง Demeter ICT เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยิน ได้ลอง หรือกำลังใช้งานเจ้าตัว Google Docs นี้อยู่เป็นแน่ จากเดิมที่ใช้งานง่ายอยู่แล้ว ตอนนี้ Google Docs ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกเท่าตัว ไม่ต้องกดเข้าแท็บเมนูเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันใด ๆ แต่เพียงแค่พิมพ์ @ คุณก็สามารถคลิกเลือกสิ่งที่คุณต้องการได้เลย ง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างง่ายดาย มิหนำซ้ำยังเพิ่มความเป็นมืออาชีพได้อีกด้วย เนื่องจากเจ้าฟังก์ชัน @ ตัวนี้สามารถลิงก์ไปยังแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google workspace ทำให้งานที่คุณได้สร้างสรรค์ไว้นั้นถูกเชื่อมต่อถึงกันและมีรายละเอียดต่าง ๆ ปรากฏที่หน้า Google Docs ได้โดยตรง ทั้งหมดนี้เพียงแค่พิมพ์ @ ตัวเดียวจริง ๆ   ไม่รอช้า มาดูกันเลยว่าสูตรลับ @ ใน Google Docs นี้จะมีฟังก์ชันอะไรซ่อนอยู่บ้าง สูตรลับ Google Docs! ไม่ต้องเข้า Menu Bar ก็เข้าถึงฟังก์ชันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ @ @ ชื่อพนักงานเพื่อมอบหมายงาน หากคุณต้องการมอบหมายงานให้พนักงาน หรือต้องการกล่าวถึงพนักงานคนใดคนหนึ่งในหัวข้องานหรือเนื้อหานั้น ๆ คุณสามารถพิมพ์ @ แล้ว Google จะโชว์บัญชีของคนที่คุณเคยสนทนาด้วยหรือคนที่คุณเคย Interact อะไรบางอย่างร่วมกันเพื่อให้รวดเร็วต่อการค้นหา แต่ถ้าหากคุณหาคนที่คุณต้องการไม่เจอ คุณสามารถพิมพ์ชื่ออีเมลของบุคคลนั้นลงไปได้เช่นเดียวกัน @ ชื่อไฟล์เพื่อให้งานลิงก์ถึงกัน ถ้าคุณต้องการที่จะแนบไฟล์อื่นลงใน Google Docs เช่น ไฟล์จาก Google Sheets, Google Slides, Google Forms หรือแม้กระทั่งรูปหรือไฟล์อื่น ๆ ที่เก็บอยู่ใน Google Drive คุณก็สามารถ @ ลงมาได้เลย...

Continue reading

5 ไม้เด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ บริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้อยู่หมัดด้วย Google Sheets

5 ไม้เด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ บริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้อยู่หมัดด้วย Google Sheets ไม่ว่าจะธุรกิจไหนๆ ต่างก็ต้องรับมือกับข้อมูลที่มีอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอก การจัดเก็บเอกสารทุกอย่างด้วยกระดาษอาจทำให้ข้อมูลบางส่วนตกหล่นหรือสูญหายระหว่างการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็น บิลใบเสร็จ, ข้อตกลง, หรือสัญญาการซื้อขายต่างๆ เป็นต้น จะดีกว่าไหม หากคุณลองปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบเดิมให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย Google Workspace สู่ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลและสามารถค้นหา ทำงาน นำเสนอได้ทันทีที่คุณต้องการเพียงแค่คลิกไม่กี่ครั้ง Google Sheets หรือแอปพลิเคชันเอกสารรูปแบบสเปรดชีตที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ช่วยให้คุณสามารถจัดการข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า และสร้างแผนโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภูมิและตัวกรองให้ง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์ AI อัจฉริยะในการทำข้อมูลเชิงลึก คุณสามารถทำงานร่วมกับทุกคนได้ทุกเมื่อและในทุกที่ที่ต้องการ 1. เทมเพลตเอกสารช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น การสร้างไฟล์ประเภทเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจทำให้เสียเวลาอย่างไร้ประโยชน์ คุณสามารถประหยัดเวลาเพิ่มขึ้นได้ด้วยเทมเพลตต่างๆ ทั้งใน Google Docs, Sheets, Slides, Forms, หรือ Sites โดยคุณสามารถเลือกเทมเพลตที่มีอยู่หรือสร้างเองก็ได้ วิธีการใช้งาน • เลือกหนึ่งเทมเพลตจากรายการเทมเพลตแนะนำที่ด้านบนของหน้าแรก หรือคลิกที่แกลเลอรีเทมเพลตเพื่อดูเทมเพลตเพิ่มเติม หมายเหตุ: หากไม่พบแกลเลอรีเทมเพลต ให้ดูที่หัวข้อแสดงหรือซ่อนแกลเลอรีเทมเพลต • หากมีไฟล์ที่เปิดอยู่ในเครื่องมือแก้ไขเอกสาร ให้คลิกที่ไฟล์ (File)  > ใหม่ (New) > เลือก ‘จากเทมเพลต (From Template)’ > เลือกเทมเพลตต้องการ 2. กรองข้อมูลสเปรดชีตโดยไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิม หากต้องทำงานในสเปรดชีตร่วมกันกับผู้อื่น แต่ต้องการดูข้อมูลแค่บางส่วนโดยไม่ให้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่หายไป คุณสามารถสร้างมุมมองตัวกรองที่เปลี่ยนแค่มุมมองของข้อมูลเท่านั้นได้โดยที่ไม่กระทบกับข้อมูลที่มีอยู่ วิธีการใช้งาน • เปิดสเปรดชีตที่ต้องการสร้างมุมมองตัวกรอง • คลิกเซลล์ที่มีข้อมูล • เลือกข้อมูล (Data) > มุมมองตัวกรอง (Filter views) > สร้างมุมมองตัวกรองใหม่ (Create new filter view) • คลิกรายการแบบเลื่อนลงในส่วนหัวของคอลัมน์แล้วเลือกข้อมูลที่ต้องการกรอง ระบบจะบันทึกมุมมองตัวกรองเมื่อทำการเปลี่ยนแปลง • หลังจากเลือกข้อมูลที่ต้องการกรองแล้ว ให้คลิกตกลง หมายเหตุ: ป้อนชื่อสำหรับมุมมองตัวกรองในช่องชื่อ หากไม่ได้ป้อนชื่อ ระบบจะบันทึกมุมมองตัวกรองเป็น หมายเลข...

Continue reading
How call center get our number

เผย 7 ช่องทางสำรวจแก๊งมิจฉาชีพอย่าง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? พร้อมแนวทางป้องกัน

คุณเป็นหนึ่งคนที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจใช่หรือไม่? แล้วคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาเบอร์โทรของคุณมาจากที่ไหน? นี่เป็นคำถามที่หลายคนก็ต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเมื่อแก๊งต้มตุ๋นที่มาในรูปแบบของการโทรขอข้อมูลกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2565 บ้างก็อ้างว่าคุณมีพัสดุที่ยังไม่ได้รับ บ้างก็อ้างว่าคุณมียอดบัตรเครดิตที่ยังไม่ชำระ หรือแม้กระทั่งว่ามีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ได้สร้างความรำคาญใจ สร้างปัญหาและสร้างมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ยอดผู้เสียหายสูงถึง 270% เมื่อเทียบกับปี 2564 แต่ทว่าการหลอกลวงแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์ที่แก๊งมิจฉาชีพนี้ต้องการ แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนตัวอีกมากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และเลขบัตรเครดิต ที่ซึ่งการโทรไปหลอกนั้นจะสามารถเป็นประตูเปิดทางให้แก๊งมิจฉาชีพล้วงข้อมูลเหล่านี้ไปได้  ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจึงควรกลับไปแก้ไขที่ต้นตอ ลองสำรวจว่าคุณเคยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไหนบ้าง แล้วแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ข้อมูลของคุณมาอย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปกับ Demeter ICT 7 ข้อสำรวจแก๊ง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? 1. เอามาจากเว็บไซต์สมัครงาน เว็บสมัครงานถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลาย ๆ คนได้ลงข้อมูลส่วนตัวไว้ในโปรไฟล์ก็ดี บน Resume ก็ดี โดยที่จะใช้ข้อมูลนั้นในการสมัครงานและหวังว่านั่นจะเป็นช่องทางที่คุณจะได้รับการติดต่อกลับนั่นเอง แต่ว่าคุณเองก็คงลืมเอะใจไปว่าชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล และที่อยู่ของคุณก็ต่างเป็นที่หมายปองของแก๊งมิจฉาชีพอย่างเช่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือแม้กระทั่งแก๊งโทรขายตรงหรือโทรขายฝันก็รวมอยู่ในเว็บไซต์รับสมัครงานกันไม่น้อยเลยทีเดียว  2. เอามาจาก Social Media ส่วนตัว Social Media ช่องทางยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่งที่คุณอาจจะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวว่ามิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลจากช่องทางนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ลองกลับไปเช็คที่โปรไฟล์ของคุณดูว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลไว้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีข้อมูล 2 อย่างนี้ แก๊งมิจฉาชีพก็สามารถเอามาทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น การโทรหลอกเอาข้อมูลหรือที่หลายคนเรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการล้วงข้อมูลทางอีเมลแบบ Phishing หากใครที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่บนโปรโฟล์ ก็แนะนำว่าอย่าใส่จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok ก็ควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ 3. เอามาจากการคลิกลิงก์ คุณเคยเจอบ้างไหมลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาในข้อความโดยมีคำพูดที่เย้ายวนใจราวกับว่าเขาอ่านความคิดคุณออก ซึ่งยากที่จะหักห้ามใจไม่กดเข้าไปเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณคลิกเข้าไปแค่ครั้งเดียวแก๊งต้มตุ๋นก็สามารถล้วงความลับของคุณได้แล้วง่าย ๆ หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการตอบคอมเมนต์โดยการแนบลิงก์ลงบน Social Media ซึ่งหากคุณเผลอคลิกเข้าไป ลิงก์นั้นสามารถนำคุณไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทันที  4. เอามาจากการกรอกแบบฟอร์ม หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมออนไลน์เป็นพิเศษ คุณคือหนึ่งในเป้าหมายของแก๊งนี้ ซึ่งการหลอกลวงเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่อย่างไรก็ตามป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง โดยการทำงานของแก๊งนี้จะมาในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์โปรโมชันต่าง ๆ...

Continue reading