Soft Skill VS Hard Skill คืออะไร? ทักษะที่ Customer Service ควรมี!

“หลาย ๆ องค์กรหันมาให้ความสนใจในเรื่องของ Soft Skills และ Hard Skills ในตัวพนักงานมากขึ้น เพื่อให้ได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพและพร้อมพัฒนาให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้” Soft Skills คืออะไร? คือ ทักษะทางอารมณ์ที่เป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงไปถึงการทำงานและการโต้ตอบกับผู้อื่น ซึ่ง Soft Skills ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การพูดคุยสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น “ทักษะ” หมายความว่าเป็นสิ่งที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ แต่สำหรับบางคน Soft Skills ก็สามารถมีได้เลยตั้งแต่เกิดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ Hard Skills คืออะไร? คือ ทักษะทางด้านความรู้ ด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาจากประสบการณ์ในชีวิตหรือจากการเรียนเพื่อนำเอามาใช้ในชีวิตของการทำงานอย่างแท้จริง เช่น แพทย์ก็ต้องมีทักษะในการรักษาโรค สถาปนิกก็ต้องมีทักษะในการออกแบบโครงสร้างที่อยู่อาศัย การพูดได้หลายภาษา จนไปถึงทักษะการใช้ Microsoft หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงาน เป็นต้น ทำไมทีม Customer Service ถึงควรมีทั้ง Soft Skills และ Hard Skills? จริง ๆ แล้วจะพูดว่าการทำงานในโลกปัจจุบันการที่คนเรามีทั้ง Soft Skills และ Hard Skills เป็นสิ่งที่ปกติมากไม่ใช่สำหรับทีม Customer Service เพียงเท่านั้นแต่เป็นทุกคน เพราะทุกองค์กรล้วนแต่ต้องการทีมที่พร้อมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ซึ่งทีม Customer Service ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ในการพัฒนาทักษะแต่ละด้านก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น Soft Skills สำหรับทีม Customer Service เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องมีอยู่แล้วสำหรับทีม Customer Service เพราะเป็นอาชีพที่ใช้อารมณ์และการสื่อสารเป็นหลัก  การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี ความคิดสร้างสรรค์ในการพูดคุยกับลูกค้า รับฟังปัญหาลูกค้าอย่างใจเย็น พร้อมแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ หรือจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การวิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังพบเจอ Hard Skills สำหรับทีม Customer...

Continue reading
How Data Loss Protection in Google Workspace comply with PDPA

Data Loss Prevention (DLP) ใน Google Workspace ช่วยยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้สอดคล้องกับ PDPA ได้อย่างไร?

PDPA คืออะไร? PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุไปถึงตัวตนของคนคนนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยที่เจ้าของข้อมูลมีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายของมูลนั้น ๆ นั่นเอง *ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุใน PDPA จะไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล ดังนั้นองค์กรหรือบริษัทของคุณจึงจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือที่เรียกว่า Data Loss Prevention (DLP) ที่จะมีหน้าที่ช่วยรักษาความปลอดภัยและช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปนอกองค์กรได้ง่าย ซึ่งแต่ละองค์กรนั้นจะมีซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้รักษาความปลอดภัยนี้แตกต่างกันไป DLP ใน Google Workspace มีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับ PDPA อย่างไรบ้าง? Google Workspace ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA อยู่เสมอ เช่น ISO/IEC27001 ระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล ISO/IEC27017 ระบบมาตรฐานรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และ ISO/IEC27018 แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลของคนในองค์กร เป็นต้น นอกจากนี้ Google Workspace ยังได้รับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยอีกมากมายตามด้านล่างนี้ จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า Google Workspace นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา ซึ่งถ้า DLP สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติหรือน่าสงสัย ระบบจะส่งแจ้งเตือนไปยังแอดมินผู้ดูแลระบบหรือผู้มีอำนาจควบคุมให้ทราบว่า ณ เวลานั้นได้มีบุคคลหนึ่งกำลังพยายามที่จะแชร์ คัดลอกข้อความ หรือบันทึกรูปภาพหน้าจอข้อมูลที่เป็นความลับภายในองค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลออกไปเผยแพร่ต่อแหล่งอื่น เมื่อระบบตรวจพบ ระบบจะทำการยับยั้งและตรวจสอบโดยทันที หากต้องการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวให้เป็นความลับต้องทำอย่างไรและข้อมูลไหนถือเป็นข้อมูลความลับบ้าง? เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น Demeter ICT ได้สรุปตามรูปภาพด้านล่างนี้ หลังจากที่คุณได้ทำการสำรวจข้อมูลในองค์กรเรียบร้อยแล้วและต้องการตั้งค่าข้อมูลให้เป็นความลับ (ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครอง) คุณสามารถดำเนินการได้ที่ Admin Console แล้วกำหนดว่าข้อมูลไหนที่พนักงานไม่สามารถแชร์ คัดลอก และบันทึกรูปภาพส่งออกไปยังบุคคลภายนอกได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือคุณสามารถเข้ารหัสไฟล์ได้ซึ่งหมายความว่าไฟล์ที่คุณได้เข้ารหัสไว้นั้นจะไม่สามารถถูกแชร์ไปยังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งในไฟล์นั้น ๆ คุณยังสามารถกำหนดได้อีกด้วยว่าไฟล์ที่ว่านี้เป็นความลับระดับไหน มากหรือมากที่สุด โดยคุณสามารถเข้าไปที่ Google Drive แล้วคลิกสร้างเอกสารใหม่จากนั้นเลือกเข้ารหัสไฟล์ หากเข้ารหัสเรียบร้อยแล้วคุณจะเห็นโลโก้รูปโล่ล็อกอยู่ตรงที่ปุ่มแชร์ด้านบนขวา ไม่ว่าจะเป็น Google Docs, Google...

Continue reading

5 เหตุผลว่าคุณควรลงทุนด้านการบริการลูกค้าได้แล้ว ก่อนจะเสียลูกค้าคนสำคัญไปโดยไม่รู้ตัว

ประโยคที่ว่า ‘เรื่องของการบริการลูกค้า (Customer Service) นั้นสำคัญมาก’ เป็นอะไรที่เราต่างพบเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ทว่าคำว่า ‘สำคัญ’ ที่ว่านี้มีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหนกัน จะมากเท่าฝ่ายการผลิตหรือการตลาดหรือเปล่า มันคุ้มค่าจริง ๆ หรือที่จะใช้งบประมาณไปกับด้านการบริการลูกค้า? “ถ้าลงทุนตรงส่วนนี้เพิ่มอีกเนี่ย มันจะได้ผลตอบแทนที่คุ้นค่าจริง ๆ น่ะเหรอ?” “แค่มีพนักงานคอยตอบคำถามก็น่าจะพอแล้ว” “ไปทุ่มกับการหาลูกค้าใหม่แทนดีกว่า” หากว่าตามหลักการ ความคิดเหล่านี้ก็ไม่นับว่าเป็นเรื่องผิดแต่อย่างใด ในเมื่อการทำธุรกิจเริ่มต้นจากมีสินค้าหรือบริการ เมื่อต้องการจะขายของ สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือการทำการตลาด เมื่อมีแผนงานเรียบร้อยเรื่องของการผลิตสื่อที่จะใช้ในการสื่อสารหากลุ่มเป้าหมายก็ตามมาเป็นลำดับ และแค่ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเราก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าเพียงแค่นี้ก็ใช้งบประมาณไปมหาศาล แน่นอนว่าแนวคิดที่จะเน้นขายสินค้าหรือบริการไม่ผิด.. หากเป็นหลายปีก่อนสมัยที่อินเทอร์เน็ตยังไม่กว้างไกลเท่าและเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขนาดนี้ เพราะในปัจจุบันที่เราต่างมาถึงยุคการตลาด 5.0 ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าอย่างชัดเจน ในตลาดที่หันไปทางไหนล้วนเจอสินค้าที่มีคุณภาพลักษณะใกล้เคียงกัน มาตรฐานของลูกค้าในการที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ๆ หนึ่งก็สูงขึ้นตามไปด้วย และ 1 ในปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการพิจารณาที่ว่านั้น ก็คือการบริการลูกค้า และบทความนี้เองจะเป็นข้อมูลที่จะมายืนยันกับคุณว่า การบริการลูกค้านั้น สำคัญมากกว่าที่คุณคิด 1. เพราะการรักษาลูกค้าเก่า (Customer Retention) ใช้เงินน้อยกว่าหาลูกค้าใหม่มาก การมุ่งเน้นไปยังการหาลูกค้าใหม่เป็นพื้นฐานที่ควรทำอยู่แล้ว เพียงแต่การรักษาลูกค้าเก่าก็สำคัญไม่แพ้กัน อ้างอิงจากสถิติของ Kolsky แล้วเชื่อหรือไม่ว่า การหาลูกค้าใหม่ใช้เงินแพงกว่าการรักษาฐานลูกค้าเก่าถึง 6-7 เท่า ในทางตรงกันข้ามหากอัตราการรักษาลูกค้าเก่า (Customer Retention Rate) สูงขึ้น 5% จะเทียบเท่ากับกำไร 25% – 95% ที่เพิ่มขึ้นเลยทีเดียว โอกาสที่จะ Upsell หรือ Cross-sell ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกค้าอยากมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำ ก็คือเรื่องของบริการหลังการขายและการบริการลูกค้าที่ดีนั่นเอง อ้างอิงจาก CX Trends 2022 ของ Zendesk ที่ระบุว่าการบริการลูกค้าที่ดีช่วยเพิ่มการรักษาลูกค้าเก่าถึง 60% ดังนั้นการบริการลูกค้าจึงเหมือนการลงทุนระยะยาว ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการบริการลูกค้าให้ดีในวันนี้ และคุณจะได้พื้นที่ให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต 2. เพราะการบริการลูกค้าถือเป็นหน้าเป็นตาของแบรนด์ และช่วยสร้างความภักดีของลูกค้าได้ จากการสำรวจของ Microsoft พบว่ามีผู้บริโภคถึง 96% ที่กล่าวว่าการบริการลูกค้าคือปัจจัยสำคัญที่พวกเขาจะภักดีต่อแบรนด์ ๆ หนึ่ง (Customer Loyalty) สอดคล้องกับการสำรวจของ Dimensional...

Continue reading
build application by Apps script or AppSheet

Apps Script VS AppSheet ใช้แอปไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด!

ใช้ App ไหนดีสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายที่สุด? อยากเขียนแอปพลิเคชันจัง แต่ทำอย่างไรดีไม่มีความรู้เรื่องโค้ด หรือโปรแกรมใด ๆ เลย? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณได้รู้จัก App Script และ AppSheet แอปพลิเคชันสุดล้ำใน Google Workspace ที่แทบไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องภาษาเฉพาะในการเขียนโค้ด คนธรรมดาอย่างเราก็ทำได้ แต่จะใช้แอปไหนดีล่ะถึงจะสร้างได้ง่ายที่สุดและเหมาะกับคุณมากที่สุด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ 2 แอปพลิเคชันนี้กัน Apps Script คือ แพลตฟอร์มเขียนโค้ด Javascript แบบ Low Code Platform ที่ทำงานอยู่บน Cloud-based ซึ่งช่วยให้คุณสามารถสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะ Apps Script ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกันกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ จาก Google Workspace ได้อย่างง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบขั้นเทพแต่อย่างใด AppSheet คือ แพลตฟอร์มที่คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดในการสร้างหรือพัฒนาแอปพลิเคชัน ถือเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันสุดพิเศษจากทาง Google ที่สามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้อย่างไม่สะดุดเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าความรู้เป็นศูนย์ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเอง ง่ายมาก ๆ  สรุปง่าย ๆ ก็คือเจ้าสองแอปนี้ถูกออกแบบให้มาช่วยในการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ง่ายที่สุด ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียนรู้ได้รวดเร็ว และสร้างระบบอัตโนมัติได้ด้วยตนเอง เพียงแค่มี Apps Script หรือ AppSheet ก็สามารถสร้างสรรค์ได้ตามใจต้องการ แล้ว Apps Script และ AppSheet ทำงานกันอย่างไร? จากที่ได้กล่าวไปด้านบนแล้วว่าทั้งสองแอปสามารถทำงานร่วมกันกับ Google Workspace ได้ ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Docs, Sheets, Slides, Drive หรือ Forms ก็สามารถดึงไฟล์มาสร้างได้เลย โดยที่ตัว App Scripts คุณจะสามารถสร้างฟังก์ชัน Add on ที่อยู่ในแอปพลิเคชันต่าง...

Continue reading

ทำความรู้จัก Answer bot ตัวช่วยในการซัพพอร์ตลูกค้า 24 ชั่วโมง

“Answer bot คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร? อยากมีบอทคอยซัพพอร์ตลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงต้องทำอย่างไร?” ลูกค้าควรได้โอกาสเลือกเส้นทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อหาคำตอบและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วด้วยตัวเอง โดยผลการวิจัยจาก Forrester พบว่า 76% ของลูกค้าชอบหาคำตอบด้วยตัวเองมากกว่าการพูดคุยกับทีมบริการและซัพพอร์ต ซึ่ง Answer bot หรือบอทตอบคำถามนั้น คือ วิธีการที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับลูกค้าที่ต้องการหาคำตอบอย่างรวดเร็วด้วยตัวเอง Answer bot คือ ฟังก์ชันหนึ่งที่อยู่ในระบบของ Zendesk ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อการบริการและซัพพอร์ตผู้ใช้งานทั้งภายนอกและภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือพนักงานในบริษัท โดย Zendesk ได้พัฒนา Answer bot ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบการบริการตนเอง (Self-service) และหาคำตอบด้วยตัวเองโดยเฉพาะ ซึ่งกระบวนการทำงานของระบบ Answer bot นี้จะช่วยในการตอบคำถามของลูกค้าด้วยการเรียนรู้จากบทความและฐานความรู้ที่คุณสร้างขึ้น ซึ่งเมื่อมี Ticket เข้ามา Answer bot จะสามารถเรียนรู้ได้ว่าบทความไหนจะช่วยตอบคำถามของลูกค้าได้ถูกต้องและตรงประเด็นที่สุด ส่วนมาก Answer bot จะถูกนำมาใช้ตอบคำถามที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ ของธุรกิจ หรือคำถามที่ลูกค้ามักจะถามเข้ามาบ่อย ๆ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สถานะการสั่งซื้อ การสมัครสมาชิกหรือวิธีการจ่ายเงิน ซึ่งสามารถนำ Answer bot เข้ามาช่วยตอบคำถามง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน หรือคำถามที่พบบ่อยได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที เพื่อช่วยทุ่นแรงให้กับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับ Ticket ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นทีมบริการและทีมซัพพอร์ตของคุณไม่ต้องมานั่งเสียเวลาจมปลักกับคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ แต่เอาเวลาไปมุ่งเน้นให้กับปัญหาของลูกค้าที่ซับซ้อนและต้องการความดูแลเป็นพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากผลการวิจัยและการใช้งานพบว่า Answer bot ช่วยจัดการ Ticket จำนวน 4,500 Ticket ต่อเดือนซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวน Ticket ทั้งหมด “เราได้เรียนรู้ว่าลูกค้าไม่ชอบรอการตอบกลับ พวกเขาต้องการหาคำตอบด้วยตัวเองมากกว่า ซึ่ง Answer bot ก็เป็นวิธีที่ดีสำหรับเราในการที่ลูกค้าจะหาคำตอบตามที่ลูกค้าต้องการได้ด้วยตนเอง” Brian Crumpley Analytics Manager of...

Continue reading

Customer Centric ค่านิยมหลักในการทำธุรกิจ แต่ต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นจริงได้?

Customer Centric ช่วยเพิ่มความภักดีในแบรนด์ของลูกค้าและโอกาสในการซื้อซ้ำ Customer Centric เพิ่มโอกาสในการที่ลูกค้าจะนำแบรนด์ไป ‘บอกต่อ’  Customer Centric ช่วยให้แม้จะเกิดเหตุที่ลูกค้าไม่พอใจ ก็สามารถหาแนวทางที่จะช่วยบรรเทาหรือสร้างความรู้สึกที่ดีกลับคืนมาได้ จากผลการศึกษาพบว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญในด้านนี้มีผลประกอบการณ์ดีกว่าองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าถึง 60% แม้จะเป็นที่รู้จักมานานแต่ Customer Centric ก็ยังไม่ ‘เชย’ และเป็นความจริงที่องค์กรใหญ่ต่าง ๆ ทั้ง Amazon Netflix Mcdonald’s ก็ล้วนใช้กลยุทธ์ Customer Centric เช่นกัน มีเหตุผลรองรับหลายอย่างที่พิสูจน์ว่าการทำธุรกิจโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางหรือ Customer Centric เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคนี้ ถึงอย่างนั้นเรื่องของการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าหรือนำเรื่อง Customer Centric มาแทรกเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมขององค์กรก็ดูเป็นแนวทางสวยหรูที่ปฏิบัติให้ได้ผลลัพธ์จริงยากกว่าที่คิด เหตุใดเราถึงต้องทุ่มเทขนาดนั้น เราต้องยึดลูกค้าเป็นพระเจ้าหรือ? ผิดแล้ว ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า พนักงานเองก็ไม่ใช่คนที่ต้องยอมตามใจลูกค้าเสียทุกอย่างเช่นกัน แต่ลูกค้าเป็นเหมือนคน ๆ หนึ่งที่หากเปรียบตัวคุณเองเป็นธุรกิจ ลูกค้าก็คือเป้าหมายที่คุณต้องการจะจีบให้ติด คำถามต่อไปที่ต้องคิดคือ ทำอย่างไรถึงจะได้ใจลูกค้ามาครอง ดังนั้นหากเรามองลึกลงไป เราก็จะวกกลับมาที่พื้นฐานของการเข้าหาใครสักคน ก็คือทำความรู้จัก ดูว่าเป้าหมายของเราคือใคร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เหมือนกับการทำ Persona ของธุรกิจ สมมติคุณสั่งข้าวผัด ทว่าคนที่คุณจีบไม่ชอบกินมะเขือเทศ ในครั้งต่อไปเมื่อมาทานข้าวด้วยกันอีกคุณจึงสั่งข้าวผัดแบบไม่ใส่มะเขือเทศ การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกได้รับความใส่ใจ นี่เองก็ถือเป็น Customer Centric แล้ว หากกล่าวโดยสรุปเราจะหาแนวทางในการทำกลยุทธ์ Customer Centric ได้ดังนี้ 9 วิธีเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Customer Centric มากขึ้น สร้างวัฒนกรรมองค์กรให้ใส่ใจลูกค้า หยุดที่จะทำงานแบบไซโล ให้ความสำคัญเรื่องการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล รับฟัง Feedback ของลูกค้าอยู่เสมอ ติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า AI และ Automation เป็นเครื่องมือช่วยลดภาระงานชั้นเยี่ยม สร้างภาพจำที่ดีต่อแบรนด์ ให้ลูกค้ารับรู้ว่าคุณใส่ใจพวกเขา Omnichannel ให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ในช่องทางที่ลูกค้าต้องการ สำคัญกว่าอื่นใดทั้งหมด มุ่งเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมั่น จาก 9 ข้อนี้ หากจะสรุปว่าการสร้างประสบการณ์ลูกค้าหรือทำ Customer...

Continue reading

Paperless สร้างระบบไร้กระดาษอย่างยั่งยืนด้วย Google Workspace

Paperless สร้างระบบไร้กระดาษอย่างยั่งยืนด้วย Google Workspace Google Workspace พื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร หากคุณกำลังสงสัยว่า Google Workspace ช่วยให้คุณสามารถทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ได้อย่างไร และ Google Workspace ตอบโจทย์ในการเป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานแห่งอนาคตได้อย่างไรนั้น มาดูกันเลย! เปลี่ยนแบบสำรวจหรือแบบสอบถามจากกระดาษสู่ฟอร์มออนไลน์ การสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ช่วยประหยัดกระดาษและเวลาในการเก็บและตรวจแบบสอบถามได้อย่างมาก คุณสามารถสร้างแบบฟอร์มได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่ว่าจะเป็นแบบสำรวจความต้องการ, แบบฟอร์มอาสาสมัคร, และอื่นๆ ซึ่งคุณสามารถตั้งค่ารับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนส่งแบบฟอร์มใหม่เข้ามาผ่านทางอีเมลด้วย Gmail  ได้อีกด้วย ผลลัพธ์จะอยู่ในรูปแบบข้อมูลสรุปและแผนภูมิโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ในทันที ติดตามรายละเอียดก่อนการประชุมผ่านทางออนไลน์ ใช้ปฏิทิน (Calendar) สร้างปฏิทินของสมาชิกในทีมเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและอัปเดตได้ทันทีเมื่อมีการประชุมใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเวลาในการประชุม ซึ่งคุณและสมาชิกในทีมสามารถนำข้อมูลรายละเอียดสำหรับการประชุมใส่ไว้ในกำหนดการนั้นๆในปฏิทิน เพื่อให้ทุกคนสามารถอัปเดตและทำความเข้าใจกับข้อมูลรายละเอียดการดำเนินงานก่อนเข้าร่วมการประชุมได้ สร้าง จัดเก็บ และแชร์ข้อมูลออนไลน์แทนการพรินต์กระดาษ การจัดเก็บใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่เป็นกระดาษอาจทำให้ข้อมูลสูญหายได้ง่าย แต่ไดรฟ์ (Drive) จะทำให้การทำงานร่วมกันกับทีมและพาร์ทเนอร์เป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เมื่อคุณทำการจัดเก็บไฟล์ต่างๆบนไดรฟ์แล้ว ระบบจะซิงค์และจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์โดยอัตโนมัติ หากคุณต้องการให้ผู้อื่นเข้าถึงไฟล์ของคุณ คุณสามารถทำได้ง่ายๆเพียงเปิดฟีเจอร์การแชร์และเลือกแชร์ให้กับคนที่คุณต้องการได้ในทันที ประหยัดกระดาษเมื่องานของคุณมีเอกสารแบบร่างหลายฉบับ เป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานที่คุณจะมีข้อมูลอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง มีแบบร่างหลายฉบับกว่าโครงการของคุณจะได้รับการอนุมัติ การเก็บแบบร่างไว้ทั้งหมดเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการทำงานในอนาคตอาจเป็นเรื่องยากทั้งในเรื่องการจัดเก็บและการค้นหา แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณใช้เอกสาร (Docs), ชีต (Sheets), หรือสไลด์ (Slides) ระบบเหล่านี้จะบันทึกและเก็บฉบับร่างทั้งหมดไว้ในไฟล์เดียวกันโดยอัตโนมัติ หากต้องการใช้ข้อมูลเดิมเพียงแค่เปิดประวัติการแก้ไขและกดเปลี่ยนไปใช้เวอร์ชันก่อนหน้าได้ทันทีที่คุณต้องการ แชร์ข้อมูลและทรัพยากรด้วยเว็บไซต์ภายใน การเก็บรวบรวมทรัพยากรข้อมูลทั้งหมดขององค์กรเพื่อนำมาอ้างอิงในการจัดโครงการใหม่อาจใช้เวลาในการรวบรวมมากโดยเฉพาะเมื่อองค์กรของคุณมีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลจากหลายสาขา การเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกันด้วย Sites เฉพาะภายในองค์กร ทำให้สมาชิกในองค์กรของคุณที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเข้าถึงและค้นหาข้อมูลทรัพยากรล่าสุดขององค์กรได้ทันที ฝึกอบรมพนักงานใหม่ได้ทุกที่ทุกเวลา คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องของสถานที่และเอกสารประกอบการฝึกอบรมพนักงานใหม่ได้อย่างมาก เพียงแค่ใช้ Google Meet คุณก็จะสามารถจัดการฝึกอบรมพนักงานใหม่ผ่านทางออนไลน์ได้พร้อมกันทั่วโลก แม้ว่าคุณและพนักงานของคุณจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้พนักงานของคุณประหยัดเวลาและค่าเดินทางได้ จากนั้นใช้ Sites เพื่อสร้างหน้าเว็บไซต์เพื่อแชร์เอกสารประกอบการฝึกอบรมให้พนักงานได้ทำการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกอบรม ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆเหตุผลที่ทำไมคุณถึงต้องลองใช้ Google Workspace กับการทำงานในองค์กรของคุณ เพราะนอกจากจะช่วยให้การทำงานของคุณสะดวกขึ้นแล้วยังช่วยให้องค์กรของคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย เปลี่ยนการทำงานร่วมกันที่แสนยุ่งยากให้ง่ายขึ้นด้วย Google Workspace นำองค์กรของคุณก้าวสู่อนาคตไปกับ ดีมีเตอร์ ไอซีที อัปเกรดแพ็กเกจหรือสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที พันธมิตรระดับ Google Premier...

Continue reading
What to prepare for Hybrid Working

Checklist 5 สิ่งต้องมีก่อนปรับใช้ Hybrid Working ในบริษัท

ณ ตอนนี้จะไม่พูดถึงคงไม่ได้กับการทำงานแบบ Hybrid Working การทำงานที่ออฟฟิศและที่บ้านสลับกันไป เนื่องจากสถานการณ์โควิดในปัจจุบันทำให้พนักงานไม่สามารถไปทำงานที่ออฟฟิศได้แบบ 100% จึงเกิดเป็นเทรนด์การทำงานแบบใหม่นี้ขึ้นเรียกว่า การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทได้นำการทำงานแบบ Hybrid Working นี้มาปรับใช้กันไม่น้อยเพราะวิธีนี้ถือเป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์โควิดนี้ได้ มาดูไปพร้อมกันเลยว่าหากคุณต้องการปรับเปลี่ยนบริษัทให้เข้าสู่ Hybrid Working คุณจำเป็นจะต้องมีอะไรบ้าง? 1. มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยตอบโจทย์ในการทำงาน – Google Workspace เมื่อโควิดไม่ดีขึ้นสักที เราก็ต้องปรับวิถีการทำงานโดยการสลับไปทำงานที่ออฟฟิศบ้าง ทำงานที่บ้านบ้างเพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ ดังนั้นการมีซอฟต์แวร์ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ดีจะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น ใช้งานสะดวก และไม่ส่งผลกระทบต่องานหากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย ๆ Google Workspace เครื่องมือที่ Demeter ICT กำลังใช้งานอยู่นั้นถือว่าตอบโจทย์มาก ๆ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันบนโลกออนไลน์แบบ Real time collaboration และยังมีหลากหลายฟังก์ชันให้คุณได้เลือกใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละแผนก ไม่ว่าจะทีมไหนก็สามารถนำเครื่องมือจาก Google Workspace มาใช้ทำงานได้อย่างราบรื่น มีแอปพลิเคชันและฟังก์ชันเด็ด ๆ อะไรบ้าง? คลิกเลย! 2. จัดสรรจำนวนพนักงานให้เหมาะสม จำนวนพนักงานถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่แอบสร้างปัญหาให้บริษัทอยู่บ่อยครั้งเพราะโควิดเป็นเหตุให้หลายบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง ทำให้งาน Overload ในบางตำแหน่งก่อเกิดความไม่พอใจและทำให้ประสิทธิผลของงานออกมาได้ไม่เต็มที่นัก ดังนั้นบริษัทควรมีการจัดสรรพนักงานที่ดีเพื่อเป็นการช่วยเหลือพนักงานเองและเพื่อรักษา Productivity ของบริษัทให้อยู่ในระดับที่ดีอยู่เสมอ 3. มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยและดูแลความสะอาด การดูแลรักษาความสะอาดโดยเฉพาะในยุคโควิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บริษัทต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเช่น มีการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ให้พนักงานในบางจุด ไม่อนุญาตให้พนักงานถอดหน้ากากอนามัยหากไม่จำเป็น และไม่ควรให้พนักงานรับประทานอาหารหรือขนมขบเคี้ยวขณะทำงาน เป็นต้น 4. จัดโต๊ะทำงาน/ ที่นั่งแบบ Social distancing ไม่ว่าจำนวนพนักงานจะเท่าใด เพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง ก็ควรนั่งทำงานกันแบบเว้นระยะ (Social distancing) การขยายออฟฟิศคงไม่ใช่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่เพราะมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านั้น การจัดระยะการนั่งจึงถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อของโควิดได้ หากพนักงานนั่งห่างกันก็ทำให้เปอร์เซ็นการติดเชื้อมีน้อยลง จัดตารางให้พนักงานเข้าออฟฟิศไม่ตรงกันและนั่งแยกกัน แค่นี้ก็สามารถทำงานแบบ Hybrid working ได้อย่างสะดวกมากขึ้นแล้ว 5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำนักงานแจกจ่ายให้พนักงาน บริษัทควรจัดเตรียมและแจกจ่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้กับพนักงานเพื่อที่พนักงานจะสามารถพกพาอุปกรณ์กลับไปทำงานที่บ้านได้อย่างสะดวก เช่น แล็ปท๊อปและเมาส์ เพราะหากบริษัทไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้ ข้อมูลของบริษัทอาจปะปนกับข้อมูลส่วนตัวของพนักงานได้ อีกทั้งยังทำให้ข้อมูลบริษัทเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมได้ง่ายเนื่องจากอุปกรณ์ส่วนตัวไม่มีการควบคุมหรือระบบป้องกันที่ดีพอนั่นเอง จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า...

Continue reading

3 เคล็ดลับ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล

“การเติบโตและการอยู่รอดสำหรับธุรกิจ B2C คือ เราต้องคาดการณ์ความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าให้ได้ ในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด” คิดว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า B2C แต่ทุกท่านคงกำลังต้องการหาคำตอบหรือเคล็ดลับว่าเราจะเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าในตอนนี้พฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว ในโลกของยุคดิจิทัลที่อะไรก็รวดเร็วไปซะหมด แค่เพียงไม่กี่คลิก ไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้และนั่นเองที่ทำให้ความคาดหวังของลูกค้าเปลี่ยนไป ด้วยความที่ธุรกิจ B2C (Business to Customer) ต้องเจอกับลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าลูกค้าที่เข้ามานั้นมีความคาดหวัง ความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้นการที่ธุรกิจจะเติบโตและดำเนินต่อไปได้นั้น จะต้องเข้าใจความคาดหวัง ความต้องการพื้นฐานของลูกค้าและมองหาโซลูชันที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางจากธุรกิจของเรา เพราะถ้าหากธุรกิจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและมอบประสบการณ์ที่ดีให้ได้ ลูกค้าก็พร้อมที่จะย้ายไปหาคู่แข่งได้ทันที และที่แย่ที่สุดคือลูกค้านำไป รีวิว แชร์ หรือเล่าปากต่อปากให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้ ดังนั้น 3 เคล็ดลับ ต่อไปนี้ จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าของธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. พร้อมช่วยเหลือลูกค้าในขณะที่กำลังซื้อทันที จากผลสำรวจของ Cart Abandonment ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล คือการที่ลูกค้าละทิ้งรถเข็นขณะที่กำลังช้อปปิ้งอยู่บนหน้าเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ และรถเข็นกว่า 88% จะถูกยกเลิกในเวลาต่อมา สาเหตุเกิดจากลูกค้ามักเกิดข้อสงสัย คำถาม หรือความลังเลในระหว่างการซื้อสินค้า เพราะฉะนั้นช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่สำคัญมาก การใช้ Live Chat จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยซัพพอร์ตลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งเป็นการขายและสนับสนุนลูกค้าเชิงรุกเพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าตัดสินใจและปิดการขายได้เร็วขึ้น เพราะถ้าปัญหาหรือข้อสงสัยของลูกค้านั้นถูกยืดเวลาออกไป อาจจะทำให้ลูกค้าเลิกสนใจและยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าได้เช่นกัน Modsy ผู้ให้บริการด้านการตกแต่งภายในออนไลน์ ใช้ฟีเจอร์ Live Chat ของ Zendesk (Customer Service Software) เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับทีมนักออกแบบ ในขณะที่พวกเขากำลังดูว่าจะซื้อบริการแบบใด ช่วยกระตุ้น Conversion มากขึ้นและลดอัตราการยกเลิกของรถเข็นจากลูกค้าได้ 2. ให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้แบบเรียลไทม์และชัดเจน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ธุรกิจแบบ B2C ดำเนินและเติบโตต่อไปได้ คือ การซื้อซ้ำ ไม่ใช่ว่าพอปิดการขายจากลูกค้าได้แล้วเราก็ไม่แยแสหรือว่าทิ้งเขาไว้กลางทางแบบนั้น เราต้องนึกว่าถ้าเราเป็นลูกค้าเอง สิ่งที่เราต้องการให้ธุรกิจบริการเรามีอะไรบ้าง? การติดตามสถานะการสั่งซื้อหรือดูข้อมูลประวัติการซื้อต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าคาดหวังและต้องการให้ธุรกิจนั้นมี เพราะจะให้ลูกค้ามาพิมพ์ถามทีมซัพพอร์ตลูกค้าตลอดก็คงจะไม่ดีเพราะจะทำให้เสียเวลาทั้งลูกค้าและทีมงานซัพพอร์ตอีกด้วย ลูกค้าที่ใช้งาน Zendesk หลาย ๆ ท่านที่เป็นธุรกิจแบบ...

Continue reading