Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk

“หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาแนวทางแก้ปัญหา (Pain Points) หรืออยากจะเริ่มต้นบริการลูกค้าอย่างเป็นระบบ สามารถเก็บข้อมูล ทำรีพอร์ตวัดผล สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า นี่คืองานสัมมนาออนไลน์ที่คุณไม่ควรพลาด” ทุกวันนี้คือยุคของ Digital Transformation เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจก็ต้องดำเนินการให้เหมาะสมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ช่วงหลังมานี้เราจึงมักได้ยินเรื่องของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเก็บข้อมูลลูกค้า ส่งต่อข้อมูลระหว่างทีม หรือสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) กันบ่อยครั้งมากขึ้นเรื่อย ๆ  การทรานฟอร์มธุรกิจและการสร้างการบริการลูกค้าที่ดีล้วนต่างเป็นมาตรฐานที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี ทว่าการปรับตัวให้ทันและมีระบบที่ตรงต่อความต้องการจริงก็ยังคงเป็นเรื่องยากและท้าทาย  ด้วยแนวคิดนี้ Demeter ICT จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ “Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk” งานสัมมนาที่จะพาคุณเจาะทุกประเด็นของการบริการลูกค้าให้บรรลุผลตั้งแต่กลยุทธ์ วิธีการ และการปรับใช้เทคโนโลยีให้ได้ผลลัพธ์ดั่งที่คาดหวัง ไม่ว่าจะเป็น Guide: แนวทางแก้ปัญหาและสร้างการบริการให้ชนะใจลูกค้า  Solution Tour: ทำไมถึงต้องเป็น Zendesk และ Zendesk ตอบโจทย์คุณอย่างไร? และไปให้ถึง Goal กับ Demeter ICT: แนะนำวิธีการปรับใช้เทคโนโลยีให้ได้ผลลัพธ์จริงและบริการของ Demeter ICT ที่จะช่วยวางระบบให้การสร้างการบริการลูกค้าของคุณง่ายขึ้นในเวลาเพียง 5 วัน วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 – 15.30 น. ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง สิ่งที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วม รู้ถึง Pain Points และวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงจุด เข้าใจ Pain Points ของการบริการตลอดจนขั้นตอนว่าจะแก้ปัญหาและสร้างการบริการลูกค้าที่บรรลุผลอย่างไรได้บ้าง แนวทางปรับเปลี่ยนการบริการให้ประสบความสำเร็จ เข้าใจวิธีการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาในแต่ละช่องทางอย่างมืออาชีพ การพลิกกระบวนการทำงานที่ไซโลให้ทันสมัย รับกับเทรนด์การทำงานในยุคปัจจุบัน แนวทางในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ทำความรู้จัก Zendesk สาธิตการใช้งานจริงและ Q&A ตอบทุกคำถาม ทำความรู้จัก Zendesk อันดับ 1 Digital Customer Service ที่มีผู้ใช้งานกว่า 170,000 รายทั่วโลกทั้ง...

Continue reading

รวมสุดยอดเคล็ดลับสร้าง Help center อย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ!

Help center หรือศูนย์ช่วยเหลือที่หลาย ๆ คนเคยพบเจอบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ คือการบริการลูกค้าแบบ Self-service รูปแบบหนึ่งที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากของลูกค้าในต่างประเทศ แต่ทำไมในประเทศไทยลูกค้าถึงไม่ค่อยนิยมใช้ระบบ Help center กัน ทุกคนเคยสงสัยไหมครับ? ทุกคนรู้หรือไม่ว่าจากผลสำรวจของ Zendesk (CX Trends) พบว่าลูกค้ากว่า 69% ชอบช่วยเหลือหรือหาคำตอบด้วยตนเอง (Self-service) เพราะว่ามันรวดเร็วและสะดวกที่สุด ฉะนั้นหรือจริง ๆ แล้วเรามีอะไรที่ทำพลาดไป ทำให้ระบบ Help center หรือการบริการลูกค้าแบบ Self-service ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับบริษัทและลูกค้าในประเทศไทยมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่าระบบ Help center ของคุณยังไม่น่าสนใจพอหรือยังไม่ตอบโจทย์ของลูกค้ารึเปล่า? ซึ่งวันนี้ Demeter ICT มีเคล็ดลับวิธีการสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ พร้อมกับภาพตัวอย่างระบบ Help center ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จมาฝากทุกคนกัน เคล็ดลับสร้างระบบ Help center ให้ประสบความสำเร็จ! 1. วางแผนกำหนดเป้าหมาย การวางแผนและกำหนดเป้าหมายจะช่วยบอกคุณได้ว่า คุณต้องการ Help center ไปช่วยในเรื่องใดของธุรกิจ? หากคุณกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะช่วยให้การสร้างระบบ Help center ง่ายยิ่งขึ้น เช่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบการบริการตนเองและต้องการแบ่งเบาปริมาณงานของทีม Customer Service หรือไม่? หรือต้องการระบบฐานความรู้ของบริษัทหรือ Knowledge base ที่เก็บรวบรวมข้อมูลของบริษัทเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้พนักงานในองค์กรสืบหาข้อมูลเป็นต้น 2. มุ่งเน้นที่ประสบการณ์และสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ สิ่งที่คุณต้องคำนึงต่อมาหลังจากการกำหนดเป้าหมายแล้ว คือ ผู้ใช้งานต้องการอะไรบนระบบ Help center ของคุณบ้าง? เช่น คำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้าใจง่ายและทำได้เอง การจัดระเบียบเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนค้นหาได้ง่าย มีช่องการค้นหาบทความได้ทุกเรื่องที่ต้องการ เป็นต้น ทำอย่างไรก็ได้ให้การใช้ Help center เป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยากเพราะถ้าหากว่า Help center ของคุณไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานได้ อาจจะทำให้เขาเข้ามาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วไม่เข้ามาอีก 3. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ได้พบเจอกับลูกค้า มักจะเข้าใจถึงความต้องการและปัญหาที่ลูกค้าพบเจอมากที่สุด...

Continue reading
แพ็กเกจ Google Workspace

ซื้อ Google Workspace แพ็กเกจไหนดี? เลือกไม่ถูก วันนี้มีคำตอบ!

ใช้ Google Workspace แพ็กเกจไหนดี? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่หลายบริษัทต่างครุ่นคิดอยู่บ่อยครั้งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ Google Workspace เพราะ Google Workspace นั้นมีหลายแพ็กเกจให้เลือกมากมาย ซึ่งแต่ละแพ็กเกจก็จะมีฟังก์ชันแตกต่างกันไป รวมถึงค่าใช้จ่ายก็ต่างกันด้วย แล้ว…จะเลือกแพ็กเกจไหนดีล่ะ? ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงได้ทำสรุปมาเบื้องต้นเพื่อให้คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจเลือกแพ็กเกจให้เหมาะสมต่อการใช้งานได้คุ้มค่ามากที่สุด  เน้นการใช้งานทั่วไป (รับ- ส่ง Email) หากคุณไม่เน้นการใช้งานด้านใดเลย เพียงแต่ต้องการใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานเท่านั้น เช่น การรับ-ส่ง Email, ใช้ Google Docs, Google Sheets, และ Google Slides แบบเบื้องต้น ก็สามารถเลือกใช้งานแพ็กเกจ Business Starter หรือ Business Standard ได้ เพราะแพ็กเกจนี้มีค่าบริการเริ่มต้นที่ 137.5 บาทและ 330 ต่อผู้ใช้ต่อเดือน ซึ่งถือว่าคุ้มมาก ๆ นอกจากราคาที่คุ้มค่าแล้วยังจะได้รับบริการจาก Demeter ICT ตลอดการใช้งานอีกด้วย ไม่ว่าจะใช้บริการกี่บัญชีหรือแพ็กเกจไหน เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญให้บริการแบบทั่วถึงแน่นอน เน้นการใช้งาน Google Meet หากคุณเน้นด้านการประชุมเป็นส่วนมาก เราขอแนะนำให้คุณเลือกแพ็กเกจอ้างอิงตามจำนวนผู้ใช้งานและผู้เข้าร่วมประชุม Business Starter – รองรับได้ 100 คน (ไม่สามารถบันทึกการประชุมได้) Business Standard – รองรับได้ 150 คน Business Plus และ Enterprise – รองรับได้ 500 คน ทั้งนี้ฟังก์ชันในการประชุมก็จะมีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Q&A, Polls, Whiteboard, Breakout rooms (การแบ่งห้องย่อย), และการบันทึกการประชุม ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้จะมีในทุกแพ็กเกจ เว้นแต่แพ็กเกจ Business Starter ที่จะไม่สามารถบันทึกการประชุมได้ และหากคุณใช้ Gmail แบบฟรี (ส่วนตัว)...

Continue reading

Zendesk Package for Starter แพ็กเกจสุดคุ้มให้คุณพร้อมใช้ Zendesk ใน 5 วัน ประหยัด 30%

การจะนำซอฟต์แวร์สักตัวมาปรับใช้ในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะออกแบบ ขึ้นระบบ ศึกษาการใช้งาน แถมยังไม่แน่ใจอีกว่า ซอฟต์แวร์ตัวนั้น ๆ จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้จริงไหม จะช่วยแก้ปัญหาในการทำงานของพนักงานได้จริงหรือเปล่า หรือคุ้มค่ามากแค่ไหน? Demeter ICT ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ Zendesk เข้าใจในปัญหานี้ดี เราจึงได้ออกแบบแพ็กเกจใหม่สุดคุ้มสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Zendesk เรียกได้ว่าหากคุณกำลังมองหาระบบสำหรับการบริการลูกค้า แต่ไม่อยากกังวลในเรื่องกระบวนการดำเนินงานที่ยาวนานล่ะก็ คุณได้มาถูกทางแล้ว เพราะแพ็กเกจนี้ คุณจะได้ Zendesk ไปพร้อมใช้งานใน 5 วัน โดยที่คุณแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมล่ะ? ในบทความนี้เราจะมาดูรายละเอียดของ ‘Zendesk Package for Starter’ หรือ ‘Zendesk แพ็กเกจสำหรับผู้เริ่มต้น’ กัน ทำไม Zendesk Package for Starter ถึงพิเศษ? ต้องขอเกริ่นก่อนว่า แพ็กเกจ Zendesk โดยทั่วไปจะมีด้วยกับ 2 แพ็กเกจ ได้แก่ Zendesk for service หรือ Zendesk สำหรับบริการ และ Zendesk for sell ซึ่งก็คือ Zendesk สำหรับการขาย และใน 2 แพ็กเกจนี้ก็จะแยกออกไปอีก 4 ระดับตามรายละเอียดฟีเจอร์ ได้แก่ Suite Team, Suite Growth, Suite Professional และ Suite Enterprise เรียกได้ว่าแบ่งแพ็กเกจตามประเภทการใช้งานชัดเจนเลยก็ว่าได้ สำหรับแพ็กเกจ Zendesk Package for Starter นี้จะเน้นไปที่จุดประสงค์ด้านการบริการเช่นเดียวกับแพ็กเกจ Zendesk for service ทว่าก็ยังมีส่วนที่แตกต่างกัน 1. Zendesk Package for starter มัดรวมทั้ง License และการบริการของ Demeter ICT...

Continue reading

ฟีเจอร์ย่อและปรับขนาดหน้าจอประชุมได้อิสระ พร้อมใช้งานบน Chrome แล้วนะ!

มุมมองการประชุมรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มความสะดวกในการประชุมกับ Google Meet ด้วยฟีเจอร์ ‘picture-in-picture (PIP)’ ที่ช่วยให้คุณสามารถประชุมไปด้วยและทำงานไปด้วยได้ในเวลาเดียวกัน คุณสามารถเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้แล้วบนเบราว์เซอร์ Chrome โดยที่คุณสามารถดูหน้าจอวิดีโอของผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุด 4 หน้าจอในขณะที่คุณเปิดใช้งานฟีเจอร์ PIP ในหน้าต่างของแอปพลิเคชันอื่นๆ อย่าง Gmail, Calendar เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถ Pin หรือ ตรึงฟีดวิดีโอพร้อมกันหลายรายการ ช่วยให้ผู้นำเสนอและผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมกับการประชุมได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานด้วยการที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนขนาดมุมมองเนื้อหาและฟีดวิดีโอการประชุมได้อย่างอิสระ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของคุณได้มากที่สุดได้ด้วยตนเอง ฟีเจอร์ PIP พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า Google Workspace ทุกแพ็กเกจ รวมถึงลูกค้า G Suite Basic และ Business รวมไปถึงผู้ใช้ที่มีบัญชี Google แบบส่วนบุคคลอีกด้วย Google Workspace คือพื้นที่การทำงานที่เป็นมากกว่าแอปพลิชันการทำงาน Google Workspace มีการอัปเดตและพัฒนาฟีเจอร์และแอปพลิเคชันต่างๆอยู่เสมอเพื่อให้การทำงานของคุณเป็นไปอย่างง่ายดายและไหลลื่น พร้อมยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่องค์กรของคุณอีกด้วย ห้ามพลาด! เรื่องราวข่าวสารการอัปเดตต่างๆ เกี่ยวกับ Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที พันธมิตรระดับ Google Premier Partner ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Workspace คลิกที่นี่ หรือติดตามบทความที่น่าสนใจได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือ Line: @dmit ...

Pooled storage in Google Workspace

Pooled storage ใน Google Workspace คืออะไร?

Pooled storage คือ การแชร์พื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกันภายในบริษัทสำหรับผู้ใช้งาน Google Workspace และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google Workspace เช่น Google Drive, Shared drives, Gmail และ Google Chat หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Organization storage limit” สมมุติว่าบริษัทของคุณใช้แพ็กเกจ Business Plus ก็จะได้โควตาการเก็บข้อมูลอยู่ที่ 5 TB ต่อ 1 บัญชีผู้ใช้ หากบริษัทของคุณมีพนักงานจำนวน 30 คน คุณจะได้พื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดอยู่ที่ 150 TB (5 TB* 30) ซึ่งหมายความว่าบริษัทของคุณมี Pooled storage ทั้งหมด 150 TB นั่นเอง ทั้งนี้แต่ละบริษัทมีพื้นที่ความจำเท่าไรนั้นจะขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่ใช้และจำนวน License ที่มี เมื่อไรก็ตามที่มีบัญชีถูกเพิ่มเข้ามาใน Google Workspace ของบริษัท พื้นที่เก็บข้อมูลก็จะถูกเพิ่มขึ้นด้วย วิธีเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลใน Google Workspace แน่นอนว่าหากมีการจำกัดพื้นที่การใช้ข้อมูลแล้ว คำถามที่ตามมาคือ “แล้วจะเพิ่มพื้นที่ใน Google Workspace ได้อย่างไร?” คำตอบ: คุณจะต้องทำการอัปเกรดเป็นแพ็กเกจที่มีพื้นที่มากขึ้น ดูแพ็กเกจ คลิก หรืออีกวิธีหนึ่งคือ หากคุณมีพนักงานคนใดที่ยังไม่มี Google Account หรือมีพนักงานใหม่ คุณสามารถเพิ่มบุคคลนั้นเข้ามาใน Google Workspace ของบริษัทได้ หลังจากนั้น Pooled Storage ทั้งหมดของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติดังที่กล่าวไปข้างต้น และเพื่อให้ Admin สามารถวางแผน จัดการ และจัดสรรการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Admin สามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานแต่ละคนมีการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลมากน้อยเพียงใด แค่ทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ 1. เปิดหน้า Admin Console ไปที่ View all users 2. เลือก...

Continue reading

รู้หรือไม่? Google Workspace มีหน้าจัดการ Storage Managements ในการจัดสรรพื้นที่เเล้วนะ!

Google ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘หน้าจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล’ หรือ ‘Manage storage’ สำหรับผู้ใช้งาน Google Workspace ที่มีการใช้งานเเบบ Pool Storage ในหน้าผู้ดูเเลระบบ Admin Console เพื่อเเก้ไขปัญหาเรื่องขีดจำกัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไฟล์บน Google Drive, อีเมลบน Gmail เเละรูปภาพบน Google Photos ที่มีการคิดพื้นที่ในระบบของ Google โดยข้อดีของฟีเจอร์นี้คือสามารถจัดสรรเเละกำหนดพื้นที่ให้กลุ่มงานหรือหน่วยงานในองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ทีมการตลาด ที่ต้องจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งไฟล์รูปภาพทางการตลาดไว้เป็นจำนวนมากไว้บน Google Drive เป็นต้น โดยข้อดีของฟีเจอร์นี้คือสามารถจัดสรรเเละกำหนดพื้นที่ให้กลุ่มงานหรือหน่วยงานในองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ทีมการตลาด ที่ต้องจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งไฟล์รูปภาพทางการตลาดไว้เป็นจำนวนมากไว้บน Google Drive เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น หากองค์กรของคุณสามารถเปิดใช้พื้นที่เก็บข้อมูลสูงสุด 1000 GB คุณสามารถตั้งค่าให้ผู้ใช้ทั้งหมดในทีมการตลาดสามารถใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ 950 GB ในขณะที่ทีมอื่นๆ จำกัดให้ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูล 50 GB หรืออาจจะได้น้อยกว่านั้น หากในอนาคตต้องการเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีความจำเป็นในการเพิ่มพื้นที่หรือลดพื้นที่ใช้งาน ก็สามารถจัดการพื้นที่เก็บข้อมูลใน Google Workspace ได้ง่ายๆในฟีเจอร์เดียวกันนี้ได้เลย เเต่ทั้งนี้การจัดสรรข้อมูลส่วนนี้จะต้องอยู่ในขอบเขต Pool Storage หรือพื้นที่ส่วนกลางที่องค์กรได้มีการสั่งซื้อกับ Google ไว้ตั้งเเต่ต้น หมายเหตุ : Pool Storage จะมีตั้งเเต่เเพ็กเกจ Business Standard ขึ้นไป 3 คำถามยอดฮิต สำหรับการจัดการพื้นที่จากหน้าจัดการ Storage Managements การจัดการพื้นที่สามารถใช้งานได้ในทุกแพ็กเกจของ Google Workspce หรือไม่? ใช้ได้เฉพาะองค์กรที่มีพื้นที่เป็น Pool Storage หรือ Business Standard ขึ้นไป องค์กรที่มีการผสมเเพ็กเกจ (Mix plan) ระหว่าง Business Standard ขึ้นไป ที่มี Pool Storage ระบบสามารถจัดสรรพื้นที่ข้ามแพ็กเกจได้หรือไม่? ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเงื่อนไขการใช้งานคือ ไม่ว่าผู้ใช้งานจะใช้งานอยู่ในแพ็กเกจใดก็ตาม...

Continue reading
Quiz by Google forms

How to สร้าง Quiz ง่าย ๆ ด้วย Google Forms พร้อมการตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนและเฉลยข้อถูก

Google Forms หนึ่งในแอปพลิเคชันยอดฮิตจาก Google Workspace ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยใช้กันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบฟอร์มลงทะเบียน ก็ต่างถูกสร้างด้วย Google Forms กันทั้งนั้น แต่น่าเสียดายที่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว Google Forms นั้นยังสามารถสร้าง Quiz ได้อีกด้วย ซึ่งคุณสามารถตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนทันทีหรือภายหลังก็ได้ และในส่วนของขั้นตอนการสร้างนั้นก็ถือได้ว่าง่ายมาก จะคล้าย ๆ กับการสร้างฟอร์มแบบปกติเลย แต่จะมีการเพิ่มในส่วนของคะแนนของแต่ละข้อและมีการตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนนั่นเอง  สร้าง Quiz ด้วย Google Forms ต้องทำอย่างไรบ้าง? ไปดูกันเลย! 1. เปิด Google Forms แล้วไปที่ Template เลือก Blank Quiz ในหมวด Education 2. ใส่รายละเอียดและเลือกประเภทคำตอบเหมือนการสร้าง Forms แบบปกติ3. เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ไปที่ Answer Key ที่ด้านล่างคำตอบ เลือกคำตอบที่ถูกต้องแล้วใส่คะแนนข้อที่ถูก จากนั้นกดตกลง 4. กดเปิด Required ถ้าไม่ต้องการให้ผู้ทำแบบทดสอบข้ามคำถามนั้น 5. หากต้องการให้คำถามถัดไปอ้างอิงจากคำตอบก่อนหน้า ให้ไปที่ ‘จุดสามจุด’ ตรงมุมล่างขวาของคำถามนั้นแล้วเลือก Go to section based on answer 6. เมื่อกำหนดค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม + เพื่อสร้างคำถามใหม่ได้เลย การตั้งค่าการเปิดเผยคะแนนและเฉลยข้อที่ถูกใน Google Forms สามารถเลือกได้ 2 แบบ ทั้งแบบทันทีที่ทำแบบทดสอบเสร็จและแบบส่งคะแนนภายหลัง 1. เข้า Google Forms เปิด Quiz ที่คุณได้สร้างไว้ เลือก Settings2. ไปที่ Release grades เลือกด้านบนหากคุณต้องการให้เปิดเผยคะแนนทันทีหลังทำแบบทดสอบเสร็จ เลือกด้านล่างหากคุณไม่ต้องการเปิดเผย...

Continue reading
AI ใน Google Workspace

ทำความรู้จัก AI เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Google Workspace ให้ประสบความสำเร็จในยุค Hybrid Work

นับว่าเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่หลาย ๆ หน่วยงานได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ล้วนแต่ผันเปลี่ยนไปในทุก ๆ วัน อย่างเช่นในปัจจุบันเริ่มต้นจาก Work From Home สู่ Hybrid Work ที่ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google Workspace เช่น Gmail, Chat, และ Meet มีผู้ใช้จำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นทีมพัฒนา Google Workspace จึงได้ตั้งใจออกแบบนวัตกรรมเทคโนโลยี AI มาช่วยขับเคลื่อนการใช้งาน Google Workspace ให้มีประโยชน์และตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่ง AI ตัวนี้จะสามารถช่วยให้คุณโฟกัสกับงานและสิ่งสำคัญได้ดียิ่งขึ้น ทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัยมากขึ้น และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีมได้ดีกว่าเดิม มาดูรายละเอียดกันเลยว่า AI ใน Google Workspace สามารถช่วยอะไรได้บ้าง? AI ช่วยสรุปสาระสำคัญได้ เมื่อไม่นานมานี้ทีม Google Workspace ได้ปล่อยฟังก์ชันสรุปเอกสารใน Google Docs ซึ่งเป็นสิ่งจุดประกายให้เห็นว่าฟังก์ชันนี้ก็น่าจะสามารถทำงานในแอป Google Chat หรือ Space ได้เหมือนกัน โดยใน Chat นั้น AI จะทำหน้าที่ช่วยสรุปบทสนทนาว่ามีจุดไหนที่สำคัญบ้างในกรณีที่คุณพลาดการสนทนาครั้งนั้นไป ช่วยให้คุณไม่ต้องกลับไปย้อนอ่านข้อความใน Chatใหม่ทั้งหมด ประหยัดเวลามาก ๆ  ยิ่งไปกว่านั้นใน Google Meet คุณยังสามารถถอดเสียงสนทนาออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลไปหากไม่ได้เข้าร่วมประชุมเพราะ AI จะช่วยให้คุณสามารถอ้างอิงการสนทนาได้ในภายหลังทำให้คุณไม่พลาดสาระสำคัญใด ๆ ในที่ประชุมไปแน่นอน หรือหากคุณเข้าร่วมประชุมอยู่แล้ว คุณก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้มาเป็นตัวอ้างอิงในการจดสรุปประชุมได้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่ารายละเอียดครบไม่มีพลาด ซึ่งฟังก์ชันนี้จะเปิดตัวประมาณไตรมาสที่ 4 ปี 2565  AI ช่วยเพิ่มประสบการณ์การประชุมให้ดียิ่งขึ้น “แสงน้อย กล้องไม่ชัด หรือแม้กระทั่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่อาจส่งผลให้คุณภาพกล้องลดลง” ปัญหาเหล่านี้กำลังจะหมดไป เพราะทีม Google Workspace ได้นำ Machine leaning มาช่วยปรับคุณภาพของวิดีโอ เพิ่มแสง...

Continue reading