Airbus x Google Workspace & Cloud

4 เหตุผลที่ Airbus เลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud

Chief information officer (CIO) ของ Airbus กล่าวว่า  “ ‘Any device, anytime, anywhere’ คือวิสัยทัศน์ใหม่ของ Airbus ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการซัพพอร์ตของ Google Workspace และ Google Cloud ที่ช่วยเปลี่ยนรูปแบบการรักษาความปลอดภัย การจัดการข้อมูล และการทำงานร่วมกันขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ทำไม Airbus ถึงเลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud? 1. ระบบมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้มั่นใจว่า Google Workspace และ Google Cloud นั้นมีความปลอดภัยมากพอตามที่ Airbus ต้องการ Airbus จึงได้มีการนำโมเดล Zero-trust security มาประยุกต์ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลและควบคุมความปลอดภัย ไม่ว่าพนักงานจะทำงานอยู่ที่ใด เมื่อไรก็ตามที่มีการ Log in เข้าใช้งาน ระบบจะทำการตรวจสอบก่อนเสมอ ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะถูกจำกัดให้เข้าใช้งานเพียงครั้งเดียวหรือเรียกว่า Single Login เท่านั้น รวมถึงระบบจะมีการแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการเข้าสู่ระบบในครั้งนั้นด้วย และสำหรับด้านฝั่ง Admin เพื่อให้การปกป้องข้อมูลมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่า Google Workspace เพื่อกำหนดกฎการเข้าถึงข้อมูลและการแชร์ไฟล์สำหรับภายในและภายนอกองค์กรได้ ไม่เพียงเท่านั้น การเข้ารหัสยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการรักษาข้อมูลให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย โดย Google Workspace จะใช้การเข้ารหัสครั้งล่าสุดเป็นมาตรฐานในการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด อีกทั้ง Airbus ยังมีการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ (Client-side encryption) ไว้สำหรับโปรเจกต์ที่มีความละเอียดอ่อนของข้อมูลขั้นสูง เพราะการเข้ารหัสแบบดังกล่าวจะทำให้องค์กรมีสิทธิ์ควบคุมข้อมูลในฐานะเจ้าของคีย์การเข้ารหัสแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง 2. สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก Airbus มีคลังข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าในองค์กรมีการปฏิบัติตามนโยบายการควบคุมข้อมูลอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) แล้วหรือไม่ (สำหรับประเทศไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)) ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นการจัดการข้อมูลอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ...

Continue reading

ข่าวดี! สำหรับแอดมิน Zendesk สร้างแหล่งข้อมูลการตั้งค่าบัญชีอย่างง่ายเพียงไม่กี่คลิก

Zendesk ได้ทำการอัปเดตแหล่งข้อมูลใหม่สำหรับการตั้งค่าบัญชีของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น เพียงคลิกไอคอนความช่วยเหลือ (?) ที่มุมขวาของหน้าเพจ Admin center เพื่อเปิดแถบทางด้านขวาของหน้าจอ แถบเหล่านี้จะประกอบไปด้วย คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) 1. คลิปวิดีโอสาธิตการตั้งค่าอย่างง่าย (สามารถเลือกซับภาษาไทยได้ด้วยนะ) 2. คำแนะนำและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด 3. ลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนรู้หรือบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (Knowledge Base) 4. หลักสูตรการฝึกอบรม (Training) และการค้นหาศูนย์ช่วยเหลือ (Help center) ตอนนี้เนื้อหาการตั้งค่าอาจจะมีเพียงบางส่วน แต่ในอนาคต Zendesk จะอัปเดตข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ Zendesk ไม่เพียงแต่ที่จะคำนึงถึง Customer Experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึง Agent Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานเองอีกด้วย เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะนำพามาซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีตามไปด้วย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner ซอฟต์แวร์เพื่อการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Omnichannel สำหรับทุกธุรกิจ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – Your CX Transformation Partner ผู้ให้บริการ Zendesk ระดับ Premier Partner ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ 02 030 0066 แพ็กเกจและราคา...

รู้หรือไม่? Google Chat ก็ Pin แชตได้นะ

Google Chat แอปพลิเคชันสำหรับการสื่อสารของ Google Workspace ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก ซึ่งวันนี้ Demeter ICT จะพาคุณไปเรียนรู้วิธีการ Pin แชตซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากเพราะหลายคนประสบปัญหาแชตตกหล่นทำให้พลาดการสนทนาไป แต่หากคุณ Pin แชตเป็นแล้วรับรองว่าแชตไหนเข้ามาคุณก็จะสามารถเห็นได้ในทันที  ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปเริ่มกันเลย! วิธีการ Pin แชตใน Google Chat สำหรับ Desktop เปิด Google Chat เลือกแชตของคนที่คุณต้องการจะ Pin (ปักหมุด) กดไปที่ จุดสามจุด (…) แล้วเลือก Pin ได้เลย สำหรับ Mobile Phone เปิดแอปพลิเคชัน Google Chat หรือหากไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ที่ App store หรือ Play store เลือกแชตของคนที่คุณต้องการจะ Pin (ปักหมุด) แล้วกดค้าง เลือก Pin  นอกจากนี้ Google Chat ยังมีฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Emoji GIF อัปโหลดไฟล์ สร้างห้องประชุมด่วน หรือแม้กระทั่งการจัด Format ที่เปรียบเสมือนการยก Google Docs มาไว้ใน Google Chat ดูฟังก์ชันอื่น ๆ หรือทำความรู้จัก Google Chat เพิ่มเติม คลิก ติดตามข่าวสารดี ๆ และทริคเด็ด ๆ เกี่ยวกับ Google Workspace ได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือ Line: @dmit (มี @)  Demeter...

Continue reading

ฟีเจอร์ยอดฮิต! ของ Zendesk ระหว่าง Automations VS Triggers ต่างกันอย่างไร?

วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ลูกค้า Zendesk หลาย ๆ ท่านสงสัยเกี่ยวกับสองฟีเจอร์ยอดนิยมของ Zendesk ที่ช่วยในเรื่องของการบริการลูกค้าอย่างฟีเจอร์ Automations และฟีเจอร์ Triggers ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? เริ่มจาก Automations จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของเวลา (Time Based) Triggers จะทำงานเมื่อเข้า เงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action Based) 1. Automations คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว Automations ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณระบุข้อกำหนดและกระบวนการทำงานด้านการบริการลูกค้าขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่เฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจ (CSAT) ไปให้ลูกค้าหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้วและ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved ไปแล้ว 24 ช.ม. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ให้เข้าไปหน้า Zendesk ของคุณและไปที่ Support (Agent Workspace) คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้างเพื่อไปยัง Admin Center > คลิกที่หัวข้อ Objects & rules ที่แถบด้านซ้าย > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อการตั้งค่า 2. Triggers คือ ระบบที่ใช้เงื่อนไขของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถตั้งค่าให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ หรือก็คือให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว Triggers ค่อยทำงาน ยกตัวอย่างสำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Triggers แบบง่าย...

Continue reading
ซื้อ Google Workspace กับ Partners แตกต่างจากการซื้อโดยตรงอย่างไร

ซื้อ Google Workspace กับ Partners แตกต่างจากการซื้อโดยตรงอย่างไร?

Google Workspace ซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานที่ ณ ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือที่ใคร ๆ ก็ต่างให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากเจ้าตัว Google Workspace นี้ถูกสร้างและพัฒนาให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลที่จะเน้นการทำงานแบบบนคลาวน์ คือการใช้เทคโนโลยีมาสร้างสื่อออนไลน์เพื่อช่วยในการทำงานให้ได้มากที่สุด ยืดหยุ่น ใช้งานง่าย มีหลากหลายแอปพลิเคชันให้เลือกใช้และใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา และแน่นอนว่าหากท่านกำลังบทความนี้อยู่ นั่นก็แสดงว่าท่านคือหนึ่งคนที่กำลังสนใจซอฟต์แวร์ตัวนี้อยู่ใช่หรือเปล่า?  ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงขอถือโอกาสพาทุกท่านมาทำความรู้จัก Google Workspace ว่าการซื้อผ่าน Partners แตกต่างจากซื้อโดยตรงอย่างไรทั้งในแง่ของราคา การออกใบกำกับภาษี การให้บริการ และช่องทางการติดต่อ อีกทั้งเราจะพาทุกท่านมาดูด้วยว่าแต่ละแอปพลิเคชันสามารถทำอะไรได้บ้าง มีฟังก์ชันเจ๋ง ๆ เด็ด ๆ อะไรซ่อนอยู่ มาดูกันเลย! 1. ความแตกต่างในแง่ของราคา หากพูดถึงความต่างในเรื่องราคาของแต่ละแพ็กเกจ Demeter ICT หนึ่งใน Google Cloud Premier Partner ขออนุญาตแจ้งว่าราคาที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์นั้นเป็นราคาอย่างเป็นทางการจากทาง Google Workspace ดังนั้นไม่ว่าท่านจะซื้อโดยตรงหรือผ่าน Partners ก็จะมีราคาเท่ากัน แต่โปรโมชันที่ท่านได้รับนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ Partners และแพ็กเกจที่ท่านเลือกใช้  ซึ่งหากท่านต้องการได้รับสิทธิ์โปรโมชัน ท่านจำเป็นต้องใช้บริการ Google Workspace ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถดูแพ็กเกจได้ที่เว็บไซต์ www.dmit.co.th หรือติดต่อสอบถามราคาเพื่อให้ทีมฝ่ายขายเช็คโปรโมชันกับทาง Google Workspace มาได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือโทร 02-030-0066 2. ซื้อ Google Workspace ผ่าน Partners ท่านสามารถขอใบกำกับภาษีได้ นี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญมาก ๆ ที่ลูกค้าหรือบริษัทในประเทศไทยตัดสินใจใช้บริการกับทาง Demeter ICT เพราะหากท่านซื้อ Google Workspace ผ่านทางทีม Google โดยตรงท่านจะไม่สามารถขอใบกำกับภาษีและเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้  ดังนั้นการเลือกใช้บริการจาก Partners อย่าง Demeter ICT จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก หากท่านใดสนใจใช้บริการกับเรา ก็สามารถติดต่อได้ตามช่องทางที่ให้ไว้ในข้อ 1...

Continue reading

ถอดบทเรียนแก้ปัญหาและสร้างการบริการให้ชนะใจลูกค้า จากงานสัมมนา Quickstart to Customer Service Success

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมาทาง Demeter ICT ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘Quickstart to Customer Service Success: สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านการบริการ เจาะปัญหาพาธุรกิจพิชิตใจลูกค้าด้วย Zendesk’ เนื้อหาภายในงานเป็นอย่างไรนั้น ในบทความนี้เราก็ได้นำมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย Session 01: A Guide To Customer Service Success เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จะบริการลูกค้าให้ดีก็ต้องปรับตัวตาม นับตั้งแต่ COVID-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปหลายอย่าง ดังที่เรามักจะได้เห็นแนวคิดเรื่องเทรนด์ผู้บริโภคหรือการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ปรากฏตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่ตรงกันไม่ว่าจะเป็นรายงานไหนคือลูกค้ามีความคาดหวังต่อแบรนด์สูงขึ้น และเรื่องของการบริการลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกันในการที่ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ ลูกค้าหันมาติดต่อกับองค์กรธุรกิจผ่านช่องทางที่ลูกค้าใช้ในการคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว นั่นก็คือช่องทาง Social Messaging เช่น Whatsapp, LINE, Facebook Messenger, Twitter ฯลฯ เป็นเหตุทำให้ธุรกิจเพิ่มช่องทาง Social Messaging มากขึ้น เพื่อรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้า เมื่อลูกค้าออนไลน์มากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะติดต่อกับภาคธุรกิจนอกเวลาทำงาน โดยผ่านช่องทางออนไลน์หรือ Social Messaging เพราะลูกค้าคาดหวังข้อมูลหรือคำตอบในเวลาที่คิดออก แต่พบว่าหลายธุรกิจไม่ได้รองรับวิธีการในการรับมือลูกค้าหลังเวลาเลิกงาน ซึ่งหลายธุรกิจแก้ปัญหาด้วยการนำเอาเครื่องมือที่สามารถให้ลูกค้า Self Service ได้ ไม่ว่าจะเป็น Help Center หรือแชทบอทเข้ามาให้บริการมากขึ้น ทว่าจากแนวโน้มนี้เององค์กรจึงประสบปัญหา (Pain Points) ด้านการบริการลูกค้าหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าเข้ามาหลายช่องทาง แม้องค์กรจะเพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงลูกค้า แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการลูกค้าแบบเฉพาะบุคคลหรือแบบ Personalized ได้ เนื่องจากไม่มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าหรือต้องทำงานหลายระบบ ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเอต้องการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของแบรนด์แห่งหนึ่ง จึงได้ทักแชทไปในไลน์ เมื่อเล่าปัญหาของตนจบกลับพบว่าเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตให้บริการ ต้องส่งอีเมลไปแจ้งฝ่ายซัพพอร์ตทางอีเมล นายเอจึงต้อง ‘เล่าปัญหาซ้ำอีกรอบ’ ทางอีเมล รอจนกระทั่งมีการตอบกลับถึงจะได้ในสิ่งที่ต้องการ  Pain Points ของนายเอที่เป็นลูกค้า คือการที่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ และต้องรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับนาน ซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ของลูกค้ายุคปัจจุบันที่กว่า 61% ของลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นทันทีหากได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว และสิ่งที่ลูกค้ามองว่าเป็นประสบการณ์แย่มากที่สุดก็คือการเล่าปัญหาซ้ำ...

Continue reading

Google ประกาศเลิกให้บริการ G Suite legacy (free edition) เตรียมอัปเกรดเป็น Google Workspace ได้ง่ายๆที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที

Google Apps Standard Legacy หรือ G Suite Legacy Free Edition คืออะไร? Google Apps Standard Legacy หรือ G Suite Legacy Free Edition คือ ชุดเครื่องมือหรือชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานออนไลน์จาก Google Cloud ซึ่งแรกเริ่มรู้จักกันในชื่อ Google Apps และกลายเป็น G Suite รุ่นใช้งานฟรี หรือเวอร์ชันฟรี (free edition) ที่หลาย ๆ ท่านได้ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั่นเอง Google ประกาศยกเลิกการให้บริการ Google Apps Standard (Legacy) หรือ G Suite Legacy (free edition) เตรียมอัปเกรดเป็น Google Workspace เท่านั้น! หากท่านไม่ได้อัปเกรดระบบอีเมลให้เสร็จสมบูรณ์ อีเมลเดิมของท่านจะถูกระงับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2022 เป็นต้นไป การประกาศเลิกให้บริการดังกล่าวส่งผลให้ผู้ที่ใช้งานบัญชี Google Apps Standard Legacy หรือ G Suite Legacy free edition อยู่และไม่ทำการอัปเกรดเป็น Google Workspace หรือ Backup ข้อมูลของท่านภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2022 ท่านจะไม่สามารถใช้งานต่อได้และข้อมูลของท่านจะหายไปอย่างถาวร โดย Google Workspace เป็นการรีแบรนด์ครั้งใหญ่มาอีกครั้งจาก G Suite และให้บริการชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกันบนคลาวด์ เช่น Google Docs, Sheets, Slides, Forms, Drive และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งถูกพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่า...

Continue reading
งานสัมมนา Empowering The Digital Workplace: ทรานส์ฟอร์มองค์กร ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วย Google Workspace

Empowering The Digital Workplace: ทรานส์ฟอร์มองค์กร ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วย Google Workspace

วิกฤตโควิด-19 สร้างผลกระทบหนักให้กับผู้คนบนโลก และค่อนข้างแน่ชัดว่า ไวรัสร้ายนี้จะยังอยู่กับโลกไปอีกนาน จากการกลายพันธุ์หลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นนอกจากธุรกิจจำเป็นต้อง “เรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19” การมองวิกฤตเป็น “โอกาส” ยังเป็นอีกมุมมองบวกที่สำคัญ เพื่อการสร้างโอกาสนั้น “ทรานส์ฟอร์เมชัน” (Transformation) หรือการปรับรูปแบบการทำธุรกิจโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรจึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ธุรกิจ “ควรทำ” แต่กลายเป็นเรื่องที่ธุรกิจ “ต้องทำ” ไปเสียแล้ว เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า ให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ชัดว่าเทรนด์เทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Work from Home เรื่อยมาจนถึง Hybrid Work หรือเทรนด์การทำงานยุค New Normal ไปจนถึง Next Normal เป็นต้น ฉะนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะกับรูปแบบการทำงานขององค์กรหรือธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทรานส์ฟอร์มเป็นอย่างมาก โดยในฐานะผู้ประกอบการอย่าง ดร.วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ (CEO & Founder, Demeter ICT) ได้ให้มุมมองต่อเทรนด์การทำงานไว้ว่า “โควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ “การปรับ” หรือ “ทรานส์ฟอร์ม” องค์กรให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน ในแง่การนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน การปรับโครงสร้างธุรกิจ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การปรับรูปแบบการทำงาน รวมไปถึงการปรับวัฒนธรรมการทำงานรับมาตรฐานใหม่ของโลกเร็วขึ้นหลายเท่าตัว ถึงแม้ว่าจะมีความยากในการดำเนินการในช่วงแรก แต่ก็เป็นสิ่งที่องค์กรหรือภาคธุรกิจต้องปรับตัว และเชื่อว่าถ้าบริษัทนำเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่เหมาะสมมาใช้งานให้ถูกที่ ถูกเวลา เพิ่มศักยภาพใหม่ ๆ พร้อมกับการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น Hybrid Working ที่ผสมผสานรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เมื่อมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานดังกล่าวแล้ว พนักงานในองค์กรก็จะสามารถปรับตัวกันได้อย่างดีในที่สุด” มาร่วมทรานส์ฟอร์มธุรกิจของคุณไปพร้อมกับเราตั้งแต่วันนี้ กับงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Empowering The Digital Workplace: ทรานส์ฟอร์มองค์กร ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วย Google Workspace” เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนในการทำงานขององค์กร โดยจำแนกออกเป็น การสร้าง Knowledge Centralization เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือวิธีการทำงานตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ การส่งเสริมการทำงานแบบ Hybrid Work ด้วยแอปพลิเคชันจาก Google Workspace  การลดขั้นตอนการทำงานด้วย AI Automation เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการทำงานของ User ให้ดีขึ้น ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง ประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการเข้าร่วมงาน...

Continue reading
Job tracking by Building block in Googles-

Project? งานสำคัญ? ติดตาม Status ได้ง่าย ๆ ด้วย Google Docs ฟังก์ชันไม่ลับแต่หลายคนไม่รู้!

คุณเหนื่อยไหมที่ต้องคอยตามงานอยู่บ่อย ๆ ? อยากรู้เมื่อไรก็ต้องแช็ตหรือส่งอีเมลไป ต้องคอยถาม คอยตาม คอยเช็ก เรื่องพวกนี้หลายคนอาจจะมองว่าไม่ได้มีผลอะไรในการทำงานมากนัก แต่จริง ๆ แล้วการที่ต้องคอยตามความคืบหน้าของแต่ละโปรเจกต์หรือของแต่ละคนนั้นทำให้คุณต้องเสียเวลาในการทำงานอื่นไปด้วย มิหนำซ้ำยังทำให้คุณต้องทำงานซ้ำไปซ้ำมา คุยแล้วคุยอีก วนไปอยู่แบบนี้เรื่อย ๆ นั่นเอง แต่รู้หรือไม่ว่า Google Docs ก็มีฟังก์ชันที่ช่วยให้คุณสามารถ Track งานได้ง่าย ๆ ด้วยฟังก์ชัน Building blocks ซึ่งเป็นตาราง Track งานแบบอัตโนมัติโดยที่คุณไม่ต้องสร้างเอง เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการดู Status ของงาน ก็เพียงแค่เข้ามาในไฟล์นี้ได้เลย ไปดูกันว่า Building blocks จะช่วยคุณเช็ก Status ได้อย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นเลยถ้าคุณยังไม่รู้ว่าฟังก์ชันนี้อยู่ตรงไหนให้กดไปที่ Insert (แทรก) เลือก Building Blocks จากนั้นจะมีเมนูให้เลือกดังนี้ Meeting note, Email draft, Product roadmap, Review tracker, Project assets, และ Launch content tracker ซึ่งวันนี้เราจะโฟกัสกันที่ 4 ตัวหลังเพราะเป็นฟังก์ชันสำหรับการ Track โปรเจกต์โดยตรง Product roadmap Product roadmap จะมีหน้าตาแบบที่คุณเห็นด้านบน เริ่มต้นจาก Project, Status, Related files, และ Notes ซึ่งตารางนี้ Google Docs จะสร้างให้คุณโดยอัตโนมัติ โดยคุณสามารถเลือกสถานะของโปรเจกต์ แนบไฟล์งานได้ หรือแม้กระทั่งหากคุณต้องการจะเพิ่มผู้ที่รับผิดชอบโปรเจกต์นั้น ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เหมาะสำหรับการเช็ก Status ตามความคืบหน้าโปรเจกต์แบบทั่วไป Review tracker ต่อมาที่ Review tracker หลายคนอาจจะสับสนอยู่เล็กน้อยว่ามันต่างจาก Product roadmap อย่างไร? ความแตกต่างก็คือ...

Continue reading