ไฟล์หมดอายุเมื่อไหร่ หมดสิทธิ์เข้าถึงทันที!: วิธีตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์ใน Google Drive 

Google Drive ได้อัปเดต API ในการตั้งค่ากำหนดเวลาการเข้าถึงไฟล์ โดยก่อนหน้านี้มีการอัปเดตการแชร์ไฟล์ใน My Drive ล่าสุด! ได้มีการอัปเดต API นี้ ใน Shared Drives แล้ว การทำโปรเจกต์ในบางครั้งอาจไม่ได้เป็นการประสานงานหรือทำงานร่วมกันกับบุคคลในองค์กรเพียงเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีบุคคลที่สามหรือบุคคลนอกองค์กรร่วมโปรเจกต์ครั้งนั้นด้วย หากโปรเจกต์นั้นมีความจำเป็นที่ต้องแชร์ไฟล์ข้อมูลไปยังผู้ร่วมงานภายนอกองค์กรด้วยแล้ว คุณอาจจะอยากจำกัดเวลาในการเข้าถึงไฟล์นั้นเมื่อโปรเจกต์สิ้นสุดลง ซึ่งแน่นอนว่าคุณสามารถตั้งค่าระยะเวลาการเข้าถึงไฟล์ได้ ด้วย Google Drive API : Setting an Expiration Date วิธีตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์/โฟลเดอร์ เข้าไปที่ Google Drive เลือกไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ต้องการแชร์ แล้วคลิก Share ใส่อีเมลผู้รับ แล้วเลือกบทบาทของสิทธิ์การเข้าถึง  คลิกที่ลูกศรลง เลือกวันที่และเวลาหมดอายุของไฟล์นั้น หากต้องการนำวันที่หมดอายุออก ให้คลิกนำวันที่หมดอายุออก แล้วกด Done กด Send เพื่อส่ง Tips การตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์: คุณสามารถตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์ให้กับบทบาทสิทธิ์ที่เป็น viewers, commenters, editors, และ published viewers (หากไฟล์นั้นรองรับบทบาทผู้มีสิทธิ์อ่านเอกสารที่เผยแพร่) การตั้งค่าวันหมดอายุโฟลเดอร์: คุณสามารถตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์ให้กับบทบาทสิทธิ์ที่เป็น viewers and commenters เท่านั้น  ความสะดวกของฟีเจอร์นี้ก็คือเมื่อจบโปรเจกต์แล้วไฟล์นั้นจะถูกตัดสิทธิ์การเข้าถึงอัตโนมัติหลังจากการตั้งค่า โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องตามลบการเข้าไฟล์ในภายหลังเหมือนก่อน ฉะนั้นก่อนแชร์ไฟล์ออกนอกองค์กรทุกครั้งอย่าลืมจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงและตั้งค่าวันหมดอายุไฟล์​ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาความปลอดภัยและป้องกันผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้ ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้กับแพ็กเกจ Google Business Standard, Business Plus, Enterprise Essentials, Enterprise Essentials Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, Education Fundamentals, Education Standard, the Teaching and Learning Upgrade and Education Plus ...

Martech โซลูชันที่ตอบโจทย์นักการตลาดยุคดิจิทัล

Martech หรือ Marketing Technology เป็นหนึ่งในคีย์เวิร์ดที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักการตลาดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ถูกเชื่อมต่อเข้ากับโลกของดิจิทัลด้วยตัวเร่งที่มีชื่อว่า ‘โควิด-19’ ดังนั้นการที่นักการตลาดจะทำการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปได้นั้น จำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยควบคู่กันไปจึงได้เกิดคีย์เวิร์ด Martech (Marketing Technology) ขึ้น MARTECH (Marketing Technology) คืออะไร? Martech หรือ Marketing Technology คือ คำที่หมายถึงการผสมผสานระหว่างการตลาดและเทคโนโลยี เป็นตัวแทนของเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีที่นักการตลาดใช้ในการวางแผน ดำเนินการ และวิเคราะห์การตลาดของตัวเอง หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วพวกคุณก็อาจจะเคยใช้ Martech มาก่อน เพราะหากคุณเคยใช้ Facebook Ads, Google Ads, Line OA และอื่น ๆ แสดงว่าคุณเคยใช้ Martech กันมาบ้างแล้ว เพราะโซลูชันทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็จัดเป็น Martech เช่นกัน โดยในตลาดของ Martech ได้มีการแบ่ง Martech ออกเป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่นักการตลาดจะนำ Martech ไปใช้ ดังนี้ Advertising & Promotion ใช้ในการทำโฆษณาเพื่อส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์ Content & Experience ใช้ในการสร้างคอนเทนต์และประสบการณ์ของลูกค้าบนโลกออนไลน์ Social & Relationship ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าบนโลกออนไลน์ Commerce & Sales ใช้ในการสร้างธุรกิจ eCommerce และการเพิ่มยอดขาย Data ใช้ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า Management ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการกระบวนการทำงาน MARTECH ช่วยตอบโจทย์นักการตลาดยุคดิจิทัลอย่างไร? 1. ตัวช่วยในการรับมือพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้บริโภคที่เชื่อมเข้าสู่โลกดิจิทัลนั้นเพิ่มขึ้นมหาศาล Martech ช่วยให้ทีมการตลาดและธุรกิจสามารถปรับตัวและเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการโฆษณาสินค้าหรือโปรโมชันบนช่องทางโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน การเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า หรือแม้กระทั่งเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ 2....

Continue reading

“Google Workspace Transform the Way We Work” การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานครั้งสำคัญของ Forth Corporation

บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปี ด้วยพันธกิจการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทและบริษัทในเครือมีพนักงานทั้งหมดรวมกันมากกว่า 3,400 คน สามารถแบ่งกลุ่มการดำเนินธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้   กลุ่มธุรกิจอีเอ็มเอส (B2B)ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Print Circuit Board Assembly: PCBA) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Device) ทั้งในรูปแบบของการรับเหมาผลิต (Turnkey) และรับจ้างประกอบ (Consign Part) ให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ โซลูชั่น (B2G)ดำเนินธุรกิจด้านการจัดซื้อ จัดหา พัฒนาและวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจรให้กับโครงการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดจำหน่ายเครื่องบินส่วนบุคคล และบริการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MROs) สำหรับเครื่องบินพาณิชย์และเครื่องบินส่วนบุคคล กลุ่มธุรกิจธุรกิจสมาร์ท เซอร์วิส (B2C)ดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการระบบเติมเงิน รับชำระเงิน และธุรกรรมทางการเงินครบวงจรผ่านตู้อัตโนมัติภายใต้แบรนด์ “บุญเติม” ตลอดจนให้บริการที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ “GINKA” อีกทั้งให้บริการตู้จำหน่ายกาแฟสดและเครื่องดื่มแบบชงสดอัตโนมัติภายใต้แบรนด์ “เต่าบิน โรโบติกบาริสต้า” ให้กับกลุ่มลูกค้ารายย่อยทั่วไป Experience with Google Workspace เนื่องจากธุรกิจในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเร่งปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ทั้งการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีการทำงาน และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม บริษัทฯ จึงมองหาโซลูชันใหม่อย่าง Google Workspace เพื่อมาช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้  Any device, anywhere, anytime การสื่อสารกันได้แบบ Real time และการเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว ข้อมูลถูกต้องและตรงกันทุกฝ่าย การใช้เทคโนโลยีของ Google Workspace เพื่อลดกระบวนการทำงานซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น การปกป้องและควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร โดยเครื่องมือที่นำมาใช้ในการทำงานร่วมกันภายในบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน Communication...

Continue reading

สร้างแอปด้วย AppSheet ทำไมถึงง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่นกันนะ ?

เรื่องของเทคโนโลยีหรือเรื่องของแอปพลิเคชัน ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก ยิ่ง ณ ตอนนี้โลกของเราได้กลายเป็นโลกแห่งดิจิทัลไปแล้ว ก็ยิ่งทำให้เทคโนโลยีมีความซับซ้อนขึ้นไปอีกเท่าตัว จะให้คนธรรมดามาสร้าง APP ก็เหมือนจะไม่มีหวังและเกินกำลังไปเสียเปล่า แต่ทว่าภายใต้ความซับซ้อนนี้ Google ก็ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ที่ชื่อว่า AppSheet ที่เปิดโอกาสให้คนธรรมดาแบบเราได้สร้างสรรค์แอปพลิเคชันของตัวเอง เรียกได้ว่าสวนทางกับแนวคิดความซับซ้อนของเทคโนโลยีอย่างมาก เพราะจากเดิมที่ต้องรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม กลับกลายเป็นว่าตอนนี้ ใครก็สร้างได้ ไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทางอีกต่อไป ทำไมการสร้าง APP จาก AppSheet ถึงง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่น ? ✅ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ ✅ ไม่ต้องมีทักษะการเขียนโค้ด  ✅ ไม่ต้องซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปหรือจ้าง Outsource ไม่ต้องมีความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องมีทักษะการเขียนโค้ด ไม่ต้องซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปหรือจ้าง Outsource 1. ไม่ต้องมีความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นภาษา JavaScript, Python, PHP หรือภาษาอื่น ๆ คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องรู้เรื่องภาษาเหล่านี้แม้แต่นิดเดียว เพราะการทำงานของ AppSheet นั้นเป็นการนำข้อมูลที่คุณมีอยู่ มาสร้างเป็นแอปพลิเคชันโดยการนำข้อมูลมา Match กัน หากจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ให้นึกภาพว่าคุณกำลังสร้าง Google Forms เช่น คุณต้องการสร้างฟอร์มการส่งงานสำหรับฝ่าย Marketing คุณต้องการข้อมูลอะไรบ้าง ? เช่น วันที่ส่งงาน  ชื่องาน  ชื่อผู้ส่ง ไฟล์แนบ  หรือรายละเอียดอื่น ๆ ให้คุณนำข้อมูลเหล่านี้มาใส่ไว้ใน Google Sheets เพื่อกำหนดเป็นหัวข้อ ตัวอย่างเช่น เพียงแค่คุณมีหัวข้อเหล่านี้ คุณก็สามารถสร้างแอปได้แล้ว ดูขั้นตอนการสร้างแอปได้ที่นี่ คลิก 2. ไม่ต้องมีทักษะการเขียนโค้ด ทักษะการเขียนโค้ดเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กับภาษาคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว มีทั้งสถาบันเปิดสอนและคอร์สเรียนออนไลน์ที่สอนเรื่องนี้มากมาย แต่สำหรับ AppSheet เพียงแค่คุณรู้วิธีการทำงานบนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น Google Workspace, Microsoft Office 365 หรืออื่น ๆ คุณก็สามารถสร้างแอปเองได้เลย ไม่ต้องไปเรียนเสริมใด ๆ ทั้งนั้น 3. ไม่ต้องซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปหรือจ้าง...

Continue reading

มีแอปพลิเคชันได้ง่ายๆใน 7 ขั้นตอนกับ AppSheet

มีแอปพลิเคชันได้ง่ายๆใน 7 ขั้นตอนกับ AppSheet สร้างแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดสักตัว? บทความนี้เราจะพาคุณมาดูขั้นตอนการสร้างแอปพลิเคชันด้วยแพลตฟอร์ม AppSheet ว่าหน้าตาและรูปแบบของแอปมีอะไรให้เราได้เล่นบ้าง การทำงานของแอปนั้นเป็นอย่างไร? แล้วที่บอกว่าไม่ต้องเขียนโค้ดเลยจะสามารถสร้างแอปขึ้นมาได้จริงๆหรือ? เพียงแค่จบบทความ 7 ขั้นตอนการสร้างแอปกับ AppSheet นี้เท่านั้นที่จะตอบคำถามเหล่านี้ทั้งหมดได้ ไปดูกันเลย… Step 1: เตรียมข้อมูลให้พร้อม อันดับแรกเลย คุณต้องจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมว่าข้อมูลที่คุณต้องการใช้งานหรืออยากให้มีในแอปนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่ง AppSheet นั้นสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมมูลได้หลายแหล่งด้วยกัน เช่น Google Sheets, Excel, Cloud SQL เป็นต้น ข้อสำคัญคือคุณต้องจัดเรียงตำแหน่งข้อมูลนั้นให้เหมาะสมด้วย โดยข้อมูลนั้นต้องเริ่มปรากฎที่หัวคอลัมน์แถวแรกเท่านั้น เพราะถ้าข้อมูลเริ่มจากคอลัมน์และแถวอื่นจะไม่สามารถกดสร้างแอปได้ How to: 4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet Step 2: เชื่อมต่อข้อมูล เมื่อคุณจัดการข้อมูลที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเป็นแอปพลิเคชัน ยกตัวอย่างหากคุณสร้างฐานข้อมูลใน Sheets สามารถกดสร้างแอปได้ที่  Extension > AppSheet > Creat an app  หรือสามารถกดสร้างแอปได้ที่ หน้าเว็บ AppSheet  Step 3: เข้าสู่ขั้นตอนการสร้างแอป เมื่อคุณคลิกสร้างแอปแล้ว จะสังเกตว่ามีหน้าต่างต้อนรับสู่การสร้างแอปสีฟ้าปรากฎขึ้น นั่นหมายความว่าคุณได้เป็นนักพัฒนาแอปเต็มตัวแล้ว เมื่อคุณปิดหน้าต่างลง จะเห็นว่าที่ด้านขวามือจะเป็นการ preview หน้าตาของแอปคุณ แต่ละ page ที่ปรากฎบน preview นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งเบื้องต้น AI ของ AppSheet จะทำการแสดง view ขึ้นมาจากฐานข้อมูลที่คุณมี โดยที่คุณสามารถปรับแก้ไขหรือเพิ่มเติมทีหลังได้เช่นกัน ทีนี้มาทำความรู้จักกับแถบเมนูด้านซ้ายมือกันว่ามีอะไรที่น่าสนใจและใช้งานบ่อยๆบ้าง? Data: ข้อมูลและจัดการคุณสมบัติของคอลัมน์ต่างๆView: การแสดงหน้าเพจและตั้งค่ารูปแบบการจัดวางของหน้าเพจAction: กำหนด action หรือมุมมองของแต่ละ userBots: การสร้าง automation ของแอปพลิเคชัน Security: ตั้งค่าความปลอดภัยของแอปและกำหนดบทบาทหน้าที่ของ user Setting: ปรับแต่งข้อมูลสำหรับผู้ใช้แอปและตั้งค่าคุณสมบัติของแอปManage:...

Continue reading

Demeter ICT จับมือกับ วิศวฯ จุฬาฯ สร้างคนดิจิทัล ผ่านหลักสูตร CEDT ป้อนเข้าอุตสาหกรรมเทคฯของประเทศ

เมื่อวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ CEO และ Founder จากบริษัท Demeter ICT ได้ลงนามความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 4 บริษัทชั้นนำ ได้แก่ บริษัท Demeter ICT จำกัด, บริษัท Primo จำกัด, บริษัท Inteltion จำกัด และ บริษัท The Monk Studios จำกัด เพื่อผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรใหม่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering & Digital Technology: CEDT) ที่สามารถผลิตบัณฑิตจำนวนมากถึง 300 คนต่อรุ่น ป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยบริษัทจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของการฝึกงานในทุกช่วงชั้นปี การสอนและการอบรมโดยบริษัท และการร่วมพัฒนาโครงงาน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์จากปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม และได้รับ คำแนะนำจากภาคอุตสาหกรรมโดยตรง โดยบริษัททั้ง 4 เป็นผู้นำด้านธุรกิจด้านดิจิทัล ได้แก่  Demeter ICT เป็น Premier Partner ของ Google ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการและให้คำปรึกษาด้าน Business Transformation ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศบนระบบคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็น Google Workspace, Zendesk, Braze, WeChat, InGenious Chatbot และอื่น ๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ในการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรทุกประเภทและทุกขนาด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจและองค์กร ปัจจุบันบริษัทได้ให้บริการลูกค้าองค์กรทั้งในประเทศไทยและทวีปเอเชียแปซิฟิก (APAC) รวมกันมากกว่า 3,500 ราย Primo เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์และผู้ออกแบบ Loyalty Platform ให้แก่องค์กรขนาดใหญ่ ให้ความช่วยเหลือธุรกิจทำการตลาด Omnichannel Marketing ...

Continue reading

เผยผลลัพธ์การใช้งาน AppSheet จากองค์กรชั้นนำระดับโลก

จากตลาด Low-code สู่ No-code Platform AppSheet กลายมาเป็นเครื่องมือสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถทลายกำแพง Coding ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 100 %  ผลการวิเคราะห์จาก Forbes ได้กล่าวว่า จากนี้เป็นต้นไปแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะถูกพัฒนาโดย No-code/ Low-code Platform มากกว่า 65% ความต้องการเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพจะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสนับสนุนการทำงานแบบไร้รอยต่อ การสื่อสารแบบ Real-time และการนำข้อมูลไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ AppSheet จึงได้กลายมาเป็นผู้นำตลาดด้าน No-code/ Low-code Platform ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ โดยประเทศที่กำลังให้ความสนใจ AppSheet และมีการนำ AppSheet ไปใช้งานกับธุรกิจแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ซึ่ง ณ ตอนนี้ ในประเทศไทย AppSheet ก็กำลังเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ต้องการทำความรู้จัก AppSheet ศึกษาเพิ่มเติมได้เลย !   ผลลัพธ์การใช้งาน AppSheet จากองค์กรชั้นนำระดับโลก Globe TelecomAppSheet คือกุญแจแห่งความสำเร็จของ Globe Telecom เพราะ AppSheet นั้นสามารถขับเคลื่อนองค์กรสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ และสามารถสร้างวัฒนกรรมการทำงานร่วมกันแบบดิจิทัลได้ ซึ่งตัวอย่างผลลัพธ์การใช้งาน AppSheet ได้แก่ พนักงานในองค์กรสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้เองมากกว่า 200 แอป องค์กรสามารถลดระยะเวลาการประมวลผลจากการสร้างแอปแบบเดิมได้กว่า 79.8%  องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 6.7 ล้านดอลลลาร์ในปีแรก Lixilเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเติบโตอย่างมั่นคง องค์กรมีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้พนักงานใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน ซึ่งภายใน 1 ปี พนักงานสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ราว ๆ กว่า 850 แอป ซึ่งแอปที่ถูกสร้างจาก AppSheet นี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างดี...

Continue reading

AppSheet ช่วยให้ธุรกิจของคุณดีขึ้นได้อย่างไร ? ไม่ใช่องค์กรสาย IT ใช้ได้ไหม ?

ในฐานะนักธุรกิจคนหนึ่ง แน่นอนว่าการผลักดันธุรกิจให้ก้าวหน้านั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยหยุดนิ่งเลย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาธุรกิจ คือกระบวนการทำงานภายในองค์กร หรือที่เราเรียกกันว่า “Workflow”  หากเราลองหาความเชื่อมโยงล่ะก็ ต้องบอกว่า หากองค์กรมีระบบการทำงานดีก็จะช่วยให้ผลประกอบการดีไปด้วย คุณจะเชื่อหรือไม่ ?  ซึ่งในปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาธุรกิจอย่างหลากหลาย เช่น AppSheet แพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันเพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการบริหารจัดการ หรือกระบวนการทำงานของธุรกิจให้เป็นรูปแบบอัตโนมัติ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจได้จริง  ตัวอย่างเช่น บริษัท Globe Telecom ที่สามารถลดระยะเวลาการประมวลผลจากการสร้างแอปแบบเดิมได้กว่า 79.8% ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า 6.7 ล้านดอลลาร์ และอีกมากมาย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> How AppSheet continues to grow as a low-code platform market leader AppSheet จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดีขึ้นได้อย่างไร ? สรุปสั้น ๆ ได้ ดังนี้ เมื่อการทำงานของคุณเริ่มเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น คุณจะสามารถลดระยะเวลาการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงได้ พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ส่งโปรเจกต์ได้อย่างรวดเร็ว AppSheet สามารถลดความผิดพลาดจากมนุษย์ หรือ Human error ได้ องค์กรไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปหรือจ้างนักเขียนโปรแกรมอีกต่อไป  พนักงานในองค์กรสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้เลยทันที ไม่ต้องรอเวลาประมวลผลนาน AppSheet เหมาะกับธุรกิจใดบ้าง ? จริงอยู่ที่ AppSheet นั้น คือการสร้างแอปพลิเคชัน ถึงแม้ว่าคำนี้จะดูไกลตัวไปบ้าง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า AppSheet มีไว้สำหรับอุตสาหกรรมไอทีเพียงอย่างเดียว คุณสามารถนำ AppSheet มาประยุกต์ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมและทุกแผนกงาน เช่น การจัดการ Inventory การรับออเดอร์ซื้อขาย การบันทึกข้อมูลฝ่ายจัดซื้อ การส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การอัปเดตสถานะกระบวนการต่าง ๆ หรือการสร้างแบบฟอร์มเก็บข้อมูล และอื่น ๆ ตัวอย่างสายงานที่ Demeter ICT ให้บริการ AppSheet Accounting Customer Engagement Education & Training Field Service Human...

Continue reading

ยกระดับความปลอดภัยจาก Spam บน Google Drive

ยกระดับความปลอดภัย จาก Spam บน Google Drive หากพูดถึงระบบการรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือ Google ที่มีระบบ Safety บนโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในระบบปลอดภัยที่สุดในโลก โดยการตรวจหาภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตแบบอัตโนมัติที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม จากอดีตถึงปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ Google ได้รับการพัฒนาด้านการป้องกันความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Google Workspace อย่างระบบความปลอดภัยบน Gmail ที่ทำหน้าที่ตรวจหาอีเมลฉบับขาเข้าโดยอัตโนมัติว่าอีเมลฉบับไหนมีแนวโน้มไม่พึงประสงค์หรือดูท่าทีว่าไม่ปลอดภัยต่อผู้รับอีเมลก็จะทำการดึงอีเมลฉบับนั้นไปไว้ในโฟลเดอร์ Spam ทันที อัปเดต! เพิ่มระบบความปลอดภัยสำหรับ Google Drive ล่าสุด Google Drive ก็มีอัปเดตการป้องกันความปลอดภัยบนไดรฟ์เช่นกัน โดยมีการเพิ่มโฟล์เดอร์ Spam เข้ามาไว้สำหรับให้เจ้าของไดร์ฟแยกไฟล์ที่ไม่ต้องการหรือคาดว่าไม่ปลอดภัย และเมื่อเจ้าของไดรฟ์ทำการย้ายไฟล์ไปยังโฟล์เดอร์ Spam แล้ว  ก็จะไม่สามารถรับการแจ้งเตือน คอมเมนต์ จากไฟล์นั้นได้ รวมถึงไฟล์นั้นจะไม่ปรากฎบนไดรฟ์อีกต่อไป ซึ่งฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 วิธีแยกไฟล์ไปยัง Spam บน Google Drive เข้าไปที่ Google Drive คลิกที่ Shared with Me  เลือกไฟล์ที่ต้องการ สามารถเลือกแบบหลายไฟล์พร้อมกันได้ โดยการทำเครื่องหมายถูกที่หน้าชื่อไฟล์นั้นๆ   คลิกขวาไฟล์ที่เลือกแล้วคลิก Report หรือเลือกลากไฟล์ที่ต้องการไปที่โฟลเดอร์ Spam ได้เช่นเดียวกัน เลือกเหตุผลที่ต้องการ report เพื่อรายงานไปยัง Google เพื่อตรวจสอบการละเมิดนโยบาย โดยมีหัวข้อดังนี้  Spam or fraud  สแปมหรือการฉ้อโกง Disturbing or inappropriate content การรบกวนหรือเนื้อหาไม่เหมาะสม Copyright violation การละเมิดลิขสิทธิ์ Child endangerment เป็นภัยต่อเด็ก Other ilegal activity อื่นๆที่ผิดกฎหมาย    6. ทำเครื่องหมาย ✓ หากต้องการบล็อคอีเมลเจ้าของไฟล์   7. คลิก Report เป็นอันเสร็จสิ้น Tips...

Continue reading