เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เมื่อ Google Meet ประกาศอัปเตดเพิ่มเติมภาษาในส่วนของคำบรรยาย (Closed captions) และ การแปลภาษา (Translated captions) เพราะอัปเดตรอบนี้มีภาษาไทยด้วยนะ Closed Captions Update! มาเริ่มที่การอัปเดตภาษาของคำบรรยายหรือแคปชันกันก่อนเลย โดยล่าสุดมีเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 7 ภาษา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 13 ภาษา ซึ่งหนึ่งในภาษาที่เพิ่มมานั้นคือภาษาไทยนั่นเอง! การเปิดใช้งานคำบรรยายสามารถช่วยให้การประชุมนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น ในกรณีที่ผู้พูดพูดเร็วเกินไป หรือการที่เราไม่สันทัดในการฟังภาษานั้นๆ อาจทำให้จับฟังคำไม่ทัน หรือกรณีที่ไม่สะดวกในการเปิดเสียงการประชุม เป็นต้น วิธีตั้งค่าคำบรรยายในการประชุม วิธีเปิด/ปิดคำบรรยาย ไปที่ Google Meet เข้าร่วมการประชุม เลือกเปิด/ปิดคำบรรยายที่แถบด้านล่าง วิธีเปลี่ยนภาษาคำบรรยาย คลิกที่ Menu > เลือก Setting > เลือก Captions เลือกภาษา เพิ่มเติม: ภาษาที่คุณเลือกจะเป็นค่าเริ่มต้นจนกว่าคุณจะเปลี่ยนแปลง ถึงแม้อัปเดตภาษาไทยของรอบนี้จะเป็น beta ทางทีมงานของเราได้ลองใช้งานเปิดฟีเจอร์คำบรรยายที่เป็นภาษาไทยดูแล้ว บอกได้เลยว่าการทำงานของฟีเจอร์นี้ค่อนข้างจับคำไทยได้ดีถึง 90% เลยทีเดียว และถึงแม้ว่าจะมีการพูดภาษาอังกฤษบ้างไทยบ้าง ฟีเจอร์นี้ก็จะเปลี่ยนเป็นคำบรรยายเป็นภาษานั้นๆให้เลยอัตโนมัติ Translate captions Update! ต่อมาเรามาดูการอัปเดตของการแปลภาษากันบ้าง นั่นก็คือ Google Meet ได้มีการเพิ่มเติมภาษาของการแปลขึ้นมา 4 ภาษา จากเดิมมี 7 ภาษา โดยสามารถแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาเหล่านั้นได้อัตโนมัติ วิธีตั้งค่าการแปลภาษาในการประชุม ไปที่ Google Meet เข้าการประชุม คลิกที่ Menu > เลือก Setting > เลือก Captions เปิด Translate captions เลือกภาษาคำบรรยายที่ Language of the Meeting เลือกว่าต้องการแปลเป็นภาษาใดที่ Translate to เพิ่มเติม: Translate captions นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่ใช้ Business...
Continue readingสรุปสาระสำคัญส่งท้ายงานสัมมนา AppSheet – The Fastest Workflow App for Smart Enterprises
ก่อนอื่นเลย Demeter ICT ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในงานสัมมนาของเราอย่างมาก โดยภายในงานนี้เราได้นำผู้เชี่ยวชาญด้าน AppSheet และ Cloud Solution มาให้ความรู้โดยตรงและตอบคำถามกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเนื้อหาหลักของงานสัมมนาจะเกี่ยวข้องกับการสาธิตการใช้งานแอปพลิเคชันและการแชร์วิธีการทำงานของ AppSheet เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานของ AppSheet มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพการใช้งานจริงของการปรับใช้ AppSheet ในแต่ละสายงาน ทีม และอุตสาหกรรมกันด้วย เราจึงได้นำ AppSheet มาปรับใช้เป็นเครื่องมือในการลงทะเบียนเข้าร่วมงานไปจนถึงการใช้เป็นช่องทางในการให้ผู้เข้าร่วมสามารถถามคำถามและข้อสงสัยเข้ามาระหว่างการบรรยายอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงได้หยิบยกสาระสำคัญที่น่าสนใจมาฝากทุกท่าน เพื่อเป็นการสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชัน แหล่งข้อมูล และการนำ AppSheet มาประยุกต์ใช้จริงกับธุรกิจในด้านต่าง ๆ https://youtu.be/5lltYPbaMwI ฟังก์ชันที่โดดเด่นของ AppSheet Approval – สามารถสร้างแอปสำหรับส่งข้อมูลหรือแนบเอกสารขออนุมัติให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการกดปุ่มอนุมัติได้เลยทันที ไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ OCR (Optical Character Recognition) – สามารถแปลงข้อมูลจากเอกสารและรูปภาพขึ้นมาเป็นข้อมูลดิจิทัล หรือจะอัปโหลดเอกสารจากไฟล์อื่นนอกเหนือจาก Google Workspace ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น PDF, Excel และอื่น ๆ Chatbot – สามารถสร้าง Chatbot เพื่อช่วยจัดการภาระงานของท่านได้ เช่น การรวบรวมรายการที่ท่านต้องเซ็นอนุมัติ รายการใหม่ที่ส่งเข้ามา หรือจะเปิดดูใน Calendar ก็สามารถทำได้ และในกรณีที่ใน Inbox นั้นมีอีเมลจำนวนมากจนทำให้ท่านไม่สามารถมองเห็นอีเมลที่กำลังรอการอนุมัติทั้งหมดได้ Chatbot คือทางออกที่จะช่วยท่านได้เยอะมาก ๆ เพราะ Chatbot จะช่วยจัดหมวดหมู่และคอยแจ้งเตือนงานที่ท่านต้องจัดการนั่นเอง ไม่เพียงแค่นี้ AppSheet ยังมีฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การสแกนบาร์โค้ดหรือ QR Code, การส่งอีเมลอัตโนมัติ, การคำนวณเพื่อลด Human Error, จดจำสถานที่, และอื่น ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูลของ AppSheet Native source – AppSheet...
Continue readingวิธีการตั้งค่าฟังก์ชัน Approval ขออนุมัติได้ทันทีด้วย AppSheet
Demeter ICT งานเข้า ! เมื่อได้รับ Feedback มาอย่างล้นหลามว่าฟังก์ชัน Approval ใน AppSheet ทำอย่างไร ? ต้นเหตุเกิดจากวิดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=HvaL3OtnXwg&t=6s หลังจากที่ Demeter ICT ได้เปิดตัว AppSheet อย่างเป็นทางการจากงานสัมมนาของเรา มีหลายคนให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ AppSheet มากมาย และหนึ่งในฟังก์ชันยอดฮิตที่มีคนสอบถามเข้ามามากที่สุด นั่นก็คือ ฟังก์ชัน ‘Approval’ ซึ่งเป็นฟังก์ชันการอนุมัติเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร วันนี้ Demeter ICT จึงได้จัดทำบทความเอาใจผู้ที่ต้องการนำ AppSheet มาพัฒนากระบวนการทำงานด้วยการขออนุมัติผ่านแอปพลิเคชัน ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ และเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้อย่างง่าย วิธีการตั้งค่าเพื่อขออนุมัติ (Approval) ด้วย AppSheet ส่วนที่ 1: การส่งอีเมลอัตโนมัติไปยังผู้อนุมัติเมื่อมีพนักงานส่งคำร้องขอเข้ามา 1. หากคุณยังไม่มีความรู้พื้นฐานในการสร้าง AppSheet เราแนะนำให้คุณลองศึกษาบทความนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและเพื่อทำความเข้าใจการทำงานของ AppSheet เบื้องต้นเสียก่อน 2. เมื่อคุณเข้าใจการทำงานของ AppSheet แล้ว ให้คุณไปยังหน้า AppSheet ของคุณ โดยคุณสามารถเข้าจาก www.appsheet.com หรือเข้าผ่านไฟล์ใน Google Sheets ก็ได้เช่นกัน 2.1 หากคุณสร้างแอปไว้แล้ว – แนะนำให้คุณเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ AppSheet เลือกแอปที่คุณต้องการสร้างฟอร์มขออนุมัติได้เลย 2.2 หากคุณยังไม่ได้สร้างแอป – แนะนำให้คุณเข้าผ่าน Google Sheets เลือกไฟล์ที่ต้องการ แล้วกด Extensions เลือก AppSheetหมายเหตุ: หากคุณใช้ Database จาก Google Sheets อย่าลืมใส่หัวข้อ...
Continue readingQ&A จากงานสัมมนา The Fastest Workflow App for Smart Enterprises
ฟังก์ชันการใช้งาน AppSheet สามารถพัฒนาให้รับค่าหลายค่าได้หรือไม่ เช่น คีย์เบิกค่าใช้จ่ายหลายรายการในเลขที่เอกสารเดียวกัน AppSheet รองรับการรับข้อมูลหลายคำสั่งลงในแบบฟอร์มเดียวกันได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบแอปพลิเคชัน ในคำถามนี้สามารถทำได้โดยการอ้างอิงข้อมูลข้ามตาราง หากมีข้อมูลเป็น QR code (ขั้นข้อมูลต่างๆ ด้วย “;”) สามารถใช้ AppSheet สแกนข้อมูล แล้วแยกข้อมูลเป็นช่องต่างๆ ได้หรือไม่ AppSheet สามารถทำได้โดยให้มีการจัดการข้อมูลตามเงื่อนไขของเครื่องหมายที่กำหนด AppSheet มีมุมมองแบบ Calendar view หรือไม่ เช่น การจองห้องประชุม ว่างหรือไม่ว่างวันไหน แสดงผลหน้าแอปเป็น Calendar view AppSheet สามารถทำได้ และผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับ Google Calendar ได้โดยตรง หากในองค์กรมีปัญหาอินเทอร์เน็ต จะสามารถ Back up ข้อมูลจาก Users ไว้แบบ Offline ได้หรือไม่ AppSheet สามารถใช้งานแบบ Offine Mode ได้ หากได้รับ E-slip จาก Supplier AppSheet สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อัตโนมัติหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องของ E-Slip นั้น สามารถใช้งาน OCR ใน AppSheet มาประยุกต์ได้ แต่ข้อจำกัดของรูปแบบ E-Slip ต้องเป็นรูปแบบของข้อมูลประเภทเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่รองรับหลากหลายรูปแบบ เราจึงแนะนำให้คุณสร้างฟอร์มในแอป กรอกข้อมูลและแนบไฟล์ลงใน AppSheet เพื่อให้แอปสามารถตรวจสอบจำนวนเงินที่ถูกกรอกเข้ามาเบื้องต้นได้ การทำงานของ AppSheet กับฐานข้อมูล SQL Server On Premises สามารถทำงานได้ในระดับใด สามารถเพิ่ม แก้ไข ได้หรือไม่ AppSheet สามารถเชื่อมต่อกับ On Premise SQL Server ได้ โดยที่สามารถกำหนดสิทธิ์ในการอ่าน เพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูลได้ ที่สำคัญขึ้นอยู่กับ AppSheet...
Continue readingสร้างได้เอง ทำได้จริง ด้วย 3 สิ่งนี้ มีแอปพร้อมใช้แน่นอน
หลายองค์กรมีไอเดียที่จะเริ่มต้นนำเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างแอปพลิเคชันมาใช้ในองค์กร แต่สิ่งที่กังวลก็คือ “อยากทำแอปพลิเคชัน แต่จะเริ่มต้นที่ตรงไหนก่อนดี” โดยอาจจะมองภาพว่ากว่าจะทำแอปขึ้นมาสักหนึ่งแอปได้นั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางทรัพยากรด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผน process นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ระยะเวลา และอื่นๆอีกมากมาย และหากเป็นองค์กรที่ไม่มีนักพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยแล้ว ก็อาจจะคิดว่าการทำแอปขึ้นมานั้นคงเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ความกังวลเหล่านั้นจะหมดไป…เมื่อรู้จักกับ AppSheet ในปัจจุบันนี้การสร้างแอปพลิเคชันสามารถทำได้ง่ายขึ้นมาก โดยที่ทุกคนสามารถผันตนเองเป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันได้เลย ด้วยการสร้างแอปพลิเคชันด้วย No-code platform อย่าง AppSheet ที่ให้คุณออกแบบแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด แถมช่วยกระชับเวลาให้คุณมีแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้นอีกหลายเท่าตัว เพราะเพียงแค่คุณมีไอเดีย workflow และ AppSheet ก็สามารถมีแอปพลิเคชันเพื่อสนอง Solution ที่คาดหวังไว้ได้แล้ว บทความเพิ่มเติม >>> สรุป AppSheet คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? (ฉบับเข้าใจง่าย) เช่นนั้นแล้ว แน่นอนว่าสิ่งสำคัญก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการขึ้นแอป เราต้องมาสร้างไอเดีย (Idea) และออกแบบกระบวนการ (Workflow) กันเสียก่อน และแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น เราขอนำเสนอไอเดียไว้เป็นไกด์ไลน์ให้สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะลองสร้างแอปพลิชันจาก AppSheet ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีด้านล่างนี้เป็นวิธีที่ Demeter ICT ใช้จริงในการทำ workshop ก่อนลงมือสร้างแอปพลิเคชันไว้ใช้ในองค์กรของเราเอง IDEA กำหนดจุดประสงค์และความต้องการที่ชัดเจน เหนือสิ่งอื่นใดเราต้องกำหนดจุดประสงค์ก่อนว่า เราจะสร้างแอปขึ้นมาเพื่ออะไร จะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการใด จะสร้างขึ้นมาใช้แทนกระบวนการเดิม เพิ่มกระบวนการใหม่ หรือจะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาใด เป็นต้น WORKFLOW วิเคราะห์กระบวนการทำงานโดยละเอียด ขั้นตอนนี้จะว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็ไม่ผิดนัก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องลงลึกถึงกระบวนการอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเกิดความต่อเนื่องในการทำงานของแอปพลิเคชัน โดยการให้สมาชิกที่มีส่วนเกี่ยวข้องและใช้งานกระบวนการนั้นๆอยู่มาช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอนของกระบวนการที่ต้องการว่าจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดกระบวนการนั้นคืออะไร มีใครที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ใดในส่วนนั้นบ้าง การทำงานของแอปจะเป็นอย่างไร นอกเหนือจากนั้นถึงควรมีการกำหนดว่าต้องการให้แอปเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่แอปจะสามารถบันทึกจากการกรอกข้อมูลบนแอปพลิเคชัน แล้วนำไปจัดเก็บในฐานข้อมูลที่คุณสร้างไว้ เช่น Google Sheets, Excel, Cloud SQL เป็นต้น ตัวอย่างการวางแผนก่อนการสร้างแอปพลิชัน Idea ทีมการตลาดขององค์กรแห่งหนึ่งมีไอเดียที่จะทำแอปพลิเคชัน Marketing Content Approval ไว้สำหรับขออนุมัติบทความหรือคอนเทนต์ต่างๆจากหัวหน้าทีมก่อนที่จะทำการเผยแพร่ออกไป โดยทีมต้องการใช้วิธีการขออนุมัติผ่าน AppSheet เนื่องจากอยากได้ความสะดวกในการส่งแจ้งเตือนจากแอปเข้าไปที่อีเมลของหัวหน้าทีมโดยอัตโนมัติ (Automated Notification) เมื่อมีการ submit คอนเทนต์ผ่านแอปพลิเคชัน...
Continue readingBest Practice ลดต้นทุนธุรกิจและยกระดับประสบการณ์ลูกค้าด้วยเอไอ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE)
ทุกวันนี้หากจะมีเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงจนไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คงเป็นเรื่องของเทคโนโลยีเอไอ (AI: Artificial Intelligence) ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT เครื่องมือประมวลภาษาที่ช่วยให้เราสนทนากับแชทบอทได้เหมือนแชทคุยกับเพื่อน หรือการใช้เอไอในการสร้างรูปภาพ ที่ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าประทับใจมากทีเดียว สิ่งเหล่านี้ตอกย้ำว่าแม้แต่ในเสี้ยวนาทีที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ โลกธุรกิจก็กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากรายงาน CX Trends 2023 ของ Zendesk สองในสามของผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเอไอจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยธุรกิจลดต้นทุน ในบทความนี้ เราจึงขอแชร์กลวิธีในการใช้เอไอลดต้นทุนและยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ทุกคนได้อ่านกัน 1. ลดต้นทุน โดยที่ยังมอบการบริการที่ดีเยี่ยม งบจำกัด พนักงานน้อย มักเท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าต้องรับศึกหนัก และยิ่งถ้าไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพใช้ ก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดและนำไปสู่ประสบการณ์ลูกค้าที่ย่ำแย่ ถึงอย่างนั้นปัญหานี้ก็ไม่จบลงแค่การหาบอทสักตัวมาใช้ จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคหลายคนคุ้นชินกับการคุยกับบอท ทว่าความรู้สึกหลังจากนั้นมักค่อนไปทางติดลบเสียส่วนใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะบอทมีการตอบกลับที่ย่ำแย่ ส่งมอบข้อมูลผิด ๆ และสำคัญเลยคือขาดความสามารถในการให้ผู้บริโภคเข้าถึงเจ้าหน้าที่ “เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับแบรนด์ที่จะมอบการตอบกลับที่ถูกต้องแม่นยำ รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรส่งต่อเคสให้กับเจ้าหน้าที่ ChatGPT ทำได้ดีเพราะสามารถสนทนาเหมือนแชทกับเพื่อนก็จริง แต่มันก็ไม่มีข้อมูลที่จะตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงของแบรนด์ นี่เองที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลูกค้าที่ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง” – Cristina Fonseca, Vice President, Product, Zendesk แล้วเอไอจะช่วยลดต้นทุนตรงส่วนนี้ได้อย่างไร? แชทบอทที่ดีจะต้องรับมือกับการติดต่อที่มีความซับซ้อนไม่มากได้ และสามารถเชื่อมต่อลูกค้าไปยังเจ้าหน้าที่ได้เมื่อจำเป็น ตรงจุดนี้เองที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่มีเวลาไปมุ่งเน้นกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าที่จะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ หรือการซื้อซ้ำ (Retention) ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า นอกจากนี้แชทบอทก็ควรที่จะเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้าน เช่น ระบบ Knowledge Base, E-Commerce Platform หรือระบบจัดการงานต่าง ๆ และควรจะใช้งานได้ในช่องทางส่งข้อความ อีเมล โซเชียลมีเดีย หรือกระทั่งดำเนินงานที่ซับซ้อนอย่างช่วยให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า ชำระเงิน คืนสินค้าจากในแชทได้ด้วยตนเอง ซึ่ง Zendesk ในฐานะที่เป็น CX Platform ชั้นนำเองก็มีโซลูชันที่ช่วยให้การทำสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายดาย ไม่ต้องใช้โค้ด อย่างโซลูชัน Zendesk Sunshine Conversations แพลตฟอร์ม API ที่เป็นเหมือนปลั๊คพ่วงซอฟต์แวร์ เชื่อมต่อช่องทางการติดต่อลูกค้ากับระบบหลังบ้านของคุณ เพื่อสร้างประสบการณ์สนทนาที่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริง ตัวอย่างลูกค้าของ Zendesk ที่ใช้บอทลดค่าใช้จ่าย Handy ใช้ Zendesk สร้างระบบ Knowledge Base เพื่อให้ลูกค้าบริการตนเอง ผลคือสามารถลดปริมาณ Ticket...
Continue reading4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet
จะสร้างแอปด้วย AppSheet ก็ต้องเตรียมตาราง Spreadsheet ใน Google Sheets ให้พร้อม บอกได้เลยว่าการเตรียม Spreadsheet สำหรับการสร้างแอปนั้นง่ายนิดเดียว เพราะการสร้างชีตนั้นจะอ้างอิงจากรูปแบบตารางที่หลายองค์กรนั้นมีการใช้งานกันอยู่แล้วนั่นเอง และเพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่าย คุณจะต้องสร้างตารางที่ทำให้ AppSheet เข้าใจกลไกของการทำงานของคุณได้มากที่สุด ดังนั้นหากคุณรู้ Tips ในการจัดการตารางก่อนสร้างแอปจะช่วยให้คุณสามารถสร้างแอป จัดการ และแก้ไขแอปของคุณได้ง่ายมาก ๆ ทำด้วยตัวเองได้เลย คอนเฟิร์ม ! 4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet 1. ใช้ layout ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ก่อนที่คุณจะกำหนดข้อมูล ให้คุณตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า คุณต้องการสร้างแอปสำหรับอะไรหรือคุณต้องการใช้แอปเพื่อทำอะไร ? คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ? ตัวอย่างเช่น คุณต้องการทำแอปสำหรับเช็คสต๊อกสินค้าในร้านขายของ คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ? ชื่อสินค้า รหัสสินค้า จำนวนสต๊อกที่มีอยู่ในร้านหรือจำนวนที่ขายออก เป็นต้น เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว ก็นำมาสร้างตารางใน Google Sheets ได้เลย (หรือหากยังไม่มีข้อมูล คุณก็สามารถใส่ชื่อคอลัมน์อย่างเดียวก็ได้ เพื่อให้แอปรับรู้ว่าข้อมูลที่คุณต้องการคืออะไรนั่นเอง) คำแนะนำ: คุณควรที่จะรวมตารางไว้ในตารางเดียวกัน หากแยกตารางออกเป็นหลาย ๆ ตาราง จะทำให้แอปทำงานค่อนข้างซับซ้อนและยากต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล Spreadsheet ที่ถูกต้อง Spreadsheet ที่ไม่แนะนำ 2. ตั้งชื่อคอลัมน์ให้ง่ายและสอดคล้องกัน เพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่ายและอ่านค่าได้อย่างรวดเร็ว เราแนะนำให้คุณตั้งชื่อคอลัมน์ให้สั้นกระชับ อ่านแล้วเข้าใจง่าย และในกรณีที่คุณต้องการใส่ข้อมูลย่อยของแต่ละรายการ ให้คุณสร้างแท็บในชีตเดียวกันเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแท็บ โดยคุณจะต้องใช้ชื่อคอลัมน์ให้เหมือนกันกับแท็บแรก ตัวอย่างเช่น แท็บ 1: มีคอลัมน์ชื่อสินค้า รหัสสินค้า และห้องจัดเก็บ ซึ่งคุณอาจจะอยากอธิบายเพิ่มเติมว่าห้องจัดเก็บของแต่ละรายการอยู่ที่ใดบ้าง ให้คุณสร้างแท็บที่ 2 โดยมีคอลัมน์แรกเป็น ‘ห้องจัดเก็บ’ คอลัมน์ต่อมาถึงจะเป็นคำอธิบายในส่วนของที่ตั้งของสถานที่นั้น ๆ ซึ่งแท็บที่ 2 จะถูกเรียกใช้งานก็ต่อเมื่อคุณต้องการให้ข้อมูลนั้นแสดงผลโดยอัตโนมัติเมื่อมีคนคลิกรายการที่กำหนด เช่น ส้มอยู่ห้องจัดเก็บ B...
Continue readingForrester ยก Google ขึ้นแท่นผู้นำด้าน Data Security Platform Q1 2023
Google Cloud เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ หลายองค์กรได้ปรับเปลี่ยนการทำงานมาอยู่รูปแบบออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ ดังนั้น Google จึงได้มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา ที่จะสามารถช่วยให้ข้อมูลถูกจัดเก็บและเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย ทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบและควบคุมส่วนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ….นี่แหละกลยุทธ์ที่สำคัญของ Google และด้วยระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยนี้เอง ทำให้ The Forrester Wave™ ยก Google Cloud ให้เป็นผู้นำด้าน Data Security Platforms Q1 2023 นวัตกรรมการรักษาความปลอดภัย คือ จุดแข็งของ Google ที่ไม่มีใครเทียบได้ Google นั้นให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของการเก็บข้อมูลออนไลน์เป็นอันดับหนึ่ง เริ่มจากการนำกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยมายกระดับธุรกิจเชิงพาณิชย์และองค์กรภาครัฐทุกแห่งสู่ Cloud-Native Security ที่ใช้การประมวลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน AI และ Machine Learning ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลฝั่งองค์กรและฝั่ง End users ได้รับการปกป้องอย่างครบถ้วน ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยี Data Loss Prevention (DLP) ของ Google ยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการข้อมูลได้แบบ Real-time ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ในบทวิจัยของ Forrester ได้กล่าวว่า “Google นั้นโดดเด่นในเรื่องของนวัตกรรมอย่างมาก ตัวอย่างเช่น AI และ Machine Learning, การพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร, การร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ (การประมวลผล, การควบคุม, และการจัดการบน Cloud service เป็นต้น)” ทุกการใช้งานมีความปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า infoType detectors – กลไกการตรวจจับข้อมูลอ่อนไหว ทำให้ Google สามารถเก็บรักษาข้อมูลความลับอันถือเป็นสินทรัพย์ขององค์กรได้ทั้งใน Google Chrome Enterprise และใน Google Workspace (Gmail & Drive) เช่น ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการวิเคราะห์ต่าง ๆ...
Continue readingแชร์วิธีการเชื่อมต่อกราฟใน Google Sheets, Docs, Slides เข้าด้วยกันแบบ Real-time
พอกันทีกับการที่ต้องคอยแก้ไขข้อมูลไปมา พอกันทีกับการสร้างกราฟใหม่อยู่ตลอด พอกันทีกับการที่ต้องคอย Screenshot หน้าจอแล้วไปวางในไฟล์อื่น วันนี้คุณจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลและใช้กราฟตัวเดียวกันจาก Google Sheets, Docs, Slides ได้เลยทันที ! ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนอีกต่อไป เพียงแค่เปลี่ยนจากการเลือกประเภทของกราฟ (Bar, Column, Line, Pie) เป็นการเลือกกราฟจาก Sheets แทน ….นี่คือขั้นตอนแบบรวบรัดนะ แต่สำหรับใครที่ต้องการเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าต้องไปที่ไหน ? ทำอย่างไร ? เราได้แบ่งขั้นตอนการแทรกกราฟไว้ ดังนี้ ขั้นตอนการนำกราฟจาก Google Sheets มาที่ Docs และ Slides คุณต้องสร้างข้อมูลและสร้างกราฟใน Google Sheets ให้เรียบร้อยเสียก่อน เปิด Google Docs หรือ Google Slides ไปที่ Insert (แทรก) > Chart เลือก From Sheets 4. เลือกไฟล์ Sheets ที่มีกราฟที่คุณต้องการ เพียงเท่านี้เป็นอันเรียบร้อย ! วิธีทำให้ข้อมูลในกราฟเชื่อมต่อกันแบบ Real-time เมื่อคุณเปลี่ยนข้อมูลในตารางใน Google Sheets จะเห็นว่ากราฟใน Sheets มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ แต่ใน Docs และ Slides ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้คุณทำตามนี้ เปิด Docs หรือ Slides แล้วไปที่ Chart บนหน้ากระดาษของคุณ จากนั้นให้คุณคลิก Update ที่มุมบนขวาของกราฟนั้น ๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำกราฟมาเชื่อมต่อกันได้แบบ Real-time แล้วง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะทำงานเอกสารหรืองานนำเสนอก็ไม่ต้องคอยนำเข้ากราฟทุกครั้งที่แก้ไขข้อมูลเหมือนที่เคยทำมา ลืมการทำงานแบบเดิม ๆ ไปได้เลย ! ติดตาม Demeter ICT...
Continue reading