ธุรกิจ SMB ใช้ Google Workspace อย่างไรให้ปัง!

ธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) ไม่จำเป็นต้องมีการทำงานที่เป็นระบบมากก็ได้ ทำเท่าที่ทำได้ก็พอ ความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะหากวางแผนการใหญ่ การทำให้ลูกค้าพอใจด้วยระบบการทำงานที่ง่ายทั้งต่อลูกค้าและองค์กรเองนั้นก็สำคัญนะ  มาเช็กกันหน่อยว่าขณะนี้คุณกำลังทำงานแบบนี้อยู่หรือไม่ ?  ส่งอีเมลสำหรับข้อความที่เป็นทางการหรือต้องการหลักฐานยืนยันเท่านั้น  นัดประชุมหรือนัดพบลูกค้าด้วยโทรศัพท์ ใช้หลายแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มในการติดต่อประสานงาน จาก Checklist นี้จะเห็นว่าคุณต้องใช้ถึง 3 ช่องทางในการดำเนินงาน 1 งาน ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนได้ ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ธุรกิจ SMB หันมาใช้การสื่อสารจากช่องทางเดียวกันด้วยฟังก์ชันจาก Google Workspace เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณมีการทำงานที่ง่ายมากขึ้น สามารถติดต่อลูกค้าได้ครอบคลุมด้วยแพลตฟอร์มเดียว ฟังก์ชันที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย ! 3 ฟังก์ชันจาก Google Workspace แนะนำสำหรับธุรกิจ SMB 1. นัดหมายด้วย Appointment Schedule จาก Google Calendar ก่อนหน้านี้ฟังก์ชัน Appointment Schedule นั้นมีไว้สำหรับผู้ใช้บริการ Google Workspace Individual เท่านั้น แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นบัญชีฟรีหรือใช้บริการแพ็กเกจสำหรับองค์กรก็สามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้แล้ว โดยคุณสามารถสร้างหน้าเพจสำหรับการนัดหมายได้ โดยไปที่ Google Calendar  คลิกวันที่ใดก็ได้ เลือก Appointment Schedule กด Set up the schedule จากนั้นก็ตั้งค่าต่าง ๆ ได้เลย เช่น ชื่อหน้า booking เวลาที่เปิดให้นัดหมาย เวลาต่อรอบนัดหมาย และอื่น  โดยคุณสามารถแชร์หน้า Booking ให้กับลูกค้าของคุณได้ 2 ช่องทาง คือ Google Calendar: ลูกค้าสามารถเปิดปฏิทินของคุณแล้วเลือกเวลาที่ต้องการนัดหมายได้เลย Gmail: คุณสามารถส่งลิงก์ให้ลูกค้าจองตารางนัดหมายได้โดยไปที่ Appointment Schedule กดปุ่ม Share สำหรับฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การสร้างหน้าการนัดหมายแบบไม่จำกัด การส่งแจ้งเตือนการนัดหมายแบบอัตโนมัติ การเช็กดูตารางว่างจากปฏิทินหลายฉบับ หรือการตรวจสอบตัวตนของผู้นัดหมาย เป็นต้น คุณสามารถเลือกดูแพ็กเกจของ Google...

Continue reading

AppSheet VS Google Forms เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ? คุ้มค่าไหมหากจะซื้อ AppSheet ?

หากคุณเคยเห็น AppSheet หรือเคยใช้งาน AppSheet กันมาบ้างแล้ว คุณจะทราบว่าเจ้าตัว AppSheet เนี่ยมีการทำงานคล้าย Google Forms เลย คือการสร้างฟอร์มขึ้นมาเพื่อเก็บหรือนำเข้าข้อมูล และด้วยความเหมือนที่ว่านี้เองอาจจะทำให้คุณไม่เห็นถึงการนำไปใช้งานจริงของ AppSheet กันมากนัก ซึ่งหากจะพูดตามความเป็นจริงในฐานะผู้ที่ได้ทดลองใช้งานมาแล้ว ต้องบอกเลยว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่แตกต่างในเรื่องของการนำไปใช้งานและการตั้งค่าเชิงลึกต่าง ๆ  ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้คุณได้ทำความรู้จัก AppSheet มากขึ้นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง มีความเหมือนและแตกต่างกับ Google Forms อย่างไร เปรียบเทียบกันชัด ๆ ไปเลย ! Google Forms ทำอะไรได้บ้าง ? สร้างฟอร์มแบบสอบถาม เก็บข้อมูล และอื่น ๆ  สามารถดูผลลัพธ์ใน Google Forms และใน Google Sheets ได้ (Google Forms → Google Sheets) ตกแต่งได้ เช่น สี ฟอนต์ และภาพหน้าปก AppSheet ทำอะไรได้บ้าง ? สร้างแอปในรูปแบบของฟอร์มนำเข้าข้อมูลได้ โดยการนำข้อมูลจาก Google Sheets มาใช้งานเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อและใช้เพื่อเก็บข้อมูล (Google Sheets → AppSheet) สามารถกำหนดฟังก์ชันเองได้ (ภาษา AppSheet เรียกว่า Action) เช่น ส่งแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีคนส่งฟอร์มเข้ามา หรือการส่งฟอร์มขอ Approvals ไปยังหัวหน้างาน สามารถสแกน Barcode, QR code, OCR และอื่น ๆ สามารถออกแบบ Workflow ให้เข้ากับการทำงานของแต่ละแผนกได้ สามารถคำนวณให้ได้แบบอัตโนมัติ สามารถตั้งค่าการแสดงผลบนหน้าแอปได้ เช่น ข้อมูลที่ต้องการและรูปแบบการแสดงผล สร้าง Chatbot ได้ ตกแต่งได้ เช่น ธีมของแอป ฟอนต์ ไอคอน โลโก้...

Continue reading

ITSM คืออะไร? ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญ

เราต่างรู้กันดีว่าเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) นั้นมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่บริษัทจะทำธุรกิจได้โดยไม่มีเครื่องมือไอทีต่าง ๆ และเครื่องมือเหล่านั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่แค่ซื้อเข้ามาแล้วปล่อยให้ทำงานเองได้ แต่ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เทคโนโลยีเหล่านี้สร้างประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร  สิ่งนี้เราเรียกว่า “งานบริการไอทีที่มีคุณภาพ” หรือก็คือ การทำให้เครื่องมือไอทีสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ โดยผ่านกระบวนการบริหารงานจัดการบริการด้านไอที หรือที่รู้จักกันในชื่อ ITSM (IT Service Management) ITSM คืออะไร? ITSM หรือ IT Service Management คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความต้องการและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร (Business Requirements & Objectives) หรือโดยหลักการแล้วก็คือการใช้ IT เพื่อ Support ทาง Business โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา “กระบวนการ” หรือ “Processs-focused” รวมไปถึงการวางกลยุทธ์และการจัดการระบบไอทีทั้งระบบขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในอดีตการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มักจะเน้นไปในทางเทคนิค หรือ “Technology” เป็นสำคัญ และใช้เพื่อการบริการภายในองค์กรเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีหลาย ๆ องค์กรที่เริ่มนำ ITSM มาปรับใช้กับงานบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด (Customer Satisfaction) โดยเน้นไปที่ “คุณภาพในการให้บริการ” หรือ “Quality of Service” เช่น เรื่อง Service Level Agreement (SLA) เป็นต้น ทำไมองค์กรต้องมีกระบวนการ ITSM? ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญกับองค์กรในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT Support ให้กับบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพภายในองค์กรจึงกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคลากรในองค์กรทำงานได้สะดวกสบายและสร้างความพึงพอใจในการทำงาน  ซึ่งกระบวนการ ITSM ได้เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการทำงานเป็นอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับกระบวนการจัดการด้านไอทีแบบดั้งเดิม กระบวนการด้าน ITSM จะโฟกัสไปที่ความต้องการในทางธุรกิจขององค์กร หรือว่ากันง่าย ๆ แทนที่ทีมไอทีจะโฟกัสแต่เรื่องของฮาร์ดแวร์หรือระบบ ทีมไอทีก็จะไปโฟกัสที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของทีมไอทีเองเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร   เมื่อมองในแง่ประวัติศาสตร์ของ ITSM แล้ว ก็คงต้องย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่มีการริเริ่มการนำกระบวนการ ITSM มาใช้ในงานบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ Data Center ที่ในยุคนั้นเน้นไปที่การบริหารจัดการฮาร์ดแวร์...

Continue reading

วิธีตั้งค่ากำหนดสถานที่ทำงาน (Working Location) ใน Google Calendar

สำหรับท่านใดที่กำลังใช้งาน Google Calendar เพื่อการทำงานหรือติดต่อประสานงานอยู่ ต้องบอกว่าฟีเจอร์ Working Location นี้เป็นประโยชน์มาก ๆ เพราะนอกจากจะใช้ Google Calendar ในการนัดประชุมแล้ว ท่านยังสามารถระบุสถานที่ทำงานของท่านในแต่ละวันได้อีกด้วย  ยิ่งถ้าท่านมีการทำงานที่เป็น Hybrid Working Location แล้วก็ยิ่งสะดวกมาก ๆ เพราะผู้ที่ทำงานร่วมกับท่านหรือผู้ที่มีหน้าที่ตรวจเช็กจะสามารถทราบได้ว่าวันใดท่านทำงานที่สำนักงาน วันใดทำงานจากที่บ้าน หรือวันใดบ้างที่ท่านต้องไปพบลูกค้า เป็นต้น  วิธีตั้งค่าสถานที่ทำงานใน Google Calendar เปิด Google Calendar เลือกวันที่วันใดก็ได้  เมื่อหน้าต่างปรากฏขึ้นให้เลือกเมนู Working Location ดังรูปภาพด้านล่าง      4. จากนั้นคลิกไปที่ Does not repeat เพื่อกำหนดว่าท่านต้องการให้สถานที่ที่ท่านเลือกแสดงบนวันใดบ้าง      5. ในส่วนสุดท้ายท่านจะต้องเลือกสถานที่ทำงาน ซึ่งใน Google Calendar จะมีอยู่ 3 ตัวเลือก คือ Home: บ้าน Office: สำนักงาน Other locations: สำนักงานหรือสถานที่อื่น (ท่านสามารถระบุได้) หากต้องการแก้ไขทำอย่างไร ? เปิด Google Calendar แล้วไปที่วันที่ท่านต้องการแก้ไข คลิกไปที่เส้น Location จะขึ้นคำว่า Change      3. คลิกแล้วเลือกสถานที่ใหม่ได้เลยทันที ฟีเจอร์ Working Location นี้มีใน Google Workspace แพ็กเกจใดบ้าง ? ฟีเจอร์ Working Location สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ใน Google Workspace ทุกแพ็กเกจ แต่สำหรับบุคคลที่ใช้งานบัญชีส่วนตัวเวอร์ชันฟรี (@gmail.com) ในการติดต่องาน จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ เนื่องจากฟีเจอร์นี้ถูกปล่อยออกมาสำหรับการใช้งานในรูปแบบขององค์กร ดังนั้นท่านใดที่ใช้บัญชีส่วนตัวจึงจะไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง  ติดตามฟีเจอร์อัปเดตใหม่ได้ก่อนใครที่ www.dmit.co.th...

Continue reading

เพิ่มลูกเล่นให้การประชุม ด้วยฟีเจอร์ Q&As & Polls

ในการประชุมวีดิโอคอล Google Meet ผู้จัดการประชุมสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์ Q&As & Polls ให้ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมในการประชุมนั้นๆได้มากยิ่งขึ้น  ซึ่ง 2 ฟีเจอร์นี้ Google Meet ได้ทำการเพิ่มขึ้นมาจาก Activities เดิมดังนี้ Breakout rooms – เปิดใช้ห้องกลุ่มย่อยสำหรับการ DiscussionRecording – บันทึกการประชุมวิดีโอ Transcript – บันทึกข้อความถอดเสียงWhiteboarding – ใช้กระดานไวท์บอร์ดด้วย Jamboard Polls – ใช้แบบสำรวจ (NEW)Q&As – ใช้การถามและตอบ (NEW) โดยบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักความสามารถของฟีเจอร์ Q&As และ Polls กันว่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการประชุมได้อย่างไรบ้าง ฟีเจอร์ Q&As หรือ ถามและตอบ ฟีเจอร์ Q&As เป็นฟีเจอร์ที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการพิมพ์เพื่อถามคำถามได้ โดยที่ผู้ถามไม่จำเป็นต้องเปิดไมโครโฟนให้เกิดการติดขัดระหว่างการบรรยาย ตัวอย่างเช่น กรณีงานสัมมนาผ่าน Meet หากผู้เข้าร่วมสัมมนามีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติมสามารถพิมพ์คำถามไว้ได้ที่ฟีเจอร์ Q&As ได้ โดยที่ผู้บรรยายจะสามารถเห็นคำถามนั้นได้ทันที และหากคำถามใดที่ตอบแล้ว ผู้จัดการประชุมสามารถทำเครื่องหมาย mark as answered ไว้ได้เลย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดยังสามารถร่วมโหวตคำถามที่ถูกใจได้อีกด้วย   ฟีเจอร์ Polls หรือ แบบสำรวจ ในการประชุมบางครั้งอาจจะต้องมีโหวตคำตอบหรือความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งผู้จัดการประชุมสามารถใช้ฟีเจอร์ Polls นี้เพื่อสร้างแบบสำรวจได้อย่างเรียลไทม์ โดยผู้โหวตสามารถเลือกโหวตแบบไม่ประสงค์ออกนามได้ อีกทั้งผู้จัดการประชุมยังสามารถตั้งค่าเปิดให้แสดงผลการโหวตได้เลยทันที นอกจากนี้ยังสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อการสร้างแบบทดสอบความเข้าใจในการเรียนการสอนหรือการประชุมได้อีกด้วย เพิ่มเติม: ผู้จัดการประชุมสามารถสร้างแบบสำรวจล่วงหน้าไว้ก่อนได้ และหากต้องการเปิดให้โหวต ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม Vote ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ Q&As หรือ Polls สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมได้ดีทีเดียว และจะช่วยเพิ่มสีสันหรือความน่าสนใจของการประชุมนั้นๆได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย ติดตามอัปเดต Google Workspace จาก Demeter ICT ได้ที่ คลิก...

ความสำคัญของ Data Management พร้อมวิธีวางแผนจัดการข้อมูลเบื้องต้น

Data Management คือ กระบวนการจัดการข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ได้แก่ การรวบรวม การควบคุม การเก็บรักษา ตลอดจนถึงการทำลายข้อมูล  ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรยังไม่มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดีเท่าไรนัก ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาเป็นอาวุธลับสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้ ดังนั้นการจัดการข้อมูลในองค์กรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทำไม Data Management จึงสำคัญ ? แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้ 1. สามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด ข้อมูลถือเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับธุรกิจ เพราะข้อมูลจะช่วยให้ธุรกิจกำหนดกลยุทธ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นแคมเปญโฆษณา การประชาสัมพันธ์สำหรับการตลาด หรือการออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งผู้บริหารยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด แม่นยำ มั่นใจ และรวดเร็วอีกด้วย 2. ลดกระบวนการทำงาน พนักงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้คุณอาจจะกำลังใช้เอกสารหลายฉบับสำหรับการเรียกดูข้อมูลชุดเดียวกันอยู่ ‘แล้วถ้าวันหนึ่งคุณต้องการข้อมูลแค่ชุดเดียว แต่ปรากฏว่าข้อมูลนี้มีอยู่ในเอกสารหลายฉบับมาก ๆ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเอกสารฉบับไหนมีข้อมูลที่ถูกต้อง ?’  ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการซื้อของนาย A เอกสารฉบับที่ 1 อาจระบุว่านาย A ชอบซื้อสินค้าโดยการผ่อนชำระ แต่ในเอกสารฉบับที่ 2 ระบุว่านาย A ชอบซื้อด้วยเงินสด หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ เอกสารฉบับที่ 1 มีข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารฉบับที่ 2 มีพฤติกรรมการซื้อหรือข้อมูลอื่น ๆ เวลาจะใช้งานก็ต้องเปิดดูเอกสารควบคู่กันไป หากมาลองคิดดูดี ๆ แล้วก็หลายขั้นตอนอยู่ใช่ไหม ?  ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบและจัดเก็บแหล่งเดียวกันจะทำให้พนักงานไม่ต้องทำงานหลายขั้นตอน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้เลยทันที ข้อมูลถูกต้อง และเป็นข้อมูลชุดเดียวกันกับพนักงานคนอื่น หมดกังวลเรื่องการใช้ข้อมูลผิดจากการดึงข้อมูลมาจากคนละเอกสารอีกด้วย 3. ข้อมูลมีความปลอดภัย ลดปัญหาภัยไซเบอร์ การจัดการที่ดีจะต้องมาพร้อมกับนโยบายการควบคุมความปลอดภัยภายในองค์กรด้วย ยิ่งข้อมูลมีจำนวนมากเท่าไหร่ การเลือกผู้ให้บริการในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ปลอดภัยก็ยิ่งสำคัญ หากองค์กรมีการจัดการข้อมูลที่ดีที่สามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างหนาแน่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงในหลายรูปแบบ เช่น การป้องกันข้อมูลรั่วไหล และการถูกโจรกรรมอันสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การเงิน และอื่น ๆ เป็นต้น 4. สำรองข้อมูลได้ทันที ไร้กังวลเรื่องการลบข้อมูลจาก Human Errors Human Errors เป็นอะไรที่ป้องกันยากมาก ๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการวางแผนการจัดการข้อมูลเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ลบข้อมูลโดยที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากองค์กรมีการจัดการและควบคุมข้อมูลได้อย่างดีก็จะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลต่าง ๆ...

Continue reading

ใน Google Docs ก็กด React ได้นะ

หลังจากที่เราได้แนะนำ How To ใส่ Emoji ใน Google Docs กันไปแล้ว วันนี้ Google ก็ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ออกมาเพิ่มอีกแล้ว เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่แพ้กันทีเดียว ฟีเจอร์นี้ก็คือ การกด Reaction ใน Google Docs นั่นเอง ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนงานเอกสารอันน่าเบื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น แถมยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อีกด้วย และยังสามารถใช้ได้ในทุกแพ็กเกจเลยนะ วิธีการใส่ Reaction ใน Google Docs เปิด Google Docs แล้วไปยังหน้าเอกสารที่คุณต้องการ พิมพ์ @ ลงหน้ากระดาษ เลื่อนลงไปที่ Voting Chip      4. เลือก Emoji ที่คุณต้องการได้เลย เช่น ? 1 vote ❤️ 0 vote      5. จากนั้นผู้ใช้เอกสารแต่ละคนจะสามารถคลิกที่ Emoji เพื่อ React ได้คนละ 1 ครั้ง คุณสามารถนำฟีเจอร์ Reaction ไปใช้อย่างไรได้บ้าง ? ที่มาของชื่อ Voting Chip แน่นอนว่าคุณสามารถนำไปใช้สำหรับการโหวตหรือ Poll ได้ ใช้สำหรับการแสดงการรับรู้แบบสั้น ๆ ว่าคุณรับรู้ข้อความนี้แล้วโดยที่ไม่ต้องคอมเมนต์หรือทักข้อความบอกใน Google Chat สามารถกด Reaction บนคอมเมนต์เพื่อบ่งบอกว่าคุณเห็นด้วยกับคอมเมนต์นั้นได้ กด Reaction เพื่อเป็นกำลังใจว่าข้อความนั้นเป็นที่ชื่นชอบ และอื่น ๆ ซึ่งคุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้เองได้เลย  >> ติดตามฟีเจอร์อื่น ๆ ของ Google Workspace ก่อนใคร ได้ที่ www.dmit.co.th หมวดหมู่ Blog >> ต้องการสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานหรือสนใจใช้บริการพร้อมรับ Newsletter...

Continue reading

รู้หรือไม่? เราสามารถตอบรับการขอเข้าถึงไฟล์ได้ 2 วิธี

หนึ่งในความสามารถของ Google Workspace ที่ Google เองภูมิใจนำเสนอนั่นก็คือความปลอดภัยที่รักษาข้อมูลของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนมีพนักงานคอยรักษาความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ช.ม. ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่นการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่อยู่บนแอปพลิเคชันของ Google Workspace ซึ่งปกติแล้วไฟล์นั้นๆจะถูกตั้งค่าจำกัดการเข้าถึง (Restricted) เป็น default หากมีบุคคลภายนอกต้องการเข้าถึงไฟล์ ก็จะมีแจ้งเตือนไปยังเจ้าของไฟล์ให้ทำการตรวจสอบการขออนุญาตเข้าถึงไฟล์ก่อนทุกครั้ง โดยบทความนี้ จะมาแชร์วิธีการรีวิวหรือการตรวจสอบการเข้าถึงไฟล์ ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธีด้วยกัน วิธีที่ 1: รีวิวผ่านอีเมล ในกรณีที่มีบุคคลที่ต้องการขอเข้าถึงไฟล์ เจ้าของไฟล์จะได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมลเข้ามาว่ามีผู้ที่ต้องการสิทธิ์ในการเข้าถึง โดยที่เจ้าของไฟล์สามารถอนุมัติหรือปฎิเสธการเข้าถึงไฟล์พร้อมให้บทบาทสิทธิ์ของไฟล์นั้นๆ ผ่านอีเมลได้เลย  วิธีที่ 2: รีวิวผ่านไฟล์ วิธีนี้เป็นอัปเดตล่าสุดของ Google ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ Docs, Slides, Sheets, PDFs และอื่นๆ ให้สามารถรีวิวผ่านไฟล์ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถรีวิวผ่านอีเมลได้เพียงวิธีเดียว  เมื่อมีผู้ที่ต้องการเข้าถึงไฟล์เอกสาร เจ้าของไฟล์จะได้รับการแจ้งเตือนที่ไฟล์นั้นๆ สังเกตได้ว่าจะปรากฎจุดที่ปุ่มแชร์ของไฟล์ โดยที่เจ้าของไฟล์สามารถรีวิวการขอเข้าถึงไฟล์ รวมการให้สิทธิ์บทบาทการเข้าถึงไฟล์จากตรงนี้ได้เลย  ทำความรู้จักบทบาทสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ Viewer (ผู้มีสิทธิ์อ่าน): มีสิทธิ์ดู แต่แก้ไขหรือแชร์ไฟล์กับผู้อื่นไม่ได้Commenter (ผู้แสดงความคิดเห็น): มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ แต่แก้ไขหรือแชร์ไฟล์กับผู้อื่นไม่ได้Editor (ผู้มีสิทธิ์แก้ไข): มีสิทธิ์แก้ไขไฟล์ ยอมรับหรือปฏิเสธคำแนะนำ และแชร์ไฟล์กับผู้อื่นได้ บอกเลยว่าอัปเดตครั้งนี้จะให้ช่วยการทำงานร่วมกันทั้งภายในและนอกองค์กรง่ายขึ้นแน่นอน หรือหากไฟล์ใดที่คุณต้องการจำกัดระยะเวลาการเข้าถึง คุณสามารถตั้งค่าได้ตามบทความนี้ >>> ไฟล์หมดอายุเมื่อไหร่ หมดสิทธิ์เข้าถึงทันที! เพื่อตัดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้เลย...

Transform IT Service Management for Smart Enterprise: ยกระดับการบริหารจัดการด้านไอทีสู่องค์กรสมัยใหม่ด้วย Freshservice

IT ทุกคนเห็นด้วยกับประโยคนี้ไหม? “งานสนับสนุนด้านไอทีเป็นงานที่มักถูกมองข้าม และราวกับว่าการต้องจัดการปัญหาด้านไอทีมากมายกี่วันก็ไม่พอ ถ้าเครื่องมือที่ใช้อยู่ไม่ตอบโจทย์ก็ยิ่งเพิ่มความน่าเจ็บปวดเข้าไปอีก” ถึงอย่างนั้นในยุคปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี  แผนกไอทีก็คือศูนย์รวมของนักพัฒนา นักวางแผน นักสนับสนุน กระทั่งนักแก้ปัญหาภายในองค์กรที่ขาดไม่ได้ การจัดการการบริการด้านไอที (ITSM) ได้กลายเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจของพนักงาน และมีบทบาทโดยตรงกับการยกระดับกระบวนการในองค์กรให้ทันสมัย องค์กรและไอทีจึงสัมพันธ์กันและต้องไปด้วยกันเสมอ ด้วยแนวคิดนี้ Demeter ICT ขอเชิญคุณเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์สุด Exclusive ในหัวข้อ “Transform IT Service Management for Smart Enterprise: ยกระดับการบริหารจัดการด้านไอทีสู่องค์กรสมัยใหม่ด้วย Freshservice” จัดเต็มทุกอย่างที่ IT Leader ควรรู้ ทั้งกลยุทธ์ โซลูชัน และ Case Studies ไม่ว่าจะเป็น รู้ชัดถึง IT Pain Points,  Challenges & Strategies และทำความรู้จัก Freshservice ซอฟต์แวร์ IT Service Management ที่แบรนด์ระดับโลกไว้วางใจ  เห็นภาพกับการสาธิตเดโมการใช้งานจริงในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเหตุขัดข้อง (Incident Management) การรวมทรัพย์สินทางไอทีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (Asset Management), การติดตาม วางแผนการดำเนินงานในทีม, การปรับปรุงกระบวนการระหว่างแผนก ตัวอย่างกรณีศึกษาจากแบรนด์ดัง ความคุ้มค่าของการใช้งาน Freshservice ในแง่ของการลงทุน (ROI) และผลลัพธ์ที่ยืนยันแล้วว่าทำได้จริง พนักงานในองค์กรที่นำ Freshservice ไปปรับใช้มีระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 96% เรื่องราวที่นำมาสู่ตัวเลขนี้ คุณต้องเริ่มพิสูจน์มันด้วยตัวเอง “Transform IT Service Management for Smart Enterprise: ยกระดับการบริหารจัดการด้านไอทีสู่องค์กรสมัยใหม่ด้วย Freshservice” วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566เวลา 14.00 – 15.30 น.   งานอีเวนต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย บรรยายสดผ่านช่องทาง...

Continue reading