Generative AI คืออะไร ? Generative AI คือ แขนงหนึ่งของ Artificial Intelligence (AI) ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ โมเดลสามมิติ และอื่น ๆ ตัวอย่างที่คุณสามารถเห็นได้ชัดคือ ChatGPT แน่นอนว่า 90% ของคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ คงเคยใช้งาน ChatGPT กันมาบ้างแล้ว และคงทราบวิธีการทำงานของ ChatGPT ว่าเป็น AI ที่สามารถตอบคำถามหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้เพียงแค่คุณพิมพ์ (Input) สิ่งที่คุณต้องการลงไปในระบบ จากนั้น Generative AI ใน ChatGPT ก็จะทำงานโดยการประมวลผลจากข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นคำตอบให้คุณได้เลยทันที หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ Google Workspace ที่ไม่นานมานี้ Google ก็ได้ประกาศออกมาว่า จะมีการนำ Generative AI มาช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการทำงานให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้ Generative AI ช่วยสร้างเอกสารและสร้างสไลด์นำเสนองานได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้หลายธุรกิจเริ่มมีการนำ Generative AI เข้ามาใช้งานกันแล้ว ซึ่งต้องบอกเลยว่า Generative AI จะไม่ใช่แค่เทรนด์ที่มาแล้วหายไปแต่อย่างใด แต่ Generative AI จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ผลักดันธุรกิจให้สามารถก้าวหน้าไปอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นองค์กรใดที่นำ Generative AI เข้ามาปรับใช้จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เร็วกว่าคู่แข่งอื่นในท้องตลาดอย่างแน่นอน Generative AI ทำอะไรได้บ้าง ? 1. ช่วยแนะนำไอเดียและสร้างสรรค์เนื้อหาที่แปลกใหม่ หากคุณเป็นสายคอนเทนต์ต้องบอกเลยว่า Generative AI นี้เกิดมาเพื่อคุณเลยนะ ! อย่าเข้าใจผิดว่า Generative AI จะมาแทนที่คุณได้ แต่ Generative AI จะมาช่วยสร้างสรรค์ผลงานของคุณให้ดียิ่งขึ้นต่างหาก เพราะเวลาใดที่คุณนึกไอเดียเกี่ยวกับงานไม่ออกหรือไม่รู้ว่าจะเริ่มโปรเจกต์อย่างไรและตรงไหนดี คุณสามารถใช้ Generative AI...
Continue readingGet Real with Braze Bangkok 2023
Braze จับมือกับ DEMETER ICT จัดงานสัมมนาสุดยิ่งใหญ่! มุ่งบุกขยายฐานลูกค้าในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ จบลงไปแล้วกับงานสัมมนาสุด Exclusive! อย่าง Get Real With Braze Bangkok 2023 ที่ทาง Braze และ DEMETER ICT ได้ร่วมกันจัดขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรม Park Hyatt Bangkok โดยในงานนี้มีเหล่านักธุรกิจ, CEO, CMO, Head of Marketing และ Marketing Manager ชั้นนำของประเทศไทยเข้าร่วมกว่า 240 ท่าน+ ภายในงาน ‘Get Real with Braze Bangkok 2023’ ได้มีการเชิญลูกค้าของ Braze ในประเทศไทยอย่าง NocNoc, TrueMoney, Pomelo และ Robinhood รวมถึง Sponsors อย่าง Twilio Segment, Verticurl และ Appflyers มาร่วมกันแชร์กลยุทธ์และประสบการณ์ในการออกแบบการสร้าง Engagement และ CX อย่างสร้างสรรค์ให้กับลูกค้าสำหรับธุรกิจระดับ Enterprise ให้ทุกท่านได้ฟังกัน คุณ Pui Seng Lee (Head of Growth, TrueMoney) และคุณ Anupong Tasaduak (Chief Commercial Officer, NocNoc) บรรยายในหัวข้อแรก ‘Getting Creative with CRM and Growth Strategies’ คุณ Kanit L (Principle Consultant of...
Continue readingGoogle Workspace Showcase: Generative AI & AppSheet โซลูชันอัจฉริยะพลิกโฉมโลกธุรกิจ
งานสัมมนาเปิดตัว Google Workspace Generative AI ครั้งแรกในประเทศไทย 20 กันยายน 23 l 13.30 – 17.00 น. Showcase: Generative AI & AppSheet โซลูชันอัจฉริยะพลิกโฉมโลกธุรกิจ หากคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มเพื่อการทำงานที่ตอบโจทย์ครบทุกโซลูชันด้วย AI บอกเลยว่าปีนี้เป็นปีแห่ง Generative AI เทคโนโลยีที่สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและแน่นอนที่สุด! “มาร่วมทำความรู้จัก Generative AI สู่ Duet AI ใน Google Workspace งานสัมมนาเปิดตัว AI ของ Google Workspace ครั้งแรกในประเทศไทย” พร้อมทั้งต่อยอดการทำงานให้ล้ำขึ้นไปอีกขั้นด้วย AppSheet แอปพลิเคชันไร้โค้ดจาก Google มาช่วยทรานฟอร์มธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างอัจฉริยะและอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ลงทะเบียนขอสิทธิ์เข้าร่วมงานได้เลย ! งานสัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เข้าร่วมงาน SPEAKERS WarissaraChawalitsoonthorn Customer Engineer, Google Cloud, Thailand Chutimon Phattaraworadech Google Workspace Solutions Consultant Anucha Jaemjaeng AVP, Google Business Change Consultant KanjawanPayakkat AppSheet Engineer PariyaMeeros AppSheet Specialist PrawfaPhermpoonboon AVP, Sales (Google Cloud Solutions) AGENDA 13.30 – 14.00 น. Register 14.00 – 14.25 น. Introduction to Google Workspace Generative AI ...
Continue readingพาส่อง AI ใน Google Workspace ผู้ช่วยอัจฉริยะที่จะทำให้งานของคุณง่ายขึ้นอีกหลายเท่า
นาทีนี้ต้องยอมรับว่า AI มีบทบาทสำคัญในโลกปัจจุบันเป็นอย่างมากและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น เพราะถ้าลองสังเกตดีๆแทบจะอยู่ในทุกส่วนของชีวิตประจำวันเราไปแล้ว เช่น การปลดล็อคหน้าจอมือถือด้วยการแสกนใบหน้า การรักษาความปลอดภัยทางธุรกรรมการเงิน หรือแม้แต่อุปกรณ์สมาร์ทโฮมต่างๆ รวมไปถึง AI ยังเป็นที่นิยมใช้ในหลายๆสายงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกได้มากขึ้นเลยทีเดียว Duet AI with Workspace แน่นอนว่า Google Workspace เอง ก็มีเทคโนโลยี AI เป็นของตัวเองเช่นกัน โดยใช้ชื่อเรียกว่า “Duet AI with workspace” ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะ ในการช่วยคิด ช่วยค้น และเนรมิตงานให้ออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ เป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานของคุณสะดวกและง่ายขึ้นอีกหลายเท่าตัว จากเดิมที่เราทำ collaboration ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยเครื่องมือ Google Workspace แล้ว ทีนี้เราลองมา collaborate กับ AI กันบ้าง ดูซิว่าการทำงานของคุณจะเปลี่ยนไปขนาดไหน Duet AI ของ Google Workspace หน้าตาเป็นอย่างไร ? Duet AI จะปรากฎอยู่ที่แอปพลิเคชันการทำงานต่างๆ เช่น Gmail, Docs, Sheets, Slides และ Meet โดยจะมีหน้าที่และความสามารถพิเศษที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราจะพาทุกท่านไปดูกันว่า Duet AI มีหน้าที่อย่างไรในแต่ละแอปพลิเคชันบ้าง https://www.youtube.com/watch?v=6DaJVZBXETE&t=3s Gmail: Help me write มาทำให้การเขียนอีเมลของคุณง่ายขึ้น ด้วยตัวช่วยอย่าง “Help me write” ที่ช่วยคุณร่างอีเมล ตอบกลับ หรือแม้กระทั่งช่วยสรุปใจความสำคัญของอีเมลนั้นๆได้อีกด้วย ที่น่าสนใจก็คือในเวลาที่คุณจำเป็นต้องตอบอีเมลผ่านโทรศัทพ์มือถือที่อาจจะไม่สะดวกในการพิมพ์ เพียงแค่พิมพ์ขึ้นต้นสัก 2-3 คำ นอกนั้น AI ก็จะช่วยร่างประโยคนั้นให้เสร็จสมบูรณ์ให้คุณได้เลยทันที Google Docs: Help me write นอกจาก Help...
Continue readingถอดรหัสธุรกิจ NocNoc เพิ่ม Conversion Rate ถึง 207% ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมข้ามช่องทาง
NocNoc ธุรกิจอีคอมเมิร์ซชั้นนำของประเทศไทยสำหรับคนรักบ้าน ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังเปิดตัวในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา NocNoc ตอบโจทย์ทุกความต้องการสำหรับคนชอบแต่งบ้าน ทั้งซื้อวัสดุก่อสร้าง มองหาเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ๆ ไอเดียของตกแต่งบ้าน และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบครบวงจร ที่คุณสามารถหาได้ครบจบในที่เดียว ภาพจากเว็บไซต์ urbancreature ปี 2566 นี้ NocNoc ยังคงเดินหน้าสร้างแบรนด์และความสัมพันธ์ของลูกค้าให้แข็งแกร่ง ด้วยการสร้างประสบการณ์ในการแต่งบ้านในสไตล์ที่ใช่ ด้วยระบบ AI ที่ช่วยค้นหาเฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้านได้ตรงใจ และการนำเครื่องมือ Martech อย่าง Braze มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ทางการตลาดให้ Personalized กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น NocNoc มีวิธีการอย่างไร? ไปดูกัน! ปัญหาของ NocNoc NocNoc ต้องการปรับแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพของข้อความที่ส่งหาลูกค้าให้มีความเฉพาะตัว (Personalized) พร้อมกับการส่งข้อความแบบอัตโนมัติ Real-time และสามารถรองรับทุกช่องทางที่ลูกค้ามี (Cross-Channel Solution) โดยพิจารณาจากสถานการณ์ การเดินทางและวงจรชีวิตของลูกค้าแต่ละคน กลยุทธ์ที่ทำร่วมกับ Braze ส่งข้อความที่มีความ Personalized เฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับแต่ละแคมเปญในทุกช่องทางไม่ว่าลูกค้าจะอยู่บนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย ด้วยการเข้าถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและวงจรชีวิตของลูกค้าได้แบบ Real-time ของแพลตฟอร์ม Braze ทำให้ NocNoc สามารถจัดการและแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม Segmentation เพื่อส่งข้อความ (เช่น แนะนำสินค้า โปรโมชัน และอื่น ๆ) ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ในสถานการณ์ที่ใช่และในเวลาที่เหมาะสม ผลลัพธ์หลังจากใช้ Braze นับตั้งแต่ที่ NocNoc เริ่มมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม Segmentation ที่ต้องการและส่งข้อความที่มีความ Personalized แบบอัตโนมัติไปหาลูกค้ายังช่องทางต่าง ๆ ส่งผลให้ NocNoc มี Conversion Rate เพิ่มสูงขึ้นกว่า 207% และเพิ่มมูลค่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าที่ได้รับการดูแลบริหารจัดการ (CRM) ได้ถึง 30% ก่อนที่ NocNoc จะมาใช้ Braze ช่องทางการตลาดของ NocNoc จำกัดอยู่ที่การส่งอีเมล เพื่อสร้างการเข้าชมเว็บไซต์ของบริษัทเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามทีมการตลาดรู้สึกตระหนักถึงโอกาสในการเติบโตโดยการวิเคราะห์ KPIs และประสิทธิภาพของทีมการตลาด...
Continue reading3 เหตุผลที่ไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน ”แทน” อีเมลบริษัท
การทำงานด้วยอีเมลส่วนตัวเป็นทางเลือกหนึ่งของหลาย ๆ บริษัทที่ให้พนักงานได้ใช้ช่องทางของตัวเองสำหรับการทำงานในแต่ละวัน ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะให้ความสะดวกและสามารถลดต้นทุนได้ในระยะสั้น แต่หารู้ไม่ว่าการใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงานนั้นสามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อบริษัทได้เลย ซึ่งหากปล่อยไว้จนบานปลายก็คงไม่ดีเท่าไหร่นักหากจะต้องมารื้อระบบการทำงานในภายภาคหน้า ดังนั้นเพื่อเป็นการเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันให้บริษัทก่อนจะสายเกินแก้ เราจึงได้คัดเลือก 3 เหตุผลหลักที่คุณไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวทำงานแทนอีเมลบริษัท เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มก่อตั้งบริษัทหรือกำลังใช้อีเมลแบบส่วนตัวอยู่ ให้เห็นภาพและทำความเข้าใจข้อจำกัดในการทำงานด้วยอีเมลแบบส่วนตัวมากขึ้นว่าส่งผลเสียต่อบริษัทอย่างไรบ้าง 1. อีเมลไม่มีความน่าเชื่อถือ ดูเหมือนมิจฉาชีพ ในฐานะผู้รับหากคุณได้รับอีเมลจาก AAA@gmail.com / BBB@hotmail.com หรือ CCC@yahoo.com คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าอีเมลนี้คืออีเมลจากคนในบริษัทที่คุณต้องการจะติดต่อจริง ๆ ? และอีเมลนี้ถูกส่งมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ? ปลอดภัยที่จะเปิดเข้าไปอ่านมากแค่ไหน ? กว่าจะได้เปิดอีเมลต้องคิดวนไปวนมาอยู่หลายครั้งเลยใช่ไหมล่ะ ? ว่าจะอันตรายไหม จะเชื่อได้มากน้อยแค่ไหนในยุคที่มิจฉาชีพทางไซเบอร์ระบาดหนักขนาดนี้ และในกรณีที่คุณเป็นผู้ส่งเอง คุณอาจจะไม่ได้รับการติดต่อกลับจากคนที่คุณต้องการก็ได้เช่นกัน เนื่องจากอีเมลส่วนตัวของคุณเข้าข่ายเป็นอีเมลที่ไม่น่าเชื่อถือมากพอสำหรับการติดต่องานของบริษัท ทำให้คุณดูเหมือนมิจฉาชีพถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่ก็ตาม ดังนั้นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือคุณจึงควรใช้อีเมลสำหรับบริษัท (@company.co.th / .com) สำหรับการติดต่องานของบริษัทจึงจะเป็นวิธีที่เหมาะสมมากที่สุด 2. บริษัทไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลได้ ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของข้อมูลและความปลอดภัย เนื่องจากตอนนี้ประเทศไทยเรามี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า PDPA ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายคอยปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลออกไปโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต หากคุณใช้อีเมลสำหรับบริษัท คุณจะสามารถตั้งค่าและตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่น การแชร์ข้อมูลต้องห้ามออกนอกบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลหรือการถูกโจรกรรมข้อมูล ซึ่งหากใครที่มีการใช้งานบัญชีอีเมลบริษัทของ Google Workspace จะไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องนี้เลย เพราะ Google นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานระดับโลก แต่หากคุณใช้อีเมลส่วนตัวล่ะก็ คุณจะไม่มี Admin Console เหมือนกับอีเมลบริษัท ดังนั้นหากพนักงานคนไหนส่งข้อมูลอะไรออกไป คุณจะไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกแชร์ออกไปได้นั่นเอง 3. พนักงานลาออก = ข้อมูลบริษัทหาย เมื่อพนักงานใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องาน นั่นก็หมายความว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรับ-ส่ง ก็จะถูกเก็บไว้ใน Drive ส่วนตัวของพนักงานคนนั้นเช่นกัน ดังนั้นแล้วหากพนักงานคนใดคนหนึ่งลาออก ข้อมูลทั้งหมดนั้นจะไม่ถูกโอนมายังบริษัทแต่อย่างใด หรือหากโอนย้ายจาก Drive มาได้ คุณก็จะไม่ใช่เจ้าของข้อมูลนั้นอยู่ดี ทำให้เวลาที่คุณจะเข้าไปตั้งค่าหรือเข้าไปใช้งานอาจจะไม่ค่อยสะดวกนัก ตัวอย่างเช่น พนักงาน A ต้องการจะลาออก จึงได้แชร์ไฟล์ทั้งหมดที่ตนมีให้บริษัท ซึ่งพนักงานคนอื่น...
Continue readingผู้ใช้งาน Google Workspace เตรียมใช้งาน AppSheet Core ฟรี!
เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น Google จึงได้นำ AppSheet แพลตฟอร์มการสร้างแอปพลิคชันแบบไร้โค้ดมาพัฒนาเพื่อให้ลูกค้าของ Google Workspace สามารถนำกระบวนการทำงานมาต่อยอดให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน และสามารถเชื่อมต่อกับ Google Cloud และฐานข้อมูลอื่นๆมากมาย ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด หากท่านใดกำลังสงสัยอยู่ว่า AppSheet คืออะไร สามารถทำความรู้จักได้ที่บทความนี้ >>สรุป AppSheet คืออะไร ? ทำอะไรได้บ้าง ? (ฉบับเข้าใจง่าย) ประกาศข่าวดีล่าสุดจาก Google เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา Google ได้เพิ่มความสามารถของ AppSheet Core ให้กับลูกค้าที่ใช้งาน Google Workspace สำหรับองค์กรและหน่วยงานการศึกษา ให้ได้ใช้งานกันไปเลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม Google Workspace แพ็กเกจใดบ้างที่สามารถใช้งาน AppSheet Core ได้? AppSheet Core จะถูกเพิ่มเข้ามาในแพ็กเกจ Google Workspace ดังต่อไปนี้ Business Starter, Standard และ Plus Enterprise Starter และ Standard Non-profits Education Standard AppSheet Core ทำอะไรได้บ้าง? AppSheet Core คือหนึ่งในแพ็กเกจของ AppSheet ยอดนิยมที่ให้ท่านได้ใช้ฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความสามารถของแอปพลิเคชันให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการสร้าง Automation ขั้นสูงและการจัดการและควบคุมความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน ท่านสามารถดูรายละเอียดของ AppSheet Core เพิ่มเติมได้ที่นี่ >> เปรียบเทียบแพ็กเก็จ AppSheet วิธีตั้งค่าความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน AppSheet Core หากท่านกังวลในเรื่องของความปลอดภัยของการใช้งานแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็น: การแชร์แอปพลิเคชันสู่ภายนอกองค์กร การเชื่อมต่อแอปพลิเคชันกับฐานข้อมูลภายนอกองค์กร การส่งอีเมลอัตโนมัติสู่บัญชีนอกองค์กร การใช้แอปพลิเคชัน AppSheet อื่น ที่ไม่ใช่ขององค์กร ผู้ดูแลระบบ (Admin) Google Workspace ขององค์กรท่านสามารถตั้งค่า...
Continue readingPersonalized Marketing การตลาดที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
มีผลสำรวจจาก Mckinsey & Company Report ออกมาว่าการทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ส่งผลให้ลูกค้าถึง 78% มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าหลังจากได้รับคำแนะนำแบบเฉพาะตัว และกว่า 80% จะแนะนำแบรนด์ที่สร้างความ Personalized ให้กับครอบครัวและคนรู้จักของพวกเขา แล้วคุณรู้จักการทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ดีแล้วหรือยัง? บทความนี้จะพาคุณมารู้จักกับคำว่า Personalized Marketing ให้ดียิ่งขึ้น เริ่มจาก.. กลยุทธ์ Personalized Marketing คืออะไร? การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing หรือ Personalization คือ การตลาดแบบเฉพาะบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยการรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณ เพื่อให้นักการตลาดสามารถมอบประสบการณ์ทางการตลาดที่ตรงใจและเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มมากที่สุด การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ไม่เพียงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทีมการตลาดเท่านั้น แต่ยังช่วยธุรกิจในการลดต้นทุนในด้านการตลาดโดยไม่ต้องเสียเงินไปกับการตลาดที่ไม่ได้ผลและไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และยังช่วยลดโอกาสในการสูญเสียลูกค้าไปอีกด้วย จากผลสำรวจพบว่ากว่า 63% ของลูกค้ารู้สึกรำคาญและเบื่อหน่ายการตลาดที่นำเสนอข้อความโฆษณาแบบซ้ำ ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง แต่การที่ธุรกิจจะทำ Personalized Marketing ได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมืออย่าง Martech เข้ามาช่วย เพราะถ้าให้ทีมการตลาดมาจัดการ Monitor ข้อมูลลูกค้าแต่ละคนคงเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งแพลตฟอร์ม Braze ก็เป็นหนึ่งใน Martech Platform ที่สามารถช่วยให้คุณทำ Personalized Marketing ง่ายดายยิ่งขึ้น การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing มีกี่ประเภท? การทำการตลาดแบบ Personalized Marketing มีทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้ Segmentation (การแบ่งกลุ่มลูกค้า) 1-1 Product Recommendation (การแนะนำสินค้าแบบ 1-1) Dynamic Content (การปรับคอนเทนต์ให้เหมาะสม) Personalized Email Marketing (อีเมลการตลาดที่เฉพาะตัว) 1. Segmentation (การแบ่งกลุ่มลูกค้า) การแบ่งกลุ่มของลูกค้าออกเป็นหลาย ๆ...
Continue readingรู้ Insight ที่แท้จริง ด้วย Dashboard
ลองนึกดูสิว่าน่าเสียดายแค่ไหน เมื่อคุณมี Data ในมือแต่ไม่สามารถเข้าถึงแก่นที่สำคัญของข้อมูลได้เลย ไม่มีแม้แต่เครื่องมือที่ช่วย analyze ข้อมูลเหล่านั้นให้สามารถอยู่ในรูปแบบที่เราสามารถมองและเข้าใจได้ทันทีว่าตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอย่างไร เกิดปัญหาที่ใด และจะแก้ไขให้ทันเวลาได้อย่างไร หากจะค้นทีก็ต้องไล่เปิดตามไฟล์ Excel หรือ Spreadsheet แล้วนำมาสรุปผล ซึ่งต้องใช้เวลาที่ดูแล้วก็ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอน และจะดีกว่าไหม ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาอยู่ในรูปแบบของแดชบอร์ด ให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมข้อมูลได้ในที่เดียว โดยบทความนี้เราจะพาไปรู้จักว่า แดชบอร์ด (Dashboard)คืออะไร และแนะนำเครื่องมือสร้างแดชบอร์ดที่นิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ แดชบอร์ดคืออะไร แดชบอร์ด คือหน้าต่างที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Data Visualization ให้อยู่ในรูปแบบ Graphical User Interface (GUI) หากแปลเป็นไทยก็คือ “ส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบกราฟิก” หรือ “ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้งาน” นั่นหมายความว่าแดชบอร์ดมักจะแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบ แผนภูมิ กราฟ ตาราง มาตรวัด และองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยจุดประสงค์หลักของแดชบอร์ดก็คือให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานะของข้อมูลโดยรวมได้รวดเร็วมากขึ้น จากเดิมที่ต้อง manual ค้นหาข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากยิ่งมีข้อมูลจำนวนมาก ก็อาจจำต้องใช้เวลานานในการรวบรวม เพราะเหตุนี้ทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะมีแดชบอร์ดไว้ดูภาพรวมข้อมูลขององค์กร เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ วางแผน หรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที แท้จริงแล้วแดชบอร์ดมีไว้สำหรับ C-Level ? หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่า แดชบอร์ดนั้นมีไว้สำหรับให้ผู้บริหารหรือ C-Level ขึ้นไปไว้ดูภาพรวมการบริหารเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแดชบอร์ดสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับหน้าที่ ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานเพื่อให้เห็นภาพข้อมูลโดยละเอียดไว้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจในแต่ละวัน แดชบอร์ดที่ดีจำเป็นต้องมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร องค์ประกอบของหน้าแดชบอร์ดจำเป็นต้องมีการจัดวางที่เหมาะสม เรียบง่าย และดูสบายตา อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ สามารถดึงข้อมูลได้หลากหลายแหล่ง เช่น ฐานข้อมูล สเปรดชีต API และบริการบนคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ในที่เดียว สามารถรองรับและเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป และ สมาร์ทโฟน ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี เปรียบเทียบการใช้และไม่ใช้แดชบอร์ด Dashboard Dashboard อำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลด้วยแผนภูมิ กราฟ ฯลฯ ใช้เวลาวิเคราะห์จากข้อมูลดิบ แล้วนำมาทำรายงานอีกที ซึ่งอาจพลาดข้อมูลที่สำคัญ แสดงข้อมูลเป็นล่าสุดอยู่เสมอ ต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอด สามารถเลือกมุมมองแสดงผลข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ ออกแบบรายงานแยกให้ตรงกับบทบาทของแต่ละบุคคลด้วยวิธี manual มีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน มีความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลได้มากกว่า...
Continue reading