ข้อมูลจำนวนมากและซับซ้อนอาจทำให้เสียเวลาค้นหาโดยใช่เหตุ เราจึงได้รวบรวม 4 เครื่องมือที่มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจาก Google Workspace เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่จะมาปฏิวัติวิธีการทำงานของคุณด้วย AI สุดล้ำจาก Google ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและทำงานร่วมกับทีมได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย… 1. เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้เร็วขึ้นด้วย AI ใน Google Sheets ใครที่ใช้ Google Sheets บันทึกข้อมูลอยู่เป็นประจำต้องไม่พลาดฟีเจอร์ใหม่ของ Gemini ใน Google Sheets ที่มาพร้อมกับความสามารถลึกซึ้งกว่าเดิม โดยจะช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย AI ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์แนวโน้ม รูปแบบ หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล อีกทั้งยังช่วยสร้างแผนภูมิต่างๆ รวมถึงสร้างรูปแบบการแสดงข้อมูลในตารางโดยใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อแสดงค่าของข้อมูล (Heatmap) ทำให้สามารถเห็นภาพรวมของข้อมูลและจุดที่มีค่าสูงหรือต่ำได้อย่างรวดเร็ว เคสตัวอย่างการใช้งาน Gemini ใน Google Sheets Gemini ใน Google Sheets เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการตลาด: ผู้จัดการฝ่ายการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลแคมเปญได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยให้ Gemini วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและสร้างแผนภูมิที่แสดงประสิทธิภาพของช่องทางต่างๆ มีการใช้แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram) และการแสดงผลข้อมูลด้วย Heatmap ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและระบุจุดที่ต้องปรับปรุงได้ง่ายขึ้น การจัดการกระแสเงินสด: เจ้าของธุรกิจ SME สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตและระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยการคาดการณ์ล่วงหน้าช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ การวิเคราะห์สินค้าคงคลัง: นักวิเคราะห์การเงินสามารถตรวจสอบแนวโน้มสินค้าคงคลังและหาจุดผิดปกติได้ทันท่วงที ซึ่งการตรวจพบรูปแบบหรือแนวโน้มความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาสินค้าขาดสต็อกได้ 2. NotebookLM: สรุปข้อมูล ตอบคำถาม และสร้างเนื้อหาด้วยพลัง AI เคยไหมที่ต้องนั่งอ่านเอกสารกองโต หาข้อมูลสำคัญจากไฟล์มากมาย? NotebookLM จะเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย! เพียงแค่ใส่ Source ในรูปแบบเอกสาร, PDF, ไฟล์ Google Drive, วิดีโอ หรือไฟล์เสียงที่คุณต้องการวิเคราะห์เข้าไป NotebookLM ก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลของคุณทันที! ที่ไม่ว่าคุณต้องการทราบข้อมูลใด NotebookLM ก็จะช่วยหาคำตอบและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้อย่างแม่นยำ และมั่นใจได้ว่า Result ที่คุณได้รับคือข้อมูลที่เป็นความจริง มากไปกว่านั้นองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก NotebookLM ในการสร้างแหล่งข้อมูลส่วนกลาง...
Continue readingLet’s Connect 2025: Mastering Customer Engagement with BrazeAI
สัมผัสประสบการณ์สุด Exclusive! สำหรับแขกคนพิเศษของเราที่ได้รับเชิญเท่านั้น! Demeter ICT และ Braze ขอเชิญคุณเข้าร่วมงานสุด Exclusive! กับงาน “Let’s Connect 2025: Mastering Customer Engagement with BrazeAI” ที่จะอัปเดตเทรนด์การตลาดปี 2025 พร้อมเจาะลึกกลยุทธ์ Customer Engagement ที่ช่วยให้แบรนด์สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า ภายในงานคุณจะได้ออกแบบ Customer Journey และกลยุทธ์ Personalized Marketing ผ่าน Workshop สุดเข้มข้น พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Martech รวมถึงฟังเคล็ดลับความสำเร็จจากแบรนด์ชั้นนำที่ใช้ Braze ขับเคลื่อนธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีโอกาสลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษ และร่วม Wine Networking เพื่อขยาย Connection กับเหล่า Marketing Specialists จากหลากหลายอุตสาหกรรมกันอย่างใกล้ชิด Highlights: อัปเดตเทรนด์การตลาดล่าสุดและกลยุทธ์สร้าง Customer Engagement ปี 2025 ก่อนใคร! เจาะลึกแพลตฟอร์ม Braze กับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสำรวจ Product Roadmap และฟีเจอร์เด่น ๆ ที่ช่วยยกระดับ Customer Engagement ได้ลงมือทำ Workshop ในการออกแบบ Customer Journey และกลยุทธ์การตลาดแบบ Personalized พร้อมรับคำแนะนำตรงจากผู้เชี่ยวชาญ รับฟังกลยุทธ์ทางการตลาดและเคล็ดลับความสำเร็จที่นำไปใช้ได้จริงจากแบรนด์ชั้นนำที่ทำงานร่วมกับ Braze อย่างแท้จริง ร่วมกิจกรรมสุดพิเศษภายในงาน เพื่อลุ้นรับของรางวัลกับผู้ที่เข้าร่วมภายในงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อขยาย Connection กับบริษัทและ Marketing Specialist ท่านอื่น ๆ ที่มาร่วมงาน ปิดท้ายด้วย Wine Networking สุด Exclusive กับผู้เชี่ยวชาญจาก Demeter ICT และ Braze ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง Speaker...
Continue readingCXBOX HUB เพิ่มประสิทธิภาพการทำ Customer Engagement และลดต้นทุนแบบครบวงจรบน Zendesk
หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ ก็คือเรื่องของการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) หรือ CX จากการสำรวจของ Zendesk ใน CX Trends 2025 พบว่า ร้อยละ 60 ของลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับตนเองได้ และลูกค้ากว่าร้อยละ 73 จะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์คู่แข่งหากได้รับประสบการณ์ที่ย่ำแย่มากกว่า 1 ครั้ง การสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดี (CX) จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การรักษาลูกค้าเดิม (Customer Retention) และหาลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในวิธีการสร้าง CX ที่ดีก็คือการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าหรือ Customer Engagement แบบครบวงจร Zendesk เครื่องมือสร้างประสบการณ์ลูกค้าชั้นนำ จุดแข็งของ Zendesk ในการเป็นผู้นำด้าน Customer Experience หรือ CX จากการจัดอันดับของหลายองค์กร โดยเฉพาะ Gartner ก็คือการเป็นแพลตฟอร์มด้านการบริการลูกค้า (Customer Service) ที่สามารถเชื่อมต่อ (Integration) กับระบบอื่น ๆ เพื่อให้การทำ Customer Engagement เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามระบบ Zendesk มีจุดเด่นในการทำงานด้านบริการลูกค้าที่เป็นในลักษณะของการทำ Customer Engagement แบบขาเข้า (Inbound) แต่ในแง่ของการสื่อสารเชิงรุก (Outbound) กับลูกค้าก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เล็กน้อย เช่น การส่งแคมเปญการตลาดหรือข้อความที่มีเนื้อหาหลากหลาย (Rich Messages) ไปยังลูกค้าโดยตรง ซึ่งข้อความที่ส่งออกนอกระบบ Zendesk นั้นไม่สามารถถูกติดตามหรือเก็บบันทึกภายในระบบได้ ทำให้เกิดช่องว่างในข้อมูลและประวัติการติดต่อของลูกค้า CXBOX Hub เครื่องมือที่ช่วยทลายข้อจำกัดทั้งหมด CXBOX HUB เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย ดีมีเตอร์ (Premier Partner ของ Zendesk) ที่ช่วยให้แบรนด์หรือองค์กรใช้ประสิทธิภาพของฟังก์ชัน Sunshine Conversations หรือ Messaging API ของ Zendesk ที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกใช้ในระดับสูงสุดในหลายองค์กร การใช้ CXBOX HUB...
Continue readingHow to: เชื่อมต่อ Salesforce กับ Gemini จัดการข้อมูลลูกค้าได้ง่าย ๆ ผ่าน Gmail
ปัจจุบัน Google ได้พัฒนา Extension สำหรับ Gemini เพื่อให้คุณสามารถจัดการงานต่าง ๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Salesforce for Gemini: ผู้ช่วยอัจฉริยะด้าน CRM ที่จะช่วยให้คุณจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และน่าประทับใจ เพียงแค่ใช้ Salesforce for Gemini คุณก็สามารถนำข้อมูลของลูกค้าเข้าสู่ระบบได้เลยทันที ไม่จำเป็นต้องสลับแอปหรือนำเข้าข้อมูลด้วยตัวเองอีกต่อไป ทำตามนี้ได้เลย วิธีการติดตั้งและใช้งาน Salesforce for Gemini เพื่อจัดการข้อมูลลูกค้า 1. ติดตั้ง Salesforce Extension อันดับแรกคุณจะต้องทำการติดตั้ง Extension โดยคลิกที่นี่หรือค้นหา ‘Salesforce for Gemini’ ในสัญลักษณ์ + (Marketplace) ที่แท็บเมนูด้านขวา ซึ่งเงื่อนไขในการใช้งานมีดังนี้ ต้องมีบัญชี Google Workspace (แพ็กเกจใดก็ได้) ต้องสามารถเข้าถึง Salesforce Sales Cloud ได้ จากนั้นกด Install แล้วเลือก continue 2. ค้นหา Insights ของลูกค้าได้ทันทีด้วยฟังก์ชัน Sales enquiry เมื่อคุณติดตั้งเรียบร้อยแล้ว Gmail จะทำการเชื่อมต่อกับ Salesforce โดยอัตโนมัติ ซึ่งหากคุณเชื่อมต่อสำเร็จ คุณจะพบกับปุ่มฟังก์ชันนี้เมื่อคุณเปิดอีเมลของคู่สนทนา (ลูกค้า) ‘Take action on this sales inquiry’ 3. บันทึกข้อมูล Salesforce Leads ผ่านหน้า Gmail ได้โดยตรง เมื่อคุณกดปุ่ม ‘Take action on this sales inquiry’ แล้ว Gemini ใน Side Panel จะปรากฏขึ้นที่ด้านขวา ให้คุณเลือก...
Continue readingเคล็ด(ไม่)ลับ เขียน Prompt บน Gemini App ด้วยวิธีนี้ Result ปังแน่นอน!
เคยไหมที่เวลาใช้ Gemini ในการหาไอเดีย แต่ก็ไม่ได้คำตอบที่ตรงใจสักที แน่นอนว่าหนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือการป้อน Prompt ที่ยังไม่ตรงจุดหรือกว้างเกินไปนั่นเอง ซึ่งคุณ Pooja Jain (Customer Engineer, Google Workspace) ได้แชร์ประสบการณ์ผ่านบทความบน Google Workspace blog ไว้ว่า “การเขียน Prompt บน Gemini Advanced ให้ลองใช้เทคนิค Question-Based Prompting เพื่อคำตอบที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น” เทคนิค Question-Based Prompting หรือ QBP คืออะไร หลักการสำคัญของ Question-Based Prompting (QBP) ก็คือการเปลี่ยนวิธีการป้อนแบบคำสั่งแบบกว้างๆ หรือประโยคบอกเล่าให้อยู่ในรูปแบบคำถาม โดยให้เริ่มต้นบทสนทนาจากคำถามตั้งต้น แล้วตามด้วยคำถามต่อเนื่อง เพื่อเจาะลึกรายละเอียดและให้ได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำไมต้องใช้เทคนิค QBP กับ Gemini App ให้ Gemini เข้าใจบริบทและความต้องการได้ชัดเจนขึ้น คำถามช่วยให้โมเดลรู้ว่าเราต้องการอะไร และข้อมูลแบบไหนที่เรากำลังมองหา เพราะคำถามที่เรียบเรียงอย่างดีจะช่วยให้ Gemini เห็นทิศทางที่ชัดเจนและสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น ได้รับข้อมูลที่ตรงประเด็นและละเอียดมากขึ้น การถามคำถามที่เจาะจงจะนำไปสู่คำตอบที่ตรงกับความต้องการมากกว่าการให้คำสั่งกว้างๆ ควบคุมทิศทางของเนื้อหา การตั้งคำถามช่วยให้คุณสามารถนำทางการตอบกลับของ Gemini ไปในแนวทางที่คุณต้องการ ทำให้คุณได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณมากที่สุด วิธีสร้างคำถามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Gemini คุณสามารถสร้างคำถามเพื่อป้อนเป็น Prompt ได้สองวิธีหลัก ๆ นั่นก็คือการป้อนคำถามที่ละเอียดและเจาะจงด้วยตนเอง หรือใช้ความสามารถของ Gemini ให้ช่วยสร้างไอเดียคำถามให้ โดยวิธีแรกจะช่วยให้คุณควบคุมทิศทางและรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่วิธีที่สองให้ Gemini ช่วยสร้างชุดคำถามที่เหมาะสมให้ ยกตัวอย่างเช่น การถาม Gemini ว่า “มีคำถามสำคัญอะไรบ้างที่ฉันควรถาม Gemini เพื่อปรับปรุงการจัดการโปรเจกต์ของฉัน?” ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลเชิงลึกและผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ คำแนะนำ: คุณสามารถแนบข้อมูลหรือไฟล์เพื่อเป็น “บริบท” เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ เอกสาร, สเปรดชีต, ไฟล์นำเสนอ, รูปภาพ หรือโค้ด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ Gemini...
Continue readingสมัคร Google Workspace เริ่มต้นแค่ 1 บัญชีก็ได้รับ Generative AI แล้ว!
อยากใช้ Google Workspace ไม่มีขั้นต่ำ แค่ 1 บัญชีก็สมัครได้เลย เพียง 137.50 บาท /บัญชี/เดือน หรือ 1,650 บาท/ปี* ในแพ็กเกจเริ่มต้น คุณก็ได้รับฟีเจอร์ที่ครอบคลุมทุกการใช้งาน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูงสุดตามมาตรฐานสากลของ Google อย่างแน่นอน *หมายเหตุ: ราคาโปรโมชันสำหรับผู้ใช้งาน 20 บัญชีแรก มาดูกันว่า ถ้าคุณซื้อ Google Workspace 1 บัญชี คุณจะได้รับอะไรบ้าง? 1. หากมีโดเมนแล้ว คุณก็สามารถมีอีเมลเป็นของบริษัทได้เลยทันที หากบริษัทของคุณมีการจดชื่อโดเมนมาแล้ว คุณก็สามารถมีอีเมลภายใต้ Google Workspace ได้เลย หรือหากคุณยังไม่มีการจดโดเมน คุณก็สามารถจดพร้อม Google Workspace ได้เช่นกัน ซึ่งการใช้อีเมลด้วยชื่อโดเมนของบริษัทจะช่วยให้คุณดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นตัวอย่างเช่น sales@dmit.co.th เรียนรู้เกี่ยวกับโดเมนเพิ่มเติมได้ที่นี่ 2. เข้าถึงแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ได้อย่างหลากหลาย หากคุณเคยใช้เวอร์ชันฟรีมาก่อนก็อาจจะรู้สึกว่า ‘ทำไมต้องซื้อ Google Workspace ในเมื่อเวอร์ชันฟรีก็มีหลายแอปพลิเคชันให้ใช้อยู่แล้ว?’ ดังนั้นเพื่อให้คุณได้เห็นความแตกต่าง เราจึงได้จัดทำตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้ Google Workspace Company Gmail with Domain Google Drive (เริ่มต้นที่ 30 GB) Google Calendar Google Chat Google Meet Google Docs Google Slides Google Sheets Google Forms Google Sites Groups Gemini for Google Workspace Chat with Google AI (Gemini Advanced) AppSheet NotebookLM (Plus) Free Gmail Personal...
Continue readingAsana Features Updated ประจำเดือนมีนาคม 2025
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! สำหรับ Asana Package Personal และ Basic Cross-platform syncing of draft comments in iOS: การซิงค์ความคิดเห็นที่คุณร่างเอาไว้บน iOS ข้ามแพลตฟอร์มระหว่างมือถือและเว็บไซต์ เพื่อให้คุณเห็นความคิดเห็นของคุณที่ร่างไว้บนทุกอุปกรณ์ Inbox notifications in Microsoft Teams: ผู้ใช้งาน Asana สามารถได้รับการแจ้งเตือนผ่าน Microsoft Teams ได้โดยตรงใน Inbox จาก Asana จากแถบด้านข้าง เข้าถึงแชทของคุณและคลิกที่แชทกับบอท Asana พิมพ์ “link project” คลิกปุ่ม Link project จากนั้นบอท Asana จะขอให้คุณเลือกโปรเจกต์ที่ต้องการเชื่อมโยง เลือก My Tasks แล้วคลิก Link เพื่อเริ่มรับการแจ้งเตือนส่วนตัว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการมอบหมายหรือยกเลิกการมอบหมายงานให้คุณ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ Project views in Microsoft Teams desktop app: สร้างการมองเห็นความคืบหน้าของโปรเจกต์ร่วมกัน โดยที่สมาชิกในทีมไม่ต้องออกจาก Microsoft Teams ได้โดยมีขั้นตอนดังนี้ ในการฝัง (Embed) โปรเจกต์ Asana ใน Microsoft Teams ให้คลิกที่ปุ่ม + เพื่อเพิ่มแท็บใหม่ ค้นหา “Asana” และติดตั้งแท็บแอป Asana สำหรับช่องทางนั้น เลือกโปรเจกต์ที่คุณต้องการฝัง (Embed) คุณสามารถเลือกที่จะส่งการแจ้งเตือนโปรเจกต์จาก Asana ไปยังช่องทางนี้ได้ และการแสดงผลโปรเจกต์แบบ Embed สามารถใช้งานได้เฉพาะในแอป Microsoft Teams เวอร์ชัน Desktop เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ สำหรับ Asana Package Starter...
Continue reading5 ขั้นตอน ยกระดับโฟลว์การทำงานของทีม Project Management
ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะเข้าใจว่าการบริหารโปรเจกต์ (Project Management) คือ การควบคุมและกำหนดเวลาของโปรเจกต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารโปรเจกต์กลับมีขอบเขตที่กว้างกว่านั้นมาก ซึ่งในบทความนี้เรามีคำแนะนำง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ 5 ขั้นตอนของการบริหารโปรเจกต์ได้อย่างครบถ้วน การเข้าใจวงจรของการจัดการโปรเจกต์จะช่วยให้คุณปรับปรุงกระบวนการภายใน และด้วยการนำเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการโปรเจกต์ จะยิ่งช่วยยกระดับการทำงานของคุณให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 5 ขั้นตอน การยกระดับการทำงานของทีม Project Management มีอะไรบ้าง? PMBOK® หรือ Project Management Body of Knowledge คือคู่มือที่รวบรวมความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโปรเจกต์ จัดทำโดย Project Management Institute หรือ PMI โดยเนื้อหาในคู่มือจะเจาะลึกขั้นตอนการจัดการโปรเจกต์ทั้ง 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการโปรเจกต์ 1. การเริ่มต้นโปรเจกต์ (Project initiation) ในช่วงเริ่มต้นของโปรเจกต์ ทีมจะต้องกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโปรเจกต์ ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมศึกษาถึงความเป็นไปได้ และจัดทำเอกสารโปรเจกต์เพื่อให้สมาชิกในทีมเข้าถึงข้อมูลและสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย โดยทีมส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นด้วยการประชุมหรือศึกษาความเป็นไปได้ของโปรเจกต์ นอกจากการนำเสนอแนวคิดเบื้องต้นของโปรเจกต์แล้ว คุณควรระบุถึงประโยชน์ ต้นทุน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโปรเจกต์ รวมถึงตัวชี้วัดความสำเร็จอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่องค์กรของคุณใช้ พร้อมสรุปรายละเอียดสำคัญของโปรเจกต์ เช่น เป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลา จะช่วยให้ทีมเข้าใจขอบเขตงานและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโปรเจกต์ได้ง่ายขึ้น 2. การวางแผนโปรเจกต์ (Project planning) ขั้นตอนแรกของการวางแผนโปรเจกต์คือการกำหนดเป้าหมายของโปรเจกต์ในแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนโดยคุณสามารถใช้แผนงานที่ได้รับความนิยมเหล่านี้ SMART Goals เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ ทำได้จริง เกี่ยวข้อง และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน วิธีนี้ช่วยให้ทีมสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนโปรเจกต์ และติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ CLEAR Goals เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เน้นการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับทีมที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา OKR (Objectives & Key Results) เป็น framework ที่มุ่งเน้นการจัดวางเป้าหมายในระดับองค์กร โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ในภาพรวมและกำหนดโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ OKR จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างชัดเจน มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้...
Continue readingจากมือใหม่สู่มือโปร: 3 เคล็ดลับพัฒนาทักษะ AI ในองค์กรแบบก้าวกระโดดจาก Google
สำหรับองค์กรแล้ว Gen AI จะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมืออีกต่อไป แต่จะกลายเป็น “เพื่อนร่วมงาน” ที่คอยช่วยเหลือในการสร้างเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูล ช่วยในการตัดสินใจ และทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้นแล้วการเรียนรู้การใช้ Gen AI ให้เชี่ยวชาญ ย่อมส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างราบรื่น และดึงศักภาพของ AI ออกมาให้ได้มากที่สุด ส่วนองค์กรใดที่เพิ่งเริ่มต้นนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ผู้ใช้งานอาจพบกับความท้าทายในการสื่อสารกับ AI ให้เข้าใจตรงกับความต้องการ หรือผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คาดหวัง อาจก่อให้เกิดความรู้สึกว่า AI เป็นเครื่องมือที่ใช้งานยากและไม่มีความสามารถช่วยในการทำงานเท่าที่ควร ดังที่คุณ Tony Majewski (Google Workspace Growth Strategy and Solutions, Americas Lead) ผู้เชี่ยวชาญจาก Google ได้ให้คำแนะนำว่า “การใช้ Generative AI ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกแปลกๆและไม่คุ้นชินสักเท่าไหร่ แต่ก็เหมือนกับการเริ่มฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดใหม่ๆ ที่ต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา บวกกับได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย ย่อมสร้างความแข็งแกร่งในทักษะของตนเองได้ในที่สุด” บทความนี้เราจะมาแชร์เทคนิคการใช้ AI กับ “3 เคล็ดลับพัฒนาทักษะ AI ในองค์กรแบบก้าวกระโดดจาก Google” แม้จะเป็นมือใหม่ก็ทำตามได้ง่ายๆ หากพร้อมแล้ว มาปลดล็อกศักยภาพในการใช้งาน AI องค์กรให้เต็มประสิทธิภาพกันเลย… 1 สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทดลอง การทดลองเป็นหัวใจสำคัญในการใช้ AI เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้นองค์กรควรจะมีการขับเคลื่อนให้พนักงานได้ลงมือใช้ AI ในการทำงานจริงๆ สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงานด้วย AI เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้และเก็บเกี่ยวเทคนิคให้ได้มากที่สุด เพราะการไม่ทดลองเลยจะทำให้พลาดโอกาสในการต่อยอดและปรับปรุงการทำงาน ซึ่งช่วงแรกของการทดลองอาจไม่ได้เป็นตามแผนเสมอไป และอาจทำให้พบได้กับ ”ความล้มเหลว” แต่นั่นคือจุดสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานได้ตั้งคำถามและหาข้อผิดพลาดเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทักษะการใช้ AI ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต คำแนะนำ: สำหรับการทดลองเบื้องต้น ควรทดลองกับโปรเจกต์เล็กๆภายในองค์กร เพื่อเลี่ยงการได้รับผลกระทบในวงกว้าง 2 เรียนรู้ AI ด้วยการปฏิบัติจริง การเรียนรู้ AI ไม่สามารถทำได้เพียงแค่การอธิบายเพียงเท่านั้น แต่การลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสและสร้างความคุ้นเคย ซึ่งการฝึกฝนซ้ำๆ ก็จะก่อให้เกิดเป็น Gen AI...
Continue reading