บทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงนิยามของการทำ Data-Driven รวมถึงความสำคัญและข้อดีของการทำ Data-Driven Marketing ไปแล้ว ใครอยากอ่านบทความ ‘ไขกุญแจสู่ความสำเร็จ สร้างการตลาดที่ตรงใจลูกค้าด้วยกลยุทธ์ Data-Driven’ สามารถคลิก ที่นี่ ในวันนี้เราจะมาบอกขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing แบบ Step by Step ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงใจและยังช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อีกด้วย ซึ่งการสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing มีด้วยกัน 6 ขั้นตอนดังนี้ เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Culture) ก่อนอื่นการที่องค์กรจะสามารถสร้างกลยุทธ์ Data-Driven Marketing ได้นั้น สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Driven Organization) ทุกคนในองค์กรต้องตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ การจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลนั้น ต้องได้รับการส่งเสริมจาก CEO หรือฝ่ายบริหาร ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงาน รวมถึงแสดงประสิทธิภาพของการทำ Data-Driven โดยอาจจะเริ่มจากสิ่งที่ทำได้ง่าย รวดเร็วและเห็นผลลัพธ์ได้เร็วที่สุด เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานด้วยข้อมูลนั้นมีประโยชน์อย่างแท้จริง 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Data Objectives) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ Data-Driven Marketing เพื่อให้นักการตลาดทราบว่าเราต้องการใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? และเราจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร? พร้อมกับการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) เพื่อติดตามความคืบหน้าและประเมินความสำเร็จของการทำ Data-Driven Marketing ว่าตรงกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการหรือไม่? ยิ่งเป็นการช่วยให้นักการตลาดสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายของการใช้ Data-Driven Marketing สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เป็นเป้าหมายระยะยาว เช่น การเพิ่มยอดขาย การเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ หรือการลดต้นทุนให้องค์กร เป้าหมายเชิงปฏิบัติการ เป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่น การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ การส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย หรือการกระตุ้นยอดขายจากแคมเปญการตลาด 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำ Data-Driven Marketing สามารถเก็บได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่เราเก็บมาเอง ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ข้อมูลจากอีเมลหรือข้อความบนมือถือ ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย...
Continue readingHow to: แสกนเอกสารได้ง่ายๆ ผ่าน Google Drive
รู้หรือไม่ Google Drive มีฟีเจอร์ที่ช่วยสแกนเอกสารต่างๆได้! เมื่อคุณต้องการถ่ายรูปและอัปโหลดขึ้นไดรฟ์ โดยเฉพาะไฟล์ที่เป็นเอกสารที่ต้องอาศัยภาพถ่ายที่คมชัดให้เห็นตัวอักษรที่ชัดเจน หลายคนคงยังใช้วิธีถ่ายรูปจากโทรศัพท์มือถือ หรือไม่ก็แสกนจากเครื่อง Scanner แล้วค่อยนำไปอัปโหลดขึ้น Google Drive วันนี้เรามีวิธีที่ง่ายแบบรวบรัดให้อยู่ในขั้นตอนเดียว แค่ทำผ่าน Google Drive แอปเดียวจบ จากเมื่อปีที่ผ่านมาแอปพลิเคชัน Google Drive บน Android สามารถให้ผู้ใช้งานได้ใช้ฟีเจอร์ Drive scanner เพื่อแสกนเอกสารต่างๆ เพื่อบันทึกเป็นไฟล์ PDF ไว้บนไดร์ฟได้เลยทันที และล่าสุด Google ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ Drive scanner เอาใจสาวก iOS ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานบนโทรศัพท์หรือแท็ปเล็ตให้ได้ใช้งานด้วยเช่นกัน ความสามารถของ Drive Scanner ผู้ใช้งานสามารถเลือกระบบจับภาพอัตโนมัติ เพื่อให้การแสกนรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่องมองภาพจากกล้องมุมมองกว้าง ทำให้แสกนภาพได้สะดวก ครอบตัดเฉพาะส่วนที่เป็นเอกสารได้ สามารถนำเข้าภาพจากอัลบั้มรูปในโทรศัพท์ได้ ปุ่มแสกนสามารถเข้าถึงการแสกนได้อย่างรวดเร็ว แนะนำการตั้งชื่อไฟล์ PDF ด้วยการเรียนรู้จาก Machine learning (ปัจจุบันมีให้บริการเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น) วิธีการใช้งาน Drive Scanner เปิดแอป Google Drive บนสมาร์ทโฟน แตะที่ปุ่มแสกน ถ่ายภาพเอกสารที่ต้องการสแกน สามารถเลือกได้ว่าต้องการถ่ายแบบกำหนดเอง หรือจับภาพอัตโนมัติ เมื่อแสกนเรียบร้อย สามารถเลือกจัดการรูปภาพเพิ่มเติมได้ เช่น ครอบตัด ปรับแสงและสีถ่ายใหม่ หรือ ถ่ายเพิ่มเติม เป็นต้น หากได้ภาพที่ต้องการแล้วให้แตะ เสร็จสิ้น ตั้งชื่อไฟล์ และเลือกพื้นที่จัดเก็บ แตะ บันทึก เพื่อบันทึกไฟล์ เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ไฟล์ที่แสกนเป็น PDF บน Google Drive ที่สามารถแชร์ต่อให้บัญชีอื่นได้เลย...
6 อัปเดตกับ Google Chat ฟีเจอร์ใหม่น่าสนใจเพียบ
ยังคงทยอยอัปเดตฟีเจอร์ใหม่กันมาเรื่อยๆสำหรับ Google Chat บอกเลยว่ารวมอัปเดตรอบนี้มีฟีเจอร์น่าสนใจมากมายที่จะทำให้การสื่อสารในองค์กรของคุณดีขึ้น รวมถึงการเตรียมเปลี่ยนโฉมไอคอน Google Chat ใหม่เร็วๆนี้ สำหรับใครที่พลาดรวมอัปเดตก่อนหน้านี้ สามารถดูได้ที่นี่ 1. แถบ Main menu ที่ย่อขยายได้ สำหรับ Google Chat บน Desktop ในส่วนของแถบ Main menu ที่รวบรวม Direct message และ Spaces ทั้งหมด สามารถย่อและขยายได้อัตโนมัติเมื่อนำเม้าส์ไปชี้ ทำให้เราได้หน้าต่างของห้องแชทที่ขยายกว้างขึ้นนั่นเอง แต่หากใครไม่ถนัดหรือไม่ชินกับรูปแบบนี้ก็สามารถปิดฟังก์ชันนี้ได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม Main menu ที่ด้านซ้ายบน ใน Spaces จะ Thread เยอะแค่ไหนก็ไม่พลาด สามารถเรียกดู Thread หรือชุดข้อความ/กระทู้ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Spaces ได้ ให้คลิกที่ปุ่ม Active threads จากนั้นจะปรากฎ Thread ทั้งหมด สามารถโต้ตอบและกดติดตาม Thread ที่ต้องการผ่านตรงนี้ได้เลย ค้นหาแชทได้ง่ายขึ้นด้วย Shortcut ที่แถบ Main menu จะปรากฎฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั่นก็คือ Shortcut เพื่อเป็นทางลัดให้ผู้ใช้งานค้นหาแชทได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยใน Shortcut สามารถแบ่งเป็นอีก 3 ฟีเจอร์ดังนี้ Home– ปรากฎห้องที่มีการสนทนาทั้งหมดรวมไว้ในที่เดียว และสามารถกรองข้อความที่ยังไม่ถูกเปิดอ่านได้ Mentions– แสดงข้อความแชทที่มีการกล่าวถึงคุณเท่านั้น Starred– แหล่งรวบรวมข้อความที่มีการบันทึกหรือติดดาว จากการกด Star บนข้อความที่สำคัญ รับแจ้งเตือนจาก Google Drive ผ่านแชทได้โดยตรง สามารถรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการกระทำใดๆต่อไฟล์บน Google Drive ผ่าน Google Chat ได้เลย เพียงแค่ติดตั้งแอป Google Drive ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์หรือโฟลเดอร์ใหม่ที่แชร์กับคุณ ความคิดเห็นใหม่หรือรายการการทำงานที่มอบหมายให้คุณ คำขอเข้าถึงไฟล์ที่คุณเป็นเจ้าของ การแจ้งเตือนสำหรับพื้นที่เก็บข้อมูล 5. ใส่คำค้นหาในแชทได้เร็วขึ้นกับ...
Continue readingกรองข้อมูล (Filter) ใน Google Sheets อย่างไรไม่ให้คนอื่นเห็นและไม่กระทบไฟล์ต้นฉบับ
การใช้ฟังก์ชัน Filter ใน Google Sheets กรองข้อมูลเพื่อหาเซลล์หรือข้อมูลที่คุณต้องการนั้นเป็นฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ในบางครั้งที่คุณและเพื่อนร่วมงานต้องการดูข้อมูลคนละชุดในไฟล์เดียวกัน การที่คุณ Filter ข้อมูลแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งไฟล์อาจไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก เพราะอาจทำให้เพื่อนร่วมงานที่กำลังใช้งานไฟล์เดียวกันกับคุณอยู่เกิดความสับสนได้ เนื่องจากข้อมูลที่กำลังถูกใช้งานอยู่นั้นอาจจถูกซ่อนไว้และจะถูกจัดเรียงใหม่ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณสามารถใช้ฟังก์ชัน Filter Views แทนการกรองข้อมูลแบบปกติ ซึ่งฟังก์ชัน Filter Views จะช่วยให้คุณสามารถกรองข้อมูลในไฟล์ได้โดยไม่กระทบต่อข้อมูลต้นฉบับนั่นเอง วิธีสร้าง Filter Views ใน Google Sheets เปิดไฟล์ Google Sheets คลิกที่เซลล์หรือคอลัมน์ที่ต้องการกรอง ไปที่แท็บ Data แล้วคลิก Filter Views ตั้งชื่อ Filter ของคุณ คลิก Create วิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำมาก ๆ สำหรับคนที่ชอบทำงานร่วมกันแบบ Online & Real-Time Collaboration เพราะหากคุณใช้ฟังก์ชัน Filter Views ทีมของคุณจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด Google Sheets จะโชว์เพียงข้อมูลต้นฉบับ เท่านั้น ซึ่งหากคุณมีการใช้งานไปแล้วและต้องการกลับมาใช้งาน Filter ที่คุณสร้างไว้อีกครั้ง คุณก็เพียงแค่ต้องกลับไปที่แท็บเมนูเดิม คือ Data >> Filter Views จากนั้นเลือกชื่อ Filter ที่คุณได้ตั้งไว้ในตอนแรกได้เลย ใช้ Filter Views ดีอย่างไร ? หากมีผู้ใช้อื่นกำลังใช้งานไฟล์นั้นอยู่ ข้อมูลต้นฉบับในไฟล์นั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงใด ๆ ผู้ใช้อื่นไม่สามารถมองเห็น Filter ที่คุณกำลังใช้งานอยู่ได้ นอกจากว่าผู้นั้นจะกำลังใช้งาน Filter เดียวกันกับคุณ คุณสามารถแบ่งการมองเห็นของข้อมูลได้ เช่น Filter สำหรับฝ่ายขาย หรือ Filter สำหรับฝ่ายบัญชี เนื่องจากทุกฝ่ายมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นการสร้าง Filter สำหรับแต่ละฝ่ายเพื่อให้ดูชุดข้อมูลที่ต่างกันจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก วิธีลบ Filter Views ไปที่ Data ในแท็บเมนูด้านบน...
Continue readingเตรียมพร้อมองค์กรสู่อนาคต ด้วยเครื่องมือพัฒนาองค์กรยอดนิยมที่ชื่อว่า AppSheet
องค์กรที่ได้เปรียบและสามารถอยู่รอดในโลกแห่งความจริงได้ คือองค์กรที่มีการปรับตัวและไม่หยุดพัฒนาตนเองในทุกยุคทุกสมัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสิ่งสำคัญที่ให้องค์กรพัฒนาไปข้างไม่ใช่แค่การมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลเพียงเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย เช่น ระบบโครงสร้างองค์กร พันธกิจและเป้าหมาย ทรัพยากรมนุษย์ และทัศนคติในการทำงาน เป็นต้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หลายองค์กรให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมากในยุคนี้ นั่นก็คือเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงาน รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรในยุคดิจิทัลให้สามารถดำเนินกระบวนการทำงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นไร้รอยต่อนั่นเอง โดยเครื่องมือด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันก็มีอยู่หลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องมือใดที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้มากที่สุด โดยต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเลือกใช้เครื่องมือ เปรียบเสมือนการเลือกใส่ปุ๋ยให้ตรงกับชนิดของต้นไม้เพื่อให้ผลิตดอกออกผลเจริญงอกงามตามสายพันธุ์ แนะนำ AppSheet เครื่องมือเทคโนโลยีที่หลายองค์กรเลือกใช้พัฒนากระบวนการทำงาน AppSheet เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอยากมากจากองค์กรต่างๆ และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์จากผู้นำด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google ตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการยกระดับหรือปรับปรุงกระบวนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน เหมาะสำหรับทุกธุรกิจและทุกขนาด แม้องค์กรนั้นจะไม่มีนักพัฒนาโปรแกรมก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ AppSheet เป็นเทมเพลตสร้างแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องใช้ทักษะการเขียนโค้ดเลยแม้แต่นิดเดียว นั่นหมายความว่าไม่ว่าบุคคลากรใดในองค์กรก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมาไ้ด้ เพียงแค่อาศัยความเข้าใจในกระบวนการทำงานเพื่อสร้าง Workflow โดยให้แอปพลิเคชันเป็นผู้ช่วยในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ซึ่งสามารถช่วยลดรอยต่อการส่งผ่านงานระหว่างฝ่าย Operation และ ฝ่าย Management ได้เป็นอย่างดี AppSheet ช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร? AppSheet ช่วยลดต้นทุนทรัพยากรในองค์กร ข้อแรกเลยก็คือ AppSheet ช่วยลดต้นทุนในเรื่องของทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณกระดาษ ลดการว่าจ้างทีม Developer และ Programmer ลดค่าดูแลรักษา และที่สำคัญคือช่วยร่นระยะเวลาการพัฒนาแอปพลิเคชันได้มากเลยทีเดียว เนื่องจาก Process การพัฒนาแอปที่ซับซ้อนได้ถูกตัดออกไป ทำให้องค์กรมีแอปพลิเคชันพร้อมใช้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น AppSheet ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูล ทุกวันนี้บางองค์กรยังใช้วิธีการกรอกข้อมูลแบบ Mannual ผ่านตัว Spreadsheet หรืออื่นๆ เมื่อข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดของการเก็บบันทึกข้อมูลหรือเรียกแสดงผลข้อมูลได้ไม่สะดวกนัก ในส่วนนี้ AppSheet สามารถช่วยให้คุณกรอกข้อมูลได้ง่ายขึ้น ช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human error) รวมถึงสามารถช่วยกรอกข้อมูลให้อัตโนมัติผ่านหน้าแอปพลิเคชันได้เลยทันที AppSheet ช่วยพัฒนากระบวนการทำงานในองค์กร บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน สามารถทำงานร่วมกันผ่านแอปได้เลย ตั้งแต่เริ่มกระบวนการไปจนถึงขั้นตอน Approval ที่สามารถอนุมัติผ่านแอปได้ในที่เดียว จากเดิมที่ค่อนข้างใช้เวลาในการส่งผ่านงานจากขั้นตอนหนึ่งไปอีกขั้นตอนหนึ่ง AppSheet จะช่วยกระชับระยะเวลาในแต่ละกระบวนการทำงานให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดข้อมูลจากแอปพลิเคชันมาออกแบบและพัฒนาเป็น Visualized Dashboard ให้มีรูปแบบการแสดงผลที่ง่ายดายและไม่ซับซ้อน เพื่อรองรับการติดตามหรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายครบทุกมุมมองได้อย่างทันเวลาในที่เดียว และนี่คือประโยชน์ของ AppSheet ที่สามารถช่วยพัฒนาองค์กรได้จริง การันตีจากหนึ่งในลูกค้าของ Demeter ICT อย่าง ”การท่าเรือแห่งประเทศไทย” ที่เล็งเห็นความสามารถของ...
Continue readingกลยุทธ์ Data-Driven สร้างการตลาดที่ตรงใจลูกค้า
ยุคดิจิทัลเป็นยุคที่ข้อมูลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนธุรกิจในตอนนี้ (Data-Driven) ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร? เล็กใหญ่แค่ไหน? คุณก็จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลเพื่อมาประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการดำเนินการบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ธุรกิจของคุณนั้นเติบโตขึ้น เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! Data-Driven คืออะไร ? Data-Driven (การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล) คือ การทำหรือตัดสินใจบางสิ่งบางอย่าง โดยการอ้างอิงและวิเคราะห์จากข้อมูลเป็นหลัก เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจหรือได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นนั่นเอง การที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของลูกค้าเป็นหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความเอาใจใส่ลูกค้า เพราะว่าคุณให้ความสำคัญและพยายามที่จะเข้าใจลูกค้าของคุณว่าเขาต้องการอะไร ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่ม ROI ให้กับบริษัท แต่การทำ Data-Driven ยังช่วยให้ธุรกิจทำ Trend Forecasting ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย Data-Driven มีความสำคัญกับนักการตลาดอย่างไร ? Data-Driven เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นักการตลาดเลือกใช้ข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงหรือผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกและช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตหรือที่เรียกว่า Data-Driven Marketing นั่นเอง เพราะการที่นักการตลาดจะปล่อยแคมเปญการตลาดออกไปนั้น คงไม่ใช่ลองปล่อยไปก่อนแล้วค่อยมาดูว่าลูกค้าสนใจไหม? แต่ธุรกิจจะต้องศึกษาถึงพฤติกรรม ความต้องการ ปัญหาของลูกค้าของตัวเองให้ดีเสียก่อน ยิ่งถ้าคุณเป็นธุรกิจระดับกลางถึงใหญ่การจะปล่อยแคมเปญการตลาดออกไปสักชิ้น จะต้องใช้ทั้งเวลา แรงและเงินทุนที่มหาศาล ถ้าแคมเปญการตลาดนั้นไม่ตอบโจทย์ลูกค้า คุณอาจจะไม่ได้เสียแค่แรง เวลาและเงินทุนเพียงเท่านั้น แต่อาจจะสูญเสียลูกค้าคนสำคัญไปด้วย นี่คือสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าทำไมการทำ Data-Driven Marketing จึงมีความสำคัญกับนักการตลาดและธุรกิจของคุณ ข้อมูล Data-Driven Marketing มีอะไรบ้าง ? 1. ข้อมูลจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน (Web & Mobile App Analytics) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจากการติดตาม MAU (Monthly Active User) ว่ามีลูกค้าเข้าชมเว็บไซต์หรือเข้าแอปของคุณต่อเดือนกี่คน และสามารถเจาะลึกลงไปได้ว่าลูกค้าของคุณมาจากช่องทางไหน หน้าเพจใดที่ลูกค้าใช้เวลามากที่สุด และเมื่อใดที่พวกเขาออกจากหน้าเว็บไซต์และแอปของคุณ 2. ข้อมูลจากอีเมลและข้อความบนมือถือ (Email & Mobile Messaging Analytics) คือ การเก็บข้อมูลลูกค้าจากการส่งข้อความโดยตรงถึงลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพราะปรับแต่งข้อความให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น Email, Message หรือ Push Notification ที่จะช่วยระบุแนวโน้มความสนใจของลูกค้าได้จาก Open rates, Click-through rates, Conversion...
Continue readingDuet AI ใน Google Workspace คืออะไร ? อยากทำงานด้วย AI ต้องฟังทางนี้ !
ยังคงเป็นกระแสกันอย่างต่อเนื่องกับ Duet AI เทรนด์การทำงานใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก ! ในปี 2023 ไตรมาสที่ 3 Google ได้เปิดตัว Duet AI ผลิตภัณฑ์เสริมของ Google Workspace ที่ผสานพลังของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับการทำงานร่วมกันแบบดิจิทัล ซึ่งความสามารถของ Duet AI ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Duet AI ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ ผลิตภัณฑ์นี้ถูกพัฒนามาจาก Generative AI ของ Google เอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ขั้นสูงที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น ภาพ วิดีโอ เสียงเพลง และข้อความ เป็นต้น ความสามารถของ Generative AI นั้นมีความแม่นยำและสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก จึงทำให้มั่นใจได้ว่า Duet AI จะสามารถช่วยสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ออกมาได้อย่างมืออาชีพและมีคุณภาพมากที่สุด หากตอนนี้คุณก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่สนใจทำงานด้วย Duet AI มาทำความรู้จัก Duet AI ไปพร้อม ๆ กันเลยว่า Duet AI คืออะไร ? สามารถทำอะไรได้บ้างและสามารถทำงานร่วมกับ Google Workspace ได้มากน้อยแค่ไหน ? อ่านบทความนี้ให้จบ รับรองว่าได้คำตอบภายใน 3 นาทีแน่นอน ! เริ่มจับเวลาได้เลย ! Duet AI คืออะไร ? Duet AI คือ ผู้ช่วยอัจฉริยะของ Google Workspace ที่สามารถช่วยคิด ช่วยค้น และเนรมิตผลงานออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่ง Google เองก็ได้ให้คำนิยามว่า Duet AI เป็น AI-powered...
Continue readingChecklist 3 สิ่งต้องมี เตรียมบุคลากรให้พร้อมทำงานในยุคแห่ง AI
เมื่อ AI เริ่มขยับเข้ามาใกล้คุณมากขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ดังนั้นหากคุณอยากที่จะก้าวทันและก้าวนำหน้าคู่แข่ง คุณจึงไม่ควรพลาดที่จะปรับเปลี่ยนบริษัทให้สามารถทำงานได้ในยุคแห่ง AI และเพื่อให้การปรับเปลี่ยนหรือทรานส์ฟอร์มภายในบริษัทประสบความสำเร็จดั่งที่หวัง เราจึงได้คัดสรร Checklist ที่จะช่วยนำทางให้คุณได้เบื้องต้นว่า หากจะเริ่มทำงานด้วย AI ต้องเตรียมหรือเรียนรู้อะไรบ้าง Checklist 3 สิ่งต้องมี เตรียมบุคลากรให้พร้อมทำงานด้วย AI 1. ต้อง Reskilling และ Upskilling เมื่อ AI เป็นสิ่งที่หลายคนยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นการจะทำงานด้วยการใช้ AI ก็จำเป็นที่จะต้องมีสกิลบางอย่างเพื่อให้สามารถนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานได้มากขึ้น การ Reskilling หรือ Upskilling จึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญแก่พนักงานอย่างมาก เพราะจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานด้วยการใช้เครื่องมือ AI ชนิดต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถนำมาสร้างหรือวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ตัวอย่างทักษะที่แนะนำ ได้แก่ การเรียนรู้ในส่วนของ Data Analysis, Machine Learning, Automation และ Critical Thinking ซึ่งทักษะเหล่านี้จะทำให้พนักงานเข้าใจการทำงานด้วยเทคโนโลยี AI มากขึ้น และยังสามารถนำสกิลเหล่านี้มาช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจำเป็นจะต้องเรียนรู้ทุกสกิลที่เกี่ยวกับ AI นะ CEO หรีอ Manager ของคุณจะเป็นคนช่วยนำทางว่าในหน้าที่ใครเหมาะที่จะเรียนรู้สกิลไหนเพื่อที่จะต่อยอดได้อย่างมีประโยชน์มากที่สุดหรือจะเป็นในส่วนของสกิลที่ยังขาดไปและจำเป็นต้อง Reskill หรือ Upskill ก็ได้เช่นกัน ซึ่งองค์กรเองสามารถให้พนักงานเข้าร่วม Training Program, Workshops, Courses, หรือจะเป็นการเรียนรู้ผ่าน Online platform ก็ได้ สรุปสั้นเลย คือการลงทุนในการ Reskilling And Upskilling มีแต่ได้กับได้ ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะพัฒนาทักษะของพนักงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังพัฒนาองค์กรของคุณอีกด้วย 2. สนับสนุนการเรียนรู้แบบ Lifelong Learning Culture การเรียนรู้นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับองค์กรที่ต้องการจะศึกษาและปรับตัวเข้าหากับ AI องค์กรควรมีการผลักดันให้พนักงานชอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสกิลต่าง ๆ ให้มีความถนัดและชำนาญมากขึ้น โดยการให้ผู้นำขององค์กรเป็นแบบอย่างในการลองผิดลองถูก เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและความสำเร็จ...
Continue readingHuman-AI Collaboration คืออะไร ?
หากคุณได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาบ้างในช่วงนี้ ก็คงจะพอทราบว่าศึกแห่ง AI กำลังเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังแล้ว หากสังเกตดี ๆ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวคุณล้วนแต่ทยอยเปลี่ยนเป็น AI กันหลายอย่าง ทั้งนี้ก็เพราะธุรกิจต่าง ๆ เริ่มมีการนำ AI มาใช้เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและใช้ AI ในการช่วยสร้างสรรค์ผลงานขององค์กรเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากที่สุด ดังนั้นเมื่อมีการนำ AI เข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์มากขึ้น จึงเกิดเป็นการทำงานที่เราเรียกกันว่า “Human-AI Collaboration” Human-AI Collaboration คืออะไร ? Human-AI Collaboration คือ การที่คุณทำงานร่วมกับ AI เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่คุณวางแผนไว้ ซึ่ง AI จะทำหน้าที่เหมือน Partner เปรียบเสมือนคู่คิดของคุณที่คอยให้คำปรึกษาและคอยช่วยเหลืองานต่าง ๆ นั่นเอง ตัวอย่างเช่น การให้ AI ช่วยค้นหาข้อมูล ช่วยสร้างรูปภาพ ช่วยวิเคราะห์รายงาน หรือช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ เป็นต้น ซึ่ง Human-AI collaboration จะแตกต่างจาก AI-centric แบบดั้งเดิม ใน 5 แง่มุมดังนี้ 1. เป้าหมาย Traditional AI-centric: มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความสามารถของ AI Human-AI collaboration: มุ่งเน้นไปที่การสร้างผลลัพธ์อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด 2. การมีส่วนร่วมของมนุษย์ Traditional AI-centric: บทบาทของมนุษย์จะถูกจำกัดลงอย่างต่อเนื่อง Human-AI collaboration: ข้อมูลที่มนุษย์ได้ให้กับ AI คือข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการนำมาใช้ประมวลผลสำหรับการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ 3. ความสามารถ Traditional AI-centric: มนุษย์สามารถถูกแทนที่ได้ง่ายด้วยความสามารถของ AI Human-AI collaboration: เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้วยการหลอมรวมจุดแข็งของมนุษย์และ AI เข้าด้วยกัน 4. อำนาจในการตัดสินใจ Traditional AI-centric: AI ตัดสินใจแทนมนุษย์ได้เลยทันที Human-AI collaboration: มนุษย์ตัดสินใจได้เองด้วยข้อมูล Insight...
Continue reading