Cotton On ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 23 ปีก่อน ปัจจุบันมีพนักงาน 20,000 คน และดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกกว่า 1,300 แห่งในระดับสากลนอกเหนือจากธุรกิจออนไลน์ของตน ซึ่งทำให้การบริการลูกค้าในร้านค้าและทางออนไลน์ต้องแยกออกจากกัน และการที่จะย้าย ticket ระหว่างทีมทั่วโลกเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหมือนการวิ่งไล่ตามดวงอาทิตย์ และเมื่อมีคำร้องขอเข้ามาในเวลา 24 ช.ม. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่ทีมอื่นๆกำลังทำอยู่ การตรวจสอบจากแบรนด์ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ Cotton On จึงเริ่มต้นใช้งาน Zendesk Support “เรามีเฟอร์รารี แต่เราใช้มันขับไปบนถนนเพื่อซื้อนม” นี่เป็นการเปรียบเทียบของ Luke Wallace เมื่อทีมบริการลูกค้าออนไลน์ Cotton On ได้เริ่มต้นใช้งาน Zendesk โดยทีมได้ใช้งาน Zendesk Support มาเกือบ 3 ปี เพื่อรองรับอีเมลของ 8 แบรนด์ที่อยู่ภายใต้ Cotton On เขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เรามีรถยนต์ที่ดีและรวดเร็ว แต่เราจำเป็นต้องเรียนรู้การขับขี่อย่างเหมาะสมและเริ่มใช้ฟังก์ชันทั้งหมดที่สามารถใช้งานได้” Cotton On จึงตัดสินใจขยายการใช้งานระบบ Zendesk Support ไปยังแผนกต่างๆทั่วทั้งสหรัฐฯ ออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับ Cotton On ในการทำความเข้าใจและค้นพบศักยภาพของแบรนด์ “เราต้องทบทวนโครงสร้างและคำจำกัดความของการบริการลูกค้าของเรา” Wallace กล่าว...
Continue reading13 เหตุผล ที่จะทำให้คนทำธุรกิจ เปลี่ยนใจจากฟรี Gmail มาใช้ G Suite
ลองคิดดูว่า ในตอนนี้บริษัทของคุณยังคงใช้ฟรี Gmail ในการติดต่อสื่อสารอยู่ อย่างเช่น michale_dmit@gmail.com, sales_dmit@gmail.com, หรือ dmitsupport2@gmail.com ในขณะที่ธุรกิจของคุณนั้นกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และต้องการเริ่มใช้ชื่ออีเมลที่ดูโปรเฟสชันแนลมากขึ้น อย่างเช่น sales@dmit.co.th, marketing@dmit.co.th, michale@dmit.co.th เป็นต้น จากผลการวิเคราะห์พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่พอใจที่จะติดต่อกับบริษัทที่ใช้อีเมลธุรกิจมากกว่าบริษัทที่ใช้ฟรีอีเมล และคุณทราบหรือไม่ว่าการสร้างอีเมลธุรกิจแบบที่ยกตัวอย่างด้านบนนั้นง่ายมาก ถึงแม้ว่าพนักงานยังเคยชินกับระบบเดิม ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้ได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง G Suite จึงตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณ G Suite เป็นระบบอีเมลสำหรับธุรกิจ ที่มีรูปแบบการใช้งานเรียบง่าย อีกทั้งยังเอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยเครื่องมือบนระบบคลาวด์อย่าง Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms และอื่นๆอีกมากมาย และถ้าคุณมีชื่อโดเมนอยู่แล้วสำหรับทำเว็บไซต์ของบริษัท ก็จะเป็นการลดขั้นตอนให้คุณเปลี่ยนมาใช้ G Suite ได้รวดเร็วขึ้นไปอีก และนี่ก็คือ 13 เหตุผล ที่ธุรกิจคุณควรเปลี่ยนจากฟรี Gmail มาเป็น G Suite 1. มีสิทธิ์เป็นเจ้าของบัญชีอีเมล ผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชีอีเมลของพนักงานทุกคนก็คือบริษัทของคุณ ไม่ใช่พนักงาน สมมติว่าวันใดวันหนึ่งพนักงานของคุณลาออก แล้วไปทำงานให้คู่แข่งแทน หรือร้ายกว่านั้นคือเปิดบริษัทมาแข่งเองเลย หากเป็นฟรีอีเมลก็เท่ากับว่าพวกเขาสามารถเอาบัญชีอีเมลที่เคยติดต่อกับลูกค้าไว้ หรือมีข้อมูลสำคัญไปได้ แต่หากใช้ G Suite ผู้ที่เป็นแอดมิน หากมีคนออกจากบริษัท คุณสามารถเปลี่ยนชื่ออีเมลกับพาสเวิร์ดของบัญชีนั้นได้ทันที สามารถส่งต่อบัญชีนั้นให้กับคนอื่นได้ และคุณยังสามารถเข้าถึงประวัติการใช้งานหรือประวัติการติดต่อของผู้ใช้นั้นได้อีกด้วย 2. สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของไฟล์ ด้วย G Suite ทั้งไฟล์งานใน Google Docs, Google Slides หรือ Google Sheets ที่สร้างโดยพนักงาน แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของไฟล์นั้นจริงๆคือบริษัทของคุณ จำให้ขึ้นใจว่า Google Drive เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์ คุณสามารถสร้างนโยบายบริษัท ที่กำหนดให้พนักงานต้องสำรองข้อมูลไฟล์ รวมถึงทั้งโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ของตนไปยัง Google Drive ของบริษัทได้ด้วย ในกรณีหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณตัดสินใจที่จะยุติการทำงานของพนักงาน คุณจะมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงไฟล์ทางธุรกิจของบุคคลนั้นทั้งหมดได้ 3. แชร์ไฟล์งานเอกสาร สามารถแชร์ไฟล์เอกสารให้กับทีมของคุณได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณใช้บัญชี G Suite เดียวกันทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณต้องการให้พนักงานทุกคนเข้าถึงข้อมูลแบบดูได้อย่างเดียว (view-only) ใน...
Continue readingมาดูกันว่ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ระดับโลกอย่าง New York Times ใช้ประโยชน์จาก Google Sheet อย่างไรบ้าง
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2017 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ลงมติว่าด้วยกฎหมายการดูแลสุขภาพฉบับใหม่ที่มีผลต่อชาวอเมริกันนับล้านคน เพื่อรายงานข่าวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทีมบรรณาธิการของ The Times ใช้ Google Sheets เพื่อนับและแสดงผลคะแนนแบบเรียลไทม์ผ่านทาง NYTimes.com ให้ผู้คนได้ร่วมโหวตผ่าน Google Sheets API “ผู้คนรู้สึกต้องการมีส่วนร่วมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติของพวกเขา ในการตัดสินใจให้เร็วที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้” Tom Giratikanon บรรณาธิการด้านกราฟิกของ The Times กล่าว แต่ข้อบังคับในสภารายงานเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงลงคะแนนตัวแทนแบบเรียลไทม์นั้นเป็นเรื่องยาก การถ่ายภาพถูกจำกัดไว้ในพื้นที่รวมพล และมีความล่าช้าจนกว่าคะแนนทั้งหมดจะปรากฏบนเว็บไซต์ของสภา ซึ่งเป็นกระบวนการที่บางครั้งอาจใช้เวลาถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าที่จะเกิดขึ้น ทีมของ Giratikanon จึงใช้ Google Sheets API ทีมบรรณาธิการส่งผู้สื่อข่าวไปที่ห้องลงคะแนนเสียง และใส่ผลโหวตลงใน Google Sheets ตามที่ปรากฏในบอร์ดโหวต ข้อมูลจะถูกเติมโดยอัตโนมัติผ่านทาง NYTimes.com โดยเชื่อมต่อเว็บไซต์เข้ากับ Google Sheets “มันง่ายที่จะรู้สึกเหมือนการตัดสินใจถูกแอบแฝงด้วยกระบวนการทางการเมือง เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดช่องว่างดังกล่าว การแชร์ข่าวอย่างทันท่วงทีเป็นการช่วยให้อำนาจแก่ผู้อ่านของเรามากขึ้น” Tom Giratikanon บรรณาธิการฝ่ายกราฟิก แห่ง The New York Times แล้วมันใช้งานอย่างไร Giratikanon ได้ทดสอบการเชื่อมต่อกับ Sheets ล่วงหน้าก่อนการโหวตของสภาจะเริ่ม เขาได้สร้าง Sheets ที่ระบุรายชื่อของสมาชิกสภานิติบัญญัติล่วงหน้า เพื่อให้ทีมงานของเขาสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลในวันลงคะแนนเสียง ต่อมาเขาตั้งค่า Sheets เพื่อสร้างตัวคัดเลือกคำตอบง่ายๆ อย่าง “Y” หรือ “N” แทนความหมาย ใช่ และ ไม่ หลังจากผ่านไปไม่กี่รอบ ทีมของ Giratikanon นึกขึ้นได้ว่าพวกเขาสามารถเพิ่มตัวเลือกให้คนโหวตได้ อย่างการที่คนบางส่วนชอบลงคะแนนเสียงและรายงานผลตามพรรคการเมือง (เช่น พรรคเดโมแครต vs พรรครีพับลิกัน) ทีมบรรณาธิการทำการวิจัยว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติทั้ง 431 คน คาดหวังผลโหวตอย่างไรต่อไป พวกเขาจึงสร้างกติกาใน Sheets หากสมาชิกสภานิติบัญญัติเพียง 1 คนไม่เห็นด้วยกับผลโหวต ใน Sheets จะไฮไลท์ตารางเป็นสีเหลือง และทีมบรรณาธิการจะรีบทำการตรวจสอบการลงคะแนนเดิม ทำการสะท้อนข้อเท็จจริงแล้วเขียนลงในบทความ Giratikanon ยังตั้งกฎที่จะบันทึกการลงมติตามพรรคการเมืองอีกด้วย เป็นผลให้ The Times ซึ่งมีคน subscribe ประมาณ 2 ล้านคน และยังเอาชนะเว็บไซต์ของสภา ทำการรายงานผลการเรียกเก็บเงินด้านการดูแลสุขภาพแบบใหม่ และแจ้งข้อมูลให้ผู้อ่านที่กระตือรือร้นในการปฏิบัติตามวิธีที่สภานิติบัญญัติที่ถูกโหวตได้ทราบ...
Continue reading7 เหตุผลที่คุณควรใช้ระบบ Ticket ในการบริการลูกค้า
เมื่อโลกของธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี การใช้งานซอฟท์แวร์ประเภท Customer Relationship Management (CRM) สำหรับการติดต่อเพื่อบริการลูกค้าเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อย่างไรก็ตามบางคนยังคงเชื่อว่าระบบปัจจุบันหรือระบบอีเมลของพวกเขายังคงทำงานได้ดีพอ และถึงแม้ว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ดูจะเป็นทางที่สะดวกที่สุด แต่เนื่องจากช่องทางการสื่อสารออนไลน์ในปัจจุบันมีมากมายหลายช่องทาง (Multi-Channel) ซึ่งยากต่อการจัดการให้ครอบคลุม อีกทั้งหากคุณมีลูกค้ามากขึ้น คุณอาจต้องการเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนด้านไอทีเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ และระบบ Ticket Support อาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ และนี่คือประโยชน์ของการใช้ระบบ ticket ในการบริการลูกค้าที่ Demeter ICT ผู้ให้บริการ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เล็งเห็นถึงความสำคัญ การจัดการอย่างเป็นระบบ หนึ่งในประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการใช้ระบบ ticket คือ การยกระดับการจัดการที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์อื่นๆ ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วยให้คุณสามารถเรียงลำดับแต่ละคำร้องขอของลูกค้า และจัดลำดับตามเวลาและความสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถติดตามความคืบหน้าและรายงานผลการทำงานได้ เพิ่มประสิทธิภาพ ระบบ ticket ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อคำขอของลูกค้าทั้งหมดเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการใช้เวลาที่น้อยลง ความผิดพลาดที่น้อยลง ซึ่งประสิทธิภาพดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าของคุณ ความรวดเร็ว ลูกค้าย่อมคาดหวังที่จะได้รับคำตอบที่รวดเร็วที่สุด เนื่องจากพวกเขามีปัญหาและคำร้องที่ต้องการแก้ไขและต้องการคำตอบ ซึ่งการใช้ระบบ ticket จะรวมข้อมูลการบริการลูกค้าทั้งหมดเก็บไว้ที่เดียวเป็นศูนย์กลาง โดยเชื่อมโยงการบริการลูกค้าจากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น อีเมล เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ หรือแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ทำให้คุณสามารถตอบสนองและบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในระบบสนับสนุนเดียว บริการตรงจุด ตรงประเด็น ลูกค้าสามารถเลือกพนักงานหรือฝ่ายงานที่มีความเชี่ยวชาญ ที่คิดว่าจะสามารถตอบคำถามต่อคำร้องขอของลูกค้าได้ คำตอบที่ลูกค้าได้รับจึงมีความรวดเร็ว ตรงประเด็น ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ บันทึกการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแต่ละราย พนักงานสามารถส่งต่อหรือสลับการสนทนาไปยังพนักงานท่านอื่นได้เลย โดยไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลจะไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลและติดตามการสื่อสารทั้งหมดที่คุณเคยมีกับลูกค้า ช่วยให้พนักงานสามารถติดตามจากข้อมูลดังกล่าว โดยไม่ต้องถามคำถามซ้ำๆอีก ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งสำหรับคุณและลูกค้า สถิติและความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์ นอกเหนือจากการเก็บบันทึกการติดต่อสื่อสารแล้ว คุณยังสามารถถามคำถามและความคิดเห็นหลังการใช้บริการของลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้เกือบทุกอย่างจากความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการจากระบบ ticket ของคุณ ความเป็นมืออาชีพ หากบริษัทของคุณมีระบบสนับสนุนอีเมลหรือระบบสนับสนุนอื่นๆที่ล้าสมัย สิ่งเหล่านี้จะลดความเป็นมืออาชีพของบริษัทลง ในทางกลับกันระบบ ticket ถูกมองว่าเป็นความคิดใหม่และก้าวหน้า ...
Continue readingบอกเล่าประสบการณ์การจัดการ Ticket ของ Tesco
การให้บริการลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญของพนักงานเทสโก้จำนวน 480,000 คน เฉพาะในสหราชอาณาจักร พวกเขาให้บริการลูกค้าประมาณ 66 รายในทุกๆวินาที เพื่อช่วยให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการสนับสนุนด้านไอทีเพื่อให้งานสำเร็จ Robert Ainscough หัวหน้าฝ่ายประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีในเทสโก้ รับผิดชอบในการเพิ่มประสิทธิภาพและดูแลทีมงานฝ่ายช่วยเหลือด้านไอทีใน 11 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร จีนและอินเดีย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เขาได้มองหาวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ด้าน IT และการใช้ระบบการจัดการตั๋ว(ticket) ของพนักงาน เขาเริ่มต้นค้นหาโซลูชันที่ช่วยจัดการกับข้อมูลให้เป็นระเบียบมากขึ้น และเลือก Zendesk Support เนื่องจากเขาต้องการสิ่งที่จะทำให้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และเรียบง่าย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ธุรกิจของเรายืนหยุ่นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมันเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องหาโซลูชันที่สามารถดัดแปลงและเปลี่ยนไปพร้อมๆกับเราได้อย่างระบบการบริหารจัดการลูกค้า Zendesk Support -Robert Ainscough สิ่งแรกที่เทสโก้เริ่มตระหนักถึงคือประโยชน์ของระบบการจัดการตั๋วของ Zendesk Support การเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่สำคัญคือ ผลจากการลดจำนวนตั๋วจาก 125,000 เป็น 5,000 ที่นำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการรับมือแก้ไข และการติดตามสถานะของตั๋วเป็นคุณสมบัติที่แข็งแกร่งที่สุดของ Zendesk Support เพราะทำให้ทีมสามารถมองเห็นสถานะของตั๋ว สามารถตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่การพัฒนา สิ่งที่ยังค้างคาอยู่ ระยะเวลาในการแก้ปัญหา และการเรียงลำดับความสำคัญของตั๋วชั่วโมงต่อชั่วโมง ทำให้การจัดการควบคุมเป็นไปได้ด้วยดีมากยิ่งขึ้น และทีมไม่จำเป็นต้องโทรหากันเพื่ออัพเดตข้อมูลและสอบถามเกี่ยวกับสถานะของตั๋วอีก “สำหรับเราทั้งหมดเป็นเรื่องของคุณค่า และ Zendesk Support ช่วยสนับสนุนคุณค่าให้เรา” – Robert Ainscough หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีที่เทสโก้...
Continue readingเพิ่มการป้องกัน phishing สำหรับ Gmail บนระบบ ios
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กูเกิ้ลได้เพิ่มฟีเจอร์ป้องกัน phishing (anti-phishing security checks) สำหรับ Gmail บนระบบแอนดรอยด์ไปแล้ว วันนี้ระบบ ios ก็สามารถใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อคุณคลิกไปที่ลิงก์ต้องสงสัย หรือลักษณะดูแล้วไม่น่าปลอดภัยบนกล่องข้อความใน Gmail จะมีข้อความแจ้งเตือนเด้งขึ้นมา แต่คุณสามารถเลือกที่จะกดข้ามไปก็ได้หากมั่นใจว่าลิงก์นั้นปลอดภัยแน่นอน เมื่อคุณคลิกลิงก์ที่ดูเสี่ยงต่อความปลอดภัย ข้อความจะปรากฏตามภาพด้านล่าง เป็นข้อความแจ้งเตือนก่อนที่คุณจะเข้าไปยังชื่อ URL ต้นทาง ซึ่งการแจ้งเตือนเหล่านี้จะช่วยป้องกันชื่อบัญชีของคุณจากการ phishing การโจรกรรมทางข้อมูล หรือเนื้อห้าที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่มา – G Suite Update บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE ...
ปรับปรุงครั้งใหญ่ในการติดตามงานเอกสารบน G Suite
Google Docs, Sheets, Slides ปรับปรุงฟีเจอร์ด้านการแก้ไขเอกสารร่วมกัน (collaboration) และการควบคุมเวอร์ชันของเอกสาร (version control) ที่จะทำให้คุณสามารถติดตามการแก้ไขไฟล์เอกสารของเพื่อนร่วมทีมได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้ เดิมที เอกสารในกลุ่ม Docs จะถูกบันทึกการแก้ไขเป็น revision history ตามเวลา ของใหม่เราสามารถตั้งชื่อเวอร์ชันได้เอง และเปลี่ยนชื่อมาเป็น version history แทน ผู้ใช้ยังสามารถเรียกดูเฉพาะเวอร์ชันที่ถูกตั้งชื่อ เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของเอกสารได้ กรณีที่เอกสารมีคนแก้กันหลายคน มี suggested edits มากจนงง เราสามารถพรีวิวดูหน้าตาเอกสารที่รับทุกการแก้ไข (accept all) หรือปฏิเสธทุกการแก้ไข (reject all) ก่อนได้ นอกจากนี้ระบบยังเพิ่มปุ่ม accept/reject all ให้ด้วย เพื่อประหยัดเวลาของคนตรวจเอกสาร ผู้ใช้บน Android/iPhone/iPad สามารถ suggest changes ได้แล้ว ช่วยให้คอมเมนต์หรือแก้ไขเอกสารได้จากทุกที่ ที่มา – Google บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
Google ร่วมฉลองครบรอบวันคล้ายวันเกิด 136 ปี หลวงประดิษฐไพเราะ
หลวงประดิษฐไพเราะ มีนามเดิมว่า ศร ศิลปบรรเลง เกิดในครอบครัวนักดนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก หลวงประดิษฐไพเราะได้ติดตามบิดาไปแสดงดนตรีตามที่ต่างๆ และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงปีพาทย์ของบิดาด้วย เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้แสดงอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาเชื้อพระวงศ์ท่านหนึ่ง และได้รับการสนับสนุนให้ย้ายไปอยู่เมืองหลวงเพื่อศึกษาทางด้านดนตรี หลวงประดิษฐไพเราะได้รับการยกย่องให้เป็นนักประพันธ์เพลงไทยเดิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไทย ท่านได้มีโอกาสถวายการสอนดนตรีให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในปี พ.ศ. 2468 นายศร ศิลปบรรเลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ เพื่อรำลึกถึงหลวงประดิษฐไพเราะ และเพื่อร่วมฉลองครบรอบวันคล้ายวันเกิด 136 ปีของท่าน Google จึงได้ทำ Doodle เป็นภาพวาดหลวงประดิษฐไพเราะทีมีฉากหลังเป็นระนาดเอก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงปี่พาทย์ และเป็นเครื่องดนตรีที่หลวงประดิษฐไพเราะชำนาญเป็นพิเศษ ที่มา: Google อ่านมาถึงตรงนี้ หากคุณเริ่มรู้สึกสนใจขึ้นมาแล้วล่ะก็ ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูล หรือขอคำแนะนำได้เลย บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
Foodpanda และการรับมือกับความหิวของลูกค้า
“Foodpanda” บริษัทจัดส่งอาหารออนไลน์ระดับโลก เชื่อมโยงความหิวของลูกค้าเข้ากับอาหารที่พวกเขาชื่นชอบ โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้ออาหารจากร้านอาหารท้องถิ่นจำนวนมาก ผ่านทางออนไลน์หรือแอฟพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคต่างก็หลงใหลในทางเลือกที่หลากหลาย จนปัจจุบัน Foodpanda ดำเนินการทั้งหมด 40 ประเทศ เชื่อมต่อกับร้านอาหารกว่า 580,000 แห่งทั่วโลก และเป็นหนึ่งในบริการจัดส่งอาหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในตลาด ความหิวของลูกค้าสามารถเปลี่ยนเป็นความโกรธได้ ซึ่งหมายความว่าทุกวินาทีที่ใช้ในการรอของลูกค้าและความเร็วในการตอบสนองเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทีมสนับสนุนของ Foodpanda ฉะนั้นการสื่อสารผ่านทางอีเมลจึงไม่ใช่ช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับ Foodpanda เมื่อเทียบกับคะแนนความพึงพอใจในการสื่อสารผ่านช่องทางการแชทที่ได้มากถึง 90% ทั่วโลก ในขณะที่คะแนนทางอีเมลอยู่ที่ 80% และแม้ว่าการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ถือเป็นช่องทางที่รวดเร็วและเป็นส่วนตัว สามารถเป็นทางเลือกที่ใช้ในการตอบสนองที่เร่งด่วน แต่พวกเขากลับพบว่าต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าการไลฟ์แชท “ไลฟ์แชท” จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าในการติดต่อ Foodpanda โดยในการให้บริการผ่านไลฟ์แชท Foodpanda ต้องการที่จะสนับสนุนการแชทที่สามารถรองรับได้หลายภาษาและหลายประเทศ การตรวจสอบว่าคำขอของลูกค้าถูกจัดการโดยตัวแทนที่เหมาะสมและประเทศที่ถูกต้องจึงไม่ใช่เรื่องง่าย Foodpanda จึงได้จัดการสอบถามข้อมูลการบริการลูกค้าทั้งหมดของตนผ่านทาง Zendesk Support และ Zendesk Chat ซึ่งช่วยให้สามารถจัดระเบียบทีมงานต่างประเทศได้สอดคล้องและเชื่อมต่อกัน และยังให้ประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยม เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหา ตัวแทนสามารถจัดการการแชทได้หลายแบบพร้อมกัน ดังนั้นเวลารอจึงลดลงและลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีขึ้น Zendesk Chat ยังช่วยให้สามารถจัดลำดับการแชทใหม่ พวกเขาสามารถจัดตารางเวลาและเตรียมตัวแทนเพื่อจัดการกับการสนทนาที่เพิ่มขึ้นได้ การพลาดการตอบแชทจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับ Foodpanda อีกต่อไป ความต่อเนื่องของการแชทผ่านแอปช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม...
Continue reading