ความเร็วในการตอบ Chat ปริมาณแชทของผู้ขับขี่หน้าใหม่ / สัปดาห์ (สหรัฐอเมริกา) ค่าความพึงพอใจ ของลูกค้าผ่าน Chat รองรับภาษา โซลูชันที่ใช้ < 30 วินาที 30,000 95% 10+ Uber ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยนำเสนอการเดินทางที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง เพียงคุณกดปุ่มแค่ปุ่มเดียว โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น ผู้ขับขี่ที่มีรถเป็นของตัวเองและมีเวลาว่าง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการขนส่ง ของชุมชน ทำให้ปัจจุบัน Uber มีการดำเนินการมากกว่า 450 เมืองใน 76 ประเทศทั่วโลก การขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้ Uber เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มเติม เช่น UberEATS, UberRUSH และ Uber for Business เป็นต้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องหลังพวงมาลัย มีระบบการดำเนินงานที่ซับซ้อนและต้องมีการติดต่อกับลูกค้าเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งคนขับและผู้โดยสารในการได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่น ด้วยเหตุนี้เอง Uber จึงจำเป็น ต้องมีความยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อให้บริการเป็นไปอย่างราบรื่น Uber เลือกใช้ Zendesk Support เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้าในแต่ละเมือง เนื่องจาก Zendesk เป็นระบบที่มีความคล่องตัวบน Cloud และใช้งานง่าย เหมาะสำหรับทีมที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานในเมืองใหม่ๆ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นเหมาะสำหรับการรองรับการเติบโตแบบทวีคูณของบริษัทได้ ปริมาณการสนับสนุนของ Uber ส่วนใหญ่มาจาก Uber app และในกรณีเริ่มต้นใช้งาน ผู้ขับขี่รายใหม่จะได้รับแจ้งให้ทำการ อัปโหลดเอกสารต่างๆเพื่อใช้สร้างประวัติผู้ขับขี่ Uber จึงเลือกนำ Zendesk Chat เข้ามาใช้เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถถามคำถามต่างๆได้ แอชลีย์แบรดฟอร์ด (Global Chat Support Program Manager ของ Uber) กล่าวว่า “Zendesk Chat เป็นสิ่งที่ ยอดเยี่ยมมากในการใช้งานเพื่อลงทะเบียนผู้ขับขี่รายใหม่ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามต่างๆมากมายผ่านการสื่อสารระหว่างกันเพียงครั้งเดียว มันเร็วมากจริงๆ” นอกจากนี้ในฝรั่งเศส ทีมงานยังได้ใช้แชทเพื่อเข้าถึงผู้ใช้ในเชิงรุกบนหน้าเว็บไซต์ บางกรณีทีมงานได้เลือกใช้ live chat...
Continue readingG Suite คำตอบที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ
ไม่ว่าบริษัทของคุณจะขนาดใหญ่ บริษัทสตาร์ทอัพ หรือบริษัทเล็กๆ ที่กำลังไม่แน่ใจว่าจะใช้ G Suite ดีไหม เราลองมาดูกันดีกว่าว่า G Suite ตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณอย่างไรได้บ้าง แล้วคุณจะรู้ว่าการใช้ G Suite นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับการทำธุรกิจของคุณเลย โดยเราสรุปสั้นๆออกมาเป็น 6 ประเด็นดังนี้ 1. ราคา ราคา G Suite นั้นจับต้องได้ง่าย และคุ้มค่ากับสิ่งที่บริษัทของคุณจะได้รับอย่างแน่นอน คุณสามารถพิจารณาราคา G Suite ได้ตามแต่ละแพ็คเกจที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งหากใช้บริการผ่านพาร์ทเนอร์อย่าง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ก็จะคิดราคาต่อ 1 ผู้ใช้ ต่อปี นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นดีๆเสนอให้คุณอีกด้วย 2. ความคุ้นเคยกับเครื่องมือ คุณและพนักงานของคุณอาจจะคุ้นเคยกับ Gmail กันดี เช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆใน G Suite อย่าง Calendar, Google Docs, Google Sheet, และ Google Slides ฯลฯ ซึ่งเครื่องมือแต่ละตัวนั้นออกแบบมาให้ใช้งานง่าย คุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการอบรมการใช้งานเบื้องต้นให้พนักงานเลย 3. ความเรียบง่าย เมื่อลงชื่อเข้าใช้บัญชีกูเกิ้ลเพียงครั้งเดียว คุณจะสามารถเข้าใช้ได้ทุกเครื่องมือใน G Suite โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมาล็อคอินใหม่ทีละเครื่องมือให้วุ่นวาย ผู้ใช้งานในทีมยังสามารถแชร์ข้อมูลและเอกสารร่วมกันได้อีกด้วย ซึ่งคุณสามารถทำงาน หรือแก้ไฟล์เอกสารร่วมกับทีม หรือแม้กระทั่งกับลูกค้าของคุณได้แบบเรียลไทม์ 4. สะดวกสบาย การใช้ระบบคลาวด์ นั่นหมายถึงความสะดวกสบายที่คุณจะได้รับ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ หรือบนอุปกรณ์ใด พนักงานก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและเอกสารของพวกเขาได้ทุกที่ ทุกเวลา หลายคนสงสัยว่า การทำงานบนระบบคลาวด์ แปลว่าต้องใช้อินเทอร์เน็ตตลอด แล้วถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตล่ะจะทำอย่างไร ถึงแม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต คุณยังคงสามารถเข้าดูไฟล์เอกสารแบบออฟไลน์ได้อยู่ดี เพราะผู้ใช้ที่เป็นแอดมินสามารถทำการตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลขณะออฟไลน์ตามข้อปฏิบัติการใช้งานบนอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันบนระบบคลาวด์แบบเรียลไทม์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แฟลชไดรฟ์ในการโอนถ่ายข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย 5. ระบบที่เข้ากันได้กับ Microsoft Office จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นถึงความเรียบง่ายในข้อ 3 และข้อ 4 ของแอพ และความสะดวกสบายในการใช้งาน อย่างไรก็ตามบางคนอาจยังเคยชินกับการใช้งาน Microsoft Office อยู่ แต่ G Suite ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขไฟล์บน Office ได้โดยไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ เมื่อแก้ไขงานเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเลือกเซฟไฟล์เป็นฟอร์แมตของ Office ได้อีกด้วย (เลือก File > Downlode as จากเมนู) นอกจากนี้กูเกิ้ลยังปล่อยตัวเสริมที่จะให้คุณสามารถแก้ไขไฟล์ Office...
Continue reading8 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับผู้ใช้ G Suite ที่ช่วยให้แอดมินป้องกันข้อมูลทางธุรกิจ
ในการป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนเสมอไป ด้วย G Suite ผู้ใช้ที่แอดมินสามารถจัดการ และปกป้องข้อมูลของผู้ใช้คนอื่นๆได้อย่างง่ายดาย เพราะเครื่องมือต่างๆใน G Suite ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย แต่มีประสิทธิภาพ อย่าง Vault ที่จะช่วยในการป้องกันข้อมูลสูญหายได้อย่างดีเยี่ยม และนี่คือ 8 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยให้แอดมินสามารถควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรได้ 1. แจ้งเตือนใน Hangout เมื่อมีการสนทนากับบุคคลนอกชื่อโดเมนบริษัท หากหน่วยงานของคุณอณุญาตให้พนักงานคุยแชทกับบุคคลภายนอกผ่าน Hangout แอดมินสามารถเปิดการตั้งค่าที่จะช่วยแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ เมื่อมีบุคคลนอกโดเมนของคุณเข้าร่วมการสนทนา และแบ่งการสนทนาจากกลุ่มที่มีอยู่ ซึ่งผู้ใช้จากภายนอกจะไม่สามารถดูการสนทนาภายในทีมย้อนหลังได้ (จากการตั้งค่าในส่วนของ Admin ไปที่ Apps > G Suite > Google Hangouts > Chat settings > Sharing options) 2. ปิดการใช้งานส่งต่ออีเมลอัตโนมัติ ตัวเลือกนี้จะสามารถปิดฟีเจอร์การส่งต่ออีเมลอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการกรองข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ถูกบุกรุก 3. เปิดการตรวจจับการฟิชชิ่ง การเปิดใช้งานตัวเลือกนี้จะเพิ่มการตรวจสอบอีเมลที่น่าสงสัยก่อนที่จะส่งมอบ การตรวจจับฟิชชิ่งจะใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์การฟิชชิ่งอย่างเข้มงวด จึงอาจทำให้ข้อความที่ได้รับมีความล่าช้านิดหน่อย น้อยกว่า 0.05 เปอร์เซ็นต์ของข้อความโดยเฉลี่ยจะล่าช้าออกไปประมาณ 2-3 นาที ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะผู้ใช้ของคุณยังคงได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วเช่นเดิม 4. แอปตรวจสอบการเข้าถึง OAuth สำหรับแอปจากภายนอก แอป OAuth ช่วยเก็บรักษาข้อมูลของบริษัทให้ปลอดภัย โดยจะทำการให้คุณเลือกว่าจะใช้แอพภายนอกใด ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ G Suite ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย หรือเข้าข่ายหลอกลวงเข้าสู่ข้อมูลของบริษัทโดยบังเอิญ 5. ตรวจสอบว่าได้เปิดแจ้งเตือนการตอบกลับภายนอกแบบไม่ได้ตั้งใจสำหรับ Gmail Gmail สามารถแสดงข้อความแจ้งเตือนการตอบกลับภายนอก ป้องกันข้อมูลสูญหายหรือรั่วไหลได้ ซึ่งคุณสามารถเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อมีพนักงานบางคนกำลังโต้ตอบกับบุคคลภายนอกโดเมนบริษัทหรือไม่ พวกเขาจะได้รับการแจ้งเตือนทันทีว่ายังยืนยันที่จะส่งอีเมลนั้นหรือไม่ Gmail มีระบบอัจฉริยะ ที่รู้ว่าผู้รับอีเมลนั้นเป็นคนที่เคยติดต่อกันมาก่อน หรือเป็นคนที่ติดต่อกันเป็นประจำ และจะแสดงการแจ้งเตือนเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกพื้นฐานที่มีอยู่ใน G Suite 6. จำกัด Calendar จากภายนอก เพื่อลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล ทำให้มั่นใจว่ารายละเอียดต่างๆใน Google Calendar นั้นไม่ได้ถูกแชร์ไปยังบุคคลอื่นนอกโดเมนบริษัท จำกัดการแชร์ข้อมูลเพื่อป้องกันผู้ใช้จากการแฮ็ก หรือการโจรกรรมทางข้อมูลอื่นๆ ผ่านทางชื่อหัวข้อ หรือชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม 7. จำกัดการเข้าถึงใน Google Groups โดยทำการตั้งค่าใน Google group จากค่าเริ่มต้น ให้เป็น...
Continue readingการเพิ่มตารางนัดหมายผ่านอีเมล์
เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์มา เพื่อบอกวันที่ต้องการสร้างการนัดหมาย หรือวันที่อยากชวนทำกิจกรรมอะไรบางอย่างโดยที่ไม่ invite จากปฏิทินโดยตรง คุณสามารถเป็นผู้เพิ่มวันและเวลานั้นลงไปยังปฏิทินของคุณโดยผ่านทางอีเมล์ได้ ซึ่งมีวิธีการทำได้ง่ายๆ ดังนี้ Login เข้าสู่ระบบอีเมล์ G Suite (Google apps for business) แล้วเลือก inbox หรือกล่องข้อมูลขาเข้า แล้วเปิดอีเมล์ขึ้นมา จากนั้นดูที่วันเวลาในเนื้อหาอีเมล์ กดที่วัน หรือเวลานั้น 1ครั้ง เพื่อเริ่มการเพิ่มกิจกรรมลงในปฏิทิน จะมี Pop- up แสดงขึ้นมา เพื่อให้เราแก้ไขหัวข้อ วันและเวลา ซึ่งค่าเริ่มต้น จะนำชื่อเรื่องของอีเมล์มาเป็นชื่อกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในปฏิทิน ส่วนวันและเวลานั้นก็จะนำมาจากเนื้อหาในอีเมล์ จากนั้นกดปุ่ม “Add to calendar” เพื่อเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์นี้ลงในปฏิทินของคุณ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย *** หมายเหตุ: ผู้รับเมลล์จะสามารถเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฏิทินได้นั้น ผู้ส่งอีเมล์จะต้องระบุวันและเวลา เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Monday, on Monday about 10.00 AM เป็นต้น และเมื่อผู้รับอีเมล์ทำการเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฎิทิน Google จะเลือกวันที่ใกล้วันปัจจุบันมากที่สุดเป็นค่าเริ่มต้นให้ เช่น วันนี้เป็นวันอังคารที่10 มิถุนายน 2556 ถ้าได้รับอีเมล์มีเนื้อหาว่า Let’s meeting on Tuesday ค่าเริ่มต้นจะเป็นวันอังคารสัปดาห์ถัดไป คือ วันอังคารที่17 มิถุนายน 2556 นั้นเอง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
Google Calendar ปรับโฉมใหม่บนเว็บเบราว์เซอร์ พร้อมให้ใช้งานแล้ว
Google Calendar บนเว็บเบราวเซอร์ปรับโฉมใหม่ พร้อมใช้งานแล้ววันนี้สำหรับผู้ใช้ G Suite ช่วยให้คุณจัดการตารางเวลาได้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำฟีเจอร์ที่น่าสนใจจากแอพบนมือถือ มาใส่ลงบนเว็บเบราวเซอร์ ที่เลย์เอ้าท์ขนาดปรับไปตามขนาดหน้าจออุปกรณ์ของคุณอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆสำหรับองค์กรที่จะช่วยทีมของคุณในการจัดการตารางเวลาและเตรียมการประชุม สำหรับผู้ใช้ G Suite คุณสามารถใช้งาน Google Calendar โฉมใหม่นี้ได้บนเว็บเบราวเซอร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ดูรายละเอียดห้องเมื่อทำการจองห้องประชุมได้ ผู้ใช้ G Suite ที่เป็นแอดมินสามารถใส่รายละเอียดห้องประชุมแต่ละห้องได้ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานรู้ว่าห้องที่จะใช้ประชุมอยู่ที่ไหน ขนาดห้องเท่าไหร่ หรือมีอุปกรณ์อะไรเอื้ออำนวยบ้าง เพิ่มการจัดรูปแบบและไฮเปอร์ลิงก์ให้เหมาะกับคำเชิญในปฏิทินของคุณ สามารถลิงก์ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่าง Spreadsheets, Docs, หรือ Slides และสามารถเปิดเอกสารขึ้นมาได้โดยตรงจากมุมมอง “Event Detail” ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถสร้างวาระการประชุมที่มีรายละเอียดมากขึ้นและมั่นใจว่าเอกสารทั้งหมดจะอยู่ในที่เดียวก่อนการประชุมของคุณจะเริ่ม จัดการปฏิทินแบบรายวัน ในมุมมอง “Day” ตอนนี้คุณสามารถดูและจัดการปฏิทินในแต่ละคอลัมน์ที่แยกออกจากกันได้ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานที่มีหน้าที่จัดการปฏิทินหลายรายการ เช่น เลขา หรือผู้ช่วยผู้บริหาร ในการจัดการตารางการประชุมในนามของทีมได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในปฏิทินด้วยเช่นกัน คุณสามารถดูข้อมูลการติดต่อของผู้เข้าร่วมประชุมได้เมื่อคุณเลื่อนเมาส์ไปวางไว้บนคำเชิญในปฏิทิน นอกจากนี้ยังมีวิธีใหม่ในการดูและเรียกคืนรายการที่ถูกลบในกรณีที่คุณลบการประชุมโดยบังเอิญ นอกจากนี้มุมมอง “Day” Week” และ “Month” สามารถเข้าถึงได้มากขึ้นซึ่งมีความเข้ากันได้ดีขึ้นกับแต่ละหน้าจอ และนี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงใน Google Calendar โฉมใหม่ที่จะช่วยให้ทีมของคุณสามารถจัดการเวลาได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้งาน G Suite ที่เป็นแอดมินสามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ใน Calendar ได้แล้ววันนี้ ที่มา – Google Blog G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...
มาดูกันว่าที่ Whirlpool ทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างไร
ในบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ แน่นอนว่าการทำงานแบบทีมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาจะผลิตสินค้าหรือบริการ จึงต้องมีการประสานงานแต่ละทีมด้วย แล้วบริษัทระดับโลกอย่าง Whirlpool ที่มีจำนวนพนักงานกว่า 100,000 คนทั่วโลก มีการควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ และมีการประสานงานเป็นทีมกันอย่างไรบ้างจนกลายเป็นบริษัทที่สรรค์สร้างเครื่องใช้ในบ้านที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน สำหรับบริษัทเล็กๆ จำนวนพนักงานไม่เยอะ อาจกำลังกลัวว่าควรใช้ G Suite ดีไหม ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยว่า G Suite ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์การทำธุรกิจทุกขนาดอยู่แล้วค่ะ สนใจ G Suite ติดต่อเราเพื่อรับข้อมูลและคำแนะนำได้เลยค่ะ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...
รู้จักดาวเคราะห์แบบ 3D เพียงแค่มี Google Maps
ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ยานอวกาศ Cassini ถูกปล่อยสู่อวกาศเพื่อทำการสำรวจดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวาร ระหว่างการทำภารกิจ ยาน Cassini ได้ทำการบันทึกภาพและทำการส่งกลับมายังโลกเป็นจำนวนหลานแสนภาพ ให้นักวิทยาศาสตร์ทำการปรับแต่งจากเค้าโครงเดิม ให้มีรายละเอียดที่สวยงามและดูสมจริงมากที่สุด ตอนนี้คุณสามารถคลิกที่นี่ เพื่อเข้าไปเยี่ยมชมดาวเคราะห์ต่างๆอย่างใกล้ชิดได้แล้ว เข้าไปลองเล่นกันแล้วรับว่าเพลิดเพลินเลยล่ะ งานนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับศิลปินด้านดาราศาสตร์ Björn Jónsson ผู้ที่รวบรวมแผนที่ดาวเคราะห์ของ Europa, Ganymede, Rhea และ Mimas โดยสร้างผลงานร่วมกับภาพจาก NASA และ European Space Agency ความสนุกยังไม่จบแค่นี้ ทางกูเกิ้ลเพิ่มดาวพลูโต ดาววีนัส และดวงจันทร์บริวารรวมแล้วกว่า 12 ดวงไว้ให้คุณได้ลองเล่นอีกด้วย ที่มา – Google Blog G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...
Omni Channel คำตอบของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่
ปัจจุบันคำว่า Omni-Channel เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้หลายๆคนเกิดคำถามขึ้นมาว่า Omni-Channel คืออะไร? ทำไมต้องนำมาใช้ในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน และในบทความนี้ ทาง Demeter ICT จึงถือโอกาสบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวิวัฒนาการของธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และเพื่อการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของท่านผ่าน Omni-Channel กันให้มากขึ้น แรกเริ่มเดิมที หากเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อนที่เทคโนโลยียังไม่พัฒนามากนัก ธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่ยังคงมีช่องทางการขายผ่านทางหน้าร้านค้าเพียงแค่ ช่องทางเดียว (Single-Channel) ลูกค้าจึงต้องไปซื้อของที่หน้าร้านเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างในปัจจุบันที่เรายังเห็นกันอยู่ เช่น ร้านโชห่วย เป็นต้น หลังจากนั้นเทคโนยีเริ่มพัฒนามากยิ่งขึ้น Internet เริ่มเข้ามามีบทบาท เกิด social media, website, email ผู้คนเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้เกิด ช่องทางที่หลากหลาย (Multi-Channel) ในการเข้าถึงลูกค้า เช่น คอลเซ็นเตอร์, แค็ตตาล็อก, เว็บไซต์, โทรศัพท์มือถือ หรือโซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งช่องทางดังกล่าวยังคงแยกออกจากกันอยู่ ไม่มีการแชร์ข้อมูล หรือทำงานร่วมกันในแต่ละช่องทาง ทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนในข้อมูล เช่น ร้านค้า A มีหน้าร้านหลายสาขา และมีขายผ่าน E-Commerce ลูกค้าเลือกซื้อได้แค่ช่องทางเดียว ไม่สามารถสั่งซื้อผ่าน E-Commerce และไปรับหน้าร้านได้ เป็นต้น ด้วยปัญหาดังกล่าวทำให้ต่อมามีการพัฒนาจาก Multi-Channel มาเป็นการสื่อสาร ข้ามช่องทาง (Cross-Channel) ที่แตกต่างเข้าด้วยกัน ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าผ่านช่องทางไหนก็ได้ข้ามช่องทางกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขายสินค้าได้มากขึ้น แต่เบื้องหลังการทำงาน การบริหารงานและข้อมูลต่างๆของแต่ละช่องทางยังคงแยกจากกันและไม่ได้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ เช่น ลูกค้าดูสินค้าที่ลดราคา 20% ผ่านทางเว็บไซต์และเลือกที่จะซื้อสินค้าสาขาที่ใกล้ที่สุด แต่พอไปถึงสินค้ากลับไม่มีโปรโมชั่นลดราคา จึงทำให้ธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ เมื่อมาถึงยุคของเทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ได้เข้ามามีบทบาท Cross-Channel จึงได้รับการปรับปรุงจนเกิดเป็นการ ผสานช่องทางทั้งหมด...
Continue readingมาดูกันว่าที่ THE ICONIC ทำงานร่วมกันอย่างไร
การทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับองค์กร วันนี้เรามีตัวอย่างธุรกิจร้านเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ระดับโลกอย่าง ‘THE ICONIC’ พวกเขาประสานงานแต่ละทีมกันอย่างไรก่อนที่จะส่งมอบสินค้าและประสบการณ์ที่ดีถึงมือถึงลูกค้า จนกลายเป็นธุรกิจ e-commerce ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในออสเตรเลีย THE ICONIC คือร้านเสื้อผ้าออนไลน์จากออสเตรเลีย ก่อตั้งเมื่อปี 2011 และยังเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเสื้อผ้าจากแบรนด์ดังกว่า 700 แบรนด์ อย่าง Nike, Levi’s, Calvin Klein, Adidas และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมีสินค้ามากกว่า 50,000 ชิ้น...